Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Chulalongkorn University

Articles 1 - 30 of 44

Full-Text Articles in Construction Engineering and Management

การวิเคราะห์พฤติกรรมรับแรงอัดของเสาวัสดุผสมเหล็กหน้าตัดรูปตัวเอชหุ้มด้วยคอนกรีตบางส่วน, ปภาณ บางประสิทธิ์ Jan 2018

การวิเคราะห์พฤติกรรมรับแรงอัดของเสาวัสดุผสมเหล็กหน้าตัดรูปตัวเอชหุ้มด้วยคอนกรีตบางส่วน, ปภาณ บางประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยการศึกษาพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้นวัสดุผสมเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตบางส่วน (PCES) โดยพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้น PCES ประกอบไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างแรงอัดกับหน่วยการหดตัวตามแนวแกน กำลังรับแรงอัด และรูปแบบการวิบัติ งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการทดสอบเสาสั้น PCES หน้าตัดเหล็กรูปตัวเอชจำนวน 12 ตัวอย่างภายใต้แรงอัดกระทำต่อเนื่องตรงศูนย์ มีตัวแปรในการทดสอบได้แก่ การเปรียบเทียบพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้น PCES ที่ใช้เหล็กรีดร้อนกับเสาสั้น PCES ที่ใช้เหล็กเชื่อมประกอบ รวมถึงศึกษาผลของการเสริมเหล็กเส้นภายในเสาและผลของขนาดหน้าตัดเสาต่อพฤติกรรมรับแรงอัดของเสา จากนั้นศึกษากลไกการกระทำต่อกันระหว่างเหล็กรูปพรรณและคอนกรีตเพื่อใช้หาค่าแรงดันโอบรัดที่กระทำต่อคอนกรีต และนำเสนอแบบจำลองการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงอัดกับหน่วยการหดตัวตามแนวแกนของคอนกรีตที่พิจารณาผลการโอบรัดที่เหล็กรูปพรรณกระทำต่อคอนกรีต เพื่อทำนายกำลังรับแรงอัดของเสาสั้น PCES หน้าตัดเหล็กรูปตัวเอช และหน้าตัดเหล็กรูปกากบาท จากการเปรียบเทียบผลจากแบบจำลองกับผลการทดสอบ พบว่า แบบจำลองสามารถทำนายค่ากำลังรับแรงอัดได้แม่นยำกับผลการทดสอบมากกว่าค่าจากสมการออกแบบตามข้อกำหนด AISC360-16 ที่ไม่ได้พิจารณาแฟกเตอร์ความปลอดภัย สุดท้ายทำการศึกษาผลกระทบของตัวแปรออกแบบต่อพฤติกรรมรับแรงอัดของเสาสั้น PCES เหล็กรูปตัวเอชโดยใช้แบบจำลองที่เสนอ พบว่า 1.) กำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ได้รับการโอบรัดจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อ ความชะลูดของปีกเหล็กและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมีค่าต่ำลง ในขณะที่กำลังรับแรงที่จุดครากของเหล็กมีค่าสูงขึ้น และ 2.) กำลังรับแรงอัดของเอวเหล็กจะมีค่าต่ำลงเมื่อ ความชะลูดของปีกเหล็กมีค่าต่ำลง และความชะลูดของเอวเหล็กมีค่าสูงขึ้น


Risk Management Of Public-Private Partnership (Ppp) Infrastructure Projects In Laos, Siamphone Maneevong Jan 2018

Risk Management Of Public-Private Partnership (Ppp) Infrastructure Projects In Laos, Siamphone Maneevong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Public-private partnership (PPP) is a popular option of project delivery and contractual scheme between the public and private sectors public infrastructure projects. Many factors contribute to the success of PPP projects, most of which are country-specific. Since Laos has recently adopted PPP for several infrastructure projects, all stakeholders must understand the critical risks that influence the performance of PPP projects. In this research, we identify, evaluate and rank the critical risk factors and risk categories that affect the PPP project development of in Laos. The questionnaire survey and In-depth interviews were used to gather information from nine respondents, who represent …


The Influences Of Granite Particle As A Mixing Material Of High-Strength Concrete, May Thazin Khine Jan 2018

The Influences Of Granite Particle As A Mixing Material Of High-Strength Concrete, May Thazin Khine

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study is to investigate the effect of granite particle on the properties of high strength concrete by the partial substitution as fine aggregate. By grouping two categories as concrete with and without admixture is also performed in this experiment. The granite particle substitution percentage for concrete with admixture is set with 0%, 20%, 30%, 40% and 50% by weight of fine aggregate and 0%, 10%, 15% and 20% by weight of fine aggregate for concrete without admixture. The testing of concrete strength is conducted with compressive, split tensile, flexural, water permeability, and microstructure. The result shows …


การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม Jan 2018

การวิเคราะห์ชั้นดินโดยการวิเคราะห์คลื่นผิวดินหลายโหมดแบบย้อนกลับ, ถิรวัฒน์ ซิ้มเล่มกิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการสำรวจชั้นดินด้วยวิธีการตรวจวัดคลื่นผิวดินแบบพาสซีฟแบบใหม่ใช้ชื่อว่า Power of Phase (POP) และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลการสั่นไหวของโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน การสร้างเส้นโค้งการกระจายของความเร็วคลื่นเฉือนด้วยวิธีการใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องหารากของสมการเบสเซลจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปริพันธ์เชิงเส้นรอบรูปวงกลมที่มีสมมติฐานว่าทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมต้องหาค่าได้ หรือในทางปฏิบัติคือ จำเป็นต้องมีจีโอโฟนเพื่อวัดการเคลื่อนที่ของผิวดินทุกจุดบนเส้นรอบรูปวงกลมเหมือนวิธีการที่ได้รับความนิยมในอดีต เช่น SPAC และ CCA เป็นต้น โดยหลักการการสร้างเส้นโค้งการกระจายด้วยวิธี POP คือการหาความสัมพันธ์ของเฟสของคลื่นผิวดินที่ได้จากการตรวจวัด จึงเป็นผลให้เส้นโค้งการกระจายที่คำนวณได้มีความซับซ้อนในการวิเคราะห์น้อยลงและมีความถูกต้องมากขึ้นในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยยังได้พัฒนาวิธีการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงถึงผลของการสั่นไหวในโหมดที่สูงขึ้นของคลื่นผิวดิน ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ชั้นดินที่ความเร็วคลื่นเฉือนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามความลึก ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการทวนสอบกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้นกับสัญญาณคลื่นที่สร้างจากแบบจำลองชั้นดินตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และผลตรวจวัดคลื่นผิวดินในสนามที่มีโครงสร้างพื้นดินแตกต่างกัน ซึ่งพบว่าวิธี POP สามารถคำนวณเส้นโค้งการกระจายได้ใกล้เคียงกับเส้นโค้งการกระจายทางทฤษฎีมากกว่าวิธี SPAC และการวิเคราะห์แบบย้อนกลับที่คำนึงโหมดการสั่นไหวของคลื่นผิวดินโหมดที่สูงขึ้นแสดงแยกแยะโครงสร้างชั้นดินได้ละเอียดกว่าการวิเคราะห์จากการสั่นไหวในโหมดพื้นฐานอย่างเดียว


พฤติกรรมสถิตของรอยต่อแบบทาบเดี่ยวระหว่างเหล็กและพอลิเมอร์เสริมเส้นใยที่ยึดเหนี่ยวด้วยวัสดุประสาน, บารมี กุลเกียรติอนันต์ Jan 2018

พฤติกรรมสถิตของรอยต่อแบบทาบเดี่ยวระหว่างเหล็กและพอลิเมอร์เสริมเส้นใยที่ยึดเหนี่ยวด้วยวัสดุประสาน, บารมี กุลเกียรติอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การยึดเหนี่ยวระหว่างพอลิเมอร์เสริมเส้นใยและผิวเหล็กเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของ การเสริมกำลังภายนอกด้วยวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใย งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและ แผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน ประกอบด้วยกำลังยึดเหนี่ยว ความยาวยึดเหนี่ยวประสิทธิผล พลังงาน ต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส และรูปแบบการวิบัติ โดยทำการทดสอบรอยต่อแบบทาบเดี่ยว (เหล็กรูปตัวเอช ขนาด 150×150×7×10 มม. ยึดติดกับแผ่น CFRP ด้วยวัสดุเชื่อมประสาน) จำนวน 17 ตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย ความยาวของระยะยึดเหนี่ยว (75, 150, 250,และ 400 มม.) ขนาดรอยร้าวที่ผิว (0, 25, และ 50 มม.) อัตราส่วนสติฟเนสของเหล็กต่อวัสดุพอลิเมอร์เสริมเส้นใย (5.33 และ 8.21) และผลของอีพอกซีบนรอยร้าว เริ่มต้น จากผลการทดสอบพบว่า ค่ามอดุลัสยืดหยุ่นของ FRP มีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 18% ระยะยึด เหนี่ยวประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 21% และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสลดลง 59% รอยร้าวเริ่มต้นที่ยาวขึ้น มีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 15% ระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผลเพิ่มขึ้น 7% และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ ผิวสัมผัสลดลง 9% อีกทั้งอีพอกซีบนรอยร้าวเริ่มต้นมีผลทำให้กำลังยึดเหนี่ยวลดลง 2% แต่ไม่มีผลอย่างเห็นได้ ชัดต่อระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผล และพลังงานต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสลดลง 22% ประเภทการวิบัติของ ชิ้นงานไม่มีข้อสังเกตอย่างเห็นได้ชัดต่อผลของรอยร้าวเริ่มต้นแต่อัตราส่วนสติฟเนสมีผลทำให้การวิบัติของบาง ชิ้นงานเปลี่ยนไปจากการวิบัติระหว่างผิวอีพอกซีและแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยเป็นแบบวิบัติระหว่างผิวอีพอกซี และแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยผสมวิบัติจากการหลุดล่อนของแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใย นอกจากนี้ผลของการใช้ สมการทำนายกำลังยึดเหนี่ยวสูงสุดและระยะยึดเหนี่ยวประสิทธิผลได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบกับผลทดสอบ


แบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อช่วยติดตามงานดินขุดและถมในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, วรพจน์ สินสวัสดิ์ Jan 2018

แบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อช่วยติดตามงานดินขุดและถมในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, วรพจน์ สินสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการสำคัญของงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน คือการปรับสภาพภูมิประเทศให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งกระบวนการปรับสภาพพื้นที่ระหว่างกระบวนการก่อสร้างเหล่านี้ โดยปกติไม่สามารถติดตามตรวจสอบได้ ทำให้เกิดการทำงานซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เนื่องจากขาดระบบติดตามตรวจสอบที่เหมาะสมและสามารถสะท้อนสภาพพื้นที่จริงได้อย่างครบถ้วน ปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับและวิธีการจัดทำแบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขจากการประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศได้พัฒนาขึ้นมาก สามารถสร้างแบบจำลองพื้นผิวภูมิประเทศเชิงเลขความละเอียดสูงของพื้นที่โครงการก่อสร้างได้ง่าย ใช้เวลาและค่าใช่จ่ายน้อย งานวิจัยนี้นําเสนอแนวคิดการพัฒนาระบบติดตามการทำงานซ้ำซ้อนของงานดินขุดและถมระหว่างกระบวนการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ระบบสำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม 2) ระบบสำหรับประมวลผลภาพถ่าย 3) ระบบสำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูลการทำงานซ้ำซ้อน กรณีศึกษาที่ใช้ทดสอบระบบเป็นโครงการก่อสร้างถนนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง พื้นที่ก่อสร้างอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาและมีพื้นที่ก่อสร้างจำกัด ผลการทดสอบระบบในกรณีศึกษา สามารถตรวจวิเคราะห์การทำงานซ้ำซ้อนทั้งในส่วนของกิจกรรมงานขุดดินและกิจกรรมงานถมดินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา อย่างไรก็ตามจากการทดสอบปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องแม่นยำเชิงปริมาณในพื้นที่ทดสอบขึ้นอยู่กับระบบสำหรับเก็บข้อมูลภาคสนาม


พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส Jan 2018

พฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนและคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน, อมเรศ มธุรส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการยึดเหนี่ยวระหว่างแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) และคอนกรีตโดยใช้อีพอกซีเสริมท่อนาโนคาร์บอน (CNTs) โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา คือประเภทของท่อนาโนคาร์บอน ประกอบด้วย แบบผนังชั้นเดียว (SWCNTs) และแบบผนังหลายชั้น (MWCNTs) ปริมาณของท่อนาโนคาร์บอนที่ปริมาณ 0.25, 0.50, 1.00 และ 2.00% ของปริมาณอีพอกซี และประเภทของอีพอกซี ประกอบด้วยอีพอกซีชนิดค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1.30 และ 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร ผลการศึกษาพบว่าพลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัสและหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุดมีค่าเพิ่มขึ้นสูงสุด 51.11% และ 56.47% ตามลำดับ เมื่อใช้ SWCNTs ที่ 1.00% ของปริมาณอีพอกซีในอีพอกซีค่าความหนาแน่น 1.30 กิโลกรัมต่อลิตร อย่างไรก็ตามการใช้ SWCNTs และ MWCNTs เสริมอีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร มีแนวโน้มให้พลังงานการต้านทานการแตกหักที่ผิวสัมผัส หน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด รวมถึงค่าการเลื่อนไถลสูงสุดที่ลดลง สำหรับรูปแบบการหลุดล่อนโดยส่วนใหญ่มีการแยกตัวที่วัสดุประสานและคอนกรีต ทั้งนี้การใช้อีพอกซีที่ความหนาแน่น 1.65 กิโลกรัมต่อลิตร โดยการใช้อีพอกซีเสริม SWCNTs ที่ปริมาณ 0.25% ของปริมาณอีพอกซี มีการหลุดล่อนจากการสูญเสียการยึดเหนี่ยวของวัสดุเชื่อมประสาน และการใช้ MWCNTs 0.25% ของปริมาณอีพอกซีมีการหลุดล่อนจากการแตกหักของคอนกรีต จากการตรวจสอบการยึดเหนี่ยวภายในชั้นของอีพอกซีและการยึดเหนี่ยวของอีพอกซีกับ CFRP ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน พบว่าให้ผลสอดคล้องกับผลของหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูงสุด โดยผลของชุดทดสอบที่มีหน่วยแรงยึดเหนี่ยวสูง มีลักษณะการยึดเกาะหรือการรวมตัวของอีพอกซีที่ดีและช่องว่างของอีพอกซีน้อย จึงแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของท่อนาโนคาร์บอนที่มีการปรับปรุงคุณสมบัติของอีพอกซี


A Bim-Database-Integrated System For Evaluating Building Life-Cycle Costs Using A Multi-Parametric Model, Hang Thi Thu Le Jan 2018

A Bim-Database-Integrated System For Evaluating Building Life-Cycle Costs Using A Multi-Parametric Model, Hang Thi Thu Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Life-cycle cost analysis (LCCA) has become an essential requirement of the sustainable procurement for many construction projects. Conventional building LCCA methods are extremely complex and time-consuming due to repetitive works, numerous required data, scattered data inputs, and various regulatory requirements, which subsequently lead to inaccurate building life-cycle costs (LCC). Building information modeling (BIM) offers a revolutionary information technology, which can overcome the asperities of the conventional building LCCA. This research develops the BIM-database-integrated system for evaluating building life-cycle costs using a multi-parametric model (BIM-BLCC). The BIM-BLCC consists of four interrelated modules. The relational database management module collects and organizes the …


การวิเคราะห์เส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังของเสาเหล็กเซลลูลาร์, จักรภัทร พันธรักษ์พงษ์ Jan 2018

การวิเคราะห์เส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังของเสาเหล็กเซลลูลาร์, จักรภัทร พันธรักษ์พงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์กำลังรับแรงอัดกระทำเยื้องศูนย์ของเสาเหล็กเซลลูลาร์ด้วยแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ 3 มิติโดยใช้โปรแกรม ABAQUS โดยในแบบจำลองได้คำนึงถึงความไม่สมบูรณ์เชิงเรขาคณิตและหน่วยแรงคงค้าง และตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองเสาเซลลูลาร์ด้วยสมการทำนายการโก่งเดาะแบบอิลาสติกสำหรับเสาเซลลูลาร์ ในการวิเคราะห์เสาเซลลูลาร์และเสาหน้าตัดตั้งต้นรับแรงอัดภายใต้แรงกระทำเยื้องศูนย์ สามารถสร้างเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังรับแรงอัดตามแนวแกนและแรงดัดร่วมกัน จากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แรงอัดกระทำเยื้องศูนย์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ของแบบจำลองเสาหน้าตัดตั้งต้นกับการวิเคราะห์กำลังด้วยสมการเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์อ้างอิงตามข้อกำหนด AISC-2016 พบว่า ผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองให้เส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดที่ใหญ่กว่าสมการตามข้อกำหนด และเมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แรงอัดกระทำเยื้องศูนย์ระหว่างหน้าตัดเซลลูลาร์และหน้าตัดตั้งต้น พบว่าเสาเหล็กเซลลูลาร์มีกำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดต่ำกว่าเสาหน้าตัดตั้งต้นเมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่าต่ำกว่า 1.0 แต่มีกำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดสูงกว่าเสาหน้าตัดตั้งต้นเมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่ามากกว่าเท่ากับ 1.0 นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการสร้างเส้นปฏิสัมพันธ์กำลังสำหรับเสาเหล็กเซลลูลาร์ซึ่งเมื่อตรวจสอบกับผลการวิเคราะห์จากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ พบว่า ผลจากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ให้กำลังต้านทานแรงอัดร่วมกับแรงดัดของเสาเซลลูลาร์ต่ำกว่าแนวทางการวิเคราะห์ที่เสนอเมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่าต่ำกว่า 0.5 แต่เมื่ออัตราส่วนความชะลูดมีค่าเท่ากับ 1.0 ให้กำลังที่ใกล้เคียงแนวทางการวิเคราะห์ในบางกรณีของอัตราส่วนขนาดช่องเปิดและให้กำลังที่มากขึ้นสำหรับอัตราส่วนความชะลูดเท่ากับ 1.5 และ 2.0 ตามลำดับ


การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน, กนกวรรณ ศรีเสาวกาญจน์ Jan 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน, กนกวรรณ ศรีเสาวกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจของผู้ขับขี่ยานพาหนะเมื่อเห็นป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆและการเชื่อฟังของผู้ขับขี่ที่มีต่อป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ขับขี่รถยนต์ภายในกรุงเทพมหานครจากแบบสอบถามออนไลน์ ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะเศรษฐกิจสังคม คุณลักษณะพฤติกรรมการใช้ความเร็วและคุณลักษณะสถานการณ์การขับขี่ ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีสถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 907 ตัวอย่างพบดังนี้ 1) การตัดสินใจใช้ความเร็วเมื่อพบป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่ตัดสินใจชะลอความเร็วแต่จะใช้ความเร็วไม่ถึงป้าย 2) การเปลี่ยนช่องจราจรส่วนใหญ่ไม่คิดเปลี่ยนช่องจราจร 3) ความเร็วเฉลี่ยหลังผ่านป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนที่ตั้งใจใช้อยู่ที่ 93.44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 4) การเชื่อฟังป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่ตัดสินใจไม่เชื่อฟัง 5) การวิเคราะห์แบบจำลองความถดถอยโลจิสติกพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเชื่อฟังป้ายขีดจำกัดความเร็วแบบปรับเปลี่ยน ได้แก่ เพศ อายุ การตัดสินใจของยานพาหนะคันหน้า ความเร็วเฉลี่ยที่ใช้ประจำบนทางพิเศษ การได้รับใบสั่งจากการใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดและการประสบอุบัติเหตุในช่วง 3ปี โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มการเชื่อป้ายหลักคือ เพศ การได้รับใบสั่งจากการใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนดแลละการตัดสินใจชะลอความเร็วของยานพาหนะคันหน้าเมื่อเห็นป้ายขีดจำกัดความเร็ว


การออกแบบระบบขนส่งผู้สูงอายุเพื่อกิจกรรมในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนวังทองหลางและบึงยี่โถ, ทรงพร สุวัฒิกะ Jan 2018

การออกแบบระบบขนส่งผู้สูงอายุเพื่อกิจกรรมในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนวังทองหลางและบึงยี่โถ, ทรงพร สุวัฒิกะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์และออกแบบระบบการขนส่งให้กับผู้สูงอายุเพื่อการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาคือชุมชนในเขตวังทองหลางและชุมชนในตำบลบึงยี่โถ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศูนย์กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ งานวิจัยนี้แบ่งการสำรวจเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นแรกเป็นการสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง การเลือกรูปแบบการบริการขนส่ง และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลจากการสำรวจขั้นแรกนำไปสู่แบบสอบถามการจำลองสถานการณ์การเลือกระบบขนส่งภายในชุมชน โดยทำการสอบถามกับผู้สูงอายุรวม 400 ท่าน โดยระบบขนส่งที่ผู้สูงอายุต้องการมีรูปแบบการบริการที่คล้ายกัน โดยทั้งสองชุมชนต้องการการบริการขนส่งที่มีตารางเวลาที่แน่นอน ต้องการค่าโดยสารที่มีราคาต่ำ ส่วนรูปแบบรถแตกต่างกันออกไป ชุมชนวังทองหลางซึ่งอยู่ในเขตเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำ สนใจรถสี่ล้อเล็ก ส่วนชุมชนบึงยี่โถซึ่งเป็นชุมชนชานเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำเช่นเดียวกัน สนใจรถกอล์ฟและนำผลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นเพื่อหาปริมาณการเดินทางในแต่ละระบบขนส่ง และผลจากแบบจำลองพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกระบบขนส่งภายในชุมชนที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับชุมชนในเขตเมืองได้แก่ เพศหญิง รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถบริการ และค่าโดยสาร ส่วนชุมชนชานเมืองได้แก่ เพศหญิง อายุ รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถ และค่าโดยสาร และผลจากการสำรวจนี้สามารถนำมาใช้ประมาณการต้นทุนและรายรับที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สามารถหาระบบขนส่งที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุภายในชุมชน ทั้งนี้หน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุสามารถนำมาวางแผนและเตรียมงบประมาณในการสนับสนุน หรือเป็นข้อเสนอแนะในการวางแผนการจัดระบบขนส่งที่มีความยั่งยืนให้กับชุมชน และงานวิจัยนี้จะเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป


สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู Jan 2018

สมบัติเชิงกลของมอร์ตาร์เสริมท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิโพรไพลีนภายหลังอุณหภูมิสูง, นราธิป บุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ท่อนาโนคาร์บอนและเส้นใยพอลิ โพรไพลีน (PP) ต่อการต้านทานสภาวะเพลิงไหม้ของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์มอร์ตาร์โดยตัวอย่างจะถูก น าไปเผาที่อุณหภูมิ400 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส และประเมินความต้านทานต่อสภาวะเพลิงไหม้ โดยท าทดสอบหาค่าก าลังคงค้างและตรวจสอบการหลุดล่อนของตัวอย่าง ในการศึกษานี้จะใช้ท่อ นาโนคาร์บอนแบบผนังหลายชั้นผสมในปริมาณ 0%, 0.1%, 0.25% และ 0.50% โดยน้ าหนักของ ซีเมนต์ในขณะที่การผสมเส้นใย PP ในปริมาณร้อยละ 0.2 (โดยปริมาตร) มีวัตถุประสงค์เพื่อลด การหลุดล่อนของมอร์ตาร์ส าหรับส่วนผสมที่ไม่มีเส้นใย PP ผลการทดสอบบ่งชี้ว่าการผสมท่อนาโน คาร์บอน 0.1% สามารถเพิ่มก าลังอัดได้ร้อยละ 8 นอกจากนั้นยังพบว่ามอร์ตาร์ที่ผสมท่อนาโน คาร์บอนร้อยละ 0.1 มีก าลังดัดมากที่สุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 12.22 MPa หลังจากการสัมผัสความร้อนที่ อุณหภูมิสูงพบว่าก าลังรับแรงของตัวอย่างมีค่าลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวอย่างสัมผัสกับความ ร้อนที่อุณหภูมิ1,000 องศาเซลเซียส จะพบว่าก าลังอัดของมอร์ตาร์มีค่าคงค้างอยู่ในช่วงร้อยละ 6.63 ถึง 12.60 อย่างไรก็ตามการผสมเส้นใย PP สามารถช่วยลดการหลุดล่อนของมอร์ตาร์ได้


พฤติกรรมกระจกเทมเปอร์ติดตั้งด้วยตัวยึดต่อชนิดรูเจาะ, โสภณ ยศสาพงศ์ Jan 2018

พฤติกรรมกระจกเทมเปอร์ติดตั้งด้วยตัวยึดต่อชนิดรูเจาะ, โสภณ ยศสาพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการรับน้ำหนักคงที่ของกระจกเทมเปอร์ที่ติดตั้งด้วยตัวยึดต่อกระจกแบบเจาะรูโดยใช้ลมและน้ำในการทดสอบการบรรทุกน้ำหนักพร้อมทั้งทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดสอบที่ได้ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method ,FEM) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SAP2000 ในการสร้างแบบจำลอง โดยในการทดสอบใช้กระจกเทมเปอร์มีความหนา 12 mm ขนาด 1200x1200 mm ที่เจาะรู 18 mmและ 38 mm อย่างละ 1 ตัวอย่างและขนาด 1200x2400 mm ที่เจาะรู 38 mm 1 ตัวอย่าง เจาะรูที่กระจก 4 จุดต่อแผ่นสำหรับติดตั้งตัวยึดต่อกระจก 2 ผลิตภัณฑ์ เพื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการรับแรง ระยะโก่งตัว และการกระจายแรงในแผ่นกระจก โดยศึกษาเปรียบเทียบผลของผลิตภัณฑ์ตัวยึดต่อกระจกที่ต่างกัน ลักษณะการติดตั้งที่ต่างกัน ขนาดรูเจาะที่ต่างกันในตัวยึดต่อกระจกตัวเดียวกัน ขนาดกระจกที่ต่างกัน โดยรวม กระจกเทมเปอร์ ขนาด 1200x1200 mm สามารถรับแรงได้ในช่วง 16,000 Pa ถึง 19,400 Pa และมีการโก่งตัวที่ศูนย์กลางแผ่นกระจกที่ประมาณ 23 mm - 26 mm ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ และลักษณะการติดตั้งส่วน ขนาด 1200x2400 mm สามารถรับแรงได้ในช่วง 3,400 Pa ถึง 3,600 Pa และมีการโก่งตัวที่ศูนย์กลางแผ่นกระจกที่ประมาณ 93 mm - 98 mm ขึ้นอยู่กับลักษณะการติดตั้งเช่นกัน ในด้านการโก่งตัวที่กึ่งกลางกระจก มีแปรผันตามความสามารถในการรับแรงของกระจกที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง และพบว่ากระจกมีความเค้นสูงสุดเกิดขึ้นที่บริเวณ กึ่งกลางระหว่างจุดรองรับ ในทุกกรณีทดสอบ


พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีรถพลังงานไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ตฤณวรรษ ปานสอน Jan 2018

พฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีรถพลังงานไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร, ตฤณวรรษ ปานสอน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและตรวจสอบทัศนคติของผู้ใช้รถยนต์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากแบบสอบถาม โดยความสัมพันธ์ภายในแบบจำลองมาจากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี หรือ Technology Acceptance Model (TAM) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 401 ตัวอย่าง พบว่าแต่ละตัวแปรในแบบจำลอง ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญกับตัวแปรความตั้งใจที่จะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า ผลลัพธ์จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองพบว่า ตัวแปรสังเกตได้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแฝงเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุพบว่า แบบจำลองสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ ความตั้งใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าสามารถอธิบายได้จากตัวแปรแฝงภายใน ได้แก่ ทัศนคติที่มีต่อรถยนต์ไฟฟ้า การรับรู้ถึงความสะดวกในการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า การยอมรับทางด้านราคา และบรรทัดฐานทางสังคม โดยความสัมพันธ์มีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.527, 0.405, 0.403, 0.278 และ 0.259 ตามลำดับ ตัวแปรเชิงทัศนคติสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจในการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ใช้รถยนต์ได้ร้อยละ 42 การทราบและเข้าใจถึงทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้งานจะช่วยให้ผู้วางแผนหรือผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าทราบว่าควรจะส่งเสริมหรือควบคุมนโยบายที่เหมาะสมในกลุ่มเป้าหมาย


การศึกษาคุณสมบัติของโครงสร้างผนังประกอบที่เป็นฉนวนโฟมพอลิสไตรีนแบบขยายตัว, ธนิสร์ ชาญสุทธิกนก Jan 2018

การศึกษาคุณสมบัติของโครงสร้างผนังประกอบที่เป็นฉนวนโฟมพอลิสไตรีนแบบขยายตัว, ธนิสร์ ชาญสุทธิกนก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติด้านกำลังของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีน (Expanded Polystyrene Foam Composite Structural Insulated Panels) ใช้โฟมโพลิสไตรีน (Expanded Polystyrene Foam : EPS foam) เป็นวัสดุแกนกลางประกบด้วนแผ่นซีเมนต์ (Cement Board) ทั้ง 2 ด้านแล้วนำมาทดสอบเพื่อพัฒนาคุณสมบัติด้านกำลังโดยการนำเหล็กรีดเย็นรูปตัว C (Ribbed C-Channel) เสริมที่ขอบของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนทั้ง 4 ด้าน หลังจากนั้นนำผนังประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนแบบมีเหล็กไปทดสอบคุณสมบัติด้านกำลัง และคุณสมบัติอื่นๆ รวมถึงการนำคุณสมบัติที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผนังอื่นๆที่มีในท้องตลาด การทดสอบของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนประกอบด้วย กำลังรับแรงเฉือน กำลังรับแรงอัด คุณสมบัติการทนไฟ คุณสมบัติการนำความร้อน และคุณสมบัติการส่งผ่านของเสียง โดยผลของการทดสอบด้านกำลังสามารถพัฒนาคุณสมบัติด้านกำลังของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนแบบมีเหล็กได้ และจากการเปรียบเทียบคุณสมบัติของแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนทำให้ทราบว่าแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนมีคุณสมบัติการนำความร้อนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับผนังอื่นๆที่มีในท้องตลาด ซึ่งสามารถนำแผ่นประกอบที่เป็นฉนวนโฟมโพลิสไตรีนแบบมีเหล็กมาเป็นผนังทางเลือกที่มีความต้องการความเป็นฉนวนสูงได้


การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศและกลุ่มจุดสามมิติในการวางแผนวิธีก่อสร้าง:กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างทางยกระดับ, ธีรพล จิรธรรมคุณ Jan 2018

การประยุกต์ใช้ภาพถ่ายทางอากาศและกลุ่มจุดสามมิติในการวางแผนวิธีก่อสร้าง:กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างทางยกระดับ, ธีรพล จิรธรรมคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้วางแผนวิธีทำงานต้องอาศัยข้อมูลสภาพพื้นที่ปัจจุบันเพื่อออกแบบวิธีการทำงานที่สะท้อนกับสภาพความเป็นจริงเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้และมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามในโครงการประเภทโครงสร้างพื้นฐานถนนและทางยกระดับซึ่งมีลักษณะพื้นที่ก่อสร้างขนาดใหญ่และมีระยะทางมาก การวางแผนวิธีทำงานจากข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบันหรือรายละเอียดไม่ชัดเจนอาจส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนและไม่สามารถปฏิบัติงานตามแผนงาน งานวิจัยนี้จึงเสนอกรอบแนวคิดการประยุกต์ใช้ต้นแบบเสมือนช่วยวางแผนวิธีทำงานก่อสร้าง โดยอ้างอิงข้อมูลสภาพพื้นที่จากแบบจำลองกลุ่มจุดสามมิติ ที่ได้มาจากการประมวลผลภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนบังคับ ซึ่งช่วยทำให้สามารถสร้างแบบจำลองพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และต่อมาจึงพิสูจน์กรอบแนวคิดการประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพพื้นที่ในการวางแผนวิธีทำงานก่อสร้างด้วยการสร้างต้นแบบเสมือนแสดงวิธีทำงาน 3 กิจกรรมก่อสร้างในโครงการกรณีศึกษา ซึ่งผลลัพธ์ของการประยุกต์กรอบแนวคิดดังกล่าวคือ ต้นแบบเสมือนวิธีจัดการพื้นที่กองเก็บวัสดุ ต้นแบบเสมือนการทำงานของเครื่องจักร และต้นแบบเสมือนขั้นตอนการขนส่งวัสดุเข้าพื้นที่ก่อสร้าง จากกรอบแนวคิดดังกล่าว งานวิจัยนี้ยังได้พัฒนาระบบช่วยวางแผนวิธีทำงานก่อสร้างของโครงเหล็กเลื่อน LG-VPS (Launching Gantry - Virtual Prototyping System) ในกิจกรรมการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งถัดไปซึ่งใช้สมมติฐานวิธีทำงานและพารามิเตอร์ควบคุมเครื่องจักรบนพื้นฐานจากโครงการกรณีศึกษาในการพัฒนาระบบสร้างต้นแบบเสมือนให้สามารถแสดงวิธีทำงานได้อย่างอัตโนมัติ


การซึมผ่านของอนุภาคไอทะเลในตัวอย่างมอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยต่างชนิดในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย, นันทวิทย์ อาษานอก Jan 2018

การซึมผ่านของอนุภาคไอทะเลในตัวอย่างมอร์ตาร์ผสมเถ้าลอยต่างชนิดในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย, นันทวิทย์ อาษานอก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศไทยที่ห้อมล้อมไปด้วยชายฝั่งทะเล อีกทั้งยังตั้งอยู่ในสภาวะอากาศร้อนชื้น ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กบริเวณชายฝั่งประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มที่จะเสื่อมสภาพเนื่องจากการเกิดสนิมของเหล็กเสริมภายในเนื้อคอนกรีต อันเนื่องมาจากคลอไรด์ แม้ว่าโครงสร้างนั้นจะไม่ได้สัมผัสกับน้ำทะเลโดยตรง งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาความเข้มข้นของละอองคลอไรด์ในจังหวัดพังงาในระยะเวลา 84 วัน และจังหวัดชลบุรีในระยะเวลา 353 วัน โดยการใช้ตัวอย่างมอร์ตาร์ขนาด 10 ซม.x10 ซม.x10 ซม. ที่ผสมเถ้าลอยชนิดทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก่ เถ้าลอยแม่เมาะ (class C), เถ้าลอย BLCP (class C) และเถ้าลอยจากประเทศญี่ปุ่น (class C) โดยการใช้เถ้าลอยทดแทนซีเมนต์ในปริมาณ 30% โดยน้ำหนัก ควบคุม w/b = 0.55 ในทุกสัดส่วนผสม และบ่มในน้ำเป็นระยะเวลาทั้ง 28 วัน การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณคลอไรด์สะสมในแต่ละชั้นความลึก รวมทั้งศึกษาผลกระทบของเนื่องจากการชะล้างของคลอไรด์ที่ผิวหน้า(washout effect) อีกประการหนึ่งจากการศึกษาพบว่าเถ้าลอยที่นำมาใช้นั้น ถึงแม้ว่าจัดอยู่ในประเภทเดียวกันตามมาตรฐาน ASTM แต่ผลการซึมผ่านของคลอไรด์เข้าไปในมอร์ต้านั้นมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังพบว่าการชะล้างคลอไรด์ที่ผิวหน้าที่มีผลกระทบต่อปริมาณคลอไรด์ที่ผิวหน้าผ่านการวิเคราะห์จากปริมาณน้ำฝนสะสมในจังหวัดพังงา


ผลกระทบของปัจจัยเชิงพื้นที่ต่อราคาคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิธิกร เชื้อเจ็ดตน Jan 2018

ผลกระทบของปัจจัยเชิงพื้นที่ต่อราคาคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, นิธิกร เชื้อเจ็ดตน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาผลกระทบจากปัจจัยด้านลักษณะต่างๆของคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านกายภาพ ตำแหน่งที่ตั้ง และพื้นที่ย่านของคอนโดมิเนียม ที่ส่งผลต่อมูลค่าของคอนโดมิเนียม โดยใช้แบบจำลอง Hedonic Price ในการวิเคราะห์ คือสมการถดถอยเชิงเส้นตรง สมการถดถอยลอกอริทึม และสมการถดถอยกึ่งลอกอริทึม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยข้อมูลคอนโดมิเนียมใน BMR รวม 2 ข้อมูลโดยแบ่งเป็นข้อมูลคอนโดมิเนียมระดับโครงการ (หน่วยราคาต่อตารางเมตร) ประกอบไปด้วยคอนโดมิเนียม 998 แห่ง และข้อมูลคอนโดมิเนียมระดับยูนิต (หน่วยราคาต่อยูนิต) ประกอบไปด้วยจำนวนแบบยูนิต 4,104 แบบ จากการสำรวจคอนโดมิเนียม 1,217 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นข้อมูลคอนโดมิเนียมที่เปิดขายระหว่าง พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2560 จากการประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของแบบจำลอง OLS และการใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ พบว่าราคาคอนโดมิเนียมจะมีราคาลดลงแบบยืดหยุ่น โดยลดลงร้อยละ 0.077 ถึง 0.088 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลคอนโดมิเนียมระดับโครงการ และลดลงร้อยละ 0.116 ถึง 0.153 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลคอนโดมิเนียมระดับยูนิต จากระยะทางที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ร้อยละ 1 จากสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งมีค่าที่มากขึ้นร้อยละ 29 ถึง 70 จากการศึกษาวงจรตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอดีต (ครบรอบ 10 ปี) นอกจากนั้นยังพบว่าย่านธุรกิจหลักของกรุงเทพมหานครที่ทำให้ราคาคอนโดมิเนียมมีราคาสูงกว่าย่านอื่นคือย่านสีลม ตามด้วยย่านอโศก และย่านทองหล่อตามลำดับ


ผลกระทบของลักษณะมาตรฐานรถโดยสารและสถานะทางกฎหมายของผู้ประกอบการต่อสถิติการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารในประเทศไทย : กรณีศึกษา รถโดยสารระหว่างจังหวัดเส้นทางหมวด 3, ปณิธิ สามนคร Jan 2018

ผลกระทบของลักษณะมาตรฐานรถโดยสารและสถานะทางกฎหมายของผู้ประกอบการต่อสถิติการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารในประเทศไทย : กรณีศึกษา รถโดยสารระหว่างจังหวัดเส้นทางหมวด 3, ปณิธิ สามนคร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารประจำทางโดยจากสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ภาครัฐจึงมีนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดอุบัติเหตุ เช่น นโยบายยกเลิกการนำรถตู้โดยสารมาให้บริการเป็นรถโดยสารประจำทางและการกำหนดให้ผู้ประกอบการรถโดยสารต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล งานวิจัยนี้จะศึกษาปัจจัยด้านลักษณะของมาตรฐานรถและสถานะทางกฎหมายของผู้ประกอบการเพื่อให้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าควรดำเนินนโยบายดังกล่าวหรือไม่ โดยในการศึกษานี้ได้ใช้แนวทางเดียวกับการศึกษาในอดีตสำหรับเส้นทางรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพและต่างจังหวัด (เส้นทางหมวด 2) ซึ่งใช้แบบจำลองถดถอยปัวส์ซองและแบบจำลองถดถอยทวินามเชิงลบในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรลักษณะผู้ประกอบการและตัวแปรมาตรฐานรถ โดยจะศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของเส้นทางหมวด 3 หรือเส้นทางระหว่างจังหวัดสู่จังหวัด ผลการศึกษาพบว่าจำนวนรถตู้โดยสาร รถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสาร 2 ชั้นในเส้นทางส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญ แต่สำหรับสถานะของผู้ประกอบการนั้นยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่าการเป็นนิติบุคคลจะทำให้การให้บริการมีความปลอดภัยมากกว่า การกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของรถโดยสารจึงควรมุ่งเน้นไปที่ลักษณะการบริหารจัดการ และการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของรถแต่ละประเภท


การออกเเบบอย่างเหมาะสมสำหรับสะพานโครงข้อหมุนเหล็กด้วยวิธีฮาร์โมนีเสิร์ช, ปรัญญู จันภูตระกูล Jan 2018

การออกเเบบอย่างเหมาะสมสำหรับสะพานโครงข้อหมุนเหล็กด้วยวิธีฮาร์โมนีเสิร์ช, ปรัญญู จันภูตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงข้อหมุนเหล็กเป็นโครงสร้างที่นิยมใช้ทั่วไปในการก่อสร้างสะพาน หลังคา และโครงสร้างอื่นๆเนื่องจากเป็นโครงสร้างที่มีน้ำหนักเบาแต่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก งานวิจัยนี้ศึกษาการออกแบบสะพานโครงข้อหมุนเหล็ก 2 มิติเพื่อหาน้ำหนักที่น้อยที่สุดของสะพานโดยควบคุมความยาวช่วงและความสูงที่มากที่สุดของสะพาน การออกแบบอย่างเหมาะสมของสะพานโครงข้อหมุนเหล็กในที่นี้จะพิจารณาตัวแปรหลักทั้งขนาดหน้าตัดชิ้นส่วนและรูปร่างที่เหมาะสมของสะพานโดยใช้วิธีฮาร์โมนีเสิร์ช ซึ่งเลียนแบบการเรียบเรียงทำนองเพลงของนักดนตรี การออกแบบสะพานใช้วิธี LRFD และอ้างอิงมาตรฐาน AASHTO


การเลือกระบบการก่อสร้างแบบโมดูลาร์สำหรับอาคารพักอาศัยแบบเตี้ยในประเทศไทย, บุญชาญ ไผทสมาน Jan 2018

การเลือกระบบการก่อสร้างแบบโมดูลาร์สำหรับอาคารพักอาศัยแบบเตี้ยในประเทศไทย, บุญชาญ ไผทสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยประสบปัญหาหลายประการซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา โดยได้เริ่มมีการประยุกต์ใช้การก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและยังไม่สามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยสำหรับเลือกรูปแบบการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์และนำเสนอรูปแบบของการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยแบบเตี้ยประเภททาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมแบบเตี้ยด้วยระบบโมดูลาร์ที่เหมาะสม โดยใช้ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 17 ราย และใช้เทคนิคเดลฟายในการหาข้อสรุป จากนั้นใช้กระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้น (AHP) ในการเปรียบเทียบรูปแบบของการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์แต่ละชนิดโดยใช้ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 ราย จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ใช้สำหรับเลือกรูปแบบการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์มีทั้งหมด 12 ปัจจัย ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของโครงการ เวลา ต้นทุน คุณภาพ สิ่งแวดล้อม แรงงาน การขนส่ง ความยืดหยุ่น ความปลอดภัย ความชำนาญของแรงงาน ความหลากหลาย และข้อจำกัดของพื้นที่ก่อสร้าง สำหรับรูปแบบของการก่อสร้างด้วยระบบโมดูลาร์ที่เหมาะสมในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดพบว่าเป็นโมดูลาร์ชนิดเต็มรูปแบบและงานภายในแล้วเสร็จสมบูรณ์เนื่องจากมีการผลิตและติดตั้งงานภายในแล้วเสร็จจากโรงงานผลิตจึงสามารถควบคุมคุณภาพได้ สามารถถูกติดตั้งได้รวดเร็วที่หน่วยงานก่อสร้าง นอกจากนี้มีการใช้เครื่องจักรในการทำงานเป็นหลักจึงสามารถลดความต้องการใช้แรงงานเป็นหลักลงได้


การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว Jan 2018

การพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่าผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ, ปาณิศา แสงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนาคอนกรีตมวลเบาระบบเซลลูล่า (Cellular Lightweight Concrete; CLC) โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร 2 ชนิด ได้แก่ เส้นใยปาล์มน้ำมันและถ่านชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างทดสอบแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC แบบปกติ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นใยปาล์ม, คอนกรีต CLC ผสมถ่านชีวภาพ, คอนกรีต CLC ผสมเส้นในปาล์มและถ่านชีวภาพ จากผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนเส้นใยปาล์มที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่น กำลังอัด กำลังดึง การถ่ายเทความร้อนของคอนกรีต CLC สูงขึ้น แต่อัตราส่วนการดูดซึมน้ำลดลง สัดส่วนของถ่านชีวภาพที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กำลังอัด กำลังดึง สูงขึ้น อัตราการดูดซึมน้ำและการถ่ายเทความร้อนลดลง งานวิจัยนี้ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้งานด้านคุณสมบัติและเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานมี 2 กลุ่ม ได้แก่ คอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 50) ผสมถ่านชีวภาพร้อยละ 15 และคอนกรีต CLC (โฟมร้อยละ 60) ผสมเส้นใยปาล์มและถ่านชีวภาพร้อยละ 1.5 และ 10 กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีความสามารถถ่ายเทความร้อนได้ต่ำ ซึ่งช่วยประหยัดการใช้พลังงานเครื่องปรับอากาศภายในอาคารได้ ในด้านเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้และมีประโยชน์ในการลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียต่อปี ดังนั้นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นส่วนผสมในคอนกรีต CLC นั้น จึงช่วยพัฒนาคุณสมบัติบางประการหากใส่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นแนวทางในการกำจัดของเสียและสามารถพัฒนาต่อยอดการผลิตคอนกรีต CLC ได้ในอนาคต


การศึกษาพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อพิเศษแบบแห้งสาหรับคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรงที่เสริมด้วยเส้นใยเหล็ก, วรพล ภัทรกรณ์ Jan 2018

การศึกษาพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อพิเศษแบบแห้งสาหรับคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรงที่เสริมด้วยเส้นใยเหล็ก, วรพล ภัทรกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในงานก่อสร้างสะพานเอื้อประโยชน์หลายอย่าง ทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย สามารถควบคุมคุณภาพได้เป็นอย่างดี และการก่อสร้างทำได้อย่างรวดเร็ว ในอดีตชิ้นส่วนสำเร็จรูปแต่ละชิ้นส่วนจะเชื่อมต่อกันโดยใช้อีพ็อกซีเป็นตัวเชื่อมประสานทำให้ได้รอยต่อที่แข็งแรง แต่ก็มีข้อเสียคือจะเป็นการเพิ่มขั้นตอนการก่อสร้างให้ยุ่งยากและเสียเวลามากขึ้น ต่อมาจึงมีการใช้งานรอยต่อแบบแห้งขึ้น ซึ่งสามารถลดขั้นตอนการก่อสร้างให้สะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามรอยต่อแบบแห้งก็มีข้อจำกัดในการใช้งาน นั่นคือ ผิวสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นส่วนซึ่งมักทำเป็นสลักรับแรงเฉือน ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างแนบสนิทพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอยต่อประเภทหลายสลัก ดังนั้นการถ่ายกำลังรับแรงเฉือนจึงไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มความสามารถ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกำลังรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งประเภทหลายสลัก โดยการหล่อชิ้นงานเป็นรอยต่อพิเศษแบบแห้ง และทำการทดสอบพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อพิเศษที่ทำจากวัสดุต่างกัน ดังนี้ คอนกรีตปกติ คอนกรีตกำลังสูง คอนกรีตผสมเส้นใยเหล็ก 0.5 และ 1 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดสอบพบว่า การควบคุมแรงอัดด้านข้างให้มีค่าคงที่จะทำให้รอยต่อพิเศษแบบแห้งหลายสลักมีพฤติกรรมการรับเฉือนคล้ายกับรอยต่อสลักเดี่ยว รอยต่อพิเศษที่ทำจากคอนกรีตกำลังสูงมีค่า Normalized shear strength น้อยกว่าคอนกรีตปกติ และการผสมเส้นใยเหล็กในคอนกรีตจะช่วยเพิ่มค่า Normalized shear strength ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามกำลังรับแรงเฉือนจากการทดสอบเกือบทุกกรณีก็ยังมีค่าน้อยกว่าสูตรคำนวณของ AASHTO และ Rombach and Specker


การสำรวจโครงสร้างจุลภาคและพฤติกรรมกำลังของดินเหนียวบวมตัวที่ปรับปรุงด้วยปูนขาวและซีเมนต์, สุวิจักขณ์ สิทธิอวิรุทธ์ Jan 2018

การสำรวจโครงสร้างจุลภาคและพฤติกรรมกำลังของดินเหนียวบวมตัวที่ปรับปรุงด้วยปูนขาวและซีเมนต์, สุวิจักขณ์ สิทธิอวิรุทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดินเหนียวบวมตัวถือว่าเป็นดินที่ก่อให้เกิดปัญหาในงานวิศวกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากดินชนิดนี้มีค่าการบวมตัวสูงส่งผลให้เกิดการแตกร้าวเสียหายต่อชั้นผิวทางและฐานรากอาคาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของดินเหนียวแม่เมาะซึ่งเป็นดินบวมตัวธรรมชาติด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์ เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุในงานทาง โดยจะศึกษาคุณสมบัติทางด้านกำลังและการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางจุลภาคของดินเหนียวที่ถูกปรับปรุงคุณภาพนี้ ดินเหนียวแม่เมาะถูกนำมาทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานเบื้องต้นเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นทำการปรับปรุงคุณภาพดินเหนียวโดยการเพิ่มเสถียรภาพด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์ที่อัตราส่วนผสม 6 8 10 และ 12% ตัวอย่างดินแต่ละส่วนผสมจะถูกนำมาทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยว ค่าซีบีอาร์ (CBR) ค่าโมดูลัสคืนตัว และค่าความเร็วคลื่นที่เดินทางผ่านตัวอย่างดินด้วยการทดสอบด้วยวิธีการสั่นพ้องปลายอิสระ (Free-free resonant method) ผลการทดสอบดินเหนียวที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยสารผสมเพิ่มพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดี่ยวและค่าซีบีอาร์มีการพัฒนากำลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าตามระยะเวลาบ่มที่แตกต่างกัน ค่ากำลังรับแรงของดินตัวอย่างที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์มีค่ามากกว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาว ในขณะเดียวกันการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวสามารถลดการบวมตัวได้ดีกว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ จากผลการทดสอบยังสังเกตเห็นว่าค่าความเค้นเบี่ยงเบนและความเค้นรอบข้างมีอิทธิพลอย่างมากต่อค่าโมดูลัสคืนตัวของดินเหนียวที่ปรับปรุงด้วยสารเคมี เมื่อทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นเบี่ยงเบนและค่าโมดูลัสยืดหยุ่นพบว่าเมื่อค่าความเบี่ยงเบนเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นมีค่าลดลง การหาความเร็วคลื่นในดินด้วยการทดสอบด้วยวิธีการสั่นพ้องปลายอิสระพบว่า ค่าความเร็วคลื่นปฐมภูมิ (P-wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S-wave) ที่วัดจากตัวอย่างดินเหนียวที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์มีค่าเพิ่มขึ้นทีละน้อยตามระยะเวลาบ่ม ในทางกลับกันพบว่าค่าความเร็วคลื่นที่วัดจากตัวอย่างที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวมีค่าลดลงหลังจากระยะเวลาบ่ม 28 วัน งานวิจัยสังเกตการเปลี่ยนโครงสร้างทางจุลภาคของดินเหนียวก่อนและหลังปรับปรุงด้วยสารเคมี ด้วยภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และเครื่องวิเคราะห์ตัวอย่างโดยเทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (XRF) และเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD) โดยผลการทดสอบพบว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาไฮเดรชันและปอซโซลานิก ซึ่งทั้งสองปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ของแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต (CSH) และเอททริงไกต์ (Et) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่มีส่วนช่วยในการพัฒนากำลังและลดการบวมตัวของดินเหนียวที่ถูกปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนขาวและปูนซีเมนต์


การประเมินกำลังของเสาวัสดุผสมโดยใช้ฐานข้อมูลการทดสอบ, วรพล ฮ้อแสงชัย Jan 2018

การประเมินกำลังของเสาวัสดุผสมโดยใช้ฐานข้อมูลการทดสอบ, วรพล ฮ้อแสงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการประเมินสมการทำนายกำลังของเสาวัสดุผสมตามข้อกำหนด AISC 360-16 และมาตรฐาน Eurocode 4 โดยได้รวบรวมข้อมูลผลการทดสอบเสาวัสดุผสมจากงานวิจัยในอดีตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง ปัจจุบัน เพื่อสร้างฐานข้อมูลการทดสอบเสาวัสดุผสม และได้ใช้ข้อมูลผลการทดสอบจำนวน 76 426 และ 347 ตัวอย่าง ในการประเมินความแม่นยำและความปลอดภัยของสมการทำนายกำลังสำหรับเสาเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีต เสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดกลมและหน้าตัดสี่เหลี่ยม ตามลำดับ โดยพบว่า สมการทำนายกำลังตามข้อกำหนด AISC 360-16 สามารถทำนายกำลังของเสาเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตและเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตภายใต้แรงอัดกระทำตรงศูนย์ได้อย่างปลอดภัย แม้ว่ากำลังของวัสดุที่ใช้จะสูงกว่าขอบเขตกำลังของวัสดุที่ระบุไว้ในข้อกำหนด ในขณะที่ สมการทำนายกำลังตามมาตรฐาน Eurocode 4 ทำนายกำลังสูงกว่าผลการทดสอบบางตัวอย่างสำหรับเสาเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตและเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดสี่เหลี่ยมที่ใช้เหล็กรูปพรรณที่มีหน่วยแรงครากสูงกว่าขอบเขตที่ระบุไว้ในมาตรฐาน นอกจากนี้ ฐานข้อมูลการทดสอบได้ถูกใช้ในการวิเคราะห์การถดถอยเชิงสัญลักษณ์เพื่อศึกษาผลกระทบของขนาดเสาต่อหน่วยแรงอัดสูงสุดของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดกลม โดยพบว่า ผลกระทบของขนาดเสาต่อหน่วยแรงอัดสูงสุด ขึ้นอยู่กับขนาดของท่อเหล็ก อัตราส่วนเหล็กรูปพรรณ และกำลังอัดของคอนกรีต งานวิจัยนี้ยังได้นำเสนอแนวทางในการสร้างเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังของเสาวัสดุผสมในรูปแบบไร้หน่วยจากผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงสัญลักษณ์สำหรับช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตหน้าตัดกลม โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์รูปแบบไร้หน่วยสำหรับเสาคอนกรีตเสริมเหล็กภายใต้แรงในแนวแกนและแรงดัดกระทำร่วมกัน


การประยุกต์ใช้วิธีการหาค่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการออกแบบฐานรากตื้น, อดุลพัฒน์ บุนนาค Jan 2018

การประยุกต์ใช้วิธีการหาค่าเหมาะสมที่สุดสำหรับการออกแบบฐานรากตื้น, อดุลพัฒน์ บุนนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการประยุกต์ใช้วิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดกับปัญหาการออกแบบฐานรากตื้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาการออกแบบฐานรากเดี่ยวรับแรงในแนวแกนดิ่ง แรงในแนวแกนราบ โมเมนต์ดัด และโมเมนต์บิด ตามข้อกำหนดการออกแบบฐานรากของ DAS (2016) และ มาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ACI318-14 2) ปัญหารูปแบบการจัดวางน้ำหนักบรรทุกที่ทำให้เกิดค่าแรงวิกฤตสำหรับคานบนฐานรากยืดหยุ่นที่มีสัมประสิทธิ์ต้านทานแรงกดของชั้นดินไม่คงที่ ปัญหาฐานรากเดี่ยวมีวัตถุประสงค์เพื่อหาขนาดของฐานรากและปริมาณการเสริมเหล็กให้มีราคาวัสดุที่ต่ำที่สุดและยังสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามที่มาตฐานกำหนดไว้อย่างปลอดภัย และสำหรับปัญหาคานบนฐานรากยืดหยุ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการวางตัวของน้ำหนักบรรทุก (Load Pattern) ที่ทำให้เกิดโมเมนต์ดัดและแรงเฉือนวิกฤตสูงสุดเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบเหล็กเสริมต่อไป ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการหาคำตอบที่ดีที่สุดได้ศึกษาจากวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดทั้งหมด 6 วิธี ประกอบด้วย อัลกอริทึมสำเร็จรูปในโปรแกรมแมทแลป จำนวน 2 อัลกอริทึม ได้แก่ fmincon, Pattern search และวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบเมตาฮิวริสติก จำนวน 4 อัลกอริทึม ได้แก่ วิธีหาค่าเหมาะสมแบบกลุ่มอนุภาค วิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบหิ่งห้อย วิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบนกกาเหว่า และวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดด้วยระบบอาณาจักรมด จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการประยุกต์ใช้วิธีการหาค่าที่ดีที่สุดร่วมกับแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น พบว่าวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบนกกาเหว่าเป็นวิธีที่สามารถหาคำตอบได้ดีที่สุดและพบว่าวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบอาณาจักรมดเป็นวิธีที่สามารถหาคำตอบได้โดยใช้เวลาประมวลผลน้อยที่สุด


พฤติกรรมของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณรับแรงกระทำเยื้องศูนย์, รณพีร์ รุ่งมงคลรัตน์ Jan 2018

พฤติกรรมของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณรับแรงกระทำเยื้องศูนย์, รณพีร์ รุ่งมงคลรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาพฤติกรรมของเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณรับแรงกระทำเยื้องศูนย์ รูปแบบการทดสอบประกอบด้วย เสารับแรงกระทำตรงศูนย์ เสารับแรงกระทำเยื้องศูนย์ และคานรับแรงดัด หน้าตัดท่อสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 150x150 มิลลิเมตร เติมด้วยคอนกรีตที่มีกำลังรับแรงอัดประลัยเฉลี่ยเท่ากับ 22.5 เมกะปาสคาล ที่เสริมด้วยเหล็กรูปพรรณรูปตัวเอช (H) ขนาด 100x9.30 กิโลกรัมต่อเมตร เสามีความสูง 450 มิลลิเมตร และคานมีความยาว 1500 มิลลิเมตร ตัวแปรทดสอบที่ศึกษาได้แก่ ระยะเยื้องศูนย์ (0, 15 และ 30 มิลลิเมตร) และการติดตั้งหรือไม่ติดตั้งสลักรับแรงเฉือน จากการทดสอบพบว่า (1) เสาจะมีกำลังรับแรงอัดมากที่สุดเมื่อแรงกระทำตรงศูนย์ โดยกำลังรับแรงอัดจะลดลงเมื่อแรงกระทำห่างจากจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดมากขึ้น (2) การติดตั้งสลักรับแรงเฉือนช่วยเพิ่มกำลังรับแรงอัด ให้สาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณ และช่วยเพิ่มความต้านทานการโก่งเดาะเฉพาะที่ของตัวอย่างที่รับแรงกระทำเยื้องศูนย์ (3) เสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กรูปพรรณมีกำลังรับแรงอัดมากกว่าผลรวมของกำลังรับแรงอัดจากท่อเหล็ก เหล็กรูปพรรณ และคอนกรีต ที่มีขนาดและวัสดุเดียวกัน และมากกว่าผลรวมของกำลังรับแรงอัดจากเสาท่อเหล็กเติมด้วยคอนกรีตและเหล็กรูปพรรณ เนื่องจากพฤติกรรมเชิงประกอบของวัสดุ และคอนกรีตถูกโอบรัดโดยเสาท่อเหล็กและท่อเหล็ก ศึกษาสมการเส้นโค้งปฏิสัมพันธ์กำลังรับแรงอัดและแรงดัดจากข้อกำหนด AISC360-16และมาตรฐาน Eurocode4 พบว่าการประยุกต์ใช้สูตรการคำนวณจากข้อกำหนด AISC 360-16 และมาตรฐาน Eurocode4 ใกล้เคียงกับผลการทดสอบ โดยทำนายค่ากำลังรับแรงกระทำตรงศูนย์ไว้สูงกว่าผลการทดสอบ แต่ทำนายค่ากำลังรับแรงกระทำเยื้องศูนย์และแรงดัดต่ำกว่าผลการทดสอบ


การออกแบบอย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับแผ่นพื้นท้องเรียบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอัลกอริทึมหิ่งห้อยแบบแบ่งกลุ่มย่อย, อรรถวุฒิ สุขสรรควณิช Jan 2018

การออกแบบอย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับแผ่นพื้นท้องเรียบคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยอัลกอริทึมหิ่งห้อยแบบแบ่งกลุ่มย่อย, อรรถวุฒิ สุขสรรควณิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงสร้างแผ่นพื้นท้องเรียบเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเนื่องจากขั้นตอนก่อสร้างไม่ซับซ้อน และเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากขึ้น ในการออกแบบโครงสร้าง วิศวกรผู้ออกแบบนอกจากจะต้องคำนึงถึงความแข็งแรงและความปลอดภัยของโครงสร้างเป็นหลักแล้ว ยังต้องคำนึกถึงความประหยัดด้วย โดยทั่วไปวิศวกรจะใช้ประสบการณ์เฉพาะบุคคลในการออกแบบให้ได้โครงสร้างที่มีความแข็งแรงและประหยัด แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าโครงสร้างนั้นประหยัดที่สุด ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงนำอัลกอริทึมหิ่งห้อยแบบแบ่งกลุ่มย่อยมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบอย่างเหมาะสมสำหรับแผ่นพื้นท้องเรียบคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งอัลกอริทึมนี้เป็นวิธีการเมตาฮิวริสติกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพฤติกรรมการใช้แสงในการหาคู่ และหาอาหารของหิ่งห้อย ฟังก์ชันวัตถุประสงค์คือ ราคาค่าก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วยราคาคอนกรีต เหล็กเสริม และแบบหล่อ การวิเคราะห์โครงสร้างแผ่นพื้นท้องเรียบใช้วิธีโครงข้อแข็งเทียบเท่า และการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กใช้ตามมาตรฐาน ACI 318M-14 การพัฒนาโปรแกรมสำหรับการออกแบบอย่างเหมาะสมใช้ภาษาจาวา ตัวแปรหลักที่พิจารณา ได้แก่ ความหนาพื้น มิติเสา ขนาดและจำนวนของเหล็กเสริมในแต่ละทิศทาง ทั้งในแถบเสาและแถบกลางของแผ่นพื้น การหาคำตอบอย่างเหมาะสมด้วยอัลกอริทึมหิ่งห้อย มีข้อดีคือ สามารถหาคำตอบที่เหมาะสมเฉพาะที่หลาย ๆ ค่าได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้สามารถตรวจหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดได้ง่าย


Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun Jan 2018

Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge sharing among construction project members is very crucial for improving project success and project performance. It can also reduce mistakes in the construction process. Project management has been growing more complicated, and project members need to learn best practice from others. Currently, knowledge sharing is not well performed yet; especially, few research studies have been focused on the relationship evaluation of supporting factors that affect knowledge sharing from different contexts in construction projects. Therefore, this study aims to develop the causal relationship model of supporting factors from psychological, individual, organizational, and technological factors that affect mediators – knowledge sharing …


Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun Jan 2018

Development Of Causal Relationship Model Of Knowledge Sharing In Construction Projects, Lambada Roeun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Knowledge sharing among construction project members is very crucial for improving project success and project performance. It can also reduce mistakes in the construction process. Project management has been growing more complicated, and project members need to learn best practice from others. Currently, knowledge sharing is not well performed yet; especially, few research studies have been focused on the relationship evaluation of supporting factors that affect knowledge sharing from different contexts in construction projects. Therefore, this study aims to develop the causal relationship model of supporting factors from psychological, individual, organizational, and technological factors that affect mediators – knowledge sharing …