Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Sports Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

8,199 Full-Text Articles 16,781 Authors 3,612,701 Downloads 230 Institutions

All Articles in Sports Sciences

Faceted Search

8,199 full-text articles. Page 210 of 358.

Using Virtual Reality To Train Athletes, Brian Christoffersen 2019 Concordia University St. Paul

Using Virtual Reality To Train Athletes, Brian Christoffersen

Master of Arts in Sport Management

Training athletes is an ever-evolving part of sports that, with the growth of the use of technology in sports, has become increasingly complex. Organizations and teams are constantly looking for new ways to be at the forefront of training development. As the development of virtual reality has moved forward, so has the ability to adopt these new technologies to a wide variety of areas. There are multiple systems already in existence that use virtual reality to train athletes. This proposed study aims to shed light on this promising technology to help athletes learn more efficiently and effectively in a safe …


Oral Contraceptive Pills Are Not A Risk Factor For Deep Vein Thrombosis Or Pulmonary Embolism After Arthroscopic Shoulder Surgery, Austin V. Stone, Avinesh Agarwalla, Anirudh K. Gowd, Cale A. Jacobs, Jeffrey A Macalena, Bryson P. Lesniak, Nikhil N. Verma, Anthony A. Romeo, Brian Forsythe 2019 University of Kentucky

Oral Contraceptive Pills Are Not A Risk Factor For Deep Vein Thrombosis Or Pulmonary Embolism After Arthroscopic Shoulder Surgery, Austin V. Stone, Avinesh Agarwalla, Anirudh K. Gowd, Cale A. Jacobs, Jeffrey A Macalena, Bryson P. Lesniak, Nikhil N. Verma, Anthony A. Romeo, Brian Forsythe

Orthopaedic Surgery and Sports Medicine Faculty Publications

Background: Worldwide, more than 100 million women between the ages of 15 and 49 years take oral contraceptive pills (OCPs). OCP use increases the risk of venous thromboembolism (VTE) through its primary drug, ethinylestradiol, which slows liver metabolism, promotes tissue retention, and ultimately favors fibrinolysis inhibition and thrombosis.

Purpose: To evaluate the effects of OCP use on VTE after arthroscopic shoulder surgery.

Study Design: Cohort study; Level of evidence, 3.

Methods: A large national payer database (PearlDiver) was queried for patients undergoing arthroscopic shoulder surgery. The incidence of VTE was evaluated in female patients taking OCPs and those not taking …


Comparison Of Lacrosse Player Metrics In Games And Practices In High School Males, Kinta Schott 2019 University of Alabama in Huntsville

Comparison Of Lacrosse Player Metrics In Games And Practices In High School Males, Kinta Schott

Summer Community of Scholars Posters (RCEU and HCR Combined Programs)

No abstract provided.


Health & Nutritional Sciences Free Communication Day: Spring 2019 Plan B Abstracts, Viola Davies, Jonathan Shaeffer, Amy Hommes, Zachary Fehringer, Andrew Cheney, Alli DeLay, Alyssa Finke, Kaitlin Reece, Jacob Elfmann, Maggan Froseth, Kala Nurnberg, Keith Thompson, David Andersen, Samantha Kratovil, Makenna Meier, Lezlie Pommer, Amanda Nack 2019 South Dakota State University

Health & Nutritional Sciences Free Communication Day: Spring 2019 Plan B Abstracts, Viola Davies, Jonathan Shaeffer, Amy Hommes, Zachary Fehringer, Andrew Cheney, Alli Delay, Alyssa Finke, Kaitlin Reece, Jacob Elfmann, Maggan Froseth, Kala Nurnberg, Keith Thompson, David Andersen, Samantha Kratovil, Makenna Meier, Lezlie Pommer, Amanda Nack

Health and Nutritional Sciences Graduate Students Plan B Capstone Projects

This document contains Plan B abstracts presented by graduate students at the Health and Nutritional Sciences Free Communication Day, held on April 30th 2019.

Abstract titles include:

  • Effect of supervised aquatic therapy and supervised land-based therapy on chronic low back pain.
  • The College Football Recruiting Process and Ways to Improve It
  • The Effects of Probiotics on Depression and Anxiety
  • Arthroscopic Partial Meniscectomy versus Physical Therapy: Best Intervention to Improve Outcomes in Patients with Meniscal Tears?
  • Does the inclusion of mental health education programs have an effect on the help seeking behavior of collegiate student-athletes?
  • Establishing a Sustainable Nutrition Education Program …


Pathogenesis Of Cte: A Review Of Ptau, Lewy Bodies, And Cytokine Involvement In Cte, Karter Keefer 2019 South Dakota State University

Pathogenesis Of Cte: A Review Of Ptau, Lewy Bodies, And Cytokine Involvement In Cte, Karter Keefer

Biology and Microbiology Graduate Students Plan B Research Projects

Chronic Traumatic Encephalopathy (CTE) is a neuropathological disease that develops years after experiencing repetitive traumatic brain injuries. In recent years, this disease has been gaining recognition from professional, college, and high school teams that participate in contact sports. The purpose of this paper is to review available information about this neurodegenerative disease. Only limited published experiments are available on this disease. Research on CTE has been limited by the fact that patients can only be diagnosed with the disease by a post mortem autopsy. Many experiments were analyzed regarding different CTE pathologies, symptoms, and treatments. Articles used in this paper …


The Impact Of Posttraumatic Stress Disorder On Peripheral Vascular Function, Jennifer B. Weggen, Kevin P. Decker, Ryan S. Garten 2019 Virginia Commonwealth University

The Impact Of Posttraumatic Stress Disorder On Peripheral Vascular Function, Jennifer B. Weggen, Kevin P. Decker, Ryan S. Garten

Graduate Research Posters

The physiological manifestations of posttraumatic stress disorder (PTSD) have been associated with an increase in risk of cardiovascular disease (CVD) independent of negative lifestyle factors. Peripheral vascular dysfunction may be a mechanism by which PTSD increases CVD risk via increases in oxidative stress, inflammation, and/or sympathetic nervous system activity. PURPOSE: This study sought to examine peripheral vascular function in those with PTSD compared to age-matched controls. METHODS: Eight individuals with PTSD (5 women, 3 men; age 22 ± 2 years), and sixteen healthy controls (CON; 10 women, 6 men, 23 ± 2 years), participated in the study. Leg vascular function …


An Examination Of Step Frequency And The Running Readiness Scale As Predictors Of Running-Related Injury In Collegiate Cross-Country Athletes, Shelley Payne Dr., Jenna D'Errico 2019 Otterbein University

An Examination Of Step Frequency And The Running Readiness Scale As Predictors Of Running-Related Injury In Collegiate Cross-Country Athletes, Shelley Payne Dr., Jenna D'Errico

Health and Sport Sciences Faculty Scholarship

Purpose: The purpose of this study was to determine the relationship between step frequency and the Running Readiness Scale and the occurrence of a Running-Related Injury (RRI) in a Division III cross-country team. Methods: Each athlete was screened prior to the season for their step frequency at a preferred and pre-determined pace. Additionally, each athlete performed 6 musculoskeletal tests known as the “Running Readiness Scale” to assess body alignment, weight distribution, and muscular endurance. Each subject logged their training and competition schedule and injury history throughout the season using the Otterbein Run Tracker app. Results: Sixteen subjects completed data collection …


Acute Exercise And Mindfulness Meditation On Learning And Memory: Randomized Controlled Intervention, Malina Austin, Paul D. Loprinzi 2019 University of Mississippi

Acute Exercise And Mindfulness Meditation On Learning And Memory: Randomized Controlled Intervention, Malina Austin, Paul D. Loprinzi

Faculty and Student Publications

© 2019 The Author(s). Background: The purpose of this experiment was to evaluate the potential combined effects of acute exercise and mindfulness mediation on episodic memory. Methods: All data collection occurred in the authors’ laboratory (January to May of 2019). In this three-arm, within-subject design, participants (N=20; Mage=21.6 years) completed three counterbalanced laboratory visits, including Exercise Only, Exercise + Meditation and Control. Learning and memory were assessed from a word-list task. A one-factor repeated-measures ANOVA was computed for two memory outcomes, including the learning outcome (average performance across the 6 trials) and the long-term memory recall (10-minute delay). Results: The …


Longitudinal Descriptive Profile Of Collegiate Pitchers Participating In A Summer Baseball League, Isabelle Leslie Gillis 2019 University of Kentucky

Longitudinal Descriptive Profile Of Collegiate Pitchers Participating In A Summer Baseball League, Isabelle Leslie Gillis

Theses and Dissertations--Kinesiology and Health Promotion

The purpose of this study was to provide a longitudinal profile of pitching performance in a cohort of pitchers over two collegiate seasons and a summer league. Thus, this study utilized a longitudinal design to evaluate the impact of summer league participation on subsequent collegiate regular season pitching performance. Specifically, the performance of a cohort of Division 1 collegiate baseball pitchers during the 2018 Spring collegiate season, 2018 Summer League season, and the 2019 Spring collegiate season was evaluated and stratified by pitcher designation, arm dominance, and academic status. Analyses of variance were used to identify main and interaction effects …


The Relationship Between Campus Wellness Center Usage And Symptoms Of Depression In College Freshmen, Allison Leonard 2019 South Dakota State University

The Relationship Between Campus Wellness Center Usage And Symptoms Of Depression In College Freshmen, Allison Leonard

Electronic Theses and Dissertations

There is limited research done on the relationship between the program utilization at a campus wellness facility and the symptoms of depression in college freshmen. College students have been found to have a higher prevalence of depressive symptoms than the general population, possibly due to the stressors college life can add. Studies have been done on the effects of physical activity as an intervention for depression as well as on the benefits of campus wellness facilities; however, there have been few studies that look at both campus recreation and depression. The author’s purpose for this study was to see if …


Intermittent Pneumatic Compression Boot Use Elevates Blood Lactate During Subsequent Exercise, Richard T. Marcello, Lucas Fortini, Beau K. Greer 2019 Sacred Heart University

Intermittent Pneumatic Compression Boot Use Elevates Blood Lactate During Subsequent Exercise, Richard T. Marcello, Lucas Fortini, Beau K. Greer

Exercise Science Faculty Publications

The purpose of the present study was to investigate the influence of intermittent pneumatic compression (IPC) boot use between submaximal cycling trials on heart rate (HR) and blood lactate concentrations. Ten healthy participants (9M; 1F) performed two consecutive 60 minute rides at 60% of functional threshold power with a 30 minute rest between rides. The rest period was spent in a supine position using IPC boots (BOOT) or sitting in a similar position without boots (CON). HRs were collected every 15 minutes during cycling rides, and lactate was measured at the 30-minute mark during both rides. An identical trial was …


ความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต, ชยภัทร สุนทรนนท์ 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต, ชยภัทร สุนทรนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต และเปรียบเทียบความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ตตามตัวแปรลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปี กลุ่มวิชาที่ศึกษา และ รายรับต่อเดือนวิธีการดำเนินงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้คือนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีใน ปีการศึกษา2562 จำนวน 420 คน ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.95 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าในการเปรียบเทียบรายคู่ และ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดี่ยวโดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัย ความคิดเห็นด้านต่างๆ ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่ออีสปอร์ต โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน โดยสูงที่สุดคือ ความคิดเห็นด้านการใช้เวลาว่าง รองลงมาคือด้านลักษณะนิสัยการทำงาน ด้านการประกอบอาชีพ และมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ตามลำดับ ในส่วนของความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์กับความคิดเห็นที่มีต่ออีสปอร์ต พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ อายุ กลุ่มวิชาที่ศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นที่มีอีสปอร์ต แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และผู้ตอบแบบสอบถามที่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่แตกต่างกัน และมีรายรับต่อเดือนในการใช้ชีวิตประจำวันแตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิต สรุปผลการวิจัย ภาพรวมความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่ออีสปอร์ต อยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีต่อกีฬาอีสปอร์ต โดยรวม จำแนกตาม เพศ อายุ กลุ่มวิชาที่ศึกษา มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และด้านชั้นปีที่ศึกษา รายรับต่อเดือนในการใช้ชีวิตประจำวันมีความแตกต่างกันในด้านผลกระทบต่อการดำรงชีวิตที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก 2019 คณะแพทยศาสตร์

ผลของการฝึกออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลางต่อการออกซิเดชันของไขมันในขณะพักฟื้นหลังออกกำลังกายในอุณหภูมิร้อนและเย็นของหญิงอ้วน, ปริมล แก้วผลึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน การเพิ่มการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิแวดล้อมที่ส่งผลต่อการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นภายหลังการออกกำลังกายเพียงหนึ่งครั้งในหญิงอ้วน แต่ยังไม่มีการศึกษาในหญิงอ้วนที่มีการฝึกออกกำลังกาย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 16 คน อายุ 18-50 ปี มีดัชนีมวลกาย 27.5-40 กิโลกรัมต่อเมตร2 มีประจำเดือนปกติ โดยทำการศึกษาในช่วง follicular phase ของประจำเดือนเท่านั้น ผู้เข้าร่วมวิจัยควบคุมอาหารเป็นเวลา 1 เดือน และเข้าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายบนลู่วิ่งสายพานที่ความหนักระดับปานกลาง (50-60% heart rate reserve (HRR) ระยะเวลา 30-60 นาที) เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นทำการทดสอบการออกกำลังกาย 2 ครั้ง ที่ความหนัก 60%HRR เวลา 60 นาที และพักฟื้นนาน 60 นาที ในอุณหภูมิร้อน (HT; 31-32°C) ครั้งหนึ่ง และเย็น (CT; 22-23°C) อีกครั้งหนึ่ง ตามลำดับที่สุ่มไว้ มีการประเมินการออกซิเดชันของซับสเตรท และการใช้พลังงานรวมตลอดการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าขณะพักฟื้นในที่เย็นมีการออกซิเดชันของไขมันสูงกว่าในที่ร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (CT; 56.0 ± 24.6 mg.kg-1.h-1 vs. HT; 39.7 ± 27.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) และขณะพักฟื้นในที่ร้อนมีการออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรทมากกว่าในที่เย็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (HT; 104.0 ± 46.9 mg.kg-1.h-1 vs. CT; 64.6 ± 40.5 mg.kg-1.h-1, p < 0.001) ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการใช้พลังงานรวมขณะพักฟื้นในทั้งสองอุณหภูมิ (HT; 70.5 ± 19.6 kcal.h-1 vs. CT; 71.3 ± 13.7 kcal.h-1, p = 0.846) สรุปว่าปริมาณการออกซิเดชันของไขมันขณะพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นมากกว่าในอุณหภูมิร้อน ดังนั้นการพักฟื้นในอุณหภูมิเย็นภายหลังการฝึกออกกำลังกายในระดับปานกลาง จึงควรเป็นทางเลือกที่ดีในการลดไขมันและน้ำหนักสำหรับคนอ้วน


ผลของการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ที่มีต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ, กรรณดนุ สาเขตร์ 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ผลของการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ที่มีต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ, กรรณดนุ สาเขตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ ที่มีผลต่อการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60–75 ปี เพศหญิง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ฝึกโปรแกรมออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน โดย 4 สัปดาห์แรกใช้เวลาวันละ 50 นาที และอีก 8 สัปดาห์ที่เหลือใช้เวลาวันละ 60 นาที (รวมอบอุ่นร่างกาย และคลายอุ่น) และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คนใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ผู้วิจัยทำการทดสอบความสามารถด้านการทรงตัวและสมรรถภาพทางกายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ 12 สัปดาห์ ความสามารถด้านการทรงตัวในผู้สูงอายุดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมแล้วความสามารถด้านการทรงตัวของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมเกือบทุกกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียงการทดสอบการยืนด้วยขาสองข้างและแบบทดสอบความสามารถด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่ Time up and go (TUG) ที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยทางสถิติ 2) หลังจากฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยท่ารำดาบสองมือประยุกต์ 12 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังการทดลองภายในกลุ่มทดลองพบว่า สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุเกือบทุกกิจกรรมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียงกิจกรรมเอื้อมแขนแตะมือด้านหลังที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า การลุกยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที การงอพับศอก 30 วินาที และการนั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้าของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเดินย่ำเท้า 2 นาทีและการเอื้อมแขนแตะมือด้านหลังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล, ธนัชชา เวสสะโกศล 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล, ธนัชชา เวสสะโกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล เพศชายและเพศหญิง จำนวน 492 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยสุ่มจากรายชื่อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ปรับข้อคำถามส่วนข้อมูลทั่วไปให้เข้ากับบริบทของข้าราชการตำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้คิดเป็นร้อยละ 92.07 เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบพบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 7.19, S.D. = 1.50) ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 11.75, S.D. = 2.09) ด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 12.57, S.D. = 1.94) ด้านการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 13.07, S.D. = 2.95) ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 12.68, S.D. = 3.52) ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส.อยู่ในระดับไม่ดี (x̄ = 9.92, S.D. = 1.98) 2. ปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ไม่ส่งผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล


ผลของการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางกีฬาในนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย, ธงทอง ทรงสุภาพ 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ผลของการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางกีฬาในนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย, ธงทอง ทรงสุภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสมของการแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทที่มีต่อการพัฒนาความสามารถที่แสดงออกทางกีฬาในนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย เพศชาย จำนวน 22 คน มีอายุระหว่าง 18-25 ปี และมีความแข็งแรงในท่าควอเตอร์สวอทอย่างน้อย 1.6 เท่าต่อน้ำหนักตัว งานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 การศึกษา โดยการศึกษาที่ 1 เปรียบเทียบผลฉับพลันของการแบกน้ำหนักกระโดดด้วยความหนักเอ็คเซ็นตริกรูปแบบต่างๆ เพื่อหาเงื่อนไขใดจึงจะเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการฝึก เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาที่ 2 ต่อไป ในการศึกษาผลฉับพลันเพื่อเปรียบเทียบเงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริกที่เหมาะสม ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำการแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ของ 1 อาร์เอ็มของตนเอง จำนวณ 2 ชุด ๆ ละ 6 ครั้ง ในเงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริกที่ 50% 75% 100% และ 100% แบบลดแรงกระแทก บนเครื่องเอฟที 700 พาวเวอร์เคจ จากนั้นทำการทดสอบหาพลังกล้ามเนื้อสูงสุด ความเร็วบาร์เบลสูงสุด แรงปฏิกิริยาจากพื้น และแรงดลในช่วง 50 มิลลิวินาทีแรก รวมไปถึงคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อในช่วงกระโดดขึ้น และในช่วงลงสู่พื้น จากนั้นทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีแบบบอนเฟอร์โรนี่ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า เงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริก 100% แบบลดแรงกระแทก เป็นเงื่อนไขที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการฝึก เนื่องจากในช่วงการลงสู่พื้น มีค่าเฉลี่ยแรงปฏิกิริยาจากพื้นสูงสุด และแรงดลในช่วง 50 มิลลิวินาทีแรก ต่ำกว่าเงื่อนไขอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ในช่วงการกระโดดขึ้นพบว่ามีค่าพลังกล้ามเนื้อ และความเร็วของบาร์เบลสูงสุดมากที่สุด ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมีค่าไม่แตกต่างกับเงื่อนไขอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการศึกษาผลของการฝึกในการศึกษาที่ 2 ผู้วิจัยใช้รูปแบบการฝึกแบบความหนักเอ็คเซ็นตริก 100% (กลุ่มควบคุม) เปรียบเทียบกับเงื่อนไขความหนักเอ็คเซ็นตริก 100% แบบลดแรงกระแทก (กลุ่มทดลอง) โดยทั้ง 2 กลุ่ม ทำการฝึกแบกน้ำหนักกระโดดท่าสควอทด้วยความหนัก 30 % ของ 1 อาร์เอ็ม จำนวน 6 ชุด ๆ ละ 6 ครั้ง พักระหว่างชุด …


การวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ของการเสิร์ฟลูกด้วยหลังมือในนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย, วรเมธ ประจงใจ 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

การวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ของการเสิร์ฟลูกด้วยหลังมือในนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย, วรเมธ ประจงใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ท่าทางการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคด้วยหลังมือ ณ ช่วงที่ไม้แบดมินตันกระทบลูกขนไก่ของที่ลูกตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยม (Excellent) และพื้นที่ดี (Good) ในนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทย ผู้เข้าร่วมการวิจัยในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยที่เล่นในประเภทชายคู่ หญิงคู่และคู่ผสม ทั้งหมด 14 คน กลุ่มตัวอย่างทุกคนต้องทำการเสิร์ฟสั้นด้วยหลังมือจำนวน 21 ลูก และเสิร์ฟลูกฟริคด้วยหลังมือจำนวน 21 ลูก ตามลำดับ โดยการเสิร์ฟทั้งหมดจะถูกบันทึกด้วยกล้องความเร็วสูงแบบอินฟราเรด (300Hz) รุ่น Oqus7+ (Qualisys Oqus) ประเทศสวีเดน จำนวน 9 ตัว เพื่อเลือก 1 ครั้งที่ลูกขนไก่ที่ตกลงบริเวณพื้นที่ยอดเยี่ยมและพื้นที่ดีนำมาวิเคราะห์การเคลื่อไหวด้วยชุดโปรแกรม Qualisys track manager และ Visual 3D จากนั้น นำค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของชุดข้อมูลทางคิเนเมิติกส์และคิเนติกส์มาเปรียบเทียบระหว่างการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยมและพื้นที่ดีโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซํ้า (One-way analysis of variance with repeated measures) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปร มุมข้อต่อข้อศอก ความเร็วเชิงมุมข้อต่อข้อมือ ความเร็วหัวไม้แบดมินตัน มุมของหน้าไม้แบดมินตันกับตาข่าย ระยะทางการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ระยะเวลาการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ความเร็วต้นของลูกขนไก่ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยม และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเสิร์ฟลูกสั้นและลูกฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ดีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปร มุมข้อต่อข้อศอก ความเร็วเชิงมุมข้อต่อข้อมือ ความเร็วหัวไม้แบดมินตัน มุมของหน้าไม้แบดมินตันกับตาข่าย ระยะทางการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ระยะเวลาการดันไม้ออกจากร่างกายไปจนกระทบลูกขนไก่ ความเร่งของลูกขนไก่ ความเร็วต้นของลูกขนไก่ เช่นกัน ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบลูกเสิร์ฟสั้นและลูกเสิร์ฟฟริคที่ตกลงบนพื้นที่ยอดเยี่ยมและพื้นที่ดี ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าว สามารถสรุปผลการวิจัยครั้งนี้ ได้ว่า มุมข้อต่อข้อศอก ความเร็วเชิงมุมข้อต่อข้อมือ น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลถึงประเภทของการเสิร์ฟ ความเร็วและระยะทางในการเคลื่อนที่ไปของลูกขนไก่ที่ตกลงในบริเวณที่แตกต่างกัน


ผลของการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่อความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบในนักกีฬาแบดมินตัน, สิรุษา ติระภากรณ์ 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ผลของการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่อความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบในนักกีฬาแบดมินตัน, สิรุษา ติระภากรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่อความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบในนักกีฬาแบดมินตัน 2. เพื่อเปรียบเทียบความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบระหว่างกลุ่มนักกีฬาแบดมินตันที่ได้รับการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักเสริมโปรแกรมปกติ และกลุ่มฝึกปกติ วิธีการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาแบดมินตัน อายุระหว่าง 14 – 18 ปี ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 16 คน ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ความเร็วของไม้แบดมินตันในการเรียงลำดับแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม ทำการฝึกซ้อมกีฬาแบดมินตันปกติ และกลุ่มทดลอง ทำการฝึกกีฬาแบดมินตันปกติร่วมกับเสริมโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบัก จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่ และความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบก่อนและหลังการได้รับการฝึก เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการฝึก และระหว่างกลุ่มโดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการวิจัย ก่อนการฝึก กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึกพบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก แต่เฉพาะกลุ่มทดลองที่พบการเพิ่มขึ้นของความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.018) และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มพบว่า กลุ่มทดลองแสดงการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบักสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งกล้ามเนื้อ Middle trapezius, Lower trapezius และ Rhomboid (p = 0.01, 0.01 และ 0.02 ตามลำดับ) แต่ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่ และความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบมีการเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p = 0.47 และ 0.09 ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัย ทั้งสองกลุ่มมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบักเพิ่มขึ้น แต่เมื่อได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก และความเร็วของไม้แบดมินตันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบักที่เพิ่มขึ้นไม่ส่งผลให้ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่เพิ่มขึ้น แต่มีการเพิ่มขึ้นของความเร็วของไม้แบดมินตัน เนื่องจากปัจจัยในการควบคุมความเร็วของไม้แบดมินตัน น่าจะมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่ร่วมด้วย


ผลฉับพลันของระยะเวลาในการแช่น้ำเย็นที่มีต่อการฟื้นสมรรถภาพและปริมาณแลคเตท ในการว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ลระยะ 100 เมตร, อภิสิทธิ์ เสลาหอม 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ผลฉับพลันของระยะเวลาในการแช่น้ำเย็นที่มีต่อการฟื้นสมรรถภาพและปริมาณแลคเตท ในการว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ลระยะ 100 เมตร, อภิสิทธิ์ เสลาหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการแช่น้ำแย็นในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ร่วมกับการนั่งพักแบบหยุดนิ่ง ที่ส่งผลต่อสถิติเวลา ปริมาณค่าความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด และค่าอัตราของหัวใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาว่ายน้ำตัวแทนทีมชาติไทย อายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 12 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างได้รับมอบหมายให้ทำการว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ลด้วยความเร็วสูงสุด ระยะทาง 100 เมตร หลังจากนั้นทำการฟื้นฟูสมรรถภาพใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การนั่งพักแบบหยุดนิ่ง 20 นาที(รูปแบบควบคุม) กับการแช่น้ำเย็นที่อุณหภูมิของน้ำเท่ากับ 14 องศาเซลเซียส โดยการแช่น้ำ 10 นาที ตามด้วยนั่งพักแบบหยุดนิ่ง 10 นาที(รูปแบบทดลองที่ 1) และการแช่น้ำ 15 นาที ตามด้วยนั่งพักแบบหยุดนิ่ง 5 นาที(รูปแบบที่ 2) การทดสอบ 1 ครั้งจะทำการฟื้นฟูสมรรถภาพ 1 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างจะเว้นระยะของการทดสอบ 48 ชั่วโมง(วันเว้นวัน) โดยขณะฟื้นฟูได้ทำการเก็บข้อมูลปริมาณค่าความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดจากบริเวณปลายนิ้ว และค่าอัตราการเต้นของหัวใจช่วง 3นาที 5นาที 10นาที 15นาที และ20นาที หลังจากนั้นว่ายน้ำท่าฟรอนท์ครอว์ล ระยะทาง 100 เมตร ด้วยความเร็วสูงสุดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูสถิติเวลาของการว่ายน้ำหลังจากการฟื้นฟูสมรรถภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการวัดความแปรปรวน 2 ทางชนิดวัดซ้ำ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่.05 ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบค่าสถิติเวลาเฉลี่ยภายหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพของทั้ง 3 รูปแบบ พบว่าค่าเฉลี่ยสถิติเวลาการว่ายน้ำ ไม่แตกต่างอย่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยปริมาณกรดแลคเตทและค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังจากฟื้นฟูสมรรถภาพ ของรูปแบบทดลองที่ 1 และรูปแบบทดลองที่ 2 ภายหลังของการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ต่ำกว่ารูปแบบควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.50 ) สรุปได้ว่าการใช้การแช่น้ำเย็นอุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียสโดยการแช่น้ำ 10 นาที นั่งพักแบบหยุดนิ่ง 10 นาที และการแช่น้ำ 15 นาที นั่งพักแบบหยุดนิ่ง 5 นาที ส่งผลให้ค่าปริมาณค่าความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดและอัตตราการเต้นของหัวใจลงลง ทำให้การฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างเร็ว


ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด Tqm, ภัทรพัฒน์ กาญจนเกตุ 2019 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด Tqm, ภัทรพัฒน์ กาญจนเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด TQMและเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทยโดยแนวคิด TQM ทั้ง7 ด้านกับสถานภาพบุคลากรในสโมสรรักบี้ฟุตบอลและจากประสบการ์ในการทำงานเกี่ยวกับสโมสรรักบี้ฟุตบอล ประชากรตัวอย่างจำนวน 450 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.97 จากคณะกรรมการบริหารสโมสรและคณะผู้ควบคุมทีม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบเพื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหาในการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลจากประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสโมสรรักบี้ฟุตบอล โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่างใช้การวิเคราะห์รายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ และในส่วนการเปรียบเทียบระหว่าคณะกรรมการบริหารและผู้ควบคุมทีมใช้การวิเคราะห์ด้วยค่า "ที" (t-test) ที่มีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดสอบพบว่า ระดับการรับรู้ปัญหาการจัดการสโมสรรักบี้ฟุตบอลโดยใช้หลัก 7ด้านที่เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด TQM โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดรายข้อแต่ละด้านมีปัญหาอยู่ในระดับมากเช่นกัน และเมื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหากับประสบกราณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสโมสรรักบี้ฟุตบอล ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการรับรู้ปัญหาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระดับการรับรู้ปัญหาจากสถานภาพบุคลากรในสโมสร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับการรับรู้ปัญหาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Digital Commons powered by bepress