Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

การพัฒนารูปแบบ;ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรง;การจัดการรายกรณี

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี, อัญชลี โสภณ, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ไพรวัลย์ พรมที, สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์, อรไท โพธิ์ไชยแสน Sep 2017

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี, อัญชลี โสภณ, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ไพรวัลย์ พรมที, สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์, อรไท โพธิ์ไชยแสน

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณี \nแบบแผนงานวิจัย : การวิจัยและพัฒนา\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ วิเคราะห์สถานการณ์ ออกแบบการพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคลากรสหสาขาวิชาชีพผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงและญาติผู้ป่วย จํา านวน 60 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพและแบบสอบถามความพึงพอใจของญาติผู้ป่วย\n\nผลจากการวิจัย :\n \nระยะที่ 1 จากการวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ระยะเวลารอทําเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 95 นาทีระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาล เฉลี่ย 6 วัน, การปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยยังไม่ต่อเนื่อง\n\nระยะที่ 2 มีการจัดทีมพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีและออกแบบแนวปฏิบัติการพยาบาลซึ่งมีทั้งหมด 9 หมวด ประกอบด้วย การประเมินผู้ป่วยแรกรับ การพยาบาลป้องกันการเกิดแผลกดทับ การพยาบาลบรรเทาความเจ็บปวด การพยาบาลป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง การรักษาอุณหภูมิร่างกาย การป้องกันการพลัดตกเตียง การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การบันทึกน้ําเข้า-ออก และ การประสานกับแพทย์เมื่อมีภาวะผิดปกติ\n\nระยะที่ 3 เมื่อนํารูปแบบการดูแลไปทดลองใช้กับผู้ป่วย จํานวน 30 คน พบว่า ระยะเวลารอทําเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลดลงจากเดิมโดยเฉลี่ย 58 นาที ระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 5 วัน\n\nระยะที่ 4 การประเมินการพัฒนารูปแบบ พบว่า ระดับความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพอยู่ที่มากที่สุด (X = 4.87 , SD = 0.34) และระดับความพึงพอใจของญาติอยู่ที่มากที่สุด (X = 4.93, SD = 0.24) \n\nสรุป : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีครั้งนี้ ทําให้เกิดรูปแบบการดูแลที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการทํางานร่วมกับบุคลากรสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม\n