Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

Keyword

Articles 31 - 37 of 37

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2, แสงอรุณ สุรวงค์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2, แสงอรุณ สุรวงค์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีระดับ HbA1c > 7.5% ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน-ธัยรอยด์ และระบบฮอร์โมน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ จัดให้ทั้ง 2 กลุ่ม มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่เป็นโรค และระดับ HbA1c เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวตามแนวคิดของ Ryan and Sawin เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test)\n\nผลการวิจัย: \n1) ค่าเฉลี่ยระดับ HbA1c ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีค่าต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) ค่าเฉลี่ยระดับ HbA1c ของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวมีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุมีการจัดการตนเองที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถลดระดับ HbA1c ได้และลดได้ดีกว่าการพยาบาลตามปกติ


ประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, ทรงสมร สวนจันทร์, วาสินี วิเศษฤทธิ์ Jan 2017

ประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, ทรงสมร สวนจันทร์, วาสินี วิเศษฤทธิ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อบรรยายประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง\n\nแบบแผนการวิจัย: วิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนา\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ที่ประสบความสำเร็จมีผลงานการปฏิบัติงานเป็นเลิศ และมีผลงานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล จำนวน 11 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกเทป ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นำมาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางของ Colaizzi\n\nผลการวิจัย: ความหมายของการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การจัดการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว พัฒนาคุณภาพการดูแลเพื่อคุณภาพชีวิต โดยแบ่งเป็น 2 ประเด็นย่อย คือ การจัดการดูแลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และการพัฒนาระบบการพยาบาล 2) การทำงานแบบบูรณาการ ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย คือ 2.1) รู้ลึก รู้กว้าง และรู้จริง 2.2) การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2.3) ประสานงานกับเครือข่าย 2.4) เป็นที่ปรึกษา ผู้สอน ผู้ให้คำแนะนำ 2.5) กล้าเสนอความคิดเห็น และ 2.6) ใฝ่รู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน ส่วนประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ 1) ทำงานด้วยใจรัก ทุ่มเท เสียสละ ยึดประโยชน์ของผู้ป่วย 2) อุปสรรค คือ ความท้าทาย 3) ความภาคภูมิใจที่หาซื้อไม่ได้ 4) รู้สึกปิติเมื่อเห็นผู้ป่วยดีขึ้น 5) เป็นโอกาสในชีวิต และ6) ความรับผิดชอบที่ไร้ตำแหน่ง\n\nสรุป: ข้อมูลที่ได้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารทางการพยาบาลเพื่อให้การสนับสนุน ส่งเสริมบันไดความก้าวหน้าทางวิชาชีพที่เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตลอดจนพิจารณาและกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงได้พัฒนาตนเองให้ดีขึ้นต่อไป


ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, รวีวรรณ กลิ่นสุวรรณ, นันทิยา วัฒายุ, นันทวรรณ สุวรรณรูป Jan 2017

ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, รวีวรรณ กลิ่นสุวรรณ, นันทิยา วัฒายุ, นันทวรรณ สุวรรณรูป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัว 2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผู้ดูแลในครอบครัว ภาระผู้ดูแลและแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัว 3) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง\n\nรูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง มารับบริการที่แผนกล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลพระจอมเกล้า และโรงพยาบาลหัวหิน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 98 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามลักษณะผู้ดูแลในครอบครัว ภาระผู้ดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .91, .96 และ.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติถดถอยเชิงพหุคูณ\n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมยู่ในระดับปานกลาง (= 90.11, SD.= 13.77) 2) อายุผู้ดูแลในครอบครัวและแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.294 และ r =-.528,p < .01) และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .441, p < .01)3) ปัจจัยที่ทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ภาระผู้ดูแลในครอบครัว (β = -.411, p =.000) แรงสนับสนุนทางสังคม (β = .303, p =.001) และอายุผู้ดูแลในครอบครัว (β =-.168, p = .05) โดยสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงระดับของคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในครอบครัวได้ร้อยละ 41 (R2 = .409, F = 12.753, p < .001)\n\nสรุป: บุคลากรทางสาธารณสุขสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการกำหนดแนวทางในการประเมินการวางแผนเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องให้ดีขึ้น


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, รุ่งแสง อุชชิน, รัตน์ศิริ ทาโต Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, รุ่งแสง อุชชิน, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสินและโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าจำนวน 145 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .76, .73, .86, 79, 82 และ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย:พฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=36.06, S.D.=5.41) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.572 และr =.200) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคและอายุ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้ร้อยละ 33.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: ควรส่งเสริมพยาบาลวิชาชีพให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค โดยมุ่งจัดกิจกรรมยืดเหยียดร่างกายระหว่างการปฏิบัติงานในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป


ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ การออกกำลังกายในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง, ทองมี ผลาผล, นันทวัน สุวรรณรูป, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร Jan 2017

ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและ การออกกำลังกายในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง, ทองมี ผลาผล, นันทวัน สุวรรณรูป, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใหญ่ที่มีภาวะเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดู่ และหน่วยเวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลอาจสามารถ จำนวน 64 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน ตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .91 และค่าความเที่ยงของการวัดซ้ำเท่ากับ .73 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และ Independent t-test\n\nผลการวิจัย:กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: โปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนส่งผลให้ผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายดีขึ้นและดีกว่าการคำแนะนำจากหน่วยบริการสุขภาพตามปกติ จึงควรมีการสนับสนุนให้หน่วยบริการปฐมภูมิจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่กระตุ้นกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงอย่างต่อเนื่อง


การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี, บุษบา ประสารอธิคม Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี, บุษบา ประสารอธิคม

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และเพื่อประเมินรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and development)\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ด้วยการประเมินความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง การประเมินทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง และประเมินอัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงาน ภายหลังนำรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ไปใช้แล้ว 3 เดือน \n\nผลการวิจัย:\n\n1. รูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยหนักมีดังนี้\n 1.1 จัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงซ้ำทุก 3 เดือน ครั้งละ 2 วัน โดยวันแรก อบรมทฤษฎีจำนวน 4 ชั่วโมง อบรมภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง โดยฝึกทักษะการอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจในสถานการณ์จำลอง วันที่ 2 ฝึกทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง เป็นเวลา 7 ชั่วโมง\n 1.2 จัดทำ Pre- Arrest Signs และ Guideline ไปติดทุกหอผู้ป่วย และคัดเลือกครู ก. ประจำหอผู้ป่วย ทำหน้าที่เป็นผู้สอนและประเมินการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ณ หอผู้ป่วยที่สังกัด\n2. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ\n 2.1. พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงภายหลังอบรมครั้งที่ 1 มากกว่าก่อนการอบรม และมากกว่าระยะหลังการอบรมครั้งที่ 2(3 เดือน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง หลังการอบรมครั้งที่ 1 สูงกว่าหลังการอบรมครั้งที่ 2 (3 เดือน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ\n 2.2 อัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงาน พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นจำนวน 16 ราย สามารถช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จ จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.89 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยอาการ Facture ribs, Hemothorax/Pneumothorax หรือ Rupture Heart เท่ากับ …


ผลของการชี้แนะต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน, กัลยกร ลักษณะเลขา, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ Jan 2017

ผลของการชี้แนะต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน, กัลยกร ลักษณะเลขา, สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการชี้แนะต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลิน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลิน อายุ 30-65 ปี ที่มีระดับ HbA1C ระหว่าง 7-9% มารับบริการที่หน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ คลินิกเบาหวานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จำนวน 50 คน คัดเลือกโดยสุ่มอย่างง่าย จัดเข้าเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน กลุ่มทดลองได้รับการชี้แนะ คู่มือการจัดการตนเอง วงล้อมหัศจรรย์ และรู้ทันอินซูลิน กลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการชี้แนะตามแนวคิดของ Haas จำนวน 5 ครั้ง ประกอบด้วย การชี้แนะที่คลินิก 2 ครั้ง ชี้แนะที่บ้าน 2 ครั้ง ชี้แนะทางโทรศัพท์ 1 ครั้ง รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเอง และแบบบันทึกผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) แบบสอบถามมีค่า CVI เท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ.86วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที (t-test)\n\nผลการวิจัย: \n1) กลุ่มที่ได้รับการชี้แนะมีค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 10.67, p < .001)\n\n2) กลุ่มที่ได้รับการชี้แนะมีค่าเฉลี่ยผลต่างระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -4.15, p < .001)\n\nสรุป: การชี้แนะส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ฉีดอินซูลินมีพฤติกรรมการจัดการตนเองทุกด้านดีขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารลดลง