Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theatre and Performance Studies Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

14,824 Full-Text Articles 8,261 Authors 7,388,296 Downloads 276 Institutions

All Articles in Theatre and Performance Studies

Faceted Search

14,824 full-text articles. Page 53 of 403.

Challenging Oppressive Expectations In American Theatre From Within: A Comparative Analysis Of Whitney White And Elizabeth Lecompte, Jessica Yates 2022 Macalester College

Challenging Oppressive Expectations In American Theatre From Within: A Comparative Analysis Of Whitney White And Elizabeth Lecompte, Jessica Yates

Theatre and Dance Honors Projects

What does it mean to be a theater director with identities and social positions that do not align with those of 19th century, Western European directors? Inspired by the incredible lack of qualitative information on most female directors and directors of color, the scholarly component of this Honors project consists of an analysis of the directing processes of Elizabeth LeCompte and Whitney White, in particular LeCompte’s Hamlet and White’s An Iliad.

For that, I draw from documentation on LeCompte’s and White’s filmed materials of their work, hours of recorded interviews about their processes, and articles about their productions. Both directors …


How Screendance Embraces What Cannot Be Done On Stage, Maya Reddy 2022 Macalester College

How Screendance Embraces What Cannot Be Done On Stage, Maya Reddy

Theatre and Dance Honors Projects

Due to the recentness of the field of dance filmmaking, little research exists on the difference between dance films designed to be watched as films (referred to as screendance) and dance videography (videos of performances created to be viewed by a live audience). This paper contends that what separates screendance from dance videography is the unique appeal screendance has for the viewer. Through the use of instantaneous location changes or inaccessible locations, unusual camera perspectives (such as a birds’ eye shot) that allow the viewer to feel as if they or the dancers are defying gravity, and technology-mediated changes to …


นวัตกรรมการแสดงละครเพลงพื้นบ้าน, กิตติพงษ์ อินทรัศมี 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

นวัตกรรมการแสดงละครเพลงพื้นบ้าน, กิตติพงษ์ อินทรัศมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงละครเพลงพื้นบ้าน(ภาคกลาง) จากกระบวนการสร้างชุดแบบฝึกทักษะการด้นสำหรับนักแสดงละครเพลงพื้นบ้าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ภาพถ่าย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสังเกตการณ์ การฝึกปฏิบัติ การสนทนากลุ่มย่อย นำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาแนวทางการฝึกทักษะนักแสดง และดำเนินการทดลองใช้แบบฝึกหัดพัฒนาทักษะการด้น ตลอดจนดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ทดลองสร้างสรรค์การแสดงรูปแบบละครเพลงพื้นบ้านจำนวน 5 ชุด ผลจากการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการแสดงละครเพลงพื้นบ้าน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการให้ความรู้ หลักการ และแนวคิดการด้นในศิลปะการละครและเพลงพื้นบ้าน 2) ขั้นตอนการพัฒนาทักษะและทดลองแบบฝึกหัดการด้น แบ่งเป็นชุดแบบฝึกหัดการด้นในศิลปะการละคร จำนวน 5 ชุด คือ บทบาทสมมติ สถานการณ์คับขัน จำลองปะทะ นิทานอารมณ์ ส่องกระจกแล้วย้อนดูเรา และการด้นในเพลงพื้นบ้าน จำนวน 5 ชุด คือ ชื่อกับคำสัมผัส นิทานคล้องจอง สัญญะอวัยวะ สถานการณ์กลอนสด โครงเรื่องกับกลอนปฏิภาณ 3) ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ4) ทดลองสร้างสรรค์การแสดงรูปแบบละครเพลงพื้นบ้านโดยใช้ทักษะการด้นร้องเพลงพื้นบ้านดำเนินเรื่องราว ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้เข้าร่วมกระบวนการฝึกทักษะการด้นเพลงพื้นบ้าน จำนวน 30 คน มี 2 คน สามารถร้องด้นได้อย่างแคล่วคล่อง และมีไหวพริบปฎิภาณ ปัจจัยหลักที่นักแสดงส่วนใหญ่ไม่สามารถร้องด้นได้อย่างแคล่วคล่อง คือทักษะการฟัง คลังคำ และความแม่นยำของฉันทลักษณ์


รำโจ๋ง ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์, นิศากานต์ ชอุ่ม 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

รำโจ๋ง ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์, นิศากานต์ ชอุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ หัวข้อ รำโจ๋ง ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของการละเล่นรำโจ๋ง และศึกษากระบวนท่ารำ องค์ประกอบของการละเล่นรำโจ๋ง ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัย จากการศึกษาข้อมูลเอกสารงานวิจัย การสัมภาษณ์ และการลงพื้นที่สังเกตการณ์การแสดง ผลการวิจัยพบว่า รำโจ๋ง มีพัฒนาการมาจากรำโทน ประมาณหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนายธวัช ธูปมงคล ได้นำการละเล่นรำโจ๋ง เข้ามาแสดงในหมู่บ้าน เป็นที่นิยมสืบต่อกันมา แสดงในเทศกาลวันสงกรานต์ ประมาณปี พ.ศ. 2562 คุณกาญจนา ทองมา ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลกาญจนา ได้นำการละเล่นรำโจ๋ง เป็นหลักสูตรการอบรมให้กับนักเรียน และปี พ.ศ. 2564 ถึงปัจจุบัน วัฒนธรรมอำเภอวิเชียรบุรีได้จัดสรรงบประมาณ โครงการอบรมการแสดงรำโจ๋งให้กับตัวแทนนักเรียนใน ระดับอนุบาลถึงชั้น ประถมศึกษา ในเขตอำเภอท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เรียนรู้และสืบทอดการแสดง จากผู้เชี่ยวชาญการแสดงรำโจ๋งให้อยู่สืบต่อ ลักษณะการรำโจ๋ง แบ่งผู้รำเป็น สองฝ่าย ฝ่ายชาย สมมุติเป็นวัว รำอยู่วงใน ฝ่ายหญิง เป็นผู้ต้อนวัว รำอยู่วงนอก รำเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา ท่ารำ คล้ายกับการต้อนวัวเข้าคอก ประกอบการตีโทน เป็นจังหวะ การแต่งกายผู้แสดงชายสวมเสื้อคอกลม นุ่งโจงกระเบน ผ้าขาวม้าคาดเอว ผู้แสดงหญิงสวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ นุ่งโจงกระเบน การละเล่นพื้นบ้านรำโจ๋ง ปัจจุบันมีการถ่ายทอด และสืบทอดท่ารำ เป็นหลักสูตรในโรงเรียน เพื่ออนุรักษ์ให้การแสดงท้องถิ่น ตำบลท่าโรง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้คงองค์ความรู้สืบทอดต่อไป


นาฏยวิถีของภัทราวดี มีชูธน, นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

นาฏยวิถีของภัทราวดี มีชูธน, นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง นาฏยวิถีของภัทราวดี มีชูธน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานของภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลวิจัยพบว่า ชีวิตและผลงานของภัทราวดีแบ่งได้เป็น 7 ช่วงคือ (1)สั่งสมศิลปวัฒนธรรมและนาฏยศิลป์ไทยจากการเรียนและประสบการณ์ในครอบครัว (2)จากการเรียนและการแสดงในต่างประเทศ (3)การซึมซับและแสวงหาความแปลกใหม่จากการมองต่างมุมในวงการแฟชั่น (4)การสร้างความชำนาญด้วยการเข้าสู่วงการแสดงอาชีพ (5)การสร้างอาชีพการแสดงของตนเอง (6)การสร้างนักแสดงรุ่นใหม่กับแนวคิดใหม่ๆด้วยโรงเรียนการแสดงและโรงละครซึ่งเป็นพื้นที่ทดลองสร้างสรรค์ (7)สร้างแนวคิดและวิธีแสดงใหม่ด้วยการนำคุณค่าของเนื้อหารูปแบบและจารีตเดิมมาศึกษาพัฒนาจนเกิดเป็นมิติใหม่ในวงการนาฏกรรมไทย จากการวิเคราะห์ผลงานตัวอย่าง 8 เรื่องพบว่า นาฏยวิถีของภัทราวดี มีชูธน มี 10 ประการดังนี้ (1)การสร้างสรรค์โดยทำให้แตกต่างจากการแสดงจารีตเดิม (2)การใช้ปัจจัยสากลมาผสมผสานกับ"รากไทย" (3)การสร้างเนื้อหาจากวรรณกรรม เหตุการณ์ในชีวิตจริงและปัญหาสังคมรวมถึงธรรมะมาพัฒนาเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ (4)การดำเนินเรื่องโดยนำสารเดิมมาตีความใหม่ด้วยมุมมองใหม่อย่างมีเหตุผล (5)การยึดหลักความสมจริงตามธรรมชาติของมนุษย์สอดคล้องกับความเป็นจริงตามธรรมชาติของโลก (6)การทำงานด้วยประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ร่วมงานทำให้เกิดคุณภาพในการสร้างงาน (7)การคำนึงถึงความประหยัดแต่ทรงคุณค่าทางศิลปกรรม (8)การประยุกต์ใช้พหุวัฒนธรรมโดยดำรงคุณค่าเดิมไว้ในผลงานใหม่ (9)การสร้างงานที่คำนึงถึงภูมิธรรมของคนดูเป็นหลัก (10)การสร้างงานที่สอดคล้องกับพุทธธรรมที่ว่าด้วยปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการ ผลวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาเพื่อศึกษาชีวิตและผลงานของศิลปินผู้บุกเบิกแนวทางใหม่ ๆ ในวงการนาฏกรรมต่อไป


แนวคิดการรำละครไทยตัวพระผู้หญิง, สุภาวดี โพธิเวชกุล 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

แนวคิดการรำละครไทยตัวพระผู้หญิง, สุภาวดี โพธิเวชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการรำละครไทยตัวพระผู้หญิง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การทดลองและการสนทนากลุ่มย่อยประกอบกับประสบการณ์ของผู้วิจัยในการสอนรำไทยมากว่า 40 ปี สรุปผลการวิจัยด้วยรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ โดยศึกษาจากการฝึกทักษะเพลงช้าเพลงเร็ว(แบบเต็ม)และการสวมบทบาทเป็นตัวละคร(พระ)ในเรื่องอิเหนาของกรมศิลปากร ผลการวิจัยพบว่า ตัวพระผู้หญิงเริ่มเป็นตัวละครรำของหลวงในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและรับแสดงได้ทั่วไปในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน สำหรับการฝึกผู้หญิงให้เป็นตัวละครพระนั้นความสำคัญอยู่ที่การจัดระเบียบร่างกายที่ใช้ในการรำ 8 ส่วน ได้แก่ ศีรษะ ไหล่ ลำตัว แขน มือ นิ้วมือ ขาและเท้าให้ได้ในแบบของตัวละครพระตั้งแต่การทรงตัวตรงโดยกำหนด 5 จุดสำคัญของร่างกายได้แก่ กลางหน้าผาก ระหว่างอก สะดือและหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างให้อยู่แนวเดียวกัน หากอยู่ในท่าผสมเท้าไหล่ที่เอียงลงมาด้านข้างจะไม่เกินเข่าที่ยืน แต่หากเป็นการก้าวเท้าปลายไหล่ที่เอียงจะไม่เกินปลายเท้าที่ก้าวหรือที่ยืน ระดับมือสูงที่สุดอยู่ที่แง่ศีรษะส่วนระดับล่างสุดมือจะอยู่ด้านหลังประมาณสะโพกและหากมีการรวมมือเข้าหาลำตัวด้านหน้าต้องกันแขนให้มีช่องว่างระหว่างข้อศอกกับลำตัวอย่างน้อย 1 ฝ่ามือ ในการเคลื่อนไหวให้ร่างกายส่วนล่างตั้งแต่สะโพกลงไปต้องตั้งตรงและนิ่งไว้สามารถย่อให้เกิดเหลี่ยมมุมกว้างตรงเข่าและยืดตัวขึ้นได้โดยมีสามัญลักษณะเฉพาะของรำไทยคือการห่มตัวหรือที่เรียกว่า “ห่มเข่า” ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนท่ารำในขณะที่ร่างกายส่วนบนจะเอนไปทางขวาหรือซ้าย จากนั้นจึงเป็นการฝึกรำเพลงช้าและเพลงเร็ว ลา ซึ่งพบว่ามีองค์ความรู้ที่เป็นหลักการรำไทย 5 ประการ คือ 1.แบบท่าขององคาพยพในการรำ 2.รูปแบบโครงสร้างท่ารำหลักและท่ารำรอง 3.วิธีการเชื่อมท่ารำ 4.วิธีการเคลื่อนไหวอย่างรำไทยและ5.การใช้พลังในการรำไทย ขั้นต่อไปเป็นการฝึกรำตีบทเพื่อพัฒนาให้สามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครพระในการแสดงละครรำประกอบด้วยทักษะการรำอย่างตัวพระผู้หญิงจากการรำเพลงช้าเพลงเร็วและวิธีการสวมบทบาทเป็นตัวละครด้วยการตีบทแบบมีและไม่มีเนื้อร้องในบทบรรยาย บทเจรจาและบทแสดงอารมณ์รวมถึงการใช้ใบหน้าร่วมกับท่ารำเพื่อสร้างอรรถรสในการชม แนวคิดการรำไทยนี้จึงนับเป็นรากฐานและคุณูปการแก่บุคลากรในงานวิทยาการและวิชาชีพศิลปะการแสดงในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน


The Velvet Ditch, Kate Leslie 2022 Hollins University

The Velvet Ditch, Kate Leslie

Playwriting (MFA) Theses

At the party house, the door is always open.

Fiona finds herself living in her hometown after graduating from college. So she spends her weekends like everyone else: attending late night house parties after all the bars shut down. But no matter how much fun each party might be, Fiona eventually must face her past and her future.

A play about nostalgia and what it feels like to be lost.


The Sun, The Moon, And The Truth, Sarah Cosgrove Gaumond 2022 Hollins University

The Sun, The Moon, And The Truth, Sarah Cosgrove Gaumond

Playwriting (MFA) Theses

The Sun, The Moon, and The Truth is a collection of two plays: North Wind and I Lived To Tell. Both plays explore the human condition through differing lenses.

In North Wind, a play deeply rooted in magical realism, a trio of characters search for freedom from the past in a snow-bound Midwestern bar. The dramatic question of North Wind is: How do you move forward when everything you see reminds you of what you’ve lost?

I Lived To Tell, a non-linear play, takes place in the character's imagination. The play's dramatic question is: How does a …


Theater And Peacebuilding In Post-Conflict Settings: Participants’ Experiences In The Morning Star Theater Program In South Sudan, Shiphrah Mutungi Akandiinda 2022 Antioch University - PhD Program in Leadership and Change

Theater And Peacebuilding In Post-Conflict Settings: Participants’ Experiences In The Morning Star Theater Program In South Sudan, Shiphrah Mutungi Akandiinda

Antioch University Full-Text Dissertations & Theses

This dissertation explores the role of theater for peacebuilding in post-conflict settings through the analysis of experiences of participants in the Morning Star Forum Theater for Peacebuilding in South Sudan. Arts-based activities, including theater, have increasingly gained momentum as viable interventions for peacebuilding in post-conflict zones. Much of the existent research fails to capture the experiences of the theater participants themselves. Using narrative inquiry, this study interviewed 12 community members who participated in the Morning Star Forum Theater event. In particular, this study focused on how experiences of Morning Star Theater events impacted interpersonal growth and relationship-building, thus positively impacting …


Aliwa! A Reimagined Journey: A Stage Play And Exploring A Nyoongar Theatre Text With Pre-Service Teachers: An Exegesis, Elisa M. Williams 2022 Edith Cowan University

Aliwa! A Reimagined Journey: A Stage Play And Exploring A Nyoongar Theatre Text With Pre-Service Teachers: An Exegesis, Elisa M. Williams

Theses: Doctorates and Masters

Australia is home to one of the oldest continuous living cultures in the world. Now, more so than ever before, government and educational bodies are recognising the importance of integrating Indigenous cultures in education as a means of promoting intercultural understanding and improving educational outcomes for Indigenous students. The Australian Curriculum has advocated that Indigenous histories and cultures be embedded into every subject rather than taught separately. Drama is a curriculum area that provides many opportunities to integrate learning about Indigenous perspectives by exploring historically and culturally rich Indigenous theatre texts. Research is showing that non-Indigenous teachers are avoiding this …


“มาตุยะ เมตตา” การสร้างสรรค์ละครรำชวาจากเรื่องพระลอ, โอกี บิมา เรซ่า อาฟริตา 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

“มาตุยะ เมตตา” การสร้างสรรค์ละครรำชวาจากเรื่องพระลอ, โอกี บิมา เรซ่า อาฟริตา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ละครรำชวา โดยการนำบทละครรำของไทย มาทดลองทำการจัดแสดงเป็นนาฏกรรมข้ามวัฒนธรรมจากไทยสู่อินโดนีเซีย โดยเลือกบทละครรำเรื่อง พระลอ ตอนเสี่ยงน้ำ มาเป็นต้นแบบในการศึกษาทดลองแปลงเป็นละครรำ เซินดราตารี ของราชสำนักยกยาการ์ตา เนื่องจากละครรำทั้งสองนี้มีองค์ประกอบการแสดงและมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน และมี วายังกุลิต คือหนังชวาซึ่งคล้ายหนังตะลุงก็นำมาแสดงในส่วนที่ต้องการดำเนินเรื่องที่เป็นมายาการ การแสดงใช้เวลาการแสดง 25 นาที แสดงนำโดยตัวละครสำคัญสองตัวคือพระลอกับพระนางบุญเหลือ คือมารดาของพระลอ มีการประพันธ์บทเป็นภาษาอินโดนีเซีย จึงตั้งชื่อการแสดงตอนนี้ว่า มาตุยะ เมตตา แปลว่า ความรักของมารดา ใช้วงดนตรี เครื่องแต่งกายและการรำตามจารีตของราชสำนักยกยาการ์ตา โดยแทรกท่ารำทำบทของไทยในบางแห่งที่เหมาะสมเพื่อให้มีกลิ่นอายของไทย ผลการวิจัยพบว่าการทดลองสร้างสรรค์ละครรำชวาเรื่อง พระลอ ตอน มาตุยะ เมตตา ได้ประสบความสำเร็จ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้ร่วมงานและคนดู ทั้งฝ่ายไทยและอินโดนีเซีย ได้รับความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจและให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้เป็นเพราะวัฒนธรรมและจารีตการแสดงละครรำแบบราชสำนักของไทยและของยกยาการ์ตาคล้ายคลึงกันมาก ทั้งโดยเนื้อเรื่อง บุคลิกลักษณะของตัวละคร ประเพณีและความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ ตลอดจนการร้อง การรำ การดำเนินเรื่อง จึงทำให้การแสดงข้ามวัฒนธรรมเป็นไปได้ด้วยดี จึงสมควรมีการทำวิจัยทดลองสร้างสรรค์เช่นนี้เพื่อต่อยอดให้เสร็จสมบูรณ์ตามท้องเรื่องของพระลอ และสามารถนำแนวทางจากข้อค้นพบในวิทยานิพนธ์นี้ไปพัฒนาและทดลองสร้างสรรค์นาฏกรรมข้ามวัฒนธรรมชาติอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม เพื่อความก้าวหน้าของวงวิชาการนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต


การแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง, จิรพัทธ์ พานพุด 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

การแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง, จิรพัทธ์ พานพุด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องการแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง มีการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ รวมไปถึงการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญวงการนาฏยศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า ศาลาเฉลิมกรุงเป็นถาวรวัตถุที่มีอายุ 89 ปี เดิมเคยเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีความทันสมัยมาก เมื่อเข้ายุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องหยุดฉายหนัง และมีการนำละครเวทีขึ้นมาแสดงแทนชั่วคราว เมื่อสงครามจบลงหนังจึงกลับมาฉายดังเดิม ต่อมาในปี 2535 มีการปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ เป็นการบูรณะส่วนโครงสร้างสถาปัตยกรรม เวที ที่นั่งของผู้ชม และเทคนิคต่าง ๆ พร้อมการเปิดตัวอีกครั้งในฐานะเฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ในปี 2536 มีการแสดงคอนเสิร์ต เป็นเวทีประกาศรางวัล จัดการประกวดต่าง ๆ รวมไปถึงการจัดการแสดง โขนจินตนฤมิตร ต่อมาได้จัดการแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุงขึ้น โดยในแต่ละปีจะจัดเนื่องในวโรกาสที่สำคัญ อาทิ เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นต้น และในปัจจุบันได้จัดเป็นการแสดงโขนรอบนักท่องเที่ยว ผลการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า การแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุง แบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้ 1) ภาพยนตร์ก่อนสงคราม 2) ละครเวทีช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 3) ภาพยนตร์หลังสงคราม 4) โรงมหรสพระดับสากล 5) โขนศาลาเฉลิมกรุง จากการศึกษาของผู้วิจัยเห็นได้ชัดว่า แต่ละยุคมีทั้งการแสดงที่เหมือน และแตกต่างกัน อย่างเช่นยุคที่ 1 และ 3 จะมีการฉายภาพยนตร์เหมือนกัน และต่างกันอย่างยุคที่ 2 แสดงละครเวที ส่วนยุคที่ 5 แสดงโขน ปัจจัยแห่งการเปลี่ยนอันมีนัยสำคัญ กล่าวคือ การเกิดสงคราม และความนิยมสิ่งบันเทิงใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อการแสดงโดยตรง แม้ว่าศาลาเฉลิมกรุงจะมีการปรับเปลี่ยนการแสดงอยู่ตลอดนั้นเพราะว่าต้องการที่จะให้การแสดงที่จัดอยู่ในการดูแลของศาลาเฉลิมกรุงมีความเท่าทันต่อความนิยมในแต่ละยุคสมัย และอีกประเด็นหนึ่งนั้นก็คือ เพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ และสภาวะการเปลี่ยนแปลงความนิยมสิ่งบันเทิงที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เพื่อดำรงไว้ซึ่งโรงมหรสพหลวงอันรวมประวัติศาสตร์การแสดง ณ ศาลาเฉลิมกรุงสืบไป


การรำปะเรเรของชาวญัฮกุร จังหวัดชัยภูมิ, ณัฐปภัสร์ พิพิธกุล 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

การรำปะเรเรของชาวญัฮกุร จังหวัดชัยภูมิ, ณัฐปภัสร์ พิพิธกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่องการรําปะเรเรของชาวญัฮกุร จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบ และองค์ประกอบการแสดง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า การรําปะเรเรของชาวญัฮกุร จังหวัดชัยภูมิ แต่เดิมเป็นการรวมตัวของชาวบ้านร้องรําทําเพลงในยามว่างหลังการทํางาน จนมีการพัฒนามาเป็นการแสดง จากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรม ทําให้ชาวญัฮกุรมีการจัดการแสดง ในปี พ.ศ. 2566 ได้นําการแสดงพื้นเมืองญัฮกุรผสมการแสดงพื้นเมืองอีสาน และท่าเลียนแบบของมนุษย์และสัตว์ โดยแบ่งรูปแบบการแสดงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การแสดงบนเวที และการแสดงในขบวนแห่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และการละเล่น มีองค์ประกอบของการแสดง คือ ผู้แสดงอายุระหว่าง 10 - 60 ปี นิยมแสดงเป็นคู่ แต่งกายโดยใช้เสื้อพ็อก ผ้าถุงสีแดง สร้อยลูกเดือยและดอกไม้ติดผม มีการร้องเพลง ตีโทนประกอบ และการเปิดไฟล์ดนตรีพื้นบ้านอีสานกับการตีโทน ระยะเวลาการแสดงบนเวที 5 - 6 นาที ส่วนในขบวน 40 - 60 นาที แสดงในงานส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีแห่หอดอกผึ้ง โดยจะแสดงบนเวที ลานกว้างหรือเส้นทางในหมู่บ้าน โดยใช้หอดอกผึ้งจําลองหรืออุปกรณ์ตกแต่งรถแห่ในขบวนเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก มีท่ารำ 13 ท่า เริ่มรำท่าที่ 1 จนครบห้องเพลง แล้วเริ่มชุดท่ารําใหม่ตามลําดับจนจบการแสดงแถว 5 รูปแบบ ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ไทยเป็นการอนุรักษ์ และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป


การแสดงพระราชทานประกอบบทขับร้องพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธมนวรรณ นุ่มกลิ่น 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

การแสดงพระราชทานประกอบบทขับร้องพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ธมนวรรณ นุ่มกลิ่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์หัวข้อ การแสดงพระราชทานประกอบบทขับร้องพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบการแสดงพระราชทานประกอบบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2565 ผู้วิจัยใช้กระบวนการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย และสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนร่วมในงาน ตลอดจนสังเกตการณ์ และร่วมแสดงในงานดังกล่าว ผู้วิจัยพบว่าการแสดงงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การบรรเลงวงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และการบรรเลงดนตรีไทยวงสายใยจามจุรี ประกอบบทพระราชนิพนธ์ การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 12 ชุดการแสดง โดยในปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2565 ภาควิชานาฏยศิลป์ ได้รับมอบหมายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการออกแบบ และจัดการแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ รวมทั้งสิ้น 5 ชุดการแสดง การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ ให้ความบันเทิง และแฝงข้อคิดเตือนใจผู้ชมให้นำไปปฏิบัติตนได้อย่างทันสมัยตลอดเวลา พระองค์ท่านโปรดให้ใส่สำเนียงเพลงออกภาษา ในการประพันธ์ดนตรี และทรงพระราชทาน พระราชวินิจฉัย ตลอดการแสดง แนวดนตรีเน้นการประพันธ์เพลง ร่วมสมัย ผสมผสานเพลงไทยเดิมของโบราณกับประพันธ์ขึ้นใหม่ ร่วมกับวงดนตรีสากล ซียูแบรนด์ การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ ตีความตามบท และเลือกนำเสนอในฉากที่มีเนื้อหาโดดเด่น มีทั้งการแสดงทั้งเรื่อง ได้แก่ นเรนทราทิตย์ : วีรกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรม การแสดงบางช่วง ได้แก่ เพลงภาษาพาสนุก และรูปสลักหินวีรบุรุษโบราณ การแสดงระบำตอนท้าย ได้แก่ เที่ยวไปในแดนชวา การออกแบบท่ารำประกอบการแสดง มีทั้งรำใช้บท และสร้างสรรค์ท่าทางขึ้นใหม่ โดยทุกขั้นตอนการสร้างงานอยู่ในพระราชวินิจฉัย และการกำกับของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยตลอด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานบทพระราชนิพนธ์ และการแสดงประกอบ แสดงถึงพระอัจฉริยภาพอันสูงยากที่จะเปรียบได้ การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์นับว่ามีคุณค่าทางด้านวิชาการ การดำเนินชีวิต และสามารถนำข้อคิดไปพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา อย่างไม่ล้าสมัย


ละครรำ เรื่อง พระสุริโยทัย, ขวัญฟ้า ภู่แพ่งสุทธิ์ 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

ละครรำ เรื่อง พระสุริโยทัย, ขวัญฟ้า ภู่แพ่งสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง ละครรำเรื่อง พระสุริโยทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำประวัติสมเด็จพระสุริโยทัยมาสร้างสรรค์เป็นละครรำทางละครในเพิ่มขึ้นใหม่อีกเรื่องหนึ่ง ด้วยการวิจัยแบบทดลอง จากการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์ สัมภาษณ์ ทดลองสร้างสรรค์ การวิพากษ์ จัดการแสดง และการประเมินสัมฤทธิ์ผล แล้วนำเสนอรายงานผลการวิจัยในแบบการพรรณนาวิเคราะห์ การวิจัยแบบทดลองสร้างสรรค์มีข้อปฏิบัติ 7 ประการดังนี้ 1. ศึกษาและนำเนื้อหาและบุคคลจากประวัติศาสตร์มาสร้างเป็นโครงเรื่อง สี่ฉากสำคัญที่เหมาะแก่การทดลองแสดงเป็นทางละครใน คือ ฉากลงสรงทรงเครื่อง ประคารม เกี้ยวพาราสี และตัดไม้ข่มนาม 2. แต่งบทและบรรจุเพลงให้เหมาะแก่การดำเนินเรื่อง บุคลิกตัวละครและการรำ 3. คัดเลือกผู้แสดงที่มีประสบการณ์ในการแสดงละครใน 4. เลือกสรรประยุกต์และออกแบบท่ารำกับกระบวนรำให้เหมาะแก่บุคลิกของตัวละคร 5. ปรับแปลงเครื่องแต่งกายยืนเครื่องและอุปกรณ์การแสดงบางรายการให้มีความสมจริงเชิงประวัติศาสตร์และความสะดวกในการรำ 6. ฝึกซ้อมและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในมิติต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ 7. จัดการแสดงและประเมินสัมฤทธิ์ผลจากผู้ร่วมงานทุกฝ่ายรวมทั้งผู้ดูและผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยทดลองสร้างสรรค์ครั้งนี้พบว่าการนำประวัติศาสตร์มาแสดงเป็นละครรำแนวละครในนั้นสามารถทำได้ดี เพราะเนื้อเรื่องและบุคคลที่นำมาทดลองเป็นวิถีชีวิตและวีรกรรมของพระราชวงศ์ที่คล้ายคลึงกันกับสาระของละครใน องค์ประกอบการแสดงตามจารีตละครในนั้นแม้จะมีความประณีตและเคร่งครัดในการปฏิบัติ หากทดลองสร้างสรรค์โดยผู้มีความรู้ความชำนาญในการประยุกต์ใช้อย่างรอบรู้และรอบคอบก็สามารถทำได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ และข้อค้นพบใหม่ของการวิจัยทดลองสร้างสรรค์ฉบับนี้จะเป็นแนวทางให้เกิดการวิจัยและพัฒนาด้านเนื้อหาและรูปแบบละครรำเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพของนาฏกรรมไทยสืบไป


พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี, ธีวรา วิโนทกะ 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี, ธีวรา วิโนทกะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี โดยมีขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้คือ พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 34 (ปี พ.ศ. 2529-2563) โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า การแสดงในงานพระนครคีรีมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยยังยึดการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีเป็นหลัก รูปแบบของการแสดงที่พบในงานพระนครคีรี คือ 1) โขน 2) ละคร 3) รำ 4) ระบำ 5) การแสดงพื้นบ้าน 6) การแสดงสร้างสรรค์ 7) การแสดงดนตรี 8) มหรสพต่าง ๆ โดยการแสดงจะปรากฏอยู่ในจุดต่าง ๆ ภายในงานพระนครคีรี ซึ่งผู้วิจัยจำแนกพัฒนาการของศิลปะการแสดงออกเป็น 3 ช่วง โดยแบ่งจากหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการแสดงและรูปแบบการแสดงที่ถูกปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี คือ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2529-2548 ยุคทดลอง ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2549-2557 ยุคพัฒนา ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2558-2563 ยุคปัจจุบัน ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ถือเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดเพชรบุรี รวมไปถึงยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อไป


แนวคิดการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย, พหลยุทธ กนิษฐบุตร 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

แนวคิดการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย, พหลยุทธ กนิษฐบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง แนวคิดการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การมีส่วนร่วม ผลวิจัยพบว่า หน้ามีความสำคัญในการแสดงอัตลักษณ์ของมนุษย์ดังปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนทั่วโลก มนุษย์นิยมแต่งหน้าเพื่อความงดงามของตนและการแต่งหน้าเพื่อสร้างบุคลิกของตัวละคร ส่วนการเขียนหน้าเสริมจากการแต่งหน้าในนาฏกรรมก็เพื่อเน้นบุคลิกตัวละครตามจารีตนาฏยศิลป์ ได้แก่ กถักฬิของอินเดีย อุปรากรจีน คาบูกิของญี่ปุ่น และวายังวองของอินโดนีเซีย กับการแต่งหน้าและเขียนหน้าในนาฏกรรมไทยอันได้แก่ พระ นาง ยักษ์ และอมนุษย์ต่าง ๆ นั้น การวิจัยพบว่าแนวคิดนี้เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกผู้แสดงที่มีรูปหน้ามีสัดส่วนใกล้เคียงกับใบหน้าของตัวละคร จากนั้นก็แต่งหน้าเพื่อเพิ่มและลดส่วนต่าง ๆ ทั้ง 7 ส่วนของใบหน้าตามหลักสากลให้ได้ใกล้เคียงกับเค้าหน้าของตัวละครให้มากที่สุด โดยทำการรองพื้นผิวหน้าด้วยครีมและแป้งฝุ่นสีต่าง ๆ เพื่อแรเงาปรับส่วนนูนและส่วนลึกของใบหน้าจนได้เค้าหน้าที่ต้องการเมื่อพิจารณาจากแสงไฟในมุมต่าง ๆ และขั้นสุดท้ายคือการบรรจงวาดเส้นลายกระหนกสีเข้มเพื่อเน้นส่วนต่างๆของใบหน้า อาทิ คิ้ว ตา ปาก คาง จอนหู และเพิ่มสัญลักษณ์เช่นอุณาโลมที่หว่างคิ้วเพื่อแสดงความเป็นเทพ กระบวนการเลือกรูปทรงของใบหน้า การแต่งเพื่อปรับรูปหน้าและการวาดเส้นบนส่วนต่างๆของหน้า ยังต้องสัมพันธ์กับรูปทรงสีสันของศิราภรณ์และพัสตราภรณ์ของตัวละครนั้นๆอีกด้วยจึงจะทำให้การแต่งหน้าและการเขียนหน้าในนาฏกรรมไทยสำหรับตัวละครนั้นๆมีผลสมบูรณ์ทุกประการ ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการวิจัยแนวทางสร้างเสริมความงามในนาฏกรรมไทยในมิติอื่นๆทางศิลปกรรมไทยต่อไปอย่างกว้างขวาง


การใช้อาวุธตัวยักษ์ในการแสดงโขน, สุวรักข์ อยู่แท้กูล 2022 คณะศิลปกรรมศาสตร์

การใช้อาวุธตัวยักษ์ในการแสดงโขน, สุวรักข์ อยู่แท้กูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การใช้อาวุธตัวยักษ์ในการแสดงโขน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการใช้อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตจากการแสดง โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงหลักการ ทฤษฎี กลวิธีและแนวทางในการปฏิบัติ การใช้อาวุธลักษณะต่าง ๆ ของตัวยักษ์ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ โดยศึกษารูปแบบและวิธีการปฏิบัติของครูสมศักดิ์ ทัดติ ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทยโขน ตัวยักษ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขน เป็นอาวุธที่มีรูปแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะ บางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากอาวุธที่ใช้งานจริงและบางส่วนได้นำรูปร่างและลักษณะมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง อาวุธของตัวยักษ์ในการแสดงโขน สามารถแบ่งตามลักษณะของอาวุธที่ปรากฎในการแสดงโขนได้ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ อาวุธสั้น อาวุธยาว และอาวุธพิเศษ วิธีการใช้อาวุธแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของอาวุธที่นำมาใช้ ผู้แสดงจึงต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญสำหรับการใช้อาวุธประกอบการแสดง ตัวยักษ์บางตน อาจจะการใช้อาวุธที่มากกว่าหนึ่งชนิด ซึ่งชนิดของอาวุธที่ใช้ก็อาจจะแตกต่างกันไปตามลักษณะหรือประเภทของอาวุธ อีกทั้งการแสดงของตัวยักษ์จะมีลักษณะที่แข็งแรงและคล่องแคล่ว ผู้แสดงตัวยักษ์จึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักวิธีการใช้อาวุธในแต่ละประเภท เพื่อสื่อให้เห็นถึงความสวยงาม ความแข็งแรง และความสง่างามของตัวละครที่ใช้อาวุธในขณะที่ทำการแสดง โดยเฉพาะยักษ์ที่เป็นตัวละครเอก การใช้อาวุธในการแสดงของตัวยักษ์ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ จึงเป็นหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการแสดง และเป็นกระบวนที่ผู้แสดงสามารถอวดฝีมือการใช้อาวุธของตัวยักษ์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ


Queer Representation And Public Pedagogy In American Musical Theatre, Craig M. McGill, Alan J. Chaffe, Kyle W. Ross 2022 Kansas State University

Queer Representation And Public Pedagogy In American Musical Theatre, Craig M. Mcgill, Alan J. Chaffe, Kyle W. Ross

Adult Education Research Conference

This paper explores the Broadway musical as a site of queerness and queer representation through the lens of queer public pedagogy.


Boundary As Borderland: Mexico City’S Central Plaza And The Politics Of Presence, Re'al Christian 2021 CUNY Hunter College

Boundary As Borderland: Mexico City’S Central Plaza And The Politics Of Presence, Re'al Christian

Theses and Dissertations

In the postcolonial era, the land surrounding national borders—the borderland—has inherited a specific identity and relationship with those who navigate it. While national borderlands are oft discussed amid conversations on globalization, land disputes, and war, the Spanish colonization of the Americas in the fifteenth and sixteenth centuries saw the new establishment of borderlands from within in the form of segregative boundaries that purported to separate Indigenous and European peoples. This thesis concerns the manifestation of the borderland as not only an external entity, but an internal one as well. Using Mexico City, the center of the Spanish colonial empire, as …


Digital Commons powered by bepress