Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 1969

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul Jan 2022

A Randomized Controlled Trial Comparing The Diagnostic Yield Of Using Rapid On-Site Cytology Evaluation (Rose) And Without Using Rose In Radial Probe Endobronchial Ultrasound (R-Ebus) Guided Sheath Transbronchial Lung Biopsy With Bronchial Brushing In Peripheral Pulmonary Lesions, Kulchamai Silathapanasakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

BACKGROUND: Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided transbronchial biopsy with bronchial brushing is an effective way of tissue assessment for evaluating peripheral lung lesion combined with Rapid on-site Evaluation (ROSE). Our study aimed to evaluate the efficacy of ROSE add on RP-EBUS guided sheath transbronchial lung biopsy to improve the overall diagnostic yield. OBJECTIVES: The purpose of this study was to compare the diagnosis yield of peripheral lung lesions or nodules from the ROSE add on Radial Probe Endobronchial Ultrasonography (RP-EBUS) guided sheath transbronchial biopsy with bronchial brushing compared to the control group. METHODS: In this prospective randomized controlled trial …


Genetic Analysis Of Focal Segmental Glomerulosclerosis In Thailand, Suramath Isaranuwatchai Jan 2022

Genetic Analysis Of Focal Segmental Glomerulosclerosis In Thailand, Suramath Isaranuwatchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: The genetic variants spectra of focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) vary among different populations. Here we described the clinical and genetic characteristics of biopsy-proven FSGS patients in Thailand. We also used special staining in renal biopsy tissue to describe protein expression related to the variants found by whole-exome sequencing (WES). Also, a functional study in cells was studied to investigate the etiologic evidence of the variants found by WES. Methods: Fifty-three unrelated FSGS patients without secondary causes were included in our study. Whole-exome sequencing (WES) was subsequently performed. Immunohistochemistry (IHC) staining method was used to characterize the morphology of renal …


A Path Analysis Model Of Mobility Among Persons With Hip Fracture After Surgery, Chanipa Yoryuenyong Jan 2022

A Path Analysis Model Of Mobility Among Persons With Hip Fracture After Surgery, Chanipa Yoryuenyong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This correlational study aimed to 1) investigate mobility and 2) examine direct and indirect paths of relationships among comorbidity, cognitive function, social support, pain, fatigue, and sleep quality on mobility among persons with hip fracture after surgery. The hypothesized model was constructed based on the theory of unpleasant symptoms and the literature reviewed. A three-stage random sampling approach was utilized to recruit 260 persons with hip fracture after surgery aged 50 years old and older who visited four hospitals in three health regions of Thailand. Research measurements consisted of the demographic data form, Charlson Comorbidity Index, General Practitioner Assessment of …


Awareness Of Medical Doctor On Medication-Related Osteonecrosis Of The Jaw In Osteoporosis Patients, Nachapol Supanumpar Jan 2022

Awareness Of Medical Doctor On Medication-Related Osteonecrosis Of The Jaw In Osteoporosis Patients, Nachapol Supanumpar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Antiresorptive drugs are widely used to treat osteoporosis. A serious adverse effect of these drugs is medication-related osteonecrosis of the jaw (MRONJ). By informing and educating patients about MRONJ, providing proper dental referral, and monitoring the oral health of patients who receive antiresorptive agents, physicians can reduce the risk of MRONJ. We investigated the awareness and clinical practices of physicians in Thailand with regard to MRONJ. Physicians who prescribed antiresorptive drugs for osteoporosis filled out an online self-administered questionnaire about demographic characteristics, awareness, and practices related to MRONJ. Most respondents agreed that antiresorptive drugs may cause MRONJ (92.3%), that poor …


Effect Of Normal Saline In Different Concentration On Soft Tissue Healing Of Extraction Wound: A Clinical Study, Walailuk Kunthikarn Jan 2022

Effect Of Normal Saline In Different Concentration On Soft Tissue Healing Of Extraction Wound: A Clinical Study, Walailuk Kunthikarn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Sodium chloride solution (NaCl) is regarded as the most suitable and recommended medical irrigation, because of the nontoxic and isotonic properties. The previous in vitro study showed that NaCl solution induced migration and extracellular matrix excretion from human gingival fibroblast. However, there is no report concerning the effect of rinsing extraction wound with NaCl solution in clinical trial study. This research study is split mouth single-blind randomized controlled clinical trial to investigate if rinsing with 0.9% and 1.8% NaCl solution on extraction wound can promote soft tissue healing. The operation was performed in 60 socket sites. The patients, who had …


Expression Of Superoxide Dismutase 3 (Sod3) During Orthodontic Tooth Movement In Rats, Phanchanit Jindarojanakul Jan 2022

Expression Of Superoxide Dismutase 3 (Sod3) During Orthodontic Tooth Movement In Rats, Phanchanit Jindarojanakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hypoxia induces reactive oxygen species (ROS) production in periodontal tissues. Superoxide dismutase 3 (SOD3) is an enzyme protecting cells from ROS. This study investigated SOD3 expression and function during rat orthodontic tooth movement (OTM) and in hypoxia-exposed rat PDL cells. OTM of right maxillary first molars were performed in Sprague-Dawley rats for 1 and 14 days (n = 6 per group). SOD3 and HIF-1α expression were evaluated by immunohistochemistry. SOD3 effects on cell viability and proliferation, ROS production, and mRNA expression of Hif-1α, Rankl, and Opg in PDL cells and osteoclast differentiation were investigated under normoxia and hypoxia. SOD3 expression …


Prediction Of Future Caries In Toddlers Via Salivary Microbiome: A 1-Year Longitudinal Study, Ratcha Raksakmanut Jan 2022

Prediction Of Future Caries In Toddlers Via Salivary Microbiome: A 1-Year Longitudinal Study, Ratcha Raksakmanut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dental caries in children is the most common chronic oral disease that could disturb their quality of life including their development. Early prevention is a key approach to reducing the prevalence of early childhood caries. However, a reliable caries predictor, as an essential tool for targeted prevention that is important to this approach, is still lacking for infants before caries onset. Therefore, we aimed to develop the caries risk prediction model based on the salivary microbiome of caries-free 1-year-old children to predict caries onset at 1-year follow-up. Using a nested case-control design within a prospective cohort study, 30 saliva samples, …


The Effect Of Nano-Silver Fluoride In Remineralization On Artificial Dentine Caries: An In Vitro Study, Peeraya Punpeng Jan 2022

The Effect Of Nano-Silver Fluoride In Remineralization On Artificial Dentine Caries: An In Vitro Study, Peeraya Punpeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this in vitro study was to compare the remineralization efficiency among Nano-silver fluoride 400 ppm (NSF400), 38% Silver diamine fluoride (38% SDF) and 5% Sodium fluoride (5% NaF) on artificial dentine caries in permanent molar or premolar teeth. The teeth were sectioned to obtain 120 specimens (3 x 3 x 2 mm3). After artificial caries were created, the lesion depth (LD) was measured using Micro-computed tomography (Micro-CT) (n=15 specimens/group), and the surface microhardness (SMH) was measured using a Knoop microhardness tester (n=15 specimens/group). Subsequently, all specimens were randomly assigned to four groups: Group 1) NSF400, Group 2) …


Protein Expression After Gingival Injection Of Messenger Rna Encoding Platelet-Derived Growth Factor-Bb In Ligature-Induced Rat Periodontitis, Pimphorn Meekhantong Jan 2022

Protein Expression After Gingival Injection Of Messenger Rna Encoding Platelet-Derived Growth Factor-Bb In Ligature-Induced Rat Periodontitis, Pimphorn Meekhantong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As a new class of medicines, mRNA platform has proven to be safe and effective. The objective of this study was to investigate the effect of local inflammation on platelet derived growth factor-BB (PDGF-BB) expression after gingival injection of PDGF-BB mRNA in lipid nanoparticles (LNPs) in ligature-induced rat periodontitis and to examine the dose-dependent effect of gingival delivery of mRNA. 3-0 silk was placed around maxillary left second molar for two weeks and removed, while the corresponding molar on the right was non-ligated. Under stereomicroscope, a significant bone loss at ligature sites was observed as compared to the non-ligature sites, …


Effect Of Vernonia Cinerea Lozenges As A Smoking Cessation Aid In Patients With Non-Communicable Diseases, Krittin Bunditanukul Jan 2022

Effect Of Vernonia Cinerea Lozenges As A Smoking Cessation Aid In Patients With Non-Communicable Diseases, Krittin Bunditanukul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: This study aims to investigate the effect of Vernonia Cinerea (VC) lozenges on smoking cessation when compared with a placebo. Methods: This study is designed as a randomized, paralleled, double-blinded, controlled trial. Ninety-three patients who are the age 18 years or over at five hospitals and two community pharmacies were randomized to receive VC lozenges (n=45) or placebo (n=48) for 12 weeks. The primary outcome in this study is the continuous abstinence rate (CARs) at 4 and 12 weeks after the quit date. Results: There was no statistically significant difference in CARs rates at week 4 in the study …


Development Of An Extraction Method Of Mucuna Pruriens Seeds For A Chemically And Physically Stable Extract, Chayarit Vilairat Jan 2022

Development Of An Extraction Method Of Mucuna Pruriens Seeds For A Chemically And Physically Stable Extract, Chayarit Vilairat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Levodopa (L-DOPA) is a drug for the treatment of Parkinson's disease (PD). Currently, it derives from chemical synthesis and plants, especially Mucuna Pruriens (MP) seeds. The results of clinical studies found using the L-DOPA-containing MP for the treatment of PD could reduce side effects more than the synthetic one but patients must take MP powder in high amounts per a single dose which may cause inconvenience. Therefore, using the extract can help in the reduction of the dose. Unfortunately, the water extract from the MP seeds can be easily degraded physically and chemically; especially the physical appearance e.g., darkening color, …


Chemometric Attenuated Total Reflectance Fourier Transform Infrared Spectroscopy Method For Routine Screening Of Paracetamol, Ibuprofen, And Aspirin Adulteration In Herbal Medicines, Mario Theodore Jan 2022

Chemometric Attenuated Total Reflectance Fourier Transform Infrared Spectroscopy Method For Routine Screening Of Paracetamol, Ibuprofen, And Aspirin Adulteration In Herbal Medicines, Mario Theodore

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Simple and reliable screening tools for herbal medicine drug adulteration are required, especially in rural areas where complex instrumental methods like HPLC face challenges such as logistics and complex operational processes. Attenuated Total Reflectance Fourier Transform Infrared (ATR-FTIR) is a good identification tool in drug quality control, and its operation is much simpler compared to HPLC, as it requires less sample preparation and has a simple operation. To improve its selectivity in analyzing multicomponent samples like herbal medicine, ATR-FTIR could be combined with chemometric methods such as Linear Discriminant Analysis (LDA). In order to establish itself as a routine testing …


Development Of Plant-Produced Subunit Vaccines To Elicit The Immunogenicity Against Sars-Cov-2 Variant Viruses, Narach Khorattanakulchai Jan 2022

Development Of Plant-Produced Subunit Vaccines To Elicit The Immunogenicity Against Sars-Cov-2 Variant Viruses, Narach Khorattanakulchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since the emergence of the coronavirus pandemic in 2019 (COVID-19), the development of effective vaccines to combat the infection has accelerated worldwide. While the severe acute respiratory syndrome-coronavirus 2 (SARS-CoV-2) with mutations in the receptor-binding domain (RBD) with high transmissibility, enhanced infectivity, and immune escape from vaccination is also predominantly emerging. Effective vaccines against variant of concern (VOC) and optimized booster vaccination strategies are thus highly required. Here, the gene encoding seven different RBD (ancestral (Wuhan), Alpha, Beta, Gamma, Kappa, Delta, and Epsilon variants) fused with the fragment crystallizable region (Fc) of human IgG1 (RBD-Fc) was constructed and cloned into …


Photochemical Reaction Of Renieramycins And Evaluation Of Cytotoxicity Against Lung Cancer Cells, Suwimon Sinsook Jan 2022

Photochemical Reaction Of Renieramycins And Evaluation Of Cytotoxicity Against Lung Cancer Cells, Suwimon Sinsook

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Lung cancer causes more deaths than any other type of cancers, with the majority of patients diagnosed with non-small cell lung cancer (NSCLC). Lung cancer is a difficult disease to treat because of the drug resistant problem. Therefore, there is an immediate need for effective, safe, and easily accessible anti-lung cancer drug. Ecteinascidin 743 (Trabectedin or Yondelis®), a marine-derived tetrahydroisoquinoline alkaloid, is an approved drug for treating human lung cancer. This research was studied on the semi-syntheses of new renieramycins derivatives with similar structures to above drug for discovery and development of potent NSCLC cytotoxic agents. Renieramycins was extracted from …


Titania Nanosheets Induce Anticancer Activityin Human Non-Small Cell Lung Cancer Cells, Rapeepun Soonnarong Jan 2022

Titania Nanosheets Induce Anticancer Activityin Human Non-Small Cell Lung Cancer Cells, Rapeepun Soonnarong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Metal nanomaterials can enhance the efficacy of current cancer therapies. Here, we show that Ti0.8O2 nanosheets cause cytotoxicity in several lung cancer cells but not in normal cells. The nanosheet-treated cells showed certain apoptosis characteristics. Protein analysis further indicated the activation of the p53-dependent death mechanism. Transmission electron microscopy (TEM) and scanning electron microscopy (SEM) analyses revealed the cellular uptake of the nanosheets and the induction of cell morphological change. Ti0.8O2 nanosheets induce apoptosis through a molecular mechanism involving peroxynitrite (ONOO−) generation. As peroxynitrite is known to be a potent inducer of S-nitrosylation, we further found that the nanosheets mediated …


Prevalence Of Musculoskeletal Disorders And Ergonomic Risk Factors Among Firefighters, Hamza Farooq Jan 2022

Prevalence Of Musculoskeletal Disorders And Ergonomic Risk Factors Among Firefighters, Hamza Farooq

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Injury to the musculoskeletal system or the human body's ability to move is known as a musculoskeletal disorder (i.e. muscles, tendons, ligaments, nerves, discs, blood vessels, etc.). Firefighting is a physically hard and dangerous job. Firefighters carry out emergencies and prevent fire and respond to disaster. Workers who deal with fireworks often have musculoskeletal disorders. Objective: To investigated the prevalence of musculoskeletal disorders and ergonomic risk factors among firefighters. Methodology: Nordic musculoskeletal questionnaire was used to report musculoskeletal disorders in 106 firefighters and quick exposure check (QEC) questionnaire was used in 20 firefighters for 3 different tasks to evaluated …


Whole Genome Sequencing, De Novo Assembly, And Comparative Analysis Of Varanus Salvator And Megaustenia Siamensis, Wanna Chetruengchai Jan 2022

Whole Genome Sequencing, De Novo Assembly, And Comparative Analysis Of Varanus Salvator And Megaustenia Siamensis, Wanna Chetruengchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Understanding the animal genome structure and function is pivotal for expanding our current knowledge of evolution, biodiversity, cosmeceutical and medical applications. Each species has a unique characteristic feature. Varanus salvator is a reptile (vertebrate) prevalent in Thailand. It has evolved over millions of years to adapt and survive in urban environments, polluted canals, and garbage dumps. It still survives without noticeable effects. Megaustenia siamensis, an invertebrate, is famous for its ability to produce biological adhesive substances enabling it to stick to trees’ leaves even in heavy rain. However, there is very little genomics or transcriptomics data for V. salvator …


The Role Of B1 Methylation, Physiologic Replication Independent Endogenous Dna Double Strand Breaks (Phy-Rind-Edsb) And Laminin 511 E8 Proteins In Rat Second Degree Burn Wound Healing, Jiraroch Meevassana Jan 2022

The Role Of B1 Methylation, Physiologic Replication Independent Endogenous Dna Double Strand Breaks (Phy-Rind-Edsb) And Laminin 511 E8 Proteins In Rat Second Degree Burn Wound Healing, Jiraroch Meevassana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: DNA methylation via short interspersed nuclear element (SINE) small interfering (si)RNA prevents DNA damage and promotes cell proliferation. Furthermore, laminin α5 β1 γ1(LM511) is an extracellular structural protein that can support epithelial cell adhesion and migration. Box A of high-mobility group box 1 protein (Box A of HMGB1) is a common nuclear protein in eukaryotic cells that can reduce DNA damage response toward burn injury. Objective: To investigate whether treatment of burn wounds using B1 siRNA, Box A of HMGB1 and LM511-E8 fragment improved wound closure in a rat second-degree burn wound model. Methods: I performed a cross-sectional analytical …


Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong Jan 2022

Factors Leading To High Intraocular Pressure In Intraocular Device-Associated Uveitis (Idau): A Nested Case Control Study, Jakkrit Juhong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Purpose: To describe the clinical pattern of uveitis–glaucoma–hyphaema (UGH) syndrome and to evaluate the risk factors leading to high intraocular pressure among intraocular device-associated uveitis (IDAU) patients using the Chulalongkorn University Uveitis Cohort (CU2C) database. Methods: A retrospective nested case‒control study was conducted in a cohort of 375 subjects who were followed up in a uveitis clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital (KCMH), Bangkok, Thailand, from 2014 to 2022. Thirty subjects with IDAU with increased intraocular pressure (IOP) were included in the case group, and 60 subjects with IDAU without increased intraocular pressure were selected from the CU2C database as …


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร Jan 2022

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจ, สุพรรณารัตน์ รินสาธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบอนุกรมเวลาที่มีกลุ่มควบคุมและมีการให้สิ่งทดลองซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการฉีดสีสวนหัวใจในระยะก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่เข้ารับการสวนหัวใจครั้งแรก ณ โรงพยาบาลตำรวจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลอง 1 และ 2 ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมกับการฟังดนตรี (กลุ่มทดลอง 1 มีผลการสวนหัวใจผิดปกติและได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ส่วนกลุ่มทดลอง 2 มีผลการสวนหัวใจปกติ) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ (State Anxiety Inventory) ของ Spielberger (1983) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติ Repeated measure ANOVA ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนทดลอง, หลังรับบัตรนัดสวนหัวใจ, ก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 1 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ และก่อนกลับบ้าน แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดที่เข้ารับการสวนหัวใจกลุ่มทดลอง 2 ช่วงก่อนสวนหัวใจ 1 วัน, หลังการสวนหัวใจ …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, อภิวาท ศรีกาสี Jan 2022

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท, อภิวาท ศรีกาสี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับคู่ชีวิต ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม ภาระการดูแลผู้ป่วย การรับรู้การถูกตีตราของคู่ชีวิต ด้านผู้ป่วยเป็นอาการทางบวก และอาการทางลบ กับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ คู่ชีวิตของผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลจิตเวชและโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตของผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดการรับรู้ความเครียด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินสัมพันธภาพของคู่ชีวิตกับผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินความรู้สึกเป็นภาระการดูแลผู้ป่วย แบบประเมินการรับรู้ตราบาป แบบประเมินอาการทางบวกผู้ป่วยจิตเภท และแบบประเมินอาการทางลบผู้ป่วยจิตเภท แบบสอบถามทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และคำนวณค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ .85, .94, .92, .75, .94, .98, .89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ระดับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยจิตเภท ด้านอาการอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ (Mean=11.02, SD=10.83) ด้านการมองข้ามความเป็นบุคคลของผู้ป่วยและผู้อื่นอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=6.36, SD=8.06) และด้านความไม่สมหวังในผลสำเร็จของผู้ดูแลอยู่ในระดับสูง (Mean=13.45, SD=9.64) 2. สัมพันธภาพผู้ป่วยกับคู่ชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -0.450) และ -.154 ตามลำดับ) 3. อาการทางลบมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภท ในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .305) 4. อาการทางบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภท ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .509) 5. ภาระการดูแลผู้ป่วยและการรับรู้การรถูกตีตราของคู่ชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .779 และ .711 ตามลำดับ) 6. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายของคู่ชีวิตผู้ป่วยโรคจิตเภทในระดับสูงมาก …


สุขภาพจิตและความหลากหลายทางเพศของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ธนาวุฒิ สิงห์สถิตย์ Jan 2022

สุขภาพจิตและความหลากหลายทางเพศของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1, ธนาวุฒิ สิงห์สถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เพศสภาพ และสุขภาพจิตของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามออนไลน์และแบบกระดาษไปยังนิสิตกลุ่มดังกล่าวทั้งสิ้น 5,700 คน และได้รับชุดข้อมูลตอบกลับมาจำนวน 1,472 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้งหมด ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงมกราคม 2564 ด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเพศสภาพ (SOGI) แบบสอบถามสุขภาวะทางจิตสังคม (Psychosocial wellbeing) และแบบสอบถามสุขภาพจิตคนไทย (TMHQ) ทำให้ชุดข้อมูลที่สมบูรณ์ตามเกณฑ์คัดเข้ามีจำนวน 1,431 คน ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อแสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์ตัวแปรที่สัมพันธ์กับสุขภาพจิตด้วยสถิติ Chi-square test, Fisher’s exact test, Pearson’s correlation และ Logistic regression โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 40.8 มีอาการทางสุขภาพจิต มีอาการซึมเศร้า (34.2%) อาการวิตกกังวล (16.3%) อาการทางกาย (15.8%) และอาการโรคจิต (15.1%) ตามลำดับ ซึ่งร้อยละ 89.5 ของกลุ่มตัวอย่างสามารถปรับตัวทางสังคมได้ระดับสูง สำหรับตัวแปรที่สามารถทำนายโอกาสเกิดอาการทางสุขภาพจิตทั้ง 4 อาการ คือการมีสุขภาวะทางจิตสังคมในระดับกลางถึงต่ำ ด้านเพศสภาพ พบว่าเพศกำเนิดหญิงทำนายเกือบทุกอาการทางสุขภาพจิต ยกเว้นอาการวิตกกังวล และกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ทำนายอาการวิตกกังวล ด้านการศึกษา พบว่ากลุ่มคณะที่เรียนและความชอบในสาขาวิชาที่เรียนน้อยถึงน้อยมาก ทำนายโอกาสอาการทางสุขภาพจิตเกือบทุกด้าน อีกทั้งการมีค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอยังทำนายอาการทางกาย อาการซึมเศร้า และอาการโรคจิต โดย 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างมีอาการซึมเศร้า ซึ่งกลุ่มที่มีความหลายหลายทางเพศแบบไบเซ็กชวลเป็นกลุ่มที่มีอัตราของอาการซึมเศร้ามากที่สุด ดังนั้น ปัจจัยที่สัมพันธ์กับอาการทางสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ กลุ่มคณะ ความชอบในสาขาที่เรียน และสุขภาวะทางจิตสังคม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาหากทำการศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 1


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล Jan 2022

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 256 คน จากมหาวิทยาลัยที่สุ่มเลือกมา 3 สถาบัน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ชุด ซึ่งจะวินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนด้วย แบบสอบถาม Premenstrual Symptoms Screening Tool (PSST) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการเกิดกลุ่มอาการก่อนมีระดู ร้อยละ 31.3 และความชุกของการเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูร้อยละ 6.6 โดยจากการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาปัจจัยทำนาย พบว่ามี 6 ปัจจัยที่สามารถทำนายกลุ่มอาการก่อนมีระดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีประวัติโรคประจำตัว (p = 0.006) อาการบวมน้ำในช่วงก่อนมีรอบเดือน (p = 0.036) อาการท้องเสียในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.022) อาการเวียนศีรษะในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.012) ความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง (p = 0.035) และภาวะซึมเศร้า (p <0.001) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ดังนั้นจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญมากขึ้นกับอาการทางกาย อารมณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีรอบเดือน ในนักศึกษากายภาพบำบัดเพศหญิง


ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ภายหลังการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ปรวี วัฒนสิน Jan 2022

ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ภายหลังการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ปรวี วัฒนสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการปรับโครงสร้างองค์กรกระทบต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ภาวะหมดไฟเป็นกลุ่มอาการทางสุขภาพจิตที่ใช้ในบริบทของงานเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเก็บข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 358 ราย ในช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2565 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 4) แบบประเมินภาวะหมดไฟ (MBI-GS ฉบับภาษาไทย พัฒนาโดย ชัยยุทธ กลีบบัว ) การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติแบบพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะหมดไฟระดับปานกลางถึงสูง ในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การเมินเฉยต่องาน และความสามารถในงาน มีค่าร้อยละ 46.6, 63.7 และ 56.4 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ การมีอายุน้อย (p = 0.015) การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน (p = 0.01) ความไม่พึงพอใจในตารางบิน (p = 0.012) การมีคุณสมบัติในการปฏิบัติการบินบนเครื่องบินน้อยแบบ (p = 0.007) ความรู้สึกมั่นคงในงานลดลง (p < 0.001) การมีปัญหานอนไม่หลับ (p = 0.041) การมีคะแนนความเครียดสูง (p < 0.001) และการมีสุขภาพจิตที่แย่ลง (p = 0.011) ปัจจัยทำนายด้านการเมินเฉยต่องาน ได้แก่ ตำแหน่งงานที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างาน (p < 0.001) ความไม่พึงพอใจในตารางบิน (p = 0.001) ความรู้สึกมั่นคงในงานลดลง (p < 0.001) การมีคะแนนความเครียดสูง (p < 0.001) และการมีสุขภาพจิตที่แย่ลง (p = 0.015) ในขณะที่ปัจจัยทำนายด้านความสามารถในงานมีเพียง ตำแหน่งงานที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างาน (p < 0.001) จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สามารถออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และ ปัญหาหนี้สิน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน ได้แก่ ตารางปฏิบัติการบิน ความรู้สึกมั่นคงในงาน รวมทั้งแบบของเครื่องบินที่มีคุณสมบัติ และ ปัจจัยด้านสุขภาพจิต ได้แก่ ความเครียด ภาวะทางสุขภาพจิต และคุณภาพการนอนหลับ


ความสุขในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานของพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน), อัครวัฒน์ เมธีวีระโยธิน วุฒิวงศ์ Jan 2022

ความสุขในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานของพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน), อัครวัฒน์ เมธีวีระโยธิน วุฒิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) จำนวน 365 คนโดยผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถามทั้งหมดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านการทำงาน 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน 3) แบบสอบถามความผูกพันองค์กรวิเคราะห์ความสุขโดยสถิติเชิงพรรณาและตรวจสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานและความผูกพันกับองค์กรด้วย Chi-square test, Binary Logistic Regression และ Pearson’s correlation coefficient ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ร้อยละ 85.8 มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และมีเพียงร้อยละ 2.5 ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากร้อยละ 48.5 และรองลงมาร้อยละ 45.8 มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกลุ่มที่มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.9 และกลุ่มผู้ที่มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด ปรากฏร้อยละ 3.8 พนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จำนวน 322 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสุขใจในการทำงานทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (P<0.001) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (P<0.001) ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล (P<0.001) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (P<0.001) ด้านนโยบายและการบริหาร (P=0.011) ด้านสภาพการทำงาน (P=0.027) และด้านความสุขใจในการทำงานโดยรวม (P<0.001)และพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์สูง จำนวน 43 คนนั้น พบว่าคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสุขใจในการทำงานทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (P=0.003) ด้านความรับผิดชอบ (P=0.029) และด้านความสุขใจในการทำงานโดยรวม (P=0.001)


ภาวะหมดไฟในการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ, อัญชลี เลิศมิ่งชัยมงคล Jan 2022

ภาวะหมดไฟในการทำงานในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ, อัญชลี เลิศมิ่งชัยมงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เป็นการศึกษาเพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหมดไฟ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาท จำนวน 107 ราย ใช้เครื่องมือในรูปแบบของแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน และความไม่มั่นคงในงาน 3) แบบสอบถามความรุนแรงในสถานที่ปฏิบัติงาน 4) แบบสอบถามภาวะหมดไฟ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบความชุกของภาวะหมดไฟระดับสูงอยู่ที่ ร้อยละ 19.6 โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟระดับสูง จากการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก ได้แก่ การที่บุคลากรต้องมีหน้าที่ดูแลทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (OR = 14.06, 95% CI = 2.80 - 70.68, p value < 0.01) มีการแจ้งหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาจากเหตุความรุนแรงทางวาจา (OR = 4.21, 95% CI = 1.19 - 14.87, p value < 0.05) และการมีความสุขในการทำงาน (OR = 0.20, 95% CI = 0.06 – 0.65, p value < 0.01) สรุปผลการศึกษาพบภาวะหมดไฟในการทำงานระดับสูงในบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทมากถึง 1 ใน 5 ของบุคลากรทั้งหมด การให้ความสำคัญในการปรับภาระงานที่เหมาะสม การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานคนอื่นๆด้วยความเคารพ (โดยเฉพาะทางวาจา) และการสนับสนุนส่งเสริมให้การทำงานดำเนินไปอย่างเป็นสุขอาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟระดับสูงได้


ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย Jan 2022

ความแตกต่างทางเพศ กับผลลัพธ์ทางระบบหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้ทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีย์ผ่านสายสวน, โสภิดา ธรรมมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ในช่วงประมาณสิบปีที่ผ่านมามีการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมากมาย โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศทางตะวันตก การศึกษานี้จึงทำขึ้นเพื่อศึกษาดูความแตกต่างในผลลัพธ์ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายในประเทศไทย จุดประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทางเพศของการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปี ในผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระเบียบวิจัย เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ทั้งหมด 1,579 คนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 - 31 ตุลาคม 2564 และเก็บข้อมูลการเสียชีวิตที่โรงพยาบาลและการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด ความแตกต่างของข้อมูลระหว่างผู้ป่วยเพศหญิงและผู้ป่วยเพศชายทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคทวิ (Binary logistic regression model) และ Cox proportional hazard model ผลการศึกษา จากข้อมูลพบว่าเป็นผู้ป่วยเพศหญิงจำนวน 453 คน (28.7%) และเป็นผู้ป่วยเพศชายจำนวน 1126 คน (71.3%) ผู้ป่วยเพศหญิงมีอายุที่มากกว่าผู้ป่วยเพศชาย (70 และ 60 ปี, P value <0.001) ร่วมกับมีโรคเบาหวานที่มากกว่า (50.3% และ 38.2%; p=<0.001) และโรคความดันโลหิตสูง (74.2% และ 55.1%; p=<0.001). ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ ST segment ยกขึ้นพบในผู้ป่วยเพศหญิงน้อยกว่าผู้ป่วยเพศชาย (50.8% และ 62.8%) การเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่า (7.5% และ 5.4%; RR 1.417; 95%CI 0.918-2.188, p=0.116) แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจากติดตามไปเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่าการเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (21.6% และ 12.8%; p<0.001) gเมื่อทางผู้วิจัยทำการตรวจสอบปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตที่ 1 เพิ่มเติมได้แก่ อายุที่มากกว่า 70 ปี โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะช็อคเนื่องจากหัวใจและการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยกว่า ร้อยละ 40 และทำการตรวจสอบอีกครั้งพบว่า การเสียชีวิตที่ 1 ปีหลังจากวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (adjusted HR 1.460; 95% CI 1.101-19.34, P=0.009) สำหรับการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนไม่พบความแตกต่างระหว่างผู้ป่วยเพศชายและผู้ป่วยเพศหญิง แต่สำหรับการเกิดภาวะไตวายอักเสบเฉียบพลันและภาวะหลอดเลือดสมอง หลังทำหัตถการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวนพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย เช่นเดียวกับการเกิดภาวะเลือดออกแบบรุนแรง สรุป ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านทางสายสวน ผู้ป่วยเพศหญิงพบว่าเสียชีวิตที่ 1 ปีมากกว่าผู้ป่วยเพศชาย


การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย Jan 2022

การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ไวรัส SARS-CoV-2 อาจส่งผลกระทบต่อต่อมใต้สมองและเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่ยังคงพบต่อเนื่องหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายหรือที่เรียกว่า "Long COVID-19 syndrome" อย่างไรก็ตามข้อมูลผลกระทบของไวรัสต่อต่อมใต้สมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความอัตราการเกิดความผิดปกติของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 วิธีการวิจัย: ศึกษาความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยในช่วง 1เดือนหลังจากการหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาสามัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยอาศัยการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ Fixed-dose glucagon stimulation test (FD-GST) เพื่อบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ Long COVID-19 syndrome ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัย 25 คน 18 คน (72%) มีความรุนแรงปานกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 7 คน (28%) เป็นกลุ่มผู้ป่วยรุนแรงน้อย พบความชุกของภาวะ Long COVID-19 ใน 80% ของผู้เข้าร่วมวิจัย ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบใน 12% ของผู้เข้าร่วมวิจัย จากการที่มีระดับของ GH ผิดปกติหลังทำ FD-GST และ 8% แสดงความผิดปกติของระดับ cortisol จาก FD-GST อย่างไรก็ตามไม่พบความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของ Long COVID-19 syndrome โดยอาศัย Piper Fatigue Scale (p=0.003) สรุป: หนึ่งเดือนหลังจากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 พบหลักฐานของความผิดปกติของต่อมใต้สมองร้อยละ 12 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับอาการเหนื่อยล้า การศึกษาแสดงหลักฐานของผลกระทบของไวรัสที่มีต่อต่อมใต้สมองและแสดงถึงความจำเป็นในการติดตามอาการและระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มอาการใด ที่สัมพันธ์กับผลตรวจเพท พบการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ในอาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง อาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการเล็กน้อย ถูกคัดเลือกตามลำดับการตรวจจากคลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลในรูปแบบการตอบแบบสอบถามโดยญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มของโรคอัลไซเมอร์ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 คำถาม เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของอาการทางความจำเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน และ 6 คำถาม เกี่ยวกับความถี่ของอาการทางความจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังตอบแบบสอบถาม อาสาสมัครจะได้รับการตรวจเพท เพื่อวัดการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว ในเนื้อสมอง อาสาสมัครที่มีทั้งอมิลอยด์และทาวสะสมมากผิดปกติในเนื้อสมอง (A+T+) จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางความจำแต่ละอาการกับโรคอัลไซเมอร์ ผลการศึกษา: อาสาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 72 (65-77) ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 24 ราย (ร้อยละ 48) อาการทางความจำที่ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน 6 อาการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ 1. ความจำเกี่ยวกับเรื่องราวที่พูดคุยกันเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.001) 2. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.005) 3. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อน (p = 0.026) 4. พูดหรือเล่าเรื่องในอดีตซ้ำๆ (p = 0.049) 5. ถามคำถามเดิมซ้ำๆ (p = 0.002) 6. หลงลืมสิ่งในชีวิตประจำวันที่จะต้องทำ เช่น ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแก๊ส (p = 0.049) อาการทางความจำที่มีความถี่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 5 …


การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต Jan 2022

การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกในแง่ความไว ความจำเพาะ และ AUC จาก กราฟ ROC ของการวินิจฉัยประโยคพูดไม่ชัดที่สร้างขึ้นจากลักษณะเด่นทางคลินิกและพยาธิสรีรวิทยา และประเมินด้วยเครื่องมือ ASR พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแม่นยำในการวินิจฉัยกับประสาทแพทย์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เข้ารับการบันทึกเสียงพูด 4 ประโยคที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพยัญชนะต้นที่แตกต่างกันตามการทำงานของกล้ามเนื้อการพูด และประเมินคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยค (error score of syllable) ด้วยเครื่องมือ ASR ได้แก่ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' แล้ววิเคราะห์ logistic regression analysis และ สร้างกราฟ ROC พร้อมทั้ง AUC เพื่อบอกความแม่นยำในการวินิจฉัย พร้อมทั้งให้ประสาทแพทย์วินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดจากไฟล์เสียงเดียวกัน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งจากทั้งสองเครื่องมือ โดยที่ AUC สูงที่สุดของเครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper'เท่ากับ 0.95 และ 0.89 ตามลำดับในการวิเคราะห์ประโยคเดียวกันที่เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโคนลิ้น เพดานอ่อนและคอหอย ในขณะที่ประสาทแพทย์มีความจำเพาะในการวินิจฉัยมากกว่า 0.9 แต่มีความไวที่ไม่แน่นอนตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 สรุป เครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' ASR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยแยกแยะอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกที่มีความรุนแรงน้อยออกจากเสียงพูดปกติ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ประโยคพูดที่มีความไม่ชัดชนิดสปาสติกมากที่สุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและสัทศาสตร์