Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Law and Economics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

8,554 Full-Text Articles 5,567 Authors 5,669,062 Downloads 191 Institutions

All Articles in Law and Economics

Faceted Search

8,554 full-text articles. Page 69 of 264.

ปัญหาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทต่างประเทศ: ศึกษากรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนการตลาดในประเทศไทย, ชัยวัฒน์ ลีเลิศยุทธ์ 2020 คณะนิติศาสตร์

ปัญหาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทต่างประเทศ: ศึกษากรณีบริษัทต่างประเทศจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนการตลาดในประเทศไทย, ชัยวัฒน์ ลีเลิศยุทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทต่างประเทศที่ประสงค์จะประกอบกิจการขายสินค้าในประเทศไทย อาจใช้วิธีจัดตั้ง บริษัทลูกขึ้นหลายบริษัทและแบ่งแยกหน้าที่งานให้บริษัทลูกทำ เช่น การสนับสนุนการตลาด การ ติดต่อประสานงานกับลูกค้าในประเทศ การนำเสนอสินค้าและรวบรวมคำสั่งซื้อให้กับบริษัท ต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณกำไรที่ควรเกิดขึ้นในประเทศไทย และโยกย้ายกำไรไปยังประเทศที่มี อัตราภาษีที่ต่ำกว่าหรือเป็นดินแดนภาษีต่ำ (Tax haven) เมื่อศึกษากรณีศึกษาการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนด้านการตลาดในประเทศไทย และ หลักการพิจารณาสถานประกอบการถาวรตามอนุสัญญาภาษีซ้อนตามร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และของ UN ประกอบกับคำอธิบายร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD ฉบับปีค.ศ. 2017 พบว่าการดำเนินการของบริษัทลูกดังกล่าวครอบคลุมถึงการมีบทบาทหลักอย่างเป็นปกติวิสัยของตัว แทนที่ไม่อิสระและทำให้เกิดการตกลงทำสัญญาซึ่งโดยปกติแล้ววิสาหกิจต่างประเทศจะไม่แก้ไขใน สาระสำคัญของสัญญานั้น จึงก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทน และยังถือเป็นการ ดำเนินธุรกิจผ่านสถานธุรกิจประจำของบริษัทต่างประเทศ จึงก่อให้เกิดสถานประกอบการถาวรใน ความหมายทั่วไปด้วย ดังนั้น บริษัทต่างประเทศจึงควรต้องมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย บนกำไรสุทธิจากการดำเนินงานของสถานประกอบการถาวรตามมาตรา 76 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนี้ ยังพบว่าการบังคับใช้บทบัญญัติตามมาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ควร ตีความให้กว้างกว่าการประกอบกิจการโดยสำนักงานสาขาที่จัดตั้งในประเทศไทย ให้ครอบคลุมถึงการ ที่บริษัทต่างประเทศเข้ามามีตัวตนและกระทำกิจการในประเทศไทยในลักษณะของสถานธุรกิจใน ประเทศไทยเสมือนว่าได้กระทำกิจการในประเทศไทยผ่านสาขา อันจะมีผลให้บริษัทต่างประเทศต้องมี ภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลในลักษณะเดียวกับการเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าในประเทศไทย โดยตรง โดยอาจวิเคราะห์รายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมของบริษัทลูกเพื่อสนับสนุนด้าน การตลาดในประเทศไทย จากการศึกษาปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาเห็นว่ารัฐบาลไทยควรเจรจาแก้ไขอนุสัญญาภาษีซ้อน กับประเทศคู่สัญญามักถูกใช้เป็นฐานในการหลีกเลี่ยงภาษีตามแนวทางการพิจารณาสถาน ประกอบการถาวรของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และ UN เพื่อป้องกันการโยกย้ายกำไรเพื่อ หลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทข้ามชาตินอกจากนี้ ยังเสนอให้ออกคำสั่งกรมสรรพากรเพื่อวางแนวปฏิบัติใน การพิจารณาสถานประกอบการถาวรในความหมายทั่วไปและสถานประกอบการถาวรประเภทตัว แทนที่สอดคล้องกับหลักการของร่างอนุสัญญาภาษีซ้อนของ OECD และ UN และโครงการป้องกัน การถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ (BEPS Project) ที่ประเทศไทยได้เข้าเป็น สมาชิก รวมถึงคำสั่งกรมสรรพากรเพื่อวางแนวปฏิบัติในการพิจารณากิจกรรมที่เข้าลักษณะ “กระทำ กิจการในประเทศไทย” เพื่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบริษัทต่างประเทศตามบทบัญญัติตาม มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร


ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาในประเทศไทย : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, พารณ ธรรมาพิทักษ์กุล 2020 คณะนิติศาสตร์

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการโฆษณาในประเทศไทย : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, พารณ ธรรมาพิทักษ์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการเติบโตของธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จากความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการมีสุขภาพที่ดีขึ้น รูปร่างที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับผู้ประกอบการที่เห็นถึงความต้องการเหล่านี้ รวมถึงผู้ประกอบการจากธุรกิจอื่น ๆ ที่เห็นการเติบโตของความต้องการของตลาดธุรกิจอาหารเสริม นั่นเป็นที่มาที่ทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเกิดขึ้นมากมายในท้องตลาด เมื่อสินค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นมาในท้องตลาด จึงเกิดการแข่งขันกันในการขายสินค้าหรือแข่งขันกันในด้านการแย่งผู้บริโภคที่มีอยู่จำกัดเมี่อเปรียบเทียบกับจำนวนของผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์สินค้าในท้องตลาด โดยการแข่งขันกันของผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารเสริมคือการเข้าถึงผู้บริโภคหรือให้ผู้บริโภครู้จักสินค้าของตนเองให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการที่จะเข้าถึงผู้บริโภคได้นั้น หนึ่งในเครื่องมือที่สามารถส่งข้อมูล ข่าวสาร หรือเนื้อหาของสินค้าไปถึงผู้บริโภคได้คือการโฆษณา ในปัจจุบันนอกจากการโฆษณาผ่านป้ายโฆษณา ทีวี หรือวิทยุกระจายเสียงแล้วนั้น การเกิดขึ้นของสื่อออนไลน์ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์นั้นได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น และเป็นเครื่องมือที่สามารถที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือผู้บริโภคที่ต้องการได้ ซึ่งเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการสินค้าจำพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการใช้สื่อเหล่านี้ ในการโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้อื่นใช้สินค้า ซึ่งข้อดีที่เกิดขึ้นคือผู้ประกอบการรายย่อยหรือรายเล็กที่ไม่ได้มีต้นทุนจำนวนมาก สามารถที่จะสร้างธุรกิจของตนเองได้ โดยผลิตสินค้าแล้วใช้ช่องทางออนไลน์ในการโฆษณาสินค้าของตนเองไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งต้นทุนในการโฆษณานั้นต่ำกว่าการโฆษณาผ่านช่องทางทีวี วิทยุ หรือแผ่นป้ายโฆษณาในสมัยก่อน แต่อย่างไรก็ตามในข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเกิดขึ้น โดยผู้ประกอบการบางรายมีการใช้คำโฆษณาชวนเชื่อ ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง จนทำให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย จากโฆษณาชวนเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์เหล่านี้ เนื่องจากมีต้นทุนการโฆษณาที่ต่ำ และสามารถที่จะนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่การโฆษณาต่าง ๆ นั้นต้องผ่านบริษัทโฆษณาจำพวกทีวี วิทยุ หรือป้ายโฆษณา ซึ่งต้องมีการตรวจสอบในส่วนของเนื้อหาสำหรับการโฆษณาโดยละเอียด แต่ปัจจุบันนั้นการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์นั้นไม่ได้มีขั้นตอนในส่วนนี้ ทำให้เกิดการโฆษณาเพื่อจูงใจลูกค้าหรือผู้บริโภคด้วยสรรพคุณสินค้าที่เกินความจริงเกิดขึ้น แม้ว่ากฎหมายจะมีมาตรการในการตรวจสอบและลงโทษผู้ที่กระทำความผิดแต่เหมือนว่ากฎหมายและบทลงโทษที่มีในปัจจุบันจะไม่สามารถที่จะควบคุมหรือป้องกันการโฆษณาที่เกินความจริงได้ โดยในกรณีที่เกิดขึ้นล่าสุดนั้นมีพิธีกรท่านหนึ่งที่ทำการโฆษณาสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของตนเองผ่านช่องทางออนไลน์เฟสบุ๊ค โดยมีการรีวิวและอวดอ้างสรรพคุณที่เกินความจริงของสินค้า ต่อมาได้ถูกแจ้งข้อหาทางกฎหมายในการกระทำความผิดดังกล่าว ซึ่งจากการสืบประวัติพบว่าพิธีกรท่านนี้ได้ถูกดำเนินการแจ้งข้อหาเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าเกินความจริงซ้ำเป็นคดีที่ 8 แล้ว เป็นการกระทำความผิดเดิมซ้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่ากฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการให้ผู้กระทำความผิดเกิดความเกรงกลัว ไม่กล้าที่จะกระทำความผิดหรือกระทำความผิดเดิมซ้ำ


ปัญหาภาษีที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและเลิกทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์, นิภาวรรณ สีดำ 2020 คณะนิติศาสตร์

ปัญหาภาษีที่เกี่ยวกับการจัดตั้งและเลิกทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์, นิภาวรรณ สีดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในประเทศไทยและต่างประเทศมีการก่อตั้งการระดมทุนหรือทรัพย์สินร่วมกันระหว่างกลุ่มจัดตั้งนั้นๆ หรือระหว่างกลุ่มหลายกลุ่มด้วยกัน โดยมีกองทรัพย์สินซึ่งอาจมีได้ทั้งการจัดตั้งกองทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ และมีการตกลงกันระหว่างกลุ่มที่จัดตั้งนั้นว่าจะแบ่งหน้าที่ให้ใครเป็นผู้ดูแลหรือจัดการทรัพย์สินนั้นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์และการนำมาซึ่งผลประโยชน์จากการจัดตั้งกองทรัพย์สินนั้น และนำผลประโยชน์ที่ได้จากการจัดตั้งมาแบ่งปันให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งการดำเนินการรูปแบบนี้มีมาอย่างยาวนานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยมีการเรียกชื่อว่า "กองรีท (REIT : Real Estate Investment Trust)" หรือ "กองทรัสต์ (Trust)" คือ การจัดการทรัพย์สินรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่ใช่นิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการจัดการทรัพย์สินเป็นกองทรัพย์สินที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มีลักษณะเป็นกองทรัสต์ตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 กองทรัสต์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ผู้ก่อตั้งทรัสต์ (Settlor) ผู้จัดการกองทรัพย์สินหรือทรัสตี (Trustee) และผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) ซึ่งโดยทั่วไปการจัดตั้งทรัสต์มักได้รับการยอมรับในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) เช่น เยอรมัน ฝรั่งศส และญี่ปุ่น ได้มีการยอมรับให้มีการจัดตั้งทรัสต์เพื่อการจัดการทรัพย์สินเช่นกัน แม้จะได้มีการกำหนดรูปแบบการจัดตั้งทรัสต์ตามที่กฎหมายกำหนด มีการจัดการและการดำเนินการทรัสต์เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ในทางการปฏิบัติการทางด้านภาษียังคงมีประเด็นปัญหาอันเกิดจากการบริหารจัดการกองทรัสต์อย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นปัญหาเกี่ยวกับภาระภาษีของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และผู้ถือหน่วยทรัสต์ มีดังต่อไปนี้ ปัญหาภาษีในการจัดตั้งทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีกรณีก่อตั้งกองทรัสต์ขึ้นมาจะต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง เนื่องจากมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทรัสต์ถึง 3 ฝ่าย คือ ผู้ก่อตั้งหรือผู้จัดการกองทรัสต์ ทรัสตี และผู้รับผลประโยชน์ และยังมีกองทรัพย์สินจากการก่อตั้งทรัสต์ ซึ่งเมื่อมีการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็จะต้องมีการดำเนินการทางกฎหมายให้ถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอนการขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการควบคุมและดูแลเกี่ยวกับการดำเนินการประเภทนี้ และยังมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอันเป็นปัจจัยในการก่อตั้งทรัสต์ให้แก่ทรัสตี ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ การจัดตั้งทรัสต์นี้ ในสรรพากรแต่ละพื้นที่ยังมีการปฏิบัติที่แตกต่างกันส่งผลให้มีการเสียภาษีที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ หรืออาจส่งผลให้การปฏิบัติในการเสียภาษีในการจัดตั้งทรัสต์ไม่ถูกต้องตามที่ควรซึ่งอาจเป็นผลเสียหายต่อประเทศได้เช่นกันอันเป็นผลมาจากยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ปัญหาภาษีในการเลิกกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กรณีเลิกกองทรัสต์และอยู่ระหว่างการชำระบัญชี ต่อมาเมื่อกองทรัสต์จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ ในทางปฏิบัติผู้ถือหน่วยทรัสต์มักจะเรียกร้องให้ผู้จัดการกองทรัสต์แจกแจงถึงเงินที่จ่ายว่าเป็นเงินส่วนแบ่งกำไรหรือเป็นเงินจ่ายคืนทุนเพื่อที่ผู้ถือหน่วยทรัสต์จะนำไปแยกยื่นภาษีอากร โดยเทียบเคียงกับการเสียภาษีจากกรณีได้รับเงินบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป ในทางภาษีอากร ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเรียกว่า "ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน" ผู้ชำระบัญชีจะจัดการคืนให้พร้อมกับเงินทุน ซึ่งจะได้รับคืนภายหลังที่จ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปหมดสิ้นแล้ว จะส่งผลต่อการคำนวณภาษีประจำปีและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของผู้ถือหน่วยทรัสต์ ซึ่งในทางปฏิบัติทางกองทรัสต์จำเป็นต้องแบ่งแยกให้ผู้ถือหน่วยหรือไม่ หรือเป็นหน้าที่ของบุคคลธรรมดาในการเสียภาษีประจำปี ด้วยที่มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวมาแล้ว ทำให้ผู้วิจัยต้องการทราบแนวทางการจัดการที่ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมายที่รองรับการจัดตั้งทรัสต์ โดยเปรียบเทียบกับการดำเนินการกองทรัสต์ในต่างประเทศ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์และอังกฤษเพื่อทราบทิศทางและการปฏิบัติการด้านภาษีเกี่ยวกับการจัดตั้งและเลิกทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม มีบรรทัดฐานเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลถูกต้องไปด้วย ทั้งนี้เพราะกองทรัสต์มิได้มีสถานะเป็นนิติบุคคลด้วย


ผลกระทบของการควบคุมความสูงอาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่มีต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ศุภฤกษ์ ไชยมาตย์ 2020 คณะนิติศาสตร์

ผลกระทบของการควบคุมความสูงอาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่มีต่อการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ศุภฤกษ์ ไชยมาตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ได้มีการเติบโตและพัฒนาเป็นอย่างมาก ทั้งการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน และโรงแรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามย่านธุรกิจต่างๆ และตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ที่ง่ายต่อการเดินทาง และสะดวกต่อการเข้าถึงนั้น ทำให้ภาคเอกชนต้องการที่จะเข้ามาลงทุน และพัฒนาที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลให้เป็นพื้นที่เหล่านั้นมีการเติบโตในด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก ทั้งจากผู้ลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการในตัวที่ดินเพื่อที่จะนำมาพัฒนาโครงการต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ราคาที่ดินต่อตารางวาเพิ่มขึ้นในทุกๆปี จากความต้องการในการใช้ที่ดินของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อทำการพัฒนาที่ดิน เพื่อพัฒนาในรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ตามรูปแบบของธุรกิจที่ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องการจะลงทุน ภายใต้ข้อกำหนดของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็คือการสร้างในพื้นที่ที่สามารถสร้างอาคารอยู่อาศัยรวม และอาคารขนาดใหญ่ ได้ในพื้นที่ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติข้างต้น โดยที่ปัจจุบันหลายโครงการด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอาคารสำนักงานให้เช่าในพื้นที่ธุรกิจใจกลางเมือง ( CBD : Central Business District ) ซึ่งโดยเฉพาะอาคารสำนักงานให้เช่าเกรด A เช่นในเขตพื้นที่เพลินจิต ชิดลม อโศก สีลม และสาทร เป็นต้น พบว่ามีอัตราการเช่าเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ให้เช่า โดยพบว่าความต้องการของพื้นที่เช่าอาคารสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจนั้น เพิ่มขึ้นประมาณ 200,000 ตารางเมตร ในทุกๆปี โดยมีการคาดว่าพื้นที่อาคารสำนักงานที่ถูกเช่าเพิ่มขึ้นในแต่ละปีจะอยู่ที่ระดับนี้ต่อไป ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการพื้นที่สำนักงานที่มาจากทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติที่ต้องการเข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศไทย ทำให้มีความต้องการในพื้นที่เช่าอาคารสำนักงานมากขึ้น และเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นที่น่าสนใจในกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในการพัฒนาโครงการอาคารสำนักงานให้เช่า ซึ่งหากผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตัดสินใจลงทุนและได้เข้าพัฒนาโครงการ โดยใช้ประโยชน์ในที่ดินตามความสามารถในการพัฒนาที่ดินของผู้ประกอบการแล้วนั้น จะสามารถเพิ่มพื้นที่เช่า และส่งผลต่อรายได้ค่าเช่า และกำไรของกิจการโดยตรงจากการให้เช่าในพื้นที่เช่าได้ตามขนาดการลงทุนของผู้ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยสภาพของการใช้พื้นที่ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบันนั้น โดยเฉพาะในย่านใจกลางเมือง หรือศูนย์กลางเขตธุรกิจ จะพบว่าที่ดินมีราคาค่อนข้างสูงและยากที่จะหาพื้นที่ที่ใหญ่พอจะสร้างอาคารสูงสำหรับพัฒนาโครงการได้ จึงมีโอกาสเป็นไปได้ยากที่จะมีการสร้างอาคารใหม่ๆ ที่มีขนาดใหญ่ได้ ซึ่งหากต้องการพัฒนาที่ได้ในพื้นที่ดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาจเลือกที่จะทำการทุบอาคารเดิมของโครงการที่มีอยู่ก่อน เพื่อทำการลงทุนสร้างอาคารใหม่ในพื้นที่เดิม เช่น โครงการโรงแรมดุสิตธานี เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้มีค่าใช่จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับปรับที่ดินให้มีความพร้อมก่อนที่จะเริ่มเข้าไปทำการพัฒนาพื้นที่และพัฒนาโครงการใหม่เกิดขึ้น ผู้ศึกษามองว่า ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นอุปสรรคต่อการเริ่มต้นที่จะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งจะพบว่าตัวข้อกำหนดมีลักษณะล้าหลัง หากเทียบกับ ความรู้ความสามารถในการก่อสร้าง หรือเทคโนโลยีต่างๆในปัจจุบัน โดยเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์โดยรวม ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งผู้ศึกษามองว่าหากผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหริมทรัพย์สามารถจัดทำ และดูแลกำกับควบคุม ให้โครงการต่างๆ ภายใต้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้น ปลอดภัยและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น การควบคุมความสูงของอาคาร จึงไม่จำเป็นมากนัก หากมีการออกแบบที่เหมาะสม ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการก่อสร้างต่างๆ มีการพัฒนาไปอย่างมากการที่ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต้องการที่จะสร้างตึกที่สูง แต่สามารถดูแลด้านต่างๆตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนดไว้แล้วนั้น ข้อกฎหมายในส่วนที่กำหนดถึงความสูงของอาคารข้างต้น อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาการออกแบบและสร้างอาคาร หากเพียงแค่พิจารณาเฉพาะด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องแทน


ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน กับการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของบริษัทมหาชน, ชลธิชา วงษ์ดนตรี 2020 คณะนิติศาสตร์

ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน กับการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร : ศึกษากรณีสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของบริษัทมหาชน, ชลธิชา วงษ์ดนตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการประกอบธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมระหว่างประเทศนั้น ทุกองค์กรจะต้องเผชิญกับปัญหาในเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับผลประกอบการของกิจการ ในการซื้อขายกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มักจะทำสัญญาโดยราคาซึ่งมักเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศและวันส่งมอบไว้ล่วงหน้า ดังนั้นแล้วผู้ซื้อหรือผู้ขายที่ไม่ได้ใช้หน่วยสกุลเงินเดียวกับสัญญาที่ระบุจะต้องแบกรับความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะเกิดได้ทั้งกำไรหรือขาดทุน ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นผู้ซื้อหรือผู้ขายมักจะทำสัญญาป้องกันความเสี่ยง (Financial Hedging) เช่น สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract), สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Future Contract), สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (Cross Currency Swap) เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าตนเองจะได้รับหรือจ่ายเงินด้วยจำนวนเงินที่ได้กำหนดอัตราไว้ ณ ปัจจุบัน ด้วยความสำคัญของธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว และเป็นธุรกรรมการที่เกิดอย่างเป็นปกติสำหรับผู้ประกอบการทั่วโลก ดังนั้นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standard Board : IASB) จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติโดยออกมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เรื่องเครื่องมือทางการเงิน (International Financial Reporting Standards : IFRS9) ซึ่งสภาวิชาชีพแห่งประเทศไทยก็ได้นำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้สำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยออกมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย ฉบับที่ 9 เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน (Thai Financial Reporting Standards : TFRS9) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในรอบบัญชี พุทธศักราช 2563 โดยมาตรฐานดังกล่าวมีวัตุประสงค์เพื่อสะท้อนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการจัดการความเสี่ยงของกิจการที่ใช้เครื่องมือทางการเงิน (Hedging instrument) สัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของ TFRS 9 ซึ่งเมื่อมาตรฐานดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ทำให้ในทางบัญชีมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการรับรู้รายได้และรายจ่ายของสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ซึ่งแนวทางการบัญชีดังกล่าวไม่ได้สอดคล้องกับแนวทางการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร และภายใต้คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.68/2541 เรื่อง ข้อผูกพันตามสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า กล่าวคือ ณ วันที่ทำสัญญา Forward Contract ไม่ต้องมีการรับรู้ทางบัญชี เพียงแต่บันทึก Memo ไว้เท่านั้น และ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะต้องปรับปรุงลูกหนี้-เจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา รวมทั้งรับรู้กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการทำสัญญา Forward Contract เพื่อสะท้อนความเสี่ยงจากการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศในงบการเงิน และรับรู้ส่วนต่างของกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงกับที่รับรู้ไปแล้ว ณ วันสิ้นรอบบัญชีที่เหลือ ณ วันสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งหนึ่ง สำหรับแนวปฏิบัติทางภาษีภายใต้ประมวลรัษฎากรจะสามารถรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศเป็นรายได้หรือรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก็ต่อเมื่อรายการดังกล่าวการเกิดขึ้นจริงหรือวันสิ้นสุดสัญญา อย่างไรก็ดีกรมสรรพากรได้ประกาศคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.68/2541 ให้เป็นแนวทางในการเลือกปฏิบัติสำหรับการรับรู้กำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง …


มาตรการความช่วยเหลือต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019, กิตติพัฒน์ เพียรธรรม 2020 คณะนิติศาสตร์

มาตรการความช่วยเหลือต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019, กิตติพัฒน์ เพียรธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมานั้น ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ และของทุกประเทศ และทุกธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง คือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาคเศรษฐกิจหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย สถานการณ์ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นี้มีผลต่อเนื่องถึงภาคเศรษฐกิจอื่นมากมาย รวมทั้งมีความสำคัญสูงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์หรือหลักประกันที่สำคัญของภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวของภาคอสังหาริมทรัพย์ จะส่งผลต่อเนื่องไปยังภาคเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศ ซึ่งรัฐจำเป็นต้องเร่งผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงสามารถอยู่รอดกลับมาเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้ยั่งยืนต่อไป มาตรการทางภาษีหลักๆ ที่ใช้กอบกู้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงทั่วโลกคือการ "เลื่อน" และ "ลด" สำหรับประเทศไทย ได้เลื่อนการชำระภาษีนิติบุคคลออกไปสามเดือนและหนึ่งเดือนสำหรับภาษีประเภทอื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก และแทบไม่ช่วยผู้ประกอบการเท่าที่ควร เพราะช่วงเวลาใหม่ที่กำหนดให้ชำระภาษีนั้น ยังอยู่ในห้วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งภาคเอกชนย่อมต้องการสงวนเงินสดไว้กับตัวเพื่อรักษาสภาพคล่อง หลังจากเจ็บหนัก จากการประกาศล็อกดาวน์ในช่วงเดือนเมษายน ส่วนนโยบายลดภาษีของไทย ถือว่าแทบไม่ช่วยอะไร เพราะการลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3 เปอร์เซ็นต์เป็น 1.5 เปอร์เซ็นต์ แทบไม่ได้มีสาระสำคัญ หากหันไปมองมาตรการทางภาษีของเหล่าประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก จะเห็นว่าทิ้งห่างไทยไปแบบไม่เห็นฝุ่น เช่น ในประเทศเกาหลีใต้ ที่เลื่อนระยะเวลาชำระภาษีไป 9 เดือน ส่วนญี่ปุ่นเลื่อนให้ 12 เดือน หากรายได้ของธุรกิจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่นโยบายลดภาษีของต่างประเทศก็มีเนื้อมีหนัง เช่น จีน ที่ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ และยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม ที่ได้รับผลกระทบหนักอย่างการท่องเที่ยว เกาหลีใต้ ก็มีการลดภาษีให้ธุรกิจที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง ส่วน สิงคโปร์ ประกาศคืนภาษีบางส่วนให้ผู้ประกอบการหลายคนอาจสงสัยว่าถ้ารัฐบาลทั้งลดทั้งเลื่อนแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาบริหารประเทศ มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระบบการเงิน รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกันวางแนวทางเพื่อรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจและระบบการเงิน ในสภาวการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็น ผู้จ้างแรงงานร้อยละ 80 ของประเทศ ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง จึงอาจส่งผลให้มีการเลิกจ้างงานและผิดนัดชำระหนี้ ในขณะเดียวกันความผันผวนในตลาดการเงินอาจทำให้บริษัทที่มีคุณภาพ ไม่สามารถไถ่ถอนตราสารหนี้ที่ครบกำหนดได้ จนกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนและลดประสิทธิภาพในการระดมทุน มาตรการทางการเงิน ในส่วนของการเยียวยาผู้ประกอบการของไทยมีการเยียวยาเพื่อลดค่าใช้จ่ายและการพยายามเพิ่มเงินสด (Cash flows) ให้กับผู้ประกอบการ โดยรัฐบาลและธนาคารกลางได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน (1) ทางด้านภาษี โดยเป็นการเลื่อนภาษี ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย …


มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาทำงาน สำหรับการทำงานจากบ้าน (Work From Home), อรณรัณ พสุธานันท์ 2020 คณะนิติศาสตร์

มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาทำงาน สำหรับการทำงานจากบ้าน (Work From Home), อรณรัณ พสุธานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำงานจากบ้าน หรือ Work from Home ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน ต่างประเทศ เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตและค่านิยมเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไป โดยลูกจ้างให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน รวมถึงสุขภาพและ ความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและ สารสนเทศ จึงทำให้ลูกจ้างสามารถทำงานจากบ้านได้เสมือนทำงานจากสถานที่ทำงานของนายจ้าง สำหรับประเทศไทยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นตัวเร่งที่สำคัญที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานจากสถานที่ทำงานของนายจ้างไปสู่การทำงานจากบ้าน และมี แนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรมากขึ้นในหลาย ๆ องค์กรหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ารูปแบบการทำงานจากบ้านจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อนายจ้างและ ลูกจ้าง แต่จากผลสำรวจในประเทศไทยพบว่า ปัญหาการทำงานจากบ้านที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกจ้างมีเวลาทำงานเพิ่มมากขึ้นต่อวันหรือต่อสัปดาห์ เมื่อพิจารณาจากตัวบทกฎหมายของประเทศ ไทยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเวลาทำงานที่ปรากฎในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะไม่สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานจากบ้าน ผู้วิจัยจึงเห็นควรที่จะศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเวลาทำงาน ควบคู่ไปกับมาตรการทางการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานจากบ้าน โดยผู้วิจัยทำการศึกษากฎหมาย แรงงานของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้สำหรับรูปแบบการทำงานจากบ้าน จากการศึกษา พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน ค.ศ. 1947 ของประเทศญี่ปุ่น พบว่า มีหลักการกำหนดเวลาทำงานที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งทุกรูปแบบสามารถนำไปใช้กับการทำงานจาก บ้านในประเทศญี่ปุ่นได้ทั้งสิ้น โดยองค์กรจะเลือกใช้รูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและบริบทของ แต่ละองค์กร ทั้งนี้ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมจะนำมาปรับใช้กับการทำงานจากบ้าน ของประเทศไทย คือ ระบบเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น (Flextime System) และเนื่องจากการทำางาน จากบ้านเป็นลักษณะที่ลูกจ้างอยู่ห่างจากนายจ้าง ดังนั้นจึงนิยมประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้ดัชนี ชี้วัดผลสำเร็จของงาน (Key Performance Indicators: KPI) เนื่องจากสามารถวัดผลได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ จึงถือว่าเป็นรูปแบบการประเมินผลที่สามารถสะท้อน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของลูกจ้างได้อย่างแท้จริง


มาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ช่วยบรรเทาภาระภาษีให้กับลูกจ้างแรงงานในระบบที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19), ชมพูนุท ขาวนวล 2020 คณะนิติศาสตร์

มาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ช่วยบรรเทาภาระภาษีให้กับลูกจ้างแรงงานในระบบที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19), ชมพูนุท ขาวนวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ในเวลาต่อมา จีนและองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ "เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่" ซึ่งเชื่อว่ามีต้นตอมาจากตลาดสดที่ขายอาหารทะเลและอาหารป่าในเมืองอู่ฮั่น โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับประเทศไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนา และพบการระบาดครั้งแรกปลายปี ค.ศ. 2002 ที่ประเทศจีนเช่นกัน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่พบผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่นอกจีนแผ่นดินใหญ่ โดยกระทรวงสาธารณสุขรายงานเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 พบว่ามีผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีน อายุ 61 ปีเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่นถึงไทยวันที่ 3 มกราคม 2563 โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบจากการคัดกรองด้วยเครื่องเทอร์โมสแกน จากนั้นได้ถูกนำตัวเข้ารับการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูรจนหายและตรวจไม่พบเชื้อ ก่อนที่จะเดินทางกลับจีนวันที่ 18 มกราคม 2563 ประเทศไทยเผชิญอยู่กับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี และดูเหมือนว่าสถานการณ์กำลังจะดีขึ้นแต่ก็กลับชะงักลงอีกครั้ง หลังจากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกในระลอกที่ 2 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่พบหญิงไทยวัย 67 ปี อาชีพค้าขายที่ตลาดกลางกุ้ง ในตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร ติดเชื้อโดยไม่มีประวัติการเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งหมายความว่าผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่ได้เป็น "ต้นเชื้อ" ทางกรมควบคุมโรคจึงได้พยายามค้นหาต้นเชื้อหรือสาเหตุการติดเชื้อของหญิงรายนี้ ซึ่งคาดว่าเป็นการติดเชื้อจากแรงงานชาวเมียนมาในตลาดกลางกุ้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานเมียนมาอยู่อย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการกระจายของเชื้อในรอบนี้ไม่ใช่สายพันธุ์จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนแล้ว แต่กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ G ซึ่งแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 8 - 9 เท่าตัว จึงเป็นเหตุให้คนไทยกลับมาเผชิญกับวิกฤตการณ์ของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกครั้ง ซึ่ง ณ วันที่ทำวิจัยฉบับนี้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก็ยังคงไม่มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านการทดลองในคนในระยะที่ 3 และมีการอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินอยู่ในหลายประเทศ ในเวลานี้มีอยู่ด้วยกัน 6 ตัวด้วยกัน คือ ไฟเซอร์/ไบออนเทค, โมเดอร์นา, แอสทราเซเนกา, สปุตนิควี, …


มาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดร้ายแรง : โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ปทิตตา สุขตระกูล 2020 คณะนิติศาสตร์

มาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดร้ายแรง : โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ปทิตตา สุขตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงก่อนวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมีการเติบโตและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 2-3 ล้านคนต่อปี ส่งผลให้ในปี 2561 รายได้จากการท่องเที่ยวของไทยขยับขึ้นไปอยู่ในอันดับ 4 ของโลก และมีสัดส่วนของธุรกิจการท่องเที่ยวต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงถึงร้อยละ 22 จนกระทั่งเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ซึ่งเริ่มระบาดมาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2562 ส่งผลให้ภาครัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 คือ การจำกัดการเดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ ลดการให้บริการขนส่งสาธารณะ และการใช้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ซึ่งมาตรการเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งสิ้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนนักท่องเที่ยว และรายได้จากนักท่องเที่ยว ทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย ในช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม ปี 2563 ลดลงร้อยละ 55.39 และร้อยละ 70.95 ตามลำดับ เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ธุรกิจโรงแรมเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยเฉพาะในจังหวัดซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต พังงา กระบี่และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น และจะส่งผลอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่มีรายได้หลักมาจากการประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ซึ่งไม่รวมถึง การประกอบธุรกิจสถานที่พักที่ไม่ใช่โรงแรม เช่น การเปิดฟาร์มสเตย์หรือโฮมสเตย์ เป็นต้น เนื่องจากสถานที่พักดังกล่าว มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัย และมีการประกอบธุรกิจให้บริการที่พักเพื่อหารายได้เสริมเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนผู้เข้าพักและอัตราการเข้าพัก ในโรงแรมในช่วงเดือนมกราคม – ธันวาคม ปี 2563 ลดลงร้อยละ 56.28 และร้อยละ 40.57 ตามลำดับ เมื่อเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมมีรายได้จากค่าห้องพักลดลง ในขณะที่ยังคงต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงเท่าเดิม ทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานและค่าใช้จ่ายในบริหารงานอื่น ๆ ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมขาดสภาพคล่อง มีเงินหมุนเวียนในธุรกิจลดน้อยลง และหากไม่สามารถปรับตัวได้ก็อาจส่งผลกระทบร้ายแรงถึงขั้นทำให้ธุรกิจโรงแรมต้องปิดตัวลง ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการออกมาตรการชั่วคราวทางภาษีเพื่อช่วยเหลือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ได้แก่ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกิจการโรงแรมเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ต้องการพัฒนา ปรับปรุงต่อเติมหรือขยายกิจการของโรงแรม แต่ต้องไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม สามารถนำรายจ่าย ที่เกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการโรงแรมระหว่างวันที่ 1 มกราคม– 31 ธันวาคม 2563 มาใช้เป็นรายจ่ายของกิจการได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายจริง …


มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของประเทศไทย, เฟื่องลดา มนตรีสา 2020 คณะนิติศาสตร์

มาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของประเทศไทย, เฟื่องลดา มนตรีสา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากในระหว่างปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกได้เผชิญกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระบาดไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทำให้ส่งผลกระทบทั้งต่อวิถีการ ดำรงชีวิตของผู้คนทั่วไป รวมไปถึงสภาพเศรฐกิจของแต่ละประเทศก็ได้รับกระทบเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกัน ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการอย่างมาก ทั้งในด้านการลงทุนจากในประเทศและนอกประเทศ การท่องเที่ยวที่ซบเซา ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มหยุดชะงักไม่สามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยความเสียหาย จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อเศรษฐกิจนั้นกระทบภาคธุรกิจหลายกิจการทั้งใน ส่วนของภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคอุตสาหกรรมที่มีการปิดตัวลง ทำให้เกิดการเลิกจ้างแรงงาน จะเห็นว่าจากผลกระทบในส่วนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ลามมากระทบในส่วนของภาคประชาชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ทางรัฐบาลจึงได้มีเร่งออกมาตรการช่วงเหลือต่างๆ ทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ และภาคประชาชน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีเม็ดเงินไหลเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเป็นการช่วยเหลือบรรเทาในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบให้สามารถดำเนิน กิจการต่อไปได้แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ยังคงมีการระบาด อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน และไม่มีสัญญาณว่าจะบรรเทาลงในเร็ววัน จึงได้ มีการศึกษามาตรการทางภาษีเงินได้ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ของต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประเทศไทย และศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา 2019 ของประเทศออสเตรเลียและเมียนมา เพื่อจะนำแนวทางมาตรการทางภาษีมาปรับ ประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน โดยจากการศึกษาพบว่ามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยยังมีบางมาตรการ ที่มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้สิทธิประโยชน์ไม่ชัดเจน ให้สิทธิประโยชน์ในทรัพย์สินแค่บางประเภท บางกลุ่มธุรกิจ หรือให้สิทธิประโยชน์สำหรับการจ้างแรงงานเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก จาการกล่าวมาจึง จะเห็นได้ว่ามาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ประกาศใช้แล้วในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีประสิทธิภาพ และความชัดเจนเพียงพอในการส่งเสริมการลงทุน รวมไปถึงไม่ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตมาก เท่าที่ควร ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางมาตรการทางภาษีประเทศออสเตรเลียและประเทศเมียนมาบาง มาตรการมาปรับประยุกต์ใช้ในส่วนของการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น โดยมาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์สินที่ควรจะส่งเสริมการลงทุนในทุก ประเภทของทรัพย์สินและทุกกลุ่มธุรกิจ รวมถึงการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในทรัพย์สินและ การจ้างแรงงานที่สามารถให้ตัดรายจ่ายได้มากขึ้นในปีที่ธุรกิจประสบกับสภาพเศรษฐกิจในสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้ว ยังเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีและยังช่วยให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนในบริษัทมากขึ้นอีกด้วย เพื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ จะได้ดำเนินกิจการผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจนี้ไปได้


มาตรการระงับข้อพิพาทคดีหลักทรัพย์โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ, บวร ประทีปพรศักดิ์ 2020 คณะนิติศาสตร์

มาตรการระงับข้อพิพาทคดีหลักทรัพย์โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ, บวร ประทีปพรศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันผู้ลงทุนหรือผู้เกี่ยวข้อง เข้าถึงตลาดทุนเพื่อเป็นแหล่งลงทุน และออมเงิน เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก การออมเงินไว้ในธนาคารพาณิชย์ไม่เพียงพอในการเอาชนะเงินเฟ้อได้ ดังนั้น ตลาดทุนจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมทางเลือกและเพิ่มทางเลือกในการบริหาร จัดการเงิน และออมเงินของประชาชนผู้ลงทุนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดสรรให้มีการลงทุนอย่าง มีประสิทธิภาพ ตลาดทุนมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (“สำนักงาน ก.ล.ต.”) เป็นหน่วยงานการกำกับดูแลหลักในตลาดทุน เพื่อดูแลการระดมทุนในตลาดแรก และมีตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการดูแลตลาดรอง สำนักงาน ก.ล.ต. ทำหน้าที่อนุญาตออกและเสนอขาย หลักทรัพย์ อันเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน อาทิ หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยังอนุญาตให้ออกและเสนอขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีสินค้า เช่น หลักทรัพย์ ทองคำ หรือ น้ำมันดิบ เป็นสินค้าอ้างอิง เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนให้ผู้ลงทุนและ ผู้เกี่ยวข้องมีทางเลือกเพิ่มเติมในการลงทุน ทั้งนี้ ตลาดทุนจึงถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ขับคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนความมั่นคั่งของประเทศที่สำคัญ ตลาดทุนจึงเป็นแหล่งที่ ประชาชนเข้ามาลงทุนเพื่อเก็บออมเงินหรือสร้างผลกำไร ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดข้อพิพาทคดีหลักทรัพย์ ขึ้นได้ ระหว่างผู้ลงทุนหรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบธุรกิจได้ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงได้จัดให้มีการระงับ ข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการขึ้นแต่กระบวนการดังกล่าวเป็นเพียงภาคสมัครใจ ทำให้เป็นกระบวนการที่ไม่ได้แพร่หลายและไม่เป็นที่นิยม ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาท โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยผู้ศึกษาเล็งเห็นว่า การระงับข้อพิพาททางเลือก โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการที่ รวดเร็ว และสามารถเลือกผู้ตัดสิน (อนุญาโตตุลาการ) มาชี้ขาดข้อพิพาทได้ โดยอนุญาโตตุลาการจะเป็นผู้ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทนั้นเป็นผู้ทำการวินิจฉัยขาดข้อพิพาทดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ศึกษา ได้เสนอแนวทางเพื่อทำให้กระบวนการการระงับข้อพิพาท โดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสำนักงาน ก.ล.ต. มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้ศึกษากระบวนการ อนุญาโตตุลาการทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ


สิทธิของธนาคารในฐานะผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ: ศึกษากรณีลูกหนี้นำเงินฝากมา เป็นหลักประกัน และอยู่ระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ, พลชา บูรณกาญจน์ 2020 คณะนิติศาสตร์

สิทธิของธนาคารในฐานะผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ: ศึกษากรณีลูกหนี้นำเงินฝากมา เป็นหลักประกัน และอยู่ระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ, พลชา บูรณกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธนาคารในประเทศไทย ได้มีการให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ในหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อภายในประเทศ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes: PN) หรือสินเชื่อสำหรับการเข้าทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น สินเชื่อเพื่อการนำเข้าและส่งออก (Trade Finance) รวมไปถึงการให้บริการการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ (Standby Letter of Credit: SBLC) โดยการให้บริการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ หรือ Standby Letter of Credit (“SBLC”) ของธนาคารนั้น มีวัตถุประสงค์สำหรับกรณีที่ลูกหนี้จะเข้าทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลอื่น ไม่วาจะเป็นสัญญาการดำเนินงาน หรือสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินต่างๆ โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายนั้นจะมีความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้จะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างครบถ้วน และก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น ไม่สามารถปฎิบัติหรือส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถชำระเงินได้ครบตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวคู่สัญญาอีกฝ่ายจึงได้มีข้อกำหนดให้ลูกหนี้ต้องนำหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารวางเข้าค้ำประกันสำหรับการดำเนินงาน หรือการเข้าทำสัญญาต่างๆ ดังนั้นลูกหนี้จึงมีคำขอออกหนังสือค้ำประกันมายังธนาคารที่ตนมีวงเงินสินเชื่ออยู่ เพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศและเข้าไปผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้บนสัญญาประธานต่างๆ ที่ลูกหนี้ได้เข้าทำนิติกรรมกับคู่สัญญาอีกฝ่าย ต่อมาหากลูกหนี้ไม่สามารถปฎิบัติตามสัญญาประธานดังกล่าวได้ คู่สัญญาอีกฝ่ายในฐานะผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ธนาคารชำระหนี้แทนตามจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือค้ำประกันต่างประเทศแต่ละฉบับ ดังนั้นการที่ธนาคารเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันผ่านการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ จะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับผลประโยชน์ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วก็จะสามารถเรียกให้ธนาคารชำระหนี้แทนได้ และธนาคารก็มีสิทธิที่จะมาไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ตามในภายหลังได้ ทั้งนี้หากลูกหนี้ตามสัญญาสินเชื่อของธนาคารเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และอยู่ในสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) มาตรา 90/12 คำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีผลไปถึงคู่สัญญาที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือหากลูกหนี้ได้มีการเข้าทำสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินแก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ โดยสัญญาดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ออกจากธนาคารในประเทศไทย ต่อมาหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประธาน เจ้าหนี้ต่างประเทศยังคงบังคับชำระหนี้ดังกล่าวผ่านการเรียกร้องให้ชำระหนี้ใต้ความผูกพันตามหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ธนาคารได้มีการออกเพื่อค้ำประกันไว้ ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารมีหน้าที่ที่จะต้องชำระทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของลูกหนี้ โดยปัจจุบันเกิดปัญหาขึ้นว่าธนาคารสามารถมาไล่เบี้ยกับลูกหนี้ขณะที่ลูกหนี้อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการได้อย่างไร และกรณีที่ลูกหนี้ได้มีการมอบหลักประกันเป็นการจดทะเบียนทางธุรกิจหลักประกันบัญชีเงินฝากไว้ ธนาคารสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวเพื่อมาชำระหนี้ได้ทันทีหรือไม่ หรือจะต้องมีการยื่นขอรับชำระหนี้ตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และรอรับชำระหนี้ตามแผนของลูกหนี้ในภายหลัง ซึ่งธนาคารในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ตามที่ควรจะเป็นซึ่งจะขึ้นอยู่กับแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้นำแผนจะนำส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และจะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเจ้าหนี้ทั้งหมด จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าคำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) ยังไม่สามารถระงับการบังคับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ประเทศได้ อันส่งผลให้เกิดความเสียหายและความเสี่ยงต่อธนาคารในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน รวมถึงตัวลูกหนี้เองที่อาจจะไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟิ้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่จะเข้ามาคุ้มครองลูกหนี้และธนาคารจากการเรียกรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่างประเทศระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ


แนวคิดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าที่สร้างมลพิษ, สุภัทรา รอดทิม 2020 คณะนิติศาสตร์

แนวคิดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าที่สร้างมลพิษ, สุภัทรา รอดทิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของมลพิษที่มีต่อชุมชนและ ประชาชนบริเวณรอบโรงไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการตั้งโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในพื้นที่ และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของประเทศไทย ที่จะสามารถนำมาใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตไฟฟ้า ตลอดจนศึกษามาตรการทางภาษี เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากโรงผลิตไฟฟ้าของประเทศชิลี เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาปรับ ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือประชาชน และ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งโรงไฟฟ้า ในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าก่อให้เกิดมลพิษมากมายที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน รวมทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีกองทุนพัฒนา ไฟฟ้า ตามมาตรา 97(3) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งเป็น เงินกองทุนเพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า แต่ก็ยังไม่ เพียงพอต่อการชดเชยความเสียหายของชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบบริเวณท้องถิ่นต่างๆ ที่มี โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ ทั้งนี้โรงไฟฟ้าของภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจใน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นนิติบุคคลเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในขณะที่ โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ยังคงมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี จากการศึกษาการจัดเก็บ ภาษีมลพิษของประเทศชิลีพบว่าได้มีการจัดเก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยมี การเรียกเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารปนเปื้อนในท้องถิ่น โดยยกเว้นการ จัดเก็บภาษีจากแหล่งพลังงานชีวมวลเพื่อเป็นการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งหลังจากที่มีการบังคับ ใช้ภาษีมลพิษในประเทศชิลีพบว่า ผู้ประกอบการมีแนวโน้มในการปรับพฤติกรรมโดยลดการปล่อย มลพิษลง ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนเงินภาษีที่จัดเก็บมีจำนวนลดลง ดังนั้นจึงเห็นว่าควรมีการศึกษาและนำแนวทางการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อลดการปล่อย มลพิษของประเทศชิลีมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายไทย ซึ่งแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีกฎหมายใดที่ให้ อำนาจในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมโดยตรงอย่างประเทศชิลี แต่อย่างไรก็ดีผู้วิจัยมีความเห็นว่า ประเทศไทยสามารถนำเอาหลักการของกฎหมายของประเทศชิลีมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายไทยได้ โดยให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตภายใต้หลักการภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อจูงใจผู้ประกอบการพิจารณา นำเทคโนโลยีสะอาดมาปรับใช้เพื่อให้สามารถลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้น และใน ระยะยาวต่อไป รวมถึงนำรายได้จากภาษีเหล่านั้นมาสมทบกองทุนพัฒนาไฟฟ้าหรือจัดตั้งกองทุนเพื่อ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้า


แนวทางในการนำการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2562) มาใช้กับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล, คุณานนท์ ปราสาทวัฒนา 2020 คณะนิติศาสตร์

แนวทางในการนำการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2562) มาใช้กับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล, คุณานนท์ ปราสาทวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้มูลค่ายุติธรรม (Fair Value) สำหรับการรายงานข้อมูลทางการเงินเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งพบได้จากการที่มาตรฐานการบัญชีให้ความสำคัญต่อการใช้มูลค่ายุติธรรมในการวัดมูลค่าสินทรัพย์โดยเชื่อว่ามูลค่ายุติธรรมช่วยส่งเสริมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) ของผู้ใช้งบการเงินมากกว่าราคาทุนเดิม (Historical Cost) แต่อย่างไรก็ตาม ราคาทุนเดิมเป็นมูลค่าในอดีตที่แสดงให้เห็นหลักฐานอันเที่ยงธรรม และเป็นหลักเกณฑ์การวัดมูลค่าพื้นฐานที่ใช้ในการวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรก (Initial Measurement) ในขณะเดียวกันราคาทุนเดิม เป็นจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่าย หรือมูลค่ายุติธรรมของสิ่งตอบแทนอื่นที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้สินทรัพย์นั้นมาหรือ ณ เวลาที่ก่อสร้างสินทรัพย์นั้น ซึ่งทางภาษีอากรใช้ราคาทุนเดิมในการรับรู้รายการทางภาษีอากร เพราะถือว่าเป็นมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่เกิดรายการ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป มูลค่าของสินทรัพย์ที่เคยบันทึกไว้ในราคาทุนเดิมย่อมมีมูลค่าที่แตกต่างไปจากวันที่เกิดรายการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากหลายๆ ปัจจัยเช่น สภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีวัตถุประสงค์การถือครองฯ ที่แตกต่างกัน เช่น การถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้งาน การถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เผื่อขาย และการถือครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หรือเรียกอีกอย่างคือหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของทรัพย์สิน (Capital Gain) หรือทั้งสองอย่าง แต่อย่างไรก็ตาม การถือครองอสังหาริมทรัพย์ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อการใช้วิธีการปฏิบัติทางการบัญชีที่แตกต่างกัน เพื่อให้มูลค่าทรัพย์สินที่แสดงอยู่บนงบการเงินสามารถสะท้อนมูลค่าที่เหมาะสม และผู้ใช้งบการเงินสามารถใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อใช้ในการตัดสินใจ “อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน” เป็นสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อหาประโยชน์ในการหารายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินทรัพย์หรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือบริการ หรือใช้ในการบริหารงานของตนหรือ มีไว้ตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ กิจการจะต้องบันทึกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ได้มาด้วยราคาทุน หลังจากนั้นกิจการสามารถเลือกวิธีการวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม หรือวิธีราคาทุน แต่ต้องใช้วิธีเดียวกันสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดที่กิจการมีอยู่ ซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นมีลักษณะพิเศษกว่าสินทรัพย์ชนิดอื่นและมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการถือครองที่แตกต่างจากสินทรัพย์ทั่วไป โดยบริษัทที่มีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนส่วนมากเป็นบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง มีเงินทุนสูง เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจะอยู่บริเวณพื้นที่ที่มีความเจริญ ได้รับการพัฒนาแล้ว อยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวก ง่ายต่อการปล่อยเช่า หรือถือครองไว้เพื่อเก็งกำไร หวังการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์ และพร้อมที่จะขายเมื่อทรัพย์สินสามารถสร้างกำไรจนถึงระดับที่พอใจ ดังนั้นจะพบว่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้งานเองหรือไว้เพื่อดำเนินกิจการเอง ลักษณะพิเศษของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนี้ยังถูกแยกแสดงรายการบนงบการเงินอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดความเข้าใจ บ่งบอกถึงความสำคัญของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนี้อย่างเด่นชัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะที่แตกต่างจากสินทรัพย์ทั่วไป การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของสรรพากรจะจัดเก็บต่อเมื่อขายทรัพย์สินไป ส่วนกำไรจากการวัดมูลค่าสินทรัพย์ยังไม่สามารถนำมาใช้ในทางภาษีได้ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่มีมาแต่เนิ่นนานและไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรส่วนมากทำอาชีพเกษตรกรรม ที่ดินส่วนมากจึงไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมเท่าที่ควร จึงทำให้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ไม่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงไม่มีแนวคิดที่จะจัดเก็บภาษีอากรจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน แต่ในปัจจุบันนักธุรกิจต่างมองหาโอกาสและจังหวะจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เพราะกำไรของอสังหาริมทรัพย์นั้นหากวัดเป็นตัวเงินจะมีมูลค่ามหาศาลจึงเป็นที่ต้องการของนักธุรกิจ ประเทศไทยได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทรัพย์สิน โดยเริ่มนำแนวคิดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจากมูลค่าทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าทรัพย์สินนั้นจะยังไม่ถูกขายหรือจำหน่ายไป โดยมีการศึกษาและการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ “ร่างพระราชบัญญัติภาษีการที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ” โดยเนื้อหาสรุปได้ว่า การจัดเก็บภาษีในปัจจุบันของประเทศไทย ไม่สะท้อนต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากมูลค่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์มีการปรับมูลค่าเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นในต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศโปแลนด์ ฮ่องกง และประเทศสหรัฐอเมริกามีการจัดเก็บภาษีในลักษณะนี้ที่เรียกว่า ภาษีลาภลอยเช่นกัน ดังนั้นเห็นได้ว่า …


Beyond Intermediation: A New (Fintech) Model For Securities Holding Infrastructures, Charles W. Mooney Jr. 2020 University of Pennsylvania Carey Law School

Beyond Intermediation: A New (Fintech) Model For Securities Holding Infrastructures, Charles W. Mooney Jr.

All Faculty Scholarship

Publicly traded securities generally are held by investors in securities accounts with intermediaries such as stockbrokers and central securities depositories—intermediated securities. For many investors this is the only practical means of holding and dealing with securities. These intermediated holding systems (IHSs) impose a variety of risks and costs. Investors are exposed to intermediary risk (default or insolvency of an intermediary holding securities) as well as impediments to the exercise of rights such as voting and asserting claims against securities issuers. The nontransparency of IHSs imposes other social costs, such as obstacles to anti-money laundering enforcement. The emergence of FinTech and …


For Coöperation And The Abolition Of Capital, Or, How To Get Beyond Our Extractive Punitive Society And Achieve A Just Society, Bernard E. Harcourt 2020 Columbia Law School

For Coöperation And The Abolition Of Capital, Or, How To Get Beyond Our Extractive Punitive Society And Achieve A Just Society, Bernard E. Harcourt

Faculty Scholarship

In hindsight, the term "capitalism" was always a misnomer, coined paradoxically by its critics in the nineteenth century. The term misleadingly suggests that the existence of capital produces a unique economic system or that capital itself is governed by economic laws. But that's an illusion. In truth, we do not live today in a system in which capital dictates our economic circumstances. Instead, we live under the tyranny of what I would call "tournament dirigisme": a type of state-directed gladiator sport where our political leaders bestow spoils on the wealthy, privileged elite.

We need to displace this tournament dirigisme with …


Why The Fed Should Issue A Policy Framework For Credit Policy, Kathryn Judge 2020 Columbia Law School

Why The Fed Should Issue A Policy Framework For Credit Policy, Kathryn Judge

Faculty Scholarship

The Federal Reserve has long used policy frameworks to both explain and inform its policymaking. These policy frameworks typically explain what the Fed is seeking to achieve in a given domain and how it plans to achieve its desired aims. Two prominent examples are the Fed’s use of Bagehot’s dictum when acting as a lender of last resort and its monetary policy framework issued in 2012 and revised in 2020. In both instances, the framework provides a foundation for informed debate among Fed policymakers, Congress, and the public, enhancing both efficacy and accountability. Since the onset of the Covid crisis, …


Of Sustainable Development In Africa: Addressing The (In)Congruence Of Plastic Bag Regulations With International Trade Rules, Regis Y, Simo 2019 Brooklyn Law School

Of Sustainable Development In Africa: Addressing The (In)Congruence Of Plastic Bag Regulations With International Trade Rules, Regis Y, Simo

Brooklyn Journal of International Law

Several aspects of the trade policies of African countries suffer from neglect in the legal literature. When they are the object of research, the focus is sometimes limited to their participation in the dispute settlement system or on the enforceability of special and differential treatment provisions. While practice displays that African countries have almost never been the target of complaints for a number a reasons, those approaches do not always take into consideration African countries’ domestic measures affecting the flow of goods and services, which could eventually trigger disputes. This paper intends to fill that gap and add to the …


Global Implementation Of Soda Taxes: Is There A Better Solution For Combatting Obesity?, Lauren Cedeno 2019 Brooklyn Law School

Global Implementation Of Soda Taxes: Is There A Better Solution For Combatting Obesity?, Lauren Cedeno

Brooklyn Journal of International Law

As incidences of overweight and obese populations continue to increase around the world, countries are looking for ways to decrease the prevalence of this epidemic. Soda and SSB taxes have increased in prevalence as countries seek to address the health problems associated with consumption of soda and other sugary beverages. This Note explores the implementation of these taxes in Mexico, Europe, and the United States. In analyzing these taxes, this Note seeks to gain a greater understanding of whether these taxes have impacted overweight and obesity rates in the countries and municipalities that have enacted them. This Note argues that …


Reducing The Governance Gap For Corporate Complicity In International Crimes, Seunghyun Nam 2019 Brooklyn Law School

Reducing The Governance Gap For Corporate Complicity In International Crimes, Seunghyun Nam

Brooklyn Journal of International Law

With increasing reports of corporations involved in serious human rights abuses that amount to international crimes, there are greater calls for states to hold these corporations accountable. Still, many obstacles and challenges remain when it comes to holding corporations accountable. Complex corporate structures, the extraterritorial dimension of the abuses, competition among states and businesses, lack of institutional capacity on the part of states, and lack of legal coordination among states collectively create an impunity gap. The case studies of the situation in Burma and the Democratic Republic of Congo involving foreign companies aim to illustrate this governance gap. With growing …


Digital Commons powered by bepress