Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Sports Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 31

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วรรณศร จักษุรักษ์ Jan 2020

อิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วรรณศร จักษุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดต่อการมีส่วนร่วมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ และเพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่กําลังศึกษาอยู่ในทุกระดับชั้น จํานวน 507 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.80 และค่าความเชื่อมั่น สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบค่า "ที (t-test) ,การคิดวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) ด้วยการทดสอบค่า "เอฟ (F-test), การวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe Method), วิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) และความถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการแข่งขันรักบี้จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยรวม โดยการใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยทางส่วนประสมทางการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ให้บริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการนั้นส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเพียงด้านลักษณะทางกายภาพด้านเดียวเท่านั้น ที่ไม่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะที่การใช้สถิติวิเคราะห์แบบถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) พิจารณารายด้านพบว่า มีเพียงปัจจัยทางส่วนประสมทางการตลาดในด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการและด้านลักษณะทางกายภาพเท่านั้นที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีเพศและระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีระดับอายุที่แตกต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมในการแข่งขันรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์แตกต่างกัน


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดโดยใช้คลัสเตอร์เซตต่อความแข็งแรงและพลังของท่าคลีนพูลในนักกีฬายกน้ำหนักยุวชน, เสกข์ศักย์ ธิติศักดิ์ Jan 2020

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดโดยใช้คลัสเตอร์เซตต่อความแข็งแรงและพลังของท่าคลีนพูลในนักกีฬายกน้ำหนักยุวชน, เสกข์ศักย์ ธิติศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วิธีฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดร่วมกับวิธีฝึกแบบคลัสเตอร์เซต เพื่อพัฒนาความสามารถด้านความแข็งแรงและพลังในนักกีฬายกน้ำหนักยุวชน งานวิจัยนี้ประกอบด้วยการศึกษา 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายกน้ำหนักหญิง อายุ 13-17 ปี จำนวน 9 คน ทดสอบท่าคลีนพูลด้วยแรงต้านผสมผสานยางยืด ฟรีเวท 90% : ยางยืด 10% ความหนัก 85% จำนวน 6 ครั้ง ด้วยเวลาพัก 20 30 และ 40 วินาที เปรียบเทียบพลังสูงสุดเฉลี่ยเพื่อนำไปใช้ทดลองขั้นตอนถัดไป ขั้นตอนที่ 2 ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายกน้ำหนักชายและหญิง อายุ 13-17 ปี จำนวน 16 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองฝึกด้วยแรงต้านผสมผสานยางยืดโดยใช้เวลาพัก 40 วินาที กลุ่มควบคุมฝึกท่าคลีนพูลด้วยวิธีประเพณีนิยมที่ความหนัก 80-95% ทดสอบก่อนการฝึก ระหว่างการฝึก และหลังการฝึก ผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 พบว่าระยะเวลาพัก 40 วินาที นักกีฬาจะมีพลังสูงสุด แรงสูงสุด ความเร็วสูงสุด และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของความเร็วสูงสุดจากครั้งแรกต่อเซตมากกว่าการฝึกด้วยระยะเวลาพัก 20 และ 30 วินาที (P<.05) ขั้นตอนที่ 2 ไม่พบความแตกต่างหลังการฝึกระหว่างทั้งสองกลุ่มในทุกตัวแปร แต่เมื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปรภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองสามารถเพิ่มพลังสูงสุด อัตราการพัฒนาแรงสูงสุด และความแข็งแรงท่าคลีนพูลสูงสุด ส่วนกลุ่มควบคุมสามารถเพิ่มอัตราการพัฒนาแรงสูงสุด และความแข็งแรงสูงสุด แต่ความเร็วสูงสุดในช่วงท้ายของการฝึกลดลง จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า วิธีการฝึกด้วยแรงต้านแบบผสมผสานยางยืดร่วมกับวิธีการฝึกแบบคลัสเตอร์เซตเหมาะในการฝึกเพื่อเพิ่มพลังสูงสุด และรักษาระดับความเร็วสูงสุด


ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกสลับช่วงประกอบน้ำหนักต่อองค์ประกอบของร่างกายและการทำงานของหลอดเลือดในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง, ธันยากานต์ วรเศรษฐวัฒน์ Jan 2020

ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกสลับช่วงประกอบน้ำหนักต่อองค์ประกอบของร่างกายและการทำงานของหลอดเลือดในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง, ธันยากานต์ วรเศรษฐวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลฉับพลันและผลของการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยา การใช้พลังงาน การทำงานของหลอดเลือด และสมรรถภาพทางกายในผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง สำหรับการศึกษาผลฉับพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิง มีอายุตั้งแต่ 18-50 ปี แบ่งเป็น ผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/เมตร2 จำนวน 12 คน และผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 37.5 กิโลกรัม/เมตร จำนวน 12 คน ก่อนและหลังการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง และแบบสลับช่วง ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา การทำงานของหลอดเลือด การใช้พลังงาน และคะแนนความสนุกสนาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x3) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยวิธี LSD ที่ระดับ .05 จากนั้นนำผลที่ได้จากการศึกษาที่ 1 มาใช้ในการศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายในการศึกษาที่ 2 สำหรับการศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและหญิง อายุ 18-50 ปี จำนวน 26 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ที่มีน้ำหนักปกติ ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-22.9 กิโลกรัม/เมตร2 จำนวน 14 คน และ กลุ่มผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 37.5 กิโลกรัม/เมตร จำนวน 12 คน ทำการฝึกออกกำลังกายแบบสลับช่วงโดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วง 1-6 สัปดาห์ ออกกำลังกายระดับความหนักสูงที่ 75-85 % อัตราการเต้นหัวใจสำรอง (HRR) เป็นเวลา 1 นาที สลับกับช่วงออกกำลังกายระดับเบาที่ 45-55 % HRR เป็นเวลา 4 นาที จำนวน 6 รอบ ระยะที่ 2 ช่วง 7-12 สัปดาห์ …


ผลของสื่อโมชันกราฟิกด้านการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน, ธนพร ลาภบุญทรัพย์ Jan 2020

ผลของสื่อโมชันกราฟิกด้านการออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน, ธนพร ลาภบุญทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสื่อโมชันกราฟิกการออกกำลังกายต่อการทรงตัวของผู้ป่วยพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยพาร์กินสันที่เข้ารับการรักษาในเขตกรุงเทพมหานคร อายุ 60-80 ปี 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน รับสื่อโมชันกราฟิกการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัว ออกกำลังกาย 3 ครั้ง/สัปดาห์ กลุ่มควบคุม 13 คน รับสื่อข้อความเนื้อหาการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัวและใช้ชีวิตตามปกติ ทดสอบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วงยาออกฤทธิ์ก่อนและหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ โดยทดสอบการทรงตัวขณะหยุดนิ่งด้วยเครื่องทดสอบการทรงตัวไบโอเด็กส์และทดสอบการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวด้วยแบบประเมินการทรงตัว (MiniBESTest) วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรก่อนและหลังการทดลองของแต่ละกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยข้อมูลด้านสรีรวิทยา ได้แก่ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรค (Modified Hoehn & Yahr Stage) ปริมาณยาเลโวโดปาที่ได้รับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรด้านการทรงตัวพบว่า กลุ่มทดลองมีดัชนีการเซเฉลี่ยดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) ค่าเฉลี่ยคะแนนแบบประเมินการทรงตัว (MiniBESTest) ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05) สรุปผลการวิจัย การออกกำลังกายด้วยสื่อโมชันกราฟิกด้านการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัวสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ช่วยให้การทรงตัวของผู้ป่วยพาร์กินสันดีขึ้น


การสำรวจกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของบุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ช่อนภา สิทธิ์ธัง Jan 2020

การสำรวจกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของบุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ช่อนภา สิทธิ์ธัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของบุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเปรียบเทียบกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งของบุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามตัวแปรเพศ และอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 407 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Physical Activity Questionnair: GPAQ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ "ที" (t-test) สถิติทดสอบ "เอฟ" (F-test) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's) กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. บุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับน้อย มีกิจกรรมทางกายจากการทำงานและการเดินทางอยู่ในระดับน้อย มีกิจกรรมทางกายจากกิจกรรมยามว่างอยู่ในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งนานเกิน 2 ชั่วโมงเป็นบางวัน ร้อยละ 41.80 2. บุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเพศต่างกัน มีกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุต่างกัน มีกิจกรรมทางกายไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย บุคลากรสายสนับสนุนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมทางกายน้อย และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมาก


ผลของการออกกำลังกายแบบฟังก์ชั่นที่มีความจำเพาะต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทาง คิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อของรยางค์ล่างในนักวิ่งระยะไกลที่เป็นโรครองช้ำ, วรพงษ์ คงทอง Jan 2020

ผลของการออกกำลังกายแบบฟังก์ชั่นที่มีความจำเพาะต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทาง คิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อของรยางค์ล่างในนักวิ่งระยะไกลที่เป็นโรครองช้ำ, วรพงษ์ คงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 การศึกษา สำหรับการศึกษาที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางคิเนมาติกส์และการทำงานของกล้ามเนื้อทางด้านหลังของข้อสะโพกและรยางค์ล่างในนักวิ่งระยะไกลที่เป็นโรครองช้ำและไม่เป็นโรครองช้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งระยะไกลจำนวน 36 คน ประกอบด้วยกลุ่มที่เป็นโรครองช้ำ (PF) จำนวน 18 คน และกลุ่มที่ไม่เป็นโรครองช้ำ (No PF) จำนวน 18 คน ได้รับการทดสอบมุมการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง ความสามารถในการคงรูปของเท้า Impulse และการทำงานของกล้ามเนื้อทางด้านหลังของข้อสะโพกและรยางค์ล่าง ขณะวิ่งเท้าเปล่าที่ความเร็ว 3 ถึง 3.67 เมตรต่อวินาที ด้วยเครื่องวิเคราะห์การเคลื่อนไหวที่เชื่อมต่อกับแผ่นรับแรงกดและเครื่องบันทึกสัญญาณการทำงานของกล้ามเนื้อแบบไร้สาย นอกจากนั้น ทำการเก็บข้อมูลขนาดกล้ามเนื้อในฝ่าเท้าชั้นที่ 1 ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก และระดับความรู้สึกปวด แล้วทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Unpaired t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่ม PF มีความสามารถในการคงรูปของเท้า การทำงานของกล้ามเนื้อ Gluteus medius กล้ามเนื้อ Tensor fascia latae ขนาดกล้ามเนื้อ Abductor hallucis ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อ Hip abductor ความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อ Hip extensor และระดับ Pressure pain threshold (PPT) มีค่าต่ำกว่ากลุ่ม No PF อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น พบว่ากลุ่ม PF มีมุมของอุ้งเท้า มุม Rearfoot eversion มุม Knee abduction มุม Hip adduction มุม Pelvic upward rotation การทำงานของกล้ามเนื้อ Medial gastrocnemius กล้ามเนื้อ Gluteus maximus ค่า Impulse และคะแนน Foot function index (FFI) มีค่ามากกว่ากลุ่ม No …


การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และความต้องการคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะของผู้ฝึกโยคะในกรุงเทพมหานคร, อนุตร คำสุระ Jan 2020

การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และความต้องการคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะของผู้ฝึกโยคะในกรุงเทพมหานคร, อนุตร คำสุระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะ ของผู้ฝึกโยคะในกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการฝึกโยคะพื้นฐานอย่างง่ายขึ้นไป ทั้งที่มีประสบการณ์และไม่มีประสบการณ์ในการใช้สถานฝึกโยคะจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามกับวัตถุประสงค์ พบว่าค่าที่ได้คือ 0.85 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามที่ได้คือ 0.92 ผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ผ่านกลุ่มปิดเฟซบุ๊คที่มีลักษณะเป็นชุมชนออนไลน์ของผู้ที่ฝึกโยคะและการออกกำลังกายจำนวน 4 กลุ่ม วิเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติสมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ โดยตั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ในด้าน Facebook fanpage YouTube และ Pantip.com ส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้าน Blog ส่งผลเชิงลบต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้าน Website และ Instagram ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะ และความต้องการคุณภาพการบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า ส่งผลทางบวกต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนความต้องการคุณภาพการบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ และ การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะของผู้ฝึกโยคะในกรุงเทพมหานคร สรุปผลการวิจัย การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ด้าน Facebook fanpage YouTube และ Pantip.com ส่งผลเชิงบวก และ ด้าน Blog ส่งผลเชิงลบ ต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะของผู้ฝึกโยคะในกรุงเทมหานคร และ ความต้องการคุณภาพการบริการ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองลูกค้า และ ด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า ส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกสถานฝึกโยคะของผู้ฝึกโยคะในกรุงเทพมหานคร


ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันฝุ่น Pm2.5 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร, อรจิรา วงศ์อาษา Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันฝุ่น Pm2.5 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร, อรจิรา วงศ์อาษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัย หรือทำงานในเขตของกรุงเทพมหานคร ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 16 เขต ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 20-59 ปี จำนวน 480 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation Coefficient) ผลการวิจัย 1. การเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีการเปิดรับข่าวสารในการป้องกันฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับต่ำ 3. ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านทัศนคติอยู่ในระดับดี และด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ทางบวกในระดับต่ำ ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีการเปิดรับข่าวสารในการป้องกันฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับต่ำและมีพฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ด้านทัศนคติอยู่ในระดับดี และด้านพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะสร้างสื่อเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่น PM2.5 และทำการประชาสัมพันธ์ไปยังช่องทางต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการป้องกันฝุ่น PM2.5


ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร, ลักษมี บัวสัมฤทธิ์ Jan 2020

ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร, ลักษมี บัวสัมฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มาใช้บริการศูนย์สร้างสุขทุกวัย 15 ศูนย์ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 405 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามออนไลน์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 0.94 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่าผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ในการสื่อออนไลน์ มีพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากและความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับต่ำทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับต่ำทางบวกในทุกด้าน


ผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน, สญชัย พลเสน Jan 2020

ผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน, สญชัย พลเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกรำไทยแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพปอดและสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยหมดประจำเดือน อายุ 45-59 ปี จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ไม่ได้รับการฝึกใด ๆ กลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกรำไทยแอโรบิก ครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านสุขสมรรถนะ จากนั้นนำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบรายคู่ (Paired-t test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent-T test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มฝึกรำไทยแอโรบิกมีการลดลงของอัตราการหายใจ แตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนตัวแปรสมรรถภาพปอดมีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1) ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด (MIP) และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด (MEP) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับตัวแปรด้านสุขสมรรถนะ พบว่ากลุ่มฝึกรำไทยแอโรบิกมีค่าแรงบีบมือ ความทนทานของกล้ามเนื้อแขน ความทนทานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความอ่อนตัว เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ความทนทานของกล้ามเนื้อขา และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกรำไทยแอโรบิกเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และสุขสมรรถนะในสตรีวัยหมดประจำเดือนได้


ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเน้นความหนักเอกเซ็นตริกที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, พงศ์ชยุตม์ จักษุรักษ์ Jan 2020

ผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเน้นความหนักเอกเซ็นตริกที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย, พงศ์ชยุตม์ จักษุรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเน้นความหนักเอกเซ็นตริกกับการฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 28 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 14 คนเท่ากัน ด้วยวิธีการจับคู่ (Matched pair) โดยใช้ความแข็งแรงสัมพัทธ์เป็นเกณฑ์ กลุ่มที่ 1 ฝึกเชิงซ้อนแบบเน้นความหนักเอกเซ็นตริก กลุ่มที่ 2 ฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไป ทั้งสองกลุ่มทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบพลังสูงสุด ความแข็งแรงสัมพัทธ์ แรงบิดสูงสุดของการเหยียดเข่าและการงอเข่า พลังของกล้ามเนื้อ ดัชนีปฏิกิริยาความแข็งแรง แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วสูงสุด และความเร็วระยะทาง 40 เมตร ทำการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าที (Independent t-test) และเปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย ก่อนการวิจัย กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของอายุ ส่วนสูง น้ำหนัก ความแข็งแรงสัมพัทธ์ แรงบิดสูงสุดของการเหยียดเข่าและการงอเข่า ดัชนีปฏิกิริยาความแข็งแรง แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งสูงสุด ความเร็วสูงสุด และความเร็วระยะทาง 40 เมตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 พบว่า กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีความแข็งแรงสัมพัทธ์ แรงบิดสูงสุดของการเหยียดเข่า พลังของกล้ามเนื้อ และความเร็วระยะทาง 40 เมตร แตกต่างจากก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้พบว่า กลุ่มที่ 1 มีการพัฒนาความแข็งแรงสัมพัทธ์ และแรงบิดสูงสุดของการเหยียดเข่า แตกต่างจากกลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างกันของแรงบิดสูงสุดของการงอเข่า ดัชนีปฏิกิริยาความแข็งแรง …


ผลของการฝึกเสริมด้วยท่าดร็อปจั๊มพ์ที่มีต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย อายุ 13-14 ปี, วารุณี กิจรักษา Jan 2020

ผลของการฝึกเสริมด้วยท่าดร็อปจั๊มพ์ที่มีต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย อายุ 13-14 ปี, วารุณี กิจรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยท่าดร็อปจั๊มพ์ที่มีต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย อายุ 13-14 ปี และเพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยท่าดร็อปจั๊มพ์ที่มีต่อความสูงในการกระโดด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชาย อายุ 13-14 ปี จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 14 คน และกลุ่มควบคุม 14 คน กลุ่มทดลองทำการฝึกเสริมด้วยการกระโดดท่าดร็อปจั๊มพ์ก่อนการฝึกซ้อมปกติ บนกล่องสูง 45 เซนติเมตร ทำการกระโดดจำนวน 13 ครั้ง 5 เซต และพักระหว่างเซต 2 นาที ขณะที่กลุ่มควบคุมฝึกซ้อมตามโปรแกรมการฝึกบาสเกตบอลของทางโรงเรียน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( purposive sampling) เพื่อให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 โรงเรียน และทำการแบ่งกลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับสลากว่าโรงเรียนใดเป็นกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม ก่อนและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ทำการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ปริมาณแร่ธาตุในกระดูก ด้วยเครื่อง Dual-energy X-ray absorptiometry (DEXA) และวัดความสูงในการกระโดด ด้วยชุดทดสอบการกระโดด Yardstick นำข้อมูลที่ได้มาทดสอบการกระจายตัวของข้อมูล โดยใช้สถิติ Kolmogorov-Smirnov test วิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการฝึก หากข้อมูลมีการกระจายตัวปกติ ใช้สถิติทดสอบแบบที (Paired t-test) แบบ repeated measured หากข้อมูลมีการกระจายตัวไม่ปกติ ใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks test และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม โดยหากข้อมูลมีการกระจายตัวปกติ วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติทดสอบแบบที (Independent t-test) หากข้อมูลมีการกระจายตัวไม่ปกติ วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติทดสอบ Mann-Whitney U test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่า กลุ่มทดลอง มีความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD) …


ผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาทีมีต่อสมรรถนะในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย, พีรภาส จั่นจำรัส Jan 2020

ผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาทีมีต่อสมรรถนะในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย, พีรภาส จั่นจำรัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติกและสมรรถภาพในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำตัวแทนทีมชาติ เพศชาย อายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวน 15 คน เข้ารับการทดสอบ 3 รูปแบบการฟื้นตัว ได้แก่ การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวด การฟื้นตัวแบบีกิจกรรมการเคลื่อนไหว และการฟื้นตัวด้วยการนวด การทดสอบแต่ละครั้ง เว้นระยะห่างกัน 1 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฟื้นตัวแต่ละรูปแบบทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ ความเข้มข้นของกรดแลคติกในกระแสเลือด อัตราเร็วของรอบแขนใน 1 นาที และเวลาที่ใช้ในการว่ายท่าฟรอนท์ครอล 100 เมตร นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (Paired-simple t-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดสอบ วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม โดยใช้การทดสอบเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA measure) โดยวิธีของ Bonferroni กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดเป็นวิธีการฟื้นฟูที่ส่งผลดีต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติกและสมรรถภาพในการว่ายน้ำ ได้ดีกว่าการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว และการฟื้นตัวด้วยการนวด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สรุปผลการวิจัย การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดเป็นวิธีที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของนักกีฬาว่ายน้ำภายหลังการออกกำลังกายหรือการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ


ผลของการฝ​ึกพิลาทีสที่มีต่อสมรรถ​ภาพปอด​และอาการใน​ผู้ป่วย​โรค​จมูก​อักเสบ​จาก​ภูมิแพ้, บุลิน จิระพงษธร Jan 2020

ผลของการฝ​ึกพิลาทีสที่มีต่อสมรรถ​ภาพปอด​และอาการใน​ผู้ป่วย​โรค​จมูก​อักเสบ​จาก​ภูมิแพ้, บุลิน จิระพงษธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพิลาทีสที่มีต่อสมรรถภาพปอดและอาการในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อายุระหว่าง 18 - 45 ปี จำนวน 20 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ไม่ได้รับการฝึกใด ๆ จำนวน 9 คน และกลุ่มทดลอง ได้รับการฝึกพิลาทีส 60 นาที/ครั้ง 3 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 10 สัปดาห์ จำนวน 11 คน โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-t test) ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 และตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ นำค่ามาวิเคราะห์ข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลองของแต่ละ​กลุ่มการทดลองโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measured ANOVA) ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนของการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent-t test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman's rank correlation)ที่ระดับความมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 10 สัปดาห์ กลุ่มฝึกพิลาทีสมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ได้แก่ ค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า - ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาทีเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ได้แก่ อาการคัดจมูก อาการคันจมูก อาการจาม อาการน้ำมูกไหล อาการโดยรวม และการไหลของเลือดในโพรงจมูกลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีปริมาตรการไหลของอากาศสูงสุดในโพรงจมูกเพิ่มขึ้น แตกต่างกับก่อนการทดลอง อีกทั้ง กลุ่มฝึกพิลาทีสมีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ได้แก่ ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ได้แก่ …


ผลของเครื่องดื่มไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตรินที่มีต่อสมรรถภาพทางกายแบบทนทานในนักกีฬาวิ่งมาราธอนชาย, จุฑามาศ ฉุยฉาย Jan 2020

ผลของเครื่องดื่มไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตรินที่มีต่อสมรรถภาพทางกายแบบทนทานในนักกีฬาวิ่งมาราธอนชาย, จุฑามาศ ฉุยฉาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดปกปิดสองทางและสลับกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเครื่องดื่มไฮลี่บรานซ์ไซคลิกเด็กซ์ตริน (Highly branched cyclic dextrin; HBCD) ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายแบบทนทานในนักกีฬาวิ่งมาราธอนชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาวิ่งมาราธอน เพศชาย อายุระหว่าง 30-39 ปี จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการทดสอบสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (VO2max) โดยวิธีของแรมป์ (Ramp protocol) เพื่อหาจุดเริ่มล้าที่ 1 (VT1) และจุดเริ่มล้าที่ 2 (VT2) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถูกสุ่มเพื่อดื่มเครื่องดื่ม 2 ชนิด คือ เครื่องดื่ม HBCD และเครื่องดื่มกลูโคส ปริมาณ 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ละลายน้ำ 500 มิลลิลิตร วิ่งบนลู่วิ่งในความเร็วที่จุดเริ่มล้าที่ 1 (VT1) 30 นาที และวิ่งที่ความเร็วที่จุดเริ่มล้าที่ 2 (VT2) จนเหนื่อยหมดแรง ก่อนและหลังการทดสอบ เก็บข้อมูลปริมาณการสูญเสียน้ำ และก่อนการทดสอบ ระหว่างการทดสอบนาทีที่ 15 และ 30 และหลังการทดสอบทำการเก็บข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด ระดับแลคเตทในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนสองทาง (Two-Way Repeated measures ANOVA) และทดสอบความแตกต่างแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Paired samples t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่างของระดับน้ำตาลในเลือด ระดับแลคเตทในเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ และการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อยระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม HBCD และกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูโคสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระยะเวลาการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรงของกลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม HBCD จะนานกว่ากลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูโคสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีปริมาณน้ำที่สูญเสียไปในระหว่างการออกกำลังกายน้อยกว่ากลุ่มที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูโคส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ HBCD สามารถรักษาปริมาณน้ำที่สูญเสียไประหว่างการออกกำลังกายได้ดีกว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกลูโคส และทำให้มีระยะเวลาการออกกำลังกายยาวนานขึ้น


ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิตในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน, อรทัย กัลยาวุฒิ Jan 2020

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิตในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน, อรทัย กัลยาวุฒิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็วซึ่งทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อการมีสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิตที่ลดลง ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิตในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (มากกว่า +2 S.D. ถึง +3 S.D.) อายุระหว่าง 10-12 ปี จำนวน 38 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 19 คน กลุ่มควบคุมดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเต 60 นาทีต่อครั้ง 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลองทำการทดสอบตัวแปรด้านสุขสมรรถนะและคุณภาพชีวิต (ฉบับของเด็กและฉบับของผู้ปกครอง) นำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ใช้การทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) โดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลง มวลน้ำหนักตัวไม่รวมไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ และความอ่อนตัว เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อและความอ่อนตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อสุขสมรรถนะ ระหว่างกลุ่มกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยมวลน้ำหนักตัวไม่รวมไขมัน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อคุณภาพชีวิตเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตฉบับของเด็กไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตฉบับของผู้ปกครองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตที่มีต่อคุณภาพชีวิต ระหว่างกลุ่มทั้งก่อนและหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตฉบับของผู้ปกครองของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยตารางตั้งเตสามารถเปลี่ยนแปลงสุขสมรรถนะ ได้แก่ ไขมันในร่างกาย มวลน้ำหนักตัวไม่รวมไขมัน มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและหายใจ และความอ่อนตัว รวมทั้งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


การพัฒนาโปรแกรมการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในพนักงานออฟฟิศตามโครงสร้างของทฤษฎีกระบวนการรับรู้ทางสังคม, ระวีวรรณ มาพงษ์ Jan 2020

การพัฒนาโปรแกรมการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในพนักงานออฟฟิศตามโครงสร้างของทฤษฎีกระบวนการรับรู้ทางสังคม, ระวีวรรณ มาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของพนักงานออฟฟิศในด้านความรู้ ทัศนคติ และการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบโปรแกรมการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในพนักงานออฟฟิศตามโครงสร้างของทฤษฎีกระบวนการรับรู้ทางสังคม และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในพนักงานออฟฟิศตามโครงสร้างของทฤษฎีกระบวนการรับรู้ทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามพฤติกรรมเนือยนิ่ง แบบสังเกตสิ่งแวดล้อม แบบสัมภาษณ์ โปรแกรมการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งตามโครงสร้างของทฤษฎีกระบวนการรับรู้ทางสังคม และเครื่องวัดพฤติกรรมเนือยนิ่งและกิจกรรมทางกาย กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานออฟฟิศ (บุคลากรสายปฏิบัติการ) คณะพลศึกษาและคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 78 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม (คณะวิศวกรรมศาสตร์) และกลุ่มทดลอง (คณะพลศึกษา) กลุ่มละ 39 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมจำนวน 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม ผลจากการศึกษา พบว่า 1) พนักงานออฟฟิศ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงานไปกับการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (383.85±93.03 นาที คิดเป็น 6 ชั่วโมง 23 นาที) จากการสัมภาษณ์พบว่าพนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ไม่รู้จักและไม่เข้าใจความหมายของพฤติกรรมเนือยนิ่ง สาเหตุของการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งในการทำงานเกิดจากภาระงาน อุปนิสัยส่วนตัว และสภาพอากาศ องค์กรไม่มีนโยบาย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้อต่อการลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และไม่มีการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานหรือองค์กรเพื่อลดพฤติกรมเนือยนิ่ง 2) โปรแกรมการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในพนักงานออฟฟิศตามโครงสร้างของทฤษฏีกระบวนการรับรู้ทางสังคมมีการปรับเปลี่ยนใน 2 ระดับคือการปรับเปลี่ยนในระดับองค์กรและการปรับเปลี่ยนในระดับตัวบุคคล ในระดับองค์กรมีการกำหนดนโยบายองค์กร เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม และพฤติกรรมองค์กรด้านสุขภาพ ระดับตัวบุคคลควรมีการให้ความรู้เพื่อเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเอง การตั้งเป้าหมาย และการควบคุมตนเอง มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.8 และ 3) การใช้โปรแกรมการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งในพนักงานออฟฟิศตามโครงสร้างของทฤษฏีกระบวนการรับรู้ทางสังคมระยะเวลา 8 สัปดาห์ ระดับองค์กรพบว่ามีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม และพฤติกรรมองค์กรด้านสุขภาพ ระดับบุคคลพบว่าพนักงานออฟฟิศที่เข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเนือยนิ่ง การสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ การเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้น มีอัตราการใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น (กลุ่มควบคุม 1.13±.01 MET กลุ่มทดลอง 1.17±.01 MET) มีพฤติกรรมเนือยนิ่งในการทำงานลดลง (กลุ่มควบคุม 397.30±39.33 นาที กลุ่มทดลอง 389.09±37.59 นาที) มีกิจกรรมทางกายที่ความหนักระดับต่ำเพิ่มขึ้น (กลุ่มควบคุม 50.99±18.75 นาที กลุ่มทดลอง 68.50±23.85 นาที) …


The Internationlization Of Sport Industry: A Study Of Thailand Sport Equipment Firms, Apithai Bumrungpanictarworn Jan 2020

The Internationlization Of Sport Industry: A Study Of Thailand Sport Equipment Firms, Apithai Bumrungpanictarworn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Entering international markets is one of many key strategies to ensure high and sustainable growth of the firm. It refers to how firms want to do business activities and their engagement in foreign markets. Many studies on the international market have been focused on entry mode strategies which is one of the most critical decisions in a firm's internationalization strategy. This research aimed to examine which factors influenced the entry mode decisions to enter foreign markets for sports equipment firms. A qualitative approach and multiple case study technique were used in this research. Important theories related to entry mode, such …


Effects Of Social Interaction And Transformational Leadership On Sport Event Volunteers' Perception Of Team Member Exchange, Kasidech Treethong Jan 2020

Effects Of Social Interaction And Transformational Leadership On Sport Event Volunteers' Perception Of Team Member Exchange, Kasidech Treethong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study contributes to the management of sport event volunteers, where particular team member exchange is crucial in promoting teamwork among sport event volunteers. The objectives of this study are 1) to examine the effects of social interaction and transformational leadership on the sport event volunteers' perception of team member exchange and 2) to examine the interaction effect between social interaction and transformational leadership on the sport event volunteers' perception of team member exchange. This study employed a field experiment and a post-experiment interview at the 2019 FIVB Volleyball Nations League Thailand. Subjects (n = 64) were assigned by stratified …


Factors Affecting Sports Sponsorship Alliance Formation, Supalux Suvathi Jan 2020

Factors Affecting Sports Sponsorship Alliance Formation, Supalux Suvathi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were four substances. First, to examine the effect of five variables, namely; value maximization, level of business network, risk of potential negative outcomes from scandal, congruence, and process manageability on sponsors' intention to end sports sponsorship alliance formation. Second, to examine the effect of five variables on properties' intention. Third, to compare the degree of the factors' effect on intention between sponsor and property. Fourth, to compare the degree of the factors' effect on intention between sponsor and property with direct experience in sporting industry and those without direct experience in sporting industry. This research …


ผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, วรวรรณ หัตถโชติ Jan 2020

ผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, วรวรรณ หัตถโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 42 – 65 ปี เพศชายและหญิง ประเมินความเสี่ยงที่เท้าอยู่ในระดับ 0 จำนวนทั้งสิ้น 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน โดยกลุ่มควบคุมให้นอนหงายราบโดยมีหมอนรองศีรษะเป็นเวลา 30 นาที และกลุ่มทดลองให้บริหารรยางค์ขาส่วนล่างข้างซ้ายด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการวัดปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วยความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ ใช้ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นและอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมภายหลังได้รับการบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยการไหลเวียนเลือดส่วนปลายหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที เพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวหนังหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที ลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับกลุ่มควบคุมพบว่ามีค่าเฉลี่ยการไหลเวียนเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นหลังการทดลองทันทีแตกต่างกับก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยของการไหลเวียนเลือดส่วนปลายหลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาที ลดลงเมื่อเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของอุณหภูมิผิวหนังที่เท้า พบว่า กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวหนังที่เท้าหลังการทดลองทันที หลังการทดลอง 10 นาที และหลังการทดลอง 20 นาทีลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย การบริหารรยางค์ขาส่วนล่างด้วยตนเองโดยใช้โฟมโรลเลอร์สามารถเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและส่งผลดีต่ออุณหภูมิผิวหนังที่เท้าที่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2


ผลของการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อการทรงตัวและการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อในนักกีฬาที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง, ณภัทร เครือทิวา Jan 2020

ผลของการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อการทรงตัวและการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อในนักกีฬาที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง, ณภัทร เครือทิวา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและการทำงานของระบบประสาทกล้ามเนื้อในนักกีฬาที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยเป็นนักกีฬาระดับมหาวิทยาลัย ทั้งเพศชายและหญิงที่มีภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง จำนวน 52 คน มีอายุระหว่าง 18-27 ปี โดยผ่านการตรวจร่างกายและเกณฑ์การคัดเข้าก่อนเข้าร่วมงานวิจัย จากการตอบแบบสอบถามประเมินตนเอง CAIT ได้คะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 24 คะแนน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 13 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย (Control) กลุ่มทดลอง 1 ที่ได้รับการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อเพียงอย่างเดียว (PPT) กลุ่มทดลอง 2 ที่ได้รับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายเพียงอย่างเดียว (WBV) และกลุ่มทดลอง 3 ที่ได้รับการฝึกการรับรู้และตอบสนองที่ข้อต่อร่วมกับการออกกำลังกายแบบสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อเนื่องกัน (PPT+WBV) โดยกลุ่มทดลองทั้ง 3 กลุ่มได้รับโปรแกรมการฝึกที่กำหนด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ในช่วงการทดลองทุกกลุ่มจะได้รับการฝึกซ้อมทักษะตามปกติภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ฝึกสอน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการฝึก ได้แก่ ข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป การทดสอบความสามารถในการทรงตัวขณะอยู่นิ่งโดยเครื่องไบโอเด็กซ์ (Biodex stability system) และการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวโดยการทดสอบการทรงตัวตามแนวเส้นรูปดาว (Star excursion balance test) วัดการรับรู้ความรู้สึกที่ข้อต่อ (Joint position senses, JPS) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้า ทดสอบการทำงานของข้อเท้าโดยการกระโดดลงสู่พื้น (Time to stability, TTS) และฮอฟแมนรีเฟล็กซ์ (H-reflex) ที่กล้ามเนื้อน่องด้านใน (Soleus muscle) ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างของทุกตัวแปรก่อนและหลังการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ขณะที่ทั้ง 3 กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยความสามารถในการทรงตัวทั้งขณะอยู่นิ่ง เวลาที่ผู้ทดสอบอยู่นิ่งหลังจากที่กระโดดลงมาสู้พื้นด้วยขาข้างเดียว และค่าเฉลี่ยความสูงของ H-reflex ที่กล้ามเนื้อ Soleus ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้นบางตัวแปรในกลุ่ม WBV ที่มีค่าความสามารถในการการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อที่ไม่เปลี่ยนแปลง (p>0.05) ส่วนกลุ่ม PPT ไม่พบความแตกต่างก่อนและหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้าและความสามารถในการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว และกลุ่ม PPT+WBV ไม่พบความแตกต่างของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเท้าที่ก่อนและหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p …


การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการระหว่างวัยที่มีผลต่อสุขภาพองค์รวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ, อุไรวรรณ ขมวัฒนา Jan 2020

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการระหว่างวัยที่มีผลต่อสุขภาพองค์รวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ, อุไรวรรณ ขมวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมนันทนาการระหว่างวัยและหาประสิทธิผลของโปรแกรมที่มีต่อสุขภาพองค์รวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและเพื่อพัฒนารูปแบบนันทนาการระหว่างวัย วิธีการดำเนินงานวิจัย มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาโปรแกรมนันทนาการระหว่างวัยและวัดประสิทธิผลของโปรแกรมที่มีต่อสุขภาพองค์รวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวน 470 คน จาก16 จังหวัด ตอบแบบสอบถามทัศนคติและความต้องการกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุ ระยที่ 2 ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การใช้เวลาว่างและความต้องการกิจกรรมนันทนาการระหว่างวัยของผู้สูงอายุ (อายุ 60-75ปี) และเด็ก(อายุ 5-12 ปี) ด้วยวิธีสนทนากลุ่ม(Focus Group) ผู้สูงอายุและสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) กับเด็ก ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาสร้างโปรแกรมนันทนาการระหว่างวัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์รวมและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 การหาประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยตามแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง (One Group Pretest - Posttest Design) เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนหมู่บ้านแหลมทองนิเวศน์จำนวน 20 คนเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการระหว่างวัยร่วมกับเด็กวัย 5-12 ปีเป็นเวลา 5สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ทำการวัดสมรรถภาพทางกาย สุขภาพจิต สุขภาพทางสังคม สุขภาพทางจิตวิญญาณและคุณภาพชีวิต ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบนันทนาการระหว่างวัย ผลการวิจัย การวิจัยในขั้นตอนที่ 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสุขภาพองค์รวม คือ สุขภาวะทางกายด้านความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขน ความคล่องแคล่วและความสามารถในการทรงตัวแบบเคลื่อนที่ สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณด้านความเป็นมิตร สุขภาวะทางสังคม และคุณภาพชีวิตโดยรวมก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการระหว่างวัยโดยใช้รูปแบบเชิงระบบ (Systematic Model) มีองค์ประกอบ 4 ส่วนคือ ปัจจัยนำเข้า (In Put) ประกอบด้วยชุมชนที่เข้มแข็ง ผู้นำกิจกรรมที่มีประสบการณ์ กระบวนการ …


The Influence Of Sports Facilities' Accessibility, Motivation, And Satisfaction On Word-Of-Mouth And Re-Participation Intentions Of Athletes With Physical Disabilities, Thee Trongjitpituk Jan 2020

The Influence Of Sports Facilities' Accessibility, Motivation, And Satisfaction On Word-Of-Mouth And Re-Participation Intentions Of Athletes With Physical Disabilities, Thee Trongjitpituk

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

More than a billion people are estimated to live with some form of disability, or about 15% of the world's population and the number is still growing. People with disabilities are less likely to participate in sports due to several physical barriers they face. In an effort to find ways to increase the sports participation rate of people with disabilities, the concept of marketing (satisfaction, word-of-mouth intention, and re-participation intention) was applied to the field of accessibility for the first time. This study consisted of three objectives: (1) to find out the dimension of sports facilities' accessibility and motivation, (2) …


การศึกษาตัวแปรทางคิเนมาติกส์ของท่าไซด์สเกลวิธสปลิตในนักกีฬายิมนาสติกลีลา, มนัสนันท์ ชัยธีระภัทรพงศ์ Jan 2020

การศึกษาตัวแปรทางคิเนมาติกส์ของท่าไซด์สเกลวิธสปลิตในนักกีฬายิมนาสติกลีลา, มนัสนันท์ ชัยธีระภัทรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรทางคิเนมาติกส์ของท่าไซด์สเกลวิธสปลิตที่ผ่านเกณฑ์ในนักกีฬายิมนาสติกลีลา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายิมนาสติกลีลา เพศหญิง อายุระหว่าง 15-25 ปี จำนวน 12 คน ทำการเก็บข้อมูลทางคิเนมาติกส์โดยใช้กล้องอินฟาเรดและกล้องวิดีโอความเร็วสูงจำนวน 8 ตัว และ 1 ตัวตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างติดเครื่องหมายสะท้อนแสงบนร่างกาย จำนวน 8 จุด เพื่อวัดความเร็วและความเร่งเชิงของมุมลำตัวเทียบกับแกน XY มุมต้นขาเทียบกับแกน YZ และมุมข้อสะโพก และความเร็วและความเร่งเชิงเส้นของลำตัว ต้นขา และขาส่วนปลาย ให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทำท่าไซด์สเกลวิธสปลิตจำนวน 10 ครั้ง ค้างท่าละ 1 วินาที โดยพักระหว่างครั้ง 1 นาที จากนั้นทำการคัดเลือกข้อมูลครั้งที่ผ่านเกณฑ์ คือสามารถยกขาขึ้นขนานกับแกน YZ ในช่วง 0±5 องศา และสามารถเอนตัวลงขนานกับแกน XY ในช่วง 0±5 องศา จำนวน 20 ข้อมูล ส่วนข้อมูลครั้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือไม่สามารถยกขาและเอนตัวไปถึงแกน YZ และ XY โดยคัดเลือกข้อมูลครั้งที่ยกขาไม่ถึงแกน YZ โดยทำมุมห่างจากแกน YZ มากที่สุด จำนวน 20 ข้อมูล ทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระหว่างกลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ค่าที (Dependent t-test) โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05. ผลการวิจัยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการเปรียบเทียบระหว่างครั้งที่ผ่านเกณฑ์ และครั้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์ของความเร็วเชิงมุมเฉลี่ยของมุมต้นขาเทียบกับแกน YZ และความเร็วเชิงมุมสูงสุดของมุมข้อสะโพก ความแตกต่างของความเร็วเชิงเส้นเฉลี่ยและความเร็วเชิงเส้นสูงสุดของต้นขาและขาส่วนปลาย นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของความเร่งเชิงเส้นเฉลี่ยของต้นขา เวลาในการเพิ่มความเร่งถึงจุดสูงสุดของลำตัว และพบความแตกต่างของระยะเวลาที่ใช้ในช่วงที่ 1 ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความเร็วและความเร่งเชิงมุมและเชิงเส้นของลำตัว รวมทั้งเวลาในการเพิ่มความเร็วสูงสุด สรุปผลการวิจัย การทำท่าไซด์สเกลวิธสปลิตที่ผ่านเกณฑ์ทำการเคลื่อนไหว โดยมีความเร่งช่วงแรกของการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มความเร็วในการยกขา หลังจากนั้นจะชะลอความเร็วของการยกขาลงร่วมกับการเอียงตัวไปทางด้านข้างเพื่อสร้างสมดุลในการทรงท่า ดังนั้นเพื่อให้สามารถทำท่าไซด์สเกลวิธสปลิตให้ผ่านเกณฑ์ได้นั้น นักกีฬาควรมีความแข็งแรง และกำลังของกล้ามเนื้อขาเพื่อให้สามารถยกขาได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในช่วงต้นของการยกขา ประกอบกับความยืดหยุ่นและการทำงานประสานสัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อส่วนอื่นเพื่อให้สามารถทรงท่าได้ผ่านเกณฑ์ที่กติกากำหนด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าความเร็วเชิงมุมและเชิงเส้นของข้อสะโพกเป็นตัวแปรสำคัญในการทำท่าไซด์สเกลวิธสปลิต ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกสำหรับนักกีฬายิมนาสติกลีลา


ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬา ในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์, พัชรินทร์ ตั้งชัยสุริยา Jan 2020

ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬา ในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์, พัชรินทร์ ตั้งชัยสุริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบปกติ การฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง และการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิตเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ที่มีต่อสมรรถภาพทางแอโรบิก ความทนต่อการเมื่อยล้า และความสามารถทางกีฬาในนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาจักรยานประเภทถนนรุ่นมาสเตอร์อายุระหว่าง 35 ถึง 49 ปี จำนวน 50 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มฝึกแบบปกติ (UST) จำนวน 16 คน ฝึกปั่นจักรยานแบบต่อเนื่อง 75 นาทีที่ความหนัก 65-70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2) กลุ่มฝึกปั่นจักรยานแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง (HIIT) จำนวน 17 คน ฝึกปั่นจักรยานแบบสลับช่วงที่ความหนักสูง 4 นาทีที่ความหนัก 80 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุดสลับกับการฝึกที่ความหนักเบา 2 นาทีที่ความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด จำนวน 4 รอบ 3) กลุ่มการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต (HIIT+BFR) จำนวน 17 คน ฝึกเหมือนกลุ่ม HIIT ยกเว้น รอบที่ 2 และ 4 ลดความหนักเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุดร่วมกับการจำกัดการไหลเวียนโลหิต 30 เปอร์เซ็นต์ของความดันการปิดกั้นหลอดโลหิตแดงอย่างสมบูรณ์ในขณะพัก ทุกกลุ่มได้รับการฝึกปั่นจักรยาน 6 วันต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นฝึกรูปแบบเฉพาะกลุ่ม 2 วันต่อวันสัปดาห์ ฝึกแบบต่อเนื่อง 120 นาทีที่ความหนัก ~55-60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2 วันต่อวันสัปดาห์ และ 75 นาทีที่ความหนัก ~65-70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังสูงสุด 2 วันต่อวันสัปดาห์ รวมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฝึก ทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา สมรรถภาพทางแอโรบิก สมรรถภาพทางกล้ามเนื้อ โครงสร้างและการทำงานของหลอดเลือด โครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อ สารชีวเคมีในเลือด และความสามารถทางกีฬาจักรยาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ …


ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ, ฌาณัฏฐ์ ภัคธันยสิทธิ์ Jan 2020

ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ, ฌาณัฏฐ์ ภัคธันยสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่ง วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักวิ่งเพื่อสุขภาพจากกลุ่มนักวิ่งจำนวน 7 กลุ่มในเครือข่ายสังคมออนไลน์ จำนวน 423 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ "ที" (t-test) และสถิติทดสอบ"เอฟ" (F-test) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's) ผลการวิจัย พบว่า 1. นักวิ่งเพื่อสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 64.04 มีทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับดีมาก มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี 2. เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพของนักวิ่งเพื่อสุขภาพ จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่งพบว่านักวิ่งเพื่อสุขภาพส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ระดับทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่ง และพฤติกรรมสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (ยกเว้นพฤติกรรมสุขภาพเพศชายและเพศหญิงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05) สรุปผลการวิจัย นักวิ่งเพื่อสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับการวิ่งอยู่ในระดับดีมาก และมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพจำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการวิ่งส่วนใหญ่มีความแตกต่างกัน


ผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน, อัครเศรษฐ เลิศสกุล Jan 2020

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน, อัครเศรษฐ เลิศสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดต่อความสามารถในการวิ่งมาราธอนในนักวิ่งวัยกลางคน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งมาราธอนทั้งเพศชายและหญิง 30 คน อายุระหว่าง 35 ถึง 45 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบใช้น้ำหนักตัว (กลุ่มใช้น้ำหนักตัว) กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักสูงร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันต่ำ (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดต่ำ) และกลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านที่ระดับความหนักต่ำร่วมกับการจำกัดการไหลของเลือดที่ระดับแรงดันสูง (กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูง) และทั้ง 3 กลุ่มได้รับการฝึกวิ่งตามโปรแกรม จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ และฝึกด้วยแรงต้านเฉพาะตามแต่ละกลุ่ม จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรก่อนการฝึกและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ได้แก่ 1) ตัวแปรด้านสรีรวิทยาทั่วไป; อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบและคลายตัว และองค์ประกอบของร่างกาย 2) ตัวแปรด้านสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ; ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ 3) ตัวแปรด้านสมรรถภาพทางแอโรบิก; ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด และระดับกั้นแอนแอโรบิก และ4) ตัวแปรด้านความสามารถในการวิ่ง; ระยะเวลาในการวิ่งมาราธอน และประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะวิ่ง ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ 3x2 (กลุ่ม x เวลา) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีแอลเอสดี ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนการฝึกและภายหลังการฝึก 12 สัปดาห์ กลุ่มฝึกทั้ง 3 กลุ่ม มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถของการออกแรงสูงสุดในท่าสควอท) และความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้น และมีระยะเวลาในการวิ่งมาราธอนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มฝึกด้วยการจำกัดการไหลของเลือดทั้ง 2 กลุ่มมีความทนทานของกล้ามเนื้อ (วัดโดยความสามารถในการนั่ง – ยืน) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้กลุ่มการจำกัดการไหลของเลือดสูงมีค่าประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานขณะการวิ่ง, กำลังสูงสุดของกล้ามเนื้อต้นขาท่าเหยียด - งอเข่า ที่ความเร็ว 180o/วินาที และค่างานของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังท่างอเข่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


พฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร, ณัฐนรี วาสนาทิพย์ Jan 2020

พฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร, ณัฐนรี วาสนาทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามตัวแปร เพศ และชั้นปีการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ทั้ง 4 ด้าน มีข้อคำถามทั้งหมด 62 ข้อ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็นคนไทยในกรุงเทพมหานครที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 480 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัย 1) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี 2) นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เพศชายมีพฤติกรรมการออกกำลังกายดีกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร เพศหญิงมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ดีกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนตัวแปรชั้นปีการศึกษา พบว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครที่มีชั้นปีการศึกษาต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สรุปผลการวิจัย นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกำลังกาย และพฤติกรรมความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง แต่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับดี


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, มุทิตา มุสิการยกูล Jan 2020

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, มุทิตา มุสิการยกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วิธีดําเนินการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้สูงอายุเพศชายและหญิง จำนวน 448 คน มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปี ที่มาใช้บริการหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐบาล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ตอน ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมและพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในระดับต่ำ ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า 0.05 สรุปผลการวิจัย ผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ได้แก่ ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ