Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operational Research Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

1,928 Full-Text Articles 2,346 Authors 837,337 Downloads 101 Institutions

All Articles in Operational Research

Faceted Search

1,928 full-text articles. Page 19 of 72.

Heuristic Approaches For Near-Optimal Placement Of Gps-Based Multi-Static Radar Receivers In American Coastal Waters, Brandon J. Hufstetler 2020 Air Force Institute of Technology

Heuristic Approaches For Near-Optimal Placement Of Gps-Based Multi-Static Radar Receivers In American Coastal Waters, Brandon J. Hufstetler

Theses and Dissertations

Narcotics smuggling across the Caribbean Sea is a growing concern for the United States Coast Guard. One vector for this illicit trafficking is via small aircraft. This thesis proposes a multi-static radar architecture using the Global Positioning System (GPS) constellation as a transmission source to detect these aircraft as they transit a detection fence. The system developed in this thesis relies on the forward-scatter phenomenon in which a radar shadow is cast by a target as it crosses in front of a transmitter, creating a measurable difference in the signal amplitude at the receiver. This thesis first develops a mathematical …


Analysis With Dynamic Bayesian Networks Compared To Simulation, Aaron J. Salazar 2020 Air Force Institute of Technology

Analysis With Dynamic Bayesian Networks Compared To Simulation, Aaron J. Salazar

Theses and Dissertations

This research compares simulations to Dynamic Bayesian Networks in analyzing situations. The research applies models that have known output mean and variance. Queueing systems have theoretical values of the steady-state mean and variance for the number of entities in the system. Monte Carlo simulation development is broken down into two separate approaches: discrete-event simulation and time-oriented simulation. The discrete-event simulation uses pseudo-random numbers to schedule and trigger future events (i.e. customer arrivals and services) and is based on the generated objects.The time-oriented simulation utilizes fixed-width time intervals and updates the system state according to a stochastic process for the set …


Project Management Assignment Tool Using R And Shiny, Ben Stewart, Hoseok Jung, Moses Rawar 2020 Portland State University

Project Management Assignment Tool Using R And Shiny, Ben Stewart, Hoseok Jung, Moses Rawar

Engineering and Technology Management Student Projects

Linear programs such as the R markdown language play an important role in helping to find an optimized solution in various fields of society. This area extends from the optimal distribution channels of coffee shops, which are closely related to our lives, to very important areas such as the deployment of military forces. Through this paper, we will try to find ways to maximize the efficiency and performance of a company by properly allocating project managers suitable for the projects performed by each company according to their capabilities and the requirements of the projects.


Dual-Axis Solar Tracker, Bryan Kennedy 2020 Central Washington University

Dual-Axis Solar Tracker, Bryan Kennedy

All Undergraduate Projects

Renewable energies, and fuels that are not fossil fuel-based, are one of the prolific topics of debate in modern society. With climate change now becoming a primary focus for scientists and innovators of today, one of the areas for the largest amount of potential and growth is that of the capturing and utilization of Solar Energy. This method involves using a mechanical system to track the progression of the sun as it traverses the sky throughout the day. A dual-axis solar tracker such as the one designed and built for this project, can follow the sun both azimuthally and in …


Dynamic Resource Allocation For Coordination Of Inpatient Operations In Hospitals, Najibesadat Sadatijafarkalaei 2020 Wayne State University

Dynamic Resource Allocation For Coordination Of Inpatient Operations In Hospitals, Najibesadat Sadatijafarkalaei

Wayne State University Dissertations

Healthcare systems face difficult challenges such as increasing complexity of processes, inefficient utilization of resources, high pressure to enhance the quality of care and services, and the need to balance and coordinate the staff workload. Therefore, the need for effective and efficient processes of delivering healthcare services increases. Data-driven approaches, including operations research and predictive modeling, can help overcome these challenges and improve the performance of health systems in terms of quality, cost, patient health outcomes and satisfaction.

Hospitals are a key component of healthcare systems with many scarce resources such as caregivers (nurses, physicians) and expensive facilities/equipment. Most hospital …


Research On Integration And Optimization Of Cosco Industrial Chain, Xiang Yan 2020 World Maritime University

Research On Integration And Optimization Of Cosco Industrial Chain, Xiang Yan

International Transport and Logistics

No abstract provided.


Short-Term Truckload Spot Rates' Prediction In Consideration Of Temporal And Between-Route Correlations, Wei Xiao, Chuan Xu, Hongling Liu, Hong Yang, Xiaobo Liu 2020 Old Dominion University

Short-Term Truckload Spot Rates' Prediction In Consideration Of Temporal And Between-Route Correlations, Wei Xiao, Chuan Xu, Hongling Liu, Hong Yang, Xiaobo Liu

Computational Modeling & Simulation Engineering Faculty Publications

Truckload spot rate (TSR), defined as a price offered on the spot to transport a certain cargo by using an entire truck on a target transportation line, usually price per kilometer-ton, is a key factor in shaping the freight market. In particular, the prediction of short-term TSR is of great importance to the daily operations of the trucking industry. However, existing predictive practices have been limited largely by the availability of multilateral information, such as detailed intraday TSR information. Fortunately, the emerging online freight exchange (OFEX) platforms provide unique opportunities to access and fuse more data for probing the trucking …


Queueing-Inventory Models For A Two-Vendor System With Positive Service Times, Srinivas Chakravarthy, Khizer Hayat 2020 Kettering University

Queueing-Inventory Models For A Two-Vendor System With Positive Service Times, Srinivas Chakravarthy, Khizer Hayat

Industrial & Manufacturing Engineering Publications

Queueing-inventory systems wherein the demands are processed with random service times have been getting a lot of attention recently. In such systems, each demand needs one or more inventory items and needs positive processing times. The inventory is generally replenished using -type policy and the lead times are assumed to be random. In this paper we introduce the concept of multiple vendors who will be responsible for the replenishment of inventory. Under the assumptions of a two-vendor system wherein the demands occurring according to a Markovian arrival process, the service times to be of phase type, and the lead times …


Blockchain Adoption Model For The Global Banking Industry, Zaina Kawasmi, Evans Akwasi Gyasi, Deneise Dadd 2020 Coventry University

Blockchain Adoption Model For The Global Banking Industry, Zaina Kawasmi, Evans Akwasi Gyasi, Deneise Dadd

Journal of International Technology and Information Management

Blockchain has become the new hype term in the business world for the last decade. Due to the new technology’s characteristics and innovative applications, it is being adopted globally in a wide number of industries including the banking industry, yet no adoption model is provided to guide this process. This research aims to contribute to facilitating the successful adoption and implementation of the blockchain new technology in the banking industry. Building on the assumption that the blockchain’s adoption in banking will be directed by the regulations and best practices guidelines of the global banking regulatory bodies and practitioner, this research …


การจัดการเชิงกลยุทธ์ของการขนส่งเหล็กเส้นก่อสร้างขาออกในประเทศ, ณิชากร จงสวัสดิ์พัฒนา 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ของการขนส่งเหล็กเส้นก่อสร้างขาออกในประเทศ, ณิชากร จงสวัสดิ์พัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ผลิตจำนวนมากเลือกการใช้บริการผู้ให้บริการขนส่งภายนอกเพื่อบริหารต้นทุนและประหยัดค่าขนส่ง ผู้ผลิตมักต้องการการวางแผนที่เชื่อถือได้และการตรวจสอบที่ครอบคลุม มิฉะนั้นการใช้ผู้บริการขนส่งภายนอกอาจทำให้เกิดสถานการณ์คล้ายกับกรณีศึกษาโรงงานผลิตเหล็กรีไซเคิลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยซึ่งให้บริการจัดส่งสินค้าฟรีภายในพื้นที่จังหวัดเดียวกับโรงงานและพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลโดยใช้ผู้ให้บริการขนส่งภายนอก จากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตพบว่าบริษัทสามารถประหยัดค่าขนส่งได้ถึง 12.97% หากเลือกผู้ให้บริการขนส่งที่เหมาะสมและตรวจสอบปริมาณสินค้าที่จัดส่งในแต่ละเที่ยว จากการตรวจสอบเพิ่มเติมยังพบว่า ค่าใช้จ่ายขนส่งสูงอาจมีสาเหตุจากขาดการวางแผนและ ปราศจากแนวทางที่ชัดเจน ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการขนส่ง 2 ด้านคือ การดำเนินงานด้านขนส่ง และ การจัดการขนส่งเชิงกลยุทธ์โดยประยุกต์แบบจำลอง SCOR (Supply Chain Operations Reference Model) หรือ BP.118 เป็นต้นแบบในการปรับปรุง 4 ด้าน ได้แก่ 1.การจัดทำแผนการจองรถบรรทุกล่วงหน้า 2.การตรวจสอบความสามารถในการจัดส่งโดยการประเมินผู้ให้บริการโดยการให้น้ำหนักของปัจจัยตามลำดับความสำคัญจากการสัมภาษณ์ผู้บริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง และประเมินโดยพิจารณาจากผลงานเก่าในปีที่ผ่านมา 3.กำหนดตัวชี้วัดในการบริหารงานขนส่ง 4.กำหนดผู้ให้บริการขนส่งหลักในแต่ละเส้นทางโดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์ในการจัดซื้อจัดหาโดยการเจรจาต่อรอง จากผลการศึกษาพบว่าหลังจากการปรับปรุงบริษัทกรณีศึกษาสามารถลดอัตราค่าขนส่งลงได้ 54.21 บาท/ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.02 ล้านบาทต่อเดือน และลดเวลานำในการจองรถลง 0.25 วัน


กระบวนการเลือกเครื่องจักรสำหรับกระบวนการออกแบบระบบการผลิตแบบช่วงตอน, พิณลดา บัวทอง 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

กระบวนการเลือกเครื่องจักรสำหรับกระบวนการออกแบบระบบการผลิตแบบช่วงตอน, พิณลดา บัวทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางแผนกำลังการผลิตเป็นการวางแผนระยะยาวเพื่อให้ได้กำลังการผลิตตามต้องการ โดยเกี่ยวข้องกับการเลือกเครื่องจักรและทรัพยากรที่จำเป็นในการผลิตเป็นหลักสำหรับระบบการผลิตแบบช่วงตอน ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่สามารถรองรับผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่หลากหลายได้ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิตสามารถเลือกใช้เครื่องจักรในการผลิตได้หลากหลาย ดังนั้นการเลือกเครื่องจักรจึงเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาความรู้และความสามารถจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้ระยะเวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังเผชิญกับปัญหาความไม่แน่นอนในด้านปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรและทรัพยากรการผลิตที่เลือกมาใช้ในกระบวนการผลิตจึงควรมีความเหมาะสมและยืดหยุ่น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนากระบวนการเลือกโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ด้านค่าใช้จ่ายและความยืดหยุ่น โดยค่าใช้จ่ายพิจารณาจาก ราคาเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิต และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ส่วนความยืดหยุ่นพิจารณาจากความสามารถในการปรับกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองต่อความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการ โดยกระบวนการเลือกเครื่องจักรประกอบด้วยสามส่วน เริ่มจากกระบวนการแปลงข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลที่ผ่านการแปลงมาใช้ในกระบวนการหาผลลัพธ์เริ่มต้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด จากนั้นเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงผลลัพธ์ โดยการพิจารณาแบบถ่วงน้ำหนักทั้งในด้านค่าใช้จ่ายและความยืดหยุ่น โดยกระบวนการได้ถูกทดสอบด้วยโจทย์ตัวอย่าง และทำการเปรียบเทียบค่าวัตถุประสงค์ที่สูงที่สุดระหว่างวิธีทางฮิวริสติกสำหรับกระบวนการเลือกเครื่องจักรที่พัฒนาและวิธีการหาผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ค่าวัตถุประสงค์ที่ได้จากวิธีการทั้งสองมีค่าเท่ากัน แสดงว่ากระบวนการเลือกเครื่องจักรที่พัฒนาสามารถหาผลลัพธ์ได้ถูกต้องและใช้เวลาในการหาผลลัพธ์เพียง 2.75 นาที และช่วยให้ผู้ที่ต้องการเลือกเครื่องจักรตัดสินใจและนำไปประยุกต์ใช้กับระบบการผลิตได้


การประเมินการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมด้วยการบริหารต้นทุนตลอดอายุ, พรสุดา พฤฒพงษ์ 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การประเมินการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมด้วยการบริหารต้นทุนตลอดอายุ, พรสุดา พฤฒพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโรงไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ามีการเดินเครื่องผลิตพลังงานไฟฟ้าลดลง เนื่องจากการเติบโตและพัฒนาของเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ผู้ประกอบการของโรงไฟฟ้าเดิมในระบบจึงเริ่มให้ความสำคัญกับการตัดสินใจเรื่องการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า เพื่อคงความสามารถการแข่งขันในธุรกิจ ซึ่งงานวิจัยนี้นำเสนอกรอบความคิดและแบบจำลองการประเมินการลงทุนเพื่อปรับปรุงโรงไฟฟ้า ด้วยหลักการบริหารต้นทุนตลอดอายุ (Life-Cycle Cost Management: LCCM) และนำเสนอการพยากรณ์ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตรายปีของโรงไฟฟ้า โดยคำนึงถึงกรอบและข้อจำกัดของโรงไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมประเภทเพลาผสม (Multi-shaft combined-cycle power plant) ทั้งนี้ตัวแปรที่งานวิจัยเลือกใช้ในการพยากรณ์เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตของโรงไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ 1) ค่าความร้อนของโรงไฟฟ้า (Heat Rate: HR) 2) จำนวนชั่วโมงการเดินเครื่องเสริมระบบ (Service Hour: SH) 3) สัดส่วนกำลังผลิตของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer Share: SPP Share) 4) อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (Growth Domestic Product: GDP) โดยผลการพยากรณ์ปริมาณพลังงานไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นสำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเดินเครื่องสะสมเทียบเท่าของกังหันก๊าซ (Equivalent Operating Hour: EOH) ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าและสามารถนำมาใช้พิจารณาเลือกประเภทงานบำรุงรักษาให้สอดคล้องกับรูปแบบการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้า ซึ่งนับเป็นเทคนิคหนึ่งในการจัดการต้นทุนเพื่อให้สามารถบริหารได้อย่างต่อเนื่อง


การประเมินผู้จัดหาโดยกรอบแนวคิดฟัซซี่ Topsis ในสามมิติ, นิธิมา บุญส่ง 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การประเมินผู้จัดหาโดยกรอบแนวคิดฟัซซี่ Topsis ในสามมิติ, นิธิมา บุญส่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอแนวคิดฟัซซี่ TOPSIS เพื่อประเมิน และจัดกลุ่มผู้จัดหาตามประสิทธิภาพการดำเนินงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินใน 3 มิติ ได้แก่ ด้านต้นทุน คุณภาพ และเวลาที่ใช้ในการผลิต หรือการให้บริการ โดยงานวิจัยดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่จะยังผลให้เกิดความสำเร็จต่อองค์กรในระยะยาว ในการดำเนินงานวิจัย ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดฟัซซี่ TOPSIS ในการประเมินประสิทธิภาพของผู้จัดหาในแต่ละด้านแยกกัน โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน ทำการคัดเลือกเกณฑ์ประเมินจากเริ่มต้น 48 เกณฑ์ พบว่ามีเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 24 เกณฑ์ จำนวน 5 13 และ 6 เกณฑ์ ในด้านต้นทุน ด้านคุณภาพ และด้านเวลา ตามลำดับ พบว่า วิธีการประเมินดังกล่าวสามารถจัดกลุ่มผู้จัดหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และง่ายต่อการวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาผู้จัดหาของบริษัท เนื่องจากผลการประเมิน สามารถระบุได้ว่า ผู้จัดหาแต่ละรายมีผลการดำเนินงานต่างจากรายอื่นๆ ในแต่ละมิติมากน้อยเพียงใด สำหรับผลการประเมินผู้จัดหาทั้งหมด 33 ราย ของบริษัทกรณีศึกษา พบว่า ผู้จัดหาทั้งหมดมีประสิทธิภาพการดำเนินงานในด้านคุณภาพที่ดี หากแต่มีความแตกต่างกันไปในแง่ของผลการดำเนินงานด้านต้นทุน และการบริหารจัดการเวลา โดยมีผู้จัดหาจำนวน 6 รายที่จำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินงานด้านต้นทุน หรือด้านเวลาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่มีผู้จัดหาเพียงรายเดียวที่จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งในด้านของต้นทุน และด้านเวลา ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน เนื่องจากบริษัทมีระบบการตรวจสอบ และการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด หากแต่ยังมีข้อบกพร่องในแง่การควบคุมต้นทุน และเวลาการให้บริการของผู้จัดหา


การปรับปรุงนโยบายสั่งซื้อเส้นด้ายนำเข้าโดยพิจารณาการสั่งซื้อเต็มตู้และการสั่งซื้อร่วม, ชื่นนภา เชื้อสุวรรณทวี 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การปรับปรุงนโยบายสั่งซื้อเส้นด้ายนำเข้าโดยพิจารณาการสั่งซื้อเต็มตู้และการสั่งซื้อร่วม, ชื่นนภา เชื้อสุวรรณทวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบนำเข้าหลายชนิด เพื่อลดค่าใช้จ่ายรวม คือ ค่าใช้จ่ายการขนส่ง และค่าใช้จ่ายการเก็บรักษา โดยที่ยังสามารถตอบสนองระดับการให้บริการ 95% ซึ่งในปัจจุบันพบว่าวัตถุดิบที่ศึกษามีสัดส่วนการสั่งซื้อแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์สูง และมีระดับการให้บริการที่ต่ำกว่าเป้าหมาย งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงได้ออกแบบนโยบายสั่งซื้อใหม่ โดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองปริมาณการสั่งคงที่สำหรับวัตถุดิบนำเข้าจากสิงคโปร์ และแบบจำลองรอบการสั่งซื้อคงที่ร่วมกับแนวคิดการสั่งซื้อร่วมและการสั่งซื้อเต็มตู้คอนเทนเนอร์ สำหรับวัตถุดิบนำเข้าจากไต้หวันและจีน ขั้นตอนถัดมาเป็นการประเมินผลนโยบายสั่งซื้อที่นำเสนอและเลือกนโยบายที่เหมาะสมด้วยการใช้วิธีจำลองสถานการณ์ โดยนโยบายที่เหมาะสมที่สุดต้องให้ผลค่าเฉลี่ยและค่าการกระจายของค่าใช้จ่ายรวมน้อยที่สุด และในขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ความคงทนของนโยบายที่เลือก เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายรวมและระดับการให้บริการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานของความต้องการ ทั้งนี้ผลของการวิจัยพบว่าเมื่อนำนโยบายที่นำเสนอไปทดสอบด้วยการจำลองสถานการณ์ด้วยรูปแบบการกระจายของความต้องการของปี 2562 สามารถลดจำนวนการสั่งซื้อแบบไม่เต็มตู้คอนเทนเนอร์ลง จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการขนส่งลดลง รวมทั้งยังได้ระดับการให้บริการตามเป้าหมายทุกรายการ ทำให้นโยบายที่นำเสนอสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมลงได้ 22%, 26% และ 2% สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบจากไต้หวัน จีน และสิงคโปร์ ตามลำดับ ในส่วนของการทดสอบความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะของความต้องการ พบว่าเมื่อค่าเฉลี่ยของความต้องการลดลง 50% และมีความแปรปรวนของความต้องการเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายรวมของการสั่งซื้อวัตถุดิบนำเข้าจากไต้หวัน จีน และสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 11%, 13% และ 30% ตามลำดับ


การปรับปรุงค่าแรงดึงของสร้อยข้อมือสายหนังโดยการประยุกต์การออกแบบการทดลอง, ปิ่ณชณัณ สุวรรณชนะ 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การปรับปรุงค่าแรงดึงของสร้อยข้อมือสายหนังโดยการประยุกต์การออกแบบการทดลอง, ปิ่ณชณัณ สุวรรณชนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ในการเพิ่มค่าแรงดึงของสร้อยข้อมือสายหนังให้ตรงตามเป้าหมาย คือมากกว่าหรือเท่ากับ 78 นิวตัน เพื่อลดของเสียการประกอบหลุดในผลิตภัณฑ์สร้อยข้อมือสายหนัง ซึ่งมีอัตราของเสียมากที่สุด โดยการวิจัยเริ่มจากการระดมความคิดและวิเคราะห์โดยผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องประดับซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานโดยตรง ร่วมกันวิเคราะห์โดยใช้ผังก้างปลา (Cause and effect diagram) จากนั้นจึงได้นำปัจจัยทั้งหมดมาวิเคราะห์ต่อด้วยตารางแสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล (Cause & Effect Matrix) รวมทั้งวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องผลกระทบ (Failure Mode and Effects Analysis, FMEA) จากการวิเคราะห์ค่าความเสี่ยง (Risk Priority Number, RPN) ซึ่งนำมาจัดเรียงตามลำดับคะแนนโดยใช้แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) และทำการคัดเลือกปัจจัยที่มีค่าความเสี่ยงสูง ที่มีสัดส่วนน้ำหนัก 80% ได้แก่ อัตราส่วนกาวไม่เหมาะสม, ขนาดหัวบีบไม่เหมาะสม และปริมาณกาวไม่เหมาะสม ซึ่งคาดว่ามีอิทธิพลต่อค่าแรงดึงของสร้อยสายหนังเป็นอย่างมาก มาใช้ในการออกแบบการทดลอง ซึ่งใช้หลักการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลแบบสามระดับ (3k Factorial Design) โดยทำการทดลองปัจจัยละ 3 ระดับ ทำการทดลองซ้ำ 2 ครั้ง รวมจำนวนทั้งสิ้น 54 การทดลอง ทดลองครั้งละ 10 ชิ้น จากการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลการทดลองพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมคือ อัตราส่วนกาว Resin : Hardener ที่ 1 : 0.6 โดยมวล, ปริมาณกาว 12 กรัม และขนาดหัวบีบ 2.7 มิลลิเมตร ผลการดำเนินการปรับปรุงพบว่า สามารถเพิ่มค่าแรงดึงเฉลี่ยตรงตามเป้าหมาย โดยก่อนปรับปรุงค่าแรงดึงเฉลี่ยอยู่ที่ 70.30 นิวตัน เพิ่มขึ้นเป็น 111.40 นิวตัน ที่หลังปรับปรุง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การปรับปรุงค่าแรงดึงเพิ่มจากก่อนปรับปรุง 58.46%


การพยากรณ์การบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทยด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง, พิศาล สามัง 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การพยากรณ์การบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทยด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง, พิศาล สามัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากการบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นหลักในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน การพยากรณ์การบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ตัดสินใจการวางแผนบริหารจัดการน้ำมันสำเร็จรูปให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต งานวิจัยนี้นำเสนอและเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์เพื่อใช้สำหรับการพยากรณ์ปริมาณการบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทย ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่องบิน ซึ่งเป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่มีปริมาณการบริโภคมากที่สุด 3 อันดับแรก วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาวิธีการพยากรณ์และเลือกตัวแบบที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ปริมาณการบริโภคน้ำมันสำเร็จรูปกลุ่มหลักของประเทศไทยโดยการเปรียบเทียบผลการพยากรณ์ของตัวแบบอนุกรมเวลาเชิงสถิติ ตัวแบบการพยากรณ์เชิงสาเหตุ ตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง และตัวแบบผสม ความแม่นยำของการพยากรณ์จะถูกเปรียบเทียบโดยใช้ค่าเฉลี่ยของร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลรายไตรมาสในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2536 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ตัวแบบที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ได้แก่ Holt-Winters, SARIMA, SARIMAX, Multiple Linear Regression (MLR), RANSAC Regression, K-nearest Neighbor Algorithm (KNN), Support Vector Regression (SVR), Adaboost (ADA), Artificial Neural Network (ANN) และตัวแบบผสม ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบผสม SARIMAX-ANN-SVR-RANSAC-REG ตัวแบบผสม SARIMAX-ANN-RANSAC-REG และตัวแบบผสม SARIMAX-SVR มีความแม่นยำสูงและเหมาะสมที่สุดในการพยากรณ์ปริมาณการบริโภคน้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่องบิน ตามลำดับ และมีค่า MAPE เท่ากับ 2.2785% 1.9966% และ 3.5055% ตามลำดับ


การพยากรณ์ปริมาณความต้องการเหล็กรีดร้อนภายในประเทศด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ชัยพฤกษ์ นิละนนท์ 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การพยากรณ์ปริมาณความต้องการเหล็กรีดร้อนภายในประเทศด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง, ชัยพฤกษ์ นิละนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหล็กเป็นวัสดุที่สำคัญชนิดหนึ่งและมีปริมาณความต้องการใช้งานมากขึ้นทุกปี ในอุตสาหกรรมเหล็ก การพยากรณ์เพื่อวางแผนการจัดซื้อวัตถุดิบ การจัดเตรียมการผลิต และแผนการขายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การพยากรณ์ที่แม่นยำสามารถทำให้การวางแผนต่าง ๆ เป็นอย่างเหมาะสมและสามารถลดต้นทุนในการผลิตและการดำเนินการได้ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการพยากรณ์และเปรียบเทียบความแม่นยำในการพยากรณ์ข้อมูลปริมาณความต้องการเหล็กรีดร้อนภายในประเทศ โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคมปี ค.ศ. 2014 จนถึงเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2019 ตัวแบบการพยากรณ์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย ตัวแบบ Holt's Exponential Smoothing, ARIMA, Multiple Regression, Artificial Neural Network, eXtreme Gradient Boosting, Random Forest, Support Vector Regression และ Light Gradient Boosting Machine และตัวแบบผสมที่คัดเลือกจากตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องที่มีความแม่นยำที่สุดสามอันดับแรกมาทำการผสม จากนั้นทำการเปรียบเทียบความแม่นยำด้วยค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (MAPE) ผลการวิจัยพบว่าตัวแบบที่มีความแม่นยำมากที่สุดคือตัวแบบผสม Artificial Neural Network, Random Forest และ eXtreme Gradient Boosting โดยใช้ตัวแบบ Artificial Neural Network เป็นตัวผสม มีค่า MAPE เท่ากับ 3.59% แม่นยำกว่าตัวแบบ Artificial Neural Network ที่เป็นตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องที่แม่นยำที่สุดด้วยค่า MAPE เท่ากับ 5.63% ถึง 36.23%


การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง: กรณีศึกษาบริษัทเหมืองถ่านหิน, ธนวิทย์ สรวิเชียร 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง: กรณีศึกษาบริษัทเหมืองถ่านหิน, ธนวิทย์ สรวิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ราคาซื้อขายถ่านหินลดลง 42.09% เหลือเพียง 67.75 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อีกทั้งผลกระทบด้านลบจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ธุรกิจเหมืองถ่านหินเริ่มปรับปรุงการดำเนินงานและใช้แนวคิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน และการลดต้นทุนเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ การวัดและติดตามประสิทธิผลโดยรวมของการดำเนินการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติมีเพียงตัวชี้วัดที่ระบุประสิทธิผลของเครื่องจักรหรือของทีมทำงานโดยเฉพาะ ซึ่งไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การปฏิบัติงานในภาพรวมและไม่สามารถระบุพื้นที่สำหรับการปรับปรุงได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรงกับอุตสาหกรรมเหมือง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดวัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง กรณีศึกษาบริษัทเหมืองถ่านหิน การกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง(OME) แบ่งออกเป็น 3 ระดับของการวัด ได้แก่ระดับองค์กร ระดับเหมืองและระดับกิจกรรม งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการคำนวณประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร(OEE) ในการกำหนดสูตรการคำนวณค่าประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง(ความพร้อมการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพการทำงาน) รายละเอียดการคำนวณประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมือง ได้รับการปรับแต่งตามลักษณะบริบทการทำงานสำหรับทั้งในพื้นที่กระบวนการผลิตหลักและพื้นที่ในส่วนสนับสนุนในการทำเหมืองถ่านหิน ตัวขับเคลื่อนหลักในแต่ละพื้นที่การวัดประสิทธิผลโดยรวมของการทำเหมืองมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงในอนาคต การศึกษานี้เกี่ยวข้องกับการจัดหาเครื่องมือสำหรับการประเมินและตรวจสอบประสิทธิผลโดยรวมในอุตสาหกรรมเหมือง เพื่อสร้างความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน ซึ่งผลการอภิปรายได้ถูกแสดงไว้ในงานวิจัยนี้


การลดของเสียประเภทสีแตกในกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์, ชนิกานต์ รักธงไทย 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การลดของเสียประเภทสีแตกในกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์, ชนิกานต์ รักธงไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของเสียและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องประเภทสีแตกในกระบวนการพ่นสีชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ โดยการนำแนวคิดซิกซ์ ซิกมา (Six Sigma) มาประยุกต์ใช้การดำเนินงานวิจัย เริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหาและกระบวนการทำงาน ต่อมาทำการวิเคราะห์ความแม่นยำและถูกต้องของระบบการวัดโดยการตรวจสอบข้อบกพร่องประเภทสีแตกด้วยสายตา จากนั้นทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยแผนภาพแสดงเหตุและผล และเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัย โดยใช้ตารางแสดงเหตุและผล และทำการคัดเลือกปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเกิดปัญหาสีแตก ซึ่งมีทั้งหมด 4 ปัจจัย ได้แก่อุณหภูมิในการล้างชิ้นงาน ความดันในการล้างชิ้นงาน แรงดันไฟฟ้าในการชุบสี ED และวิธีการขัดผิวชิ้นงาน จากนั้นในขั้นตอนปรับปรุงกระบวนการ ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน คือ ทดสอบสมมติฐานของวิธีการขัดผิวชิ้นงาน พบว่า วิธีการขัดทั้งแนวนอนและแนวตั้งเกิดสัดส่วนของเสียน้อยกว่าวิธีการขัดเฉพาะแนวนอนอย่างมีนัยสำคัญ จึงได้ทำการปรับปรุงวิธีการขัดเป็นแบบขัดทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ในส่วนของอุณหภูมิในการล้างชิ้นงาน ความดันในการล้างชิ้นงาน และแรงดันไฟฟ้าในการชุบสี ED ทำการออกแบบพื้นผิวผลตอบแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน จากนั้นทำการหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม ซึ่งค่าปัจจัยที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิในการล้างชิ้นงาน เท่ากับ 40 องศาเซลเซียส ความดันในการล้างชิ้นงาน เท่ากับ 1.4 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และแรงดันไฟฟ้าในการชุบสี ED เท่ากับ 180 โวลต์ หลังจากนั้นนำค่าปัจจัยที่เหมาะสมนี้ไปปรับใช้จริงในกระบวนการ เพื่อยืนยันผลการทดลองที่ได้ และจัดทำแผนควบคุมและวิธีการปฏิบัติงานใหม่หลังจากปรับปรุงกระบวนการ พบว่า สามารถลดสัดส่วนของเสียประเภทสีแตกจาก 3.82 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 0.97 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลดลงไปได้ 2.85 เปอร์เซ็นต์ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากข้อบกพร่องประเภทสีแตกลดลงจาก 132,898 บาท เหลือ 27,603 บาท ซึ่งลดลงไปได้ 105,295 บาท


การลดของเสียจากข้อบกพร่องประเภทครีบและรอยในกระบวนการขึ้นรูปฝาครอบถังน้ำมัน, ณัฐชนันท์ ชูสมบัติ 2020 คณะวิศวกรรมศาสตร์

การลดของเสียจากข้อบกพร่องประเภทครีบและรอยในกระบวนการขึ้นรูปฝาครอบถังน้ำมัน, ณัฐชนันท์ ชูสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของเสียและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการแก้ไขชิ้นงานจากข้อบกพร่องประเภทครีบและรอย ในกระบวนการขึ้นรูปโลหะแบบแผ่น เพื่อเป็นชิ้นส่วนในการประกอบถังน้ำมัน โดยการดำเนินงานได้ใช้หลักการ DMAIC ในการปรับปรุงกระบวนการ โดยมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนของเสียให้เหลือร้อยละ 3 ของปริมาณการผลิตปัจจุบัน ผู้วิจัยได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องประเภทครีบ ได้แก่ ลักษณะของระนาบ แรงกำหนดของเครื่องปั๊มตัดเจาะ และอายุการใช้งานแท่งตัด และได้ปรับปรุง โดยจัดทำระนาบพันช์ใหม่โดยการเจียระไนพันช์ให้เรียบก่อนการปั๊มเจาะรูชิ้นงาน เนื่องจากเดิมเมื่อปั๊มระนาบชิ้นงานพบว่าชิ้นงานไม่เรียบทำให้เกิดช่องว่างขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดครีบสูง ต่อมาจึงปรับปรุงเรื่องแรงกำหนดที่เหมาะสมสำหรับช่วงสโตรกการทำงานต่างๆ โดยใช้แรงกำหนด 150 ตัน ในสโตรกที่ 1 - 13,000 แล้วจึงเปลี่ยนแรงกำหนดเป็น 220 ตัน ตั้งแต่สโตรกที่ 13,001 - 23,000 แล้วจึงเจียระไนแท่งตัดและดายตัดเพื่อเริ่มนับสโตรกใหม่ ในส่วนข้อบกพร่องประเภทรอย ได้ปรับปรุงการขนย้ายชิ้นงานโดยใช้อุปกรณ์ขนย้ายชิ้นงานที่เล็กลงและใช้พลาสติกแทนเหล็ก การติดตั้งท่อลมเป่าเศษให้แก่กระบวนการผลิตเพื่อเป่าเศษชิ้นงานหลังจากการตัดเฉือน และจัดทำมาตราฐานการทาน้ำมันที่ตัวชิ้นงานและพันช์ คือ การทาน้ำมันเมื่อปั๊มชิ้นงานครบทุก 3 ชิ้น หลังการปรับปรุงพบว่า สามารถลดสัดส่วนของเสียเหลือร้อยละ 0.08 ของปริมาณการผลิตปัจจุบัน ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายรวมที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องประเภทครีบและรอยลงได้ 199,378 บาทต่อการผลิต 138,000 ชิ้นงาน


Digital Commons powered by bepress