Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

การใช้ถุงยางอนามัย;ชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น;ความตั้งใจ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยของชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใน 4 กลุ่ม เขตกรุงเทพมหานคร, พูลสุข เจนพาณิชย์ วิสุทธิพันธ์, สุธิดา มาสุธน Jan 2014

ปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยของชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใน 4 กลุ่ม เขตกรุงเทพมหานคร, พูลสุข เจนพาณิชย์ วิสุทธิพันธ์, สุธิดา มาสุธน

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายการใช้ถุงยางอนามัยและความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของ ชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้นใน 4 กลุ่ม\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบทํานาย\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยชายไทยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุ 20-39 ปี ที่อาศัยหรือ ทํางานในกรุงเทพมหานคร 4 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษา จํานวน 65 คน พนักงานบริษัท จํานวน 143 คน หนุ่มโรงงาน จํานวน 141 คน และคนรับจ้างทั่วไป จํานวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามซึ่งพัฒนาจากกรอบแนวคิดทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรมของ Aizen (1991) ประกอบด้วย แบบประเมินความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย แบบประเมินเจตคติต่อการใช้ถุงยางอนามัย แบบประเมินการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการควบคุมการใช้ ถุงยางอนามัย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .76, .87, .78 และ .73 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) ปัจจัยทํานายการใช้ถุงยางอนามัย พบว่า ความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย สามารถ ทํานายการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษา พนักงานบริษัทและหนุ่มโรงงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (β = .31, .57, และ .43, p < .05) โดยกลุ่มคนงานรับจ้างทั่วไป ไม่มีปัจจัยทํานายใดมีนัยสําคัญทางสถิติ 2) ปัจจัยทํานายความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย พบว่า การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการใช้ถุงยางอนามัยสามารถทํานายความตั้งใจได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติในทั้ง 4 กลุ่ม (β = .33, .40, .39 และ .51, p < .05) ส่วนการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง สามารถทํานายความตั้งใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ในกลุ่มคนงานรับจ้างทั่วไป และกลุ่มหนุ่มโรงงาน (β = .38 และ .24, p < .05) โดย เจตคติต่อการใช้ ถุงยางอนามัย สามารถทํานายความตั้งใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เฉพาะในกลุ่มพนักงานบริษัทเท่านั้น (β = .23, p < .05)\n \nสรุป: ทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม สามารถนํามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาปัจจัยทํานายการใช้ถุงยาง อนามัยและความตั้งใจได้บางส่วนสําหรับกลุ่มประชากร 4 กลุ่มนี้ การรณรงค์ส่งเสริมการใช้ถุงยาง อนามัยและความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยในประชากรแต่ละกลุ่มจึงควรคํานึงปัจจัยทํานายที่ เฉพาะเจาะจงเหล่านี้ \n