Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ;พยาบาลวิชาชีพ;โรงพยาบาลชุมชน

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ยุวดี บาคาล, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2014

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ยุวดี บาคาล, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพและปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทํานาย (Descriptive predictive research)\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 347 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะองค์การ แบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ .89 และ 1.00 ตรวจสอบสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ของแบบสอบถามทั้งสอง ได้เท่ากับ .93 และ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ\nขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.02, SD = 0.31)\n2) ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ การจัดโครงการสถานที่ทํางานน่าอยู่น่าทํางาน (β = .366) ประสบการณ์ปฏิบัติงาน (β = .176)\nโรงพยาบาลขนาดเล็ก (β = .133) การนําองค์การและการบริหาร (β = .128) ได้รับการอบรมด้านส่งเสริม สุขภาพ (β = .108) ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (β = .-131) และช่วงอายุ 30-39 ปี (β = .-128) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้ ร้อยละ 22.3 (R² = …