Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

ปัจจัยทําานาย;สุขภาวะ;พยาบาลวิชาชีพ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยทํานายสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ปวิตรา ทองมา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2017

ปัจจัยทํานายสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ปวิตรา ทองมา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพทุกระดับที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ จํานวน 361 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล บรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ความเครียดในงาน และสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .85 - .95 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราคเท่ากับ .90, .82, และ .92 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของPearson และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน\n\nผลการวิจัย : 1) สุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับดี ( X = 3.84, SD = 0.80) 2) อายุ รายได้ และบรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .18, .25, .38 ตามลําดับ, p < .05) ส่วนความเครียดในงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = -.24, p < .05) 3) บรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รายได้ และความเครียดในงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์สุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 21.3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป : ผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพมีสุขภาวะที่ดีทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายจิตใจ สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ โดยส่งเสริมให้มีการจัดบรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงานจัดให้มีการลดความเครียดในงาน และสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพมีรายได้ที่เหมาะสมเพียงพอ