Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

ความตรงเชิงโครงสร้าง;ความสอดคล้องภายใน;คุณภาพชีวิต;หญิงตั้งครรภ์

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายใน ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, วรรณทนา ศุภสีมานนท์, นารีรัตน์ บุญเนตร May 2017

ความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายใน ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, วรรณทนา ศุภสีมานนท์, นารีรัตน์ บุญเนตร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย\n\nแบบแผนการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือวิจัย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 จำนวน 180 คน ที่คัดเลือกตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ที่พัฒนาเป็นภาษาอังกฤษโดย Vachkova, Jezek, Mares และ Moravcova (2013) และแปลเป็นภาษาไทยตามหลักการแปลแบบย้อนกลับ ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และวิเคราะห์ความสอดคล้องภายในด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient)\n\nผลการศึกษา: ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย (5 ข้อ) ด้านจิตใจ (2 ข้อ) และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (2 ข้อ) ได้ค่าความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ( = 29.17, df = 24, p = .21; /df = 1.22; GFI = .96; AGFI = .93; CFI = .98; RMSEA = .03) โดยรายด้านมีนํ้าหนักองค์ประกอบระหว่าง .46 ถึง .96 และรายข้อมีนํ้าหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .47 ถึง .82 ส่วนผลการตรวจสอบความสอดคล้องภายใน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .75 โดยอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ \n\nสรุป: พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขควรนำ.แบบสอบถามนี้ไปใช้ประเมินคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในบริบทของสังคมไทย