Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์;พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย;พนักงานหญิงบริการ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ, นิติยา ฤทธิไกร, รัตน์ศิริ ทาโต Jan 2014

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ, นิติยา ฤทธิไกร, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการ ป้องกันโรคเอดส์ต่อพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานหญิงบริการที่ปฏิบัติงานในสถานบริการคาราโอเกะ 2 แห่ง ที่มีลักษณะการให้บริการใกล้เคียงกัน คัดเลือกสถานบริการโดยการเลือกตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน (1 สถานบริการ) และกลุ่มควบคุม 25 คน (1 สถานบริการ) กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาคเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที่\n \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการหลังได้รับ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่าก่อนได้รับ โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01)\n2) ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่ากลุ่ม ที่ได้รับความรู้ตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01)\n \nสรุป: โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สามารถ เพิ่มอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ จึงควรมีการส่งเสริมให้มีการให้ข้อมูล สร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มเสี่ยงนี้อย่างกว้างขวางเพื่อลดอัตราการติดเอดส์ต่อไป\n