Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

ความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดา;โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยทำ. นายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วย โรคหัวใจพิการแต่กำ. เนิดชนิดไม่เขียว, นันท์นภัส เลี้ยงพันธุ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ May 2017

ปัจจัยทำ. นายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วย โรคหัวใจพิการแต่กำ. เนิดชนิดไม่เขียว, นันท์นภัส เลี้ยงพันธุ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนและปัจจัยทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือ บิดา มารดาของเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิิดชนิดไม่เขียวที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 82 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของบิดามารดาและเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดา แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางด้านข้อมูล และแบบสอบถามความเชื่อถือและยอมรับในบุคลากรทีมสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80, .83, .91 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ\n\nผลการวิจัย: บิดามารดามีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของบุตร อยู่ในระดับปานกลาง (x = 96.31, S.D.= 10.80) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Beta=.217, p=.05) เป็นปัจจัยทำนายปัจจัยเดียว ที่สามารถทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาได้ ร้อยละ 4.7\n\nสรุป: ควรมีการศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กกลุ่มนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะแบบแผนของอาการแสดงโรคให้ครอบคลุมทุกด้าน และควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่อาจทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว