Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication Technology and New Media Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

6,300 Full-Text Articles 6,646 Authors 5,829,645 Downloads 273 Institutions

All Articles in Communication Technology and New Media

Faceted Search

6,300 full-text articles. Page 131 of 238.

The Role Of Ethics Online And Among Social Media Designers, Meredith James 2017 Portland State University

The Role Of Ethics Online And Among Social Media Designers, Meredith James

School of Art + Design Faculty Publications and Presentations

As communication designers, our roles have changed greatly with the technological advancements of the Internet and social media. With these vastly changing roles are equal (and often problematic) demands on designers to act as ethical interventionists. In specific, designers are more and more frequently finding themselves in roles of arbitration and decision-making surrounding ethical concerns. Such decisions span everything from what is to be considered “allowable content” (breastfeeding, for example) to deciding how our devices respond to crisis (Miner, et al., 2016). I intend to present several case studies of designers placed in authority positions centered around ethics and new …


Native Advertising: A Close Look At An Emerging Advertising Unit, David Kamerer 2017 Loyola University Chicago

Native Advertising: A Close Look At An Emerging Advertising Unit, David Kamerer

School of Communication: Faculty Publications and Other Works

This study is a content analysis of a random sample of in-feed native ads, as curated by the Sharethrough Native Advertising Leaderboard. A native ad is paid content that looks like organic content and is served in the same feed. Native ads can earn premium CPMs for publishers, while giving advertisers a “lean in” format that online readers may actually enjoy. What are these native ads like? They utilized a mixture of assets including text (almost all), photos (an average of five), videos (almost half had one or more), interactive elements (20 percent) and GIFs. Only 75 percent of ads …


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ, ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา 2017 คณะนิเทศศาสตร์

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ, ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ การจดจำ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้ชมต่อตราสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อของผู้ชมจากการทำโฆษณาแฝงในรายการเกี่ยวกับอาหารบนยูทูบ ได้แก่ รายการ GGcooking และล้างตู้เย็นและอิ่ม TIPS โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ชมที่เคยรับชมรายการ จำนวนรายการละ 200 คน รวม 400 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยรวมมีพฤติกรรมเปิดรับชมรายการอาหารบนยูทูบค่อนข้างมาก โดยมีลักษณะการรับชมค่อนข้างบ่อยครั้งและใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการรับชมต่อครั้ง มีความสามารถจดจำตราสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารยูทูบในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อตราสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับดี มีความชื่นชอบต่อโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง โดยชื่นชอบโฆษณาแฝงแบบการเชื่อมโยงสินค้ากับเนื้อหา (Tie-In) มากที่สุด และมีความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบของผู้ชมนั้น ได้แก่ ทัศนคติต่อรูปแบบโฆษณาแฝง (Beta = 0.469) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และทัศนคติต่อตราสินค้า (Beta = 0.336) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01


U.S. Newspaper Editors’ Ratings Of Social Media As Influential News Sources, Masahiro Yamamoto, Seungahn Nah, Deborah S. Chung 2017 University at Albany

U.S. Newspaper Editors’ Ratings Of Social Media As Influential News Sources, Masahiro Yamamoto, Seungahn Nah, Deborah S. Chung

Information Science Faculty Publications

Social media, as one key platform for citizen journalism, are becoming a useful news-gathering tool for journalists. Based on data from a nationwide probability sample of newspaper editors in the United States, this study investigates the extent to which newspaper editors consider social media an influential news source. Results show that variations in editors’ ratings of social media as a news source were related to multiple levels of influence, including professional journalistic experience, organization size, community structural pluralism, and citizen journalism credibility. Implications are discussed for the roles of social media in news production.


Fit To Print: Hudson’S Gentrification In The New York Times, 1985-2016, Nora F. Cady 2017 Bard College

Fit To Print: Hudson’S Gentrification In The New York Times, 1985-2016, Nora F. Cady

Senior Projects Spring 2017

“Fit to Print: Hudson’s Gentrification in the New York Times, 1985-2016” is a content analysis of 80 New York Times articles that investigates the way that the City of Hudson N.Y. has been covered by the paper between 1985 and 2016. Findings from this content analysis are presented in 10-year increments. In the first phase of coverage, New York Times reporting primed Hudson for gentrification by depicting it as a site of urban decay hoping to revitalize. In the second phase (1997-2006) New York Times coverage promoted growth regime activities and minimized social problems in the city. In the last …


Brunswick Educational Access Television Social Media Campaign, Nicole Rhoades 2017 The University of Akron

Brunswick Educational Access Television Social Media Campaign, Nicole Rhoades

Williams Honors College, Honors Research Projects

This social media campaign is to be executed by student managers within the Brunswick Schools Video Program. The Video Program provides journalistic experience to young students by immersing them in print and broadcast journalism that is provided to the Brunswick-area through Brunswick Educational Access Television.


Theatre Marketing: Using Websites To Attract Young Target Audience, Mirna Leko Šimić, Dr. Antun Biloš 2017 Munster Technological University

Theatre Marketing: Using Websites To Attract Young Target Audience, Mirna Leko Šimić, Dr. Antun Biloš

Irish Business Journal

Classic theatres worldwide are faced with the trend of aging of loyal audiences and general decrease of the audience size. It indicates that attracting young audiences to classic theatre is the key issue of its existence. Since the quality of communication is one of the major elements of marketing efficiency, the aim of this research is to identify Croatian classic theatre website characteristics and usability elements which are connected with website experience of young target audiences. Altogether 7 Croatian national theatres and three commercial theatres’ official websites were tested. The in-depth analysis of websites of sample theatres implies that website …


การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.Org, แก้วเกล้า บรรจง 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.Org, แก้วเกล้า บรรจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มุ่งศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 2) กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 3) ความผูกพันของพลเมืองเน็ตต่อแบรนด์ Change.org โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยเทคนิคการวิจัย ดังนี้ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis), การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และวิธีการสำรวจจากแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ผลการวิจัยในประเด็นแรกพบว่าลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเด็นสาธารณะ (Public Issues) และปัญหาระดับบุคคล (Private Troubles) โดยนักรณรงค์ใช้พื้นที่ออนไลน์ Change.org เพื่อสื่อสารใน 5 วัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) ให้ข้อมูล (2) อัปเดตข่าวสาร (3) โน้มน้าวให้คล้อยตาม (4) ขอบคุณ และ (5) ประกาศชัยชนะ ซึ่งกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) หน่วยงานในการปกครองของรัฐ (2) องค์กรเอกชน และ (3) องค์กรเพื่อสังคม โดยผลการรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แคมเปญที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน และแคมเปญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ผลการวิจัยในประเด็นที่สองพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มีทั้งหมด 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การทำให้เห็นภาพ หรือจินตทัศน์ (Visualization) (2) การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement) (3) การจัดการข้อมูล (Information Management) และ (4) ความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Current issues …


การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง, กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง, กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้อง การชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมละครโทรทัศน์ชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง รวมถึงเพื่ออธิบายการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่เป็นผู้ชมละครโทรทัศน์ไทยชาวเมียนมาในนครย่างกุ้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และชมละครโทรทัศน์ไทยภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชนโดยเฉลี่ยในระดับบางครั้ง แต่เปิดรับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลและสื่อออนไลน์บ่อยๆ กลุ่มตัวอย่างชมละครโทรทัศน์ไทยที่บ้านผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด โดยมักชมเพียงคนเดียวเฉลี่ย 1 – 2 ชั่วโมง/วัน และชมช่วงเช้าเวลา 09.01 - 12.00 น. มากที่สุดทั้งในวันทำงานและวันหยุด ทั้งนี้ เวลาดังกล่าวตรงกับช่วงทีเบรก (Tea Break) และออกอากาศซ้ำของละครโทรทัศน์ไทย (Re-Run) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแบบบรรยายภาษาเมียนมาและคงเสียงภาษาไทยมากกว่าแบบพากย์ ต้องการนักแสดงนำที่แสดงละครสมบทบาทและมีหน้าตารูปร่างสวยงาม ต้องการละครโทรทัศน์ไทยที่มีเนื้อหาเรื่องราวสัมพันธ์กับชาวเมียนมา องค์ประกอบละครที่มีเค้าโครงเรื่องสุข เศร้า ตลก แก่นเรื่องที่ทำให้ได้ขบคิด และต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแนวชีวิตรัก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชน สื่อออนไลน์ และสื่อบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ชมชาวเมียนมาเพศชายเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความถี่ในการชมละครโทรทัศน์ไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ชมเพศหญิงมีความถี่ในการชมสูงกว่าเพศชาย ส่วนผู้ชมอายุ 56 ปีขึ้นไปมีความถี่ในการชมสูงกว่าผู้ชมอายุ 18 – 55 ปี ความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่อายุต่างกันต้องการชมด้านองค์ประกอบละครและเนื้อหาเรื่องราวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ชมชาวเมียนมาที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ต้องการชมด้านดารานักแสดงนำ เนื้อหาเรื่องราว องค์ประกอบละคร และแนวละคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ, กิตาวี ศุภผลศิริ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ, กิตาวี ศุภผลศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ (2) เพื่อศึกษาความภักดีของผู้ใช้บริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งจะมุ่งศึกษาภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ โรงพยาบาลกรุงเทพ โดยกลุ่มตัวอย่างอายุ 25-60 ปี เป็นกลุ่มคนระดับกลางถึงระดับบน (รายได้ต่อเดือน 25,000-100,000บาทขึ้นไป) ที่เคยใช้บริการโรงพยาบาล ใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน แบ่งเป็น ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 200 คน และผู้ใช้บริการโรงพยาบาลกรุงเทพ 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงสำหรับการทดสอบสมมติฐานด้วยการเปรียบเทียบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นโดยเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดี มีภาพลักษณ์ด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ดีกว่าภาพลักษณ์ด้านอื่น ๆ และภาพลักษณ์ดังกล่าวอยู่ในระดับที่ดีมาก 2. สำหรับความภักดีของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในการกลับมาใช้บริการอีกในระดับมาก รองลงมา คือ จะแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการโรงพยาบาลที่ตนเองใช้บริการอยู่ 3. จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำมีความสัมพันธ์กับความภักดีของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นความสัมพันธ์ในระดับสูงและมีทิศทางบวก


การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย, ณัฐพล วัฒนะวิรุณ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย, ณัฐพล วัฒนะวิรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้การสื่อสารการตลาด ทัศนคติ และความตั้งใจใช้บริการของผู้บริโภค โดยรูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผู้ให้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย จำนวน 400 ชุด โดยจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ อาชีพ โดยสถิติที่ใช้ทดสอบคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน, t-test, f-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่อจากทางเฟสบุ๊ก 2) การรับรู้การสื่อสารการตลาด มีการรับรู้บริการ GrabTaxi และ Uber X มากที่สุด 3) มีทัศนคติต่อการเห็นค่าโดยสารก่อนการเรียกรถมากที่สุด 4) มีความตั้งใจใช้บริการอยู่ในระดับสูง 5) ปัจจัยด้านประชากรมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดไม่แตกต่างกัน 6) ปัจจัยด้านประชากรมีทัศนคติต่อผู้ให้บริการไม่แตกต่างกัน 7) ปัจจัยด้านประชากรมีความตั้งใจใช้บริการไม่แตกต่างกัน 8) การรับรู้การสื่อสารการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติ 9) ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้บริการ


การแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะกับวาทกรรมความเป็นชาติไทย, ธันย์ชนก รื่นถวิล 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะกับวาทกรรมความเป็นชาติไทย, ธันย์ชนก รื่นถวิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการที่รัฐเข้าแทรกแซงการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะของประชาชน เพื่อศึกษาปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะ และเพื่อศึกษาการสร้างวาทกรรมของความเป็นชาติไทย ผ่านการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะในช่วงถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร นับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 จากผลการวิจัยพบว่าช่วงเวลาหลังเหตุการณ์สวรรคตมีความสำคัญและมีความเปราะบางอย่างยิ่งทั้งในด้านการเมืองคือช่วงเวลาของการผลัดแผ่นดิน และด้านอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกชนที่ต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียองค์พระมหากษัตริย์อย่างกระทันหัน รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาเป็นผู้จัดการแทรกแซงในการแสดงออกความโศกเศร้าของปัจเจกเพื่อให้ปัจเจกชนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่ารัฐกับปัจเจกชน ตลอดจนแสดงออกถึงความพวกพ้องในชาติเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของอำนาจที่จำผูกโยงปัจเจกชนเข้ากับรัฐชาติในฐานะ "พลเมืองไทย" ผ่านการจัดการของรัฐที่จัดการควบคุมเทศะหรือพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งจัดการร่างกายในฐานะตัวแทนหรือสื่อแทนความหมาย (carrier of signification) และการจัดการตรวจตรา (surveillance) การสังเกต (observe) หรือการเพ่งมอง (gaze) โดยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติตนต่างๆ ที่ได้กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยตัวกำหนดการแสดงความโศกเศร้าสาธารณะ อันได้แก่ ปัจจัยที่หนึ่งพิธีกรรมเป็นตัวกระตุ้นสำนึกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างความคิดของปัจเจกกับสังคม ปัจจัยที่สองสถานภาพที่แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นศูนย์กลางแห่งความดีงามที่ถูกแสดงผ่านพิธีกรรม ปัจจัยที่สามบทบาทของปัจเจกชนที่จำเป็นจะต้องสวมบทบาทให้สอดคล้องกับสถานภาพของตน ดังนั้นทั้งการแทรกแซงของรัฐและปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะได้สะท้อนวาทกรรมของความเป็นชาติไทย อันได้แก่ วาทกรรมกษัตริย์นิยม (Royalism) และ วาทกรรมชาตินิยม (Nationalism) ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกันอย่างแยกไม่ออกจนกลายเป็นอัตลักษณ์ร่วม (collective identity) อย่างหนึ่งของความเป็นไทย


เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ 2) ศึกษาการรับรู้ของผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์ โดยใช้แนวคิดการสื่อสารสุขภาพ แนวคิดการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แนวคิดการวิเคราะห์เนื้อหา และแนวคิดการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ เป็นกรอบในการวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ ที่ผู้วิจัยศึกษาผ่านการวิเคราะห์เนื้อหารายการชัวร์ก่อนแชร์ตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจำนวน 60 ตอน ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและตารางลงรหัส (Coding Sheet) และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Information Interview) อันได้แก่ ผู้ผลิตรายการชัวร์ก่อนแชร์ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD และผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 3 คนด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง และใช้ทฤษฎีประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสาร ทฤษฎีการเปิดรับข่าวสาร แนวคิดการรับรู้และแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ เป็นกรอบในการวิเคราะห์การรับรู้ของผู้ชมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมตัวอย่างที่มีการรับชมรายการชัวร์ก่อนแชร์อยู่เป็นประจำ และมีปฏิสัมพันธ์กับรายการอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 10 คน ด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการชัวร์ก่อนแชร์มีเทคนิคการนำเสนอแบ่งออกเป็น 4 เทคนิค คือ เทคนิคด้านกลยุทธ์การนำเสนอ ที่แบ่งออกเป็น กลยุทธ์ด้านรูปแบบรายการ กลยุทธ์สาร และกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ เทคนิคด้านกระบวนการผลิต ที่แบ่งออกเป็น ขั้นตอนก่อนการผลิต ขั้นตอนระหว่างการผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต เทคนิคด้านช่องทางการสื่อสาร และทคนิคด้านนโยบายและการสนับสนุน ที่แบ่งออกเป็นด้านนโยบายและการสนับสนุนจากทางสถานี และด้านการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์มีการรับรู้ด้านเนื้อหารายการ และการรับรู้ด้านวิธีการนำเสนอของรายการชัวร์ก่อนแชร์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ในแง่ของการรับรู้แบบรู้เท่าทันสื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่นเดียวกับระดับการเปิดรับที่พบว่า รายการชัวร์ก่อนแชร์สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ เนื่องมาจากปัจจัยด้านภูมิหลังการศึกษาและสังคม พฤติกรรมการใช้สื่อ ประสบการณ์และทัศนคติต่อข่าวแชร์ อุปนิสัย และความชอบส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ชมได้มีการนำรายการชัวร์ก่อนแชร์ไปใช้ประโยชน์ใน 8 บทบาท คือ 1) บทบาทในการเป็นแหล่งความรู้ 2) บทบาทในการเป็นแหล่งข่าวสาร 3) บทบาทในการสร้างความตระหนักและวิจารณญาณ 4) บทบาทด้านการตรวจสอบข้อมูล 5) บทบาทด้านการเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ของสังคม 6) บทบาทด้านสื่อการสอน 7) บทบาทในแง่เป็นตัวกลางสานสัมพันธ์เพื่อนและครอบครัว และ 8) บทบาทให้สาระฆ่าเวลา


การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์กระทู้หน้าม้า หรือกระทู้รับจ้างรีวิวสินค้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม โดยเลือกศึกษาเฉพาะลักษณะเด่นของกระทู้หน้าม้า กระบวนการตรวจสอบและเปิดโปงหน้าม้า รวมทั้งกระบวนการสร้างและส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองทั้งโดยผู้ใช้พันทิปและทีมงานพันทิป การศึกษาใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีตัวอย่าง 5 กรณีระหว่าง พ.ศ. 2556 – 2559 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้พันทิป และการสนทนากลุ่มผู้นิยมอ่านรีวิวในอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า กระทู้หน้าม้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอมปรากฏอยู่ในสามรูปแบบหลัก ๆ ตามลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ได้แก่ กระทู้รีวิวแบบพื้นฐานทั่วไป กระทู้สาธิตวิธีการสร้างสิ่งใหม่โดยมีสินค้าหรือบริการหนึ่ง ๆ เป็นส่วนประกอบ และกระทู้เปิดประเด็นให้เกิดบทสนทนา โดยกระทู้หน้าม้าทั้งสามรูปแบบนี้จะมีองค์ประกอบสำคัญสองประเภทคือ การสร้างความดึงดูดใจ และการสร้างความแนบเนียนให้เนื้อหาดูไม่ออกว่ามาจากหน้าม้า ในส่วนของการตรวจสอบและเปิดโปงกระทู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นกระทู้หน้าม้านั้น จากการศึกษาพบว่า มีกระบวนการที่เป็นขั้นตอนดังนี้คือ 1) การวิเคราะห์ความสมจริงและความสอดคล้องของคำบรรยายกับภาพประกอบ 2) การค้นคว้าข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ปรากฏในกระทู้ ทั้งที่อยู่ในเว็บไซต์พันทิปเองและเว็บไซต์อื่น และ 3) การสืบหาข้อมูลที่ไม่เคยมีการเผยแพร่มาก่อน เพื่อให้การเปิดโปงมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า การกำกับดูแลกระทู้หน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปนั้น จะมีที่มาจากสองส่วน ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์ของพันทิป กับ การการลงโทษโดยสมาชิกพันทิปด้วยกัน โดยทั้งสองส่วนนี้ต่างประกอบด้วยสองแนวทางคือ กระบวนการรับมือกับปัญหาหน้าม้า และกระบวนการสื่อสารหลังเกิดปัญหาหน้าม้า


การสื่อสารตราสินค้า ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของเจเนอเรชั่นวาย, ปุณชญา ใจภักดี 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การสื่อสารตราสินค้า ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของเจเนอเรชั่นวาย, ปุณชญา ใจภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ประเภทสินค้าที่เลือกใช้ในงานวิจัยเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิว ได้แก่ ตราสินค้า The Body Shop และตราสินค้า L'Occitane ซึ่งเป็นตราสินค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารจากสื่อต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ ร้านค้า และ บทความโฆษณา ในช่วงระยะเวลา 1 ปี (2) วิเคราะห์ความแตกต่างของการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกลุ่มเจนวายที่มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มเจนวายต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิง อายุ 18-38 ปี ที่รู้จักและทราบว่าทั้งสองตราสินค้ามีการดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวน 400 คน ผลการวิจัยตราสินค้า The Body Shop และ L'Occitane ในประเทศไทยโดยวิเคราะห์ช่องทางการสื่อสารทั้งหมด 6 ช่องทาง ได้แก่ (1) เอกลักษณ์ขององค์กร (2) แผนการรณรงค์เชิงการตลาดเหตุสัมพันธ์ (3) การโฆษณาองค์กร (4) การประชาสัมพันธ์องค์กร (5) การสื่อสารผ่านผู้แทนองค์กร และ (6) ผู้สนับสนุนกิจกรรม พบว่า ทั้งสองตราสินค้ามีการสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยตราสินค้า The Body Shop เน้นประเด็นการสื่อสารเกี่ยวกับสัตว์ และตราสินค้า L'Occitane เน้นประเด็นเกี่ยวกับธรรมชาติของแคว้นโพวองซ์ ซึ่งตราสินค้า The Body Shop มีการสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนกว่า สำหรับผลการศึกษาในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้บริโภคที่มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อตราสินค้าสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า การรับรู้ตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และการรับรู้ตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

อิทธิพลของปัจจัยจูงใจต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ, พิชชาพร เนียมศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งประกอบด้วย 3 ตัวแปร คือ คุณภาพของเว็บไซต์ คุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภค ที่ส่งผลต่อ (1) ทัศนคติของผู้บริโภค และ (2) ความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภค โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่เคยซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ ซึ่งในงานวิจัยนี้คือ เว็บไซต์กลุ่ม Marketplace และเว็บไซต์กลุ่ม Brand ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่น ในตัวแปรด้านคุณลักษณะของเสื้อผ้าแฟชั่น และคุณลักษณะของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคผ่านเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซทั้งในกลุ่มเว็บไซต์ Marketplace และเว็บไซต์ Brand อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน, พิชญ์ณัฐ เนื่องจำนงค์ 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน, พิชญ์ณัฐ เนื่องจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร และศึกษารูปแบบการสนับสนุนการเป็นอาสาสมัครองค์กรเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน 2) ศึกษาแนวทางการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 3) ศึกษาการสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัครเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน 4) ศึกษาอิทธิพลของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร การเป็นอาสาสมัครองค์กร และแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร ที่มีต่อความผูกพันของพนักงาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานในการศึกษาองค์กรต่างชาติและองค์กรไทย ที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability indices) ประจำปี 2559 โดยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและใช้แบบสำรวจความคิดเห็น และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลจากการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์กรด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรากฐานหลักของการเป็นพลเมืองธุรกิจที่ดีและการสนับสนุนให้พนักงานเป็นอาสาสมัคร โดยรูปแบบการสนับสนุนนั้นมีทั้งแนวการสนับสนุนเชิงตอบสนองและเชิงกลยุทธ์ และยังพบว่าการสื่อสารมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการอาสาสมัคร ทั้งในส่วนของการสื่อสารวัฒนธรรม การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร ซึ่งแนวทางการสื่อสารทั้งหมดที่องค์กรนำมาใช้มีส่วนช่วยสร้างความผูกพันของพนักงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ยังแสดงให้เห็นว่าการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร แรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร และการเป็นอาสาสมัครองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันของพนักงาน และในขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์กรก็ยังส่งผลทางอ้อมต่อความผูกพันของพนักงาน โดยมีแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร และการเป็นอาสาสมัครองค์กร เป็นตัวแปรกลาง ดังนั้นผลการวิจัยชิ้นนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลดีกับทั้งองค์กร พนักงาน และสังคมส่วนร่วม ทั้งยังได้นำเสนอวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม


การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง, รักชน พุทธรังษี 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง, รักชน พุทธรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของบอร์ดเกมที่ส่งเสริมทักษะสื่อสารการแสดง และเพื่อประยุกต์ใช้บอร์ดเกมในการพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง โดยการจัดกระบวนการประยุกต์ใช้บอร์ดเกมพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง ประกอบกับสหวิธีการ ได้แก่ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านบอร์ดเกมแบบเจาะลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมโดยผู้วิจัย การประเมินก่อน-หลังการร่วมกิจกรรม และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิจัยเป็นลำดับ ผลของการวิจัยพบว่า กระบวนการประยุกต์บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง สามารถใช้พัฒนาทักษะสื่อสารการแสดงได้แก่ 1) ความสามารถในการใช้ภาษาพูด 2) ความพร้อมของอารมณ์และความรู้สึก 3) ความพร้อมของประสาทสัมผัส 4) สมาธิ 5) ความสามารถในการสังเกต 6) ความจำ 7) ความเข้าใจ 8) ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ 9) ความกล้าแสดงออก และ 10) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยคัดเลือกบอร์ดเกมจากองค์ประกอบของบอร์ดเกม ได้แก่ 1) ประเภทของบอร์ดเกม ควรเป็นบอร์ดเกมประเภทปาร์ตี้เกม 2) แนวของบอร์ดเกม ควรเป็นแนวอารมณ์ขัน แนวโน้มน้าวใจ แนวเล่าเรื่อง และแนวตัดตัวเลือก 3) กลศาสตร์ของบอร์ดเกม ควรประกอบไปด้วย กลศาสตร์การสวมบทบาท กลศาสตร์การเล่าเรื่อง และกลศาสตร์การลงมติ เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการของเกมการแสดง และเพิ่มกลศาสตร์ที่ส่งเสริมการใช้ทักษะสื่อสารการแสดงอย่างเฉพาะเจาะจง จากนั้นจึงนำเกมที่เลือกแล้วมาวางโครงสร้างของกิจกรรม โดย 1) เริ่มด้วยเกมอุ่นเครื่อง 2) เข้าสู่เกมแนวตัดตัวเลือกที่มีกลศาสตร์การสวมบทบาท 3) เข้าสู่เกมแนวตัดตัวเลือกที่มีกลศาสตร์การมีคู่หู 4) เข้าสู่เกมที่เน้นไหวพริบ เพื่อประมวลทักษะสื่อสารการแสดงที่ได้ใช้ในแต่ละเกม และ 5) สนทนาหลังจบกิจกรรม เพื่อประเมินผลกิจกรรม


กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล 2017 คณะนิเทศศาสตร์

กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) โดยประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้มีบทบาทในการกำหนดเอกลักษณ์และสื่อสารตราสินค้าบุคคลของแต่ละเพจ จำนวน 5 เพจ ได้แก่เพจ Lowcostcosplay, บันทึกของตุ๊ด, นัดเป็ด, คาราโอเกะชั้นใต้ดิน, Drama-addict และทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเกี่ยวกับการสื่อสารตราสินค้าและสื่อดิจิทัลจำนวน 10 ท่าน และ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยศึกษาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจทั้ง 5 เพจย้อนหลังเป็นเวลา 2 เดือน ได้แก่ เดือนมีนาคม และ เมษายน 2561 ผลการศึกษาของทั้ง 5 ตราสินค้าพบว่ากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ ประกอบด้วย 8 มิติ คือ การกำหนดคุณสมบัติ, ขอบเขต, คุณภาพ, คุณประโยชน์ด้านอารมณ์, บุคลิกภาพตราสินค้า, สัญลักษณ์, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค และ การกำหนดการวางจุดยืนตราสินค้า ในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจจะประกอบไปด้วย 5 ประการหลัก ได้แก่ รูปแบบในการโพสต์, การกำหนดเวลาและจำนวนในการโพสต์, แกนเนื้อหาในการโพสต์, การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามเพจ, การใช้งบประมาณในการสื่อสาร ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจนั้นประกอบไปด้วย 3 ประการ ได้แก่ การสร้างเอกลักษณ์ตราสินค้า, การผลิตและพัฒนาคุณภาพของเนื้อหา และ ความเชี่ยวชาญบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กแฟนเพจ


การสื่อสารความหมายใหม่ของตัวละครสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย, วิรสา โรจน์วรพร 2017 คณะนิเทศศาสตร์

การสื่อสารความหมายใหม่ของตัวละครสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย, วิรสา โรจน์วรพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง "การสื่อสารความหมายใหม่ของตัวละครสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย" เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) ที่มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาการสร้างความหมายใหม่และสร้างสรรค์ตัวละครนางสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย และ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ความหมายใหม่ของตัวละครนางสำมนักขาผ่านการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างสรรค์การแสดง ฉุยฉายนางสำมนักขาร่วมสมัย สามารถนำองค์ประกอบในการแสดง "ฉุยฉาย" มาประยุกต์ใช้ผ่านกระบวนท่าทางการร่ายรำในรูปแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ผนวกกับการนำทั้งบทร้องดั้งเดิมของการแสดงฉุยฉายศูรปนขา และบทเพลงสมัยนิยม มาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาเรื่องราวและอารมณ์ของตัวละคร รวมถึงความสามารถในการถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครผ่านการแสดงเดี่ยว เพื่อใช้ในการสื่อสารหมายใหม่ให้กับตัวละครนางสำมนักขา ผ่านรูปแบบการแสดงฉุยฉายร่วมสมัย การจัดการแสดง "ฉุยฉายนางสำมนักขาร่วมสมัย" พบว่า ผู้ชมและผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า รูปแบบและองค์ประกอบในการแสดงสามารถสื่อสารความหมายใหม่ในความเป็นมนุษย์ให้กับตัวละครนางสำมนักขาได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของผู้ชมเกี่ยวกับนางสำมนักขาด้วย และผู้ชมมีความรู้สึกเอื้ออาทรต่อนางสำมนักขาแตกต่างไปจากเดิม ส่วนทัศนคติของผู้ชมพบว่า รูปแบบในการจัดการแสดง เป็นส่วนที่ผู้ชมชื่นชอบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.12 ผู้แสดงสามารถถ่ายทอดเนื้อเรื่องและอารมณ์ได้ในระดับ มากที่สุด (M=4.34) เนื้อหาในการแสดงมีความน่าสนใจในระดับ มาก (M=4.04) บทร้องและดนตรีมีความเหมาะสมต่อการแสดงในระดับ มาก (M=3.93) และผู้ชมมีทัศนคติต่อตัวละครนางสำมนักขาแตกต่างไปจากเดิม คิดเป็นร้อยละ 76.47


Digital Commons powered by bepress