Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร;ความวิตกกังวลของผู้ป่วย; ความพึงพอใจของพยาบาล

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยและความพึงพอใจของพยาบาล, ปนัฐดา ชาติสุวรรณ, กัญญดา ประจุศิลป May 2014

ผลของการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยและความพึงพอใจของพยาบาล, ปนัฐดา ชาติสุวรรณ, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลต่อการ ใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบก่อนทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร จํานวน 20 คน และพยาบาลผ่าตัด จํานวน 23 คน ที่ได้จากการคัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความวิตกกังวล ของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร และแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้รูปแบบการ สนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหาร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาความเที่ยงด้วยการคํานวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .86 และ .87 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยหลังใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารต่ำกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลฯ อย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พยาบาลมีความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาล ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารในระดับมาก (x̄ = 4.02, SD = .64)\n \nสรุป: การใช้รูปแบบการสนับสนุนข้อมูลการพยาบาลผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่งผลให้ความวิตก กังวลของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารลดลง และพยาบาลมีความพึงพอใจ จึงควรนํารูปแบบการสนับสนุน ข้อมูลฯ ไปใช้ตั้งแต่วันแรกที่ได้รับการวินิจฉัยว่าต้องเข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหาร\n