Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

Keyword

Articles 1 - 30 of 37

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์, ศิวาพร แก้วสมสี, นันทิยา วัฒายุ, นันทวัน สุวรรณรูป Sep 2017

ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย ผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์, ศิวาพร แก้วสมสี, นันทิยา วัฒายุ, นันทวัน สุวรรณรูป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยผู้ป่วย และวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ\n\nแบบแผนงานวิจัย : การวิจัยแบบพรรณนาเชิงหาความสัมพันธ์\n\nวิธีดํ าเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพทุกคน ที่ปฏิบัติงานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ที่โรงพยาบาลชุมชน 7 แห่ง จํ านวน 259 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยผู้ป่วย วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย และการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย มีค่าความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ .85, .94 และ .86 ตามลํ าดับ มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม (reliability) เท่ากับ .61, .87 และ .84 ตามลํ าดับ มีเพียงพยาบาลวิชาชีพจํ านวน 202 คน ตอบกลับแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 77.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยด์ไบซีเรียลและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน\n\nผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุด (x= 4.25, SD = 9.10) และวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยเป็นปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยอย่างมีนัยสํ าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .303, p < .001)\n\nสรุป : ผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความสํ าคัญของการปรับปรุงวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อที่จะส่งเสริมคุณภาพการดูแลและความปลอดภัยผู้ป่วยที่ดียิ่งขึ้น


การพัฒนาหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกัน มะเร็งปากมดลูกของศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล, สุรภา สุขสวัสดิ์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, วชรีกร อังคประสาทชัย Sep 2017

การพัฒนาหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกัน มะเร็งปากมดลูกของศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล, สุรภา สุขสวัสดิ์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, วชรีกร อังคประสาทชัย

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของศูนย์เรียนรู้ทางการพยาบาล\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา\n\nวิธีดํ าเนินการวิจัย : การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ทบทวนเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การประเมินการใช้หลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพจากพยาบาลและนิสิตพยาบาล จํ านวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพในการปฏิบัติการพยาบาลและแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตรของศูนย์การเรียนรู้ทางการพยาบาล ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed ranks test\n\nผลการวิจัย : 1. หลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก เนื้อหาประกอบด้วยความเป็นมาของการให้บริการ ขั้นตอนการให้บริการ และการพัฒนานวัตกรรมการบริการสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ โดยนํายุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพมาเป็นกลวิธีในการดําเนินงาน 2. ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม พยาบาลและนิสิตพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการใช้ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นแต่ไม่มีนัยสําคัญ (Z=1.51, p =.06) และมีคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการใช้หลักสูตรของศูนย์การเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.68, SD=0.26)\n\nสรุป : หลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ได้พัฒนารูปแบบบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าพยาบาลสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ


บทบรรณาธิการ, สุนิดา ปรีชาวงษ์ Sep 2017

บทบรรณาธิการ, สุนิดา ปรีชาวงษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

No abstract provided.


ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม, ชฎารัตน์ ครุตศุทธิพิพัฒน์, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2017

ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม, ชฎารัตน์ ครุตศุทธิพิพัฒน์, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมรายด้าน, เพื่อศึกษาตัวชี้วัดย่อยในแต่ละด้านของตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม\n\nแบบแผนการวิจัย : วิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เดลฟายเทคนิค\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญ 18 คนได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมคุณภาพการพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม และผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ถูกสัมภาษณ์เกี่ยวกับตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ผ่านการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และข้อคําถามปลายเปิด ขั้นตอนที่ 2 นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา มาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสําคัญของข้อคําถามแต่ละข้อ ขั้นตอนที่ 3 นําข้อมูลที่ได้คํานวณค่ามัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคําตอบ หลังจากนั้นจึงนําข้อมูลที่ได้มาคํานวณหาค่ามัธยฐาน และ พิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย : ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ประกอบด้วยตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาล 31 ข้อ เป็นตัวชี้วัดที่มีความสําคัญระดับมากที่สุด 25 ข้อ และตัวชี้วัดที่มีความสําคัญระดับมาก 6 ข้อ จําแนกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มีความต่างทางวัฒนธรรม 2 ตัวชี้วัดย่อย 2) ด้านความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม 10 ตัวชี้วัดย่อย 3) ด้านการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ 2 ตัวชี้วัดย่อย 4) ด้านการดูแลสุขภาพตามวิถี ความเชื่อที่สอดคล้องกับแผนการรักษาพยาบาล 12 ตัวชี้วัดย่อย และ 5) ด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมาน 5 ตัวชี้วัดย่อ\n\nสรุป:ผลการวิจัยนี้สามารถนํามาใช้เป็นแนวทางสําหรับผู้บริหารทางการพยาบาลในการกําหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมที่เหมาะสม


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม, ภาวิณี แววดี, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ Sep 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม, ภาวิณี แววดี, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา 1) ความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ปัจจัยระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมภายนอก ปัจจัยด้านเวลาและการเปลี่ยนแปลงกับความมั่นคงทางอาหาร และ 3) ความสัมพันธ์ของความมั่นคงทางอาหารกับภาวะสุขภาพของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบบรรยายเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมอายุระหว่าง 20 ถึง 59 ปี จํานวน 197 คน โดยเลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิต และการประเมินภาวะโภชนาการและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน สถิติไคสแควร์ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความมั่นคงทางอาหารไม่ดี โดยมีปัญหาด้านปริมาณอาหารมากที่สุดตามมาด้วยด้านคุณภาพอาหาร ด้านความวิตกกังวลเรื่องอาหาร ด้านความปลอดภัยของอาหารและด้านผลจากมะเร็งเต้านมทั้งในช่วง 1 เดือนและ 1 ปีที่ผ่านมาตามลําดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวได้แก่ รายได้มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหาร (rs= .241, p = .001) ปัจจัยระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมภายนอกได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารด้านปริมาณอาหาร (rs = -.168, p = .018) ปัจจัยด้านเวลาและการเปลี่ยนแปลงได้แก่ ระยะเวลาการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารด้านความปลอดภัยของอาหาร (rs = .242, p = .001) นอกจากนี้ยังพบว่าความมั่นคงทางอาหารมีความสัมพันธ์กับทั้งการรับรู้ภาวะสุขภาพ (rs = .294, p < .001) และคุณภาพชีวิต (rs = .258, p < .001)\n\nสรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพควรประเมินการได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ และติดตามเฝ้าระวังปัญหาความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อย และได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพอย่างมาก รวมทั้งส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมโดยเฉพาะแรงสนับสนุนจากครอบครัว


การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี, อัญชลี โสภณ, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ไพรวัลย์ พรมที, สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์, อรไท โพธิ์ไชยแสน Sep 2017

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง ระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี, อัญชลี โสภณ, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ไพรวัลย์ พรมที, สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์, อรไท โพธิ์ไชยแสน

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณี \nแบบแผนงานวิจัย : การวิจัยและพัฒนา\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ วิเคราะห์สถานการณ์ ออกแบบการพัฒนารูปแบบ การทดลองใช้ และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคลากรสหสาขาวิชาชีพผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงและญาติผู้ป่วย จํา านวน 60 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบไปด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพและแบบสอบถามความพึงพอใจของญาติผู้ป่วย\n\nผลจากการวิจัย :\n \nระยะที่ 1 จากการวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ระยะเวลารอทําเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เฉลี่ย 95 นาทีระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาล เฉลี่ย 6 วัน, การปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยยังไม่ต่อเนื่อง\n\nระยะที่ 2 มีการจัดทีมพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีและออกแบบแนวปฏิบัติการพยาบาลซึ่งมีทั้งหมด 9 หมวด ประกอบด้วย การประเมินผู้ป่วยแรกรับ การพยาบาลป้องกันการเกิดแผลกดทับ การพยาบาลบรรเทาความเจ็บปวด การพยาบาลป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง การรักษาอุณหภูมิร่างกาย การป้องกันการพลัดตกเตียง การป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การบันทึกน้ําเข้า-ออก และ การประสานกับแพทย์เมื่อมีภาวะผิดปกติ\n\nระยะที่ 3 เมื่อนํารูปแบบการดูแลไปทดลองใช้กับผู้ป่วย จํานวน 30 คน พบว่า ระยะเวลารอทําเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลดลงจากเดิมโดยเฉลี่ย 58 นาที ระยะเวลาที่อยู่รักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 5 วัน\n\nระยะที่ 4 การประเมินการพัฒนารูปแบบ พบว่า ระดับความพึงพอใจของบุคลากรสหสาขาวิชาชีพอยู่ที่มากที่สุด (X = 4.87 , SD = 0.34) และระดับความพึงพอใจของญาติอยู่ที่มากที่สุด (X = 4.93, SD = 0.24) \n\nสรุป : การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงโดยใช้การจัดการรายกรณีครั้งนี้ ทําให้เกิดรูปแบบการดูแลที่ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการทํางานร่วมกับบุคลากรสหสาขาวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม\n


ความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูล ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบําบัดทดแทนไต, วรรณพร มิ่งลดาพร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา Sep 2017

ความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูล ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบําบัดทดแทนไต, วรรณพร มิ่งลดาพร, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบําบัดทดแทนไต\n\nรูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบําบัดทดแทนไต ระยะที่ 3-5 จํานวน 120 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามความสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการข้อมูลและแบบสอบถามการได้รับข้อมูลของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบําบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบ Wilcoxon signed-rank test \n\nผลการวิจัย : ค่าเฉลี่ยความต้องการข้อมูลโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง (Mean = 4.01, SD = 0.81) ค่าเฉลี่ยของความต้องการข้อมูลในเรื่องการควบคุมโรคหรือแนวทางการดูแลตนเองเพื่อชะลอความเสื่อมของไตมีค่ามากที่สุด (Mean = 4.33, SD = 0.95) ขณะที่ค่าน้อยที่สุดเป็นของความต้องการข้อมูลเรื่องผลกระทบในเรื่องเพศสัมพันธ์/การมีบุตร (Mean = 3.08, SD = 1.45) ในทางตรงกันข้าม ค่าเฉลี่ยการได้รับข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.08, SD = 1.03) โดยการได้รับคําอธิบายทุกครั้งก่อนรับการรักษาหรือการพยาบาลเป็นข้อที่ถูกเลือกมากที่สุด (Mean = 3.45, SD = 1.21) และการได้รับข้อมูลเรื่องผลกระทบในเรื่องเพศสัมพันธ์/การมีบุตรเป็นข้อที่ถูกเลือกน้อยที่สุด (Mean = 2.30, SD = 1.42) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างความต้องการข้อมูลและการได้รับข้อมูลพบว่าการได้รับข้อมูลมีค่าน้อยกว่าความต้องการข้อมูลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ทั้งด้านโดยรวม (Z = -7.33, p < .001) และรายข้อในทุกข้อคําถาม (Z = -6.92 - 9.44, p < .01)\n\nสรุป : บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสําคัญในการวางแผน และพัฒนาวิธีการให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับข้อมูลที่เหมาะสม และตรงความต้องการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล


พลังอํานาจของการเปลี่ยนแปลงตนเอง สําหรับพยาบาลวิชาชีพ, คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม Sep 2017

พลังอํานาจของการเปลี่ยนแปลงตนเอง สําหรับพยาบาลวิชาชีพ, คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Nowadays, the change of society rapidly occurs, and it has affected nursing profession as well as nurses' lives. Therefore, registered nurses have to transform themselves to fit the context of a society in order to improve the quality of life. It must be carefully planned with a complete set of essential principles to help change the self successfully as needed.


ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่ม และชุมชนต่อภาวะโภชนาการและอาการปวดเข่าของ ผู้สูงอายุน้ำหนักเกินที่มีอาการปวดเข่า, จันทราภรณ์ คำก๋อง, นพวรรณ เปียซื่อ, กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์ Sep 2017

ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่ม และชุมชนต่อภาวะโภชนาการและอาการปวดเข่าของ ผู้สูงอายุน้ำหนักเกินที่มีอาการปวดเข่า, จันทราภรณ์ คำก๋อง, นพวรรณ เปียซื่อ, กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ (ดัชนีมวลกาย และ เส้นรอบเอว) และอาการปวดเข่า (คะแนนความปวด) ในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมควบคุมน้ําหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุน้ําหนักเกินที่มีอาการปวดเข่าในชมรมผู้สูงอายุ 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมได้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมควบคุมน้ําหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในเรื่องสร้างความตระหนัก การตั้งเป้าหมายร่วมกัน และการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในการควบคุมน้ําหนัก การออกกําลังกาย การบริหารเข่า และการรวมพลังชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารแลกเปลี่ยน รูปแบบอาหารจานสุขภาพ และวิธีการบริหารข้อเข่าที่ผู้วิจัยจัดทําขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินภาวะโภชนาการ และอาการปวดเข่าในระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบที ไคสแควร์ และแมนวิทนีย์-ยู\n\nผลการวิจัย : กลุ่มทดลองมีการลดลงของค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (p < .001) เส้นรอบเอว (p < .001) และคะแนนความปวด (p < .001) มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ\n\nสรุป : ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อพยาบาลและทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชน โดยส่งเสริมการนําาโปรแกรมไปประยุกต์ใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุน้ําาหนักเกินที่มีอาการปวดเข่าในชุมชน


การใช้สารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับภาวะ สุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง, วิโรจน์ เจ้ยเปลี่ยน, นพวรรณ เปียซื่อ, จินตนา ศิริวราศัย, นรีมาลย์ นีละไพจิตร Sep 2017

การใช้สารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพกับภาวะ สุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง, วิโรจน์ เจ้ยเปลี่ยน, นพวรรณ เปียซื่อ, จินตนา ศิริวราศัย, นรีมาลย์ นีละไพจิตร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์การวิจัย : 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ การใช้สารเคมีกําจัดแมลง ความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพและภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ การใช้สารเคมีกําจัดแมลง ความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง การรับรู้ภาวะสุขภาพและภาวะสุขภาพของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบพรรณนา\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง 86 คนในชุมชนเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหนองสามวัง 1 อําเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เลือกตัวอย่างแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ ผลการตรวจสุขภาพและผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพลาสมาโคลีนเอสเตอเรสอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 95.3) ตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีภาวะน้ําหนักเกินหรืออ้วน (ร้อยละ 52.3) ด้วยเส้นรอบเอวปกติ (ร้อยละ 76.7) ระยะเวลาทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง 1-10 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 37.2) กลุ่มตัวอย่างใช้สารเคมีกําจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ (ร้อยละ 81.4) กลุ่มคาร์บาเมท (ร้อยละ 63.9) และกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (ร้อยละ 27.9) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้ผ้าปิดปากและจมูก (ร้อยละ 89.4) เพื่อป้องกันตนเองในการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง มีการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 47.7) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับพลาสมาโคลีนเอสเตอเรส ได้แก่ ระยะเวลาทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง (r = -.222), ดัชนีมวลกาย (r = .344) และเส้นรอบเอว (r = .260) การใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง (r = .941) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ\n\nสรุป : บุคลากรสุขภาพควรประเมินติดตาม การใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลง และติดตามภาวะอ้วนลงพุงของเกษตรกรที่ทํางานสัมผัสสารเคมีกําจัดแมลงในระยะเวลานาน


ปัจจัยทํานายสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ปวิตรา ทองมา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2017

ปัจจัยทํานายสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ปวิตรา ทองมา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทํานาย\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพทุกระดับที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ จํานวน 361 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล บรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ความเครียดในงาน และสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความตรงตามเนื้อหาระหว่าง .85 - .95 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราคเท่ากับ .90, .82, และ .92 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของPearson และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน\n\nผลการวิจัย : 1) สุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับดี ( X = 3.84, SD = 0.80) 2) อายุ รายได้ และบรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .18, .25, .38 ตามลําดับ, p < .05) ส่วนความเครียดในงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับสุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = -.24, p < .05) 3) บรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน รายได้ และความเครียดในงาน สามารถร่วมกันพยากรณ์สุขภาวะของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 21.3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n\nสรุป : ผู้บริหารทางการพยาบาลควรส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพมีสุขภาวะที่ดีทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายจิตใจ สังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ โดยส่งเสริมให้มีการจัดบรรยากาศความปลอดภัยในการปฏิบัติงานจัดให้มีการลดความเครียดในงาน และสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพมีรายได้ที่เหมาะสมเพียงพอ


การสร้างแบบประเมินทักษะการพยาบาลเด็ก สําหรับนักศึกษาพยาบาล, วิมลพรรณ สังข์สกุล, พัชรี ใจการุณ, สมรัก ครองยุทธ, กตกร ประสารวรณ์, ชนิกานต์ เกษมราช Sep 2017

การสร้างแบบประเมินทักษะการพยาบาลเด็ก สําหรับนักศึกษาพยาบาล, วิมลพรรณ สังข์สกุล, พัชรี ใจการุณ, สมรัก ครองยุทธ, กตกร ประสารวรณ์, ชนิกานต์ เกษมราช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างและทดสอบแบบประเมินทักษะการพยาบาลเด็ก สําหรับนักศึกษาพยาบาล แบบแผนการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : ขั้นตอนการสร้างแบบประเมินทักษะการพยาบาลเด็กประกอบ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กําหนดจุดหมายสําหรับการสร้างแบบประเมิน 2) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์เนื้อหาและกิจกรรม 4) กําหนดรายการประเมิน 5) ตรวจสอบเนื้อหา 6) ทดสอบแบบประเมิน และ 7) จัดทําคู่มือกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 จํานวน 75 คน ที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมิน ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินและความสอดคล้องภายในเนื้อหา\n\nผลการวิจัย : แบบประเมินทักษะการพยาบาลเด็กที่สร้างขึ้น มีลักษณะเป็นมาตรวัดแบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับกับรายการประเมินทักษะปฏิบัติ ประกอบด้วย 6 ทักษะ ได้แก่ การให้นมทางสายยาง การพ่นยา การให้ออกซิเจน การจัดท่าระบายเสมหะ การดูดเสมหะ และการให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา ภาพรวมของแบบประเมินทักษะมีความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน มีค่าความสัมพันธ์มากกว่า .80 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของความสอดคล้องภายในเนื้อหาอยู่ระหว่าง .65-.92\n\nสรุป : แบบประเมินทักษะการพยาบาลเด็กที่มีคุณภาพทั้งความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงเหมาะสมในการใช้ประเมินทักษะการพยาบาลเด็กสําหรับนักศึกษาพยาบาล


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคไตเร้ือรังระยะก่อนการบําบัดทดแทนไต, มลทณา เบ็ญณรงค์, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา, บัญชา สถิระพจน์ Sep 2017

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคไตเร้ือรังระยะก่อนการบําบัดทดแทนไต, มลทณา เบ็ญณรงค์, อรวมน ศรียุกตศุทธ, จงจิต เสน่หา, บัญชา สถิระพจน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา 1) การควบคุมความดันโลหิต 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบําบัดทดแทนไต\n\nแบบแผนงานวิจัย : การศึกษาแบบบรรยายเชิงทํานาย\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ได้รับการบําบัดทดแทนไตมารับบริการที่คลินิกอายุรกรรมและคลินิกโรคไต ที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 120 ราย โดยเก็บข้อมูลจาก 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินเป้าหมายความดันโลหิตและการควบคุมความดันโลหิต ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .83 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และ 3) แบบสอบถามความสม่ําเสมอในการรับประทานยา ฉบับภาษาไทย ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติค\n\nผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 68.3 ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติคพบว่า ตัวแปรอิสระสามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรการควบคุมความดันโลหิตได้ร้อยละ 10.4 (Nagelkerke R2 = 0.104) ระยะของโรคไตเรื้อรังเป็นปัจจัยทํานายที่มีนัยสําคัญทางสถิติ(OR= 5.98, 95% CI = 1.365, 26.210; p <0.05)\n\nสรุป : ทีมสุขภาพควรให้ความสําคัญในการประเมินการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนการบําบัดทดแทนไต และหาวิธีจัดการให้การควบคุมความดันโลหิตเป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อชะลอความเสื่อมของไต


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบก, วิภาวรรณ ศิริกังวาลกุล, รัตน์ศิริ ทาโต, ระพิณ ผลสุข May 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบก, วิภาวรรณ ศิริกังวาลกุล, รัตน์ศิริ ทาโต, ระพิณ ผลสุข

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบก\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลมุ่ ตัวอย่าง คือ กำลังพลกองทัพบก ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 184 คน คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จากคลินิกโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ และกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ 3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ 4) แบบสอบถามทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามความเพียงพอของทรัพยากรทางสุขภาพ และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .81, .80, .93, 1.00 และ .95 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .76, .80, .76 และ .79 ตามลำดับ โดยแบบสอบถามด้านความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจมีค่า KR-20 เท่ากับ .76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) กำ.ลังพลกองทัพบกมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับเหมาะสม (x = 73.39, S.D. = 10.52) 2) ความเพียงพอของทรัพยากรทางสุขภาพ (Beta = .316) ทัศนคติต่อพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ (Beta = .279) การสนับสนุนทางสังคม (Beta = .219) การทำงานเป็นกะ (Beta = .150) และความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ (Beta = .144) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกำลังพลกองทัพบกได้ร้อยละ 33.2 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านสถานภาพในกองทัพบก และความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจไม่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในกำลังพลกองทัพบกได้\n\nสรุป: …


อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง, จรรยา ฉิมหลวง May 2017

อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง, จรรยา ฉิมหลวง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ที่หัวใจไม่สามารถบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังจำนวนมากที่มีอาการนอนไม่หลับ โดยพบว่าผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังส่วนใหญ่จะพบอาการนอนไม่หลับทั้ง 3 อาการคือ อาการเริ่มต้นนอนหลับยาก การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง และอาการตื่นเช้ากว่าปกติ ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ มีภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มมากขึ้น และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ อาการนอนไม่หลับยังส่งผลกระทบต่อความผาสุกทางจิตวิญญาณและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ดังนั้น พยาบาลจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยโน้มนำและปัจจัยกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ รวมถึง ปัจจัย ที่ทำให้อ าการนอนไมหลับยังคงอยู่อย่างถาวร เรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินอาการนอนไม่หลับเพื่อให้สามารถประเมินอาการนอนไม่หลับได้อย่างครอบคลุมและเรียนรู้วิธีการจัดการอาการนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยานอนหลับในหลายรูปแบบ เช่น การให้ความรู้เรื่องสุขลักษณะการนอน การบำบัดทางความคิดรู้ การควบคุมการกระตุ้น การจำกัดการนอน การฝึกการผ่อนคลาย หรือการบำบัดโดยการใช้หลายวิธี ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จะทำให้พยาบาลมีความรู้มีความเข้าใจ สามารถประเมินและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังที่มีความทุกข์ทรมานจากอาการนอนไม่หลับได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย


การศึกษาติดตามความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน ของสตรีสูงอายุในชุมชนแออัด, นพวรรณ เปียซื่อ, ผจงจิต ไกรถาวร, สุกัญญา ตันติประสพลาภ, ซู้หงษ์ ดีเสมอ May 2017

การศึกษาติดตามความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน ของสตรีสูงอายุในชุมชนแออัด, นพวรรณ เปียซื่อ, ผจงจิต ไกรถาวร, สุกัญญา ตันติประสพลาภ, ซู้หงษ์ ดีเสมอ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาความชุกของความมั่นคงทางอาหารและติดตามในระยะ 6 เดือน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความมั่นคงทางอาหารของสตรีสูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดเขตเมือง\n\nแบบแผนการวิจัย : แบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีสูงอายุที่อาศัยในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 315 คน เลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความมั่นคงทางอาหาร ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มีค่าดัชนีความตรงเท่ากัน คือ .94 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .87 และค่าความเที่ยงของการวัดซํ้า เท่ากับ .99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยลอจิสติค\n\nผลการวิจัย : 1) ระยะเริ่มต้นการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 83.8 มีความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน ในขณะที่ร้อยละ 14.0 มีปัญหาความมั่นคงทางอาหารในระดับตํ่า และร้อยละ 2.2 มีปัญหาความมั่นคงทางอาหารในระดับปานกลางถึงสูง ผลการติดตามในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า สถานการณ์ปัญหาความมั่นคงทางอาหารในระดับตํ่าลดลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 13.7 และปัญหาความมั่นคงทางอาหารในระดับปานกลางถึงสูง เพิ่มขึ้น เป็น 7.3 2) ปัจจัยทำนายปัญ หาความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของสตรีสูงอายุ ได้แก่ รายได้ครอบครัว (OR = 1.223, 95% CI .095-.522, p = .001) จำ.นวนสมาชิกในครอบครัว(OR = 48.282, 95% CI 11.646-200.166, p < .001) สถานภาพสมรส (OR = 1.604, 95% CI 1.514-3.293, p = .031) แรงสนับสนุนทางสังคม (OR = 1.163, 95% CI .086-.306, p < .001) ลักษณะสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย (OR = 2.383, 95% CI 1.570-5.711, p = .033) และจำ.นวนโรคร่วม (OR = 41.725, 95% CI 14.813-117.533, p < .001)\n\nสรุป : บุคลากรทีมสุขภาพควรประเมิน ติดตาม และสนับสนุนการจัดการปัญหาความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของสตรีผู้สูงอายุ โดยพิจารณาปัจจัยด้านรายได้ครอบครัว จำ.นวนสมาชิกในครอบครัว สถานภาพสมรส แรงสนับสนุนทางสังคม ลักษณะสิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย และจำ.นวนโรคร่วม รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดเขตเมือง


การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด, วงเดือน สุวรรณคีรี, ยุพเรศ พญาพรหม May 2017

การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด, วงเดือน สุวรรณคีรี, ยุพเรศ พญาพรหม

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

การป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดมีความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยการผ่าตัด การดำเนินการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดให้มีประสิทธิภาพเป็นความท้าทายของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งต้องร่วมมือกันแบบสหสาขา พยาบาลในฐานะที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุด มีบทบาทในการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยและทีมบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในประเด็นสำคัญและทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดได้แก่ ประเภทของการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย เชื้อก่อโรค และสิ่งแวดล้อม และการป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดทั้งในระยะก่อนผ่าตัดระยะผ่าตัด และระยะหลังผ่าตัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยและลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัด


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองความต้องการของทารก ในมารดาที่มีบุตรคนแรก, จีรันดา อ่อนเจริญ, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกร, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง May 2017

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองความต้องการของทารก ในมารดาที่มีบุตรคนแรก, จีรันดา อ่อนเจริญ, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกร, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอำนาจการทำ นายของอายุ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเป็นมารดาความเครียดในการเลี้ยงดูทารก การสนับสนุนทางสังคม และพื้นอารมณ์ทารก ต่อการตอบสนองความต้องการของทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรก\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดบุตรคนแรกที่พักรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอดสามัญโรงพยาบาลศิริราช และมาตรวจหลังคลอดที่หน่วยอนามัยเจริญพันธุ์และวางแผนครอบครัว จำนวน 95 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อในความสามารถในการเป็นมารดา แบบสอบถามการตอบสนองต่อความต้องการของทารก แบบสอบถามความเครียดในการเลี้ยงดูทารก แบบสอบถามการสนบั สนนุ ทางสงั คมในการเลยี้ งดบู ตุ ร และแบบประเมนิ พนื้ อารมณข์ องทารก โดยแบบสอบถามการตอบสนองต่อความต้องการของทารกได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .86 ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้ เท่ากับ .80, .82, .92 และ .92 ตามลำดับ สำหรับแบบประเมินพื้นอารมณ์ของทารกหาความเที่ยงโดยการทดสอบซํ้า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .79 วเิ คราะหข์ อ้ มลู โดยการคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุ\n\nผลการวิจัย: 1) ปัจจัยทำนายการตอบสนองความต้องการของทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเป็นมารดา (β= .530) ความเครียดในการเลี้ยงดูทารก (β= -.102) และพื้นอารมณ์ทารก (β= -3.223) 2) ปัจจัยทั้ง 5 ปัจจัย ได้แก่ อายุ การรับรู้สมรรถนะในตนเองในการเป็นมารดา ความเครียดในการเลี้ยงดูทารก การสนับสนุนทางสังคม และพื้นอารมณ์ทารก สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการตอบสนองความต้องการของทารกในมารดาที่มีบุตรคนแรกได้ร้อยละ 34.1 (Adjusted R2 = 0.341)ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05\n\nสรุป: พยาบาลควรส่งเสริมให้มารดาตอบสนองความต้องการของทารก โดยการสร้างเสริมให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองในการเลี้ยงดูทารก ประเมินความเครียดและแนะนำแนวทางในการจัดการความเครียด โดยคำนึงถึงพื้นอารมณ์ของทารก


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน, สิรินันท์ เจริญผล, รัตน์ศิริ ทาโต May 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน, สิรินันท์ เจริญผล, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง และปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีผู้ใช้แรงงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม อายุระหว่าง 15-59 ปี ที่มีภาวะนํ้าหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำ.นวน 183 คน ที่คัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำ.นวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ .88,.84, .93, .89, .90, .96 และ .92 ตามลำ.ดับ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .76, .85, .87, .73, .83, .80 และ .77 ตามลำ.ดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำ.นวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) พฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน โดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 61.98, S.D. = 6.96) 2) ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ต่ออุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีผู้ใช้แรงงานที่มีภาวะนํ้าหนักเกิน ได้ร้อยละ 33.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านอายุ ลักษณะการทำงาน การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ไม่สามารถทำ.นายพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้\n\nสรุป: ควรส่งเสริมให้สตรีผู้ใช้แรงงานท่มี ีภาวะน้าํ หนักเกินมีการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงด้วยการลดการรับรู้อุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรม ส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค โดยให้ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และบุคลากรทางสาธารณสุขเข้ามามีส่วนร่วมในการกระตุ้นการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง


ความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายใน ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, วรรณทนา ศุภสีมานนท์, นารีรัตน์ บุญเนตร May 2017

ความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายใน ของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, วรรณทนา ศุภสีมานนท์, นารีรัตน์ บุญเนตร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความสอดคล้องภายในของแบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ฉบับภาษาไทย\n\nแบบแผนการวิจัย: การพัฒนาเครื่องมือวิจัย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 จำนวน 180 คน ที่คัดเลือกตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเองเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ที่พัฒนาเป็นภาษาอังกฤษโดย Vachkova, Jezek, Mares และ Moravcova (2013) และแปลเป็นภาษาไทยตามหลักการแปลแบบย้อนกลับ ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และวิเคราะห์ความสอดคล้องภายในด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient)\n\nผลการศึกษา: ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในขณะตั้งครรภ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย (5 ข้อ) ด้านจิตใจ (2 ข้อ) และด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (2 ข้อ) ได้ค่าความสอดคล้องอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ( = 29.17, df = 24, p = .21; /df = 1.22; GFI = .96; AGFI = .93; CFI = .98; RMSEA = .03) โดยรายด้านมีนํ้าหนักองค์ประกอบระหว่าง .46 ถึง .96 และรายข้อมีนํ้าหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .47 ถึง .82 ส่วนผลการตรวจสอบความสอดคล้องภายใน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .75 โดยอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ \n\nสรุป: พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขควรนำ.แบบสอบถามนี้ไปใช้ประเมินคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในบริบทของสังคมไทย


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็ง ระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล, จิตใจ ศิริโส, สุรีพร ธนศิลป์, นพมาศ พัดทอง May 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็ง ระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล, จิตใจ ศิริโส, สุรีพร ธนศิลป์, นพมาศ พัดทอง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล และปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล\n\nแบบแผนการวิจัย: แบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลหลักในครอบครัวซึ่งดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่เคยเข้าพักรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 2 แห่ง และเสียชีวิตแล้วมานาน 2-6 เดือน จำ.นวน 110 คน คัดเลือกตามสะดวก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินคุณภาพการตาย 3) แบบประเมินระดับความทุกข์ทรมาน 4) แบบประเมินสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว 5) แบบประเมินการสื่อสารของทีมสุขภาพ และ 6) แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ โดยชุดที่ 2, 4, 5 และ 6 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .86, .86, .82 และ .98 ตามลำดับ ชุดที่ 3 มีค่าความเที่ยงแบบทดสอบซํ้า เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย : 1) คุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลอยู่ในระดับดี (x=6.95, SD = 0.40) 2) ความทุกข์ทรมานมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามการรับรู้ของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.56; p<.05) 3) สัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว การสื่อสารของทีมสุขภาพ และความผาสุกทางจิตวิญญาณ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .38, .42, และ .43 ตามลำ.ดับ p<.05)\n\nสรุป: การบรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ ของโรค การส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีในครอบครัว การเพิ่มคุณภาพการสื่อสารของทีมสุขภาพ และการส่งเสริมความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้ป่วยมะเร็ง ระยะสุดท้าย มีความเชื่อมโยงกับคุณภาพการตายที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายตามการรับรู้ของผู้ดูแล


ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม, วรรณศิริ ประจันโน, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์ May 2017

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม, วรรณศิริ ประจันโน, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศและปัจจัยทำ.นายพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย\n\nแบบแผนการวิจัย : การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 จำนวน 306 คน จ.จันทบุรี รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การเข้าถึงสื่อที่ยั่วยุความรู้สึกทางเพศ การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์และการตั้งครรภ์ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อน ความสะดวกใจในการสื่อสารเรื่องเพศกับผู้ปกครอง การควบคุมกำกับของผู้ปกครอง การรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธพฤติกรรม และพฤติกรรมทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสมการถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น\n\nผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ทางเพศร้อยละ 4.5 (เพศชายร้อยละ 10.6 และเพศหญิงร้อยละ 0.5) ปัจจัยทำ.นายพฤติกรรมทางเพศโดยควบคุมปัจจัยด้านเพศ พบว่า การรับรู้การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของเพื่อน (. = .328) การเข้าถึงสื่อที่ยั่วยุความรู้สึกทางเพศ (. = .242) การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์และการตั้งครรภ์ (. = -.157) และการรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ (. = -.120) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางเพศได้ร้อยละ 30.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R2 = .306, p < .05)\n\nสรุป : การส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ควรเน้นการปรับเปลี่ยนการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ส่งเสริมการเรียนรู้ผลกระทบจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การป้องกันการใช้สื่อยั่วยุความรู้สึกทางเพศ และการฝึกทักษะการปฏิเสธพฤติกรรมที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์


ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเรื่องเพศและพฤติกรรมการ ใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนไทยชายรักชาย จังหวัดชลบุรี, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์ May 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเรื่องเพศและพฤติกรรมการ ใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนไทยชายรักชาย จังหวัดชลบุรี, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการสื่อสารเรื่องเพศและพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของกลุ่มเยาวชนชายรักชาย และความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเรื่องเพศกับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มเยาวชนชายรักชาย ทั้งที่เป็นคู่นอนประจำและคู่นอนชั่วคราว\n\nแบบแผนการวิจัย: การศึกษาแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM) อายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 196 คน คัดเลือกโดยใช้เทคนิคการบอกต่อจากกลุ่มเพื่อน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย และแบบวัดการสื่อสารเรื่องเพศที่ประกอบด้วยความถี่ในการสื่อสารฯ และความสะดวกใจในการสื่อสารฯ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบวัดการสื่อสารเรื่องเพศ เท่ากับ .80 ด้านความถี่ในการสื่อสารฯ เท่ากับ .83 และความสะดวกใจในการสื่อสารฯ เท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51 ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งกับคู่นอนชั่วคราว และร้อยละ 35 กับคู่นอนประจำส่วนใหญ่มีการสื่อสารเรื่องเพศกับคู่นอนประจำสูงกว่ากับคู่นอนชั่วคราว และการใช้ถุงยางอนามัยเป็นหัวข้อที่มีการสื่อสารกับคู่นอนมากที่สุด การสื่อสารเรื่องเพศกับคู่นอนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งในคู่นอนประจำและคู่นอนชั่วคราว (r = .344, p <0.001 และ r=.197, p <0.039)สรุป: การป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มเยาวชนชายรักชายควรเน้นการสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมการเริ่มการสื่อสารเรื่องเพศและต่อรองการใช้ถุงยางอนามัยอย่าง สมํ่าเสมอกับคู่นอนทุกประเภทให้เป็นเรื่องปกติ


ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ: สถานการณ์ ประเด็นท้าทาย และการจัดการดูแล, ศกุนตลา อนุเรือง May 2017

ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ: สถานการณ์ ประเด็นท้าทาย และการจัดการดูแล, ศกุนตลา อนุเรือง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ มีความซับซ้อนทั้งด้านอาการ ความไม่สุขสบาย วิถีชีวิตเกี่ยวกับโรค ตลอดจนแนวทางการรักษา ซึ่งภาวะนี้เป็นสาเหตุในความสูญเสียทางด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ สังคม และอารมณ์ ทั้งในระดับตัวบุคคล ผู้ดูแล ครอบครัว และยังส่งผลกระทบในวงกว้าง คือ ระดับเศรษฐกิจของชาติได้อีกด้วย ในปัจจุบัน ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุจึงเป็นภาวะที่น่าสนใจและมีประเด็นความท้าทายทั้งในเชิงคลินิก และเชิงวิชาการ การเรียนรู้สถานการณ์ปัจจุบันประเด็นท้าทาย และแนวทางการจัดการดูแลภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบุคลากรทุกสหสาขาวิชาชีพในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคลากรทางสุขภาพที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยและผู้ดูแล ซึ่งหากมีความเข้าใจในความหมาย สถานการณ์ และประเด็นท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการคิดต่อยอดเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลที่มีประสิทธิภาพร่วมกับทีมผู้ดูแลจากสหสาขาวิชาชีพ สามารถลดความสูญเสียต่างๆ เช่น การสูญเสียปีสุขภาวะ และการสูญเสียชีวิตในผู้สูงอายุ ตลอดจนการคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรค นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาคุณภาพการดูแลสำหรับผู้ดูแลที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ให้สามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความยุ่งยาก เหนื่อยล้าจากการดูแล อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถลดค่าใช้จ่ายของชาติในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคนี้ลงได้อีกด้วย


ปัจจัยทำ. นายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วย โรคหัวใจพิการแต่กำ. เนิดชนิดไม่เขียว, นันท์นภัส เลี้ยงพันธุ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ May 2017

ปัจจัยทำ. นายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วย โรคหัวใจพิการแต่กำ. เนิดชนิดไม่เขียว, นันท์นภัส เลี้ยงพันธุ์, นฤมล ธีระรังสิกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนและปัจจัยทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือ บิดา มารดาของเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิิดชนิดไม่เขียวที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 82 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของบิดามารดาและเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดา แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค แบบสอบถามการสนับสนุนทางด้านข้อมูล และแบบสอบถามความเชื่อถือและยอมรับในบุคลากรทีมสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80, .83, .91 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณ\n\nผลการวิจัย: บิดามารดามีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของบุตร อยู่ในระดับปานกลาง (x = 96.31, S.D.= 10.80) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (Beta=.217, p=.05) เป็นปัจจัยทำนายปัจจัยเดียว ที่สามารถทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาได้ ร้อยละ 4.7\n\nสรุป: ควรมีการศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กกลุ่มนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะแบบแผนของอาการแสดงโรคให้ครอบคลุมทุกด้าน และควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นๆ ที่อาจทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนของบิดามารดาเด็กป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนจังหวัดสิงห์บุรี, อุทุมพร ผึ่งผาย, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนจังหวัดสิงห์บุรี, อุทุมพร ผึ่งผาย, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนและศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 103 ราย คัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียน มีค่าความเชื่อมั่น .74, .80, .79, .85 และ .72 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ\n\nผลการวิจัย: 1)พฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมของเด็กวัยเรียนอยู่ในระดับดี (= 113.40,SD = 8.04)2)การรับรู้ความสามารถของตนเองทำนายพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมได้ร้อยละ 15 (R2 =.15,F1,101 = 17.71, p < .001) 3) อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทำนายพฤติกรรมสุขภาพด้านอนามัยส่วนบุคคลได้ร้อยละ 8 (R2 = .08,F1,101 = 8.71, p < .001)4) การรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้อุปสรรค ร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการได้ร้อยละ 19 (R2 = .19,F1,100 = 7.38, p < .001)และ 5)การรับรู้ความสามารถของตนเองทำนายพฤติกรรมสุขภาพด้านกิจกรรมทางกายได้ร้อยละ 5(R2 = .05, F1,101 = 5.70, p < .001)\n\nสรุป: ควรจัดโปรแกรมที่ช่วยเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม


การให้บริการเลิกบุหรี่ในกระบวนการคัดกรองกลุ่มโรคไม่ติดต่อ, สุนิดา ปรีชาวงษ์, วิกุล วิสาลเสสถ์, ปทุมรัตน์ เกตุเล็ก, ยมฤดี เธียรโชติ Jan 2017

การให้บริการเลิกบุหรี่ในกระบวนการคัดกรองกลุ่มโรคไม่ติดต่อ, สุนิดา ปรีชาวงษ์, วิกุล วิสาลเสสถ์, ปทุมรัตน์ เกตุเล็ก, ยมฤดี เธียรโชติ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรี้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันสำคัญระดับโลก อีกทั้งยังเป็นวาระอันท้าทายต่อการการพัฒนาที่ยั่งยืน องค์กรด้านสุขภาพระดับนานาชาติต่างตระหนักและร่วมกันหารือวิธีจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัจจุบันมียุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายยุทธศาสตร์ ส่วนใหญ่เน้นการจัดการปัจจัยเสี่ยงหลักด้านพฤติกรรม 4 ปัจจัย ได้แก่ การใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ บทความฉบับนี้นำเสนอนโยบายในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ โดยเน้นเรื่องมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและการบูรณาการให้คำปรึกษาแบบกระชับเพื่อเลิกบุหรี่ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อในโรงพยาบาลชุมชนทั้งนี้ในฐานะประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ประเทศไทยได้ดำเนินการตามกรอบติดตามการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อ อันประกอบไปด้วย 9 เป้าหมายหลัก และ 25 ตัวชี้วัดที่จะต้องบรรลุร่วมกันในปี พ.ศ. 2568 ในด้านการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบนั้น เป้าหมายของประเทศไทย คือ ลดความชุกของการสูบบุหรี่ในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปให้ได้ร้อยละ 30 หรือความชุกของการสูบบุหรี่ควรอยู่ที่ร้อยละ 14.93 ดังนั้น หากมีการให้คำปรึกษาแบบกระชับเพื่อเลิกบุหรี่ในคลินิกโรคไม่ติดต่อซึ่งจัดเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการเลิกบุหรี่ น่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายของการควบคุมยาสูบระดับโลกได้


ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกิน, เรียม นมรักษ์ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกิน, เรียม นมรักษ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกิน\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะน้ำหนักเกินโดยมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25.0 ถึง 29.9 kg/m2และบุคคลในครอบครัวที่มีความผูกพันใกล้ชิด มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว ที่ประยุกต์จากทฤษฎีการพยาบาลตามรูปแบบความเชื่อความเจ็บป่วยของไรด์และเบล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างสัมพันธภาพ 2) การค้นหาความจริงเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว 3) การปรับเปลี่ยนความเชื่อที่เป็นอุปสรรคและการส่งเสริมความเชื่อที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว 4) การสร้างความรู้สึกมั่นใจในการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว และ 5) การสะท้อนคิดและสรุป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกิน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที\n\nผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกินภายหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัว สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n\nสรุป: ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการดูแลครอบครัวผู้สูงอายุภาวะน้ำหนักเกินเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุด้านการบริโภคอาหารให้ได้อย่างเหมาะสม


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และ พฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน, ทิพย์รัตน์ ผลอินทร์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และ พฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน, ทิพย์รัตน์ ผลอินทร์, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และพฤติกรรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีประวัติเคยหกล้มในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา อาศัยอยู่ในชุมชน เขตปทุมวัน คัดเลือกด้วยวิธีการเลือกตามสะดวก จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ความกลัวการหกล้ม และพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .86, .90 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน\n\nผลการวิจัย: 1) ผู้สูงอายุในชุมชนที่ศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมป้องกันการหกล้มในระดับสูง และยังพบพฤติกรรมซึ่งอาจส่งผลให้ผู้สูงอายุหกล้มจากปัจจัยภายใน คือ ขาดการออกกำลังกาย จากปัจจัยภายนอก คือ ขาดการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเครื่องเรือน เครื่องใช้ภายในบ้าน 2) อายุ และความกลัวการหกล้ม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.179, p < 0.05, และ r = 0.408, p < 0.01) อย่างไรก็ตาม การศึกษา อาชีพ รายได้ และภาวะสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม\n\nสรุป: พยาบาลควรส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุตั้งแต่ผู้สูงอายุวัยต้นโดยมุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการสำรวจสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย นอกจากนี้ ต้องให้ความสำคัญในการประเมินความกลัวการหกล้ม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ


ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ทินกร บัวชู, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Jan 2017

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, ทินกร บัวชู, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรพยาบาล 3 คน ผู้บริหารการพยาบาล 7 คน นักวิชาการ 3 คน และพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 8 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ มีผลงานนวัตกรรมหรือผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลหรือได้รับการยกย่องว่าดีเด่นและเป็นที่ยอมรับ และใช้วิธีการบอกต่อ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สาระสำคัญแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของสมรรถนะย่อยในแต่ละองค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ มีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ด้าน และมีสมรรถนะย่อยจำนวน 54 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านการให้รางวัลผลตอบแทน จำนวน 7 ข้อ 2) ด้านการสร้างนวัตกรรม จำนวน 8 ข้อ 3) ด้านการสร้างทีม จำนวน 9 ข้อ 4) ด้านการสร้างบรรยากาศในหน่วยงาน จำนวน 5 ข้อ 5) ด้านการพัฒนาทักษะ จำนวน 7 ข้อ 6) ด้านบุคลิกภาพ จำนวน 12 ข้อ และ 7) ด้านการสนับสนุน จำนวน 6 ข้อ โดยองค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน พบว่า มีสมรรถนะย่อยจำนวน 52 ข้อ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด และมีสมรรถนะย่อยจำนวน 2 ข้อ …