Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2,940 Full-Text Articles 3,841 Authors 1,510,314 Downloads 175 Institutions

All Articles in Operations and Supply Chain Management

Faceted Search

2,940 full-text articles. Page 36 of 113.

การปรับปรุงระบบควบคุมสินค้าคงคลังร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง, กันตินันท์ ทวีกิจนะวันชัย 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การปรับปรุงระบบควบคุมสินค้าคงคลังร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง, กันตินันท์ ทวีกิจนะวันชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการปรับปรุงระบบควบคุมสินค้าคงคลังร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา โดยการลดขั้นตอนการดำเนินงานภายในองค์กรและเพิ่มความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งทำการศึกษาการจัดเก็บเอกสาร ข้อมูลการปฏิบัติงานจากการสัมภาษณ์และข้อมูลจากการสังเกตการณ์ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาของการจัดการระบบควบคุมสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้น โดยใช้ทฤษฎีแผนภูมิการไหลของการดำเนินงานในการพิจารณาขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน และใช้แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) ในการอธิบายปัญหาของการทำงานในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา และทำการหาแนวทางในการแก้ไขโดยการพัฒนาโปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลังด้วยโปรแกรม Microsoft Access เพื่อสร้างระบบฐานข้อมูลและเพื่อควบคุมการปฏิบัติงานการควบคุมสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จากผลการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานของบริษัทกรณีศึกษา พบว่า ระบบควบคุมสินค้าคงคลังที่พัฒนาขึ้นนั้นสามารถลดขั้นตอนในการดำเนินงานรวมทั้งหมดจาก 20 ขั้นตอน เหลือ 15 ขั้นตอน ซึ่งจะลดในขั้นตอนของการตรวจนับสินค้าคงคลังโดยวิธีตรวจนับด้วยระดับสายตามาใช้วิธีในการใช้ระบบสารสนเทศเข้ามาแทนการบันทึกข้อมูลสินค้าคงคลังด้วยวิธีการจดบันทึกลงกระดาษหรือสมุดและมีการเพิ่มขั้นตอนการตรวจนับสินค้าเพื่อให้ข้อมูลสินค้าคงคลังมีความถูกต้อง ง่ายต่อการตรวจสอบจำนวนสินค้าคงคลังให้ตรงกับในระบบ


การพยากรณ์ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยอดขายต่ำ, ลลิตภัทร จรัสเกิดสกุล 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การพยากรณ์ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยอดขายต่ำ, ลลิตภัทร จรัสเกิดสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์ที่เคลื่อนไหวช้าของ บริษัทกรณีศึกษา ที่ซื้อขายผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์แบบซื้อมาขายไป การศึกษามุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ 5 ชนิดซึ่งมียอดขายอย่างน้อย 80% ของยอดขายทั้งหมด งานวิจัยเล่มนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลการขายรายเดือนซึ่งครอบคลุมปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562 ข้อมูลที่มีจะแบ่งออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561 สำหรับการตั้งค่าโมเดลและข้อมูลปี พ.ศ. 2562 สำหรับการทดสอบโมเดลที่สร้างขึ้น ในการศึกษานี้ได้ใช้เทคนิคการพยากรณ์สามแบบในการพิจารณา ได้แก่ Simple Exponential Smoothing, Croston method และ Teunter, Syntetos และ Babai method การศึกษาเริ่มต้นด้วยการกำหนดพารามิเตอร์แบบจำลองของวิธีการพยากรณ์ทั้งสามวิธีโดยพิจารณาจากข้อมูลปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2561 จากพารามิเตอร์ที่ได้รับจากนั้นจะใช้ทั้งหมดในการคาดการณ์ความต้องการสำหรับปี พ.ศ. 2562 วิธีการพยากรณ์ที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์จะถูกเลือกโดยการพิจารณา ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนสัมบูรณ์ (MAD) ชนิดอุปสงค์ของแต่ละผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น Erratic หรือ Lumpy ตามค่าเฉลี่ยของช่วงเวลาระหว่างอุปสงค์ และ ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของอุปสงค์ จากการศึกษาพบว่าวิธีการพยากรณ์ที่เลือกนั้นตรงกับประเภทของอุปสงค์ตามที่แนะนำในทางทฤษฎี ผลการศึกษาพบว่าจากการพยากรณ์ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวข้างต้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับ SC40 คือ Simple Exponential Smoothing, RCA6 และ SC44 คือ Croston (Croston's Method), 2RCA และ HDMI คือวิธี Teunter, Syntetos และ Babai (TSB) ซึ่งสอดคล้องกับประเภทความต้องการในโมเดลข้อมูลการทดสอบ


การลดความสูญเสียในโซ่อุปทานของการส่งออกชิ้นส่วนประกอบรถยนต์, วิศรุตา พูนพิพัฒน์กุล 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การลดความสูญเสียในโซ่อุปทานของการส่งออกชิ้นส่วนประกอบรถยนต์, วิศรุตา พูนพิพัฒน์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานของ บริษัทกรณีศึกษา ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อลดปัญหาการส่งมอบสินค้าที่ไม่ตรงความต้องการของลูกค้า การศึกษานี้ได้ปรุะยุกต์ใช้แนวคิด ลีน ซิกซ์ ซิกมา (Lean Six Sigma) และดำเนินการผ่านกระบวนการที่เรียกว่า DMAIC (Define-Measure-Analysis-Improve-Control) จากข้อมูลข้อร้องเรียนปัญหาคุณภาพสินค้าศึกษาพบว่าอาการสำคัญของปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาทันที คือ ปัญหาสินค้าจัดส่งไม่ครบ หรือเกินจำนวน ซึ่งจะอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ตั้งแต่ผู้จัดหาวัตถุดิบไปยังลูกค้า แต่เนื่องจากข้อจำกัด ในการรวบรวมข้อมูลภาคสนามเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขอบเขตของการศึกษาจำกัดเฉพาะขั้นตอนการทำงานในคลังสินค้า กาวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงจะระบุสาเหตุหลักดังต่อไปนี้ 1) ภาระงานไม่เพียงพอ 2) การฝึกอบรมที่ไม่ดี 3) อุปกรณ์ชั่งน้ำหนักที่ไม่ดี และการเสนอแนวทางปรับปรุงพนักงาน ได้แก่ 1) การปรับสมดุลกำลังคนและการใช้งานล่วงเวลา 2) โปรแกรมการฝึกอบรมใหม่ 3) พัฒนาการควบคุมภาพเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่สถานีชั่งน้ำหนักและปรับปรุงอุปกรณ์น้ำหนัก คาดว่าการดำเนินการแก้ไขที่เสนอจะนำไปสู่การลดต้นทุนพนักงานชั่วคราว 11% และปัญหาการจัดส่งลดลง 75%


การลดเวลาการให้บริการกรณีศึกษาร้านอาหารญี่ปุ่น Xxx, ณัฐชัย ศิริแสงชัยกุล 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การลดเวลาการให้บริการกรณีศึกษาร้านอาหารญี่ปุ่น Xxx, ณัฐชัย ศิริแสงชัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งหนึ่งได้ดำเนินธุรกิจเป็นเวลากว่า 5 ปี มีรูปแบบการขายอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ทางร้านพบว่ายังมีลูกค้าบางส่วนที่ไม่ประทับใจในการให้บริการของทางร้านเนื่องจากลูกค้าได้รับอาหารนาน ที่ทางร้านจะได้รับเป็นข้อเสนอตามเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นในการสังคมออนไลน์ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้กระบวนการออกอาหารช้า คือ การทำอาหารใช้เวลานาน และตารางพนักงานที่ไม่เหมาะสม ผู้ศึกษาจึงเสนอวิธีแก้ปัญหาดัง 2 วิธี คือ 1. ลดความจุต่อจานของอาหารประเภทซูชิและซาชิมิ และ 2.จัดตารางพนักงานใหม่ โดยคาดหวังในสามารถลดเวลาในการให้บริการเฉลี่ยได้ 1 นาที และรักษาระดับอรรถประโยชน์ของพนักงานไว้ที่ไม่เกิน 70 % ในช่วงเวลา 11:00-16:00 น. ของวันเสาร์และอาทิตย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้ามากที่สุดของทางร้าน ผู้ศึกษาได้ใช้แบบจำลองสถานการณ์ผ่านโปรแกรม Arena โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2564 พบว่า วิธีที่ 2 หรือวิธีการจัดตารางพนักงานใหม่โดยพิจารณาข้อมูลจำนวนลูกค้าเข้าในแต่ละช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในอดีต และจัดตารางพนักงานให้สอดคล้องลูกค้าที่เข้ามาเป็นวิธีที่ได้ผลในการลดเวลาในการให้บริการเฉลี่ยโดยสามารถลดได้ถึง 3.15 นาที ดีกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ในขณะที่การลดความจุต่อจานของอาหารประเภทซูชิและซาชิมิสามารถลดได้เวลาในการให้บริการเฉลี่ยได้ 0.935 นาทีซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ดีทั้ง 2 วิธีสามารถรักษาระดับอรรถประโยชน์พนักงานไว้ที่ 70%


การวางแผนการขนส่งน้ำมันทางเรือภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร, ชลธิศ บำรุงวัด 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การวางแผนการขนส่งน้ำมันทางเรือภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร, ชลธิศ บำรุงวัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ของการวางแผนขนส่งน้ำมันทางเรือจำนวน 3 ประเภทจากโรงกลั่นกรุงเทพมหานครไปเติมที่คลังน้ำมันปลายทางสุราษฎร์ธานีภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร อุปสงค์น้ำมันถูกจำลองขึ้นมาเทคนิคมอนติคาร์โล ขณะที่ตัวแปรในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อแบบจำลองประกอบด้วย ระดับน้ำมันในถัง จำนวนและขนาดบรรทุกของเรือ ความพร้อมของเรือขนส่งในสัญญา และความพร้อมของท่าเรือ และแบบจำลองถูกสร้างเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ตามเงื่อนไขเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณบรรทุกของเรือขนส่งและนโยบายการเติมสินค้า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่กำหนดนโยบายการเติมสินค้าแบบ 70/70/70 ซึ่งเป็นการกำหนดจุดเติมสินค้าเมื่อถังมีพื้นที่ว่าง 70 เปอร์เซ็นต์ ผลลัพธ์จากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าการวางแผนขนส่งด้วยเรือ 2 ลำ ที่ปริมาณบรรทุกรวม 3.2 ล้านลิตร ทำให้เกิดต้นทุนรวมค่าขนส่งต่ำที่สุด สำหรับนโยบายทางเลือกที่ปรับปรุงจุดเติมสินค้าของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเมื่อถังมีพื้นที่ว่าง 60 เปอร์เซ็นต์ ได้ส่งผลต่ออรรถประโยชน์ในการใช้เรือเพิ่มขึ้น การลดลงของน้ำมันขาดมือที่คลังปลายทาง และต้นทุนรวมค่าขนส่งที่ลดลง จากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและต้นทุนมีผลกระทบมาจากนโยบายการเติมสินค้าและจำนวนเรือขนส่ง


การวิเคราะห์การจัดเส้นทางการให้บริการหลังการขายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษา บริษัท Xyz, ธมนวรรณ พูลพุฒ 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การวิเคราะห์การจัดเส้นทางการให้บริการหลังการขายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษา บริษัท Xyz, ธมนวรรณ พูลพุฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ต การได้กำไรในด้านการบริการหลังการขาย คือการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหรือการลดระยะการเดินทางการให้บริการของช่างที่ไปบ้านลูกค้ากรณีมีเหตุแจ้งเสีย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดเส้นทางบริการหลังการขาย เพื่อยกระดับการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นประหยัดต้นทุนด้านการบริการหลังการขาย คือลดระยะเส้นทางการดำเนินงานให้น้อยลง โดยพิจารณาจากตำแหน่งลูกค้าที่ต้องให้บริการ เวลาที่ลูกค้านัดหมาย และระยะทางในการเดินทางของช่าง โดยนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ในการจำลองเส้นทางการทำงานแบบเดิม โดยให้วิเคราะห์แบบคงลำดับการทำงานแบบเดิม (ฟังก์ชัน Route) และวิเคราะห์เส้นทางการทำงานแบบใหม่ที่เหมาะสม โดยให้จัดลำดับลูกค้าใหม่ได้ (ฟังก์ชัน Vehicle Routing Problem หรือ VRP) ผลการวิจัยพบว่า สามารถลดจำนวนเส้นทางการให้บริการของช่างได้ถึง 15 เส้นทาง คิดเป็นลดลงร้อยละ 6.12 สามารถลดระยะการทำงานได้ถึง 1,730.83 กิโลเมตร คิดเป็นลดลงร้อยละ 20.59 แต่ในส่วนของการตรงต่อเวลานัดหมายลดลงจากเดิม 3.31% ซึ่งเป็นการล่าช้าในเวลาไม่เกิน 10 นาที


การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนคลังสินค้าอัตโนมัติ, พิชามญชุ์ พัฒนจิรานันท์ 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลงทุนคลังสินค้าอัตโนมัติ, พิชามญชุ์ พัฒนจิรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบคลังสินค้าแบบเดิมซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักและออกแบบระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ รวมทั้งทำการเปรียบเทียบระบบคลังสินค้าทั้ง 2 แบบเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการลงทุนในระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ การศึกษามุ่งเน้นไปที่ความต้องการคลังสินค้าของบริษัทค้าปลีกอุปกรณ์กีฬา โดยมีขั้นตอนการออกแบบคลังสินค้าทั้งหมด 10 ขั้นตอน คือ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ 2. เก็บรวมรวมข้อมูล 3. พิจารณาความเป็นไปได้ของ Unit Loads 4. กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวิธีการ 5. พิจารณาอุปกรณ์ที่เป็นไปได้ทั้งประเภทและลักษณะการใช้งาน 6. เตรียมผังคลังสินค้าที่เป็นไปได้ 7. คำนวณจำนวนเครื่องจักรอุปกรณ์และจำนวนพนักงาน 8. ทำการประเมินความเป็นไปได้ และ 9. ทำการเปรียบเทียบเพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการลงทุน ผลการดำเนินการวิจัยพบว่าคลังสินค้าซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักใช้พื้นที่คลังสินค้ามากกว่าคลังสินค้าอัตโนมัติอยู่ที่ 42% ทั้งยังใช้จำนวนรถยกและพนักงานที่ต้องการต่อ 1 กะในอัตราที่มากกว่า 4 เท่าของคลังสินค้าอัตโนมัติ แต่คลังสินค้าซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักนั้นลงทุนเครื่องจักรอุปกรณ์น้อยกว่า โดยเมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างค่าจ้างพนักงาน ค่าอุปกรณ์เครื่องจักร ค่าเช่าที่ดิน และค่าก่อสร้างอาคารคลังสินค้า จะเห็นได้ว่าการลงทุนในคลังสินค้าอัตโนมัติมีความคุ้มค่ามากกว่าในการลงทุนของคลังสินค้าซึ่งใช้แรงงานคนเป็นหลักถึง 29.59% และจากการวิเคราะห์ความไวของโครงการเพื่อพิจารณาและคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ต้นทุนคลังสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน หรือค่าเครื่องจักรอุปกรณ์ที่มีต้นทุนเปลี่ยนไปนั้นจะเห็นได้ว่าการลงทุนในคลังสินค้าอัตโนมัติมีความคุ้มค่ากว่าไม่ว่าต้นทุนคลังสินค้าจะเปลี่ยนแปลงก็ตาม


การวิเคราะห์ปัจจัยและพื้นที่ศึกษา สำหรับสร้างโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ด้วยกระบวนการ Ahp ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Gis, ธนา ภัทรจรรยานันท์ 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การวิเคราะห์ปัจจัยและพื้นที่ศึกษา สำหรับสร้างโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ด้วยกระบวนการ Ahp ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Gis, ธนา ภัทรจรรยานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ LNG บริเวณพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและขนส่งสินค้า เนื่องจากตัวสินค้ามีลักษณะเฉพาะ พร้อมทั้งช่วยลดระยะเวลาในการคัดเลือกพื้นที่ซึ่งอาจกระทบต่อระยะเวลาในสัญญารับเหมาก่อสร้าง ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และวิศวกรผู้ปฏิบัติงานจริงจำนวน 7 ท่าน ในการประเมินลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักซึ่งแบ่งตามทฤษฎี 7R Logistics และปัจจัยรองภายในกลุ่มปัจจัยหลักเดียวกัน ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process; AHP) จากนั้นจึงทำผลที่ได้มานำเสนอร่วมกับ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกพื้นที่ต่อไป ผลจากการวิเคราะห์ลำดับสำคัญของปัจจัยพบว่า กลุ่มปัจจัยหลักที่ได้รับลำดับความสำคัญของปัจจัยค่อนข้างสูง ได้แก่ ความสมบูรณ์ของสินค้า (Right Conviction) 31.74% , ความถูกต้องเหมาะสมทางภูมิศาสตร์และความพร้อมของพื้นที่ (Right Place) 28.04% และ ความถูกต้องด้านปริมาณสินค้า (Right Quantity) 20.87% ส่วนกลุ่มปัจจัยหลักที่ได้รับลำดับความสำคัญค่อนข้างน้อยได้แก่ ความถูกต้องเหมาะสมด้านต้นทุน (Right Cost) 10.66% และ ความถูกต้องในเรื่องระยะเวลา (Right Time) 8.69% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของพื้นที่ศึกษาพบว่าบริเวณพื้นที่นิคมอุสาหกรรมแหลมฉบังมีคุณสมบัติตรงตามกลุ่มปัจจัยที่มีลำดับความสำคัญสูง มากกว่าบริเวณพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วนกลุ่มปัจจัยที่มีความสำคัญค่อนข้างน้อยทั้งสองพื้นที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกันทั้งสองพื้นที่


การวิเคราะห์เพื่อกำหนดจำนวนรถของบริษัท ภายใต้ความต้องการขนส่งที่ไม่แน่นอน : กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, แก้วกานต์ กล่อมหาดยาย 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การวิเคราะห์เพื่อกำหนดจำนวนรถของบริษัท ภายใต้ความต้องการขนส่งที่ไม่แน่นอน : กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง Abc, แก้วกานต์ กล่อมหาดยาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดจำนวนรถขนส่งของบริษัทที่เหมาะสม ภายใต้ความต้องการขนส่งที่ไม่แน่นอน ซึ่งใช้ข้อมูลของบริษัทกรณีศึกษา ABC ในแผนกการขนส่งแบบกระจายสินค้าทั่วประเทศ (Nationwide Distribution Transport) โดยมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะการขนส่งสินค้าที่ครอบคลุมพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดขอนแก่นที่มีการขนส่งด้วยรถที่เป็นของบริษัท (Own fleet) และบริษัทขนส่งภายนอก(Outsource) โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้การจำลองสถานการณ์ที่สามารถแบ่งการจำลองสถานการณ์ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) การสร้างแบบจำลองความต้องการขนส่งสินค้ารายวันโดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โล 2) การพัฒนาสมการประมาณการจำนวนรถขนส่งสินค้าต่อวันด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ที่มีตัวแปรสำคัญทั้งหมด 3 ตัวแปรได้แก่ จำนวนสินค้าที่ต้องการขนส่งต่อวัน จำนวนลูกค้าที่ขนส่งต่อวัน ระยะทางระหว่างลูกค้าทั้งหมดในหนึ่งวัน 3) การประมาณการต้นทุนรวมด้านการขนส่ง และ 4) การกำหนดจำนวนรถขนส่งของบริษัทที่เหมาะสม ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าจำนวนรถขนส่งของบริษัทที่เหมาะสมสำหรับแผนกการขนส่งแบบกระจายสินค้าทั่วประเทศ เท่ากับ 7 คันที่ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเฉลี่ยต่อปีต่ำที่สุด


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการด้านเอกสารระหว่างระบบดั้งเดิมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์, ฉัฐสรัช หอวรางกูร 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการด้านเอกสารระหว่างระบบดั้งเดิมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์, ฉัฐสรัช หอวรางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้บริการด้านเอกสารระหว่างระบบดั้งเดิมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครโดยทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุน ระยะเวลา และความผิดพลาดในการให้บริการด้านเอกสารของระบบดั้งเดิมเปรียบเทียบกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า การให้บริการด้านเอกสารของระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถลดต้นทุนในการให้บริการด้านเอกสารได้ คิดเป็นร้อยละ 4.02 และสามารถลดระยะเวลาในการให้บริการด้านเอกสารได้ คิดเป็นร้อยละ 42.55 ส่วนในการวิเคราะห์ความผิดพลาด พบว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถลดจำนวนความผิดพลาดในการให้บริการด้านเอกสารได้ คิดเป็นร้อยละ 54.19 ลดระยะเวลาในการแก้ไขความผิดพลาดได้ คิดเป็นร้อยละ 79.37 ลดต้นทุนความสูญเปล่าได้ คิดเป็นร้อยละ 83.95 และลดระยะเวลาความสูญเปล่าได้ คิดเป็นร้อยละ 84.52 ซึ่งจากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการด้านเอกสารของบริษัทโลจิสติกส์ สามารถช่วยลดต้นทุน ระยะเวลา และความผิดพลาดในการให้บริการด้านเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในการวัดประสิทธิภาพในการจัดการ ควรมีการจัดตั้งการชี้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างถ่องแท้ รวมถึงกระบวนการประเมิน และวิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร เพื่อเป็นประโยชน์ในการประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินการทั้งการดำเนินการด้านเอกสารและด้านอื่นๆต่อไป


การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดส่งครุภัณฑ์สายพลาธิการให้กับคลังสาขาระหว่างวิธีขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองกับการว่าจ้างจากภายนอก, ภานุวัฒน์ แสนอุ่น 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการจัดส่งครุภัณฑ์สายพลาธิการให้กับคลังสาขาระหว่างวิธีขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองกับการว่าจ้างจากภายนอก, ภานุวัฒน์ แสนอุ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการจัดส่งครุภัณฑ์ของกองทัพเรือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการแจกจ่ายครุภัณฑ์สายพลาธิการของกองทัพเรือ รวมไปถึงเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และต้นทุนที่เกิดขึ้นของการจัดส่งครุภัณฑ์สายพลาธิการให้กับคลังสาขา ด้วยวิธีขนส่งด้วยยานพาหนะของกองทัพเรือเอง กับการว่าจ้างบริษัทเอกชนในการขนส่ง โดยทำการเก็บรวมรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรมขนส่งพัสดุสายพลาธิการให้กับคลังสาขาของกองทัพเรือในช่วงปี 2562 ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกในรายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับต้นทุนในวงจรชีวิตของยานพาหนะที่กองทัพเรือใช้ จากการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมของการขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการขนส่งโดยว่าจ้างจากภายนอก 348,736.50 บาท ในปี 2562 (802,736.50 - 454,000 บาท) อย่างไรก็ตาม การขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองมีข้อดีในด้านความรวดเร็ว คล่องตัวและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน จากการศึกษาพบว่าต้นทุนในส่วนของยานพาหนะรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง ประกอบกับบทสัมภาษณ์ความต้องการใช้ยานพาหนะของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นว่ารถยนต์บรรทุกขนาดเล็กยังมีความจำเป็นในการใช้ปฏิบัติราชการอยู่ ดังนั้น รูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม คือ การขนส่งโดยว่าจ้างจากภายนอก ควบคู่การการขนส่งด้วยยานพาหนะของตัวเองด้วยยานหนะรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก สำหรับการขนส่งระยะใกล้ (พื้นที่สัตหีบ)


การเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งระหว่างการจัดเรียงพาเลทสินค้าชั้นเดียวบนรถบรรทุกกับการจัดเรียงพาเลทสินค้าซ้อนกัน 2 ชั้น, ชุติกาญจน์ กองทอง 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งระหว่างการจัดเรียงพาเลทสินค้าชั้นเดียวบนรถบรรทุกกับการจัดเรียงพาเลทสินค้าซ้อนกัน 2 ชั้น, ชุติกาญจน์ กองทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดเรียงและขนส่งสินค้าระหว่างการจัดเรียงพาเลทสินค้าชั้นเดียวบนรถบรรทุกโดยการบรรจุกล่องสินค้าลงบนพาเลทไม้ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกับการจัดเรียงพาเลทสินค้าซ้อนกัน 2 ชั้นวิธีใหม่โดยการนำกล่องสินค้าบรรจุลงในตะกร้าเหล็กแล้ววางตะกร้าเหล็กซ้อนกัน 2 ชั้นบนรถบรรทุก งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดเรียง จัดส่งและทำรับสินค้า แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้นั้นมาคำนวณประมาณการความต้องการการขนส่งและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งเปรียบเทียบระหว่างวิธีการจัดเรียงสินค้าทั้ง 2 วิธี ผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเรียงสินค้าจากการวางพาเลทสินค้าชั้นเดียวมาเป็นการจัดเรียงกล่องสินค้าลงตะกร้าเหล็กและจัดเรียงตะกร้าเหล็กซ้อนกัน 2 ชั้นบนรถบรรทุกนั้น ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่งได้ถึง 5,024,923 บาทต่อปีหรือประมาณ 52 เปอร์เซ็น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางให้บริษัทกรณีศึกษานำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการดำเงินงาน รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งสินค้า


การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท Abc, ชาธินี ศรีงาม 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท Abc, ชาธินี ศรีงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและปรับปรุงรูปแบบการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม โดยนำเทคนิคการพยากรณ์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และเพื่อช่วยลดต้นทุนสินค้าที่เกิดจากการบริหารสินค้าคงคลัง จากการศึกษาพบว่าบรืษัทกรณีศึกษายังไม่มีระบบจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสม และไม่มีมาตราการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม ปัจจุบันอาศัยเพียงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวในการกำหนด ทำให้บริษัทประสบปัญหาปริมาณสินค้าคงคลังมากเกินความต้องการ (Over Stock) ส่งผลให้มีต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าที่สูง ผู้วิจัยรวบรวมและนำข้อมูลยอดขายสินค้า ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 มาวิเคราะห์หาระดับความสำคัญของสินค้าแต่ละชนิดโดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Classification พบว่า กลุ่ม A มีสินค้าจำนวน 7 รายการ มูลค่ารวมคิดเป็น 73.11 % ของยอดขายสินค้าทั้งหมด มูลค่าเท่ากับ 19,613,390.00 บาท จากนั้นเลือกใช้วิธีการพยากรณ์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลา (Time Series Forecasting) แบบมีฤดูกาลจำนวน 3 วิธี ซึ่งประกอบด้วย การพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลเพียงอย่างเดียว (Simple Seasonal Exponential Smoothing method), การพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลและแนวโน้มเชิงบวก (Holt-Winters’ Additive Seasonal Smoothing Method) และการพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลและแนวโน้มเชิงคูณ (Holt-Winters' Multiplication Seasonal Smoothing Method) มาวิเคราะห์และพยากรณ์ความต้องการสินค้าในอนาคต หลังจากนั้น คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) จุดสั่งซื้อใหม่ (ROP) และต้นทุนรวมสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า การสั่งซื้อรูปแบบที่นำเสนอสามารถช่วยลดต้นทุนรวมสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา ได้เท่ากับ 1,220,824.64 บาท หรือเท่ากับ 44% เมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าการสั่งซื้อในรูปแบบใหม่ที่นำเสนอช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้ดียิ่งขึ้น


การเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล: กรณีศึกษา บริษัทแสตมป์ปิ้งฟอยล์, วิภาวี จันทร์แก้ว 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล: กรณีศึกษา บริษัทแสตมป์ปิ้งฟอยล์, วิภาวี จันทร์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทกรณีศึกษามีโรงงานสำหรับแปรรูปสินค้าและคลังสินค้าตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองเตย กรุงเทพฯ มีแนวคิดที่จะลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่มและขยายธุรกิจเพื่อรองรับยอดขายในอนาคต จึงจำเป็นต้องหาพื้นที่ที่สามารถจัดตั้งโรงงานได้ตามกฎหมาย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมสร้างโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลของบริษัทกรณีศึกษา โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิภาพด้านระยะทางการขนส่งเป็นหลัก งานวิจัยนี้จึงพิจารณาระยะทางจากสนามบินหรือท่าเรือสำหรับการนำเข้าสินค้า และระยะทางในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าให้น้อยที่สุด ในการดำเนินงานวิจัย ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่ที่เหมาะสม โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับ (Overlay Function) เพื่อหาพื้นที่จำนวนหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนด ร่วมกับเทคนิควิเคราะห์เมทริกซ์ต้นทุนระหว่างต้นทางและปลายทาง (Origin-Destination Cost Matrix) เพื่อคำนวณระยะทางถ่วงน้ำหนักของแต่ละเส้นทาง และใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ในการหาค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย เพื่อนำไปกำหนดระดับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญให้ค่าน้ำหนักของปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านราคาที่ดิน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ปัจจัยด้านระบบสาธารณูปโภค และปัจจัยด้านระยะห่างจากถนนสายหลัก เป็นลำดับสุดท้าย ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับสร้างโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่มากที่สุด คือ พื้นที่บริเวณแขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร


นโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐาน, เสาวลักษณ์ ปศุพันธาภิบาล 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

นโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐาน, เสาวลักษณ์ ปศุพันธาภิบาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐานเพื่อปรับปรุงระดับการให้บริการลูกค้าและลดต้นทุนสินค้าคงคลังรวม โดยจำแนกประเภทสินค้าแบบ ABC จากข้อมูลความต้องการสินค้าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อคัดเลือกสินค้าตัวอย่างจากกลุ่ม A ที่ตรงตามเงื่อนไขของงานวิจัยซึ่งมีทั้งหมด 5 รายการ จากนั้นศึกษาข้อมูลในอดีตของสินค้าตัวอย่างทั้ง 5 รายการเพื่อนำมาพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือนและสามารถแบ่งกลุ่มสินค้าได้เป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีข้อมูลความต้องการสินค้าในอดีต 12 เดือนซึ่งไม่สามารถตรวจสอบแนวโน้มหรือฤดูกาลได้ ดังนั้นจึงเปรียบเทียบวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามเดือนและการปรับเรียบอย่างง่าย และกลุ่มที่ 2 มีข้อมูลความต้องการสินค้าในอดีต 24 เดือนซึ่งลักษณะข้อมูลเป็นฤดูกาล ดังนั้นจึงเปรียบเทียบวิธีการปรับเรียบแบบมีฤดูกาลอย่างง่ายและการปรับเรียบซ้ำสามครั้งของวินเตอร์ และเลือกวิธีพยากรณ์ที่ดีที่สุดจากค่าร้อยละผิดพลาดสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด และนำค่าพยากรณ์ที่ได้มากำหนดนโยบายสินค้าคงคลัง ทั้งนี้บริษัทกรณีศึกษามีระบบการวางแผนทรัพยากรในการควบคุมสินค้าคงคลังอยู่แล้ว ในงานวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งคำนวณปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด สินค้าคงคลังสำรอง และจุดสั่งซื้อสินค้าคงคลัง ผลการวัดประสิทธิภาพของนโยบายที่นำเสนอสำหรับสินค้าทั้ง 5 รายการพบว่า ต้นทุนสินค้าคงคลังรวมของนโยบายที่นำเสนอลดลงจากนโยบายปัจจุบันเท่ากับUSD 9,507.35 หรือคิดเป็นร้อยละ 29 จาก USD 32,947.77 ลดลงเหลือ USD 23,440.43 ส่วนระดับการให้บริการลูกค้าของนโยบายที่นำเสนอเพิ่มขึ้นจากนโยบายปัจจุบันเฉลี่ยร้อยละ 52 จากร้อยละ 59 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 ตามเป้าหมายของบริษัทกรณีศึกษา


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัทสายเรือ Abc, ภัทรา อำไพพรรณ 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัทสายเรือ Abc, ภัทรา อำไพพรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการส่งออกของไทยมีแนวโนมปรับตัวลดลง รวมทั้งเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว และปัญหาปัจจุบันที่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างหนักคือ COVID-19 ซึ่งไม่ใช่เพียงการส่งออกของไทยเท่านั้นที่ชะลอตัว แต่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และทำให้มีผลกระทบต่อหลายธุรกิจ รวมไปถึงการควบรวมธุรกิจของแต่ละสายเรือ ซึ่งมีการแข่งขันทางด้านบริการเพิ่มมากขึ้น ในแง่ของการบริการทางสายเรือ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบให้การทำงานอย่างเป็นระบบ มีความรวดเร็วในการให้บริการ ถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย และตรวจสอบได้ โดยบริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทสายเรือเป็นสายการเดินเรือรายใหญ่ ใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าและตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก จำนวน 149 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัทสายเรือ ABC จำนวน 4 ด้าน และความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform ผลการศึกษาพบว่า ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพของการใช้งาน Online Platform ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน Online Platform ด้านความง่ายในการใช้งาน และความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform (Intention to Use) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านอิทธิพลทางสังคมที่มีส่วนให้ใช้ Online Platform (Social Influence) อยู่ในระดับมาก ข้อมูลขององค์กรและข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ขนาดขององค์กร อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform (Intention to Use) ในขณะที่อายุขององค์กร เงินลงทุนขององค์กร จำนวนสมาชิกในองค์กร เพศ หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform (Intention to Use) ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ Online Platform ของลูกค้าที่ใช้บริการสายเรือ พบว่า ปัจจัยที่อิทธิพลต่อการเลือกใช้ Online Platform ของลูกค้าที่ใช้บริการสายเรือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 3 ปัจจัย คือ สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator (Aeo) Programme) : กรณีศึกษา ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สาธิกา โพธิ์ประสิทธิ์ 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator (Aeo) Programme) : กรณีศึกษา ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สาธิกา โพธิ์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการสมัครเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอของผู้ประกอบการประเภทผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม งานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่ใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบในการส่งแบบสอบถามให้แก่ผู้ประกอบการประเภทผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งยังไม่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การคำนวณค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเรื่องการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร (1 ล้านบาท) หลังจากได้รับอนุมัติสถานภาพ และปัจจัยเรื่องการมีมาตรการในการคัดเลือกพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานอย่างชัดเจน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอตามลำดับ โดยสามารถพยากรณ์ระดับความสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีข้อเสนอแนะต่อโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการทราบถึงรายละเอียดและประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการฯ มากขึ้น และเห็นควรให้ลดขั้นตอนในการดำเนินการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ให้สั้นลง


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ของผู้นำเข้าสินค้า ณ สำนักงานตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, อรกนก วัฒนาเลิศรักษ์ 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ของผู้นำเข้าสินค้า ณ สำนักงานตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, อรกนก วัฒนาเลิศรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัญหา อุปสรรค ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้กระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ของผู้นำเข้าสินค้า ณ สำนักงานตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง พัฒนากระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีรูปแบบการศึกษาที่เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญ ได้แก่ อันดับ 1 คือ ความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนโดยรวมของกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง อันดับ 2 คือ การนำเข้าสินค้าด้วยกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงสามารถช่วยลดต้นทุนสินค้าคงคลัง อันดับ 3 คือ กระบวนการผู้นำของเข้าต้องจัดทำใบขนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง และอันดับ 4 คือ การนำเข้าสินค้า ด้วยกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึงสามารถช่วยลดระยะเวลาในการนำเข้าสินค้า นอกจากนี้ สามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการได้ดังนี้ 1) การให้ความรู้ขั้นตอนโดยรวมของกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง 2) การปรับปรุงแบบฟอร์มใบขนสินค้าให้เรียบง่าย เพื่อสนับสนุนการจัดทำใบขนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า 3) การประชาสัมพันธ์ประโยชน์ด้านการลดระยะเวลาและต้นทุนสินค้าคงคลังจากการนำเข้าสินค้าด้วยกระบวนการศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง และ 4) พิจารณาความเหมาะสมในการปรับปรุงกระบวนงานและกฎระเบียบในกรณีมีการให้ข้อมูลผิดพลาดในขั้นตอนการจัดทำใบขนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้า


แนวทางการพัฒนากระบวนการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดนอาเซียน, นารถฤดี โจลัตสาห์กุล 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

แนวทางการพัฒนากระบวนการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดนอาเซียน, นารถฤดี โจลัตสาห์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปสรรคในการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการนำร่องระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน และแนวทางในการพัฒนากระบวนการศุลกากรผ่านแดนอาเซียน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ขอผ่านแดนในระบบทะเบียนผู้มาติดต่อของกรมศุลกากร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลของการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมโครงการนำร่องระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ได้แก่ 1) ความยุ่งยากในกระบวนการจัดทำหรือส่งคืนใบขนสินค้าชนิดพิเศษสำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าผ่านแดนในการดำเนินพิธีการศุลกากรผ่านแดนขาออก ซึ่งกระบวนการดังกล่าวไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดน 2) การแสดงผลของสถานะใบขนสินค้าผ่านแดนอาเซียนสามารถแสดงผลได้อย่างเป็นปัจจุบัน โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน และ 3) ความยุ่งยากในการแก้ไขข้อมูลในใบขนสินค้าผ่านแดนอาเซียนผ่านระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการศุลกากรผ่านแดนภายใต้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะจากการศึกษา ดังนี้ 1) ปรับลดระเบียบและขั้นตอนในการดำเนินกระบวนการศุลกากรผ่านแดน 2) ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียนมากขึ้น 3) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ และ 4) ประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐมากขึ้น


การศึกษามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำของประเทศไทยผ่านหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย, ปิยวัฒน์ วิริยะนันทวงศ์ 2020 บัณฑิตวิทยาลัย

การศึกษามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำของประเทศไทยผ่านหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย, ปิยวัฒน์ วิริยะนันทวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเอามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำมาใช้ในประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ และเสนอแนะในการนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำในประเทศไทย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การศึกษาวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีการนำเอามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำมาใช้หลายอย่าง แต่เป็นการกำหนดขอบเขตอย่างกว้าง ไม่มีการระบุรายละเอียดในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำอย่างชัดเจน มีเพียงแนวทางเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากกิจกรรมบนบก ค.ศ.1995 (GPA) ที่ได้ระบุถึงเรื่องการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำไว้ โดยประเทศไทยได้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องอยู่ในรูปแบบของค่าปรับในการไม่ปฏิบัติตาม แต่ยังมีปัญหาในการปฏิบัติของทางเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้ เนื่องจากคนที่ลักลอบทิ้งขยะพลาสติกอาจใช้วิธีการเลี่ยงไม่ให้มองเห็นได้อย่างง่าย ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการจัดประชุมโดยมีการระดมความคิดจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันการนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ผ่านหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาบังคับใช้ ซึ่งเป็นเพียงการพูดคุยกันแต่ยังไม่มีการนำมาปฏิบัติให้เห็นผล โดยปริมาณขยะพลาสติกยังไม่ลดลงเหมือนในต่างประเทศ จึงไม่เป็นแนวทางในการแก้ป้ญหาและแนวทางการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำในประเทศไทย


Digital Commons powered by bepress