Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

คุณภาพชีวิต;ผู้ดูแลในครอบครัว;ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, รวีวรรณ กลิ่นสุวรรณ, นันทิยา วัฒายุ, นันทวรรณ สุวรรณรูป Jan 2017

ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วย ไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, รวีวรรณ กลิ่นสุวรรณ, นันทิยา วัฒายุ, นันทวรรณ สุวรรณรูป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัว 2) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผู้ดูแลในครอบครัว ภาระผู้ดูแลและแรงสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัว 3) ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง\n\nรูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง มารับบริการที่แผนกล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลพระจอมเกล้า และโรงพยาบาลหัวหิน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 98 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามลักษณะผู้ดูแลในครอบครัว ภาระผู้ดูแล แรงสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง ตรวจสอบคุณภาพความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .91, .96 และ.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและสถิติถดถอยเชิงพหุคูณ\n\nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมยู่ในระดับปานกลาง (= 90.11, SD.= 13.77) 2) อายุผู้ดูแลในครอบครัวและแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.294 และ r =-.528,p < .01) และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .441, p < .01)3) ปัจจัยที่ทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ภาระผู้ดูแลในครอบครัว (β = -.411, p =.000) แรงสนับสนุนทางสังคม (β = .303, p =.001) และอายุผู้ดูแลในครอบครัว (β =-.168, p = .05) โดยสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงระดับของคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในครอบครัวได้ร้อยละ 41 (R2 = .409, F = 12.753, p < .001)\n\nสรุป: บุคลากรทางสาธารณสุขสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการกำหนดแนวทางในการประเมินการวางแผนเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยที่ล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องให้ดีขึ้น