Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

การใช้สารเคมี;การรับรู้ภาวะสุขภาพ;ภาวะสุขภาพ;เกษตรกรทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การใช้สารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับภาวะ สุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง, วิโรจน์ เจ้ยเปลี่ยน, นพวรรณ เปียซื่อ, จินตนา ศิริวราศัย, นรีมาลย์ นีละไพจิตร Sep 2017

การใช้สารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับภาวะ สุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง, วิโรจน์ เจ้ยเปลี่ยน, นพวรรณ เปียซื่อ, จินตนา ศิริวราศัย, นรีมาลย์ นีละไพจิตร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์การวิจัย : 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ การใช้สารเคมีกําจัดแมลง ความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพและภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ การใช้สารเคมีกําจัดแมลง ความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพและภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบพรรณนา\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง 86 คนในชุมชนเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหนองสามวัง 1 อําเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เลือกตัวอย่างแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ ผลการตรวจสุขภาพและผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพลาสมาโคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 95.3) ตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีภาวะน้ําหนักเกินหรืออ้วน (ร้อยละ 52.3) ด้วยเส้นรอบเอวปกติ (ร้อยละ 76.7) ระยะเวลาทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง 1-10 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 37.2) กลุ่มตัวอย่างใช้สารเคมีกําจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ (ร้อยละ 81.4) กลุ่มคาร์บาเมท (ร้อยละ 63.9) และกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (ร้อยละ 27.9) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ผ้าปิดปากและจมูก (ร้อยละ 89.4) เพื่อป้องกันตนเองในการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง มีการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 47.7) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับพลาสมาโคลีนเอสเตอเรส ได้แก่ ระยะเวลาทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง (r = -.222), ดัชนีมวลกาย (r = .344) และเส้นรอบเอว (r = .260) การใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง (r = .941) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ\n\nสรุป : บุคลากรสุขภาพควรประเมินติดตาม การใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง และติดตามภาวะอ้วนลงพุงของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลงในระยะเวลานาน