Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Health and Physical Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Chulalongkorn University

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Health and Physical Education

การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, ฉัตรชณา เพริดพริ้ง Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, ฉัตรชณา เพริดพริ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะของครูสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน และ 2) ประเมินประสิทธิผลหลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้น มีวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรอบรม และการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมความสามารถด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสุขศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและผ่านเกณฑ์การคัดเข้า ระยะเวลาการอบรม 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของ ครูสุขศึกษา แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 2 ฉบับ ที่มีลักษณะคู่ขนานกัน ฉบับที่ 1 ใช้ก่อนการทดลอง ส่วนฉบับที่ 2 ใช้หลัง การทดลองมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.84, 0.83 ค่าความเที่ยง 0.83, 0.84 ค่าความยาก – ง่าย อยู่ในช่วง 0.6 – 0.75, 0.5 – 0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.2 – 0.5, 0.2 - 0.5 ตามลำดับ ผลการตรวจสอบความเป็นคู่ขนานแบบวัดทั้ง 2 ฉบับได้ค่าดัชนี ความสอดคล้อง 0.88 และ พบว่า แบบวัดทั้ง 2 ฉบับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแบบประเมินการปฏิบัติในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะในวิชาสุขศึกษาโดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (Scoring rubric) มีค่า ดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 ค่าความเที่ยงโดยการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน อยู่ระหว่าง 0.932 ถึง 0.986 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรอบรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) หลักการและความเป็นมา (2) วัตถุประสงค์ (3) …


ผลของโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวโดยใช้หลักการความก้าวหน้า​ที่มีต่อการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟในกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศักดา สวัสดิ์วร Jan 2021

ผลของโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวโดยใช้หลักการความก้าวหน้า​ที่มีต่อการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟในกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศักดา สวัสดิ์วร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 ซึ่งเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายหาดตัวแทนโรงเรียน จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน (วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์) วันละ 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวโดยใช้หลักการความก้าวหน้าสามารถพัฒนาการทรงตัวแบบอยู่กับที่ การทรงตัวแบบเคลื่อนที่ และทักษะการรับลูกเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษา ทำให้นักเรียนมีการทรงตัวและทักษะการรับลูกเสิร์ฟที่ดีขึ้น ส่งผลให้แสดงความสามารถและศักยภาพออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่งความความเป็นเลิศในกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมส่งสมรรถภาพทางกายผ่านการคิดเชิงระบบของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, กัณฑิมา เนียมโภคะ Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมส่งสมรรถภาพทางกายผ่านการคิดเชิงระบบของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, กัณฑิมา เนียมโภคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายผ่านการคิดเชิงระบบของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายผ่านการคิดเชิงระบบของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ดำเนินการโดยศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดำเนินการโดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม จากนักเรียนโรงเรียนในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบดังนี้ (1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น (3) ขั้นตอนการดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยกำหนดวิธีการปฏิบัติในแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน (4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษา (1) กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางกายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการคิดเชิงระบบหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นรกมล กองสุข Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นรกมล กองสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทั่วไปของประชากรกับระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติกับพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 450 คน ที่ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารและการรับรู้อยู่ในระดับน้อย ส่วนทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์อยู่ในมาก 2) ความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะทั่วไป การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้นและปัจจัยด้านอายุ การรับรู้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านอายุ ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านเพศและปัจจัยด้านอายุ และพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้นและปัจจัยด้านอายุ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ พบว่า การเปิดรับข่าวสารมีระดับความสัมพันธ์ทางลบอยู่ในระดับต่ำ (r = -0.16) การรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์ และทัศนคติมีระดับความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.31)


การพัฒนาการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิชาธรณ์ เผือกเชาวไว Jan 2021

การพัฒนาการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา, พิชาธรณ์ เผือกเชาวไว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารก่อน และหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์และของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารหลัง การทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.83 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.83, 0.94, 1, และ 0.98 ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารด้วยค่า ที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, วรกุล นนทรักส์ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, วรกุล นนทรักส์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยการใช้เทคนิคช่วยจำ และ2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำ และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่เรียนวิชากระบี่กระบองภาคเรียนที่ 2 จำนวน 56 คน แบ่งกลุ่มโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองด้านความรู้ ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะ และด้านสมรรถภาพทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านเจตคติ และด้านทักษะของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำสูงขึ้นกว่าก่อนการได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคช่วยจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบี่กระบองหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านความรู้ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านเจตคติ ด้านทักษะ(ไม้รำที่ 5-8) ด้านสมรรถภาพทางกาย นักเรียนเพศหญิงกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในรายการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ ส่วนนักเรียนเพศชายไม่มีความแตกต่างกัน


ผลของโปรแกรมการฝึกโดยใช้ยางยืดแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, เฟื่องลดา บุญเลิศ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการฝึกโดยใช้ยางยืดแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, เฟื่องลดา บุญเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกโดยใช้ยางยืดแบบสถานีที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของกลุ่มทดลองก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น หลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกโดยใช้ยางยืดแบบสถานี และกลุ่มควบคุมออกกำลังกายตามปกติ ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 60 นาที ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า: 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาและทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา, เกตุธัช กัญจนชุมาบุรพ Jan 2021

การพัฒนาการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาและทักษะการรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา, เกตุธัช กัญจนชุมาบุรพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการรู้ดิจิทัลหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.70 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการรู้ดิจิทัล มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.87, 0.95, 0.96, และ 0.98 มีค่าความเที่ยง 0.89, 0.82, 0.89 และ 0.85 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการรู้ดิจิทัลของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการรู้ดิจิทัลหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


โปรแกรมส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจโดยใช้การสนับสนุนทางสังคมและเครือข่ายสังคมสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, เสฏฐพงศ์ น้ำเลี้ยงขัน Jan 2021

โปรแกรมส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจโดยใช้การสนับสนุนทางสังคมและเครือข่ายสังคมสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, เสฏฐพงศ์ น้ำเลี้ยงขัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางจิตใจก่อนและหลังการทดลองของนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองและของนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางจิตใจหลังการทดลองระหว่างนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองกับนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต ได้จากการรับสมัครนิสิตนักศึกษาที่สนใจ จำนวน 50 คน แบ่งกลุ่มด้วยวิธีการจับคู่ เป็น 2 กลุ่มคือ นิสิตนักศึกษากลุ่มทดลอง จำนวน 25 คน ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจโดยใช้การสนับสนุนทางสังคมและเครือข่ายสังคม และนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ไม่ได้รับโปรแกรมฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมสมรรถภาพทางจิตใจโดยใช้การสนับสนุนทางสังคมและเครือข่ายสังคม ประกอบด้วย 10 กิจกรรม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.94 แบบวัดสมรรถภาพทางจิตใจ และแบบวัดสมรรถภาพทางจิตใจเชิงสถานการณ์มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 และ 0.92 ตามลำดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากันที่ 0.81 ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 50 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางจิตใจของนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมรรถภาพทางจิตใจหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, จริญา น้อยประชา Jan 2021

การพัฒนาการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, จริญา น้อยประชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดขั้นสูงก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดขั้นสูงหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 80 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน จำนวน 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ และการคิดขั้นสูง ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดขั้นสูงหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดขั้นสูงหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดขั้นสูงของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, จักรี อย่าเสียสัตย์ Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, จักรี อย่าเสียสัตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเล่นตามแนวคิดแอคทีฟเพลย์ร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาจำนวน 40 คนได้จากการสุ่มอย่างง่ายใน 1 โรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นและผ่านเกณฑ์คัดเข้า ทำการเก็บข้อมูล 3 ครั้ง คือ ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ และติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ทดสอบด้วยสถิติที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 8 กิจกรรม ประกอบด้วย (1) กิจกรรมวิ่งสนุก สุขหัวใจ (2) กิจกรรมกระโดดหรรษาสร้างพลังขาไปด้วยกัน (3) กิจกรรมรับลูกเทนนิสประสานสัมพันธ์ (4) กิจกรรมขว้างลูกเทนนิสพิชิตเป้าหมาย (5) กิจกรรมบันไดลิงวิ่งว่องไว (6) กิจกรรมกระโดด โลดเต้น กล้ามเนื้อแข็งแรง (7) เลี้ยงลูกฟุตบอลเพิ่มความรวดเร็ว และ (8) เตะลูกฟุตบอลรักษาสมดุล มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยเท่ากับ 0.90 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางกายของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยใช้สถานการณ์จำลองและการออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและความสามารถในการพายเรือของนักเรียนมัธยมศึกษา, ณัฐพงศ์ สุทธิชี Jan 2021

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยใช้สถานการณ์จำลองและการออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและความสามารถในการพายเรือของนักเรียนมัธยมศึกษา, ณัฐพงศ์ สุทธิชี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทัศนคติในการออกกำลังกาย สมรรถภาพทางกาย และความสามารถในการพายเรือ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทัศนคติในการออกกำลังกาย สมรรถภาพทางกาย และความสามารถในการพายเรือ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษา ชายและหญิง ปีการศึกษา 2564 อายุระหว่าง 15–18 ปี โรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีค่าดัชนีมวลกายในเกณฑ์สมส่วน จำนวน 24 คน ดำเนินการทดลองระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน (จันทร์ พุธ และศุกร์) วันละ 60 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทัศนคติในการออกกำลังกาย สมรรถภาพทางกาย และความสามารถในการพายเรือ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และสมรรถภาพทางกาย หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ทัศนคติในการออกกำลังกาย และความสามารถในการพายเรือ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยใช้สถานการณ์จำลองและการออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริก ส่งผลให้มีการพัฒนาทางด้านสมรรถภาพทางกาย และความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย


การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะ Ef และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสตอรี่ไลน์, ปาริชาต ประกอบมาศ Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะ Ef และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสตอรี่ไลน์, ปาริชาต ประกอบมาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสตอรี่ไลน์ 2) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับสตอรี่ไลน์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 48 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายใน 1 โรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นและผ่านเกณฑ์คัดเข้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกิจกรรม 8 กิจกรรม คือ (1) โจรสลัดตะลุยเกาะมหาสมบัติ (2) เงื่อนไขของหมีตัวใหญ่ (3) เพลิงอัคคี (4) แมงมุมยักษ์ผู้เฝ้าประตู (5) แรดเผือกริมลำธาร (6) กำแพงเยลลี่ผลไม้ (7) สัญลักษณ์วงสีแดง (8) เต้นเฉลิมฉลอง ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ประสิทธิผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของทักษะ EF (Executive Function) และสมรรถนะการเคลื่อนไหวของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, พรพล พุทธรักขิต Jan 2021

โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาสำหรับนิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, พรพล พุทธรักขิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายก่อนและหลังการทดลองของนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลอง และของนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายหลังการทดลองระหว่างนิสิตนักศึกษากลุ่มทดลองกับนิสิตนักศึกษากลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 50 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยาจำนวน 25 คน ด้วยวิธีการจับคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 โดยใช้โมเดลเชิงนิเวศวิทยา ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้เกี่ยวกิจกรรมทางกาย และแบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายและคะแนนพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา, วชิรวิทย์ พงษ์จีน Jan 2021

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา, วชิรวิทย์ พงษ์จีน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนิสิตนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาอาสาสมัคร (n=50) สุ่มแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาที่ความหนักร้อยละ 50 และ 80 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 21 นาทีต่อครั้ง จำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=19) 2) กลุ่มทดลองที่ออกกำลังด้วยการกระโดดเชือกอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลางที่ความหนักร้อยละ 70 ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด เป็นระยะเวลา 30 นาทีต่อครั้ง จำนวน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ (n=20) และ 3) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย (n=20) ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความรู้นั้นประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ ในขณะที่การตอบสนองการรับรู้ทางจิตวิทยานั้นประเมินหลังการออกกำลังกายครั้งที่หนึ่งและครั้งสุดท้ายของการออกกำลังกาย การศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ เปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ซึ่งใช้ค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองเป็นตัวแปรร่วมหากพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ตามวิธีของบอนเฟอโรนี โดยมีค่าพื้นฐานก่อนการทดลองและเพศเป็นตัวแปรร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายประเภทแอโรบิกของกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการกระโดดเชือกแบบหนักสลับเบาสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและพัฒนาด้านความรู้ของการออกกำลังกายของนิสิตนักศึกษาได้ไม่แตกต่างจากการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องที่ความหนักระดับปานกลาง


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วัชรภูมิ เพ็ชรประดิษฐ์ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วัชรภูมิ เพ็ชรประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 15 คนกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ และกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ เครื่องมือในการทดลองได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้เทคนิคคำถามแบบ อาร์ ซี เอ จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และแบบทดสอบการคิดเชิงประยุกต์มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 50 นาที ทำการทดสอบโดยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ คุณธรรม เจตคติ ทักษะกีฬา และสมรรถภาพทางกาย และแบบทดสอบการคิดเชิงประยุกต์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์ หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงประยุกต์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถ ในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬา, สุวนันท์ แก้วคำไสย์ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถ ในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬา, สุวนันท์ แก้วคำไสย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬาก่อนการทดลองและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อที่มีต่อความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนกีฬาหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นนักกีฬาเซปักตะกร้อหญิง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อ จำนวน 15 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เข้าฝึกเซปักตะกร้อแบบปกติ จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีจับคู่ (Matching Group) ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน ๆ ละ 60 นาที และทำการทดสอบความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่า ที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนความสามารถในการกระโดดเตะลูกตะกร้อหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการละเล่นพื้นบ้านประยุกต์ร่วมกับเซปักตะกร้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิริลักษณ์ ไทยพงษ์ Jan 2021

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิริลักษณ์ ไทยพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติสจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการตั้งคำถามแบบโสเครติส จำนวน 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อานนท์ กองสุวรรณ Jan 2021

โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อานนท์ กองสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคมจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมจำนวน 20 คน โดยวิธีการจับคู่ (Matching Method) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.98 แบบวัดความตระหนักรู้และแบบวัดพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.99 และ 0.95 มีค่าความเที่ยง 0.84 และ 0.82 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตระหนักรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, อารักษ์ มุ่งหมาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาระดับการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คนจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสุ่มด้วยวิธีแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายการทดสอบไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารอยู่ในระดับน้อย การรับรู้และทัศนคติระดับปานกลาง และแนวโน้มพฤติกกรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก ด้านความสัมพันธ์กับปัจจัยลักษณะทั่วไป: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับ ระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง การรับรู้มีความสัมพันธ์รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับระดับชั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดา และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง และแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านระดับชั้น ด้านอายุ ด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ธรรมดาและปัจจัยด้านรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครองด้านความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า: การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงลบขนาดต่ำ (r =-0.12) การรับรู้ไม่มีความสัมพันธ์ (r = 0.00) และทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกขนาดกลาง (r = 0.65)