Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

6,363 Full-Text Articles 6,772 Authors 6,366,201 Downloads 276 Institutions

All Articles in Communication Technology and New Media

Faceted Search

6,363 full-text articles. Page 132 of 241.

Designing Effective Messages To Promote Future Zika Vaccine Uptake, Jeanine Guidry 2017 Virginia Commonwealth University

Designing Effective Messages To Promote Future Zika Vaccine Uptake, Jeanine Guidry

Theses and Dissertations

The Zika virus is associated with the devastating birth defect microcephaly, and while a vaccine was not yet available in early-2017, several were under development. It is imperative to identify effective communication strategies to promote uptake of a new vaccine, particularly among women of reproductive age. Moreover, though the Zika outbreak has received much social media attention, little is known about these conversations on Instagram. The purpose of this dissertation, therefore, was to understand current Zika-focused communication on Instagram and to inform effective communication strategies to promote future Zika vaccine uptake intent.

The study aims were: (1) explore Zika conversations …


How Mobile Learning Initiatives Can Empower Women, Helen Crompton 2017 Old Dominion University

How Mobile Learning Initiatives Can Empower Women, Helen Crompton

Teaching & Learning Faculty Publications

The Sustainable Development Goal 5 provides a call to action to promote gender equality and to empower women. This article responds to that call by providing insight into how mobile learning initiatives have been used to support that aim. A critical analysis is conducted of studies in the past decade to review what strategies have been effective in empowering women. The analysis revealed that initiatives were targeted towards three areas: Education, health, and financial empowerment.

Findings show that in certain topics women should play an active role to further the empowerment process. This article also aligns with Objective 4 of …


Writing For Electronic Media, Brian Champagne, Kiera Farimond, Brianna Bodily 2017 Utah State University

Writing For Electronic Media, Brian Champagne, Kiera Farimond, Brianna Bodily

Textbooks

Introduction

Welcome to Writing for Electronic Media, an OER textbook. OER stands for Open Educational Resource, which means it’s free for all who access. Since it is electronic, I will do what I can to keep it updated with the changing media. People’s viewing habits are changing as they migrate to mobile sources, social media, and kitten videos. Television News is still a dominant #1 source, and radio is still the safest way to stay informed in your car. Hopefully, you already have some journalism background. This book does not teach the who, what, when, where, why, and how …


ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา 1.) เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 2.) เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 3.) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 4.) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ ที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่เคยอ่านนวนิยายจีนตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 คน จากผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1.) ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนผ่านสื่อออนไลน์มากที่สุด 2.) ผู้บริโภคเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ในด้านผลิตภัณฑ์ 3.) เนื้อเรื่องของนวนิยายจีนมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนเป็นประจำ 4.) ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันมีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนแตกต่างกัน 5.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน 6.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนแตกต่างกัน 7.) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ 8.) ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 9.) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน (ฺBeta = 0.323) และทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ (Beta = 0.220)


กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล 2017 คณะนิเทศศาสตร์

กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) โดยประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้มีบทบาทในการกำหนดเอกลักษณ์และสื่อสารตราสินค้าบุคคลของแต่ละเพจ จำนวน 5 เพจ ได้แก่เพจ Lowcostcosplay, บันทึกของตุ๊ด, นัดเป็ด, คาราโอเกะชั้นใต้ดิน, Drama-addict และทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเกี่ยวกับการสื่อสารตราสินค้าและสื่อดิจิทัลจำนวน 10 ท่าน และ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยศึกษาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจทั้ง 5 เพจย้อนหลังเป็นเวลา 2 เดือน ได้แก่ เดือนมีนาคม และ เมษายน 2561 ผลการศึกษาของทั้ง 5 ตราสินค้าพบว่ากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ ประกอบด้วย 8 มิติ คือ การกำหนดคุณสมบัติ, ขอบเขต, คุณภาพ, คุณประโยชน์ด้านอารมณ์, บุคลิกภาพตราสินค้า, สัญลักษณ์, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค และ การกำหนดการวางจุดยืนตราสินค้า ในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจจะประกอบไปด้วย 5 ประการหลัก ได้แก่ รูปแบบในการโพสต์, การกำหนดเวลาและจำนวนในการโพสต์, แกนเนื้อหาในการโพสต์, การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามเพจ, การใช้งบประมาณในการสื่อสาร ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจนั้นประกอบไปด้วย 3 ประการ ได้แก่ การสร้างเอกลักษณ์ตราสินค้า, การผลิตและพัฒนาคุณภาพของเนื้อหา และ ความเชี่ยวชาญบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กแฟนเพจ


การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพัฒนาการของตัวละครหญิง ตลอดจนศึกษาการประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงในสังคมไทย ผ่านละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560 โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ตัวบท ผ่านละครโทรทัศน์ 5 เรื่อง ได้แก่ น้ำเซาะทราย เพลิงพระนาง เพลิงบุญ มายา และเมียหลวง ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ผลการวิจัยพบว่า ตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง ปรากฏคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ในระดับการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง อันสอดรับกับบริบทของสังคม เช่น ลักษณะทางกายภาพ การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น แต่คุณลักษณะทางจิตวิทยา มีระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ภูมิหลัง ความต้องการ ความขัดแย้ง เป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้โครงเรื่องหลักไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงในลักษณะการตกเป็นรองผู้ชายเช่นเดิมในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1) อุดมคติหญิงไทย 2) บทบาทและหน้าที่ 3) ค่านิยมด้านคู่ครอง ซึ่งมีเพียงบางประเด็นของชุดความคิดที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงในละครเวอร์ชันหลัง เช่น การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า พฤติกรรมการชมละครโทรทัศน์แบบเอา "รส" แต่ไม่เอา "เรื่อง" ของผู้ชม ส่งผลให้เกิด "การผลิตซ้ำย้ำความหมายเดิม" โดยมีผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์เป็นผู้ประกอบสร้างความหมายเหล่านั้นให้กลายเป็น "ความเป็นจริง" ของสังคมเรื่อยมาตามความต้องการของผู้ชม สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการตกอยู่ภายใต้ "อุดมการณ์ปิตาธิปไตย" ในการขับเคลื่อนสังคมต่อไป


Print Versus Digital: How Medium Matters On 'House Of Cards', Patrick Ferrucci, Chad Painter 2017 University of Colorado

Print Versus Digital: How Medium Matters On 'House Of Cards', Patrick Ferrucci, Chad Painter

Communication Faculty Publications

This study utilizes textual analysis to analyze how journalists are depicted on the Netflix drama House of Cards. Through the lens of orientalism and cultivation, researchers examine how depictions of print and digital journalism would lead viewers to see digital journalists as less ethical and driven by self-gain, while also viewing technology as an impediment to quality journalism. These findings are then discussed as a means for understanding how these depictions could affect society.


Broadcast News Curriculum, Communication Studies 2017 Eastern Illinois University

Broadcast News Curriculum, Communication Studies

Curriculum Programs

This concentration is designed to provide the knowledge, values, perspectives, and skills necessary to understand the roles, functions, and operations of broadcast news.


Electronic Media Production Curriculum, Communication Studies 2017 Eastern Illinois University

Electronic Media Production Curriculum, Communication Studies

Curriculum Programs

This concentration is designed to provide the knowledge, values, perspectives, and skills necessary to understand the roles, functions, and operations of various electronic media. This program of study is focused on balancing theoretical issues with practical experience.


Othering Others: Right-Wing Populism In Uk Media Discourse On “New” Immigration, Grace E. Fielder, Theresa Catalano 2017 University of Arizona

Othering Others: Right-Wing Populism In Uk Media Discourse On “New” Immigration, Grace E. Fielder, Theresa Catalano

Department of Teaching, Learning, and Teacher Education: Faculty Publications

Right wing populism is on the rise. Through the use of othering, right-wing groups delimit their own identities while excluding others. The purpose of this chapter is to shed light on how European mediated public spheres (such as reader responses to media discourse) constitute an important domain of identity articulation and struggle through the discursive construction of the ‘Other’. In this case, the others come from the Central and Eastern European countries that are perceived as newcomers to Western Europe due to the consecutive enlargements of the European Union. Specifically, this chapter provides an in-depth analysis of 236 reader comments …


การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่อง โครงสร้างตัวละครและการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรที่อิงจากเหตุการณ์จริงและเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ทางสังคมและแนวทางการเล่าเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตกที่มีอิทธิพลต่องานเขียนนวนิยายชุด เสือใบ - เสือดำ ของ ป.อินทรปาลิต โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนวนิยายชุดเสือใบ เสือดำและดาวโจร จากสำนักพิมพ์ฉบับผดุงศึกษา (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) จำนวนทั้งสิ้น 12 เล่ม และจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่า กลวิธีการเล่าเรื่องและโครงสร้างตัวละคร ด้านโครงสร้างการเล่าเรื่อง มีการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรจากแนวเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตก (Western Genre) เป็นหลัก อาทิ การท้าดวลปืนตามลักษณะตัวละครแบบวีรบุรุษนอกกฎหมาย ความขัดแย้งในความอยุติธรรมระหว่างอำนาจรัฐและชุมชน โดยผสมผสานเหตุการณ์จริงในบริบทของสังคมไทย เข้ากับจินตนาการและขนบของการเล่าเรื่อง การปฏิบัติภารกิจที่มาจากแนวเรื่องผจญภัย (Adventure Genre) การต่อสู้จากแนวเรื่องแบบบู๊ล้างผลาญ (Action Genre) การทำการรบการสงครามจากแนวเรื่องแบบสงคราม (War Genre) และความรักในสตรีเพศจากแนวเรื่องรักโศก ด้านการสร้างตัวละคร พบว่า การใช้ชื่อตัวละครในนวนิยายได้เค้าโครงมาจากตัวละครจากเหตุการณ์จริงบางส่วน จากสภาพการณ์ทางสังคมของไทยในช่วงที่ไทยประสบปัญหาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดตัวละครโจรผู้ร้ายมากมาย ทำให้การกำหนดคุณลักษณะของตัวละคร แบบวีรบุรุษขุนโจร คือ ความกล้าหาญ ความเก่งกาจ ความมีคุณธรรม และการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรี ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบการสร้างตัวละครชายในวรรณคดีไทย


เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ 2) ศึกษาการรับรู้ของผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์ โดยใช้แนวคิดการสื่อสารสุขภาพ แนวคิดการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แนวคิดการวิเคราะห์เนื้อหา และแนวคิดการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ เป็นกรอบในการวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ ที่ผู้วิจัยศึกษาผ่านการวิเคราะห์เนื้อหารายการชัวร์ก่อนแชร์ตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจำนวน 60 ตอน ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและตารางลงรหัส (Coding Sheet) และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Information Interview) อันได้แก่ ผู้ผลิตรายการชัวร์ก่อนแชร์ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD และผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 3 คนด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง และใช้ทฤษฎีประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสาร ทฤษฎีการเปิดรับข่าวสาร แนวคิดการรับรู้และแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ เป็นกรอบในการวิเคราะห์การรับรู้ของผู้ชมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมตัวอย่างที่มีการรับชมรายการชัวร์ก่อนแชร์อยู่เป็นประจำ และมีปฏิสัมพันธ์กับรายการอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 10 คน ด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการชัวร์ก่อนแชร์มีเทคนิคการนำเสนอแบ่งออกเป็น 4 เทคนิค คือ เทคนิคด้านกลยุทธ์การนำเสนอ ที่แบ่งออกเป็น กลยุทธ์ด้านรูปแบบรายการ กลยุทธ์สาร และกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ เทคนิคด้านกระบวนการผลิต ที่แบ่งออกเป็น ขั้นตอนก่อนการผลิต ขั้นตอนระหว่างการผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต เทคนิคด้านช่องทางการสื่อสาร และทคนิคด้านนโยบายและการสนับสนุน ที่แบ่งออกเป็นด้านนโยบายและการสนับสนุนจากทางสถานี และด้านการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์มีการรับรู้ด้านเนื้อหารายการ และการรับรู้ด้านวิธีการนำเสนอของรายการชัวร์ก่อนแชร์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ในแง่ของการรับรู้แบบรู้เท่าทันสื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่นเดียวกับระดับการเปิดรับที่พบว่า รายการชัวร์ก่อนแชร์สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ เนื่องมาจากปัจจัยด้านภูมิหลังการศึกษาและสังคม พฤติกรรมการใช้สื่อ ประสบการณ์และทัศนคติต่อข่าวแชร์ อุปนิสัย และความชอบส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ชมได้มีการนำรายการชัวร์ก่อนแชร์ไปใช้ประโยชน์ใน 8 บทบาท คือ 1) บทบาทในการเป็นแหล่งความรู้ 2) บทบาทในการเป็นแหล่งข่าวสาร 3) บทบาทในการสร้างความตระหนักและวิจารณญาณ 4) บทบาทด้านการตรวจสอบข้อมูล 5) บทบาทด้านการเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ของสังคม 6) บทบาทด้านสื่อการสอน 7) บทบาทในแง่เป็นตัวกลางสานสัมพันธ์เพื่อนและครอบครัว และ 8) บทบาทให้สาระฆ่าเวลา


การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์กระทู้หน้าม้า หรือกระทู้รับจ้างรีวิวสินค้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม โดยเลือกศึกษาเฉพาะลักษณะเด่นของกระทู้หน้าม้า กระบวนการตรวจสอบและเปิดโปงหน้าม้า รวมทั้งกระบวนการสร้างและส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองทั้งโดยผู้ใช้พันทิปและทีมงานพันทิป การศึกษาใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีตัวอย่าง 5 กรณีระหว่าง พ.ศ. 2556 – 2559 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้พันทิป และการสนทนากลุ่มผู้นิยมอ่านรีวิวในอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า กระทู้หน้าม้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอมปรากฏอยู่ในสามรูปแบบหลัก ๆ ตามลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ได้แก่ กระทู้รีวิวแบบพื้นฐานทั่วไป กระทู้สาธิตวิธีการสร้างสิ่งใหม่โดยมีสินค้าหรือบริการหนึ่ง ๆ เป็นส่วนประกอบ และกระทู้เปิดประเด็นให้เกิดบทสนทนา โดยกระทู้หน้าม้าทั้งสามรูปแบบนี้จะมีองค์ประกอบสำคัญสองประเภทคือ การสร้างความดึงดูดใจ และการสร้างความแนบเนียนให้เนื้อหาดูไม่ออกว่ามาจากหน้าม้า ในส่วนของการตรวจสอบและเปิดโปงกระทู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นกระทู้หน้าม้านั้น จากการศึกษาพบว่า มีกระบวนการที่เป็นขั้นตอนดังนี้คือ 1) การวิเคราะห์ความสมจริงและความสอดคล้องของคำบรรยายกับภาพประกอบ 2) การค้นคว้าข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ปรากฏในกระทู้ ทั้งที่อยู่ในเว็บไซต์พันทิปเองและเว็บไซต์อื่น และ 3) การสืบหาข้อมูลที่ไม่เคยมีการเผยแพร่มาก่อน เพื่อให้การเปิดโปงมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า การกำกับดูแลกระทู้หน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปนั้น จะมีที่มาจากสองส่วน ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์ของพันทิป กับ การการลงโทษโดยสมาชิกพันทิปด้วยกัน โดยทั้งสองส่วนนี้ต่างประกอบด้วยสองแนวทางคือ กระบวนการรับมือกับปัญหาหน้าม้า และกระบวนการสื่อสารหลังเกิดปัญหาหน้าม้า


ผลของความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกม, พิจาริน สุขกุล 2017 คณะนิเทศศาสตร์

ผลของความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกม, พิจาริน สุขกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองในรูปแบบ 2 x 2 แฟคทอเรียล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดจากระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกม (การวางสินค้าในเกมแบบมีความสอดคล้องสูง และการวางสินค้าในเกมแบบมีความสอดคล้องต่ำ) และระดับความเกี่ยวพันของสินค้า (สินค้าที่มีความเกี่ยวพันสูง และสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่ำ) ที่ส่งผลต่อการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า ความรู้สึกถูกรบกวนจากโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้เล่นเกม โดยทำการวิจัยในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 กับนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 140 คน โดยผลการวิจัยพบว่า ระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมต่างกัน ส่งผลกระทบหลักให้ผู้เล่นเกมมีการตอบสนองในด้านการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า และความตั้งใจซื้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสินค้าที่มีความเกี่ยวพันต่างกันนั้น ส่งผลให้ผู้เล่นเกมมีการตอบสนองในด้านการระลึกถึงตราสินค้า การจดจำตราสินค้า และความรู้สึกถูกรบกวนจากโฆษณา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ระดับความสอดคล้องของการวางสินค้าในเกมและความเกี่ยวพันของสินค้าที่ต่างกัน ส่งผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อการตอบสนองของผู้เล่นเกมให้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งประกอบด้วย 3 ตัวแปร คือ คุณภาพของเว็บไซต์ คุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อ (1) ทัศนคติของผู้บริโภค และ (2) ความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่เคยซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งในงานวิจัยนี้คือ เว็บไซต์กลุ่ม Marketplace และเว็บไซต์กลุ่ม Brand ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ในตัวแปรด้านคุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซทั้งในกลุ่มเว็บไซต์ Marketplace และเว็บไซต์ Brand อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ และ 2) ศึกษากระบวนการในการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ โดยใช้โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหวิธีการ ซึ่งเป็นการผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการสังเกต โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 10 คน รวมเป็น 20 คน ซึ่งเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะและแบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความมั่นใจในฐานะผู้พูด เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลความกังวล โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่ไปกับการพูดต่อหน้าสาธารณะ เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน พร้อมไปกับการฝึกพูดต่อหน้าสาธารณะร่วมกับกลุ่มควบคุมทันทีหลังจากเสร็จการฝึกโยคะในทุกๆวัน ผลการศึกษาพบว่า การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการมีประสิทธิผลในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะแต่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการฝึกพูดด้วย เนื่องจากการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการช่วยในการเพิ่มสมาธิและฝึกจดจ่อ สร้างเสริมสมรรถภาพร่างกาย รวมไปถึงลดความกังวลในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลพูดในที่สาธารณะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเตรียมตัวของผู้พูด ความคุ้นชินระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง รวมไปถึงความถนัดของผู้พูดแต่ละคน ดังนั้นการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่กับการเตรียมเนื้อหาให้พร้อมก่อนการพูด รวมถึงการลดความตึงเครียดและมีสมาธิกับการพูดต่อหน้ากลุ่มผู้ฟังด้วยความมั่นใจในตนเอง ก็จะสามารถลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะได้ คำสำคัญ: ความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ


ภาพตัวแทนของพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพยนตร์ไทย, วิริยาภรณ์ จุนหะวิทยะ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

ภาพตัวแทนของพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพยนตร์ไทย, วิริยาภรณ์ จุนหะวิทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ และความสัมพันธ์ระหว่างภาพตัวแทนของพื้นที่กับปรากฏการณ์ทางสังคมเกี่ยวกับพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในภาพยนตร์ไทย โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์เนื้อหา (Textual Analysis) และวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) ผ่านภาพยนตร์ไทยขนาดยาวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผลิตและออกฉายในช่วงปี พ.ศ. 2546-2559 จำนวน 6 เรื่อง ประกอบการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตภาพยนตร์และนักวิชาการ จำนวน 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ไทยสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ด้วยกลวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบการสร้าง ตระกูลภาพยนตร์ และองค์ประกอบของเรื่องเล่าแต่ละประเภท โดยภาพยนตร์ที่สร้างในระบบสตูดิโอมักหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง ส่วนภาพยนตร์นอกระบบนั้นมักใช้วิธีการนำเสนอเชิงศิลปะและมุมมองเชิงปัจเจกในการวิพากษ์เหตุการณ์ ซึ่งภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้องค์ประกอบการเล่าเรื่องตามตระกูลภาพยนตร์ที่สามารถเล่าเรื่องให้เข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ ภาพยนตร์แนวบันเทิงคดีนั้นมีวิธีการเล่าเรื่องพื้นที่อย่างหลากหลาย ไม่ยึดติดกับข้อมูลความจริง แตกต่างจากภาพยนตร์สารคดีที่เน้นการบันทึกภาพจากเหตุการณ์จริงมากกว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาพตัวแทนของพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในภาพยนตร์ไทยกับปรากฏการณ์ทางสังคมนั้น มีบทบาทในการสะท้อน การแสดงเจตจำนง และการประกอบสร้างความหมายของพื้นที่ตั้งแต่ระดับปัจเจกไปจนถึงระดับโครงสร้าง โดยผู้ผลิตภาพยนตร์เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตความหมายของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านสายตาของคนนอกพื้นที่ที่พยายามจะเข้าใกล้และทำความเข้าใจกับพื้นที่ดังกล่าวในเชิงบวกมากขึ้น


วาทกรรม อำนาจ และการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทย, พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน 2017 คณะนิเทศศาสตร์

วาทกรรม อำนาจ และการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทย, พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายวาทกรรมและการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทยและวิพากษ์เชิงอำนาจผ่านชุดวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทยภายใต้กรอบแนวคิดวาทกรรมของ Foucault โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (Critical discourse analysis) โดยใช้แหล่งข้อมูลจากเอกสารจากหอจดหมายเหตุช่วงปีพ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2472 หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่ออื่น ๆ เช่นสื่อออนไลน์ และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกภิกษุณีสำนักต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 7 รูป ผลการวิจัยพบว่ามีความพยายามอย่างน้อยสองครั้งในการที่จะรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัทขึ้นในประเทศไทย ครั้งแรกถูกบันทึกไว้ในปีพ.ศ. 2472 โดยการริเริ่มของนายนรินทร์ กลึง ภาษิต ความพยายามครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จแต่ได้ทำให้เกิดการปะทะกันของวาทกรรมเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมในการรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัท การปะทะกันของวาทกรรมเกิดขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ. 2544 เมื่อฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ได้เข้ารับการบรรพชาที่ประเทศศรีลังกา และประกาศตนเป็นสามเณรีเถรวาทรูปแรกของไทย การปะทะกันของวาทกรรมทั้งสองครั้งเกิดขึ้นภายใต้กรอบความรู้ พระพุทธศาสนา อำนาจรัฐ และจารีตประเพณี โดยพบว่ามีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารวาทกรรมในลักษณะ การอธิบาย การโต้แย้งและประณาม การใช้อำนาจบังคับ การใช้องค์กรสถาบัน การใช้ความรุนแรง การใช้การดื้อดึง และการปฏิบัติ ผ่านการใช้สื่อต่าง ๆ ได้ สื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ การบังคับใช้กฎหมาย วัตรปฏิบัติและการทำประโยชน์แก่สังคมของภิกษุณี


On Making A Difference: How Photography And Narrative Produce The Short-Term Missions Experience, Joshua Kerby Jennings 2017 University of Kentucky

On Making A Difference: How Photography And Narrative Produce The Short-Term Missions Experience, Joshua Kerby Jennings

Theses and Dissertations--Community & Leadership Development

Short-term missions participants encounter difference in purportedly captivating ways. Current research, however, indicates the practice does not lead to long-lasting, positive change. Brian M. Howell (2012) argues the short-term missions experience is confined to the limitations of the short-term missions narrative. People who engage in short-term missions build assumptions, seek experiences, understand difference, and convey meaning, as a result of this narrative. The process of telling and retelling travel stories is integral to the short-term missions experience. Drawing upon literature on tourism, narrative, development, and photography, this study intends to evaluate the inefficacy of short-term missions through the stories which …


A Novel Approach For Classifying Gene Expression Data Using Topic Modeling, Soon Jye Kho, Himi Yalamanchili, Michael L. Raymer, Amit Sheth 2017 Wright State University - Main Campus

A Novel Approach For Classifying Gene Expression Data Using Topic Modeling, Soon Jye Kho, Himi Yalamanchili, Michael L. Raymer, Amit Sheth

Kno.e.sis Publications

Understanding the role of differential gene expression in cancer etiology and cellular process is a complex problem that continues to pose a challenge due to sheer number of genes and inter-related biological processes involved. In this paper, we employ an unsupervised topic model, Latent Dirichlet Allocation (LDA) to mitigate overfitting of high-dimensionality gene expression data and to facilitate understanding of the associated pathways. LDA has been recently applied for clustering and exploring genomic data but not for classification and prediction. Here, we proposed to use LDA inclustering as well as in classification of cancer and healthy tissues using lung cancer …


Digital Commons powered by bepress