Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Medical Biochemistry

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-885-5p In Hepatocellular Carcinoma, Archittapon Nokkeaw

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC), the most prevalent form of liver cancer, exerts a significant burden on Southeast Asian countries and stands as the third leading cause of cancer-related mortality worldwide. Despite this alarming impact, effective treatments for HCC are lacking, resulting in low survival rates and high recurrence rates. Therefore, a comprehensive understanding of the disease's underlying mechanisms is crucial for the development of novel and potent therapies. Recently, it has been recognized that microRNAs (miRNAs) play a vital role in tumorigenesis, including HCC. Our bioinformatic analysis has highlighted hsa-miR-885-5p as a potential candidate miRNA due to its downregulation in HCC …


Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri Jan 2022

Exploring Roles Of Mir-372-3p In Proliferation Of Hepatocellular Carcinoma Cells, Pannathon Thamjamrassri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC) is the most common type of primary liver cancer. HCC has a replicative immortality and sustained proliferation rate. In addition, cell cycle-related protein regulating proliferation in cancer are often found dysregulated, allowing cancer cells to proceed their proliferation uncontrollably. Recently, a small non-coding RNA, microRNA (miRNA), was found to play an important role in numerous biological functions. Specific miRNA may ameliorate or promote cancer progression through different target mRNA. MiR-372-3p has been explored in various cancers such as colon cancer, colorectal cancer, and glioma. However, its functions have been rarely studied in HCC, especially in the aspect …


Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn Jan 2022

Classification Of Bacteria And Fungi In Peritoneal Dialysis Fluids Of Patients With Chronic Kidney Disease Based On Metagenomic Analysis, Suthida Visedthorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) is a long-term condition where sustained damage of the renal parenchyma leads to the chronic deterioration of renal function that may gradually progress to end-stage kidney disease (ESKD). Peritoneal dialysis (PD) is a type of ESKD treatment that is beneficial to improve a patient's quality of life. However, PD-associated peritonitis is a major complication that contributes cause of death, and the detection of the pathogen provided a high culture-negative rate. This study aims to apply metagenomic approaches for identifying the bacteria and fungi in peritoneal dialysis effluent (PDE) of CKD patients based on the full-length 16S …


ผลของการบริโภคฟักข้าวต่อระดับไตรเมทิลามีนเอ็นออกไซด์ในเลือดและการเกิดโรคหัวใจในหนูไตวายเรื้อรัง, ภานุมาศ เข้มแข็ง Jan 2022

ผลของการบริโภคฟักข้าวต่อระดับไตรเมทิลามีนเอ็นออกไซด์ในเลือดและการเกิดโรคหัวใจในหนูไตวายเรื้อรัง, ภานุมาศ เข้มแข็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนํา: ไตรเมทิลามีน (Trimethylamine) เป็นสารที่สร้างจากแบคทีเรียในลําไส้และเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง Trimethylamine N-oxide (TMAO) ซึ่งทําให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะในวิธีการทดลอง: หนูแรทเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์จํานวนกลุ่มละ 9 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม (Control) กลุ่มไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) กลุ่มสารทดสอบฟักข้าว (Gac) กลุ่มสารทดสอบไลโคปีนและเบต้าแคโรทีน (STD) กลุ่มสารทดสอบฟักข้าวร่วมกับแบคทีเรีย B. longum และ L. salivarius (Synbiotic) และกลุ่มสารโปรไบโอติกควบคุม L. Casei (Lactobacillus Casei) โดยหนูกลุ่มทดสอบจะถูกเหนี่ยวนําให้เป็นไตวาเรื้อรังโดย Cisplatinและทุกกลุ่มได้รับอาหารเสริม choline เป็นระยะเวลา 15 สัปดาห์ ผลการทดลอง: พบว่าหนูกลุ่ม Synbiotic มีระดับ serum TMAO ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05)เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CKD รวมถึงยังพบการลดลงของเชื้อในกลุ่ม Proteobacteria ในลําไส้และลดการแสดงออกของเอนไซม์ Trimethylamine-(TMA) lyase ซึ่งจําเป็นต่อการสร้าง TMA อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการเสริม Synbiotics ยังกระตุ้นการแสดงออกของ Zonula occludens type 1 (ZO-1) ซึ่งเป็น tight junction gene ที่บริเวณลําไส้ใหญ่ (Colon) อย่างมีนัยสําคัญ ในขณะที่การให้สารสกัดฟักข้าวเพียงอย่างเดียว หรือการให้โปรไบโอติกควบคุมไม่พบความเปลี่ยนแปลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CKD สรุปผล: การเสริม Synbiotic ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดฟักข้าว และโปรไบโอติกชนิด B. longum และ L.salivarius ที่มีประสิทธิภาพในการลดการรั่วที่ผนังลําไส้ ช่วยลดเชื้อ Proteobacteria ในลําไส้หนู CKD ลดการแสดงออกของ TMA lyase enzyme เพิ่มการแสดงออกของ tight junction gene ZO-1 และสามารถลดระดับ serum TMAO ได้อย่างมีนัยสําคัญ หรือ การเสริม Synbiotic ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดฟักข้าว และโปรไบโอติกชนิด B. longum และ L. salivarius สารถลดระดับ serum TMAO ในหนูโรคไตเรื้อรังได้อย่างมีนัยสําคัญมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังต่อไต


ผลกระทบของการปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโรคนิ่วไตต่อการเกิดโรคนิ่วแคลเซียมออกซาเลตในทางเดินปัสสาวะของหนู, สิทธิพงษ์ หุ่นไทย Jan 2022

ผลกระทบของการปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโรคนิ่วไตต่อการเกิดโรคนิ่วแคลเซียมออกซาเลตในทางเดินปัสสาวะของหนู, สิทธิพงษ์ หุ่นไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคนิ่วไตพบมากในคนไทยโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ มีปัจจัยเสี่ยงคือ ภาวะซิเตรทในปัสสาวะต่ำ แคลเซียมและออกซาเลตในปัสสาวะสูง โดยพบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จากการศึกษาก่อนหน้าพบความแตกต่างของประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้ป่วยโรคนิ่วไตจากคนสุขภาพดี จึงเชื่อว่าความแตกต่างของจุลินทรีย์ลำไส้ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคนิ่วไต เพื่อศึกษาความผิดปกตินี้ ผู้วิจัยจึงศึกษาความแตกต่างของจุลินทรีย์ในลำไส้เปรียบเทียบระหว่างอาสาสมัครคนปกติและผู้ป่วยโรคนิ่วไต พบว่าจุลินทรีย์ phylum Bacteroidata ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคนิ่วไตสูงกว่าคนสุขภาพดี และพบ genus Bifidobacterium ต่ำกว่าคนสุขภาพดี จากนั้นนำจุลินทรีย์จากอุจจาระของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม ปลูกถ่ายลงในหนู Wistar เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับจุลินทรีย์จากกลุ่มผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะมีแนวโน้มสูงขึ้น ปริมาณแมกนีเซียมในปัสสาวะลดลง รวมทั้ง pH ในปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น และพบดัชนีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่ว (Tiselius’s supersaturation index) เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังพบ จุลินทรีย์ genus Muribaculaceae สูงขึ้นในหนูที่ได้รับการปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์จากผู้ป่วยโรคนิ่วไต และ genus Roseburia มีจำนวนลดลง รวมถึงการแสดงออกของ tight junction (Zonula occluden-1 หรือ ZO-1) ที่ลดลง และพบการแสดงออกของ oxalate transporter มีแนวโน้มสูงขึ้น สรุปได้ว่าหนูที่ได้รับเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระจากผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วสูงขึ้น โดยมีกลไกจากการแสดงออกของโปรตีน ZO-1 ลดลง และเพิ่ม oxalate transporter ที่ลำไส้ ทำให้ร่างกายได้รับออกซาเลตจากอาหารในลำไส้เพิ่มขึ้น และขับออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น เป็นหลักฐานยืนยันว่าความผิดปกติของสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วไต


Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol Jan 2022

Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) patients suffer from the accumulation of toxic substances in their blood due to the loss of kidney function, which results in hyperphosphatemia. This condition contributes to hyperparathyroidism, leading to the development of chronic kidney disease-related mineral bone disorder (CKD-MBD). Additionally, CKD patients experience changes in their gut microbiota, disrupting epithelial tight junctions and allowing excessive absorption of dietary phosphate. In this study, we aimed to investigate the effects of various oligosaccharides and probiotics on the gut microbiota, intestinal barrier, hyperphosphatemia, and hyperparathyroidism in CKD rats. We isolated Lactobacillus and Bifidobacterium strains from healthy participants and tested …


Development Of Novel Point-Of-Care-Testing For Oxalate Detection In Urine Based On Oxalate-Binding Ligands, Naruerat Joybumrung Jan 2021

Development Of Novel Point-Of-Care-Testing For Oxalate Detection In Urine Based On Oxalate-Binding Ligands, Naruerat Joybumrung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Kidney stone disease is the third most common urinary tract disease worldwide that is more prevalent in the tropics. In Thailand, the highest stone prevalence up to 17% is reported in the Northeast. The disease is highly recurrent with a recurrence rate of about 50% within 5-10 years. The most common type of kidney stones is calcium oxalate (CaOx), and an increased urinary oxalate excretion is an important risk factor. Most of kidney stone patients have a hyperoxaluria condition (urinary oxalate >40 mg/day or >0.46 mmol/day). Therefore, urinary oxalate measurement has been widely used for estimating the risk of CaOx …


บทบาทของ Advanced Glycation End Products และภาวะเครียดออกซิเดชันในโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม, มนัสนันท์ จิตรจำนงค์ Jan 2021

บทบาทของ Advanced Glycation End Products และภาวะเครียดออกซิเดชันในโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม, มนัสนันท์ จิตรจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ปัจจัยหนึ่งที่เป็นสาเหตุร่วมทำให้เกิดการเสื่อมคือภาวะเครียดออกซิเดชัน การสะสมของสารอนุมูลอิสระ และ advanced glycation end products (AGEs) ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดและการดำเนินโรค วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาบทบาทของ AGEs, receptor for AGEs (RAGE) ตัวชี้วัดภาวะเครียดออกซิเดชัน สารต้านอนุมูลอิสระ และความยาวเทโลเมียร์ในเลือดของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม การศึกษานี้แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม กลุ่มคนปกติที่มีสุขภาพดีและกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อม กลุ่มละ 75 ราย ซึ่งใช้ภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) เพื่อแบ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมตามระดับความรุนแรงของโรค โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มเพื่อตรวจวัดระดับ AGEs, RAGE, 8-hydroxy-2'-deoxyguanosine (8-OHdG), protein carbonyl, malondialdehyde (MDA), nitrite ในพลาสมา การแสดงออกของยีน inducible nitric oxide synthase (iNOS) ในเลือด ระดับ total antioxidant capacity (TAC), ferric reducing antioxidant power (FRAP) ในพลาสมา ค่า catalase activity ค่า superoxide dismutase (SOD) activity ค่า glutathione peroxidase (GPx) activity และความยาวเทโลเมียร์ในเลือด จากการศึกษาพบว่าระดับ AGEs, RAGE, 8-OHdG, protein carbonyl, MDA, nitrite ในพลาสมา การแสดงออกของยีน iNOS ในเลือดของกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001, P < 0.001, P = 0.001, P = 0.01, P = 0.02, P < 0.001, P < 0.001 ตามลำดับ) และค่า GPx activity ในเลือดของกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมมีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.04) สำหรับระดับ TAC, FRAP ค่า catalase activity ค่า SOD activity และความยาวเทโลเมียร์ในเลือดพบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมและกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ยังพบว่าระดับ protein carbonyl และ nitrite ในพลาสมามีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้นจากภาพถ่ายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การศึกษานี้สรุปได้ว่าระดับ protein carbonyl และ nitrite ในพลาสมาอาจนำมาประยุกต์ใช้เป็นตัวชี้วัดในการพยากรณ์ระดับความรุนแรงของโรคกระดูกสันหลังส่วนเอวเสื่อมได้


Epigenetic Regulation Of Reactive Oxygen Species-Induced Tumor Progression In Hepatocellular Carcinoma, Suchittra Phoyen Jan 2021

Epigenetic Regulation Of Reactive Oxygen Species-Induced Tumor Progression In Hepatocellular Carcinoma, Suchittra Phoyen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oxidative stress is a consequence of an imbalance of antioxidants and reactive species. The most common form of reactive species is derived from oxygen, called reactive oxygen species (ROS). ROS involve in pathogenesis of several diseases including cancers. Cancer genesis and progression are contributed through both genetic and epigenetic mechanisms. Histone modification, a post-translational modification at histone tails, is one of the epigenetic mechanisms known to participate in carcinogenesis and tumor progression. Although the ROS-induced histone modification alteration has been demonstrated in some cancers, the change in histone methylation and gene expression by ROS in hepatocellular carcinoma (HCC) is scarcely …


Integrative Transcriptomic Analysis And Validation Of Non-Coding Rna In Liver Cancers, Varunya Virushkul Jan 2021

Integrative Transcriptomic Analysis And Validation Of Non-Coding Rna In Liver Cancers, Varunya Virushkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hepatocellular carcinoma (HCC) and intrahepatic cholangiocarcinoma (iCCA) are the most common and cause cancer-related deaths. Due to the lack of sensitivity and specificity of conventional markers, such as AFP, CA19-9 and CEA. Thus, this study aimed to identify miRNAs as a diagnostic biomarker for HCC and iCCA. First, in discovery set, RNA sequencing and small RNA sequencing data of 992 HCC and adjacent tissues and 116 iCCA and adjacent tissues were downloaded from the GEO database. After that, the lncRNA-miRNA-mRNA network was constructed and analyzed for the differential expression of lncRNA (DElncRNA), miRNA (DEmiRNA), and mRNA (DEmRNA). Then, the significant …


การตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ Basal Core Promoter ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบดรอปเลทดิจิตอล, ชวิศ พลพงษ์ Jan 2021

การตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ Basal Core Promoter ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วยเทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบดรอปเลทดิจิตอล, ชวิศ พลพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกลายพันธุ์บริเวณ Basal core promoter (BCP) ตำแหน่ง A1762T/G1764A ของไวรัสตับอักเสบบี มีความสัมพันธ์กับการดำเนินโรคไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง(chronic hepatitis B; CHB) อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่เป็นการศึกษาด้วย Sanger sequencing ที่ให้ผลเชิงคุณภาพ แต่การศึกษาด้วยเทคนิคอื่นเช่นเทคนิค droplet digital PCR(ddPCR) ที่สามารถบ่งบอกปริมาณร้อยละการกลายพันธุ์ (mutation percentage) ได้ยังคงมีจำกัด การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ BCP โดยใช้ ddPCR เปรียบเทียบกับ Sanger sequencing และ Real- Time PCR และหาความสัมพันธ์ของ mutation percentage กับปัจจัยทางไวรัสและคลินิก ในผู้ป่วย CHB จำนวน 185 คน ผลการศึกษาพบว่าจากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดมีผู้ป่วย 78 รายที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบกันได้ทั้ง 3 วิธี โดยพบว่า ddPCR สามารถตรวจพบการกลายพันธุ์ได้มากกว่าSanger sequence(84.6%vs.43.6%,P<0.001) และReal-time PCR(84.6%vs. 60.3%,P<0.001) และพบการกลายพันธุ์ได้(limit of detection(LOD)ตั้งแต่ร้อยละ0.25 การศึกษาด้วย ddPCR พบว่าผู้ป่วย HBeAg-positive มีร้อยละการกลายพันธุ์ต่ำกว่าผู้ป่วย HBeAg-negative (31.36±33.56vs.46.86±27.88 ,P<0.001) นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับ HBcrAg ในเลือดของผู้ป่วย HBeAg-positive(r=-0.286,P=0.070) และพบว่าผู้ป่วยกลุ่ม wild type มีระดับของ HBcrAg สูงสุด และพบระดับ HBcrAg ลดลงเมื่อมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น ส่วนในผู้ป่วย HBeAg-negative พบว่าการกลายพันธุ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับ HBcrAg(r=0.273,P=0.008) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ddPCR เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพและมีความไวในการตรวจสอบการกลายพันธุ์บริเวณ BCP ได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์กับระดับของ HBcrAg ในเลือดซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ใหม่ที่ใช้ในทางคลินิก ดังนั้นเทคนิค ddPCR จึงอาจจะสามารถเป็นวิธีทางเลือกหนึ่งในการตรวจสอบการกลายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบบีได้


การแสดงออกของยีนและคุณลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งในประชากรเซลล์ไลน์ U87mg Glioblastoma, รุ่งนภา บุตรศรี Jan 2020

การแสดงออกของยีนและคุณลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งในประชากรเซลล์ไลน์ U87mg Glioblastoma, รุ่งนภา บุตรศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มะเร็งสมองชนิดกลัยโอบลาสโตมา (Glioblastoma หรือ GBM) เป็นมะเร็งสมองชนิดที่พบมากที่สุด มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ทำให้คนไข้โดยเฉลี่ยเสียชีวิตภายในหนึ่งปี นอกจากนี้เซลล์ GBM ยังมีความหลากหลายทางสัณฐาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งที่เป็นประชากรที่มีความสำคัญในแง่ของการตอบสนองต่อการรักษาและการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง การที่จะสามารถพัฒนาการรักษาที่มีความจำเพาะในการกำจัดเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งนี้ จะต้องมีกระบวนการในการระบุเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง (identification) ที่มีความจำเพาะและแม่นยำ ผู้วิจัยจึงต้องการค้นคว้าในเชิงลึกเพื่อหาการแสดงออกของยีนและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง โดยทำการแยกประชากรเซลล์ U87MG ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชากรเซลล์รวม ประชากรเซลล์ใหญ่ และประชากรเซลล์เล็กออกจากกัน โดยใช้ความแตกต่างของขนาดเซลล์ ด้วยเทคนิค Fluorescence-activated cell sorting (FACS) จากนั้นนำประชากรดังกล่าวมาเลี้ยงแยกกัน โดยทำการศึกษาประชากรทั้งหมด ประชากรขนาดใหญ่และประชากรขนาดเล็ก แล้วศึกษาความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดในระดับอาร์เอ็นเอด้วยเทคนิค Real-Time PCR โดยมุ่งเน้นไปที่การศึกษา (1) pluripotency markers/ transcription factor ได้แก่ OCT4, SOX2, NANOG และ c-MYC (2) cancer stem cell signalling ได้แก่ mTOR pathway โดยเน้นไปที่ mTORC2 และ LIN28/let-7 pathway และ (3) cellular phenotypes ได้แก่ วัฏจักรของเซลล์ (cell cycle) การแบ่งตัวของเซลล์ (cell proliferation) และการเคลื่อนที่ของเซลล์ (cell migration) งานวิจัยนี้เป็นรายงานแรกที่ศึกษาความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง GBM ใน U87MG โดยการแยกเซลล์ออกเป็นประชากรเซลล์ใหญ่และประชากรเซลล์เล็กด้วย FACS โดยพบว่าเซลล์ U87MG มีการแสดงออกของยีนที่บ่งชี้ความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ได้แก่ OCT4, SOX2, LIN28B,c-MYC, ZWINT, TYMS และ RCF4 ยีนที่เกี่ยวข้องกับ GBM ที่ทำการศึกษาการแสดงออก ได้แก่ SPARCL1, GDF15, LAMA1, …


Telomere Shortening And Cellular Senescence Induced By Oxalate And Nephrolithiasis Urine In Hk-2 Cells, Kamonchanok Chuenwisad Jan 2020

Telomere Shortening And Cellular Senescence Induced By Oxalate And Nephrolithiasis Urine In Hk-2 Cells, Kamonchanok Chuenwisad

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Kidney stone disease is a common urologic problem worldwide, especially in the tropics such as Thailand. It is known as a multifactorial condition, and aging increases the risk of stone development. The major type of stones is calcium oxalate (CaOx), and its formation is driven by increased urinary oxalate excretion and calcium oxalate monohydrate (COM) crystallization. Both oxalate and COM are known to induce reactive oxygen species (ROS) production and cause oxidative stress. Furthermore, patients with CaOx stone have increased extent of oxidative stress. In this study, we investigated the induction of cellular senescence and telomere shortening through oxidative stress …


Circulating-Tumor Dna And Cancer-Induced Gene Expression As Novel Liquid Biomarkers Of Liver Cancers, Pattapon Kunadirek Jan 2020

Circulating-Tumor Dna And Cancer-Induced Gene Expression As Novel Liquid Biomarkers Of Liver Cancers, Pattapon Kunadirek

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Liver cancer is one of the most cancer-related mortality with high incidence worldwide. Hepatocellular carcinoma (HCC) is the most common liver cancer type. Currently, Liquid biopsy is known as a non-invasive biomarker tool that specifically represents tumor appearance, leading to improved patient outcomes. Therefore, the novel biomarkers of liquid biopsy in Thai HCC patients are still unexplored and needed for precision medicine. The main aims of this study were First, to explore genetic profiles from liquid biopsies of circulating cell-free DNA (cfDNA) and peripheral blood mononuclear cells (PBMCs) using next-generation sequencing (NGS) and identify novel biomarkers for HCC from these …


การเสริมผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อชะลอความเสื่อมของไตจากโรคเบาหวานในหนู, วิรินทร์ บวรสมสฤษดิ์ Jan 2019

การเสริมผลิตภัณฑ์จากพืชเพื่อชะลอความเสื่อมของไตจากโรคเบาหวานในหนู, วิรินทร์ บวรสมสฤษดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus, DM) เป็นภาวะผิดปกติที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนนำไปสู่อาการแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย และโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะได้รับการแนะนำให้บริโภคอาหารในแต่ละมื้อลดลง และเพิ่มมื้ออาหารว่างเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีอาหารต่ำ เป็นที่ทราบกันดีว่าพืชในตระกูลถั่วและงามีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ การศึกษาในพืชตระกูลถั่วพบว่าสามารถป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงรวมถึงบรรเทาภาวะโรคเบาหวานได้ และยังมีการศึกษาที่พบว่างา (Sesame) ช่วยลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ในเลือด นอกจากนี้ถั่วเขียวทอดและงาคั่วเป็นหนึ่งในอาหารกินเล่นที่นิยมของคนไทย สมควรที่จะส่งเสริมผู้ป่วยโรคเบาหวานบริโภคถั่วเขียวทอดหรืองาคั่วเป็นอาหารว่าง หากแต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้เชื่อมั่นได้ว่า ถั่วเขียวทอดและงาคั่ว สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้จริงหรือไม่ ในงานวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาผลของการบริโภคถั่วเขียวทอดและงาดำคั่วต่อการดำเนินโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในหนูทดลอง โดยการแบ่งหนูทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ หนูปกติกลุ่มควบคุม (Normal control group; NC) หนูเบาหวานกลุ่มควบคุม (Diabetes mellitus control group; DMC) หนูเบาหวานที่บริโภคถั่วเขียวทอด (Fried mung bean group; FMB) และหนูเบาหวานที่บริโภคงาดำคั่ว (Roasted black sesame group; RBS) หนูทดลองนอกเหนือจากกลุ่มปกติควบคุมจะถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน และบริโภคอาหารไขมันสูง พบว่าในสัปดาห์ที่ 12 ของการทดลอง ระดับน้ำตาล HbA1C ระดับไขมันและคริอะตินินในเลือดในหนูทดลองแต่ละกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อทำการศึกษาพยาธิสภาพของไตและตับด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสง และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน พบว่าหนูเบาหวานกลุ่มควบคุมมีปริมาณไขมันสะสมในตับสูง และมีความหนาของเยื่อฐานโกลเมอรูลัส (Glomerular basement membrane) และความกว้างของขาเซลล์โพโดไซต์ (podocyte foot process) มากกว่าหนูปกติกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนระยะแรกของตับและไตในโรคเบาหวาน และพบว่าหนูที่ได้รับถั่วเขียวทอดและงาดำคั่ว ไม่พบความผิดปกติทางพยาธิสภาพของตับและไตดังกล่าว จากผลการทดลองทั้งหมดในการวิจัยครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าการบริโภคถั่วเขียวทอดหรืองาดำคั่วสามารถบรรเทาพยาธิสภาพของไตและตับที่เกิดจากโรคเบาหวานในหนูทดลองที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้


B-Cell Activating Factor As An Immunological Marker Of Disease Outcome And Treatment Response In Patients With Chronic Hepatitis B Virus Infection, Apichaya Khlaiphuengsin Jan 2018

B-Cell Activating Factor As An Immunological Marker Of Disease Outcome And Treatment Response In Patients With Chronic Hepatitis B Virus Infection, Apichaya Khlaiphuengsin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

B-cell activating factor (BAFF), an important cytokine for B lymphocyte activation that implicated in the pathogenesis and disease progression chronic hepatitis B (CHB) patients. This study aimed at evaluating clinical correlation and prognostic role of plasma BAFF, BAFF receptor and related polymorphisms in patients with CHB undergoing pegylated interferon (peg-IFN) treatment and HBV-related hepatocellular carcinoma (HCC). This study shown that BAFF levels were elevated during treatment but decreased to pre-treatment levels after peg-IFN cessation in HBeAg-positive CHB patients. Patients with HCC had significantly higher BAFF levels compared with the non-HCC group and healthy controls. Moreover, the frequency of rs9514828 CT+TT …


Systems Biology Of Human Cells Responded To Influenza B Virus Infection, Kritsada Sirivassanametha Jan 2018

Systems Biology Of Human Cells Responded To Influenza B Virus Infection, Kritsada Sirivassanametha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Influenza B virus is a member of Orthomyxoviridae family which can cause influenza in human and affect to worldwide health problem. Systems biology is the computational modeling of molecular systems which is useful to predict how these biological systems change over time and under different conditions. In this study the multiomics was used to study human cellular response to influenza B virus infection. The transcriptome including mRNAs, lncRNAs and miRNAs and proteome were investigated by high-throughput technologies such as next-generation sequencing and mass spectrometry. The results showed that in human cells infected with influenza B virus, transcriptome including mRNAs, lncRNAs …


บทบาทของระดับ Glypican-3 และ Sulfatase-2 ในเลือดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, พิมพ์ทอง ทวีทองคำ Jan 2017

บทบาทของระดับ Glypican-3 และ Sulfatase-2 ในเลือดในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, พิมพ์ทอง ทวีทองคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งตับ (HCC) เป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงเมื่อเทียบกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ในประเทศแถบเอเชียมักพบผู้ป่วยโรคมะเร็งตับซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าเอนไซม์ Sulfatase-2 (SULF2) มีการแสดงออกเพิ่มสูงขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อมะเร็งตับ เอนไซม์ชนิดนี้สามารถกระตุ้นการเจริญของเซลล์มะเร็งตับได้ผ่านกระบวนการ desulfation ภายในโมเลกุล Glypican-3 (GPC3) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บของลิแกนด์ชนิด Wnt และมีการรายงานว่า GPC3 มีการแสดงออกเพิ่มสูงขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อมะเร็งตับเช่นเดียวกับ SULF2 การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบทบาทในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับของ SULF2 และ GPC3 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผลการวิเคราะห์การแสดงออกที่เปลี่ยนไปในระดับ mRNA ของ SULF2 และ GPC3 ด้วยเทคนิค Real-time PCR (RT-PCR) พบว่าในตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ (N=93) มีระดับ mRNA ของทั้งสองยีนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (N=98) และกลุ่มผู้มีสุขภาพดี (N=50) (SULF2: 25.26± 38.10 และ 8.74±17.30 และ 5.33±12.78, P<0.001; GPC3: 32.47±35.38 และ 16.27±28.30 และ 3.67 ±4.45, P<0.001) ผลการวิเคราะห์ระดับโปรตีนในซีรั่มด้วยเทคนิค Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) พบปริมาณ SULF2 สูงสุดในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ (N=146) เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (N=119) และกลุ่มผู้มีสุขภาพดี (N = 50) เช่นกัน (27.51±10.17 และ 18.56±5.21 และ 15.81±4.30 ng/ml, P<0.001) ขณะที่สามารถตรวจพบ GPC3 ได้มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพพบว่าระดับ SULF2 และ GPC3 ในซีรั่มเพียงชนิดเดียวมีประสิทธิภาพด้อยกว่า AFP แต่เมื่อนำ AFP ร่วมกับ SULF2 มาพิจารณาร่วมด้วยพบว่า AFP ร่วมกับ SULF2 มีประสิทธิภาพในการจำแนกผู้ป่วยมะเร็งตับจากผู้ไม่ได้เป็นมะเร็งตับได้ดีที่สุด นอกจากนี้ระดับของ SULF2 และ GPC3 ภายในซีรั่มสัมพันธ์กับระยะเวลาการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอีกด้วย (P < 0.001). การศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า SULF2 และ GPC3 ภายในซีรั่มของผู้ป่วยสามารถนำไปใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและตัวพยากรณ์โรคมะเร็งตับที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้


Reactive Oxygen Species-Induced Global Dna Hypomethylation In Bladder Cancer Is Mediated Via Increased Formation Of 8-Hydroxy-2'-Deoxyguanosine, Patcharawalai Whongsiri Jan 2017

Reactive Oxygen Species-Induced Global Dna Hypomethylation In Bladder Cancer Is Mediated Via Increased Formation Of 8-Hydroxy-2'-Deoxyguanosine, Patcharawalai Whongsiri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oxidative stress, as a consequence of the elevated reactive oxygen species (ROS), has been implicated in various chronic diseases including cancers by, for examples, causing oxidative DNA damage and altering epigenetic regulation. Long interspersed element-1 (LINE-1) is an only active retrotransposable elements in human DNA, comprising up to 17% of the whole genome. LINE-1 hypomethylation is reported in bladder cancer and evidently it is a consequence of oxidative stress. In this study, we investigated the expression of 5-methylcytosine (5-mC), 8-hydroxydeoxyguanosine (8-OHdG), LINE-1-endoced protein (ORF1p), histone H3K9me3 and HP1 alpha in bladder cancer tissues. Mechanistic insight into how oxidative stress affected …


บทบาทของกลุ่มโปรตีนเอ็มทอร์ 2 ต่อการเติมหมู่ฟอสเฟตบนโปรตีนเทาที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์, นราวิชญ์ พชรกุลนนท์ Jan 2017

บทบาทของกลุ่มโปรตีนเอ็มทอร์ 2 ต่อการเติมหมู่ฟอสเฟตบนโปรตีนเทาที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์, นราวิชญ์ พชรกุลนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม เกิดจากโปรตีน Aβ และ tau ที่ตกตะกอนภายในและภายนอกเซลล์ประสาทตามลำดับ และเกิดเป็น amyloid beta plaques และ neurofibrillary tangles (NFT) โปรตีน mTOR complexes ซึ่งเป็น serine/threonine protein kinase ถูกจัดกลุ่มออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ mTORC1 และ mTORC2 โดย mTORC1 นั้นมีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางชีวภาพต่าง ๆ เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และการแบ่งตัวของเซลล์ ในขณะที่ mTORC2 นั้นเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเซลล์ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานการศึกษาว่า mTORC2 มีความเกี่ยวข้องกับกลไกการควบคุมการเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติ (hyperphosphorylation) ของโปรตีน tau หรือไม่ ดังนั้น งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง mTORC2 กับการเกิดการเติมหมู่ฟอสเฟตมากผิดปกติบนโปรตีน tau โดยตรวจสอบการทำงานโปรตีนด้วยเทคนิค western blot analysis พบว่า การทำงานที่ลดลงของ mTOR complexes ภายใต้สภาวะบ่มเซลล์ด้วย AZD8055 และสภาวะยับยั้งการแสดงออกของยีน RICTOR สามารถลดปริมาณ pTau (Ser214) ได้ นอกจากนี้ จากการศึกษาตำแหน่งของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับ mTORC2 และ tau พบว่าโปรตีนเหล่านี้น่าจะมีปฏิสัมพันธ์กัน จึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง mTORC2 และ tau ด้วยเทคนิค affinity purification mass spectrometry เพื่อค้นหาโปรตีนที่ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เมื่อวิเคราะห์ผลการทดลอง พบว่า mTORC2 และ tau อาจจะไม่ได้จับกันโดยตรง อย่างไรก็ตาม มีโปรตีนตัวกลางที่เกี่ยวข้องกับทั้ง mTORC2 และ tau โดยเฉพาะโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของเซลล์ คือ gelsolin, plectin, cytoplasmic dynein …


การศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ภัทรพร นิ่มเสมอ Jan 2017

การศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอสำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ภัทรพร นิ่มเสมอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคมะเร็งตับเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สามารถพบได้ทั่วโลกและมีอัตราการตายเป็นอันดับต้นๆของโลก สาเหตุหลักที่พบเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับส่วนใหญ่จะได้รับการวินิจฉัยในระยะท้ายของโรค ส่งผลให้มีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ในปัจจุบันไมโครอาร์เอ็นเอมีบทบาทสำคัญในกระบวนการต่างๆภายในร่างกาย รวมทั้งการเกิดมะเร็ง เพราะฉะนั้นจึงสนใจศึกษาระดับการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอในซีรั่มที่มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยทำการวิเคราะห์รูปแบบการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอด้วยเทคนิค NanoString จากนั้นทำการวัดระดับการแสดงออกของตัวแทนไมโครอาร์เอ็นเอ ได้แก่ miR-21-5p และ miR-125b-5p ในชิ้นเนื้อจำนวน 22 ตัวอย่าง และในซีรั่มของกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี 50 ราย กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 92 ราย และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี 98 ราย ด้วยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์ ผลการศึกษาพบว่า miR-21-5p มีแนวโน้มการแสดงออกสูงขึ้นในชิ้นเนื้อบริเวณส่วนที่เป็นมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณข้างเคียง (P=0.068) นอกจากนั้น miR-21-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีการแสดงออกสูงกว่าในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี และกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (P=0.0019 และ P<0.001 ตามลำดับ) ในขณะที่การแสดงออกของ miR-21-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี (P=0.2332) ในทางตรงกันข้าม miR-125b-5p มีการแสดงออกที่ลดลงในชิ้นเนื้อบริเวณส่วนที่เป็นมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบกับบริเวณข้างเคียง (P=0.0391) เช่นเดียวกับการแสดงออกของ miR-125b-5p ในซีรั่มของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี พบว่ามีระดับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี (P=0.0234 และ P<0.001 ตามลำดับ) จากการวิเคราะห์ Receiver operating characteristic (ROC) พบว่าพื้นที่ใต้กราฟของการใช้ miR-125-5p ร่วมกับ alpha fetoprotein (AFP) มีค่าเท่ากับ 0.94 ซึ่งสูงกว่าการใช้ AFP หรือ miR-125b-5p เพียงอย่างเดียว ดังนั้น miR-125b-5p และ AFP น่าจะมีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับระยะแรกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี


ดีเอ็นเอเมทิลเลชันในเม็ดเลือดขาวและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นิภาภรณ์ ธีระวัฒนพงศ์ Jan 2017

ดีเอ็นเอเมทิลเลชันในเม็ดเลือดขาวและเซลล์เยื่อบุข้อของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, นิภาภรณ์ ธีระวัฒนพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการอักเสบเรื้อรังภายในข้อทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพ และมีการงอกของเนื้อกระดูกบริเวณขอบข้อ และการอักเสบบริเวณเยื่อบุข้อ โดยพบมากในผู้สูงอายุ กระบวนการอักเสบภายในข้อของผู้ป่วยมีผลต่อการความไม่สมดุลของจีโนม การแสดงออกของยีนภายในร่างกาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมของ DNA methylation ผ่านกลไกของ epigenetics อย่างไรก็ตามการศึกษา LINE-1 methylation กับระดับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมยังมีจำนวนน้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดระดับ LINE-1 methylation และความยาวเทโลเมียร์ (relative telomere length, RTL) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และศึกษาผลของ tumor necrosis factor-α (TNF-α) ภาวะเครียดออกซิเดชัน (H2O2) และสารต้านอนุมูลอิสระ (tocopheryl acetate, TA) ต่อระดับ LINE-1 methylation ในเซลล์เยื่อบุข้อ รวมถึงระดับการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคข้อเสื่อม โดยวิเคราะห์ระดับ LINE-1 methylation ด้วย combined bisulfite restriction analysis (COBRA) LINE-1 และวัดระดับการแสดงออกของยีนและ RTL ด้วย quantitative real-time polymerase chain reaction (qRT-PCR) ผลการศึกษาพบระดับ LINE-1 methylation ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P=0.008) นอกจากนี้ LINE-1 methylation (r = -0.300, P <0.001) และความยาวเทโลเมียร์ (r = -0.361, P < 0.01) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับระดับความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมโดยเกณฑ์ภาพถ่ายรังสี Kellgren-Lawrence (KL) grading แต่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับข้อมูลทางคลินิก แบบประเมิน VAS scores, KOOS, WOMAC และ Lesquense index ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และระดับ LINE-1 hypomethylation ในเซลล์เม็ดเลือดขาวส่งผลต่อความเสี่ยงของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=1.97; 95%CI 1.11-3.49; P=0.02) ส่วนเซลล์เยื่อบุข้อมีระดับ LINE-1 methylation แนวโน้มต่ำลงในระยะเวลา 1 วัน หลังจากได้รับ 10 ng/ml TNF-α, 100 µM H2O2 และ pre-treatment ด้วย 50 µM TA ในทางกลับกันเซลล์เยื่อบุข้อในกลุ่มที่ได้รับ 10 ng/ml TNF-α มีระดับการแสดงออกของยีน IL-1ß, IL-6, MMP-3 และ VEGF สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ผลการศึกษานี้ทำให้สรุปได้ว่า LINE-1 methylation อาจมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการอักเสบและอาจนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้การดำเนินไปของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม