Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Health and Physical Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 541 - 553 of 553

Full-Text Articles in Health and Physical Education

โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, พรพล พุทธรักขิต Jan 2021

โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, พรพล พุทธรักขิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายก่อนและหลังการทดลองของนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลอง และของนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายหลังการทดลองระหว่างนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองกับนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 50 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาจำนวน 25 คน ด้วยวิธีการจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยา ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้เกี่ยวกิจกรรมทางกาย และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา, วชิรวิทย์ พงษ์จีน Jan 2021

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา, วชิรวิทย์ พงษ์จีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาอาสาสมัคร (n=50) สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่ความหนักร้อยละ 50 และ 80 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 21 นาทีต่อครั้ง จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=19) 2) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลางที่ความหนักร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 30 นาทีต่อครั้ง จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=20) และ 3) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย (n=20) ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความรู้นั้นประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ ในขณะที่การตอบสนองการรับรู้ทางจิตวิทยานั้นประเมินหลังการออกกำลังกายครั้งที่หนึ่งและครั้งสุดท้ายของการออกกำลังกาย การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองเป็นตัวแปรร่วมหากพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ตามวิธีของบอนเฟอโรนี โดยมีค่าพื้นฐานก่อนการทดลองและเพศเป็นตัวแปรร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายประเภทแอโรบิกของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและพัฒนาด้านความรู้ของการออกกำลังกายของนิสิตนักศึกษาได้ไม่แตกต่างจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลาง


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วัชรภูมิ เพ็ชรประดิษฐ์ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วัชรภูมิ เพ็ชรประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คนกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ และกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ เครื่องมือในการทดลองได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และแบบทดสอบการคิดเชิงประยุกต์มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 50 นาที ทำการทดสอบโดยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย และแบบทดสอบการคิดเชิงประยุกต์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถ ในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬา, สุวนันท์ แก้วคำไสย์ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถ ในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬา, สุวนันท์ แก้วคำไสย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬาก่อนการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬาหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อหญิง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อ จำนวน 15 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เข้าฝึกเซปักตะกร้อแบบปกติ จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีจับคู่ (Matching Group) ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 60 นาที และทำการทดสอบความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า ที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิริลักษณ์ ไทยพงษ์ Jan 2021

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิริลักษณ์ ไทยพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติส จำนวน 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อานนท์ กองสุวรรณ Jan 2021

โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อานนท์ กองสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมจำนวน 20 คน โดยวิธีการจับคู่ (Matching Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.98 แบบวัดความตระหนักรู้และแบบวัดพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.99 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.84 และ 0.82 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คนจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสุ่มด้วยวิธีแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายการทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารอยู่ในระดับน้อย การรับรู้และทัศนคติระดับปานกลาง และแนวโน้มพฤติกกรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก ด้านความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะทั่วไป: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับ ระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง การรับรู้มีความสัมพันธ์รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้น ด้านอายุ ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดาและปัจจัยด้านรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองด้านความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงลบขนาดต่ำ (r =-0.12) การรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์ (r = 0.00) และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกขนาดกลาง (r = 0.65)


Addressing Health-Related Myths In The Culturally Diverse African American Population: A Call To Action, Lucson Joseph Jan 2021

Addressing Health-Related Myths In The Culturally Diverse African American Population: A Call To Action, Lucson Joseph

Internet Journal of Allied Health Sciences and Practice

African Americans (AAs) experience numerous challenges that socially, economically, and physically affect their communities. Recent studies have found that a diverse array AAs encounter many struggles as they navigate the United States (U.S.) healthcare system to access care and receive healthcare services. AA communities are significantly affected by the burden of chronic diseases. They face considerable barriers to healthcare services that contribute to adverse health outcomes. This paper explains the daily struggles many AAs face within their communities to access and navigate the healthcare system due to culturally held myths and barriers. This paper discusses commonly held myths among Afro-Caribbean …


Fear Or Freedom? Visually Impaired Students' Ambivalent Perspectives On Physical Education, Sebastian Ruin, Martin Giese, Justin A. Haegele Jan 2021

Fear Or Freedom? Visually Impaired Students' Ambivalent Perspectives On Physical Education, Sebastian Ruin, Martin Giese, Justin A. Haegele

Human Movement Sciences Faculty Publications

With a growing interest in sport, fitness, and a healthy lifestyle, bodily practices are increasing in importance in our society. In the school context, physical education (PE) is the subject where these practices play a central role. But, the German language discourse shows in an exemplary manner that inherent body-related social normality requirements are articulated in didactic traditions and curricular requirements, and that these normality requirements have exclusionary potential for those students who do not fit into the norms. Against this background, this article seeks to understand children with visual impairments’ (CWVI’s) individual constructions of PE in a school specialized …


'It's Better Than Going Into It Blind': Reflections By People With Visual Impairments Regarding The Use Of Simulation For Pedagogical Purposes, Anthony J. Maher, Justin A. Haegele, Andrew C. Sparkes Jan 2021

'It's Better Than Going Into It Blind': Reflections By People With Visual Impairments Regarding The Use Of Simulation For Pedagogical Purposes, Anthony J. Maher, Justin A. Haegele, Andrew C. Sparkes

Human Movement Sciences Faculty Publications

Disability simulations have been advocated as a tool to facilitate pedagogical learning among prospective physical education (PE) teachers. However, much of the research currently available neglect the views of people with disabilities about the development and use of such simulations. To address this omission, this study used vignettes and telephone interviews to elicit the views of nine people with visual impairments (VI) regarding the value (or not) of simulating this impairment with prospective PE teachers. Data were analysed thematically and the following themes were constructed in the process: (1) Involving people with VI in simulations; (2) Diversity and complexity of …


Learners' Motivational Response To The Science, Pe, & Me! Curriculum: A Situational Interest Perspective, Senlin Chen, Haichun Sun, Xihe Zhu, Ang Chen, Catherine D. Ennis (Posthumous) Jan 2021

Learners' Motivational Response To The Science, Pe, & Me! Curriculum: A Situational Interest Perspective, Senlin Chen, Haichun Sun, Xihe Zhu, Ang Chen, Catherine D. Ennis (Posthumous)

Human Movement Sciences Faculty Publications

Background: The Science, PE, & Me! (SPEM) curriculum is a concept-based physical education curriculum that offers students coherent educational experiences for constructing health-related fitness knowledge through movement experiences. The purpose of this study was to evaluate students’ motivational response to the SPEM curriculum from the situational interest perspective.

Methods: The study used a cluster randomized controlled design in which 30 elementary schools in one of the largest metropolitan areas in the eastern United States were randomly assigned to an experimental or comparison condition. Although all students in the 3rd, 4th, and 5th grades in the targeted schools were …


Health Literacy Of University Students In Covid-19 Pandemic And Infodemic: A Pakistani Perspective, Rozeen Shaukat, Muhammad Asif Naveed Jan 2021

Health Literacy Of University Students In Covid-19 Pandemic And Infodemic: A Pakistani Perspective, Rozeen Shaukat, Muhammad Asif Naveed

Library Philosophy and Practice (e-journal)

This research investigated the levels of health literacy among Pakistani university students in the Covid-19 pandemic and infodemic. The university students were surveyed using an online questionnaire at two public sector universities and one private sector university in Punjab-Pakistan. The administration of the data collection instrument was completed with permission from concerned authorities. A total of 374 responses received which were imported to SPSS and analyzed by applying descriptive as well as inferential statistics. The results revealed that the health literacy of university students in the Covid-19 pandemic and infodemic was not at an optimal level as these participants expressed …


Impact Of Health Literacy On Fear Of Covid-19, Protective Behavior, And Conspiracy Beliefs: University Students’ Perspective, Rozeen Shaukat, Ali Asghar, Muhammad Asif Naveed Jan 2021

Impact Of Health Literacy On Fear Of Covid-19, Protective Behavior, And Conspiracy Beliefs: University Students’ Perspective, Rozeen Shaukat, Ali Asghar, Muhammad Asif Naveed

Library Philosophy and Practice (e-journal)

Health literacy is an essential to respond proactively to pandemic situations like Covid-19. It helps the general public to reduce the spread of infectious diseases, prevent from over-reactions, reduce carelessness, adopt health protective behavior. The purpose of this research was to examine the impact of health literacy on fear of Covid-19, protective behavior, and conspiracy beliefs of university students in Pakistan. A cross-sectional survey using an online questionnaire was conducted at two public sector universities in Punjab with permission. A total of 271 received responses were analyzed by applying both descriptive and inferential statistics in SPSS. The results indicated students' …