Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

จิตบริการ;พยาบาลวิชาชีพ;โรงพยาบาลเอกชน

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน, มรกต เหลืองอำนวยศิริ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี Jan 2014

ลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน, มรกต เหลืองอำนวยศิริ, อารีย์วรรณ อ่วมตานี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยเทคนิค Ethnographic Delphi Future Research (EDFR)\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจํานวน 20 คน การดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ขั้นตอนที่ 2 นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนํามาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความ คิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสําคัญของข้อคําถามแต่ละข้อที่เป็นลักษณะจิตบริการในการปฏิบัติงานของ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชน ขั้นตอนที่ 3 นําข้อมูลที่ได้มาคํานวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัย ระหว่างควอไทล์แล้วส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง หลังจากนั้นนํา ข้อมูลที่ได้มาคํานวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n \nผลการวิจัย: ลักษณะจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านเจตคติที่ดีต่อการให้บริการ ประกอบด้วย 4 ด้านย่อย ได้แก่ การคิดเชิงบวกต่อการให้บริการ การให้บริการด้วยความเต็มใจ การเข้าใจธรรมชาติของผู้รับบริการ และการเข้าใจความคาดหวังและ ความต้องการของผู้มารับบริการ 2) ด้านคุณลักษณะของพยาบาล ประกอบด้วย 2 ด้านย่อย ได้แก่ การ มีบุคลิกภาพที่สร้างความประทับใจ และความสามารถในการบริหารจัดการ 3) ด้านความรับผิดชอบ ประกอบด้วย 3 ด้านย่อย ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อองค์การ และความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม\n\nสรุป: ผู้บริหารการพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน สามารถนําผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางส่งเสริมจิตบริการ และฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพให้มีพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ\n