Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

6,384 Full-Text Articles 10,796 Authors 2,714,811 Downloads 144 Institutions

All Articles in Environmental Engineering

Faceted Search

6,384 full-text articles. Page 120 of 251.

Mercury Cycling In Sulfur Rich Sediment From The Brunswick Estuary, Travis William Nicolette 2017 Georgia Southern University

Mercury Cycling In Sulfur Rich Sediment From The Brunswick Estuary, Travis William Nicolette

Electronic Theses and Dissertations

Mercury is potentially toxic to the environment. Mercury is absorbed into anaerobic sediments of surface waters, which may be converted to methylmercury, a toxic form of mercury that bio-accumulates in aquatic biota. Sources of mercury in the environment vary, but the production of methylmercury is common in sulfur-rich sediments containing mercury. In such environments, sulfur reducing bacteria (SRB) produce methylmercury as a by-product. The metabolic process uses energy from the reduction of sulfate to sulfide. This study focuses on determining the methylmercury production and release potential from sulfur-rich sediments extracted from different areas of the Brunswick Estuary. Previous studies note …


ตัวชี้วัดสำหรับอาคารคาร์บอนต่ำและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, อทิตินนท์ ภูพาดทอง 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

ตัวชี้วัดสำหรับอาคารคาร์บอนต่ำและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, อทิตินนท์ ภูพาดทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารเป็นภาคส่วนหนึ่งที่มีการใช้พลังงาน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) อยู่ในระดับที่สูง ปัจจุบันจึงเกิดแนวคิดด้านอาคารคาร์บอนต่ำ หรืออาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขึ้น การดำเนินมาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงานในอาคารก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการลดการใช้พลังงานและการปล่อย GHG โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกณฑ์ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการปล่อย GHG สำหรับการประเมินอาคารคาร์บอนต่ำในช่วงการใช้งานอาคารของกลุ่มอาคารควบคุม รวมถึงการประเมินค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการปล่อย GHG โดยใช้ตัวชี้วัดอาคารคาร์บอนต่ำของอาคารแต่ละประเภท เพื่อเสนอตัวชี้วัด และแนวทางการลดการปล่อย GHG โดยอาศัยวิธีการประเมินต้นทุนในการลดการปล่อย GHG ผลจากการศึกษาเกณฑ์มาตรฐานอาคารคาร์บอนต่ำ จำนวน 11 เกณฑ์มาตรฐานพบว่าตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการปล่อย GHG ในช่วงการใช้งานประกอบไปด้วยทั้งหมด 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงานไฟฟ้า การใช้พลังงานหมุนเวียน การเกิดขยะมูลฝอย การใช้น้ำประปา การบำบัดน้ำเสีย และการรั่วไหลของ GHG และผลจากการประเมินค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการปล่อย GHG ในทั้ง 7 ตัวชี้วัดจากอาคารตัวแทนทั้งหมด 6 ประเภทรวมจำนวน 21 แห่ง สามารถสรุปในภาพรวมของการปล่อย GHG ได้ว่า กิจกรรมการใช้พลังไฟฟ้าในอาคารแต่ละประเภทเป็นสัดส่วนที่ก่อให้เกิดการปล่อย GHG มากที่สุด รองลงมาเป็นกิจกรรมด้านการจัดการขยะมูลฝอย และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยประเภทอาคารที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ อาคารประเภทศูนย์การค้า รองลงมาเป็นอาคารประเภทโรงพยาบาล โรงแรม ซุปเปอร์มาร์เก็ต สำนักงาน และสถานศึกษา ตามลำดับสำหรับมาตรการลดการใช้พลังงาน และการปล่อย GHG พบว่าเกือบทุกมาตรการมีความคุ้มค่าสำหรับการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมาตรการด้านการปรับปรุงพฤติกรรมของผู้ใช้งาน และการลดชั่วโมงใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้รับการพิจาณาในอันดับต้นๆ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวนอกจากจะเป็นมาตรการที่ไม่มีการลงทุนแล้ว ยังมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย


การแกซิฟิเคชันของขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์แบบไซโคลน, อดิศา วงศ์วานรุ่งเรือง 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การแกซิฟิเคชันของขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์แบบไซโคลน, อดิศา วงศ์วานรุ่งเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงของการแกซิฟิเคชันขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมการแปรรูปไม้ในเตาปฏิกรณ์ไซโคลนซึ่งช่วยให้อนุภาคขนาดเล็กได้รับความร้อนโดยตรงจากผนังของไซโคลนเข้าสู่อนุภาคทำให้เกิดปฏิกิริยา และคัดแยกผลิตภัณฑ์ของแข็งที่เกิดขึ้นออกจากแก๊สผลิตภัณฑ์ได้ในขณะเดียวกัน ขี้เลื่อยที่ใช้เป็นขี้เลื่อยผสมระหว่างไม้ยางและไม้เบญจพรรณ มีขนาดอนุภาค 150-250 ไมโครเมตร สภาวะการทำงาน คือ อุณหภูมิ 700 800 และ 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.15 0.30 0.45 และ 0.60 อัตราการไหลของแก๊สเข้าระบบ 0.36 0.78 และ 1.56 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส อัตราส่วนสมมูล 0.30 โดยวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้ องค์ประกอบของแก๊สเชื้อเพลิง (CO, CO2, CH4, H2 และ CnHm) ค่าการแปรสภาพของคาร์บอน และไฮโดรเจนของวัตถุดิบ ค่าความร้อนของแก๊สเชื้อเพลิง และค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบผลิตแก๊สเชื้อเพลิง จากการทดลองพบว่าอุณหภูมิมีผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิง โดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าการแปรสภาพของคาร์บอน และไฮโดรเจน ค่าความร้อนของแก๊สผลิตภัณฑ์ และค่าประสิทธิภาพเชิงความร้อนของระบบผลิตแก๊สเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราส่วนสมมูลก็ส่งผลเช่นเดียวกันกับอุณหภูมิ โดยประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนสมมูลจนถึงค่าสูดที่สุด จากนั้นประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงของระบบจะลดต่ำลงเมื่ออัตราส่วนสมมูลเพิ่มขึ้น โดยอุณหภูมิ และอัตราส่วนสมมูลที่ให้ประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสูงที่สุดคือ 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.45 สำหรับอัตราการไหลของแก๊สเข้าระบบที่ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงสูงที่สุด คือ 0.78 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง


ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยอบเชย กานพลู ตะไคร้ และสารยูจีนอล เพื่อประยุกต์กับระบบปรับอากาศ, รุ่งระวี ทวีทุน 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยอบเชย กานพลู ตะไคร้ และสารยูจีนอล เพื่อประยุกต์กับระบบปรับอากาศ, รุ่งระวี ทวีทุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้คนใช้เวลาร้อยละ 87 อาศัยอยู่ภายในอาคาร (Indoor) ซึ่งอาคารในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องปรับอากาศ หากมีการระบายอากาศมีมาตรการที่ไม่เหมาะสม จะทำให้มีมลพิษสะสมภายในตัวอาคาร และส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคาร และเป็นปัจจัยส่งเสริมการเจริญของเชื้อจุลชีพได้มากยิ่งขึ้น ประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อจุลชีพ คือสภาวะที่มีความชื้นสูง (>60%) และอุณหภูมิที่เหมาะสม ภายในวัสดุที่มีช่องว่างหรือรูพรุน เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผ้าม่าน พรม ฯ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของจุลชีพ นอกจากนั้นจุลชีพบางชนิดมีการสร้างสารพิษ ทำให้เกิดภูมิแพ้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อราและแบคทีเรียมีโอกาสทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิต คุณภาพอากาศภายในอาคารโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญ การพบเห็นการเจริญของจุลชีพ บ่งบอกถึงปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารได้ นอกจากนั้นโรงพยาบาลยังเป็นสถานบริการทางด้านสาธารณสุข ทำให้เป็นแหล่งรวมของทั้งผู้ป่วยที่มาด้วยโรคติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อ ส่งผลให้ภายในโรงพยาบาลมีทั้งชนิดและปริมาณเชื้อที่หลากหลาย สมุนไพรไทยหลายชนิดมีความสามารถในการกำจัดและยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ เช่น อบเชย กานพลู มะนาว ส้ม ตะไคร้ จึงมีการศึกษาสารสกัดจากสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของจุลชีพกันอย่างแพร่หลาย บรรดาสมุนไพรในการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า อบเชย กานพลู ตะไคร้ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพได้ดี แต่ยังไม่มีการนำมาปรับใช้ร่วมกับระบบปรับอากาศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อของน้ำมันหอมระเหย 4 ชนิด โดยทำการทดสอบเบื้องต้นกับเชื้อรามาตรฐาน Candida parapsilosis ATCC220019 และนำมาทดสอบกับเชื้อจุลชีพที่คัดแยกได้ในธรรมชาติ พบว่าน้ำมันหอมระเหยกานพลูมีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ดีที่สุดในสภาวะของเหลว โดยที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 สามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ทุกชนิดที่นำมาทดสอบ ในสภาวะไอระเหยพบว่าน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมที่ร้อยละ 20 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อนำมาประยุกต์กับตู้ทดลองที่มีพัดลมหมุนเวียนอากาศพบว่าต้องเพิ่มความเข้มข้นข้นถึงร้อยละ 40 ถึงจะสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพได้


การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการมูลฝอยโดยเน้นการคัดแยกมูลฝอยและจัดการที่แหล่งกำเนิด เพื่อหาทางเลือกการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ โดยงานวิจัยนี้ทำการศึกษาในอาคารสถานประกอบการทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต คอนโดมิเนียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรม ซึ่งมีแนวทางการจัดการมูลฝอยทั้งหมด 5 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การฝังกลบ ทางเลือกที่ 2 การรีไซเคิลและการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.1 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ และการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.2 การรีไซเคิล การนำเศษอาหารไปทำอาหารสัตว์ และการฝังกลบ และทางเลือกที่ 4 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตเชื้อเพลิงมูลฝอยอัดแท่ง (RDF) และการฝังกลบ โดยในงานวิจัยนี้ใช้วิธีประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) และประเมินความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้การประเมินต้นทุนการบำบัดมลพิษ (Abatement cost) จากผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางกายของกรณีศึกษาซูเปอร์มาร์เก็ตพบเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 35 และแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 4 สำหรับกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมมีองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยเป็นเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 53.62 และการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 สำหรับกรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ องค์ประกอบมูลฝอยพบกระดาษมากสุดร้อยละ 33 สำหรับแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 และกรณีศึกษาสุดท้าย คือ โรงแรมพบองค์ประกอบมูลฝอยมีเศษอาหารมากสุดร้อยละ 29 โดยการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ แนวทางเลือกที่ 2 จากการศึกษาสรุปได้ว่าอาคารแต่ละประเภทมีลักษณะการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้องค์ประกอบมูลฝอยมีความแตกต่างตามไปด้วย จึงทำให้การจัดการมูลฝอยแต่ละประเภทอาคารมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน


ผลของอุณหภูมิและแอมโมเนียต่อระดับสุขภาพปะการัง กรณีศึกษาเกาะสีชัง ประเทศไทย, บุษปกรณ์ อุดมทรัพย์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

ผลของอุณหภูมิและแอมโมเนียต่อระดับสุขภาพปะการัง กรณีศึกษาเกาะสีชัง ประเทศไทย, บุษปกรณ์ อุดมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิและแอมโมเนียต่อระดับสุขภาพปะการังเขากวาง ปะการังจาน และปะการังโขด โดยใช้การทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน ที่อุณหภูมิ 30 และ 33 องศาเซลเซียส ร่วมกับความเข้มข้นแอมโมเนีย 0 0.05 0.07 และ 0.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ระยะเวลา 24 และ 48 ชั่วโมง ทำการทดลองความเข้มข้นละ 3 ซ้ำ เพื่อหาร้อยละสุขภาพและร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมของปะการัง ด้วยการประเมินจากแผนภูมิสุขภาพปะการัง และคำนวณค่าความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (LC50) ที่เวลา 48 ชั่วโมง ด้วยการวิเคราะห์แบบโพรบิท และคำนวณร้อยละการยืดโพลิปของปะการังเขากวางและปะการังจาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับร้อยละสุขภาพปะการัง ผลการศึกษาพบว่าที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง และที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส เวลา 24 ชั่วโมง ไม่สามารถคำนวณค่า LC50 ได้ เนื่องจากปะการังมีร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมน้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส เวลา 48 ชั่วโมง สามารถหาค่า LC50 ได้ เนื่องจากปะการังมีร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมมากกว่าร้อยละ 50 โดยที่ผลสามารถยืนยันได้จากค่าความหนาแน่นของสาหร่ายซูแซนเทลลี ดังนั้นค่า LC50 ที่ 48 ชั่วโมงของปะการังเขากวาง ปะการังจาน และปะการังโขด ในการศึกษานี้ มีเท่ากับ 0.043 0.075 และ 0.054 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ตามลำดับ ผลการศึกษาคุณภาพน้ำทะเลรอบพื้นที่เกาะสีชังเดือนมีนาคม กรกฎาคม และธันวาคม ปี 2560 พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 29.07±1.23 องศาเซลเซียส และปริมาณแอมโมเนียเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.063±0.007 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร โดยค่ามาตรฐานแอมโมเนียมีค่าเท่ากับ 0.07 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร


การนำของเสียฉนวนร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะเป็นวัสดุผสมในกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และคอนกรีตบล็อก, ปาณิสรา นามจันทร์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การนำของเสียฉนวนร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะเป็นวัสดุผสมในกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และคอนกรีตบล็อก, ปาณิสรา นามจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการของเสีย โดยใช้เทคโนโลยีการรีไซเคิลของเสียทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เส้นใยร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และผงที่บดจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะ มาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุแทนที่มวลรวมละเอียด ในการผลิตกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และอิฐบล็อกปูผนัง ซึ่งจะทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของของเสียแต่ละชนิด ทำการศึกษาสมบัติของวัสดุก่อสร้าง โดยใช้อัตราส่วนผสมของปูนซีเมนต์ต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.45 ศึกษาค่าอัตราส่วนของของเสียแต่ละชนิดต่อทรายที่ร้อยละ 1, 5, 10 และ 20 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาในการบ่ม 7, 14 และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณการแทนที่ของเสียแต่ละชนิดจะส่งผลให้มอร์ตาร์มีค่าความหนาแน่น กำลังรับแรงอัด และแรงกดแตกตามขวางลดลง แต่ค่าการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การแทนที่ของเสียแต่ละชนิดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นวัสดุป้องกันความร้อนที่ดีขึ้น และการแทนที่ด้วยเส้นใยร็อควูลและตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปาจะช่วยปรับปรุงให้มอร์ตาร์มีสมบัติการทนไฟสูง โดยอัตราส่วนการแทนที่ของเสียแต่ละชนิดที่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาบ่ม 28 วัน เนื่องจากเมื่อนำไปผลิตเป็นกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ที่ผสมของเสียแล้วพบว่า มีค่าแรงกดแตกตามขวางและค่าการดูดซึมน้ำ ผ่านมาตรฐานกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ (มอก. 535-2556) และเมื่อผลิตเป็นอิฐบล็อกปูผนังที่ผสมของเสียพบว่า มีค่ากำลังรับแรงอัดและค่าการดูดซึมน้ำ ผ่านมาตรฐานอิฐบล็อกไม่รับน้ำหนัก (มอก. 58-2533) ยิ่งไปกว่านั้นยังศึกษาการถ่ายเทความร้อนของกรอบอาคารและการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรม Building Energy Code พบว่าบ้านที่ใช้วัสดุก่อสร้างที่ผสมของเสียแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการถ่ายเทความร้อนต่ำกว่าบ้านที่ใช้วัสดุทั่วไป ซึ่งส่งผลทำให้ช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้ ดังนั้นการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุก่อสร้างนั้น จึงเป็นแนวทางการจัดการของเสีย ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด เพิ่มประสิทธิภาพบางประการให้กับวัสดุก่อสร้าง และสามารถพัฒนาให้เป็นวัสดุทางเลือกในอุตสาหกรรมก่อสร้างต่อไปในอนาคต


Trend Analysis In Rainfall, Reference Evapotranspiration And Aridity Index In Southern Senegal: Adaptation To The Vulnerability Of Rainfed Rice Cultivation To Climate Change, Komlan Koudahe, Koffi Djaman, Ansoumana Bodian, Suat Irkmak, Mamadou Sall, Lamine Diop, Alpha B. Balde, Daran Rudnick 2017 ADA Consulting Africa

Trend Analysis In Rainfall, Reference Evapotranspiration And Aridity Index In Southern Senegal: Adaptation To The Vulnerability Of Rainfed Rice Cultivation To Climate Change, Komlan Koudahe, Koffi Djaman, Ansoumana Bodian, Suat Irkmak, Mamadou Sall, Lamine Diop, Alpha B. Balde, Daran Rudnick

Biological Systems Engineering: Papers and Publications

Rainfall and evapotranspiration are two vital elements for food production under rainfed agriculture. This study aims at investigating the combined changes in these variables in the form of aridly index in the southern Senegal. The temporal trends in annual and monthly (from May to October) aridity index, rainfall and evapotranspiration are examined and adaptation strategies to the vulnerability of rainfed rice cultivation to the changes are developed. The results show a significant decreasing trend in annual rainfall at all study locations for the period 1922-2015. When analyzing the trends in sub-periods, there are two clear patterns in the annual rainfall …


การกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียจากกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการร่วมโคแอกกูเลชั่น-อัลตราฟิลเตรชัน, ชาญชนะ จิตตะโสภี 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียจากกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการร่วมโคแอกกูเลชั่น-อัลตราฟิลเตรชัน, ชาญชนะ จิตตะโสภี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์และน้ำเสียกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชันและกระบวนการอัลตราฟิลเตรชัน จากการศึกษากระบวนการโคแอกกูเลชันพบว่าสารสร้างตะกอน MgCl2 500 mg/L ที่ความเข้มข้นสารโพลิเมอร์ชนิดไม่มีประจุ (Poly ethylene oxide) 0.1 mg/L ที่ค่าพีเอช 8 มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอมากที่สุด เท่ากับ 21.90% และมีประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น และค่าซีโอดี เท่ากับ 12.5% และ 36.59% ตามลำดับ สำหรับน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์ 10.5 g/L และเมื่อศึกษาน้ำเสียกระบวนการลอกแป้งพบว่าปริมาณสารสร้างตะกอน MgCl2 ที่เหมาะสมเท่ากับ 1,000 mg/L มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอเท่ากับ 14.83% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่น และค่าซีโอดีเท่ากับ 86.60% และ 8.99% ตามลำดับ
กระบวนการโคแอกกูเลชันจึงเป็นเพียงการบำบัดขั้นต้นเพื่อลดความขุ่นก่อนเข้าสู่ระบบอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเพื่อลดการอุดตันที่ผิวเมมเบรน การศึกษาระบบอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเพื่อกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์โดยไม่ผ่านกระบวนการโคแอกกูเลชัน พบว่าที่ความดันทรานส์เมมเบรนเท่ากับ 2 bar และที่ขนาดรูพรุน 150 kDa มีประสิทธิภาพในการกำจัดสาร พีวีเอมากที่สุดเท่ากับ 90.25% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่น ค่าซีโอดี เท่ากับ 70.59% และ 83.44% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์ 400 mg/L เมื่อศึกษากระบวนการร่วมโคแอกกูเลชัน-อัลตราฟิลเตรชันในน้ำเสียกระบวนการลอกแป้ง โดยใช้ MgCl2 เป็นสารสร้างตะกอน จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอมากที่สุด คือที่ขนาดรูพรุน 150 kDa


การนำของเสียเบนโทไนท์มาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นวัสดุกันซึมในหลุมฝังกลบขยะ, ณัฐวรรณ สมรรคนัฏ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การนำของเสียเบนโทไนท์มาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นวัสดุกันซึมในหลุมฝังกลบขยะ, ณัฐวรรณ สมรรคนัฏ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการขุดเจาะใต้ผิวดินทำให้เกิดของเสียจากการขุดเจาะขึ้นในปริมาณมาก เรียกว่า ของเสียเบนโทไนท์ ทั้งนี้หน่วยงานขุดเจาะใต้ผิวดินต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำของเสียเบนโทไนท์ไปกำจัดโดยการถมในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต อีกทั้งพบว่าตัวอย่างของเสียเบนโทไนท์ที่ทำการศึกษาเป็นของเสียไม่อันตราย เนื่องจากค่าการชะละลายของโลหะหนัก คือ ปริมาณของโครเมียม (Cr) นิกเกิล (Ag) สารหนู (As) แคดเมียม (Cd) และตะกั่ว (Pb) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 และมีแอคทีฟเบนโทไนท์ร้อยละ 9.16 โดยน้ำหนักแห้ง งานวิจัยนี้จึงศึกษาการนำของเสียเบนโทไนท์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการลดปริมาณของเสียจากกระบวนการขุดเจาะที่ต้องนำไปกำจัด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย โดยนำของเสียเบนโทไนท์มาปรับปรุงสภาพดินทรายปนร่วนเพื่อใช้เป็นวัสดุกันซึมในการก่อสร้างสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย จากการทดสอบอัตราส่วนแอคทีฟเบนโทไนท์ในของเสียเบนโทไนท์กับดินทรายปนร่วนร้อยละ 0 3 6 และ 9 โดยน้ำหนักแห้ง พบว่าการเพิ่มขึ้นของแอคทีฟเบนโทไนท์จะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านลดลง การบวมตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของแอคทีฟเบนโทไนท์ในปริมาณเล็กน้อยจะทำให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น แต่เมื่อปริมาณของแอคทีฟเบนโทไนท์เพิ่มมากเกินไป ค่ากำลังรับแรงเฉือนจะลดลง ผลการทดสอบพบว่าอัตราส่วนแอคทีฟเบนโทไนท์ในของเสียเบนโทไนท์อยู่ที่ร้อยละ 6 โดยน้ำหนักแห้ง เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตวัสดุกันซึม เนื่องจากให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำมีค่าเท่ากับ 7.12 ×10-8 เซนติเมตรต่อวินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ที่ไม่เกิน 1×10-7 เซนติเมตรต่อวินาที ของ U.S.EPA และมีกำลังต้านทานต่อแรงเฉือน 269.69 กิโลนิวตันต่อตารางเมตร และบวมตัวร้อยละ 0.31 ของความสูงเดิม ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะ แต่เมื่อมีการทดสอบการซึมผ่านด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และสารละลายกรดอะซิติก จะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของวัสดุกันซึมจะมีค่าที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการทดสอบด้วยน้ำปราศจากไอออน


การกำจัดสารกลุ่มฮาโลอะซิโตไนไตรล์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่ทำการต่อติดกับอนุภาคเหล็กขนาดนาโน, ต่อศักดิ์ นวนิล 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การกำจัดสารกลุ่มฮาโลอะซิโตไนไตรล์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่ทำการต่อติดกับอนุภาคเหล็กขนาดนาโน, ต่อศักดิ์ นวนิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการปรับปรุงถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) และชนิดเกล็ด (GAC) โดยการต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโน (NZVI) บนพื้นผิว และศึกษาผลกระทบของการต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโนต่อประสิทธิภาพและกลไกการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ล 5 ชนิด ( HANs ) ได้แก่ โมโนคลอโรอะซิโตไนร์ล (MCAN) ,โมโนโบรโมอะซิโตไนไตร์ล (MBAN) ,ไดคลอโรอะซิโตไนไตร์ล ( DCAN) ,ไดโบรโมอะซิโตไนไตร์ล (DBAN) และ ไตรคลอโรอะซิโตไนไตร์ล ( TCAN ) ที่ช่วงความเข้มข้นต่ำ ( 0-500 ไมโครกรัมต่อลิตร ) ที่พีเอช 7 และค่าความแรงประจุ 0.01 โมลาร์ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของตัวกลางดูดซับพบว่า การต่อติด NZVI บนพื้นผิวของ GAC และ PAC ส่งผลทำให้รูพรุนของถ่านกัมมันต์เกิดการอุดตัน พื้นที่ผิวภายในตัวกลางดูดซับและปริมาตรรูพรุนของตัวกลางดูดซับลดลงอย่างมากและทำให้ประสิทธิภาพการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ลลดลง การศึกษาจลนพลศาสตร์พบว่าการดูดซับฮาโลอะซิโตไนไตร์ลเข้าสู่สภาวะสมดุลที่ระยะเวลาประมาณ 2- 3 ชั่วโมง และสอดคล้องกับสมการอันดับสองเสมือน การต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโนไม่สามารถทำให้อัตราการดูดซับของ PAC และ GAC เร็วขึ้น ไอโซเทอร์มการดูดซับฮาโลอะซิโตไนไตร์ลแบบเดี่ยวทั้ง 5 ชนิดพบว่าประสิทธิภาพการดูดซับสอดคล้องกับความสามารถในการละลายน้ำของ HANs โดย สาร MCAN และ MBAN มีประสิทธิภาพการดูดซับต่ำสุด และการต่อติด NZVI บนพื้นผิวถ่านกัมมันต์ทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ลได้ ผลการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับ HANs ระหว่างแบบผสมและแบบเดี่ยว พบว่าลำดับและปริมาณการดูดซับของ HANs แบบผสมบนพื้นผิวของ PAC , GAC และ PAC/NZVI ลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองแบบเดี่ยว และการมีอยู่ของไอออนในน้ำประปาไม่กระทบต่อสมบัติการดูดซับแบบคัดเลือกของ PAC PAC/NZVI และ NZVI อย่างชัดเจน


การย่อยสลายของวัสดุภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในหลุมฝังกลบที่รับขยะเศษอาหาร, ปาณิศา ศิริบุรมย์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การย่อยสลายของวัสดุภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในหลุมฝังกลบที่รับขยะเศษอาหาร, ปาณิศา ศิริบุรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการย่อยสลายของวัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนในช่วงเวลา 90 วัน รวมถึงผลการสลายตัวของวัสดุดังกล่าวต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบ ในช่วงเวลา 120 วัน แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม ชุดวัสดุกระดาษ ชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และชุดวัสดุพลาสติกชีวภาพชนิดพีแอลเอ โดยทำการหมักร่วมกับขยะเศษอาหาร ผลการศึกษาพบว่าการสูญเสียน้ำหนักเป็นตัวชี้วัดที่สามารถใช้เปรียบเทียบการย่อยสลายในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนของวัสดุกระดาษและวัสดุพลาสติกชีวภาพพีแอลเอได้ โดยกระดาษมีการสูญเสียน้ำหนักใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะ ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของกระดาษ (K) เท่ากับ 0.005 และ 0.003 ต่อสัปดาห์ ในสภาวะมีออกซิเจนและไร้ออกซิเจนตามลำดับ ส่วนพีแอลเอเกิดการสูญเสียน้ำหนักในปริมาณและความเร็วที่ใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะโดยสัมประสิทธิ์การย่อยสลาย (K) ของสภาวะมีและไร้ออกซิเจนเท่ากับ 0.0006 และ 0.0007 ต่อสัปดาห์ตามลำดับ ส่วนโฟมไม่สามารถหาค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของวัสดุพอลิสไตรีนโฟม (K) ได้ เนื่องจากข้อมูลมีความแปรปรวนสูง จากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ สำหรับลักษณะทางกายภาพพบว่าการเสียหายของวัสดุโฟมในสภาวะมีออกซิเจนมากจากความเข้มข้นของกรดอินทรีย์ที่สูงกว่าสภาวะไร้ออกซิเจนถึง 4 เท่า โดยกรดอินทรีย์มีผลต่อความคงทนของพอลิสไตรีน สำหรับผลการศึกษาของวัสดุต่างๆต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบพบว่าประเภทวัสดุส่งผลต่อการยุบตัวของขยะ สมบัติน้ำชะ และการเกิดแก๊สชีวภาพ โดยถังชุดควบคุมเกิดการยุบตัวมากที่สุดตามด้วยถังชุดวัสดุกระดาษ ถังชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และถังชุดพลาสติกชีวภาพพีแอลเอที่ร้อยละ 43.42 40.79 34.29 และ 26.07 ตามลำดับ สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่คงค้างในถังโดยในชุดควบคุมน้อยที่สุด ทั้งนี้พบว่าการกระจายน้ำส่งผลต่อการย่อยสลายในหลุมฝังกลบโดยถังที่มีวัสดุบรรจุอยู่เกิดการย่อยสลายได้ช้ากว่าและมีปริมาณน้ำคงค้างสูงกว่า ส่วนผลการย่อยสลายต่อชี้วัดของน้ำชะขยะและแก๊สชีวภาพพบว่าวัสดุมีผลโดยอ้อมกล่าวคือวัสดุสามารถขัดขวางการไหลของน้ำทำให้การกระจายน้ำต่ำ และปฏิกิริยาการย่อยเกิดได้ไม่เป็นไปตามทฤษฎี


การลดการปล่อยคาร์บอนจากอาคารโดยการประเมินวัฏจักรชีวิตของอาคาร, พิพัฒน์ ไทยประดิษฐ์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การลดการปล่อยคาร์บอนจากอาคารโดยการประเมินวัฏจักรชีวิตของอาคาร, พิพัฒน์ ไทยประดิษฐ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของอาคารสถานศึกษาในประเทศไทย โดยใช้เทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อบ่งชี้แหล่งกำเนิดผลกระทบที่สำคัญ อันจะนำไปสู่การวิเคราะห์แนวทางการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประเมินศักยภาพการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแนวทางต่าง ๆ โดยคำนึงถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ร่วมด้วย งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรม Simapro V. 8.2 ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของอาคารสถานศึกษาด้วยวิธีประเมินความยั่งยืนทางเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคาร (BEES+) และใช้โปรแกรม OpenStudio® ในการประเมินศักยภาพการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามแนวทางต่าง ๆ ด้วยวิธีการจำลองการใช้พลังงานในอาคาร (Energy Simulation) ผลการวิจัยพบว่า ในการแบ่งวัฏจักรชีวิตของอาคารออกเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงก่อนการใช้งานอาคารหรือช่วงก่อสร้าง (Construction Phase) ช่วงการใช้งานอาคาร (Operation Phase) และช่วงหลังการใช้งานอาคารหรือช่วงรื้อทำลาย (Demolition Phase) ช่วงที่ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมสูงสุด คือ ช่วงการใช้งานอาคาร ซึ่งเกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งานที่ 50 ปี เป็นหลัก รองลงมา คือ ช่วงการก่อสร้างอาคาร ซึ่งเกิดจากการได้มาซึ่งวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ โดยวัสดุที่ก่อให้เกิดผลกระทบสูงสุด คือ คอนกรีต (Concrete) และเหล็กเสริมคอนกรีต (Reinforcing steel) แต่เนื่องจากวัสดุที่ก่อให้เกิดผลกระทบสูงสุดเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในงานก่อสร้างเพื่อรองรับน้ำหนักอาคาร จึงสามารถปรับเปลี่ยนได้ยาก งานวิจัยนี้จึงเสนอแนะแนวทางการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยการปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารเป็นหลัก ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า วัสดุกรอบอาคารที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุดทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อม คือ ฉนวนเซลลูโลสและคอนกรีตมวลเบา โดยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 107,740 tCO2eq และ 97,321 tCO2eq ตามลำดับ และยังช่วยลดค่าพลังงานสุทธิของอาคารได้ 2,909,000 บาท และ 1,469,540 บาท อีกด้วย


การบำบัดดินปนเปื้อนอาร์เซเนตโดยใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพแรมโนลิพิดร่วมกับเฟอร์ริกคลอไรด์, วริศรา ตันติวงศ์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การบำบัดดินปนเปื้อนอาร์เซเนตโดยใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพแรมโนลิพิดร่วมกับเฟอร์ริกคลอไรด์, วริศรา ตันติวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดินปนเปื้อนอาร์เซเนตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและความมั่นคงของระบบนิเวศ การบำบัดดินปนเปื้อนอาร์เซเนตจึงเป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดอาร์เซเนตออกจากดินปนเปื้อนสังเคราะห์ด้วยวิธีการล้างดิน โดยใช้สารล้างดินที่มีค่าพีเอชเท่ากับ 11 จำนวน 4 ประเภท ประกอบด้วย น้ำกลั่น สารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ สารละลายแรมโนลิพิด และสารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์ ดินที่ทำการศึกษาเป็นดินเกรดวิเคราะห์ 2 ชนิด คือ ดินเหนียวเคโอลิไนท์และดินทรายซิลิกา ซึ่งดินทั้ง 2 ชนิด ไม่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบและมีประจุที่ผิวดินเป็นประจุลบ โดยดินเหนียวเคโอลิไนท์และดินทรายซิลิกาสามารถดูดซับอาร์เซเนตได้ 80.10 และ 29.16 มิลลิกรัมอาร์เซเนตต่อกิโลกรัมดิน ตามลำดับ การดูดซับอาร์เซเนตและสารลดแรงตึงผิวแรมโนลิพิดของดินเหนียวเคโอลิไนท์เป็นไปตามสมการการดูดซับของฟรุนดิชไอโซเทอมและมีความเร็วในการดูดซับเป็นไปตามอัตราเร็วปฏิกริยาอันดับที่สองเสมือน ส่วนการดูดซับอาร์เซเนตและสารลดแรงตึงผิวแรมโนลิพิดของดินทรายซิลิกาเป็นไปตามสมการการดูดซับของฟรุนดิชไอโซเทอมและแลงเมียร์ไอโซเทอมตามลำดับ และมีความเร็วในการดูดซับเป็นไปตามอัตราเร็วปฏิกริยาอันดับที่สองเสมือน การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตออกจากดินปนเปื้อน พบว่า กรณีดินเหนียวเคโอลิไนท์ สารละลายแรมโนลิพิดให้ประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตได้ดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 63.36 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 20 ชั่วโมง ตามมาด้วยสารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ น้ำกลั่น และสารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์ ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตเท่ากับ 59.72 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 20 ชั่วโมง และ 54.47 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 24 ชั่วโมง และ 32.56 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 16 ชั่วโมง ตามลำดับ และกรณีของดินทรายซิลิกา สารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตได้ดีที่สุด เท่ากับร้อยละ 96.63 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 4 ชั่วโมง ตามมาด้วยสารละลายแรมโนลิพิด สารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์ และน้ำกลั่น ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตเท่ากับ 86.14 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 4 ชั่วโมง และ 75.18 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 8 ชั่วโมง และ 29.54 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 24 ชั่วโมง ตามลำดับ นอกจากนี้แม้ว่าการใช้สารละลายแรมโนลิพิดและเฟอร์ริกคลอไรด์แยกกันจะให้ประสิทธิในการกำจัดอาร์เซเนตได้ดีกว่า แต่ผลการทดลองยังพบว่าการใช้สารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์มีแนวโน้มที่ดีในการป้องกันไม่ให้เกิดการดูดซับอาร์เซเนตซ้ำบนผิวดิน


การพัฒนากระบวนการร่วมทางกายภาพ-เคมีเพื่อผลิตน้ำหล่อเย็นและน้ำในหม้อไอน้ำจากน้ำใต้ดิน, สุพัตรา ศรีสันต์ 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การพัฒนากระบวนการร่วมทางกายภาพ-เคมีเพื่อผลิตน้ำหล่อเย็นและน้ำในหม้อไอน้ำจากน้ำใต้ดิน, สุพัตรา ศรีสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาหนึ่งที่มักพบในการนำน้ำบาดาลมาใช้เป็นน้ำทดแทน (Makeup Water) ในระบบหล่อเย็นและหม้อไอน้ำ คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตะกรันในระบบ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดความกระด้างและซิลิกาในน้ำบาดาลด้วยกระบวนการผสมผสานระหว่างกระบวนการทางเคมีและนาโนฟิลเตรชัน โดยทำการทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ที่มีคุณภาพคล้ายกับน้ำบาดาลตัวอย่าง สารเคมีที่ใช้ในการทดลองกระบวนการทางเคมี ได้แก่ 1) ปูนขาว 2) สารส้ม 3) PACl 4) ปูนขาวร่วมกับสารส้ม และ 5) ปูนขาวร่วมกับ PACl โดยตัวแปรที่พิจารณาในการศึกษานี้ ได้แก่ คุณภาพน้ำหลังผ่านกระบวนการทางเคมี-นาโนฟิลเตรชัน และการอุดตันของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรน โดยพิจารณาจากพารามิเตอร์ ดังต่อไปนี้ 1) ค่าฟลักซ์ของน้ำสะอาดที่ถูกเทียบค่าด้วยน้ำ DI (Normality Flux, J/J0) 2) อัตราการไหลของน้ำสะอาดที่ถูกเทียบค่า (Normalized Permeate Flow, NPF) และ 3) การวิเคราะห์พื้นผิวเมมเบรนด้วย SEM-EDX ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการทางเคมี ที่ปริมาณปูนขาว 360 มก./ล. (mg/l) และ PACl 1.2x10-4 โมลอลูมินัม/ล. (mol Al/l) มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดความกระด้างทั้งหมดและซิลิกา ทั้งนี้กระบวนการผสมผสานระหว่างกระบวนการทางเคมีและนาโนฟิลเตรชันสามารถกำจัดความกระด้างทั้งหมดและซิลิการวมได้มากกว่า 96.3±0.0 และ 70.8±0.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยน้ำหลังผ่านการบำบัดมีความกระด้างและปริมาณซิลิกาผ่านมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japan Refrigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA) นอกจากนี้กระบวนการทางเคมีโดยการเติมปูนขาวร่วมกับ PACl ยังช่วยลดการเกิดการอุดตันของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรน ส่งผลให้นาโนฟิลเตรชันเมมเบรนมีอัตราการนำน้ำกลับสูงที่สุด ที่มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และที่อัตราการน้ำกลับดังกล่าว %J/J0 และ %NPF ลดลง 6.0 และ 0.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งผลการทดลองสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์พื้นผิวของเมมเบรนด้วย SEM-EDX พบว่าฟาวแลนท์ที่ผิวเมมเบรนมีลักษณะเป็นคราบ ไม่เห็นเป็นผลึกที่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากกรณีน้ำที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งจะเห็นผลึกได้ชัดและรวมตัวเป็นชั้นหนา


ผลของอัตราส่วนระหว่างซิลิกาและอะลูมินาต่อการรวมตัวกันของเบดในกระบวนการแกซิฟิเคชันแบบฟลูอิไดซ์เบดของฟางข้าว, อานันท์ สีเหม่น 2017 คณะวิศวกรรมศาสตร์

ผลของอัตราส่วนระหว่างซิลิกาและอะลูมินาต่อการรวมตัวกันของเบดในกระบวนการแกซิฟิเคชันแบบฟลูอิไดซ์เบดของฟางข้าว, อานันท์ สีเหม่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างซิลิกาและอะลูมินาต่อการรวมตัวกันของเบดในกระบวนการแกซิฟิเคชันแบบฟลูอิไดซ์เบดของฟางข้าว ทำการศึกษาที่อัตราส่วนอะลูมินาร้อยละ 0 25 50 75 และ 100 อุณหภูมิในการเกิดปฏิกิริยา 700 - 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.2 และ 0.4 โดยวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวและองค์ประกอบของเบดที่เกิดการรวมตัวกันด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิงและจุลวิเคราะห์ (SEM-EDX) ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนอะลูมินาร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการรวมตัวกันของเบดนานที่สุดที่เวลา 60 นาที แต่ขณะเดียวกันที่อัตราส่วนอะลูมินาร้อยละ 0 ใช้เวลาในการรวมตัวกันของเบดนานที่สุดเช่นกัน เมื่อทดลองที่อุณหภูมิ 800 และ 900 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ เมื่อศึกษาผลของอัตราส่วนสมมูลต่อการรวมตัวกันของเบดพบว่า อัตราส่วนสมมูลส่งผลต่อการรวมตัวกันของเบดที่อุณหภูมิ 800 และ 900 องศาเซลเซียสเท่านั้น และจากการวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวและองค์ประกอบของเบดที่เกิดการรวมตัวกัน พบองค์ประกอบของ Si K และ Ca เป็นองค์ประกอบหลักตรงบริเวณจุดที่มีการเชื่อมต่อของอนุภาคเบดในทุกอัตราส่วนของอะลูมินาเบดและทุกอุณหภูมิ ซึ่งธาตุเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของสารจุดหลอมเหลวต่ำ K2O-CaO-SiO2 ขณะที่บริเวณพื้นผิวของอะลูมินาพบองค์ประกอบของ Si K และ Ca ในปริมาณเล็กน้อย และเมื่อศึกษาก๊าซผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการแกซิฟิเคชันของฟางข้าว ซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซมีเทน พบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน ซึ่งผลจากการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเดินระบบระบบฟลูอิดไดซ์เบดในระดับอุตสาหกรรมได้ เพื่อลดการรวมตัวกันของเบดและช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย


Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng 2017 Faculty of Engineering

Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to investigate the effect of ion contaminations and operating conditions on Electro Coagulation (EC) and Oxidation (EO) in turbidity and natural organic matter (NOM) removal. The experiments were conducted in 4 liters column. Ferrous and calcium were chosen as contaminated ions. The operating condition was varied in terms of initial pH and current density. 100 NTU turbidity and 70 mg/L NOM were synthesized from bentonite and humic acid (HA), respectively. The results showed that bipolar arrangement of electrodes with 2 cm gap was the optimal condition in terms of gas flow rate and electrode …


Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong 2017 Faculty of Engineering

Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High concentration of dyes together with turbidity were frequently found in the effluents of textile industry wastewater, which are the toxic substances. To remove these contaminants, the combination between electrocoagulation process (EC) and separation has been proposed in this study. The objective of this present work is to design and evaluate the new electrocoagulation reactor (ECR) for treating dye and turbidity from synthetic textile wastewater. The optimization of electrode configuration and design parameter were examined with the batch column reactor for containing 4 liters of wastewater. The result showed that monopolar arrangement within the inner gap 1.5 cm and current …


Performance And Internal Environment Of Partial Nitrification-Entrapped Cells Under Changes In Cell-To-Matrix Ratio And Substrate Concentrations, Pattaraporn Kunapongkiti 2017 Faculty of Engineering

Performance And Internal Environment Of Partial Nitrification-Entrapped Cells Under Changes In Cell-To-Matrix Ratio And Substrate Concentrations, Pattaraporn Kunapongkiti

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, partial nitrification performance was investigated in entrapped cell-based reactors prepared using phosphorylated polyvinyl alcohol gel (PPVA) and operated using oxygen limiting strategy. The study was divided into three main parts: 1) to investigate the community of nitrite-oxidizing bacteria (NOB) in the reactors operated at different bulk dissolved oxygen (DO) concentrations, 2) to investigate the effect of cell-to-matrix ratio (1% and 4%) on partial nitrification performance of the entrapped-cell-based reactors and to observe internal environment, microbial community, and microbial localization within the gel matrix during long-term operation of the reactors, and 3) to study effect of ammonia and …


Prototype Development Of Small Scale Transportable Fuel Production System For Agricultural Byproducts, Jurarat Nisamaneenate 2017 Faculty of Engineering

Prototype Development Of Small Scale Transportable Fuel Production System For Agricultural Byproducts, Jurarat Nisamaneenate

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective is to study the potential of peanut shell waste and cassava rhizome conversion using a modular fixed bed gasifier coupled with thermal integration unit. The thermal integration unit improved gasification reaction in which lower tar content and high gas production efficiency can be achieved. The air flow rate had integrated effects on product yield and composition; higher air flow rate resulted in higher gas yield with less tar and char. The result from peanut shell gasification indicated the optimal conditions without catalyst addition at air flow rate of 3.06 m3/hr where carbon and hydrogen conversions were 87.10% and …


Digital Commons powered by bepress