Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theatre and Performance Studies Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

14,848 Full-Text Articles 8,283 Authors 7,388,296 Downloads 276 Institutions

All Articles in Theatre and Performance Studies

Faceted Search

14,848 full-text articles. Page 142 of 404.

Reseña: Ana María Díaz Marcos. Escenarios De Crisis: Dramaturgas Españolas En El Nuevo Milenio. Sevilla, Benilde Ediciones, 2018., Ana Sánchez Catena 2019 Independent Scholar

Reseña: Ana María Díaz Marcos. Escenarios De Crisis: Dramaturgas Españolas En El Nuevo Milenio. Sevilla, Benilde Ediciones, 2018., Ana Sánchez Catena

Teatro: Revista de Estudios Escénicos / A Journal of Theater Studies

No abstract provided.


Reseña: Alejandro Yarza. The Making And Unmaking Of Francoist Kitsch Cinema: From “Raza” To Pan’S Labyrinth. Edinburgh: Edinburgh University Press, 2018, Cristina Moreiras-Menor 2019 University of Michigan

Reseña: Alejandro Yarza. The Making And Unmaking Of Francoist Kitsch Cinema: From “Raza” To Pan’S Labyrinth. Edinburgh: Edinburgh University Press, 2018, Cristina Moreiras-Menor

Teatro: Revista de Estudios Escénicos / A Journal of Theater Studies

No abstract provided.


Volume 11, Jacob Carney, Ryan White, Joseph Hyman, Jenny Raven, Megan Garrett, Ibrahim Kante, Summer Meinhard, Lauren Johnson, William "Editha" Dean Howells, Laura Gottschalk, Christopher Siefke, Pink Powell, Natasha Woodmancy, Katharine Colley, Abbey Mays, Charlotte Potts 2019 Longwood University

Volume 11, Jacob Carney, Ryan White, Joseph Hyman, Jenny Raven, Megan Garrett, Ibrahim Kante, Summer Meinhard, Lauren Johnson, William "Editha" Dean Howells, Laura Gottschalk, Christopher Siefke, Pink Powell, Natasha Woodmancy, Katharine Colley, Abbey Mays, Charlotte Potts

Incite: The Journal of Undergraduate Scholarship

Table of Contents:

Introduction, Dr. Roger A. Byrne, Dean

From the Editor, Dr. Larissa "Kat" Tracy

From the Designers, Rachel English, Rachel Hanson

Synthesis of 3,5-substituted Parabens and their Antimicrobial Properties, Jacob Coarney, Ryan White

Chernobyl: Putting "Perestroika" and "Glasnot" to the Test, Joseph Hyman

Art by Jenny Raven

Watering Down Accessibility: The Issue with Public Access to Alaska's Federal Waterways, Meagan Garrett

Why Has the Democratic Republic of the Congo outsourced its Responsibility to Educate its Citizens? Ibrahim Kante

Art by Summer Meinhard

A Computational Study of Single Molecule Diodes, Lauren Johnson

Satire of …


Vox Machinal : The Voice In The Machine, Phoebe Hiltermann 2019 Bard College

Vox Machinal : The Voice In The Machine, Phoebe Hiltermann

Senior Projects Spring 2019

Senior Project submitted to The Division of Arts of Bard College.

A radio play and foray into the psychosis of a woman through sound, dance, and puppetry.


Dancing Through It: Enhancing Psychological Recovery In Dance, Peta A. L. Blevins 2019 Edith Cowan University

Dancing Through It: Enhancing Psychological Recovery In Dance, Peta A. L. Blevins

Theses: Doctorates and Masters

Achieving elite level performance in dance requires intensive training and physical demands that may put dancers at risk of underrecovery and overtraining if not balanced with adequate recovery. Dancers have been shown to be susceptible to overtraining and burnout (Koutedakis, 2000), however, little is known about how dancers balance training and non-training stress with recovery to counteract negative training outcomes. This thesis investigated psychological recovery among vocational dance students, using a mixed-method study design to examine dancer experiences of stress and recovery, and the effectiveness of a mindfulness intervention in enhancing psychological recovery in vocational dance training. Study 1 explored …


ยุคทองของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในประเทศไทย, ชุมพล ชะนะมา 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

ยุคทองของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในประเทศไทย, ชุมพล ชะนะมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องยุคทองของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ค้นหายุคทอง แนวความคิด และรูปแบบการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2530 – 2560 และเพื่อศึกษาผลกระทบทางบริบทในสังคมและวัฒนธรรมต่องานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย เป็นการศึกษาและใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสัมมนา สื่อสารสนเทศอื่น ๆ และการสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยนำข้อมูลที่ได้มาศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์ให้ได้มาซึ่งผลของการวิจัย และสรุปผลตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ยุคทองของนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในประเทศไทย อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2536 – 2550 แนวความคิดของงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยเกิดขึ้นในประเทศไทย คือ 1) แนวคิดการสร้างสรรค์งานจากบทวรรณกรรมเดิมในรูปแบบใหม่ 2) แนวคิดในการนำวัฒนธรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมดั้งเดิม 3) แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ 4) แนวคิดการเต้นเฉพาะที่ 5) แนวคิดการแสดงที่สะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโลก 6) แนวคิดการแสดงดั้งเดิมของอาเซียนผ่านมุมมองของศิลปะร่วมสมัย 7) แนวคิดลีลาแบบธรรมชาติ 8) แนวคิดการด้นสด 9) แนวคิดการมีส่วนร่วม และใส่ใจของชุมชน 10) แนวคิดการออกแบบลีลานาฏยศิลป์ไม่ระบุเพศ 11) แนวคิดการแสดงที่อาศัย องค์ความรู้ที่หลากหลายมากกว่าองค์ความรู้ 12) แนวคิดการสร้างสรรค์งานด้วยคุณธรรมและจริยธรรม โดยมีรูปแบบของงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่นำเสนอแนวคิดออกมาเห็นเชิงประจักษ์ มีความแตกต่างจากรูปแบบของงานนาฏยศิลป์ไทยที่มีจารีต และกรอบของรูปแบบการแสดงอย่างชัดเจนผลกระทบที่เกิดจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นต่องานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ได้ปรากฏขึ้น 7 ประเด็นคือ 1) การเมือง การปกครอง และนโยบายด้านการบริหารงานวัฒนธรรมของภาครัฐ 2) การศึกษาทางนาฏยศิลป์ 3) การสร้างสรรค์และการแข่งขันทางนาฏยศิลป์ 4) การประกอบธุรกิจทางนาฏยศิลป์ 5) ศิลปะการแสดงละครเวทีในประเทศไทย 6) ศิลปะตะวันตกและศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย 7) ดนตรีไทยร่วมสมัยในประเทศไทย ผลการวิจัยนี้ทำให้ผู้วิจัยได้พบองค์ความรู้ตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ


ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พื้นที่กับการแสดง, ธนันยวรรณ ศรีทรัพโยทัย 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พื้นที่กับการแสดง, ธนันยวรรณ ศรีทรัพโยทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พื้นที่กับการแสดง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของสถานที่เพื่อการแสดงและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สถานที่แสดงกับรูปแบบนาฏยศิลป์ มีวิธีการดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลทางเอกสาร การลงพื้นที่ภาคสนามและการสัมภาษณ์ ขอบเขตการศึกษามุ่งเน้นศึกษาความหลากหลายของการใช้สถานที่เพื่อการแสดงตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ.2562 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สถานที่แสดงกับรูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า การใช้สถานที่เพื่อการแสดงนาฏยศิลป์นั้นมีความหลากหลาย ผู้วิจัยได้จำแนกประเภทสถานที่จากสภาพแวดล้อมของสถานที่ในแต่ละแห่ง สามารถจำแนกได้เป็น 9 ประเภท คือประเภทลาน ประเภทลู่ ประเภทโบราณสถาน ประเภทแหล่งธรรมชาติ ประเภทยานพาหนะ ประเภทอาคารสาธารณะ ประเภทบ้านเรือน ประเภทสระน้ำ และประเภทผสมผสาน สถานที่ในแต่ละแห่งมีข้อจำกัดในการใช้พื้นที่ที่ต่างกัน บางสถานที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน แก้ไข การใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับการแสดง ศิลปินและผู้สร้างสรรค์ผลงานจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงความสัมพันธ์เรื่องการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับสถานที่และการแสดง เกี่ยวกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสถานที่ ปัจจัยเรื่องรูปแบบการแสดง องค์ประกอบในการแสดง กระบวนการแสดง ข้อกำหนดบังคับในการแสดง โอกาสในการแสดง และการใช้พื้นที่ในการแสดง เพราะการแสดงนาฏยศิลป์แต่ละรูปแบบมักจะมีธรรมเนียมทางการแสดงเป็นของตนเอง จึงมีพื้นที่สำหรับการแสดงและพื้นที่ใช้สอยตลอดจนการจัดวางของอุปกรณ์การแสดงในแต่ละรูปแบบที่ต่างกัน ทำให้รูปแบบ ขนาด และลักษณะของสถานที่เพื่อการแสดงแต่ละประเภทแตกต่างกันด้วย สถานที่แสดงและการแสดงนาฏยศิลป์นั้นจึงจำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างกันเพื่อทำให้การแสดงในแต่ละรูปแบบนั้นเกิดความสมบูรณ์มากที่สุด


เทศกาลละครกรุงเทพ, ธิดามาศ ผลไม้ 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

เทศกาลละครกรุงเทพ, ธิดามาศ ผลไม้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง “เทศกาลละครกรุงเทพ Bangkok Theater Festival นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมาและรูปแบบการแสดงของงานเทศกาลละครกรุงเทพ ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจาก เอกสาร สัมภาษณ์ การสังเกตการณ์และเข้าร่วมเป็นจิตอาสาในงานเทศกาลละครกรุงเทพ ในปีพ.ศ. 2562 ผู้วิจัยได้ศึกษาพบว่า เทศกาลละครกรุงเทพเป็นงานชุมนุมการแสดง โดยคณะละครและกลุ่มการแสดงต่าง ๆ ของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มละครได้ 10 กลุ่ม เพื่อสร้างเครือข่ายทำให้เกิดเป็น เครือข่ายละครกรุงเทพ รวมถึงการเชื่อมโยงกลุ่มบุคคลต่าง ๆ กลุ่มคณะละคร กลุ่มศิลปินอิสระ กลุ่มอาจารย์ด้านการแสดงหลากหลายแขนง และรวมถึงกลุ่มนิสิต นักศึกษา จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง เริ่มจากปีพ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน รวมเป็น 18 ปี ความโดดเด่นของเทศกาลละครคือ การจัดงานเป็นประจำปีทุกปี ช่วงเดือนพฤศจิกายน มีความต่อเนื่องเป็นประจำ จึงทำให้เห็นถึงความสม่ำเสมอของการจัดงานเทศกาล การทำงานของงานเทศกาลละครกรุงเทพ ทำให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์และพื้นที่ในการสร้างงานผ่านศิลปะการละคร รวมไปถึงศิลปะการแสดงในหลากหลายแขนง เทศกาลละครกรุงเทพเป็นเหมือนพื้นที่ให้กับกลุ่มคนทำละคร ได้มีพื้นที่ในการสร้างงานละคร และการแสดงต่าง ๆ เนื่องจากเทศกาลละครกรุงเทพเปิดรับกลุ่มงานแสดงทุกประเภท ไม่ปิดกั้น จึงทำให้งานแต่ละชิ้นงานของศิลปินมีความหลากหลาย ผลิตงานละครและงานศิลปะให้มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนเพื่อสร้างความโดดเด่นและความแตกต่าง จึงส่งผลให้เทศกาลละครกรุงเทพเป็นที่น่าสนใจในกลุ่มคนทำละคร และกลุ่มละครที่ต้องการอยากจะทดลองทำงานได้เข้ามาสร้างสรรค์ผลงานผ่านงานเทศกาลละครกรุงเทพ เอกลักษณ์เฉพาะของเทศกาลคือมีรูปแบบที่เป็นของตนเอง เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีตัวเลือกของงานละครและงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ ให้ผู้ชมได้เลือกได้ด้วยตนเอง มีการขยายพื้นที่ จัดแสดงตามร้านอาหาร โรงละครในกรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดการขยายฐานคนดูให้เพิ่มมากขึ้น โดยต้องการให้เทศกาลละคร สร้างตัวตนและงานละครให้มีการเติบโตกว้างขวาง รวมถึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่ทำให้งานละครเข้ากับกลุ่มละครและผู้ชม พัฒนาศักยภาพของศิลปินการละครร่วมสมัยให้เกิดความยั่งยืนขยายพื้นที่การแสดงด้านศิลปะการละครร่วมสมัย ให้เป็นส่วนหนึ่งทั่วกรุงเทพมหานคร


การรำลิเก ทาง ครูเด่นชัย เอนกลาภ, มนัสวี กาญจนโพธิ์ 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

การรำลิเก ทาง ครูเด่นชัย เอนกลาภ, มนัสวี กาญจนโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การรำลิเกทางครูเด่นชัย เอนกลาภ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรำลิเกในรูปแบบของครูเด่นชัย เอนกลาภ ซึ่งเป็นเป็นบุคคลสำคัญทางวงการลิเก ที่มีกระบวนการสืบทอดการแสดงลิเกจากครูหอมหวล นาคศิริและครูละครจากวังสวนกุหลาบ ผนวกกับประสบการณ์ในการแสดงลิเกจนกระทั่งเป็นรูปแบบการรำเฉพาะทางที่มีความงาม ประเด็นที่ศึกษาประกอบไปด้วย การรำหน้าพาทย์เพลงเสมอออกภาษา ซึ่งเป็นเพลงหน้าพาทย์ใช้ประกอบกิริยาการเดินทางของตัวละครในการแสดงลิเก จำนวน 5 เพลง ได้แก่ 1. เพลงเสมอไทย 2. เพลงเสมอพม่า 3. เพลงเสมอมอญ 4. เพลงเสมอลาว 5. เพลงเสมอเขมร นอกจากการรำเพลงเสมอออกภาษาต่าง ๆ ผู้วิจัยได้ศึกษาการรำที่สำคัญอีกคือการรำเข้าพระเข้านางหรือรำเกี้ยวเป็นการรำของตัวพระและตัวนางในบทรักใช้เพลงมะลิเลื้อย และการรำอวดความสามารถขี่ม้ารำทวน ที่เป็น ความถนัดเฉพาะของครูเด่นชัย เอนกลาภ จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า อัตลักษณ์การรำลิเกทางครูเด่นชัย เอนกลาภ นั้นมีลักษณะวิธีการปฏิบัติในรูปแบบการรำตามโครงสร้างของเพลงในลักษณะเดียวกันกับทางนาฎศิลป์ไทยแต่กระบวนท่ารำนั้นแตกต่างออกไปตามความถนัดและทักษะของผู้แสดง การใช้ศีรษะและสายตาในทางการรำลิเกนั้นพบว่ามีลักษณะการเคลื่อนที่คือการกล่อมใบหน้าและการมองที่เป็นอิสระโดยสายตาส่วนใหญ่ของการรำลิเกนั้นจะเน้นมองไปหาผู้ชมเป็นหลัก การใช้มือในการปฏิบัติท่ารำพบว่าใช้การดึงมือออกไปข้างลำตัวให้มีลักษณะท่ารำหรือการตั้งวงที่กว้างขึ้นกว่าทางนาฎศิลป์ นอกจากนั้นยังพบอีกว่าครูเด่นชัย เอนกลาภ มีจุดเด่นในเรื่องของการตั้งวงที่มีความอ่อนของนิ้วมือเป็นอย่างมากจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลักษณะการตั้งวงและการใช้มือนั้นเกิดความงามเป็นรูปแบบเฉพาะทาง การใช้ลำตัวมีลักษณะการตั้งลำตัวตรง ไม่เกร็งบริเวณเอว ตั้งลำตัวตรงไม่ดันอกขึ้น การใช้เท้าพบว่ามีลักษณะสำคัญในการปฏิบัติท่ารำนั้น ยกเท้าที่สูง ยกส้นเท้าก่อนยกปลายเท้าเพื่อเป็นการทรงตัวในการวางเท้า การรำลิเกนั้นเป็นการรำแบบอิสระสามารถด้นกระบวนท่ารำขึ้นเองได้ตามภูมิปัญญาและทักษะของผู้แสดงโดยเน้นตามความนิยมผู้ชมหากผู้ชมชอบการแสดงแบบไหนลิเกก็จะแสดงแบบนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในขณะนั้นจึงทำให้การรำของลิเกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทาง และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งแต่อยู่บนพื้นฐานหลักการรำและการแสดงที่ได้รับถ่ายทอดจากครูลิเกต่อไป


Management For Publicizing Thai Dance In A Foreign Country : The Case Study Of Lor (Love, Obsession, Revenge) Performed At Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Canada, Nawarit Rittiyotee 2019 Faculty of Fine and Applied Arts

Management For Publicizing Thai Dance In A Foreign Country : The Case Study Of Lor (Love, Obsession, Revenge) Performed At Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Canada, Nawarit Rittiyotee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research was to study and to shape concepts in the management for publicizing Thai dance in a foreign country. This study employed Love, Obsession, Revenge, or shortly, LOR as a case study and this Thai dance had already been performed at the Fei & Milton Wong Experimental Theatre, Simon Fraser University, Canada. Autoethnography methodology was applied as the research method in this study as the researcher was part of the team. Nineteen observations were conducted and analyzed by comparing and contrasting theories and personal experiences. The findings revealed that partnership with international organization facilitated management for …


สัญวิทยาแห่งตัวละครหญิงในงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี, ชลาลัย วงศ์อารีย์ 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

สัญวิทยาแห่งตัวละครหญิงในงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี, ชลาลัย วงศ์อารีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “สัญวิทยาแห่งตัวละครหญิงในงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบและแนวคิดการสร้างงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเชิงสัญวิทยา รวมทั้งการตีความในเชิงสัญวิทยาเพื่อนำไปสู่การสวมบทบาทความเป็นเพศหญิงด้วยลักษณะเฉพาะตัว จากการศึกษาการแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด Ballerina : The pathetic creature นางระบำปลายเท้าผู้น่าเวทนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเลือกใช้วิธีดำเนินงานวิจัย ได้แก่ การค้นคว้าข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การชมการแสดงจากสื่อสารสนเทศ นำข้อมูลที่ได้มาศึกษา วิเคราะห์ และสรุปผลเป็นรูปเล่มวิทยานิพนธ์ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ผลงานนาฏศิลป์ร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรีมีรูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานจากการออกแบบองค์ประกอบในการแสดงแต่ละด้านให้มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งสามารถอธิบายผ่านกระบวนการทางสัญวิทยาจากแนวคิดทั้ง 3 ทฤษฎี ได้แก่ 1)แนวคิดสัญญะแบบทวิลักษณ์ของแฟร์ดิน็องด์ เดอ โซซูร์ ประกอบด้วยการตีความผ่านรูปสัญญะ และ ความหมายสัญญะ 2)แนวคิดสัญญะแบบไตรลักษณ์ของชาร์ลส์ แซนเดอร์ เพิร์ซ ประกอบด้วย สัญญะ วัตถุ และสัญผล 3)แนวคิดสัญญะที่อยู่ในกระบวนการทำงานของมายาคติ ของโรล็องด์ บาร์ตส์ และเมื่อตีความผ่านการสร้างเค้าโครงเรื่อง การจัดวางองค์ประกอบการแสดง ลีลาการเคลื่อนไหว และการนำอารมณ์ความรู้สึกในมุมต่าง ๆ มาเป็นตัวแทนของการสื่อถึงผู้หญิง ส่งผลให้บทบาทการแสดงความเป็นเพศหญิงมีความเด่นชัดมากขึ้น นอกจากนี้พบว่ามีการแฝงหลักธรรมที่ว่าด้วยการเป็นไปตามธรรมดาของโลกเพื่อให้ผู้ชมได้ตระหนักในตอนจบของการแสดง ทำให้เห็นถึงความลุ่มลึกของผู้สร้างสรรค์ผลงานในการใช้ประโยชน์จากสัญญะที่สร้างขึ้น ถือได้ว่าเป็นผลงานแม่แบบในการสร้างผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเชิงสัญวิทยาต่อไป


โขนสมัครเล่น, ปิยะพล รอดคำดี 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

โขนสมัครเล่น, ปิยะพล รอดคำดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิวัฒนาการและคุณูปการของโขนสมัครเล่นในกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325-2561) และ ศึกษากระบวนการจัดการองค์กรโขนสมัครเล่น ผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ในการค้นคว้าและรวบรวมเอกสารทั้งชั้นต้น และชั้นรอง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การสังเกตการณ์ และสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนที่เป็นปัจจัยในวิวัฒนาการของโขนสมัครเล่น คือ ผู้จัดการแสดง ผู้แสดง ครูผู้สอน และผู้สนับสนุน และพิจารณาการวิวัฒนาการของโขนสมัครเล่นได้จากการจัดการแสดง คือ วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน โอกาสในการจัดการแสดง งบประมาณ บทโขน และเครื่องแต่งกาย วิวัฒนาการและคุณูปการของโขนสมัครเล่นแบ่งได้เป็น 4 ยุค ยุคที่ 1 อยุธยา และธนบุรี พ.ศ. 1893-2325 วิวัฒนาการ : ยุคกำเนิดวางรากฐาน บทโขน และรูปแบบการแสดง คุณูปการ : ด้านพิธีกรรม การปกครอง และการทหาร ยุคที่ 2 รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2452 วิวัฒนาการ : ด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบ เนื้อเรื่องรามเกียรติ์ บทพากย์ และเทคโนโลยีการจัดการแสดงคุณูปการ : การพัฒนารูปแบบ บทโขนโรงในยุคต่อมา โอกาสในการแสดง และสร้างงาน ยุคที่ 3 รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2452-2488 วิวัฒนาการ : ครูโขนมีบรรดาศักดิ์ ผลิตทั้งศิลปินโขนอาชีพกับโขนสมัครเล่น เล่นตามสมัครใจ บทสั้นกระชับ และชุดราชประดิษฐ์ คุณูปการ : ต้นแบบของการอนุรักษ์ การศึกษานาฎศิลป์ บทโขนโรงใน และรูปแบบการจัดการแสดงยุคต่อมา ยุคที่ 4 รัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2488-2561 วิวัฒนาการ : โขนย้ายจากหลวงมาสู่รัฐ บทโขนโรงในแบบกรมศิลปากร และเกิดโขนสมัครเล่นในหลายองค์กรคุณูปการ : ยกย่องพระมหากษัตริย์ เป็นสื่อในเรื่องการเมือง การทูต และเป็นส่วนสำคัญทำให้โขนไทยได้รับการยอมรับในระดับโลก กระบวนการจัดการองค์กรโขนสมัครเล่น สามารถแบ่งได้ 5 รูปแบบ 1) โขนสมัครเล่นหลวง …


การประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, นรีภัค แป้นดี 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

การประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, นรีภัค แป้นดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและรูปแบบการออกแบบสร้างสรรค์การแสดงกลองยาวรูปแบบใหม่จากวงกลองยาวที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยการสืบค้นข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องและการสังเกตการณ์จากวีดิทัศน์การแสดงกลองยาวจากวงที่ผู้วิจัยทำการศึกษาจำนวน 2 วง ได้แก่ วงเอกทันต์รางวัลชนะเลิศปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2554 และวงศิวบุตรรางวัลชนะเลิศปี พ.ศ.2557 ผู้วิจัยพบว่า การจัดการประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นการประกวดในรูปแบบของการอนุรักษ์และพัฒนา โดยวงที่เข้าร่วมการประกวดจะต้องสร้างสรรค์การแสดงขึ้นใหม่ ส่งผลให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละวง เป็นการพัฒนารูปแบบการแสดงจากการรำกลองยาวแบบมาตรฐานที่มีแต่เดิม จากการศึกษารูปแบบการแสดงของวงกลองยาววงเอกทันต์และวงศิวบุตรพบว่า ได้มีการนำรูปแบบการสร้างสรรค์ที่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของการรำเถิดเทิงของกรมศิลปากร โดยมีรูปแบบที่โดดเด่นและแปลกใหม่ ดังนี้ 1. การใช้ชื่อวงในการประพันธ์บทร้องเพื่อแสดงเอกลักษณ์และเป็นที่จดจำต่อผู้ชม 2. มีการต่อตัวและการตีลังกาในการแสดง 3. ใช้ลีลาท่ารำเป็นการผสมผสานของการแสดงในภาคกลางหลายประเภท ได้แก่ รำกลองยาวชาวบ้าน รำเถิดเทิง รำแม่บทเล็ก รำแม่บทใหญ่ การละเล่นลาวกระทบไม้และรำวงมาตรฐาน 4. การใช้รูปแบบการแปรแถวหลักที่พบ 9 แบบ ได้แก่ แถวตอน แถววงกลม แถวปากพนัง แถวหน้ากระดาน แถวครึ่งวงกลม แถวเฉียง แถวตัวเอ (A) แถวตัวดับเบิลยู (W) และแถวตั้งซุ้ม มาสร้างสรรค์เพิ่มเติมโดยการผสมผสานกันทำให้เกิดรูปแบบแถวใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดงกลองยาวเพื่อการประกวด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนหรือกลุ่มคนที่สนใจแข่งขันกลองยาวมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนารูปแบบการแสดงกลองยาวต่อไปอนาคต


ลอดิลกล่มฟ้า : การผสานนาฏยศิลป์ไทยกับละครตะวันตกเพื่อสร้างอัตลักษณ์ละครสมัยใหม่ของไทย, พรรณศักดิ์ สุขี 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

ลอดิลกล่มฟ้า : การผสานนาฏยศิลป์ไทยกับละครตะวันตกเพื่อสร้างอัตลักษณ์ละครสมัยใหม่ของไทย, พรรณศักดิ์ สุขี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการค้นหา ทดลอง แนวความคิดและกระบวนการสร้างสรรค์ละครเวทีไทยเรื่อง “ลอดิลกล่มฟ้า” (LOR : Love, Obsession, Revenge” เพื่อจัดแสดงในประเทศแคนาดา โดยใช้รูปแบบงานวิจัยสร้างสรรค์ที่ลงมือปฏิบัติจริงในการสร้างสรรค์ละครเวที และงานวิจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ผล ผลการวิจัยพบว่า ละครไทยสามารถสื่อสารกับผู้ชมต่างชาติได้อย่างดีและมีอัตลักษณ์ ด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ 4 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นตอนก่อนดำเนินงานสร้าง ประกอบด้วยการกำหนดแนวคิดในการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยให้มีความสากล ด้วยการสังเคราะห์ทฤษฎีโศกนาฏกรรมของอริสโตเติลเพื่อตีความบทวรรณกรรมเรื่องลิลิตพระลอให้สื่อสารได้อย่างมีความเป็นสากล โดยเน้นแนวคิดเรื่องชะตากรรมหรือเจตจำนงเสรี การสร้างบทละครตามทฤษฎีประพันธศิลป์ และการวางแผนงานตามระบบสากล 2. ขั้นตอนการดำเนินงานสร้าง ประกอบด้วยกระบวนการซ้อมที่ใช้แนวทางการแสดงตามระเบียบวิธีว่าด้วยกรรมรูปธรรมของคอนสแตนติน สตานิสลาฟสกี ผสานเข้ากับการแสดงและนาฏลีลาการฟ้อนเจิงดาบที่มีความหมายเชิงสัญวิทยาทั้งในระดับโลกียะและโลกุตระ แนวทางการกำกับการแสดงที่มุ่งเน้นความเป็นเจ้าของผลงานของผู้กำกับการแสดงผ่านแก่นความคิด แนวคิด และการสร้างภาพบนเวที 3. ขั้นตอนการแสดง จัดแสดง เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2558 ณ โรงละครเฟย แอนด์ มิลตัน หว่อง นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ผู้ชมส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศเข้าใจและมีอารมณ์ร่วมกับละครได้ดีด้วยแก่นความคิดที่เป็นสากล ขณะเดียวกันก็รู้สึกสัมผัสได้ถึง “ความเป็นไทย” จากทั้งรูปแบบและเนื้อหา 4. ขั้นตอนหลังดำเนินงานสร้าง ผู้จัดและผู้สนับสนุนโครงการเห็นความคุ้มค่าเนื่องจากได้เผยแพร่ศักยภาพของศิลปินยุคใหม่ของไทยสาขาศิลปะการแสดง และละครสมัยใหม่ของไทย


นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์, พิมวลี ดีสม 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

นาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์, พิมวลี ดีสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานาฏกรรมในพิธีกรรมปัญโจลมะม็วด จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์และการมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมปัญโจลมะม็วด เป็นพิธีกรรมในการรักษาโรคตามคติความเชื่อของคนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรว่าผู้ป่วยมีสิ่งชั่วร้ายเข้าสิง จึงต้องให้มะม็วดซึ่งเป็นสตรีในสายตระกูลเท่านั้นมาทำพิธีเข้าทรงเชิญวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มากำจัดสิ่งชั่วร้ายนั้น พิธีมี 11 ขั้นตอน คือ 1. การปรับพื้นที่ตามฤกษ์ 2. การปลูกปะรำพิธี 3. การนำผู้ป่วยเข้าประจำที่ 4. การโหมโรงดนตรี 5. การไหว้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ 6. การรำเข้าทรงของมะม็วด 7. การรำกำจัดสิ่งชั่วร้าย 8. การรำเชิญวิญญาณศักดิ์สิทธิ์มาช่วยรักษา 9. การรำเชิญวิญญาณทั้งหมดกลับ 10. การรำเรียกขวัญผู้ป่วย 11.การรำลา นาฏกรรมในพิธีกรรมนี้ปรากฏอยู่ 3 วัตถุประสงค์ คือ 1. การรำบวงสรวง คือ การรำไหว้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง 2. การรำรักษา คือ การรำดาบเพื่อฟันสิ่งชั่วร้าย 3. การรำเฉลิมฉลอง คือ การรำเพื่อยินดีกับผู้ป่วยที่รักษาหาย ผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ไทย เป็นการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไปและยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่กระบวนการการสร้างความสามัคคี อันนำไปสู่ความสงบสุขร่มเย็นของสังคมไทย


การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา, อรอุทัย นิลนาม 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา, อรอุทัย นิลนาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงในงานศิลปวัฒธรรมอุดมศึกษา เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา โดยขอบเขตการศึกษา คือ งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 – 19 ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร 2) การสัมภาษณ์บุคคล กลุ่มที่ 1 ที่ปรึกษางานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา กลุ่มที่ 2 สมาชิกเครือข่ายอุดมศึกษาทางด้านนาฏยศิลป์ กลุ่มที่ 3 นิสิต นักศึกษาที่ได้รวมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา 3) ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง 4) การลงพื้นที่ภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า การแสดงที่ปรากฏในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 1 – 19 ปรากฏการแสดง 5 ประเภท 23 รูปแบบการแสดง โดยการแสดงที่นำมาแสดงมากมากที่สุดถึงร้อยละ 62 ของการแสดงทั้งหมด คือการแสดงสร้างสรรค์นาฏยศิลป์พื้นบ้าน (ระบำ) โดยมีปัจจัยในการเลือกชุดการแสดง ดังนี้ 1) ความถนัด เอกลักษณ์ ทางด้านนาฏยศิลป์ของแต่ละมหาวิทยาลัย 2)สถานที่จัดงานและสถานที่จัดแสดง 3) งบประมาณ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้โดยการแสดงที่นำมาแสดงคือการแสดงสร้างสรรค์นาฏยศิลป์พื้นบ้าน (ระบำ) สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในความสามารถทางด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ของแต่ละสถาบันที่เข้าร่วม ที่นำเอาวิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือการแสดงที่เคยมีอยู่แล้วนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงงานทางด้านนาฏยศิลป์ และจากการศึกษาการจัดการการแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา พบว่าเป็นโครงการที่ตอบสนองนโยบาย ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทำให้เกิดการรวมตัวกัน เพื่อจัดงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา โดยผลการประเมินการจัดงานในแต่ละครั้งมีผลการประเมินด้านตัวชี้วัดในทุกด้านอยู่ในระดับ ดี – ดีมาก และงานนี้ถือเป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการอนุรักษ์การแสดงนาฏยศิลป์ที่เป็นแบบแผนตามแบบกรมศิลปากร เนื่องด้วยงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาป็นงานที่ให้ว่าที่บัณฑิตได้ฝึกฝน การสร้างสรรค์ผลงาน การจัดการการแสดง การสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นการสืบทอด อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่โดยคนรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์รวมของบุคลากรวงการนาฏศิลป์ไทยได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนาผลงานทางด้านนาฏยศิลป์รูปแบบต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต


งานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง พระลอ ตอน ศึกโหงพราย, สุพจน์ จูกลิ่น 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

งานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง พระลอ ตอน ศึกโหงพราย, สุพจน์ จูกลิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์เรื่องพระลอ ตอน “ศึกโหงพราย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและขั้นตอนกระบวนการสร้างสรรค์การแสดงนาฏยศิลป์เรื่องพระลอ ตอน “ศึกโหงพราย”ตามแนวนิยมความเรียบง่าย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านการถ่ายทอดความคิดและการสร้างสรรค์ลีลาท่าทางการแสดงนาฏยศิลป์ เรื่องพระลอ ตอน “ศึกโหงพราย” โดยอาศัยขอบเขตและหลักการแนวนิยมความเรียบง่ายเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน โดยมีขั้นตอนในการสร้างสรรค์ทั้งหมด 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดกรอบแนวคิดหลักและขอบเขตเนื้อหาบทการแสดง 2. การกำหนดรูปแบบของการแสดง 3. การนำเสนอกรอบแนวคิดและรูปแบบการแสดง 4. การเลือกสรรดนตรี 5. การคัดเลือกนักแสดง 6. การคัดสรรอุปกรณ์ประกอบการแสดงและการออกแบบเครื่องแต่งกาย 7. การสร้างสรรค์ลีลาท่าทางและทดลองการแสดง 8. อภิปรายผลการวิจัยผลงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เรื่องพระลอ ตอน “ศึกโหงพราย” ซึ่งปรากฏเป็นองค์ความรู้ในงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ เรื่อง พระลอ ตอน ศึกโหงพราย โดยผลของการแสดงปรากฏว่าผู้ชมสามารถรับความรู้ที่เป็นใจความสำคัญผ่านการแสดงตามรูปแบบที่ผู้สร้างสรรค์ได้เลือกใช้ และตรงตามวัตถุประสงค์ตามแนวนิยมความเรียบง่ายอีกทั้งเป็นการเผยแพร่วรรณกรรมไทย เรื่อง พระลอ ในตอนที่ยังไม่มีปรากฎเป็นงานนาฏกรรมสู่สังคมไทยอีกด้วย


วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กับการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนา, เอกชัย ศรีรันดา 2019 คณะศิลปกรรมศาสตร์

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กับการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนา, เอกชัย ศรีรันดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่อง “วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่กับการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์ล้านนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางอนุรักษ์และพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์แบบล้านนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ มีขอบเขตของการวิจัย คือ ศึกษารูปแบบการฟ้อนแบบนาฏศิลป์ล้านนาในสายคุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ที่วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ได้รับถ่ายทอด และการพัฒนาชุดการแสดงทั้ง 3 ช่วง ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 จนถึง พ.ศ. 2561 รวมระยะเวลา 47 ปี ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล จัดลำดับและเรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่เป็นสถาบันการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองประจำภาคเหนือที่ “สร้างศาสตร์แห่งศิลป์” ด้วยการดำเนินการตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดเป้าหมายสำคัญใน 2 ประเด็น คือ การอนุรักษ์และพัฒนา ด้วยการการสืบสาน สร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมผ่านนโยบายการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา นโยบายการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษานั้นในด้านการอนุรักษ์และพัฒนาของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จะให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดองค์ความรู้นาฏศิลป์ล้านนา เริ่มต้นจากการเชิญช่างฟ้อนที่เคยอยู่ในคุ้มพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และช่างฟ้อนที่มีความสามารถเข้ามาถ่ายทอดรูปแบบการฟ้อนรำให้กับนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ แล้วนำนาฏศิลป์ล้านนาที่ได้รับถ่ายทอดมาบรรจุไว้ในหลักสูตร ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปคณาจารย์จึงได้มีการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ล้านนาชุดใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมแล้วนำการแสดงนาฏศิลป์ล้านนาออกเผยแพร่ สู่สาธารณชนในโอกาสสำคัญ ๆ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา อีกทั้งการจัดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เพื่อให้ครู อาจารย์สร้างสรรค์นาฏศิลป์ล้านนาชุดใหม่ ๆ โดยผ่านกระบวนการวิจัยสร้างสรรค์ สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการส่งเสริมให้นักศึกษาสร้างสรรค์นาฏศิลป์ล้านนาในรายวิชาศิลปนิพนธ์ ถือเป็นการพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้มีความแปลกใหม่ ทันสมัยเข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงรักษาของเดิมไว้ไม่ให้สูญหาย นอกจากนี้ยังมีการนำนาฏศิลป์ล้านนาออกถ่ายทอดให้กับสถานศึกษาอื่น ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์นาฏศิลป์ล้านนาให้คงอยู่สืบไป วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่จึงเป็นองค์กรทางด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีพันธกิจสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้มีการสืบทอดต่อไปยังอนาคต ด้วยการสร้างคน สร้างศาสตร์ และบริการสังคม อีกทั้งองค์ความรู้เดิมมาพัฒนาเพื่อสนองการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง


An Analysis Of The Foot In Turnout Using A Dance Specific 3d Multi-Segment Foot Model, Sarah L. Carter, Alan Bryant, Luke S. Hopper 2019 Edith Cowan University

An Analysis Of The Foot In Turnout Using A Dance Specific 3d Multi-Segment Foot Model, Sarah L. Carter, Alan Bryant, Luke S. Hopper

Research outputs 2014 to 2021

Introduction: Recent three-dimensional (3D) kinematic research has revealed foot abduction is the strongest predictor of standing functional and forced turnout postures. However, it is still unknown how the internal foot joints enable a large degree of foot abduction in turnout. The primary purpose of this study was to use a dance specific multi-segment foot model to determine the lower leg and foot contributions to turnout that female university-level ballets use to accentuate their turnout. Methods: Eighteen female dance students (mean age, 18.8 ± 1.6 years) volunteered for this study. Retro-reflective markers were attached to the dancers' dominant foot. Each dancer …


The State Of Dancingness: Staying With Leaving, Jo Pollitt 2019 Edith Cowan University

The State Of Dancingness: Staying With Leaving, Jo Pollitt

Research outputs 2014 to 2021

Borrowing from Cixous’ ‘State of Drawingness’ (1993), this article proposes a ‘State of Dancingness’ as method of inhabiting the practice of writing as dancing. Understanding the dancing body as a place of virtuosic attention, the practice of writing is activated as a ‘continuation’ of dancing; neither as creative response or description but as frame for housing (staging) emergent content. The work proposes that the dancer begin on the page from the vantage and experience of entering the stage as solo improvising performer. These words come with this body tucked and pressing inside them. Pressing. The State of Dancingness …


Digital Commons powered by bepress