Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้;บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน;การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี, สายใหม ตุ้มวิจิตร, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย, ฉวี มากพุ่ม, สุลี ทองวิเชียร Sep 2014

ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี, สายใหม ตุ้มวิจิตร, นาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย, ฉวี มากพุ่ม, สุลี ทองวิเชียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของนักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี \n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรี จํานวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับแผ่นพับวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยจับคู่ ระดับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .83 ตรวจสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)\n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับ โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการตรวจเต้านม ด้วยตนเองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n \nสรุป: โปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ผ่านทางบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนส่งผล ให้นักศึกษาหญิงในระดับปริญญาตรีมีพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มขึ้นและเพิ่มมากกว่าการ ให้ความรู้ทางแผ่นพับ\n