Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Discipline
Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 241 - 253 of 253

Full-Text Articles in Construction Engineering and Management

Basic Highway Workzone Safety, Collin Shamberger Jan 2018

Basic Highway Workzone Safety, Collin Shamberger

Williams Honors College, Honors Research Projects

The purpose of this essay will be to examine, and provide information detailing work zone safety practices, and maximizing safety in construction zones. This report will examine the functionality of components of a work zone and how they work together, the use of standard construction drawings of work zones, personal protective equipment of workers, possible hazards of work zones, minimizing risks and ultimately work zone safety training. Also this report will provide a spreadsheet which can be used to calculate and layout a construction work zone based on a GPS location.


Building Information Modeling (Bim) Impact On Construction Performance, David D. John Jan 2018

Building Information Modeling (Bim) Impact On Construction Performance, David D. John

Electronic Theses and Dissertations

This study is designed to address the need for having a measure for Construction Performance on BIM-assisted construction projects. Through this study a new Construction Key Performance Indicator (CKPI) matrix is identified and created by the author. The CKPI could be used to assess BIM-assisted projects. Utilizing a sequential mixed methodology approach, academic and practitioner perspectives are assessed. A qualitative content analysis and quantitative descriptive analysis based on demographics are conducted to establish a better understanding of BIM and Construction Performance. The academic perspective is used to assess the relevance of BIMM and CKPI indicators, and the practitioner perspective is …


The Influences Of Granite Particle As A Mixing Material Of High-Strength Concrete, May Thazin Khine Jan 2018

The Influences Of Granite Particle As A Mixing Material Of High-Strength Concrete, May Thazin Khine

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study is to investigate the effect of granite particle on the properties of high strength concrete by the partial substitution as fine aggregate. By grouping two categories as concrete with and without admixture is also performed in this experiment. The granite particle substitution percentage for concrete with admixture is set with 0%, 20%, 30%, 40% and 50% by weight of fine aggregate and 0%, 10%, 15% and 20% by weight of fine aggregate for concrete without admixture. The testing of concrete strength is conducted with compressive, split tensile, flexural, water permeability, and microstructure. The result shows …


Noise Induced Hearing Loss Accountability On Jobsites Within The Construction Industry, Joseph O. Lamphere Jan 2018

Noise Induced Hearing Loss Accountability On Jobsites Within The Construction Industry, Joseph O. Lamphere

Construction Management

Noise induced hearing loss is a major issue on jobsites within the construction industry. Every day workers are exposed to hazardous levels of noise, but they are not being properly managed to mitigate this issue. Workers have misconceptions about the topic, but more surprisingly are sometimes indifferent to the effects; believing hearing loss is inevitable, or it can be cured with a hearing aide. Construction has inherent dangers that workers have to deal with every day. Hearing loss might not be on the top of their lists, but the effects are permanent, and they cannot be cured with a hearing …


การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม Jan 2018

การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการสำรวจชั้นดินด้วยวิธีการตรวจวัดคลื่นผิวดินแบบพาสซีฟแบบใหม่ใช้ชื่อว่า Power of Phase (POP) และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลการสั่นไหวของโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน การสร้างเส้นโค้งการกระจายของความเร็วคลื่นเฉือนด้วยวิธีการใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องหารากของสมการเบสเซลจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปริพันธ์เชิงเส้นรอบรูปวงกลมที่มีสมมติฐานว่าทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมต้องหาค่าได้ หรือในทางปฏิบัติคือ จำเป็นต้องมีจีโอโฟนเพื่อวัดการเคลื่อนที่ของผิวดินทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมเหมือนวิธีการที่ได้รับความนิยมในอดีต เช่น SPAC และ CCA เป็นต้น โดยหลักการการสร้างเส้นโค้งการกระจายด้วยวิธี POP คือการหาความสัมพันธ์ของเฟสของคลื่นผิวดินที่ได้จากการตรวจวัด จึงเป็นผลให้เส้นโค้งการกระจายที่คำนวณได้มีความซับซ้อนในการวิเคราะห์น้อยลงและมีความถูกต้องมากขึ้นในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยยังได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลของการสั่นไหวในโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ชั้นดินที่ความเร็วคลื่นเฉือนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามความลึก ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทวนสอบกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้นกับสัญญาณคลื่นที่สร้างจากแบบจำลองชั้นดินตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และผลตรวจวัดคลื่นผิวดินในสนามที่มีโครงสร้างพื้นดินแตกต่างกัน ซึ่งพบว่าวิธี POP สามารถคำนวณเส้นโค้งการกระจายได้ใกล้เคียงกับเส้นโค้งการกระจายทางทฤษฎีมากกว่าวิธี SPAC และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงโหมดการสั่นไหวของคลื่นผิวดินโหมดที่สูงขึ้นแสดงแยกแยะโครงสร้างชั้นดินได้ละเอียดกว่าการวิเคราะห์จากการสั่นไหวในโหมดพื้นฐานอย่างเดียว


พฤติกรรมสถิตของรอยต่อแบบทาบเดี่ยวระหว่างเหล็กและพอลิเมอร์เสริมเส้นใยที่ยึดเหนี่ยวด้วยวัสดุประสาน, บารมี กุลเกียรติอนันต์ Jan 2018

พฤติกรรมสถิตของรอยต่อแบบทาบเดี่ยวระหว่างเหล็กและพอลิเมอร์เสริมเส้นใยที่ยึดเหนี่ยวด้วยวัสดุประสาน, บารมี กุลเกียรติอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยึดเหนี่ยวระหว่างพอลิเมอร์เสริมเส้นใยและผิวเหล็กเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของ การเสริมกำลังภายนอกด้วยวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใย งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและ แผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน ประกอบด้วยกำลังยึดเหนี่ยว ความยาวยึดเหนี่ยวประสิทธิผล พลังงาน ต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส และรูปแบบการวิบัติ โดยทำการทดสอบรอยต่อแบบทาบเดี่ยว (เหล็กรูปตัวเอช ขนาด 150×150×7×10 มม. ยึดติดกับแผ่น CFRP ด้วยวัสดุเชื่อมประสาน) จำนวน 17 ตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย ความยาวของระยะยึดเหนี่ยว (75, 150, 250,และ 400 มม.) ขนาดรอยร้าวที่ผิว (0, 25, และ 50 มม.) อัตราส่วนสติฟเนสของเหล็กต่อวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใย (5.33 และ 8.21) และผลของอีพอกซีบนรอยร้าว เริ่มต้น จากผลการทดสอบพบว่า ค่ามอดุลัสยืดหยุ่นของ FRP มีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 18% ระยะยึด เหนี่ยวประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 21% และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสลดลง 59% รอยร้าวเริ่มต้นที่ยาวขึ้น มีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 15% ระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 7% และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ ผิวสัมผัสลดลง 9% อีกทั้งอีพอกซีบนรอยร้าวเริ่มต้นมีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 2% แต่ไม่มีผลอย่างเห็นได้ ชัดต่อระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผล และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสลดลง 22% ประเภทการวิบัติของ ชิ้นงานไม่มีข้อสังเกตอย่างเห็นได้ชัดต่อผลของรอยร้าวเริ่มต้นแต่อัตราส่วนสติฟเนสมีผลทำให้การวิบัติของบาง ชิ้นงานเปลี่ยนไปจากการวิบัติระหว่างผิวอีพอกซีและแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยเป็นแบบวิบัติระหว่างผิวอีพอกซี และแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยผสมวิบัติจากการหลุดล่อนของแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใย นอกจากนี้ผลของการใช้ สมการทำนายกำลังยึดเหนี่ยวสูงสุดและระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผลได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับผลทดสอบ


แบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อช่วยติดตามงานดินขุดและถมในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, วรพจน์ สินสวัสดิ์ Jan 2018

แบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อช่วยติดตามงานดินขุดและถมในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, วรพจน์ สินสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการสำคัญของงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน คือการปรับสภาพภูมิประเทศให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งกระบวนการปรับสภาพพื้นที่ระหว่างกระบวนการก่อสร้างเหล่านี้ โดยปกติไม่สามารถติดตามตรวจสอบได้ ทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เนื่องจากขาดระบบติดตามตรวจสอบที่เหมาะสมและสามารถสะท้อนสภาพพื้นที่จริงได้อย่างครบถ้วน ปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับและวิธีการจัดทำแบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขจากการประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศได้พัฒนาขึ้นมาก สามารถสร้างแบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขความละเอียดสูงของพื้นที่โครงการก่อสร้างได้ง่าย ใช้เวลาและค่าใช่จ่ายน้อย งานวิจัยนี้นําเสนอแนวคิดการพัฒนาระบบติดตามการทำงานซ้ำซ้อนของงานดินขุดและถมระหว่างกระบวนการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ระบบสำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม 2) ระบบสำหรับประมวลผลภาพถ่าย 3) ระบบสำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูลการทำงานซ้ำซ้อน กรณีศึกษาที่ใช้ทดสอบระบบเป็นโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พื้นที่ก่อสร้างอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาและมีพื้นที่ก่อสร้างจำกัด ผลการทดสอบระบบในกรณีศึกษา สามารถตรวจวิเคราะห์การทำงานซ้ำซ้อนทั้งในส่วนของกิจกรรมงานขุดดินและกิจกรรมงานถมดินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา อย่างไรก็ตามจากการทดสอบปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องแม่นยำเชิงปริมาณในพื้นที่ทดสอบขึ้นอยู่กับระบบสำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม


พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส Jan 2018

พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) และคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน (CNTs) โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือประเภทของท่อนาโนคาร์บอน ประกอบด้วย แบบผนังชั้นเดียว (SWCNTs) และแบบผนังหลายชั้น (MWCNTs) ปริมาณของท่อนาโนคาร์บอนที่ปริมาณ 0.25, 0.50, 1.00 และ 2.00% ของปริมาณอีพอกซี และประเภทของอีพอกซี ประกอบด้วยอีพอกซีชนิดค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1.30 และ 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่าพลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสและหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุดมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุด 51.11% และ 56.47% ตามลำดับ เมื่อใช้ SWCNTs ที่ 1.00% ของปริมาณอีพอกซีในอีพอกซีค่าความหนาแน่น 1.30 กิโลกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามการใช้ SWCNTs และ MWCNTs เสริมอีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้พลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส หน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด รวมถึงค่าการเลื่อนไถลสูงสุดที่ลดลง สำหรับรูปแบบการหลุดล่อนโดยส่วนใหญ่มีการแยกตัวที่วัสดุประสานและคอนกรีต ทั้งนี้การใช้อีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร โดยการใช้อีพอกซีเสริม SWCNTs ที่ปริมาณ 0.25% ของปริมาณอีพอกซี มีการหลุดล่อนจากการสูญเสียการยึดเหนี่ยวของวัสดุเชื่อมประสาน และการใช้ MWCNTs 0.25% ของปริมาณอีพอกซีมีการหลุดล่อนจากการแตกหักของคอนกรีต จากการตรวจสอบการยึดเหนี่ยวภายในชั้นของอีพอกซีและการยึดเหนี่ยวของอีพอกซีกับ CFRP ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน พบว่าให้ผลสอดคล้องกับผลของหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด โดยผลของชุดทดสอบที่มีหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูง มีลักษณะการยึดเกาะหรือการรวมตัวของอีพอกซีที่ดีและช่องว่างของอีพอกซีน้อย จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของท่อนาโนคาร์บอนที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติของอีพอกซี


A Bim-Database-Integrated System For Evaluating Building Life-Cycle Costs Using A Multi-Parametric Model, Hang Thi Thu Le Jan 2018

A Bim-Database-Integrated System For Evaluating Building Life-Cycle Costs Using A Multi-Parametric Model, Hang Thi Thu Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Life-cycle cost analysis (LCCA) has become an essential requirement of the sustainable procurement for many construction projects. Conventional building LCCA methods are extremely complex and time-consuming due to repetitive works, numerous required data, scattered data inputs, and various regulatory requirements, which subsequently lead to inaccurate building life-cycle costs (LCC). Building information modeling (BIM) offers a revolutionary information technology, which can overcome the asperities of the conventional building LCCA. This research develops the BIM-database-integrated system for evaluating building life-cycle costs using a multi-parametric model (BIM-BLCC). The BIM-BLCC consists of four interrelated modules. The relational database management module collects and organizes the …


การวิเคราะห์เส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังของเสาเหล็กเซลลูลาร์, จักรภัทร พันธรักษ์พงษ์ Jan 2018

การวิเคราะห์เส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังของเสาเหล็กเซลลูลาร์, จักรภัทร พันธรักษ์พงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์กำลังรับแรงอัดกระทำเยื้องศูนย์ของเสาเหล็กเซลลูลาร์ด้วยแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ 3 มิติโดยใช้โปรแกรม ABAQUS โดยในแบบจำลองได้คำนึงถึงความไม่สมบูรณ์เชิงเรขาคณิตและหน่วยแรงคงค้าง และตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองเสาเซลลูลาร์ด้วยสมการทำนายการโก่งเดาะแบบอิลาสติกสำหรับเสาเซลลูลาร์ ในการวิเคราะห์เสาเซลลูลาร์และเสาหน้าตัดตั้งต้นรับแรงอัดภายใต้แรงกระทำเยื้องศูนย์ สามารถสร้างเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังรับแรงอัดตามแนวแกนและแรงดัดร่วมกัน จากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แรงอัดกระทำเยื้องศูนย์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ของแบบจำลองเสาหน้าตัดตั้งต้นกับการวิเคราะห์กำลังด้วยสมการเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์อ้างอิงตามข้อกำหนด AISC-2016 พบว่า ผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองให้เส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดที่ใหญ่กว่าสมการตามข้อกำหนด และเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แรงอัดกระทำเยื้องศูนย์ระหว่างหน้าตัดเซลลูลาร์และหน้าตัดตั้งต้น พบว่าเสาเหล็กเซลลูลาร์มีกำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดต่ำกว่าเสาหน้าตัดตั้งต้นเมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่าต่ำกว่า 1.0 แต่มีกำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดสูงกว่าเสาหน้าตัดตั้งต้นเมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่ามากกว่าเท่ากับ 1.0 นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการสร้างเส้นปฏิสัมพันธ์กำลังสำหรับเสาเหล็กเซลลูลาร์ซึ่งเมื่อตรวจสอบกับผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ พบว่า ผลจากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ให้กำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดของเสาเซลลูลาร์ต่ำกว่าแนวทางการวิเคราะห์ที่เสนอเมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่าต่ำกว่า 0.5 แต่เมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่าเท่ากับ 1.0 ให้กำลังที่ใกล้เคียงแนวทางการวิเคราะห์ในบางกรณีของอัตราส่วนขนาดช่องเปิดและให้กำลังที่มากขึ้นสำหรับอัตราส่วนความชะลูดเท่ากับ 1.5 และ 2.0 ตามลำดับ


การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน, กนกวรรณ ศรีเสาวกาญจน์ Jan 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน, กนกวรรณ ศรีเสาวกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้ขับขี่ยานพาหนะเมื่อเห็นป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆและการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ภายในกรุงเทพมหานครจากแบบสอบถามออนไลน์ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะเศรษฐกิจสังคม คุณลักษณะพฤติกรรมการใช้ความเร็วและคุณลักษณะสถานการณ์การขับขี่ ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีสถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 907 ตัวอย่างพบดังนี้ 1) การตัดสินใจใช้ความเร็วเมื่อพบป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่ตัดสินใจชะลอความเร็วแต่จะใช้ความเร็วไม่ถึงป้าย 2) การเปลี่ยนช่องจราจรส่วนใหญ่ไม่คิดเปลี่ยนช่องจราจร 3) ความเร็วเฉลี่ยหลังผ่านป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนที่ตั้งใจใช้อยู่ที่ 93.44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4) การเชื่อฟังป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่เชื่อฟัง 5) การวิเคราะห์แบบจำลองความถดถอยโลจิสติกพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเชื่อฟังป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน ได้แก่ เพศ อายุ การตัดสินใจของยานพาหนะคันหน้า ความเร็วเฉลี่ยที่ใช้ประจำบนทางพิเศษ การได้รับใบสั่งจากการใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดและการประสบอุบัติเหตุในช่วง 3ปี โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มการเชื่อป้ายหลักคือ เพศ การได้รับใบสั่งจากการใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดแลละการตัดสินใจชะลอความเร็วของยานพาหนะคันหน้าเมื่อเห็นป้ายขีดจำกัดความเร็ว


การออกแบบระบบขนส่งผู้สูงอายุเพื่อกิจกรรมในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนวังทองหลางและบึงยี่โถ, ทรงพร สุวัฒิกะ Jan 2018

การออกแบบระบบขนส่งผู้สูงอายุเพื่อกิจกรรมในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนวังทองหลางและบึงยี่โถ, ทรงพร สุวัฒิกะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์และออกแบบระบบการขนส่งให้กับผู้สูงอายุเพื่อการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาคือชุมชนในเขตวังทองหลางและชุมชนในตำบลบึงยี่โถ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศูนย์กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ งานวิจัยนี้แบ่งการสำรวจเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นแรกเป็นการสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง การเลือกรูปแบบการบริการขนส่ง และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลจากการสำรวจขั้นแรกนำไปสู่แบบสอบถามการจำลองสถานการณ์การเลือกระบบขนส่งภายในชุมชน โดยทำการสอบถามกับผู้สูงอายุรวม 400 ท่าน โดยระบบขนส่งที่ผู้สูงอายุต้องการมีรูปแบบการบริการที่คล้ายกัน โดยทั้งสองชุมชนต้องการการบริการขนส่งที่มีตารางเวลาที่แน่นอน ต้องการค่าโดยสารที่มีราคาต่ำ ส่วนรูปแบบรถแตกต่างกันออกไป ชุมชนวังทองหลางซึ่งอยู่ในเขตเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำ สนใจรถสี่ล้อเล็ก ส่วนชุมชนบึงยี่โถซึ่งเป็นชุมชนชานเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำเช่นเดียวกัน สนใจรถกอล์ฟและนำผลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นเพื่อหาปริมาณการเดินทางในแต่ละระบบขนส่ง และผลจากแบบจำลองพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกระบบขนส่งภายในชุมชนที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับชุมชนในเขตเมืองได้แก่ เพศหญิง รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถบริการ และค่าโดยสาร ส่วนชุมชนชานเมืองได้แก่ เพศหญิง อายุ รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถ และค่าโดยสาร และผลจากการสำรวจนี้สามารถนำมาใช้ประมาณการต้นทุนและรายรับที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สามารถหาระบบขนส่งที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุภายในชุมชน ทั้งนี้หน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุสามารถนำมาวางแผนและเตรียมงบประมาณในการสนับสนุน หรือเป็นข้อเสนอแนะในการวางแผนการจัดระบบขนส่งที่มีความยั่งยืนให้กับชุมชน และงานวิจัยนี้จะเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป


สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู Jan 2018

สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิ โพรไพลีน (PP) ต่อการต้านทานสภาวะเพลิงไหม้ของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์มอร์ตาร์โดยตัวอย่างจะถูก น าไปเผาที่อุณหภูมิ400 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส และประเมินความต้านทานต่อสภาวะเพลิงไหม้ โดยท าทดสอบหาค่าก าลังคงค้างและตรวจสอบการหลุดล่อนของตัวอย่าง ในการศึกษานี้จะใช้ท่อ นาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้นผสมในปริมาณ 0%, 0.1%, 0.25% และ 0.50% โดยน้ าหนักของ ซีเมนต์ในขณะที่การผสมเส้นใย PP ในปริมาณร้อยละ 0.2 (โดยปริมาตร) มีวัตถุประสงค์เพื่อลด การหลุดล่อนของมอร์ตาร์ส าหรับส่วนผสมที่ไม่มีเส้นใย PP ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าการผสมท่อนาโน คาร์บอน 0.1% สามารถเพิ่มก าลังอัดได้ร้อยละ 8 นอกจากนั้นยังพบว่ามอร์ตาร์ที่ผสมท่อนาโน คาร์บอนร้อยละ 0.1 มีก าลังดัดมากที่สุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.22 MPa หลังจากการสัมผัสความร้อนที่ อุณหภูมิสูงพบว่าก าลังรับแรงของตัวอย่างมีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวอย่างสัมผัสกับความ ร้อนที่อุณหภูมิ1,000 องศาเซลเซียส จะพบว่าก าลังอัดของมอร์ตาร์มีค่าคงค้างอยู่ในช่วงร้อยละ 6.63 ถึง 12.60 อย่างไรก็ตามการผสมเส้นใย PP สามารถช่วยลดการหลุดล่อนของมอร์ตาร์ได้