Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations Research, Systems Engineering and Industrial Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2018

Discipline
Institution
Keyword
Publication

Articles 241 - 262 of 262

Full-Text Articles in Operations Research, Systems Engineering and Industrial Engineering

การพัฒนาระบบการจัดการพลังงานสู่มาตรฐานสากล Iso 50001:2018, จุฑามาศ พุดสีเสน Jan 2018

การพัฒนาระบบการจัดการพลังงานสู่มาตรฐานสากล Iso 50001:2018, จุฑามาศ พุดสีเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดบูรณาการระบบการจัดการพลังงานในประเทศไทย ได้แก่ การจัดการพลังงานตามกฎหมาย และการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล ISO 50001 (Energy Management System) โดยดำเนินการ เปรียบเทียบเนื้อหา ข้อกำหนดต่างๆ นำไปสู่การนำเสนอ ความสำคัญของการทำระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล ISO 50001:2018 ซึ่งจะพบว่าทั้ง 2 ระบบนี้มีหลักการการดำเนินงานที่คล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก จะแตกต่างกันเพียงรายละเอียดบางประการ องค์กรสามารถพัฒนาต่อยอดการดำเนินการจัดการพลังงานตามกฎหมายที่องค์กรต้องดำเนินการอยู่แล้วได้เลย ซึ่งปัจจุบันการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล ISO 50001 ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานฉบับใหม่จากเดิม ISO 50001:2011 เป็น ISO 50001:2018 นอกจากนี้ ระบบมาตรฐานสากล ISO อื่นๆ ได้แก่ ISO 9001 และ ISO 14001 ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานเช่นเดียวกัน คือ ISO 9001:2008 เป็น ISO 9001:2015 และ ISO 14001:2004 เป็น ISO 14001:2015 โดย ISO พยายามที่จะปรับปรุงโครงสร้างให้อยู่ในระดับเดียวกัน คือโครงสร้างระดับสูง หรือที่เรียกกันว่า High Level Structure (HLS) บทพื้นฐานของ Annex SL เพื่อให้มาตรฐานนั้นสามารถบูรณาการร่วมกันได้ ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงนำมาตรฐานทั้ง 3 มาตรฐาน คือ ISO 9001:2015, ISO 14001:2015 และ ISO 50001:2018 มาวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อนำเสนอวิธีการช่วยให้องค์กรสามารถจัดการระบบ ISO 50001:2018 เข้าด้วยกันกับระบบของ ISO 9001:2015 และ ISO 14001:2015 ที่องค์กรดำเนินการหรือได้รับการรับรองแล้ว ร่วมกับระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย


การปรับปรุงกระบวนการทดสอบทางไฟฟ้าของแผงวงจรรวม ด้วยหลักการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น, ทิฆัมพร ศรีสวัสดิ์ Jan 2018

การปรับปรุงกระบวนการทดสอบทางไฟฟ้าของแผงวงจรรวม ด้วยหลักการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น, ทิฆัมพร ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดในการทดสอบทางไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดของวงจร และหาค่าปรับตั้งปัจจัยของเครื่องจักรที่ใช้ในการทดสอบที่เหมาะสมเพื่อให้อัตราของเสียที่เกิดจากความผิดพลาดในการทดสอบทางไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดของวงจรมีค่าน้อยที่สุด ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในงานวิจัยนี้เลือกใช้เครื่องมือแผนผังและสาเหตุหลังจากนั้นจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่ออัตราของเสียที่การเกิดจากความผิดพลาดในการทดสอบทางไฟฟ้าเนื่องจากการเปิดของวงจร โดยใช้ FMEA ในขั้นตอนการปรับปรุงได้ทำการคัดเลือกเครื่องจักรโดยใช้หลักการคัดเลือกเครื่องจับงานที่เหมาะสมกับชิ้นงาน โดยอาศัยหลักการกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ จากนั้นทำการทดลองเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของเครื่องจักรโดยอาศัยวิธีการพื้นผิวตอบสนองแบบส่วนประสมกลางชนิดแบบ Faced Central Composite Design: CCF จากการวิเคราะห์การออกแบบการทดลองเบื้องต้น พบว่าที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญเพื่อนำไปปรับปรุงหาระดับของปัจจัยที่เหมาะสม คือ B ความสูงของคานยกเข็มทดสอบ 100 ไมโครเมตร, C จำนวนครั้งในการทำความสะอาดเข็มทดสอบ 372 touchdown/time. นอกจากนั้นทางผู้วิจัยได้จัดทำแผนควบคุม และวิธีการปฏิบัติงานใหม่ของการตั้งค่าเครื่องจักรเพื่อสร้างเป็นมาตรฐานในการตั้งค่าเครื่องจักรให้แก่พนักงานควบคุมเครื่องจักรต่อไป หลังจากปรับปรุงกระบวนการทดสอบทางไฟฟ้าพบว่าอัตราของเสียหลังการปรับปรุงโดยเฉลี่ยอยู่ 0.0045% หรือ 45 ตัวในหนึ่งล้านตัว (45 PPM) โดยก่อนปรับปรุงกระบวนการอัตราของเสียลดลงจากก่อนปรับปรุงเท่ากับ 2.2355% คิดเป็นร้อยละ 99.79 ของ % ของเสียในกระบวนการก่อนปรับปรุง และสามารถลดความสูญเสียได้ 1,322,926 บาทต่อปี


ความสัมพันธ์ระหว่างตำเเหน่งความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำด้วยวิธีจำลองสถานีงานกับข้อมูลขนาด สัดส่วนร่างกายผู้สูงอายุ, นพมาศ เวียงเกตุ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างตำเเหน่งความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำด้วยวิธีจำลองสถานีงานกับข้อมูลขนาด สัดส่วนร่างกายผู้สูงอายุ, นพมาศ เวียงเกตุ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนึ่งในปัญหาการออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ คือไม่สามารถระบุตำแหน่งความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำที่เหมาะสมได้ เนื่องจากมาตรฐานความสูงที่ใช้ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีช่วงอายุหรือเชื้อชาติที่แตกต่างกันหรือเป็นฐานข้อมูลที่ล้าสมัย โดยการกำหนดความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำมาจากการอนุมานเทียบกับขนาดสัดส่วนร่างกายในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการออกแบบให้กลุ่มบุคคลทั่วไปหรือห้องน้ำสาธารณะ เนื่องจากผู้สูงอายุมีข้อจำกัดด้านสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยจากวัยปกติทั่วไป ดังนั้นการออกแบบห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุควรใช้หลักการออกแบบเฉพาะรายบุคคล ซึ่งมีวิธีการหาตำแหน่งความสูงอุปกรณ์ห้องน้ำได้หลายวิธีได้แก่ การวัดโดยตรงจากการจำลองสถานีงาน หรือการอนุมานค่าจากสมการจะช่วยลดต้นทุนการออกแบบ การหาความสัมพันธ์ดังกล่าวในงานวิจัยนี้ใช้อาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อายุ 60-75 ปี จำนวน 100 คน (ชาย 45 คน และหญิง 55 คน) โดยผู้เข้าร่วมทดลองแต่ละคนได้ถูกวัดขนาดสัดส่วนร่างกายจำนวน 16 มิติ แบ่งเป็นสัดส่วนท่ายืน 8 มิติ และสัดส่วนท่านั่ง 7 มิติ และทดลองใช้อุปกรณ์ของห้องน้ำ 6 ประเภท ได้แก่ วาล์วน้ำฝัวบัว ที่วางสบู่ ราวแขวนผ้า ฝักบัว สายฉีดชำระ และราวแขวนกระดาษชำระ ในสถานีงานจำลอง โดยผู้เข้าร่วมทดลองสามารถทดสอบการใช้งานและปรับระดับตำแหน่งความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำจนกว่าได้ตำแหน่งที่พอใจ ความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำจะถูกเก็บบันทึกไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำกับขนาดสัดส่วนร่างกาย โดยใช้วิธีการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่าอุปกรณ์ห้องน้ำ 4 ประเภทได้แก่ วาล์วน้ำฝักบัว ที่วางสบู่ ราวแขวนผ้า และฝักบัว สามารถอนุมานได้จากสมการถดถอยเชิงเส้นที่ใช้ข้อมูลเฉพาะความสูงขณะยืน ซึ่งวิธีการดังกล่าวเหมาะสำหรับการออกแบบห้องน้ำเฉพาะรายบุคคล เช่น ห้องน้ำตามบ้านเรือนที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ แต่สำหรับความสูงของสายฉีดชำระ และที่แขวนกระดาษชำระ สามารถใช้คำแนะนำร่วมกับการออกแบบห้องน้ำสาธารณะได้ ซึ่งในกรณีการออกแบบห้องน้ำสาธารณะต่างๆ เช่น บ้านพักคนชรา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น สามารถใช้ค่าความสูงของอุปกรณ์ห้องน้ำจากตารางค่าทางสถิติในรูปแบบเปอร์เซ็นไทล์


การสร้างข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบ เพื่อพัฒนาชุดจำลองความสูงอายุ, ธีพิสิฐ คชภักดี Jan 2018

การสร้างข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบ เพื่อพัฒนาชุดจำลองความสูงอายุ, ธีพิสิฐ คชภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรทั่วโลก ก่อให้เกิดความห่วงใยในการดูแลผู้สูงอายุ ทัศนคติต่อผู้สูงอายุในทางลบ มองผู้สูงอายุเป็นภาระของครอบครัวและสังคม มีการปรับปรุงทัศนคติเหล่านี้ด้วยชุดจำลองความสูงอายุ งานวิจัยนี้สร้างข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบเพื่อพัฒนาชุดจำลองความสูงอายุ โดยออกแบบจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงร่างกายผู้สูงอายุในส่วนกล้ามเนื้อที่ลดลงตามอายุและใช้หลักการของแรงเสียดทาน มีผู้เข้าร่วมทดลองวัยหนุ่มและวัยสูงอายุ ทดสอบ Ergometer และการเดิน(Gait Analysis) เปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจคงที่กับสูงสุดในการทดสอบ Ergometer และพิจารณาองศาเข่า ระยะก้าวระหว่างเท้าข้างหนึ่งถึงเท้าอีกข้างหนึ่ง,จำนวนก้าวใน 1 นาทีในการเดิน ผลการทดลองทางสถิติ ในอัตราส่วนระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจคงที่กับสูงสุดในการทดสอบ Ergometer และระยะก้าวระหว่างเท้าข้างหนึ่งถึงเท้าอีกข้างหนึ่ง จำนวนก้าวใน 1 นาที ในการเดินที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และองศาเข่าในวงจรการเดินพบว่า วัยหนุ่มสวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบไม่มีความแตกต่างกับวัยสูงอายุ แต่ไม่สวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบมีความแตกต่างกับผู้สูงอายุ การสวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบของวัยหนุ่มมีความใกล้เคียงกับผู้สูงอายุมากกว่าไม่สวมข้อต่อแรงเสียดทานต้นแบบ เนื่องจากการสวมข้อต่อแรงเสียดทานเป็นการเพิ่มภาระให้กับร่างกาย ทำให้เหนื่อยง่ายขึ้น เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้น กำลังสถิตของกล้ามเนื้อลดลงเหมือนกับผู้สูงอายุ ทั้งในการทดสอบ Ergometer และการเดิน (Gait Analysis) สามารถจำลองความสูงอายุได้


การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี, ธนิชกาญจน์ ภูภัทรกิจ Jan 2018

การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี, ธนิชกาญจน์ ภูภัทรกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงระบบการจัดการคลังสินค้าสำหรับโรงงานผลิตชุดชั้นในสตรี มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการจัดการของคลังสินค้าที่กำลังประสบปัญหาการรับมือกับปริมาณความต้องการที่ไม่แน่นอน รวมทั้งการจัดสรรการใช้สอยพื้นที่ที่มีอยู่อย่างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยพบว่าการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพนี้ส่งผลให้การส่งสินค้าสำเร็จรูปไปยังลูกค้าตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ถึง 40 ได้เพียงเฉลี่ยอาทิตย์ละ 84% ค่าความแปรปรวนอยู่ที่ 16% ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดคือ 95% ต่อสัปดาห์ โดยสาเหตุหลักมาจากการค้นหาวัตถุดิบล่าช้าของคลังสินค้า ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสายการผลิตได้ ก่อให้เกิดการหยุดชะงักของสายการผลิต หรือ Downtime เพื่อที่จะลดปัญหาการหยุดชะงักของสาย และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคลังสินค้า รวมทั้งการจัดการพื้นของคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีการนำหลักการ ABC Classification ผสมผสานกับการจัดการแผนผังคลังสินค้าใหม่ พบว่า (1) สามารถกำจัดจำนวนพาเล็ทที่วางสินค้าไม่จำเป็นได้สูงถึง 1,342 พาเล็ท คืนพื้นที่สำหรับการจัดการวัตถุดิบในอนาคต (2) การจัดวางแผนผังคลังสินค้าโดยอาศัยหลักการ FIFO ทำให้การจัดวางสินค้า การค้นหา และการไปหยิบสินค้าเป็นไปได้โดยสะดวก สามารถลดชั่วโมงการหยุดชะงักของสายการผลิตอันเกิดจากความล่าช้าในการหาวัตถุดิบได้ จากเดิม 79,930 ชั่วโมง • คน เป็น 3,048 ชั่วโมง • คน หรือลดลง 96.19% (3) สามารถลดค่าใช้ในการเช่ายืมอุปกรณ์ภายในคลังสินค้าได้ถึง 300,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งยังสามารถลดค่าเช่าคลังสินค้าภายนอกและค่าขนส่งได้ถึง 600,000 บาทต่อเดือน


การวิเคราะห์ปัจจัยในการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลของหม้อกำเนิดไอน้ำฟลูอิไดซ์เบดแบบฟองแก๊ส, ธนกร พุ่มชุมพล Jan 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยในการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลของหม้อกำเนิดไอน้ำฟลูอิไดซ์เบดแบบฟองแก๊ส, ธนกร พุ่มชุมพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลของหม้อกำเนิดไอน้ำฟลูอิไดซ์เบดแบบฟองแก๊ส โดยพิจารณาใช้เชื้อเพลิงที่มีต้นทุนต่ำและโรงงานสามารถจัดหาได้ ซึ่งในงานวิจัยนี้ศึกษาสูตรเชื้อเพลิงทั้งหมด 3 สูตร คือ สูตรเชื้อเพลิง A (ไม้สับ:แกลบ:ไฟเบอร์:ขี้เลื่อย 8:6:1:1) สูตร B (ไม้สับ:แกลบ:ไฟเบอร์:ขี้เลื่อย 5:5:1:1) และสูตร C (ไม้สับ:แกลบ:ไฟเบอร์ 5:2:2) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไอน้ำแรงดันสูงและเปอร์เซ็นต์ออกซิเจนคือ ค่าความชื้น อัตราการป้อนเชื้อเพลิง อัตราการป้อนอากาศ ความดันเตาเผาไหม้ และอุณหภูมิเตาเผาไหม้ วิเคราะห์ด้วยวิธิการพื้นผิวตอบสนองเพื่อให้ได้อัตราการผลิตไอน้ำที่ 43 kg/s ค่าออกซิเจนส่วนเกินในช่วง 3-4.5% และมีต้นทุนเชื้อเพลิงต่อตันไอน้ำเฉลี่ยลดลง พบว่าค่าที่เหมาะสมสำหรับสูตรเชื้อเพลิง A B และ C มีผลดังนี้ ค่าความชื้นเชื้อเพลิงอยู่ที่ 33 % อัตราการป้อนเชื้อเพลิงอยู่ที่ 1455 ton/d 1469 ton/d 1504 ton/d อัตราการป้อนอากาศอยู่ที่ 54.00 kg/s 58.23 kg/s 56.52 kg/s ความดันเตาเผาไหม้อยู่ที่ -1.00 mbar -1.10 mbar -1.21 mbar และอุณหภูมิเตาเผาไหม้อยู่ที่ 881 oC 870 oC 848 oC ตามลำดับ หลังปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้สภาวะที่กำหนดพบว่าอัตราการผลิตไอน้ำแรงดันสูงสตรเชื้อเพลิง A B และ C มีค่า 43.32 kg/s, 43.26 43.44 kg/s ตามลำดับ และค่าออกซิเจนส่วนเกิน มีค่า 4.00%, 4.11%, 4.13% ตามลำดับ สำหรับต้นทุนเชื้อเพลิงของสูตรเชื้อเพลิง A B และ C มีค่า 557.11 บาท/ตันไอน้ำ 553.78 บาท/ตันไอน้ำ และ 573.06 บาท/ตันไอน้ำ ตามลำดับ


การลดการสูญเสียในการผลิตของโรงงานผลิตหลอดไฟสำหรับยานยนต์, นานา รัตนนิยม Jan 2018

การลดการสูญเสียในการผลิตของโรงงานผลิตหลอดไฟสำหรับยานยนต์, นานา รัตนนิยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตหลอดไฟสำหรับยานยนต์ โดยเป็นการสูญเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องในการผลิต โดยมีการแบ่งกลุ่มการสูญเสียเป็น 2 ประเภท คือ การสูญเสียที่เกิดภายในกระบวนการผลิตและการสูญเสียที่เกิดระหว่างกระบวนการผลิตหนึ่งไปยังกระบวนการหนึ่ง โดยการสูญเสียที่ทำการวิเคราะห์ทั้งหมดในกระบวนการขึ้นรูปและดูดอากาศของหลอดไฟประเภทไฟหน้า รุ่น T19 ด้วยการประยุกต์ใช้การประเมินการขัดข้องและผลกระทบ (FMEA) ด้วยการประเมินความรุนแรง (Severity) โอกาสในการเกิด (Occurrence) และความสามารถในการตรวจจับ (Detection) เพื่อนำไปคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยง (RPN) และดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง เมื่อค่าดัชนีความเสี่ยงมากกว่า 100 คะแนน งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปริมาณการขาย มูลค่าที่ขายได้ ต้นทุนการผลิต การสูญเสียและแนวโน้มการเกิดของแต่ละประเภทหลอดไฟ จากนั้นได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตของหลอดไฟประเภทไฟหน้า T19 ในทุกกระบวนการ พบว่า กระบวนการขึ้นรูปและดูดอากาศมีมูลค่าการสูญเสียในอัตราส่วนร้อยละ 82 เทียบกับผลรวมการสูญเสียทุกกระบวนการ จึงทำการค้นหาข้อบกพร่องทั้งหมดที่สามารถเกิดได้โดยคณะทำงาน และทำการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องเมื่อได้คะแนนดัชนีความเสี่ยง RPN ตามข้อกำหนดการประเมิน หลังจากนั้นได้ค้นหาสาเหตุของปัญหาด้วยการระดมความคิด แผนผังเหตุและผล การทดลอง พิสูจน์ตามหลัก 3 จริง จึงสามารถลดข้อบกพร่องได้ทั้ง 11 หัวข้อของการสูญเสีย ผลการดำเนินการพบว่ากระบวนการขึ้นรูปและดูดอากาศมีข้อบกพร่องที่ทำให้เกิดการสูญเสียมีค่าดัชนีความเสี่ยงมากกว่า 100 เท่ากับ 11 หัวข้อ หลังจากการดำเนินการแก้ไขและได้ทำการประเมินอีกครั้งพบว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงภาวะความรุนแรงได้ แต่สามารถลดโอกาสในการเกิด และเพิ่มความสามารถในการตรวจจับ โดยค่าดัชนีความเสี่ยง RPN ที่มีค่าน้อยกว่า 100 มีทั้งหมด 10 หัวข้อ และมี 1 หัวข้อที่ยังมีค่ามากกว่า 100 เนื่องจากยังไม่สามารถเพิ่มความสามารถในการตรวจจับได้ การดำเนินการนี้ส่งผลให้มูลค่าการสูญเสียลดลง คิดเป็นร้อยละ 2.60 เมื่อเทียบกับมูลค่าการผลิต ส่งผลให้สามารถลดความสูญเสียลงคิดเป็นมูลค่า 392,390.37 บาทต่อเดือน ซึ่งทำให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ลดลงได้ในที่สุด


การยอมรับคำสั่งซื้อและการวางแผนการผลิตในระบบการผลิตแบบไหลเลื่อน, บุญญภัทร์ บุญศรี Jan 2018

การยอมรับคำสั่งซื้อและการวางแผนการผลิตในระบบการผลิตแบบไหลเลื่อน, บุญญภัทร์ บุญศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการยอมรับคำสั่งซื้อและการวางแผนการผลิตตามนโยบายการผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make to Order: MTO) โดยระบบการผลิตที่ศึกษาเป็นระบบการผลิตแบบไหลเลื่อนที่มีสถานีงานและชนิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายที่ขึ้นกับข้อจำกัดการส่งมอบจำนวนผลิต และเวลากำหนดส่งที่ชัดเจนภายใต้กำลังการผลิตที่มีอย่างจำกัด ลักษณะของปัญหาประกอบไปด้วยสองปัญหาย่อย ได้แก่ 1.ส่วนการคัดเลือกคำสั่งซื้อที่มีจำนวนความต้องการที่ผลิตที่รับงานได้รวมเป็นวัตถุประสงค์หลัก 2.ส่วนการวางแผนการผลิตที่กำหนดจำนวนการผลิตในช่วงระยะวางแผนผลิตโดยที่มีจำนวนวัสดุคงคลังน้อยที่สุดเป็นวัตถุประสงค์รอง ผู้วิจัยได้นำเสนอรูปแบบจำลองสมการเชิงเส้นจำนวนเต็มผสม (Mixed Integer Linear Programing: MILP) ที่ประยุกต์ใช้จากแบบจำลอง Integrated production planning models with order acceptance (PP-OA) และนำเสนอวิธีการโดยตรงในการหาคำตอบ แต่เนื่องจากความซับซ้อนของปัญหาจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เวลาการหาคำตอบของวิธีการโดยตรงสูงขึ้นตามขนาดของปัญหา ผู้วิจัยจึงนำเสนอวิธีการทางฮิวริสติกจากการประยุกต์ใช้วิธีการ Branch and Bound (B&B) สำหรับส่วนการคัดเลือกคำสั่งซื้อ และนำเสนอวิธีการทางฮิวริสติกจากการประยุกต์ใช้การวางแผนการผลิตแบบถอยหลัง (Backward Scheduling) สำหรับส่วนการวางแผนการผลิต โดยการทดลองทางคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการหาคำตอบของทั้งสองวิธีในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน


การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Ahp) สำหรับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อเป็นพลังงาน, นุชนาถ สุขสมัย Jan 2018

การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Ahp) สำหรับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อเป็นพลังงาน, นุชนาถ สุขสมัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่ผ่านมาพบว่าเมื่อมีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมักไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชนทั้งในประเด็นแนวทางการจัดการขยะเป็นพลังงานและเทคโนโลยีการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ งานวิจัยนี้จึงนำกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) มาใช้เป็นเครื่องมือวิจัย ผลของงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนจัดตั้งโรงไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนต่อไป ชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีปริมาณขยะ 16,500 ตัน/ปี ในการดำเนินงานวิจัยได้เก็บข้อมูลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานจำนวน 24 คน และความคิดเห็นของตัวแทนชุมชนจำนวน 21 คน การวิเคราะห์แบ่งออกเป็นสองประเด็น ประเด็นแรกเป็นการวิเคราะห์หาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อเป็นพลังงาน มีเกณฑ์หลักของการวิเคราะห์เป็นปัจจัย PESTEL ประกอบด้วย การเมือง (P) เศรษฐกิจ (Ec) สังคม (S) เทคโนโลยี (T) สิ่งแวดล้อม (En) และกฎหมาย (T) ประเด็นที่สองเป็นเทคโนโลยีการผลิตพลังงานสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ โดยมีเกณฑ์หลักได้แก่ ประเภทของขยะ (W) เงินลงทุน (I) พลังงานจากกระบวนการผลิต (E) และการยอมรับในเทคโนโลยี (A) ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนชุมชนมีความเห็นตรงกันว่าควรทำการคัดแยกขยะมูลฝอยในพื้นที่ก่อนการนำไปผลิตเป็นพลังงานและควรมีกำลังผลิตไฟฟ้าน้อยกว่า 10 MW แต่ประเด็นเทคโนโลยีการผลิตนั้นผู้เชี่ยวชาญเลือกเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันในขณะที่ตัวแทนชุมชนเลือกการเผาด้วยเตาเผาซึ่งเป็นความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน จากการสังเกตพบว่าตัวแทนชุมชนมีประสบการณ์ด้านการผลิตพลังงานจากเตาเผามากกว่าอย่างอื่น ข้อแนะนำควรให้ชุมชนมีประสบการณ์ในเทคโนโลยีการผลิตพลังงานแบบอื่นๆ และได้รับการยอมรับจากชุมชนก่อนการจัดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ


ผลกระทบของความสูงเก้าอี้ต่อท่าทางและพื้นที่ขั้นต่ำในการลุกขึ้นยืนของผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ, พงศธร พรมสกล Jan 2018

ผลกระทบของความสูงเก้าอี้ต่อท่าทางและพื้นที่ขั้นต่ำในการลุกขึ้นยืนของผู้ใหญ่ตอนปลายและผู้สูงอายุ, พงศธร พรมสกล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การลุกขึ้นจากเก้าอี้เป็นกิจกรรมที่แสดงถึงการรักษาความเป็นเป็นอิสระของการใช้ชีวิตสำหรับวัยผู้สูงอายุ มักถูกพบว่าวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาการลุกขึ้นซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุการหกล้มขณะลุกจากเก้าอี้ ปัญหาการลุกจากเก้าอี้ของวัยผู้สูงอายุอาจเกิดจากการออกแบบความสูงเก้าอี้และพื้นที่ขั้นต่ำที่ไม่เหมาะสมกับการสำหรับการลุกขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลุกขึ้นยืนและหาพื้นที่ขั้นต่ำสำหรับการลุกขึ้นยืนอย่างเหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของการลุกขึ้นจากเก้าอี้ระหว่างผู้สูงอายุและวัยรุ่น เพื่อหาอิทธิพลความสูงเก้าอี้ต่อท่าทางและพื้นที่ขั้นต่ำการลุกขึ้นจากเก้าอี้ของผู้สูงอายุ ผู้เข้าร่วมการทดลอง 120 คนแบ่งเป็นวัยผู้สูงอายุ 90 คน (อายุเฉลี่ย 66.42 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.56 ปี) และวัยรุ่น 30 คน (อายุเฉลี่ย 21.07 ปี, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.83 ปี) ระบบวิเคราะห์การเคลื่อนไหวถูกใช้เพื่อเก็บข้อมูลการลุกขึ้นยืนของทั้งสองกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง ซึ่งการวิจัยได้กำหนดระดับความสูงเก้าอี้ 3 ความสูง ประกอบด้วย 90%, 100%, และ 110% ของระดับความสูงข้อพับแนวเข่าด้านใน ผลการเปรียบเทียบการลุกขึ้นยืนของทั้งสองกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลอง พบว่าความเร็วเชิงมุมเฉลี่ยของลำตัวและสะโพกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 3 ระดับความสูงเก้าอี้ ซึ่งอาจเกิดจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลง ดังนั้นจึงหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการลุกขึ้นจากเก้าอี้ของผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่าปัจจัยร่วมระหว่างเพศและกลุ่มช่วงอายุส่งผลต่อมุมงอลำตัวสูงสุดและความเร็วเชิงมุมเฉลี่ยสะโพกอย่างมีนัยสำคัญ และความสูงของเก้าอี้ส่งผลต่อมุมงอลำตัวสูงสุดและเวลาที่ใช้ลุกขึ้นยืนมีความแตกต่างอย่างมีนัย มากกว่าไปนั้นการลุกขึ้นยืนของผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกได้ 2 ท่าทางโดยแบ่งจากความเร็วเชิงมุมของลำตัวและสะโพก คือ ท่า momentum transfer และท่า Stabilization พบว่าเมื่อเพิ่มความสูงเก้าอี้ขึ้นผู้สูงอายุมีแนวโน้มใช้ท่า stabilization เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นท่าที่ใช้ความเร็วต่ำและเสี่ยงต่อการหกล้มน้อยกว่า นอกจากนี้การหาพื้นที่การลุกขึ้นยืนของผู้สูงอายุซึ่งถูกแบ่งออกเป็นความยาวและความกว้างของการเคลื่อนที่ลำตัว โดยวัดจากระยะที่เคลื่อนที่ไกลสุดของร่างกายจากด้านหลังไปด้านหน้าและการเคลื่อนที่ไกลสุดจากด้านซ้ายไปด้านขวาตามลำดับ พบว่าระยะที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุทางด้านหน้าและด้านข้างไม่ควรต่ำกว่า 0.89 และ 0.77 เมตรตามลำดับ ท้ายที่สุดแล้วการออกแบบเก้าอี้ควรใช้ความสูงมากว่าระดับ 100% ข้อพับแนวเข่าด้านในแต่ไม่เกิน 110% เพราะส้นเท้าเริ่มจะไม่สัมผัสพื้น นอกจากระดับความสูงเก้าอี้หรือที่นั่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบคือพื้นที่ขั้นต่ำของการลุกขึ้นยืนของผู้สูงอายุ


การออกแบบระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ใหม่, ปิยวรรณ ปราณี Jan 2018

การออกแบบระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ใหม่, ปิยวรรณ ปราณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูลลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ใหม่ซึ่งสามารถลดเวลา ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน และลดต้นทุนค่าดำเนินงานได้ โดยข้อมูลลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ใหม่(NCP Survey) เป็นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์ลักษณะกลุ่มลูกค้าของรถยนต์แต่ละรุ่นเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด จากวิธีการทำงานในปัจจุบันพบปัญหาข้อมูลล่าช้า ข้อมูลไม่ครบถ้วน และมีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ผู้วิจัยจึงได้นำแนวความคิดเรื่อง 8 Waste, 3 GEN แผนผังก้างปลา FMEA และWhy-Why Analysis มาใช้ในการหาสาเหตุของปัญหา พบว่าสาเหตุหลักมาจากวิธีการได้มาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบกระดาษ นำไปสู่การหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขจึงได้มีการศึกษาเรื่องการทำแบบบสอบถามออนไลน์(Online Survey) ข้อดีข้อเสียต่างๆ ซึ่งสุดท้ายได้เลือกทำเป็น Web Application เนื่องจากสอดคล้องกับความต้องการของระบบและเกณฑ์ของบริษทัท จึงทำการออกแบบระบบใหม่โดยการสร้างแผนผังการทำงาน(Process flow) และแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow) เพื่อจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ มีการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน(User Interface) และออกแบบส่วนแสดงผล(Output Design) ซึ่งผลการออกแบบระบบได้ถูกทดสอบโดยการเปรียบเทียบผลลัพธ์กับวิธีการเดิมพบว่าได้รับข้อมูลเร็วขึ้นจากเดิมใช้เวลาเฉลี่ย 108 วันเหลือ 0 วันหรือเป็นแบบ Realtime และได้ข้อมูลครบถ้วนมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อนได้ และสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้จากปีละ 1,440,000 บาท เหลือเพียงค่าดูแลรักษาระบบปีละ 55,000 บาท โดยมีค่าพัฒนาระบบ 450,000 บาทในปีแรก


แบบจำลองการวางแผนพนักงาน และอุปกรณ์สำหรับการลำเลียงสัมภาระขาเข้าภายในท่าอากาศยาน, พนิดา ศรีจันทรา Jan 2018

แบบจำลองการวางแผนพนักงาน และอุปกรณ์สำหรับการลำเลียงสัมภาระขาเข้าภายในท่าอากาศยาน, พนิดา ศรีจันทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ (Simulation model) การลำเลียงสัมภาระภายใน ท่าอากาศยานกรณีศึกษา เพื่อใช้สำหรับการวางแผนพนักงาน และอุปกรณ์ของผู้ให้บริการให้เพียงพอสำหรับการผ่านเกณฑ์ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการลำเลียงสัมภาระใบแรก และใบสุดท้าย การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลการลำเลียงสัมภาระ และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการลำเลียงสัมภาระ ซึ่งพบว่า สาเหตุที่ไม่สามารถบรรลุเกณฑ์เป็นผลจากจำนวนอุปกรณ์ที่ให้บริการไม่เพียงพอ และปัจจัยที่ส่งผลต่อเวลาในการลำเลียงสัมภาระ คือ ประเภทของอากาศยาน และโซนของหลุมจอด จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาหาการแจกแจงของเวลาในขั้นตอนต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือ Input Analyzer เพื่อนำไปสร้างแบบจำลองสถานการณ์ (Simulation Model) การลำเลียงสัมภาระด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรม Arena โดยผลการจำลองสถานการณ์สามารถรายงานระยะเวลาการทำงานในแต่ละขั้นตอน และแสดงจำนวนอุปกรณ์ที่เพียงพอโดยคำนวณจากจำนวนการใช้งานที่มากที่สุด (Maximum Busy) ของอุปกรณ์แต่ละชนิด จากการประมวลผลโปรแกรม พบว่า ผู้ให้บริการลำเลียงสัมภาระมีอุปกรณ์ 3 ชนิด ที่มีจำนวนไม่เพียงพอ คือ รถพ่วงบรรทุกตู้สัมภาระ (Dolly) รถพ่วงบรรทุกสัมภาระ (Baggage Cart) และ รถลากจูงสัมภาระ (Tractor) ดังนั้น ยังพบว่าหากประมวลผลในแบบจำลองที่มีจำนวนอุปกรณ์เพียงพอ จะสามารถผ่านเกณฑ์ดัชนีชี้ดวัดประสิทธิภาพลำเลียงสัมภาระได้ ทั้งนี้ โดยสรุปจากการทดลอง พบว่า การมีแบบจำลองสามารถทำให้วางแผนจำนวนพนักงาน และอุปกรณ์ได้ดีขึ้น


ผลกระทบของขนาดและมุมเอียงของเม้าส์ต่อสมรรถนะสำหรับงานชี้ตำแหน่ง, ศจีประภา รังแก้ว Jan 2018

ผลกระทบของขนาดและมุมเอียงของเม้าส์ต่อสมรรถนะสำหรับงานชี้ตำแหน่ง, ศจีประภา รังแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนึ่งในปัญหาของการใช้เม้าส์ที่ไม่เหมาะสมกับร่างกายของผู้ใช้งานคือ โรคเรื้อรังในอุโมงค์ข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) เนื่องจากเม้าส์นั้นมิได้ออกแบบให้คำนึงถึงสรีระของมือและข้อมือในกรณีที่ต้องจับเม้าส์เป็นเวลานาน นอกจากนั้นเม้าส์การยศาสตร์ (Ergonomics mouse) ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะทำให้การใช้งานช้าลง รวมถึงการขาดความรู้และเข้าใจถึงผลกระทบจากการใช้เม้าส์ที่ไม่เหมาะสม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้งานของเม้าส์การยศาสตร์ได้แก่ ขนาดและองศาการวางมือ เปรียบเทียบขนาดเม้าส์เม้าส์ต่อมือและองศาการวางมือของเม้าส์ โดยสร้างเม้าส์ต้นแบบจาก 3D Printer 6 ตัว โดยมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ที่ซึ่งทำมุมเอียง 0, 15, 25 องศา ทดสอบตาม ISO 9241-9 กับผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 10 คน มีความยาวฝ่ามือในช่วง 13.5-19.2 ซม. ผลการศึกษาพบว่า ขนาดเม้าส์ 7.9-10.9 ซม. และองศาการวางมือในช่วง 0, 15, 25 องศา ไม่ส่งผลต่อสมรรถนะการใช้งานของเม้าส์ที่ระดับ 0.05 แต่นำสัดส่วนระหว่างเม้าส์ต่อมือหาความสัมพันธ์กับสมรรถนะผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์แบบพาราโบลาและค่าสัดส่วนเท่ากับ 0.57-0.60 มีสมรรถนะการใช้งานดีที่สุด ดังนั้นในการเลือกใช้เม้าส์ควรคำนึงถึงขนาดมือของผู้ใช้งาน


การพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับการสำรองเกินในธุรกิจรถเช่า, ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์ Jan 2018

การพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับการสำรองเกินในธุรกิจรถเช่า, ศุภศิษฏ์ จงชีวีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจรถเช่าเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และด้วยการแข่งขันที่สูงผู้ประกอบการจึงต้องหาวิธีการให้ได้มาซึ่งส่วนแบ่งทางการตลาด โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจสำหรับสินค้าที่มีอายุและมีจำนวนจำกัด หนึ่งในวิธีการที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการคือการสำรองเกิน (overbooking) การสำรองเกินเป็นหนึ่งในวิธีการของการบริหารรายได้ (revenue management) โดยการเปิดให้จองเกินจำนวนรถเช่าที่มีเพื่อป้องกันการมีรถเช่าเหลือจากการที่ลูกค้ายกเลิกการจอง ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้ไป แต่ถ้าผู้ประกอบการเปิดสำรองเกินมากเกินย่อมมีโอกาสที่ลูกค้ามาใช้บริการเกินจำนวนรถเช่าที่มี ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนในการหารถจากบริษัทอื่นให้กับลูกค้า จำนวนการสำรองเกินหรือระดับสำรองเกิน (overbooking level) ที่ทำให้เกิดต้นทุนรวมต่ำที่สุดจึงเป็นเป้าหมายของการสำรองเกิน
งานวิจัยนี้นำเสนอตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อหาจุดสำรองเกินที่เหมาะสมที่สุด โดยนำแนวคิดเรื่องการปฏิเสธ (rejection) ให้เป็นตัวชี้วัดในการแบ่งต้นทุนเสียโอกาสที่เกิดจากการสำรองเกิน การปฏิเสธเกิดจากการที่ลูกค้าจองเกินระดับสำรองเกิน ทำให้ต้องปฏิเสธลูกค้าเหล่านั้นไป เมื่อถึงเวลาใช้บริการรถเช่า มีลูกค้ายกเลิกทำให้เกิดรถเช่าที่เหลือ การเสียโอกาสนี้จึงเกิดจากการปฏิเสธลูกค้าจากการตั้งระดับสำรองเกินที่ไม่เหมาะสม ตัวแบบสำรองเกินในงานวิจัยนี้มีตัวแปรสุ่มสองชนิดได้แก่จำนวนการจองของลูกค้า (booking request) และ จำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการจริง (show-up) ทำให้ปัญหาการสำรองเกินมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ในการหาระดับสำรองเกินที่ให้เกิดต้นทุนต่ำที่สุดและการพิสูจน์ ส่วนที่สองคือการวิเคราะห์ผลทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วย การวิเคราะห์ความไว การประมาณค่าตัวแปรตัดสินใจ และการเปรียบเทียบผล


การลดปริมาณของเสียในกระบวนการพิมพ์โค้ดแบบหมึกลงบนผลิตภัณฑ์กระป๋อง, สิทธิกร เลิศอริยสกุล Jan 2018

การลดปริมาณของเสียในกระบวนการพิมพ์โค้ดแบบหมึกลงบนผลิตภัณฑ์กระป๋อง, สิทธิกร เลิศอริยสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดของเสียจากกระบวนการพิมพ์โค้ดแบบหมึกลงบนผลิตภัณฑ์กระป๋อง ซึ่งมีของเสียเกิดขึ้นใน 2 รูปแบบ คือโค้ดลบและโค้ดขาด วิธีการที่ใช้ลดของเสียเนื่องจากโค้ดลบคือการให้ความร้อนบนผิวกระป๋องก่อนเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ และวิธีการที่ใช้ลดของเสียจากโค้ดขาดคือการปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ จากผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการให้ความร้อนผิวกระป๋องคือ อุณหภูมิ ระดับแรงลม และระยะเวลาในการให้ความร้อน จากการออกแบบการทดลองโดยวิธีบ็อกซ์ -เบห์นเคน (Box Behnken) และหาค่าที่เหมาะสมโดยวิธีพื้นผิวตอบสนองพบว่ากระป๋องประเภท Tin ใช้อุณหภูมิ 512 องศาเซลเซียส แรงลมระดับ 3 ระยะเวลาในการให้ความร้อน 0.66 วินาที กระป๋องประเภท Aluminum ใช้อุณหภูมิ 309 องศาเซลเซียส แรงลมระดับ 3.5 ระยะเวลาในการให้ความร้อน 0.66 วินาที เป็นค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยผลลัพธ์จากการแก้ไขโดยการให้ความร้อนผิวกระป๋องก่อนพิมพ์เครื่องพิมพ์ ทำให้สามารถลดของเสียเนื่องจากโค้ดลบลงเหลือเพียง 0.014 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดำเนินการโดยการเพิ่มรอบการทำความสะอาดหัวพิมพ์ เพิ่มรอบการทำความสะอาดระบบผสมน้ำหมึก และปรับปรุงแผนการตรวจเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่อง ทำให้สามารถลดของเสียเนื่องจากโค้ดขาดลงเหลือเพียง 0.006 เปอร์เซ็นต์ ในการดำเนินการทั้งหมดส่งผลให้ของเสียโดยรวมจากสายการผลิตที่ 1 ลดลงจาก 0.2 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 0.02 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้ตามเป้าหมายที่โรงงานกำหนดไว้


การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์ ภายใต้พื้นที่การผลิตที่ลดลง, อทิตยา มารศรี Jan 2018

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์ ภายใต้พื้นที่การผลิตที่ลดลง, อทิตยา มารศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเครื่องมือแพทย์ ภายใต้เงื่อนไขพื้นที่การผลิตลดลง ซึ่งในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ AAA ทำการผลิตในรูปแบบผลัก โดยทำการผลิตแบบเป็นงวดของกระบวนการประกอบย่อย 11 สถานี จากนั้นเก็บเป็นชิ้นงานระหว่างกระบวนการไว้ทั้งหมด ก่อนที่จะส่งให้กับกระบวนการประกอบหลักเป็นผู้ประกอบชิ้นส่วนย่อยทั้งหมดเข้าด้วยกันและส่งให้กลุ่มงานถัดไปวิธีการวิจัยเริ่มจาก การศึกษาพื้นที่ที่ใช้ในแต่ละส่วนงาน เวลา และวิธีการทำงานของกระบวนการผลิตในปัจจุบัน จากนั้น วิเคราะห์งานที่ไม่เกิดมูลค่าและปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยเทคนิค ECRS หลังจากนั้นทำการศึกษาเวลาเพื่อหาเวลามาตรฐานของแต่ละงานใหม่ และศึกษาลำดับก่อนหลังของการประกอบ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบรูปแบบการผลิตแบบเซลลูล่าร์ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดสมดุลการผลิตโดยการรวมงานของกระบวนการย่อยบางสถานี เข้ากับงานของกระบวนการประกอบหลัก และทำการผลิตในรูปแบบเซลลูล่าร์ 3 คน ต่อจุดการทำงานประกอบให้ได้ผลิตภัณฑ์ AAA และกำหนดเวลามาตรฐานของการทำงานแบบเซลลูล่าร์ โดยรูปแบบการผลิตจะเป็นไปในรูปแบบดึง โดยออกแบบให้เข้าใกล้การผลิตแบบไหลทีละชิ้น ผลจากการปรับปรุงพบว่า พื้นที่ในการผลิตลดลงจาก 219 ตารางเมตรเหลือ 111 ตารางเมตร หรือลดลง 49 เปอร์เซ็นต์ สถานีทำงานลดลงจาก 15 สถานีเหลือ 10 สถานี ใช้คนทำงานลดลงจาก 30 คนเหลือ 27 คน หรือลดลง 3 คน และรอบเวลาในการผลิตลดลงจาก 652 วินาที/ชิ้น เหลือ 574 วินาที/ชิ้น หรือประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 5.52 ชิ้น/คน/ชม. เป็น 6.27 ชิ้น/คน/ชม. หรือเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ สำหรับพื้นที่ที่ลดได้ 108 ตารางเมตร จะใช้ในการรองรับสายการผลิตของผลิตภัณฑ์ใหม่


การลดต้นทุนโดยการปรับส่วนผสมแก้วและปัจจัยในกระบวนการหลอม, อนุธิดา ทองอร่าม Jan 2018

การลดต้นทุนโดยการปรับส่วนผสมแก้วและปัจจัยในกระบวนการหลอม, อนุธิดา ทองอร่าม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยในกระบวนการเตรียมส่วนผสมและกระบวนการหลอมแก้วที่มีต่อต้นทุนการผลิตและจำนวนฟองอากาศในบล็อกแก้ว และหาค่าปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้มีต้นทุนที่เกี่ยวข้องต่ำที่สุดและมีจำนวนฟองอากาศอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ขั้นตอนการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในงานวิจัยนี้เลือกใช้เครื่องมือแผนผังสาเหตุและผล และเลือกใช้เมทริกซ์ของความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ในขั้นตอนการปรับปรุงได้ทำการทดลองเพื่อหาค่าที่เหมาะสมของปัจจัย โดยใช้แบบการทดลองแบบพื้นผิวผลตอบแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน จากนั้นจึงทำการสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับต้นทุนการผลิตและจำนวนฟองอากาศเพื่อหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้มีต้นทุนการผลิตและจำนวนฟองอากาศต่ำที่สุด พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ คือ อุณหภูมิเตาหลอม 1530 องศาเซลเซียส ปริมาณความชื้นส่วนผสม 2.5 เปอร์เซ็นต์ และสัดส่วนปริมาณเศษแก้วต่อปริมาณวัตถุดิบหลัก 26 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลที่ได้จากการปรับตั้งค่าระดับปัจจัยใหม่ พร้อมทั้งจัดทำวิธีการปฏิบัติงาน แผนควบคุมและแผ่นตรวจสอบการตั้งค่าเครื่องจักรก่อนเข้ากระบวนการเตรียมส่วนผสมและกระบวนการหลอม ผลการปรับปรุงจากการใช้ค่าปรับตั้งที่เหมาะสม พบว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ยก่อนปรับปรุงที่มีค่าเท่ากับ 513,760 บาทต่อวัน เปรียบเทียบกับหลังปรับปรุงมีค่าเท่ากับ 499,457 บาทต่อวัน ลดลงไปได้ 14,303 บาทต่อวัน หรือ 5,220,648 บาทต่อปี คิดเป็นต้นทุนการผลิตที่ลดลงไปได้ 2.78 เปอร์เซ็นต์ และจำนวนฟองอากาศเฉลี่ยหลังปรับปรุงเท่ากับ 244 ฟองต่อหนึ่งชิ้นงานบล็อกแก้ว เปรียบเทียบกับก่อนปรับปรุงที่เป็น 262 ฟองต่อหนึ่งชิ้นงานบล็อกแก้ว คิดเป็นจำนวนฟองอากาศที่ลดลงไปได้ 6.83 เปอร์เซ็นต์


การปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบและนโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบคงคลังสำหรับโรงงานผลิตขึ้นรูปเหล็กหล่อแบบออกแบบตามคำสั่งซื้อ, อัจฉรา จันวดี Jan 2018

การปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบและนโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบคงคลังสำหรับโรงงานผลิตขึ้นรูปเหล็กหล่อแบบออกแบบตามคำสั่งซื้อ, อัจฉรา จันวดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจขึ้นรูปเหล็กหล่อเพื่อใช้เป็นชิ้นส่วนหรืออะไหล่สำหรับเครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นธุรกิจที่ต้องออกแบบและผลิตตามความต้องการของลูกค้า โดยส่วนใหญ่แล้วไม่สามารถคาดการณ์คำสั่งซื้อของลูกค้าได้ล่วงหน้า เนื่องจากความต้องการใช้ชิ้นส่วนมีความผันผวนสูง อีกทั้งในการผลิตยังจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศซึ่งมีระยะเวลานำนาน ดังนั้นเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงจำเป็นต้องมีการเก็บวัตถุดิบคงคลังไว้เพื่อใช้ในการผลิต จากการศึกษาพบปัญหาการกำหนดนโยบายบริหารวัตถุดิบคงคลังที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดปัญหาวัตถุดิบขาดมือ และในขณะเดียวกันก็พบว่ามีปริมาณวัตถุดิบคงคลังมากเกินความต้องการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการวัตถุดิบคงคลังสำหรับโรงงานผลิตขึ้นรูปเหล็กหล่อแบบออกแบบตามคำสั่งซื้อ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนคือการพยากรณ์ความต้องการใช้วัตถุดิบ และการกำหนดนโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบคงคลัง ในขั้นตอนการพยากรณ์ความต้องการใช้วัตถุดิบ วัดผลความแม่นยำจากค่า Mean Absolute Percentage Error (MAPE) พบว่าวิธีการพยากรณ์แบบ Autoregressive Integrated Moving Average (ARIMA) ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด โดยค่าความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์เฉลี่ยลดลงถึง 34% และในส่วนของการกำหนดนโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบ พบว่านโยบายการทบทวนปริมาณวัตถุดิบคงคลังอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดค่าจุดสั่งซื้อและปริมาณสั่งซื้อจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด โดยสามารถเพิ่มระดับการบริการเป็น 94% ลดค่าการขาดสต็อกลงได้ 23% ลดค่าใช้จ่ายรวมลงได้ 19%


Understanding The Impact Of Large-Scale Power Grid Architectures On Performance, Ange-Lionel Toba Jan 2018

Understanding The Impact Of Large-Scale Power Grid Architectures On Performance, Ange-Lionel Toba

Engineering Management & Systems Engineering Theses & Dissertations

Grid balancing is a critical system requirement for the power grid in matching the supply to the demand. This balancing has historically been achieved by conventional power generators. However, the increasing level of renewable penetration has brought more variability and uncertainty to the grid (Ela, Diakov et al. 2013, Bessa, Moreira et al. 2014), which has considerable impacts and implications on power system reliability and efficiency, as well as costs. Energy planners have the task of designing infrastructure power systems to provide electricity to the population, wherever and whenever needed. Deciding of the right grid architecture is no easy task, …


Exploring Critical Success Factors Of Community Development Projects, Kevin Wanjama Muchiri Jan 2018

Exploring Critical Success Factors Of Community Development Projects, Kevin Wanjama Muchiri

Engineering Management & Systems Engineering Theses & Dissertations

The utilization of Community Development Projects in developing nations continues to increase in significance. In the wake of the latest Sustainable Development Goals, developing nations are working towards eliminating poverty, promoting sustainable cities and communities, gender equality, and health and well-being. Although Community Development Projects have become prevalent, the challenge has been that some are successful, while others fail. This dissertation investigates what makes Community Development Projects successful.

This dissertation implemented a comprehensive quantitative analysis using data collected from over one hundred community development projects obtained from The World Bank database. These projects took place in developing nations around the …


Human-Intelligence And Machine-Intelligence Decision Governance Formal Ontology, Faisal Mahmud Jan 2018

Human-Intelligence And Machine-Intelligence Decision Governance Formal Ontology, Faisal Mahmud

Engineering Management & Systems Engineering Theses & Dissertations

Since the beginning of the human race, decision making and rational thinking played a pivotal role for mankind to either exist and succeed or fail and become extinct. Self-awareness, cognitive thinking, creativity, and emotional magnitude allowed us to advance civilization and to take further steps toward achieving previously unreachable goals. From the invention of wheels to rockets and telegraph to satellite, all technological ventures went through many upgrades and updates. Recently, increasing computer CPU power and memory capacity contributed to smarter and faster computing appliances that, in turn, have accelerated the integration into and use of artificial intelligence (AI) in …


Analyzing Sensor Based Human Activity Data Using Time Series Segmentation To Determine Sleep Duration, Yogesh Deepak Lad Jan 2018

Analyzing Sensor Based Human Activity Data Using Time Series Segmentation To Determine Sleep Duration, Yogesh Deepak Lad

Masters Theses

"Sleep is the most important thing to rest our brain and body. A lack of sleep has adverse effects on overall personal health and may lead to a variety of health disorders. According to Data from the Center for disease control and prevention in the United States of America, there is a formidable increase in the number of people suffering from sleep disorders like insomnia, sleep apnea, hypersomnia and many more. Sleep disorders can be avoided by assessing an individual's activity over a period of time to determine the sleep pattern and duration. The sleep pattern and duration can be …