Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pediatric Dentistry and Pedodontics

Articles 1 - 21 of 21

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

The Effect Of Nano-Silver Fluoride In Remineralization On Artificial Dentine Caries: An In Vitro Study, Peeraya Punpeng Jan 2022

The Effect Of Nano-Silver Fluoride In Remineralization On Artificial Dentine Caries: An In Vitro Study, Peeraya Punpeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this in vitro study was to compare the remineralization efficiency among Nano-silver fluoride 400 ppm (NSF400), 38% Silver diamine fluoride (38% SDF) and 5% Sodium fluoride (5% NaF) on artificial dentine caries in permanent molar or premolar teeth. The teeth were sectioned to obtain 120 specimens (3 x 3 x 2 mm3). After artificial caries were created, the lesion depth (LD) was measured using Micro-computed tomography (Micro-CT) (n=15 specimens/group), and the surface microhardness (SMH) was measured using a Knoop microhardness tester (n=15 specimens/group). Subsequently, all specimens were randomly assigned to four groups: Group 1) NSF400, Group 2) …


Cellular Responses Of Stem Cells Isolated From Human Exfoliated Deciduous Teeth Towards Different Concentration Of Calcium Ion, Thanika Phlinyos Jan 2021

Cellular Responses Of Stem Cells Isolated From Human Exfoliated Deciduous Teeth Towards Different Concentration Of Calcium Ion, Thanika Phlinyos

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objectives: The purpose of this study was to investigate the effect of Ca2+ on proliferation, osteogenic differentiation, and migration of stem cells from human exfoliated teeth (SHEDs) in vitro Materials and methods: SHEDs were seeded in culture media and osteogenic induction media containing 1.8-16.2 mM of Ca2+. SHEDs proliferation was determined using MTT assay and colony forming unit assay. Osteogenic differentiation was evaluated using mineralization assay and osteogenic marker gene expression and cell migration was evaluated using wound healing assay. Values were expressed as mean + S.D. Statistical analysis of MTT assay and wound healing assay were performed using two-way …


การศึกษาผลของวัสดุบูรณะที่ปลดปล่อยแร่ธาตุต่อการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้น ของฟันกรามน้ำนมซี่ข้างเคียงในห้องปฏิบัติการ, ดนุธิดา สาเขตร์ Jan 2021

การศึกษาผลของวัสดุบูรณะที่ปลดปล่อยแร่ธาตุต่อการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้น ของฟันกรามน้ำนมซี่ข้างเคียงในห้องปฏิบัติการ, ดนุธิดา สาเขตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในห้องปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคืนแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันที่สัมผัสกับวัสดุบูรณะคลาสทูด้วยนาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟต (Predicta™ bioactive bulk) กับซีเมนต์กลาสส์ไอโอโนเมอร์ (Equia Forte®) และเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ (Filtek™ Z350) เป็นกลุ่มควบคุม โดยใช้ชิ้นฟันน้ำนมจำนวน 60 ชิ้นจากด้านแก้มของฟันกรามน้ำนมที่ถูกถอน 60 ซี่มาสร้างรอยผุระยะเริ่มต้นที่กึ่งกลางของชิ้นฟัน นำชิ้นฟันตัวอย่างมาวัดร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆F) เริ่มต้นด้วยเครื่องวัดฟลูออเรสเซนต์ที่เกิดจากแสงเชิงปริมาณชนิดดิจิทัล เรียงลำดับร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์เริ่มต้นจากชิ้นฟันที่สูญเสียแร่ธาตุน้อยไปมาก สุ่มชิ้นฟันออกเป็น 3 กลุ่ม นำชิ้นฟันไปติดกับบล็อกอะคริลิกที่บูรณะด้านประชิดด้วยวัสดุบูรณะทั้ง 3 ชนิด แล้วเข้ากระบวนการเลียนแบบสภาวะในช่องปากเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณการคืนแร่ธาตุโดยวัสดุบูรณะแต่ละชนิด ด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงร้อยละของการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆∆F) และค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงปริมาตรการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์ (∆∆Q) ผลการศึกษาพบว่าทั้งค่า ∆∆F และค่า ∆∆Q ของทุกกลุ่มมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มซีเมนต์กลาสส์ไอโอโนเมอร์ มีการคืนแร่ธาตุแก่ชิ้นฟันสูงที่สุด ส่วนกลุ่มนาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟตมีการสูญเสียแร่ธาตุของชิ้นฟันเล็กน้อย ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มควบคุม คือเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าการบูรณะด้วยวัสดุซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ สามารถคืนแร่ธาตุให้ฟันซี่ข้างเคียงได้ดีที่สุด แต่ในกรณีที่รอยผุหรือโพรงฟันคลาสทูมีขนาดใหญ่ นาโนคอมโพสิตแคลเซียมฟอสเฟตก็ถือเป็นวัสดุหนึ่งที่เป็นทางเลือกในการใช้ทดแทนเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ เนื่องจากใช้งานง่าย มีความแข็งแรงและความสวยงามเทียบเท่ากับเรซินคอมโพสิต นอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการลุกลามของรอยผุระยะเริ่มต้นในฟันซี่ข้างเคียงได้ดีกว่าเรซินคอมโพสิตชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์


การคืนกลับของแร่ธาตุในรอยผุจำลองระยะเริ่มต้น ระหว่างการใช้ฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันและการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช, กีรติพร กีรติบำรุงพงศ์ Jan 2020

การคืนกลับของแร่ธาตุในรอยผุจำลองระยะเริ่มต้น ระหว่างการใช้ฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันและการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช, กีรติพร กีรติบำรุงพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์: เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลโดยการทาด้วยพู่กันต่อรอยผุจำลองบนชิ้นฟันน้ำนมเมื่อเปรียบเทียบการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช วิธีการวิจัย: การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบไขว้ โดยใช้ฟันน้ำนม 50 ชิ้นมาสร้างรอยผุจำลอง และแบ่งเป็น 3 กลุ่มเพื่อทาสาร ได้แก่ (1) เจล หลอกที่ไม่มีฟลูออไรด์ ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร เป็นกลุ่มควบคุม (2) แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร ทาด้วยพู่กัน (3) ฟลูออไรด์วาร์นิช ความเข้มข้นร้อยละ 5 ปริมาณ 0.4 มิลลิลิตร ชิ้นฟันตัวอย่างจะถูกติดกับเครื่องมือถอดได้ในขากรรไกรล่างสำหรับอาสาสมัครทั้งหมด 25 คน เพื่อรับสารทั้ง 3 ชนิดตามลำดับการสุ่ม หลังจากใส่เครื่องมือเป็นเวลา 1 ชั่วโมงจึงทำการถอดเครื่องมือและนำชิ้นฟันไปผ่านกระบวนการจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาวะความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นเวลา 14 วัน นำค่าเฉลี่ยร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนต์เริ่มต้น (△F0) และหลังการทดลอง (△F1) ที่วัดผลโดยใช้เครื่องคิวแอลเอฟ-ดี มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการศึกษา: กลุ่มชิ้นฟันที่ได้รับเจลหลอกมีค่า △F1 ลดลง แสดงให้เห็นว่ามีการสูญเสียแร่ธาตุเกิดขึ้น กลุ่มที่ได้รับแอซิดูเลทเลตฟอสเฟตฟลูอไรด์เจลและฟลูออไรด์วาร์นิชมีค่า △F1 เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่ามีการคืนกลับแร่ธาตุเกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างระหว่าง △F0 และ △F1 พบว่า ฟลูออไรด์วาร์นิชสามารถคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.0001) สรุป: การใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช ความเข้มข้นร้อยละ 5 สามารถคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุจำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้แอซิดูเลทเทตฟอสเฟตฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.23 โดยการทาด้วยพู่กัน


การประเมินการสึกของแปรงสีฟันและผลต่อผิวเคลือบฟันน้ำนมด้วยเครื่องแปรงฟันในห้องปฏิบัติการ, ตวงสิน พฤกษสุวรรณ Jan 2020

การประเมินการสึกของแปรงสีฟันและผลต่อผิวเคลือบฟันน้ำนมด้วยเครื่องแปรงฟันในห้องปฏิบัติการ, ตวงสิน พฤกษสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันมีหลายยี่ห้อซึ่งมีคุณสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป การศึกษานี้ต้องการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของแปรงสีฟันสำหรับเด็กที่มีจำหน่ายในท้องตลาดโดยเปรียบเทียบการสึกของขนแปรงและปลายขนแปรงสีฟัน และการสึกของผิวเคลือบฟันน้ำนม เมื่อถูกแปรงโดยเครื่องแปรงฟันในห้องปฏิบัติการ นำชิ้นฟันที่ตัดจากด้านแก้มของฟันกรามน้ำนมขนาด 2 x 2 ตารางมิลลิเมตร จำนวน 42 ชิ้นมาฝังในอะคริลิกแล้วนำมาแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ตามยี่ห้อของแปรงสีฟัน 1) CUdent (7mm), 2) CUdent (8mm), 3) Berman®, 4) Colgate®, 5) Fluocaril® และ 6) Kodomo® ทดสอบโดยการแปรงฟันร่วมกับสารละลายยาสีฟันด้วยเครื่อง V8 cross – brushing machine ทั้งหมด 100,000 รอบ จากนั้นนำหัวแปรงสีฟันมาหาค่าดัชนีการสึกของแปรงสีฟัน ตัดขนแปรงมาเพื่อพิจารณาลักษณะปลายขนแปรงสีฟันตามมาตรฐาน มอก. และนำผิวเคลือบฟันน้ำนมมาหาค่าเฉลี่ยความขรุขระและค่าเฉลี่ยความลึกการสึกของผิวเคลือบฟันน้ำนม ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีการสึกของขนแปรงสีฟันทุกยี่ห้อก่อนการทดสอบอยู่ในช่วง 0.035±0.003 ถึง 0.038±0.004 โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าเฉลี่ยดัชนีการสึกของขนแปรงสีฟันหลังการทดสอบอยู่ในช่วง 0.088±0.014 ถึง 0.245±0.028 โดยพบว่าแปรงสีฟันยี่ห้อ Fluocaril® และ CUdent (8mm) มีค่าเฉลี่ยดัชนีการสึกของขนแปรงสีฟันสูงกว่ายี่ห้ออื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001) ร้อยละของลักษณะปลายขนแปรงสีฟันที่ยอมรับได้ก่อนการทดสอบอยู่ในช่วงร้อยละ 90.67 ถึง 94.67 หลังการทดสอบอยู่ในช่วงร้อยละ 78.29 ถึง 96.00 และค่าเฉลี่ยความขรุขระและค่าเฉลี่ยความลึกการสึกของผิวเคลือบฟันน้ำนมก่อนการทดสอบใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 9.054±2.006 ถึง 10.563±3.342 และ 0.021±0.008 ถึง 0.028±0.010 ตามลำดับ และหลังการทดสอบยังคงมีค่าใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 9.638±1.694 ถึง 10.792±0.889 และ 0.032±0.012 ถึง 0.058±0.042 ตามลำดับ โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งก่อนและหลังทดสอบ จากการศึกษานี้สรุปว่าแปรงสีฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีคุณสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงกัน โดยแปรงสีฟันยี่ห้อ Fluocaril® และ CUdent (8mm) มีการสึกของขนแปรงสีฟันหลังการทดสอบมากกว่ายี่ห้ออื่น ร้อยละของลักษณะของปลายขนแปรงที่ยอมรับได้ก่อนและหลังการทดสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกยี่ห้อที่นำมาทดสอบ และแปรงสีฟันทั้งหมดที่ทดสอบทำให้ผิวเคลือบฟันน้ำนมสึกได้ไม่แตกต่างกัน


ผลการคืนกลับแร่ธาตุของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ต่อรอยผุชั้นเนื้อฟันภายหลังการฉายแสง: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, จุฑามาศ กาลเนาวกุล Jan 2020

ผลการคืนกลับแร่ธาตุของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ต่อรอยผุชั้นเนื้อฟันภายหลังการฉายแสง: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, จุฑามาศ กาลเนาวกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการคืนกลับแร่ธาตุของรอยผุชั้นเนื้อฟันภายหลังการทาซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) ความเข้มข้นร้อยละ 38 ที่ใช้ระยะเวลาในการทาสาร 10 วินาที และ 60 วินาที ร่วมกับการฉายแสงหรือไม่ฉายแสง วัดความลึกรอยผุเริ่มต้น (lesion depth) และความหนาแน่นแร่ธาตุ (mineral density) ของฟันกรามน้ำนมมนุษย์ที่มีรอยผุในชั้นเนื้อฟันจำนวน 40 ชิ้น แบ่งชิ้นฟันตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มย่อยที่มีการเรียงลำดับ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ทา SDF 10 วินาที, กลุ่มที่ 2 ทา SDF 60 วินาที, กลุ่มที่ 3 ทา SDF 10 วินาที ร่วมกับฉายแสง, กลุ่มที่ 4 ทา SDF 60 วินาที ร่วมกับฉายแสง นำไปผ่านกระบวนการสลับกรด-ด่างโดยใช้เชื้อแบคทีเรียเพื่อจำลองสภาวะในช่องปากเป็นเวลา 7 วัน วัดผลการคืนกลับแร่ธาตุของรอยผุด้วยการซ้อนทับภาพรังสีดิจิทัล (digital subtraction radiography) แสดงผลเป็นค่าเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุ (mMDD) จากการวิเคราะห์ผลด้วยสถิติความแปรปรวนแบบสองทางด้วยโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป พบว่าการฉายแสงเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลให้ mMDD แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.007) โดยการฉายแสงหลังทา SDF 10 วินาที และ 60 วินาที ให้ผล mMDD มากกว่าการทา SDF 10 วินาที และ 60 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.041 และ 0.041 ตามลำดับ) และการทา SDF 60 วินาที ร่วมกับการฉายแสงให้ผล mMDD มากกว่าการทา SDF 10 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.010) …


ผลของวัสดุบูรณะที่สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ต่อความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของฟันซี่ข้างเคียง : การทดลองในห้องปฏิบัติการ, ทิพย์ธิดา ธีรรัฐ Jan 2020

ผลของวัสดุบูรณะที่สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ต่อความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของฟันซี่ข้างเคียง : การทดลองในห้องปฏิบัติการ, ทิพย์ธิดา ธีรรัฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันที่ติดกับวัสดุบูรณะอัลคาไซต์ แก้วไอโอโนเมอร์ และคอมโพสิตเรซินชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ วิธีการวิจัย: นำชิ้นฟันที่ตัดจากด้านประชิดของฟันกรามน้อยแท้บน จำนวน 30 ชิ้นมาฝังในอะคริลิกแล้ววัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิวด้วยหัวกดนูป เพื่อบันทึกเป็นค่าตั้งต้นและแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม (1)กลุ่มวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์ 10 ชิ้น (2)กลุ่มวัสดุอัลคาไซต์ 10 ชิ้น (3)กลุ่มวัสดุคอมโพสิตเรซินชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ 10 ชิ้น แล้วจึงนำชิ้นฟันมาสร้างรอยผุจำลอง ทำการวัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิวของรอยผุจำลอง จากนั้นนำชิ้นฟันไปติดกับบล็อกอะคริลิกที่ทำการบูรณะด้านประชิดด้วยวัสดุบูรณะตามกลุ่ม แล้วนำไปผ่านกระบวนการเลียนแบบสภาวะการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นเวลา 7 วันแล้วจึงนำมาวัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิว คำนวณหาร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวแล้วเปรียบเทียบระหว่าง 3 กลุ่มด้วยสถิติ Kruskal-Wallis Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และทดสอบความแตกต่างในแต่ละคู่ด้วยสถิติ Mann-Whitney Test โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.017 ซึ่งเป็นระดับนัยสำคัญที่ผ่านการทดสอบ Bonferroni multiple testing correction ผลการศึกษา: ค่าร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวระดับจุลภาคของกลุ่มวัสดุอัลคาไซต์มีค่าเฉลี่ยอันดับมากที่สุดเป็น 25.5 ส่วนกลุ่มแก้วไอโอโนเมอร์และกลุ่มคอมโพสิตเรซินเป็น 15.5 และ 5.5 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบค่าร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวระดับจุลภาคระหว่าง 3 กลุ่มพบว่าทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.017) สรุป: การบูรณะด้วยวัสดุอัลคาไซค์ให้ผลการคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันได้มากกว่าวัสดุบูรณะแก้วไอโอโนเมอร์และคอมโพสิตเรซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในห้องปฏิบัติการ วัสดุอัลคาไซต์จึงถือเป็นวัสดุหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ในกรณีที่ต้องบูรณะฟันคลาสทู ในกรณีที่ฟันซี่ข้างเคียงมีรอยผุระยะเริ่มต้นเพื่อยับยั้งการลุกลามของรอยโรคฟันผุ


Effect Of Chlorhexidine Gluconate On Dentin Carious Lesion In Vitro, Patcharanun Borompiyasawat Jan 2020

Effect Of Chlorhexidine Gluconate On Dentin Carious Lesion In Vitro, Patcharanun Borompiyasawat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective:The purpose of this study were to compare mean mineral density(MMD) and examine the remineralized pattern of carious dentin after cavity disinfectant with chlorhexidine gluconate (CHX) and restore with H-GIC in vitro. Materials and Methods: Selective caries removal to leathery dentin was performed in forty extracted primary molars. The samples were scanned using micro-computed tomography (micro-CT) as the MMD baseline and randomly divided into 4 groups: Group A (n=10) applied dentin conditioner and restored with H-GIC (Equia Forte™), Group B (n=10) disinfected the cavity with 2% CHX for 1 minute before applied dentin conditioner and restored with H-GIC (Equia Forte™), …


ผลของฟลูออไรด์วาร์นิชต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลัง โดยติดตามผลด้วยภาพรังสีซ้อนทับชนิดดิจิทัล: การทดสอบแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม, รินรดา ภิรมย์ภักดิ์ Jan 2020

ผลของฟลูออไรด์วาร์นิชต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลัง โดยติดตามผลด้วยภาพรังสีซ้อนทับชนิดดิจิทัล: การทดสอบแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม, รินรดา ภิรมย์ภักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาทางคลินิกแบบแบ่งส่วนช่องปากซึ่งมีการจัดกลุ่มด้วยวิธีสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลังแท้ที่ระยะเวลา 6 เดือนภายหลังการทาฟลูออไรด์วาร์นิชและคาวิตี้วาร์นิช ในอาสาสมัครจำนวน 30 คนที่มีรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มที่ระดับความลึกไม่เกินรอยต่อเนื้อฟัน-เคลือบฟันอย่างน้อย 1 คู่ที่อยู่คนละจตุภาค ซึ่งไม่เป็นรูทางคลินิกและมีการดำเนินโรค อาสาสมัครได้รับการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลชนิดกัดปีกที่ระยะเริ่มต้น รอยผุดังกล่าวได้รับการจัดกลุ่มโดยการสุ่มเพื่อทาฟลูออไรด์วาร์นิช หรือคาวิตี้วาร์นิช (กลุ่มควบคุม) อาสาสมัครได้รับการถ่ายภาพรังสีดิจิทัลชนิดกัดปีกอีกครั้งที่ระยะ 6 เดือน เพื่อติดตามการลุกลามของรอยผุ โดยใช้วิธีการวัดผล 2 วิธี ได้แก่ การวัดความหนาแน่นแร่ธาตุของรอยผุจากภาพรังสีซ้อนทับชนิดดิจิทัลระหว่างภาพรังสีที่ระยะเริ่มต้นกับที่ระยะ 6 เดือน และการวัดความลึกรอยผุโดยตรงจากภาพรังสีดิจิทัลชนิดกัดปีกที่ระยะเริ่มต้นและที่ระยะ 6 เดือนด้วยโปรแกรม Image-Pro Plus พบว่าค่าเฉลี่ยความหนาแน่นแร่ธาตุระหว่างรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มกลุ่มที่ได้รับการทาฟลูออไรด์วาร์นิช (125.38 ± 6.9) และคาวิตี้วาร์นิช (132.63 ± 8.59) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) เมื่อใช้สถิติ paired-T test ตรงข้ามกับค่าเฉลี่ยผลต่างความลึกรอยผุกลุ่มที่ได้รับการทาฟลูออไรด์วาร์นิช (-0.0078 ± 0.13) และคาวิตี้วาร์นิช (-0.0227 ± 0.11) ที่ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.525) เมื่อใช้สถิติ paired-T test ดังนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปผลของฟลูออไรด์วาร์นิชต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลังแท้ได้ และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในระยะยาวต่อไป


การวิเคราะห์ค่าเนื้อเยื่ออ่อนจากภาพถ่ายกะโหลกศีรษะด้านข้างในเด็กไทยอายุระหว่าง 7-10 ปี กลุ่มหนึ่ง, ศิพิมพ์ คงเอี่ยม Jan 2019

การวิเคราะห์ค่าเนื้อเยื่ออ่อนจากภาพถ่ายกะโหลกศีรษะด้านข้างในเด็กไทยอายุระหว่าง 7-10 ปี กลุ่มหนึ่ง, ศิพิมพ์ คงเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อหาค่าปกติของเนื้อเยื่ออ่อนรูปหน้าด้านข้างในเด็กไทยในช่วงอายุ 7-10 ปี จากภาพถ่ายกะโหลกศีรษะด้านข้างในกลุ่มตัวอย่าง 83 คน อายุเฉลี่ย 9.97±0.78 ปี เป็นเพศชาย 43 คน และเพศหญิง 40 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกจะต้องมี (1) ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 และฟันตัดซี่กลางแท้ขึ้นครบแล้วทุกซี่ (2) ไม่มีฟันหายตั้งแต่กำเนิดและไม่มีการสูญเสียฟันก่อนกำหนด (3) การสบฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 แบบประเภทที่ 1 ตามเกณฑ์ของ Angle (Angle’s classification I) และมีระยะเหลื่อมของฟันในแนวดิ่งและแนวระนาบปกติ (4) การเรียงตัวของฟันปกติ หรือมีฟันบิดซ้อนเกหรือมีช่องว่างได้ไม่เกิน 3 มิลลิเมตร (5) ไม่เคยได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันมาก่อน ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยเซฟาโลเมทริกในเด็กไทยที่ได้มีความแตกต่างจากการศึกษาอื่นที่เคยทำในผู้ใหญ่ไทยหรือทำในเด็กต่างประเทศ ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์และวินิจฉัย การวางแผนการรักษา และการรักษาผู้ป่วยที่เป็นเด็กไทยในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน


Clinical Evaluation Of Two Glass Ionomer Cement Restorations Placed In Primary Molars With Atraumatic Restorative Treatment Technique: A Randomized Controlled Trial., Manarin Boonyawong Jan 2019

Clinical Evaluation Of Two Glass Ionomer Cement Restorations Placed In Primary Molars With Atraumatic Restorative Treatment Technique: A Randomized Controlled Trial., Manarin Boonyawong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: The purpose of this study was to compare clinical success of a novel material (silver diamine fluoride incorporated with high-viscosity glass ionomer cement (SDF-GIC)) in Class II restoration in primary molars using atraumatic restorative treatment (ART) technique at 6- and 12- month follow-up. Materials and Methods: A randomized controlled clinical trial using a parallel group design was carried out on 150 children aged 3-8 years old, from 5 public school in Samut Sakhon province, Thailand, with at least one class II cavities. They were randomly allocated to two treatment groups: ART restoration using either GIC (Fuji IX GP) or …


การเปรียบเทียบอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นระหว่างวัสดุนวัตกรรมไทยกับวัสดุนำเข้าบนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง: การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมที่มีการจัดกลุ่มด้วยวิธีสุ่ม, ดลหทัย สิทธิพงษ์พร Jan 2019

การเปรียบเทียบอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นระหว่างวัสดุนวัตกรรมไทยกับวัสดุนำเข้าบนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง: การศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมที่มีการจัดกลุ่มด้วยวิธีสุ่ม, ดลหทัย สิทธิพงษ์พร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการยึดติดทางคลินิกของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเรซินระหว่างวัสดุชนิดขุ่นแอลเอเอส (LAS-opaque) กับวัสดุคลินโปร™ (Clinpro™) การศึกษาทางคลินิกครั้งนี้ออกแบบการทดลองแบบสุ่มเปรียบเทียบภายในบุคคลเดียวกันและอยู่ในขากรรไกรเดียวกัน โดยทำการศึกษาในเด็กจำนวน 56 คน อายุ 6-9 ปี ในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งจำนวน 86 คู่ฟัน โดยสุ่มให้ฟันข้างหนึ่งเคลือบด้วยวัสดุชนิดขุ่นแอลเอเอสและอีกข้างหนึ่งเคลือบด้วยวัสดุคลินโปร™ ติดตามอัตราการยึดติดของวัสดุที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน จำแนกการยึดติดเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ การยึดติดอยู่ทั้งหมด การยึดติดบางส่วน และการหลุดทั้งหมด เปรียบเทียบอัตราการยึดติดของวัสดุทั้งสองด้วยสถิติแม็กนีมาร์ (McNemar test) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าอัตราการยึดติดบริเวณด้านบดเคี้ยวของวัสดุทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน โดยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นแอลเอเอสมีอัตราการยึดติดอยู่ทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 75.6 และ 75.9 ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ตามลำดับ ส่วนวัสดุคลินโปร™ มีอัตราการยึดติดเท่ากับร้อยละ 86.6 และ 77.2 ที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน ตามลำดับ สรุปผลการศึกษาอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดขุ่นแอลเอเอสและวัสดุคลินโปรมีอัตราการยึดติดไม่แตกต่างกันที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน


การศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จของการรักษาเนื้อเยื่อในโดยอ้อมในฟันกรามน้ำนมล่างระหว่างคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนตและแคลเซียมไฮดรอกไซด์: ศึกษาทางคลินิกที่ระยะเวลา 6 เดือน, ปวิตรา วุฒิกรวิภาค Jan 2019

การศึกษาเปรียบเทียบความสำเร็จของการรักษาเนื้อเยื่อในโดยอ้อมในฟันกรามน้ำนมล่างระหว่างคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนตและแคลเซียมไฮดรอกไซด์: ศึกษาทางคลินิกที่ระยะเวลา 6 เดือน, ปวิตรา วุฒิกรวิภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จทางคลินิกและภาพรังสีของการรักษาเนื้อเยื่อในโดยอ้อมในฟันกรามน้ำนมล่างระหว่างคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ วิธีการศึกษา: ฟันกรามน้ำนมล่างผุลึกจำนวน 63 ซี่ จากเด็กอายุ 3-8 ปี จำนวน 38 คน ได้รับการคัดเข้างานวิจัย ฟันทุกซี่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเนื้อเยื่อในโพรงฟันปกติหรือมีการอักเสบชนิดผันกลับได้ และจากภาพรังสีพบรอยผุลึกถึง 1 ใน 3 ของเนื้อฟันชั้นใน โดยได้รับการแบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม เพื่อรักษาเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนตจำนวน 31 ซี่ และแคลเซียมไฮดรอกไซด์จำนวน 32 ซี่ ฟันทุกซี่ได้รับการบูรณะด้วยครอบฟันเหล็กไร้สนิม และติดตามผลทางคลินิกและภาพรังสีที่ระยะเวลา 6 เดือนหลังรักษา ผลการศึกษา: ฟันกรามน้ำนมล่างผุจำนวน 57 ซี่ จากเด็กจำนวน 32 คน ได้รับการตรวจติดตามผลทางคลินิกและภาพรังสีที่ระยะเวลา 6 เดือน พบว่ากลุ่มที่รักษาเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนต และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ให้ผลสำเร็จในการรักษาทางคลินิกและภาพรังสีเท่ากับร้อยละ 88.89 และ 86.67 ตามลำดับ โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม สรุป: ผลสำเร็จในการรักษาเนื้อเยื่อในโดยอ้อมด้วยคลอร์เฮกซิดีนกลูโคเนตให้ผลไม่แตกต่างกับแคลเซียมไฮดรอกไซด์


The Effect Of Disking Technique On Proximal Caries Of Primary Upper Incisors In Tribal Preschool Children Attending Child Development Centers Of Mae Fah Luang District, And Doi Tung Development Project, Chiang Rai, Niwat Thanaboonyang Jan 2018

The Effect Of Disking Technique On Proximal Caries Of Primary Upper Incisors In Tribal Preschool Children Attending Child Development Centers Of Mae Fah Luang District, And Doi Tung Development Project, Chiang Rai, Niwat Thanaboonyang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Aim: To evaluate the effect of disking technique and resin modified glass ionomer cement (RMGI) restoration on proximal caries of primary upper incisors in tribal preschool children, aged 3-5 years, attending child development centers of Doi Tung Development Project, Chiang Rai. Methods: Twenty tribal preschool children were enrolled in this match-paired design study. Twenty-six proximal carious surfaces were randomized for RMGI restoration (control group), and 26 proximal carious surfaces were randomized for disking technique (experimental group). Fluoride varnish was applied in both groups after treatment. At 6-month interval, the treatment success was evaluated including retention of restoration, marginal integrity, no …


ประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟัน: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, กันตพร คุณพนิชกิจ Jan 2018

ประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟัน: การวิจัยเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ, กันตพร คุณพนิชกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟันของฟันน้ำนม การศึกษานี้เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยใช้ชิ้นฟันตัวอย่างจากฟันกรามน้ำนมที่มีรอยผุตามธรรมชาติชั้นเนื้อฟันจำนวน 36 ชิ้น วัดความหนาแน่นแร่ธาตุของรอยผุเริ่มต้นด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตรแล้วนำมาคำนวณความลึกรอยผุและความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ย แบ่งชิ้นฟันเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทา Saforide® (Toyo Seiyaku Kesei, Japan) กลุ่มที่ 2 ทา Advantage ArrestTM (Elevate Oral Care, USA) และกลุ่มที่ 3 ทาน้ำปราศจากไอออน (กลุ่มควบคุม) นำไปผ่านกระบวนการสลับกรด-ด่างโดยใช้เชื้อแบคทีเรียเพื่อจำลองสภาวะในช่องปากเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นนำมาวัดความหนาแน่นแร่ธาตุหลังการทดลองด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตร คำนวณความลึกรอยผุ ความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยและร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุหลังการทดลอง ผลการทดลองพบว่าชิ้นฟันตัวอย่างกลุ่มที่ทา Saforide® และ Advantage ArrestTM มีความลึกรอยผุหลังการทดลองลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.033 และ 0.021 ตามลำดับ) และมีความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยหลังการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.002 และ 0.002 ตามลำดับ) พบว่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันแต่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) สรุปได้ว่า Saforide® และ Advantage ArrestTM มีประสิทธิภาพในการคืนแร่ธาตุในรอยผุชั้นเนื้อฟันของฟันน้ำนมใกล้เคียงกัน


การวิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นในบริเวณชิดแถบรัดฟันซึ่งยึดด้วยซีเมนต์, ชวลิต เพียรมี Jan 2018

การวิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นในบริเวณชิดแถบรัดฟันซึ่งยึดด้วยซีเมนต์, ชวลิต เพียรมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของซีเมนต์ชนิดซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ (ZC) ซิงค์โพลีคาร์บอกซิเลตซีเมนต์ (ZPC) กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดดั้งเดิม (GI) เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดผงและน้ำ (RMGI-P/L) เรซินมอดิฟายด์กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ชนิดสองหลอด (RMGI-P/P) และโพลีแอซิดมอดิฟายด์คอมโพสิตเรซิน (PMCR) ต่อการยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟันบริเวณขอบของแถบรัดฟัน เป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยใช้ฟันกรามน้อยแท้ของมนุษย์จำนวน 70 ซี่ ทำการขัดผิวเคลือบฟัน และสร้างช่องหน้าต่างทดลองบริเวณกึ่งกลางของด้านไกลกลางขนาด 1 x 2 ตารางมิลลิเมตร แบ่งฟันเป็น 7 กลุ่ม เพื่อยึดด้วย; (1) ZC (Zinc Cement Improved®), (2) ZPC (Hy-Bond Polycarboxylate Cement®), (3) GI (Hy-Bond Glasionomer CX®), (4) RMGI-P/L (GC Fuji Ortho LC®), (5) RMGI-P/P (GC Fuji Ortho Band Paste Pak®), (6) PMCR (Ultra Band-Lok®) และ (7) กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ยึดแถบรัดฟัน (Control) จากนั้นจำลองภาวะอุณหภูมิร้อนเย็นในช่องปาก 24 ชั่วโมง และภาวะการสูญเสียและคืนกลับแร่ธาตุ 21 วัน ทำการรื้อแถบรัดฟันและกำจัดซีเมนต์ก่อนนำชิ้นงานทั้งหมดวัดค่าร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์บริเวณช่องหน้าต่างทดลอง (∆F), ค่าร้อยละการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์สูงสุดบริเวณช่องหน้าต่างทดลอง (∆Fmax) ค่าพื้นที่ที่เกิดการสูญเสียฟลูออเรสเซนส์ (Area) และปริมาตรของเคลือบฟันที่สูญเสียแร่ธาตุ (∆Q) ด้วยเทคนิควิเคราะห์การเรืองแสงเชิงปริมาณด้วยการใช้แสงกระตุ้นชนิดดิจิตอล จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Kruskal-Wallis test พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ∆F, ∆Fmax, Area และ ∆Q ของซีเมนต์แต่ละกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) เมื่อหาความแตกต่างทางสถิติในแต่ละคู่โดยใช้สถิติ Pairwise comparisons ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ย ∆F, ∆Fmax, Area และ ∆Q เมื่อจับคู่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Control:PMCR, ZP:ZPC, ZP:GI, ZP:RMGI-P/L, ZP:RMGI-P/P, ZPC:GI, ZPC:RMGI-P/L, ZPC:RMGI-P/P, GI:RMGI-P/L, GI:RMGI-P/P, RMGI-P/L:RMGI-P/P และ RMGI-P/L:PMCR แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อจับคู่เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม Control:ZP, Control:ZPC, Control:GI, Control:RMGI-P/L และ Control: RMGI-P/P, PMCR:ZC, PMCR:ZPC, PMCR:GI และ PMCR:RMGI-P/P การศึกษาในครั้งนี้พบว่าฟันซึ่งยึดแถบรัดฟันด้วย ZC, ZPC, GI และ RMGI-P/P ไม่เกิดการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟันบริเวณขอบของแถบรัดฟัน ส่วนกลุ่ม RMGI-P/L, PMCR และกลุ่มควบคุมเกิดการสูญเสียแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟัน โดยที่กลุ่ม RMGI-P/L เกิดการสูญเสียแร่ธาตุน้อยกว่ากลุ่มควบคุม แต่กลุ่ม PMCR เกิดการสูญเสียแร่ธาตุไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม


วิธีการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเคลือบด้วยถาดเคลือบ, กมลวรรณ ศรีวงษ์ชัย Jan 2017

วิธีการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเคลือบด้วยถาดเคลือบ, กมลวรรณ ศรีวงษ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทางเลือกสำหรับการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่ ด้วยการเปรียบเทียบวิธีการทาบนตัวฟันด้วยพู่กัน (Paint on) กับวิธีถาดเคลือบ (tray) ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยศึกษาประสิทธิภาพของปริมาณฟลูออไรด์ที่คงค้างอยู่ในน้ำลาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางคลินิกแบบไขว้ ใช้อาสาสมัครจำนวน 19 คนที่มีช่วงอายุ 12-15 ปี ทำการเก็บน้ำลายชนิดไม่กระตุ้นก่อนและหลังการเคลือบฟลูออไรด์เจล ที่ 0, 5, 10, 20, 30 และ 60 นาที ระยะพัก (washout) 7 วัน วัดความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำลายด้วยฟลูออไรด์อิเลคโทรด ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณฟลูออไรด์เจลที่เหมาะสมในวิธีการทาบนตัวฟัน คือ ปริมาตร 0.4 มิลลิลิตรซึ่งน้อยกว่าวิธีถาดเคลือบถึง 12.5 เท่า ผลของฟลูออไรด์ในน้ำลายและฟลูออไรด์ในช่องปากจากวิธีการทาบนตัวฟันมีปริมาณมากกว่าวิธีถาดเคลือบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F= 113.458, p= .0001, t = 7.695, p= .0001 ตามลำดับ) อัตราการไหลของน้ำลายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=.121, p=.732 และค่าครึ่งชีวิต (t half-life) ของฟลูออไรด์ในน้ำลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 3.505, p= .003) แม้ว่าวิธีการทาจะมีค่าครึ่งชีวิตสั้นกว่าแต่ความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำลายมีค่าสูงกว่าวิธีถาดเคลือบทุกช่วงเวลาที่วัด สรุปได้ว่าการเคลือบฟลูออไรด์เจลด้วยวิธีการทาบนตัวฟันโดยใช้พู่กัน เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเคลือบฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุสูงและไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ นอกจากนี้ยังประหยัดทรัพยากร สะดวกในการบริหารจัดการ และอุปกรณ์หาได้ง่าย


การคืนกลับแร่ธาตุบนรอยผุจำลองระยะแรกที่ผิวเคลือบฟันที่ได้รับการเคลือบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันต่างชนิด: การศึกษาในช่องปาก, วิชชุดา ผดุงลาภพิสิฐ Jan 2017

การคืนกลับแร่ธาตุบนรอยผุจำลองระยะแรกที่ผิวเคลือบฟันที่ได้รับการเคลือบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันต่างชนิด: การศึกษาในช่องปาก, วิชชุดา ผดุงลาภพิสิฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาในช่องปากร่วมกับห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการคืนกลับแร่ธาตุของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันต่างชนิด บนรอยผุจำลองระยะแรกที่ผิวด้านเรียบของฟัน โดยตัดชิ้นฟันจากด้านประชิดของฟันกรามน้อยจำนวน 24 ซี่ จำนวน 3 ชิ้นต่อซี่ ทำให้เกิดรอยผุจำลองระยะแรกบริเวณผิวเคลือบฟัน แบ่งชิ้นฟันเป็น 3 หน้าต่าง ได้แก่ หน้าต่างทดลอง หน้าต่างรอยผุจำลองระยะแรกก่อนการทดลอง และหน้าต่างควบคุมที่ไม่ได้เคลือบวัสดุ บริเวณหน้าต่างทดลองจะถูกเคลือบด้วยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเรซินที่มีฟลูออไรด์ (เดลตัน-เอฟเอสพลัส) หรือวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเรซินที่ไม่มีฟลูออไรด์ (เดลตัน) หรือกลาสไอโอโนเมอร์ (ฟูจิเซเว่น) ติดชิ้นฟันบนแบร็กเกตที่ยึดกับแถบรัดจัดฟัน และสุ่มชิ้นฟันตัวอย่างติดบนฟันกรามแท้บนซี่ที่หนึ่งทั้งสองข้างของอาสาสมัครจำนวน 24 คน เป็นระยะเวลา 28 วัน มีช่วงพักการทดลอง 7 วัน หลังจากนั้นใช้ชิ้นฟันตัวอย่างที่เหลือติดในการทดลองช่วงที่ 2 ก่อนการทดลอง 7 วันจนสิ้นสุดการทดลองอาสาสมัครใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง วัดค่าความหนาแน่นแร่ธาตุทั้ง 3 หน้าต่าง ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตตโทโมกราฟี ภายหลังการทดลอง พบว่าวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันทั้ง 3 ชนิด เดลตัน เดลตัน-เอฟเอสพลัส และฟูจิเซเว่น มีค่าความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.018 และ p=0.001 และ p=0.000 ตามลำดับ) และเดลตัน-เอฟเอสพลัสกับฟูจิเซเว่นมีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003 และ p=0.001 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่เคลือบด้วยฟูจิเซเว่น มีค่าร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุเฉลี่ยสูงสุด และมีค่ามากกว่าเดลตันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มฟูจิเซเว่นกับเดลตัน-เอฟเอสพลัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.625) จึงสรุปได้ว่า การเคลือบหลุมร่องฟันสามารถเพิ่มการคืนกลับแร่ธาตุให้กับรอยผุได้ โดยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันกลาสไอโอโนเมอร์ สามารถเพิ่มการคืนกลับแร่ธาตุได้ดีกว่าวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินที่มีและไม่มีฟลูออไรด์ ตามลำดับ


Effect Of Curcumin On The Expression Of Wound Healing-Related Genes In Human Gingival Fibroblasts, Auspreeya Rujirachotiwat Jan 2017

Effect Of Curcumin On The Expression Of Wound Healing-Related Genes In Human Gingival Fibroblasts, Auspreeya Rujirachotiwat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigated the effect of curcumin on the expression of wound healing-related genes including transforming growth factor beta 1 (TGF-β1), transforming growth factor beta receptor type I (TGFβR I), transforming growth factor beta receptor type II (TGFβR II) and vascular endothelial growth factor (VEGF) in human gingival fibroblasts. The cytotoxicity of curcumin was determined by MTT assay. Then, cells were treated with non-cytotoxic concentrations of curcumin for 24 hours and the level of gene expression was determined by quantitative polymerase chain reaction (qPCR). Curcumin at 0.1-20 µM caused no significant change in cell viability while higher concentrations of curcumin …


Factors Associated With Dental Caries Experience In Thai Preschool Children With Cerebral Palsy Attending Non-Governmental Rehabilitation Centers, Kullanant Pansrimangkorn Jan 2017

Factors Associated With Dental Caries Experience In Thai Preschool Children With Cerebral Palsy Attending Non-Governmental Rehabilitation Centers, Kullanant Pansrimangkorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: To investigate factors associated with dental caries experience in preschool children with cerebral palsy attending physical therapy programs in non-governmental rehabilitation centers in Bangkok. Materials and Methods: This research is a cross sectional study of 60 children with cerebral palsy, aged 3-6 years, mean age 5.01 ± 1.23 years old. Dental caries experience was determined by dmfs index, numbers of surfaces of dental caries, extracted tooth, and filled tooth. The other variables were collected including: dental plaque index (OHI-S), type of cerebral palsy, frequency of carbohydrate intake events, dietary consistency, assisting with toothbrushing, and frequency of toothbrushing. Multiple linear …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี, วันวิสาข์ ไพเราะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิด ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในเขตอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี วัสดุและวิธีการ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาชนิดตัดขวางในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 133 คน อายุเฉลี่ย 16.86 ± 0.48 ปี ที่แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ทุกเช้า การศึกษานี้ใช้ฟันผุด้านประชิดที่พบจากภาพรังสีชนิดกัดสบเป็นตัวแปรตาม เก็บข้อมูลความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อจากแบบบันทึกอาหาร 3 วัน ตรวจทางคลินิกเพื่อเก็บข้อมูลฟันผุ รอยฟันผุในระยะเริ่มต้น ดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี และดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือกด้วยการตรวจทางคลินิก สัมภาษณ์พฤติกรรมการแปรงฟันก่อนนอน ระดับการศึกษาของมารดา อายุ และเพศ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของฟันผุด้านประชิดร้อยละ 48.12 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติถดถอยโลจิสติก พบว่า ฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพี (p = 0.005, OR 2.57) และความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อ (p = 0.034, OR 1.52) ในทางตรงกันข้ามฟันผุด้านประชิดมีความสัมพันธ์ผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับดัชนีการมีเลือดออกจากเหงือก (p = 0.018, OR 0.97) และระดับการศึกษาของมารดาที่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 (p = 0.002, OR 0.24) ส่วนปัจจัยอื่นไม่มีความสัมพันธ์กับฟันผุด้านประชิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป นักเรียนที่มีดัชนีคราบจุลินทรีย์พีเอชพีสูง หรือมีความถี่ของการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตระหว่างมื้อสูง มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุด้านประชิดสูง