Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

พฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม;พยาบาลวิชาชีพ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, รุ่งแสง อุชชิน, รัตน์ศิริ ทาโต Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร, รุ่งแสง อุชชิน, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสินและโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าจำนวน 145 คนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .76, .73, .86, 79, 82 และ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย:พฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=36.06, S.D.=5.41) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.572 และr =.200) และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคและอายุ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมได้ร้อยละ 33.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป: ควรส่งเสริมพยาบาลวิชาชีพให้มีพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค โดยมุ่งจัดกิจกรรมยืดเหยียดร่างกายระหว่างการปฏิบัติงานในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป