Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

Keyword

Articles 31 - 35 of 35

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยคัดสรรที่มีค่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, สุรีพร ธนศิลป์ Jan 2014

ปัจจัยคัดสรรที่มีค่าสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร คือ อาการปวดเข่า ความรุนแรงของโรค ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการดูแลตนเอง อายุ ดัชนีมวลกาย และการ สนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนด จํานวน 150 คน ที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกคลินิกโรคกระดูกและข้อของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลศิริราช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินความรุนแรงของโรค แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง แบบประเมินการ สนับสนุนทางสังคม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ตรวจสอบความตรงตาม เนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 คน หาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .76, .75, .92, .91, .92, และ .92 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1) กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ยในระดับสูง (x̄ = 2.74, SD = .50) 2) ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ\n.05 (r = .30, r = .36 ตามลําดับ) 3) อาการปวดเข่า ความรุนแรงของโรค และดัชนีมวลกาย มีความ สัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 05 (r = -.33, .34 และ -.18 ตามลําดับ) ส่วนภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.65) และ 4) อายุไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมวัยผู้ใหญ่ (r = -.06)\n \nสรุป: …


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ, นิติยา ฤทธิไกร, รัตน์ศิริ ทาโต Jan 2014

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ, นิติยา ฤทธิไกร, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการ ป้องกันโรคเอดส์ต่อพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานหญิงบริการที่ปฏิบัติงานในสถานบริการคาราโอเกะ 2 แห่ง ที่มีลักษณะการให้บริการใกล้เคียงกัน คัดเลือกสถานบริการโดยการเลือกตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน (1 สถานบริการ) และกลุ่มควบคุม 25 คน (1 สถานบริการ) กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาคเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที่\n \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการหลังได้รับ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่าก่อนได้รับ โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01)\n2) ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่ากลุ่ม ที่ได้รับความรู้ตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01)\n \nสรุป: โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สามารถ เพิ่มอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ จึงควรมีการส่งเสริมให้มีการให้ข้อมูล สร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มเสี่ยงนี้อย่างกว้างขวางเพื่อลดอัตราการติดเอดส์ต่อไป\n


ลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน, มรกต เหลืองอำนวยศิริ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี Jan 2014

ลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน, มรกต เหลืองอำนวยศิริ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยเทคนิค Ethnographic Delphi Future Research (EDFR)\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 20 คน การดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ขั้นตอนที่ 2 นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนํามาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสําคัญของข้อคําถามแต่ละข้อที่เป็นลักษณะจิตบริการในการปฏิบัติงานของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน ขั้นตอนที่ 3 นําข้อมูลที่ได้มาคํานวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์แล้วส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง หลังจากนั้นนํา ข้อมูลที่ได้มาคํานวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n \nผลการวิจัย: ลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านเจตคติที่ดีต่อการให้บริการ ประกอบด้วย 4 ด้านย่อย ได้แก่ การคิดเชิงบวกต่อการให้บริการ การให้บริการด้วยความเต็มใจ การเข้าใจธรรมชาติของผู้รับบริการ และการเข้าใจความคาดหวังและ ความต้องการของผู้มารับบริการ 2) ด้านคุณลักษณะของพยาบาล ประกอบด้วย 2 ด้านย่อย ได้แก่ การ มีบุคลิกภาพที่สร้างความประทับใจ และความสามารถในการบริหารจัดการ 3) ด้านความรับผิดชอบ ประกอบด้วย 3 ด้านย่อย ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อองค์การ และความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม\n\nสรุป: ผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน สามารถนําผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางส่งเสริมจิตบริการ และฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพให้มีพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ\n


ความรู้และทัศนคติในการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็กของผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็ก, สุปราณี การพึ่งตน Jan 2014

ความรู้และทัศนคติในการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็กของผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็ก, สุปราณี การพึ่งตน

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติในการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็กของผู้ปกครอง และครูพี่เลี้ยงเด็ก\n \nรูปแบบการวิจัย: งานวิจัยแบบพรรณนาเชิงเปรียบเทียบ\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองที่มีบุตรอายุระหว่าง 1 ถึง 3 ขวบ จํานวน 104 คน และ ครูพี่เลี้ยงเด็ก จํานวน 86 คน คัดเลือกตามสะดวกจากศูนย์เด็กเล็กเขตเทศบาล อ.เมือง จ.จันทบุรี เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็ก (CVI = .94, KR 20 = .70) และแบบสอบถามความคิดเห็นในการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็ก (CVI = .83, α = .71) วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที\n \nผลการวิจัย: คะแนนความรู้ในการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็กของผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็กส่วนใหญ่ อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 45.19 และ 61.63 ตามลําดับ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และทัศนคติในการ ดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็กระหว่างผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็กไม่แตกต่างกัน (tdf = 188 = -1.76 และ tdf = 188 = -.89, p > .05) กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับความสามารถที่ เหมาะสมตามวัยของเด็กเล็กที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหาร ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็กบางส่วนมี ความเชื่อด้านลบเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็ก\n \nสรุป: พยาบาลเด็กควรจัดบริการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการดูแลเรื่องอาหารเด็กเล็ก ที่เหมาะสม รวมทั้งปรับทัศนคติให้ผู้ดูแลเด็กมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสามารถตามวัยของ เด็กเล็กด้านการรับประทานอาหาร\n


ปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยของชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใน 4 กลุ่ม เขตกรุงเทพมหานคร, พูลสุข เจนพาณิชย์ วิสุทธิพันธ์, สุธิดา มาสุธน Jan 2014

ปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยของชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใน 4 กลุ่ม เขตกรุงเทพมหานคร, พูลสุข เจนพาณิชย์ วิสุทธิพันธ์, สุธิดา มาสุธน

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายการใช้ถุงยางอนามัยและความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของ ชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นใน 4 กลุ่ม\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทํานาย\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 20-39 ปี ที่อาศัยหรือ ทํางานในกรุงเทพมหานคร 4 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษา จํานวน 65 คน พนักงานบริษัท จํานวน 143 คน หนุ่มโรงงาน จํานวน 141 คน และคนรับจ้างทั่วไป จํานวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามซึ่งพัฒนาจากกรอบแนวคิดทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรมของ Aizen (1991) ประกอบด้วย แบบประเมินความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย แบบประเมินเจตคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย แบบประเมินการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการควบคุมการใช้ ถุงยางอนามัย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .76, .87, .78 และ .73 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) ปัจจัยทํานายการใช้ถุงยางอนามัย พบว่า ความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย สามารถ ทํานายการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษา พนักงานบริษัทและหนุ่มโรงงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (β = .31, .57, และ .43, p < .05) โดยกลุ่มคนงานรับจ้างทั่วไป ไม่มีปัจจัยทํานายใดมีนัยสําคัญทางสถิติ 2) ปัจจัยทํานายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย พบว่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการใช้ถุงยางอนามัยสามารถทํานายความตั้งใจได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในทั้ง 4 กลุ่ม (β = .33, .40, .39 และ .51, p < .05) ส่วนการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง สามารถทํานายความตั้งใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในกลุ่มคนงานรับจ้างทั่วไป และกลุ่มหนุ่มโรงงาน (β = .38 และ .24, p < .05) โดย เจตคติต่อการใช้ ถุงยางอนามัย สามารถทํานายความตั้งใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เฉพาะในกลุ่มพนักงานบริษัทเท่านั้น (β = .23, p < .05)\n \nสรุป: ทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาปัจจัยทํานายการใช้ถุงยาง อนามัยและความตั้งใจได้บางส่วนสําหรับกลุ่มประชากร 4 กลุ่มนี้ การรณรงค์ส่งเสริมการใช้ถุงยาง อนามัยและความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยในประชากรแต่ละกลุ่มจึงควรคํานึงปัจจัยทํานายที่ เฉพาะเจาะจงเหล่านี้ \n