Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

45,291 Full-Text Articles 26,864 Authors 19,211,432 Downloads 322 Institutions

All Articles in Educational Administration and Supervision

Faceted Search

45,291 full-text articles. Page 266 of 1076.

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม, ฉัตรวิมล มากทรัพย์ 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม, ฉัตรวิมล มากทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้การบริการสังคม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ ด้วยการบริการสังคม ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 97 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน และครู 87 คน กำหนดขนาดของตัวอย่างด้วยวิธีการของ Krejcie and Morgan ค.ศ. 1970 โดยระดับความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.05 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประเมินค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Proiority Needs Index : PNI [modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบริหารวิชาการของโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ภาพรวม มีความต้องการจำเป็น (PIN [modified] = 0.324) โดยการบริหารวิชาการที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับและการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการค้นคว้า 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย 27 …


Adhd And Mindfulness: Looking To Eastern Thought To Expand Western Practice, Tiffany Devol, Qi Sun 2020 University of Tennessee - Knoxville

Adhd And Mindfulness: Looking To Eastern Thought To Expand Western Practice, Tiffany Devol, Qi Sun

Adult Education Research Conference

This roundtable presents mindfulness exercise as a transformative approach in the teaching and learning process. It discusses how this ancient eastern meditation technique can holistically empower adult learners with Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD).


Understanding Educators’ Experiences During Long-Term School Closures, Jessica Pryor, Jessica Pryor 2020 Murray State University

Understanding Educators’ Experiences During Long-Term School Closures, Jessica Pryor, Jessica Pryor

Murray State Theses and Dissertations

In the spring of 2020, many public places closed in response to the COVID-19 pandemic. Most public schools in the United States suddenly closed buildings as educators and students scrambled to adapt to distance education. This phenomenological, qualitative study holistically explores elementary educators’ experiences during the extended school closures. The 18current elementary educators who participated in individual interviews, served rural, elementary students. Individual interviews allowed participants to discuss and explain their experiences concerning methods, materials, time commitments, and communication with colleagues, parents, and students. They also discussed how they used feedback to alter their teaching. The interviews were conducted during …


“A Victim/Survivor Needs Agency”: Sexual Assault Survivors’ Perceptions Of University Mandatory Reporting Policies, Kathryn J. Holland, Allison E. Cipriano, T. Zachary Huit 2020 University of Nebraska - Lincoln

“A Victim/Survivor Needs Agency”: Sexual Assault Survivors’ Perceptions Of University Mandatory Reporting Policies, Kathryn J. Holland, Allison E. Cipriano, T. Zachary Huit

Department of Psychology: Faculty Publications

In institutions of higher education, mandatory reporting policies require certain employees to report students’ sexual assault disclosures to university officials, even if the student does not want to report. It is commonly assumed that these policies will benefit survivors, but there is a paucity of research to substantiate this assumption. The current study examined college sexual assault survivors’ perceptions of mandatory reporting policies, including three specific policy approaches (Universal, Selective, Student-Directed). Interviews were conducted with 40 college sexual assault survivors and thematic analysis was used to analyze these data. Results found that the mandatory reporting policy approaches that survivors prefer, …


Qualitative Survey Of A Collaborative Team Approach To Treating Autism Spectrum Disorder, Theresa Duff 2020 The University of Akron

Qualitative Survey Of A Collaborative Team Approach To Treating Autism Spectrum Disorder, Theresa Duff

Williams Honors College, Honors Research Projects

PURPOSE: To examine a unique interdisciplinary approach to ASD care that is utilized at KidsLink School/Neurobehavioral Center through a qualitative survey. This study determines the role of each interdisciplinary team member, the advantages and disadvantages of KidsLink’s approach, what is unique about their approach, and how a collaborative approach affects individual team members. METHODS: An online qualitative survey was distributed to KidsLink’s professional staff who are members on the interdisciplinary care teams. The survey results were read over three times in order to identify common themes and conduct a frequency analysis of codes across all participant responses. RESULTS: There were …


Impact Of School Closures On Principal Leadership And Identity, Isela Pena 2020 University of Texas at El Paso

Impact Of School Closures On Principal Leadership And Identity, Isela Pena

Open Access Theses & Dissertations

This Dissertation presents findings from a phenomenological qualitative study of three principals who experienced school closures. This research aimed at exploring the impact of school closures on principal leadership and leadership identity. Utilizing the Ackerman's and Maslin-Ostrowki's (2002) concept of the wounded leader, this study framed the school closure as a critical incident which caused these principals to experience a wounding, thus providing them an opportunity to reflect and create a narrative around their experience, and through this examination, potentially undergo a transformation leading to professional and personal growth. Through semi-structured interviews, three school principals who experienced school closures, shared …


Perceptions Of Curriculum Quality Management In A Multicampus Community College District, Cathy Donald-Whitney 2020 Walden University

Perceptions Of Curriculum Quality Management In A Multicampus Community College District, Cathy Donald-Whitney

Walden Dissertations and Doctoral Studies

Community college systems must create and maintain curriculum quality management processes and mechanisms to assess the effectiveness of curricula as mandated by state accountability measures. This basic qualitative study was employed to understand the perceptions of members of a curriculum quality management team at a multicampus community college district. Senge's learning organization theory and tenets of Gronn's distributive leadership principles guided this study. Semistructured interviews were used as the data collection method to examine perceptions of 8 full-time curriculum team members at a multicampus community college district in the southwestern United States about the organization, collaborative formats, and governing procedures …


Perceptions Of African American Faculty Retention Practices In Community College, Kyle Huntington Bright 2020 Walden University

Perceptions Of African American Faculty Retention Practices In Community College, Kyle Huntington Bright

Walden Dissertations and Doctoral Studies

The retention of African American faculty at predominantly White institutions (PWI) has long been a point of concern in higher education. Midwest Community College (MCC), a PWI, 2-year public institution, has a problem of retaining African American faculty employed by the college. The purpose of this study was to explore the perceptions of African American faculty retention practices at MCC since little is known about the African American faculty experience at PWIs. Delagado and Stefancic's critical race theory conceptual framework of counter storytelling, Whiteness as property, interest conversion, and critique of liberalism guided this study. A qualitative case study research …


Perceptions Of African American Faculty Retention Practices In Community College, Kyle Huntington Bright 2020 Walden University

Perceptions Of African American Faculty Retention Practices In Community College, Kyle Huntington Bright

Walden Dissertations and Doctoral Studies

The retention of African American faculty at predominantly White institutions (PWI) has long been a point of concern in higher education. Midwest Community College (MCC), a PWI, 2-year public institution, has a problem of retaining African American faculty employed by the college. The purpose of this study was to explore the perceptions of African American faculty retention practices at MCC since little is known about the African American faculty experience at PWIs. Delagado and Stefancic's critical race theory conceptual framework of counter storytelling, Whiteness as property, interest conversion, and critique of liberalism guided this study. A qualitative case study research …


The Pursuit Of Comprehensive Education Funding Reform Via Litigation, Lisa Scruggs 2020 Northwestern Pritzker School of Law

The Pursuit Of Comprehensive Education Funding Reform Via Litigation, Lisa Scruggs

Northwestern Journal of Law & Social Policy

No abstract provided.


Panel Discussion: The Right To Education: With Liberty, Justice, And Education For All?, 2020 Northwestern Pritzker School of Law

Panel Discussion: The Right To Education: With Liberty, Justice, And Education For All?

Northwestern Journal of Law & Social Policy

No abstract provided.


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า บริติช ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล, น้ำเพชร ปฐพีทอง 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า บริติช ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล, น้ำเพชร ปฐพีทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า บริติช ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า บริติช ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ซึ่งมีประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า บริติช โดยมีผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและหัวหน้าครู ครูประจำชั้น ครูสอนรายวิชาเฉพาะ ผู้ช่วยครู และนักเรียนระดับชั้น Year 8 – Year 10 จำนวน 156 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ฐานนิยม (Mode) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modifed Priority Needs Index: PNI[Modified]) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า บริติช ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือการวัดและประเมินผล (PNI [Modified] = 0.272) รองลงมา คือ การจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.266) การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ (PNI [Modified] = 0.265) และการพัฒนาหลักสูตร (PNI [Modified] = 0.244) ตามลำดับ และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า บริติช ตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล มีทั้งหมด 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 19 วิธีดำเนินการ โดยแนวทางหลักประกอบไปด้วย แนวทางหลักที่ 1 พัฒนาการวัดและประเมินผลผู้เรียนโดยเน้นวิธีการวัดและประเมินผลในรูปแบบที่ผู้เรียนถนัด แนวทางหลักที่ …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน, ธัญมน นวลโฉม 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน, ธัญมน นวลโฉม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดบวกของผู้เรียน ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่ม 2 ที่กำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดสุขภาวะ จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 332 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 17 คน ครู จำนวน 255 คน และนักเรียน จำนวน 60 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เรื่อง แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียน โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การวัดประเมินผล (PNI [Modified] = 0.437) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNI [Moditied] = 0.431) การแนะแนว (PNI [Modified] = 0.424) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.409) ความต้องการจำเป็นของคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของผู้เรียนด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการมองโลกในแง่ดี (PNI [Modified] = 0.434) รองลงมา คือ ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (PNI [Modified] = 0.429) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (PNI [Modified] = 0.427) ด้านการมีคุณธรรม (PNI [Modified] = 0.426) และด้านความเชื่อมั่นในตนเอง (PNI …


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล, ณัฐพงษ์ เกรียงไกรวงษ์ 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล, ณัฐพงษ์ เกรียงไกรวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลและ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากร คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นไปของจังหวัดเลย ประกอบด้วย 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเลยพิทยาคม โรงเรียนเชียงคาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย และโรงเรียนศรีสงครามวิทยา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนรวม จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล ในภาพรวม พบว่าขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การวัดและประเมินผล รองลงมาคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา ตามลำดับ ในภาพรวมขององค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล พบว่า องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลที่มีลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง รองลงมา คือ การกำหนดวิธีการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการมีทั้งหมด 4 แนวทาง ดังนี้ (1) การพัฒนาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทีส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (3) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม, เตชินี สุขสำราญ 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม, เตชินี สุขสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคมโดยมีประชากร ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ จำนวน 7 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความถี่ และฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น มีทั้งหมด 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 19 วิธีดำเนินการ โดยแนวทางหลักประกอบไปด้วย แนวทางหลักที่ 1 ยกระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนทำงานเชิงรุกตามเป้าหมายเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง แนวทางหลักที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผล ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม แนวทางหลักที่ 3 พัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้านการประเมินผลการใช้หลักสูตร ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม และแนวทางหลักที่ 4 พัฒนาการจัดการเรียนการสอน ผ่านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์, เกณิกา บริบูรณ์ 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์, เกณิกา บริบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ 2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนในสหวิทยาเขตราชนครินทร์ จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตราชนครินทร์ 209 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ 5 คน รองผู้อำนวยการ 15 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 40 คน ครู 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลลัพธ์ของการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNI [Modified] = 0.386) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการรู้จักคิดตั้งคำถามและการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNI [Modified] = 0.462) และ การบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ ด้านบุคลากร (PNI [Modified] = 0.476) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNI [Modified] = 0.486) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศ 6 แนวทาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารบุคลากรสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักณะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและเปิดใจกว้าง มี 2 แนวทางรอง และ 6 วิธีการพัฒนา (2) พัฒนาการวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะรู้จักคิดตั้งคำถามและเปิดใจกว้าง มี 2 แนวทางรอง และ 6 วิธีการพัฒนา (3) พัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศให้เกิดคุณลักษณะ เปิดใจกว้างและแสวงหาข้อเท็จจริงมี 2 …


แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการ, กิตติพศ ไชยคำภา 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการ, กิตติพศ ไชยคำภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะผู้ประกอบการ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะผู้ประกอบการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 โรงเรียน เลือกโดยการกำหนดคุณสมบัติ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีค่าความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และด้านการปฏิบัติการ มีความต้องการจำเป็นต่ำสุด โดยการบริหารความเป็นเลิศทั้งหมดมีองค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดคือ ความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีทั้งหมด 6 แนวทาง 14 แนวทางย่อย 76 วิธีดำเนินการ แนวทางเรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นดังนี้ (1) พัฒนานักเรียนที่มุ่งเน้นให้มีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยงและความคิดสร้างนวัตกรรม (2) ปรับปรุงการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง (3) เพิ่มกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง (4) เสริมสร้างบุคลากรที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยงและความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม (5) ทบทบนการนำองค์กรที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง (6) ปรับปรุงการปฏิบัติการที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง


แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ, พงศธร ยุติธร 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ, พงศธร ยุติธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากร จำนวน 85 คน ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครู และผู้ช่วยครู/ผู้ดูแลเด็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีวัดความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาปฐมวัยแห่งชาติ คือ การประเมินผล (PNI [modified] =0.081) รองลงมา คือ การวางแผน (PNI [modified]=0.079) และการนำแผนสู่การปฏิบัติ (PNI [modified]=0.076) ตามลำดับ และความต้องการจำเป็นสูงสุดตามองค์ประกอบของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ คือ การบริหารจัดการบุคลากรทุกประเภท (PNI [modified]=0.112) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มีทั้งหมด 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 24 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยเน้นการบริหารจัดการบุคลากรและการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 9 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 2 พัฒนาการวางแผนการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเน้นการบริหารจัดการบุคลากรและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 6 วิธีดำเนิน และแนวทางที่ 3 พัฒนาการนำแผนการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่การปฏิบัติโดยเน้นการบริหารจัดการบุคลากรและการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 9 …


แนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พงษ์พัฒน์ คาโสจันทร์ 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, พงษ์พัฒน์ คาโสจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทย ตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประชากรที่ศึกษา คือ โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ โรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์) โรงเรียนลาซาล และโรงเรียนลาซาลสังขละบุรี ปีการศึกษา 2563 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครูระดับปฐมวัย ครูระดับประถมศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา จำนวน 243 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลาซาลในประเทศไทยตามกรอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีลำดับความต้องการจำเป็นจากสูงไปหาต่ำ คือ ด้านการใช้ทักษะดิจิทัล (PNI [Modified] = 0.325) ด้านการจัดการและการบริหาร (PNI [Modified] = 0.298) ด้านการจัดการเรียนการสอน (PNI [Modified] = 0.286) ด้านการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (PNI [Modified] = 0.280) ด้านความเข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการศึกษา (PNI [Modified] = 0.274) และด้านหลักสูตรและการประเมิน (PNI [Modified] = 0.264) ตามลำดับ และรูปแบบและวิธีการพัฒนาครู พบว่า การพัฒนาในระหว่างปฏิบัติงานมีผู้เลือกตอบ ร้อยละ 54.887 และวิธีการพัฒนาครู 3 ลำดับที่มีค่าร้อยละสูงสุด รูปแบบการพัฒนาในระหว่างปฏิบัติงาน คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ (ร้อยละ 20.646) รูปแบบการพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน คือ การอบรมสัมมนา …


แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0, สิริกานต์ แก้วคงทอง 2020 คณะครุศาสตร์

แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0, สิริกานต์ แก้วคงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ผู้ให้ข้อมูล คือ ข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จำนวน 123 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และฐานนิยม (mode) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.466) โดยการพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (X = 3.425) อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.282) โดยการวางแผนบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X = 4.330) อยู่ในระดับมาก สำหรับความต้องการจำเป็นของการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ ภาพรวม คือ 0.210 (PNI [modified] = 0.210) ซึ่งการพัฒนาบุคลากรมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNI [modified] = 0.250) รองลงมา คือ การประเมินผลบุคลากร และการธำรงรักษาบุคลากร (PNI [modified] = 0.210) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การทำงานเชิงรุกและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตอบสนองทันที มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดและใกล้เคียงกันในสองลำดับแรก 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยกรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ตามกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล 3 ด้าน นำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ (1) การพัฒนาบุคลากร (2) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และ (3) การธำรงรักษาบุคลากร …


Digital Commons powered by bepress