Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Sports Sciences

Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 601 - 621 of 621

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬา ในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์, พัชรินทร์ ตั้งชัยสุริยา Jan 2020

ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬา ในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์, พัชรินทร์ ตั้งชัยสุริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบปกติ การฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง และการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิตเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬาในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์อายุระหว่าง 35 ถึง 49 ปี จำนวน 50 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มฝึกแบบปกติ (UST) จำนวน 16 คน ฝึกปั่นจักรยานแบบต่อเนื่อง 75 นาทีที่ความหนัก 65-70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2) กลุ่มฝึกปั่นจักรยานแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง (HIIT) จำนวน 17 คน ฝึกปั่นจักรยานแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง 4 นาทีที่ความหนัก 80 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุดสลับกับการฝึกที่ความหนักเบา 2 นาทีที่ความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด จำนวน 4 รอบ 3) กลุ่มการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต (HIIT+BFR) จำนวน 17 คน ฝึกเหมือนกลุ่ม HIIT ยกเว้น รอบที่ 2 และ 4 ลดความหนักเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุดร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต 30 เปอร์เซ็นต์ของความดันการปิดกั้นหลอดโลหิตแดงอย่างสมบูรณ์ในขณะพัก ทุกกลุ่มได้รับการฝึกปั่นจักรยาน 6 วันต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นฝึกรูปแบบเฉพาะกลุ่ม 2 วันต่อวันสัปดาห์ ฝึกแบบต่อเนื่อง 120 นาทีที่ความหนัก ~55-60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2 วันต่อวันสัปดาห์ และ 75 นาทีที่ความหนัก ~65-70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2 วันต่อวันสัปดาห์ รวมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา สมรรถภาพทางแอโรบิก สมรรถภาพทางกล้ามเนื้อ โครงสร้างและการทำงานของหลอดเลือด โครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อ สารชีวเคมีในเลือด และความสามารถทางกีฬาจักรยาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ …


ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ, ฌาณัฏฐ์ ภัคธันยสิทธิ์ Jan 2020

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ, ฌาณัฏฐ์ ภัคธันยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่ง วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิ่งเพื่อสุขภาพจากกลุ่มนักวิ่งจำนวน 7 กลุ่มในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 423 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ "ที" (t-test) และสถิติทดสอบ"เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's) ผลการวิจัย พบว่า 1. นักวิ่งเพื่อสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 64.04 มีทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับดีมาก มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี 2. เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่งพบว่านักวิ่งเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ระดับทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่ง และพฤติกรรมสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ยกเว้นพฤติกรรมสุขภาพเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05) สรุปผลการวิจัย นักวิ่งเพื่อสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับดีมาก และมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพจำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่งส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน, อัครเศรษฐ เลิศสกุล Jan 2020

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน, อัครเศรษฐ เลิศสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งมาราธอนทั้งเพศชายและหญิง 30 คน อายุระหว่าง 35 ถึง 45 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบใช้น้ำหนักตัว (กลุ่มใช้น้ำหนักตัว) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันต่ำ (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดต่ำ) และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักต่ำร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันสูง (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูง) และทั้ง 3 กลุ่มได้รับการฝึกวิ่งตามโปรแกรม จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ และฝึกด้วยแรงต้านเฉพาะตามแต่ละกลุ่ม จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรก่อนการฝึกและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ได้แก่ 1) ตัวแปรด้านสรีรวิทยาทั่วไป; อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบและคลายตัว และองค์ประกอบของร่างกาย 2) ตัวแปรด้านสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ; ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ 3) ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางแอโรบิก; ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และระดับกั้นแอนแอโรบิก และ4) ตัวแปรด้านความสามารถในการวิ่ง; ระยะเวลาในการวิ่งมาราธอน และประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะวิ่ง ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ 3x2 (กลุ่ม x เวลา) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีแอลเอสดี ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนการฝึกและภายหลังการฝึก 12 สัปดาห์ กลุ่มฝึกทั้ง 3 กลุ่ม มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถของการออกแรงสูงสุดในท่าสควอท) และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้น และมีระยะเวลาในการวิ่งมาราธอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มฝึกด้วยการจำกัดการไหลของเลือดทั้ง 2 กลุ่มมีความทนทานของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถในการนั่ง – ยืน) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูงมีค่าประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะการวิ่ง, กำลังสูงสุดของกล้ามเนื้อต้นขาท่าเหยียด - งอเข่า ที่ความเร็ว 180o/วินาที และค่างานของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังท่างอเข่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


พฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร, ณัฐนรี วาสนาทิพย์ Jan 2020

พฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร, ณัฐนรี วาสนาทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปร เพศ และชั้นปีการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ทั้ง 4 ด้าน มีข้อคำถามทั้งหมด 62 ข้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็นคนไทยในกรุงเทพมหานครที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 480 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัย 1) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี 2) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เพศชายมีพฤติกรรมการออกกำลังกายดีกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เพศหญิงมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ดีกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรชั้นปีการศึกษา พบว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครที่มีชั้นปีการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง แต่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, มุทิตา มุสิการยกูล Jan 2020

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, มุทิตา มุสิการยกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุเพศชายและหญิง จำนวน 448 คน มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปี ที่มาใช้บริการหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ตอน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมและพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในระดับต่ำ ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า 0.05 สรุปผลการวิจัย ผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ได้แก่ ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ


ผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อคุณภาพการนอนหลับและสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุ, ฐิติพร ตระกูลศรี Jan 2020

ผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อคุณภาพการนอนหลับและสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุ, ฐิติพร ตระกูลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเสื่อมถอยทางด้านร่างกายมีความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้คุณภาพการนอนหลับและสุขสมรรถนะลดลง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อคุณภาพการนอนหลับและสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงที่มีอายุ 60-75 ปี จำนวน 37 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม 18 คน และกลุ่มทดลอง 19 คน กลุ่มควบคุมให้ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการฝึกออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตน 50 นาทีต่อครั้ง 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ก่อนการฝึก หลังการฝึก 6 สัปดาห์ และ 10 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรคุณภาพการนอนหลับและสุขสมรรถนะ นำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่ม ก่อนการฝึก หลังการฝึก 6 สัปดาห์ และ 10 สัปดาห์ ใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) หากพบความแตกต่างจะเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธี (LSD) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลของการฝึกออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อคุณภาพการนอนหลับเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองและภายในกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับหลังการฝึก 10 สัปดาห์ดีกว่าก่อนการฝึก และหลังการฝึก 6 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผลของการฝึกออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อคุณภาพการนอนหลับ ระหว่างกลุ่มหลังการฝึก 6 สัปดาห์ คะแนนคุณภาพการนอนหลับของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่หลังการฝึกออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตน ครบ 10 สัปดาห์ คะแนนคุณภาพการนอนหลับของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่ากลุ่มทดลองมีคุณภาพการนอนหลับที่ดีขึ้น 3. ผลของการฝึกออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อสุขสมรรถนะเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองหลังการฝึก 10 สัปดาห์และ 6 สัปดาห์มีค่าเฉลี่ยสุขสมรรถนะด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวทุกตัวแปรเพิ่มขึ้นจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนภายในกลุ่มควบคุมหลังการฝึก 10 สัปดาห์มีค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเฉพาะลุก-นั่งบนเก้าอี้ 30 วินาที และความอ่อนตัวเฉพาะแตะมือด้านหลังขวา เพิ่มขึ้นจากก่อนการฝึกและหลังการฝึก 6 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ผลของการฝึกออกกำลังกายท่าฤาษีดัดตนที่มีต่อสุขสมรรถนะ ระหว่างกลุ่มหลังการฝึก …


Improving Sprint Performance In Road Cycling: The Forward Standing Sprint Position, Paul Franciscus Johannes Merkes Jan 2020

Improving Sprint Performance In Road Cycling: The Forward Standing Sprint Position, Paul Franciscus Johannes Merkes

Theses: Doctorates and Masters

The majority of road cycling races finish with a sprint and as such sprints are a key determinant of success. Surprisingly, the scientific literature on this specific topic is scarce, with limited to few studies describing the characteristics of road cycling sprinters and the demands of road sprinting. Cyclists’ sprinting velocity, which is mostly influenced by power output and aerodynamic drag (CdA) is critical to performance outcomes. However, to date, there is very limited research specifically examining how to maximise road sprint velocity. Thus, the overall objective of the four studies outlined in this thesis was to manipulate CdA, physiology, …


Athletic Training Assessment Of Knowledge Inconsistent With Perceptions Of Knowledge Needs: Part Ii, Jessica R. Edler, Lindsey E. Eberman Jan 2020

Athletic Training Assessment Of Knowledge Inconsistent With Perceptions Of Knowledge Needs: Part Ii, Jessica R. Edler, Lindsey E. Eberman

Internet Journal of Allied Health Sciences and Practice

Purpose: Continuing education (CE) is intended to promote continued competence beyond the level required for entry-level practice. Previous research suggests that athletic trainers are unable to identify their knowledge gaps regarding their clinical practice. The purpose of this research study was to determine if athletic trainers’ perceived need for CE aligns with their performance on an actual knowledge assessment. Method: We used a correlational design conducted on Qualtrics, a web-based platform. Four hundred, forty-four (444) athletic trainers completed all the CE Needs Assessment and over 60% of the athletic training assessment of knowledge. The CE Needs Assessment determined participant’s perceived …


Methodological Considerations For The Determination Of The Critical Resistance For The Deadlift, Alexander C. Moss Jan 2020

Methodological Considerations For The Determination Of The Critical Resistance For The Deadlift, Alexander C. Moss

Theses and Dissertations--Kinesiology and Health Promotion

This study determined if plate movement during conventional deadlifting affects critical resistance (CR) estimates derived from the linear work limit (Wlim) versus repetitions relationship. Eleven subjects completed 1-repetition maximum (1RM) deadlift testing followed by 8 visits, to determine the number of repetitions to failure at 50%, 60%, 70%, and 80% 1RM for both reset (RS) and touch-and-go (TG) methods, respectively. The CR was calculated as slope of the line of total work completed (repetitions × load [in kilograms]) versus total repetitions for each of four intensities (50-80% 1RM). The number of repetitions to failure were determined at CR …


Effects Of Relative Inertial Load On Performance Measures And Quadriceps Electromyography During Flywheel Resistance Training Squats, Jason Todd Brantley Jr. Jan 2020

Effects Of Relative Inertial Load On Performance Measures And Quadriceps Electromyography During Flywheel Resistance Training Squats, Jason Todd Brantley Jr.

Theses and Dissertations--Kinesiology and Health Promotion

Flywheel resistance training (FRT) has become an increasingly popular modality for exercising due to its unique application of providing external resistance. Little is known about how changes in relative inertial loads affects performance and electromyography (EMG) activity. The purpose of this study was to examine how performance metrics and quadriceps EMG activity are affected by relative inertial load during FRT-based squats. Fifteen resistance trained individuals completed five sets of five repetitions of squats with varying relative inertial loads in random order. Peak Eccentric Power (PEP), Peak Concentric Power (PCP), average force, total work, and repetition time were measured. Surface level …


Application Of High Performance Training Strategies To Enhance Occupational Readiness In Law Enforcement Cadets, Gabriel Jose Martinez Jan 2020

Application Of High Performance Training Strategies To Enhance Occupational Readiness In Law Enforcement Cadets, Gabriel Jose Martinez

Theses and Dissertations--Kinesiology and Health Promotion

Law enforcement requires cadets to achieve a requisite level of physical fitness to prepare for occupational demands. However, there is limited research on the effectiveness of academy exercise programs to optimize physical fitness and occupational physical ability through high performance training strategies more typically utilized in elite athletic populations. Furthermore, there is a paucity of research identifying physical fitness correlates of occupational performance. Collectively, this information will provide academies and practitioners with critical information to develop evidence-based training programs. Therefore, the purposes of this study were to: Aim 1) Examine the effectiveness of integrating autoregulatory progressive resistance exercise (APRE) and …


Effects Of Load Carriage On Shoulder Neuromuscular Functions And Recovery, Muataz R. Almaddah Jan 2020

Effects Of Load Carriage On Shoulder Neuromuscular Functions And Recovery, Muataz R. Almaddah

Theses and Dissertations--Rehabilitation Sciences

Load carriage is a primary source for injury occurrence among military personnel and recreational hikers affecting all body areas. The shoulder ranks as the second or third most common site of injuries among military personnel. Many studies report that elevations in self-reported fatigue, soreness, and discomfort in the shoulders accompany the load carriage. Almost 50% of military personnel experienced a load carriage injury during the first episode of training, and 75% of those injured suffered a second injury during their career. The goal of this research project is to investigate the components associated with load carriage shoulder symptoms to determine …


Influences Of Functional And Psychological Factors On Biomechanics Following An Anterior Cruciate Ligament (Acl) Reconstruction, Chelsey Roe Jan 2020

Influences Of Functional And Psychological Factors On Biomechanics Following An Anterior Cruciate Ligament (Acl) Reconstruction, Chelsey Roe

Theses and Dissertations--Rehabilitation Sciences

Objective: The aims of this research were to identify gaps in the literature related to return to sport (RTS) test batteries following primary anterior cruciate ligament reconstruction (ACLR) (Aim 1) and define recovery in athletes from 4-9 months after ACLR across three domains: 1) psychological recovery and biomechanics (Aim 2), 2) rehabilitation quantity and biomechanics (Aim 3), and 3) functional performance and biomechanics (Aim 4). Ultimately, the results of this research would quantify recovery following ACLR in athletes with a desire to RTS and identify objective criteria throughout rehabilitation prior to RTS.

Participants: Twenty-two post-ACLR athletes 17 females, 8 males, …


Mild Traumatic Brain Injuries As A Possible Risk Factor For Anterior Cruciate Ligament Tears In Female High School And College Athletes, Brooke Weyand Jan 2020

Mild Traumatic Brain Injuries As A Possible Risk Factor For Anterior Cruciate Ligament Tears In Female High School And College Athletes, Brooke Weyand

Capstone Showcase

Introduction: Both mild traumatic brain injuries (concussions) and anterior cruciate ligament (ACL) tears are among two of the most common, and most career-ending sports medicine injuries. Concussions often result from a blow to the head that can cause headaches, difficulty concentrating, photophobia, and memory loss. Concussion recovery often involved brain rest from athletics, screen exposure, reading, lights, and if severe enough, academics. The ACL is a ligament that is detrimental in stabilization of the knee joint. It connects the femur to the tibia within the joint, and can tear suddenly if it undergoes a quick twisting motion. ACL tears often …


Development, Assessment And Application Of A Novel Algorithm To Automatically Detect Change Of Direction Movement And Quantify Its Associated Mechanical Load In Elite Australian Football, Aaron Balloch Jan 2020

Development, Assessment And Application Of A Novel Algorithm To Automatically Detect Change Of Direction Movement And Quantify Its Associated Mechanical Load In Elite Australian Football, Aaron Balloch

Theses: Doctorates and Masters

The ability to change direction rapidly and efficiently is critical to team-sport performance, including Australian football (AF), where a player’s capacity to rapidly decelerate, move laterally and re-accelerate is critical when evading opponents, tackling, or reacting to the unpredictable bounce of the ball or movement of another player. The biomechanical loading requirements of change of direction (COD) movement are angle and velocity dependant. Cumulative COD movement can impart high levels of neuromuscular and metabolic fatigue which can adversely affect the efficiency of subsequent movement efforts. Despite widespread use of microtechnology devices (the vast majority containing a global navigation satellite system …


Effects Of High-Intensity Position-Specific Drills On Physical And Technical-Skill Performance In Young Soccer Players, Cao Cuong Le Jan 2020

Effects Of High-Intensity Position-Specific Drills On Physical And Technical-Skill Performance In Young Soccer Players, Cao Cuong Le

Theses: Doctorates and Masters

Soccer is the most widely played sport in the world, and physical preparation for soccer players has been extensively researched over the years. As the average intensity of a soccer match is close to 80-90% of maximal heart rate (HRmax), it is necessary to train at or above this intensity. Thus, high-intensity interval running and small-sided games are often used to improve aerobic capacity and repeated sprint ability (RSA). However, neither of these approaches consider positional variations in the frequency and type of specific technical skills required in real match situations. Thus, the purpose of this study was to investigate …


The Effects Of Environmental Temperature On High-Intensity Interval Training, Jason R. Boynton Jan 2020

The Effects Of Environmental Temperature On High-Intensity Interval Training, Jason R. Boynton

Theses: Doctorates and Masters

Endurance athletes typically spend the large majority of training (> 70%) at low intensities (i.e. below lactate threshold) coupled with short and intermittent bouts of high-intensity exercise or interval training (HIIT). Despite HIIT being a relatively small part of training in terms of duration, it has a substantial effect on the adaptations to endurance training. While it is well-established endurance exercise performance is affected in both hot and cold environmental conditions, the effect ambient temperature (TA; frequently referred to as environmental temperature) has on HIIT as performed by an endurance athlete population is not well understood. Therefore, the overall purpose …


Exercise And Nutrition Induced Weight Loss For Prostate Cancer Patients, Rebekah Louise Wilson Jan 2020

Exercise And Nutrition Induced Weight Loss For Prostate Cancer Patients, Rebekah Louise Wilson

Theses: Doctorates and Masters

This thesis encompasses six main chapters - two reviews and four experimental chapters, in addition to a general introduction and discussion.

Review 1 (Chapter 2) is a discussion of the negative impact of obesity on prostate cancer prognosis and common prostate cancer treatments.

Review 2 (Chapter 3) is an evaluation of the current literature examining prostate cancer patients receiving androgen deprivation therapy (ADT) and how exercise and nutrition interventions can be used to induce fat loss, while preserving or improving lean mass.

Study 1 (Chapter 4) is an examination of the efficacy of a weight loss program in altering body …


Mechanisms Underpinning An Improvement In Dynamic Muscle Force Production Following A High-Intensity Warm-Up, Cody J. Wilson Jan 2020

Mechanisms Underpinning An Improvement In Dynamic Muscle Force Production Following A High-Intensity Warm-Up, Cody J. Wilson

Theses: Doctorates and Masters

The present research explored the mechanisms underpinning the enhancement of voluntary knee extensor torque after (1) extensive task-specific practice, and then (2) brief, intense warm-up exercise (conditioning activity; CA) as part of a complete warm-up routine. The same warm-up was completed in two Experiments (detailed below). In Experiment 1, voluntary (180⁰·s-1; T180) and electrically-evoked (isometric) knee extensor torques and electromyogram (EMG) and muscle temperature (Tm) data were recorded before and after (1) extensive task-specific practice where peak voluntary knee extensor performance was achieved, and (2) two isokinetic CAs matched for total concentric contraction time (CA60: 5 repetitions at 60⁰·s-1 vs. …


Oral Contraceptives As Possible Acl Injury Prevention Method, Haley Schweizer Jan 2020

Oral Contraceptives As Possible Acl Injury Prevention Method, Haley Schweizer

Capstone Showcase

ABSTRACT

Introduction: Anterior Cruciate Ligament (ACL) injuries are an upsetting setback for many athletes that require a long and costly recovery process. The injury rates are four times greater in women than men. Preventative measures that help to prevent ACL injuries are limited to stretching and strengthening. Therefore, this review aims to investigate if oral contraceptive [I] usage provides a possible new avenue for prevention of ACL injury [O] in young female athletes (ages 18-30) [P] compared to those that do not take oral contraceptives [C].

Methods: A literature review was performed though PubMed, Google Scholar, SCOPUS Database, and ClinicalKey …


Assessing Classroom Readiness Post-Concussion In College Student-Athletes: Comparing The Impact To Standardized Cognitive Assessments, Isabel Hotop Jan 2020

Assessing Classroom Readiness Post-Concussion In College Student-Athletes: Comparing The Impact To Standardized Cognitive Assessments, Isabel Hotop

All Theses, Dissertations, and Capstone Projects

The ImPACT (Immediate Post-Concussion Assessment and Cognitive Test) is a commonly used computerized neurocognitive test for concussion management in college student-athletes (Lovell, 2020). This assessment is heavily relied upon by athletic trainers to make decisions regarding timing of return-to-play and return-to-classroom for college student-athletes. Predicting when students are ready to return-to-learn is imperative for their success in the classroom. However, the current evidence shows that the validity and reliability of the ImPACT may be lacking. As of ten years ago, a single study had yet to demonstrate the validity of the ImPACT by comparing the scores to traditional neurocognitive testing …