Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 241 - 270 of 2101

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้สูงอายุที่เป็นวัณโรคปอด, ยุวรีย์ พาลี Jan 2022

ผลของการให้คำปรึกษาการเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ในผู้สูงอายุที่เป็นวัณโรคปอด, ยุวรีย์ พาลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ในผู้สูงอายุที่เป็นวัณโรคปอดระหว่างกลุ่มที่ได้รับคำปรึกษาการเลิกบุหรี่กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นวัณโรคปอดที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ และระดับการติดนิโคติน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับคำปรึกษาการเลิกบุหรี่ ซึ่งประกอบด้วย การให้คำแนะนำการเลิกบุหรี่แบบกระชับเกี่ยวกับวิธีการเลิกบุหรี่ ติดตามอาการถอนนิโคติน และการส่งต่อกลุ่มตัวอย่างให้รับการบำบัดจากสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสูบบุหรี่ แบบสอบถามการติดนิโคติน แบบประเมินพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. ภายหลังการได้รับคำปรึกษาการเลิกบุหรี่ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่สูงกว่าก่อนได้รับคำปรึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) 2. ภายหลังการได้รับคำปรึกษาการเลิกบุหรี่ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05)


หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน, อชิรญา ปลอดอักษร Jan 2022

หมอนรองหน้าอกเพื่อลดอาการปวดต้นคอหลังการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน, อชิรญา ปลอดอักษร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่องกล้องทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) เป็นหัตถการมาตรฐานสำหรับการตรวจประเมินและรักษาโรคของท่อน้ำดีและตับอ่อน นิยมจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนคว่ำ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจำเป็นต้องหมุนศีรษะไปทางด้านขวา 80 องศาตลอดระยะเวลาทำหัตถการ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดคอหลังทำการส่องกล้องได้ และในปัจจุบันยังไม่มีอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับช่วยจัดท่าผู้ป่วยเพื่อลดอาการปวดคอ ในงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุบัติการณ์การปวดคอของผู้ป่วยหลังเข้ารับการส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน และประเมินความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้อง โดยสุ่มผู้ป่วยทั้งหมด 250 ราย แบ่งเป็นกลุ่มใช้หมอนรองหน้าอก 125 ราย และกลุ่มควบคุม 125 ราย หมอนที่ถูกออกแบบตามหลักการยศาสตร์ช่วยทำให้เกิดการหมุนของกระดูกสันหลังส่วนอก เพื่อชดเชยการทำงานของกระดูกสันหลังส่วนคอ ผู้วิจัยเข้าประเมินอาการปวดคอของผู้ป่วยก่อนการทำ ERCP, หลังการทำ ERCP 1 ชั่วโมง, 1 วัน และ 7 วัน โดยใช้ Visual analog scale (0-10) รวมถึงความยากในการสอดกล้องและความพึงพอใจของแพทย์โดยใช้แบบประเมินคะแนน 0-10 ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์อาการปวดคอหลังการทำ ERCP 1 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสองกลุ่ม โดยในกลุ่มใช้หมอนพบร้อยละ 19.2 และในกลุ่มควบคุมพบร้อยละ 30.4 (p = 0.041) อาการปวดคอระดับปานกลางถึงรุนแรงในกลุ่มควบคุมสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.032) ความยากในการสอดกล้องและความต้องการในการยกไหล่ของผู้ป่วยขณะทำหัตถการลดลงในกลุ่มใช้หมอน (p = 0.001 และ p = 0.002 ตามลำดับ) แม้ว่าการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยระหว่างสองกลุ่มจะไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.082) อย่างไรก็ตามคะแนนความพึงพอใจของแพทย์ผู้ส่องกล้องในกลุ่มใช้หมอนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)


ผลของการใช้สารยับยั้งการทำงานของสติง (Isd-017) ต่ออาการของโรคแอสแอลอีในโมเดลสัตว์ทดลองโรคลูปัส, อิสรา อาลี Jan 2022

ผลของการใช้สารยับยั้งการทำงานของสติง (Isd-017) ต่ออาการของโรคแอสแอลอีในโมเดลสัตว์ทดลองโรคลูปัส, อิสรา อาลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รายงานก่อนหน้านี้ได้อธิบายถึงการมีส่วนร่วมของ Fc gamma receptor IIb (Fcgr2b) ในการพัฒนาโรค systemic lupus erythematosus (SLE) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการส่งสัญญาณที่เพิ่มสูงขึ้นของอินเตอเฟียรอน ชนิดที่ 1 (type I interferon) โดยการขาดยีน stimulator of interferon genes (STING) ในหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b สามารถช่วยรักษาฟีโนไทป์ของโรคลูปัสได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการรักษาของสารยับยั้ง STING (ISD017) เปรียบเทียบกับยาที่ใช้เป็นมาตรฐานในการรักษา cyclophosphamide (CYC) ในการบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคลูปัสในหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b (Fcgr2b-deficient) ที่มีสภาวะ proteinuria และมีการแสดงออกถึง autoantibody นอกจากนี้เราตั้งเป้าที่จะประเมินผลกระทบของการรักษาต่อฟีโนไทป์ของโรคลูปัสด้วย โดยหนูทดลองอายุ 24 สัปดาห์ที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b จะถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ หนูทดลองที่ได้รับสารทดสอบ cyclophosphamide (25 mg/kg, intraperitoneal, 1 ครั้งต่อสัปดาห์) หนูทดลองที่ได้รับสารทดสอบ ISD-017 (10 mg/kg, intraperitoneal, 3 ครั้งต่อสัปดาห์) และหนูทดลองในกลุ่มควบคุมที่ถูกทดสอบด้วย PBS (intraperitoneal, 3 ครั้งต่อสัปดาห์) ซึ่งจะได้รับสารทดสอบเป็นระยะเวลาอีก 8 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการรักษา จะมีการเก็บตัวอย่างซีรัม ม้าม และไตของหนูทดลองเพื่อวิเคราะห์ฟีโนไทป์ของโรคลูปัส พบว่าหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b มีอัตราการรอดชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มที่ได้รับสารทดสอบ CYC และ ISD-017 เมื่อเปรียบกับหนูทดลองในกลุ่มควบคุม นอกจากนี้หนูทดลองทั้งสองกลุ่มยังแสดงอาการรุนแรงของไตอักเสบ (glomerulonephritis) น้อยกว่าหนูทดลองในกลุ่มควบคุมอีกด้วย ซึ่งจากการทดลองชี้ให้เห็นอีกว่า cyclophosphamide สามารถลด germinal center B cells (B220+GL-7+) ในขณะที่ ISD-017 สามารถลลด activated T cells (CD4+CD69+) ในหนูทดลองที่มีความบกพร่องของ Fcgr2b …


ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลมต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่, รัชนีกร พุ่มฉายา Jan 2022

ผลของการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลมต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่, รัชนีกร พุ่มฉายา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกออกกำลังกาย แบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลม และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียวต่อสมรรถภาพปอด และการเลิกบุหรี่ของผู้สูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูบบุหรี่ทั้งเพศชายและเพศหญิงอายุ 18-59 ปี ที่ได้รับคำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ จำนวน 24 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจด้วยกะบังลม และกลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยก่อนและหลังการทดลองผู้วิจัยทำการทดสอบสมรรถภาพปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และการเลิกบุหรี่ จากนั้นวิเคราะห์ผลทางสถิติ ด้วยการวิเคราะห์ ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (2x3) วิเคราะห์การทดสอบของครัสคาลและวัลลิส และสถิติไค-สแคว์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับ การหายใจด้วยกะบังลม และกลุ่มที่ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียว มีค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ ค่าปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที ค่าแรงดันการหายใจเข้าสูงสุด และค่าแรงดันการหายใจออกสูงสุด เพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนการทดลอง และมีคะแนนเฉลี่ยอาการถอนนิโคตินลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกับการหายใจ ด้วยกะบังลม และการฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพปอดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ลดอาการถอนนิโคติน และช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ


Standardization And Dna Barcoding Of Cannabis In Thailand And Pharmacological Properties Of Cannabis-Based Thai Traditional Medicine Formula Extract (Kealomkeasan), Kanittha Nakkliang Jan 2022

Standardization And Dna Barcoding Of Cannabis In Thailand And Pharmacological Properties Of Cannabis-Based Thai Traditional Medicine Formula Extract (Kealomkeasan), Kanittha Nakkliang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cannabis sativa L. subsp. Indica (Cannabaceae) has been used as a medicinal plant in various aspects. C. sativa has been part of Thai medicine for more than three centuries and its Ingredients in herbal medicine recipe. Kealomkeasan (KLKS) remedy is one of the Thai traditional medicines, consists of seven plants with an unequal part by weight (1:2:3:4:5:20:40) as follows: Cuminum cyminum L. fruits, Nigella sativa L. seeds, Foeniculum vulgare Miller fruits, Zingiber officinale Roscoe rhizomes, Plumbago indica L. roots, Cannabis sativa L. leaves and Piper nigrum L. seeds for relief of muscle pain and anti-inflammation. Recently, medical cannabis was officially …


Situation Analysis And Kap On Antimicrobial Use And Resistance Among Veterinarians And Broiler Poultry Farmers Of Nepal, Manoj Kumar Shahi Jan 2022

Situation Analysis And Kap On Antimicrobial Use And Resistance Among Veterinarians And Broiler Poultry Farmers Of Nepal, Manoj Kumar Shahi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The primary goal of this research was to assess the situation analysis and knowledge, attitude, and practices (KAP) of poultry practitioner veterinarians (PPV) and broiler poultry farmers (BPF) regarding antimicrobial use (AMU) and antimicrobial resistance (AMR) in Nepal. The study area covered approximately 88.1% of Nepal's poultry population. A total of 327 PPV from 56 districts and 500 BPF from 40 districts of seven provinces participated. AMU situation and demographic information were collected and analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis to determine associations between variables. Most PPV were male (85.0%) with a mean age of 31.9±7.8 years. Half …


In Vitro Inhibitory Effects Of Turmeric Extracts Against Biofilm Formation And Virulence Of Flavobacterium Oreochromis, Sirawich Ngernson Jan 2022

In Vitro Inhibitory Effects Of Turmeric Extracts Against Biofilm Formation And Virulence Of Flavobacterium Oreochromis, Sirawich Ngernson

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Flavobacterium oreochromis is an opportunistic bacteria and causative agent of columnaris disease that affects freshwater fish worldwide. To initiate infection, the bacteria are required to attach and form biofilm on the fish's skin. The bacteria cells in the biofilm then produce toxins that can degrade fish connective tissue, resulting in lesions and ulcers. This study aimed to evaluate the efficacy of turmeric (Curcuma longa L.) extract by three organic solvents (hexane, ethanol, and methanol) in biofilm inhibition and modulation of biofilm-associated genes of F. oreochromis. Turmeric extracts by three different organic solvents were tested for their ability to inhibit the …


ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น Jan 2022

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว แต่ยังพบว่าการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลไกการควบคุมการทรงตัว ผู้วิจัยจึงสนใจการฝึกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ vestibulo-ocular reflex pathway โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) และ การฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม YOGA+VSE (n=19) และ กลุ่ม YOGA (n=15) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกออกกำลังกาย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทดสอบ Berg Balance Score, Time Up and Go, การควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกาย (center of pressure) ขณะยืน และการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกาย (center of gravity) ขณะเดิน ก่อนเข้าร่วมการฝึก หลังเข้าร่วมการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ผลจากการศึกษา ภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนกลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) มีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) และภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายขณะเดิน 1 gait cycle และขณะเดินในช่วง single limb stance phase ของทั้งสองกลุ่มมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลจากการฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้จากค่าคะแนน Berg Balance Score ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการทดสอบ Time Up and Go ที่ลดลง สรุปผลการวิจัย กลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในมีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนลืมตาบนพื้นเรียบดีกว่ากลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบให้ผลไม่แตกต่างกันในการฝึกเพื่อเพิ่มความมั่นคงของร่างกายจากการควบคุมการทรงตัวขณะยืนและขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิงได้


ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19, ชนินาถ ชำนาญดี Jan 2022

ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19, ชนินาถ ชำนาญดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl Phenomenology ผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 จำนวน 16 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและบันทึกเทป ข้อมูลที่ได้นำมาถอดเทปแบบคำต่อคำและนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีการของโคไลซีย์ (Colaizzi) ผลการศึกษาวิจัยพบว่าประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 สรุปได้ 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ประสบการณ์การรับรู้อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 1.1) อาการแรกเริ่ม ไม่ได้คิดว่าจะเป็นไม่รู้ติดมาจากไหน 1.2) มันเหนื่อยมาก หายใจไม่ออก แทบทนไม่ไหว และ 1.3) ร่างกายไม่เหมือนเดิม มีผลตามมาภายหลังการเจ็บป่วย 2 .ประสบการณ์ในการเข้ารับการรักษา ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 2.1) รู้สึกโชคดี เข้าถึงการรักษา จึงรอดตาย 2.2) ถูกจำกัดให้อยู่แต่ในห้อง ทำกิจกรรมทุกอย่างบนเตียง 2.3) ได้รับการดูแลผ่านกล้องวงจรปิดและพูดคุยผ่านลำโพง และ 2.4) ได้รับการดูแลที่ขาดสัมพันธภาพกับผู้ดูแล 3. หลากอารมณ์ หลายความรู้สึกภายในใจ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย 3.1) กังวล กลัวว่าจะไม่รอด 3.2) รู้สึกว้าเหว่ โดดเดี่ยว และ 3.3) ปล่อยวาง ยอมรับและเข้าใจสภาพตามอายุที่เพิ่มขึ้น 4. ประสบการณ์ในการกลับเข้าสู่สังคม ภายหลังที่หายจากการเจ็บป่วย ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย4.1) ถูกรังเกียจ เดินหนี ไม่พูดคุย 4.2) ได้รับความห่วงใยและกำลังใจจากคนใกล้ตัว 4.3) ปรับตนเองในการดำเนินชีวิต เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 4.4) ใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น และ 4.5) คิดทบทวนเกี่ยวกับชีวิตในอนาคต ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 มากขึ้น โดยผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการปัญหาความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อโควิด-19และสามารถนำไปพัฒนาการพยาบาลแบบองค์รวม


ผลของการบริโภคฟักข้าวต่อระดับไตรเมทิลามีนเอ็นออกไซด์ในเลือดและการเกิดโรคหัวใจในหนูไตวายเรื้อรัง, ภานุมาศ เข้มแข็ง Jan 2022

ผลของการบริโภคฟักข้าวต่อระดับไตรเมทิลามีนเอ็นออกไซด์ในเลือดและการเกิดโรคหัวใจในหนูไตวายเรื้อรัง, ภานุมาศ เข้มแข็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนํา: ไตรเมทิลามีน (Trimethylamine) เป็นสารที่สร้างจากแบคทีเรียในลําไส้และเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง Trimethylamine N-oxide (TMAO) ซึ่งทําให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะในวิธีการทดลอง: หนูแรทเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์จํานวนกลุ่มละ 9 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม (Control) กลุ่มไตเรื้อรัง (chronic kidney disease) กลุ่มสารทดสอบฟักข้าว (Gac) กลุ่มสารทดสอบไลโคปีนและเบต้าแคโรทีน (STD) กลุ่มสารทดสอบฟักข้าวร่วมกับแบคทีเรีย B. longum และ L. salivarius (Synbiotic) และกลุ่มสารโปรไบโอติกควบคุม L. Casei (Lactobacillus Casei) โดยหนูกลุ่มทดสอบจะถูกเหนี่ยวนําให้เป็นไตวาเรื้อรังโดย Cisplatinและทุกกลุ่มได้รับอาหารเสริม choline เป็นระยะเวลา 15 สัปดาห์ ผลการทดลอง: พบว่าหนูกลุ่ม Synbiotic มีระดับ serum TMAO ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05)เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CKD รวมถึงยังพบการลดลงของเชื้อในกลุ่ม Proteobacteria ในลําไส้และลดการแสดงออกของเอนไซม์ Trimethylamine-(TMA) lyase ซึ่งจําเป็นต่อการสร้าง TMA อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าการเสริม Synbiotics ยังกระตุ้นการแสดงออกของ Zonula occludens type 1 (ZO-1) ซึ่งเป็น tight junction gene ที่บริเวณลําไส้ใหญ่ (Colon) อย่างมีนัยสําคัญ ในขณะที่การให้สารสกัดฟักข้าวเพียงอย่างเดียว หรือการให้โปรไบโอติกควบคุมไม่พบความเปลี่ยนแปลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่ม CKD สรุปผล: การเสริม Synbiotic ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดฟักข้าว และโปรไบโอติกชนิด B. longum และ L.salivarius ที่มีประสิทธิภาพในการลดการรั่วที่ผนังลําไส้ ช่วยลดเชื้อ Proteobacteria ในลําไส้หนู CKD ลดการแสดงออกของ TMA lyase enzyme เพิ่มการแสดงออกของ tight junction gene ZO-1 และสามารถลดระดับ serum TMAO ได้อย่างมีนัยสําคัญ หรือ การเสริม Synbiotic ซึ่งประกอบด้วยสารสกัดฟักข้าว และโปรไบโอติกชนิด B. longum และ L. salivarius สารถลดระดับ serum TMAO ในหนูโรคไตเรื้อรังได้อย่างมีนัยสําคัญมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังต่อไต


การพัฒนาโปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมในห้องสะอาดสำหรับยาฉีดด้วยแนวทางการประเมินความเสี่ยง, กิ่งกาญจน์ ศิริมัย Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมในห้องสะอาดสำหรับยาฉีดด้วยแนวทางการประเมินความเสี่ยง, กิ่งกาญจน์ ศิริมัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นใจต่อระดับความสะอาดของสภาพแวดล้อมในระหว่างกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทยาฉีด โดยควรต้องกำหนดให้มีโปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมอย่างเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์และอนุภาคสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ในการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมตามแนวทางการประเมินความเสี่ยงในห้องสะอาดสำหรับยาฉีดของแผนกบรรจุผลิตภัณฑ์ ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมา สภากาชาดไทย จำนวน 13 ห้อง แนวทางการจัดการความเสี่ยงคุณภาพอ้างอิงตาม International Council for Harmonization Q9 โดยใช้เครื่องมือ Risk ranking and filtering ในการประเมินและจัดระดับความเสี่ยงเพื่อกำหนดความถี่และตำแหน่งในการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อม สำหรับขั้นตอนการระบุความเสี่ยง มีการประเมินความเสี่ยงเพื่อค้นหาปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วย Fishbone diagram ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง ได้ทำการเลือกปัจจัยที่จะส่งกระทบผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ในแง่ของความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อน ปัจจัยที่นำมาพิจารณา ได้แก่ กิจกรรมการผลิต, ระยะเวลาที่มีการปฏิบัติงาน, ขั้นตอนกระบวนการผลิต, ความยากง่ายต่อการทำความสะอาดอุปกรณ์, ความถี่ในการทำความสะอาดและกำจัดเชื้อโรค, ข้อมูลประวัติแนวโน้มของการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อม, จำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงาน และการมีท่อเดรนหรือท่อน้ำในพื้นที่ ทั้งนี้เกณฑ์และคะแนนของแต่ละปัจจัยจะถูกกำหนดและประเมินโดยคณะทำงานประเมินความเสี่ยง เพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงและจัดระดับได้เป็น 5 ระดับ แนวทางการประเมินความเสี่ยงนำไปสู่โปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมใหม่ ซึ่งมีความถี่ในการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ได้เป็นสัปดาห์ละครั้ง จำนวน 5 ห้อง สองสัปดาห์ครั้ง จำนวน 1 ห้อง และสามเดือนครั้ง จำนวน 7 ห้อง สำหรับตำแหน่งและวิธีการทดสอบที่ประเมินได้ คือ Particle count 26 ตำแหน่ง, Volumetric air sampling 26 ตำแหน่ง, Settle plate 29 ตำแหน่ง และ Contact plate 33 ตำแหน่ง ในขั้นตอนการทบทวนความเสี่ยงพบว่าหลังจากเปลี่ยนโปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมใหม่ ผลการตรวจยังคงผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาจากการคำนวณ %Contamination recovery rate (CRR) พบว่ายังคงผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือระดับการปนเปื้อนในห้องสะอาด โดยรวมแล้วความสำเร็จของโปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และวิธีในการทดสอบตรวจติดตามสภาวะแวดล้อม อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญหลังจากที่จัดทำหรือปรับปรุงโปรแกรมการตรวจติดตามสภาวะแวดล้อมแล้วจะต้องมีการประเมินและปรับปรุงโปรแกรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าสภาวะแวดล้อมในพื้นที่สะอาดจะคงอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้และไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์


Predictors Of Fertility Quality Of Life In Infertile Patients Visiting Infertility Center In Kathmandu, Nepal : A Cross-Sectional Study., Shital Shakya Jan 2022

Predictors Of Fertility Quality Of Life In Infertile Patients Visiting Infertility Center In Kathmandu, Nepal : A Cross-Sectional Study., Shital Shakya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In Nepal, infertility is a rising reproductive health issue with an estimated prevalence of 15%. There are few studies on quality of life in infertile women, but none on quality of life in infertile men and women although infertility is a shared condition and has effects on couples. The study objective is to describe the various predictors of infertile patients seeking infertility treatment and find association between these predictors and the quality of life. A cross-sectional study using a self-administered disease specific FertiQoL questionnaire was conducted among 409 infertile men and women seeking infertility treatment in an infertility center in …


Effectiveness Of Urban Childcare Center Indoor Air Quality Management Program (Ucc-Iaq) On Building Related Symptoms Among Care Takes :A Quasi Experimental Study, Sudkhed Detpetukyon Jan 2022

Effectiveness Of Urban Childcare Center Indoor Air Quality Management Program (Ucc-Iaq) On Building Related Symptoms Among Care Takes :A Quasi Experimental Study, Sudkhed Detpetukyon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the effectiveness of the UCC-IAQ program in Thai childcare centers, focusing on BRS and indoor air pollution. It involves 81 childcare workers in Nonthaburi and Saraburi provinces, Over eight hours, air quality measurements were taken at ten settings. Data on BRS and building-related factors were collected via surveys. Statistically significant differences in pollution levels were not observed between the UCC-IAQ program's intervention and comparison groups. However, the intervention group experienced a significant decrease in BRS compared to the comparison group. Caretakers in rooms with rapid temperature variations had a 10.72 times higher likelihood of experiencing BRS (Adjusted …


Prevalence Of Betel Or Areca Nut (An) Use And Its Associated Factors Among Bhutanese Population Aged 15-69 Years Old : An Analysis Of National Health Data Of Non-Communicable Disease (Ncd) Survey In 2019, Tashi Penjor Jan 2022

Prevalence Of Betel Or Areca Nut (An) Use And Its Associated Factors Among Bhutanese Population Aged 15-69 Years Old : An Analysis Of National Health Data Of Non-Communicable Disease (Ncd) Survey In 2019, Tashi Penjor

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Although betel or areca nut use has less global attention and public health concern than smoked tobacco uses, but it is particularly one of a neglected public health problem in Bhutan in which the masticatory use of betel is rampant and epidemic. Its use is also directly infused in Bhutanese tradition and social fabric. There are currently no policies that specifically target the regulation and consumption of areca nut use and trade in Bhutan, while it is classified as carcinogenic to human by the WHO (International Agency for Research on Cancer, IARC) in 2004. Series of national surveys have …


A Cost-Utility Analysis Comparing Transcatheter And Surgical Pulmonary Valve Replacement Among Indonesia Patients With A History Of Newborn Right Ventricular Outflow Tract Correction, Andi Nurul Annisa Jan 2022

A Cost-Utility Analysis Comparing Transcatheter And Surgical Pulmonary Valve Replacement Among Indonesia Patients With A History Of Newborn Right Ventricular Outflow Tract Correction, Andi Nurul Annisa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Transcatheter pulmonary valve replacement (TPVR) was launched since 2000. It indicated for cardiac patients who have the right ventricular outflow tract obstruction (RVOT) and a prior surgery history. TPVR have a shorter hospital stay, fewer complications, and a less-invasive method. However, TPVR is more expensive than surgical pulmonary valve replacement (SPVR). This raises access concerns for low income countries. There are no cost-effectiveness studies in Indonesia, and limited efficiency evidence due to rare disorder. It is a challenge in building the appropriate access strategies. Therefore, this study aims to investigate the cost-utility, resulted in total costs, quality-adjusted life-years (QALYs), life-years …


Financial Feasibility Study Of Incremental Modified Drugs Development By Domestic Pharmaceutical Industry, Manthana Laichapis Jan 2022

Financial Feasibility Study Of Incremental Modified Drugs Development By Domestic Pharmaceutical Industry, Manthana Laichapis

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Thai pharmaceutical industry aims to achieve self-reliance in vaccines, drugs, and biologics as per the National Strategic Master Plan. Challenges include low research capacity and higher drug imports compared to domestic production. To promote self-reliance, more research on incrementally modified drugs (IMDs) is essential. This study analyzes the financial feasibility of developing IMD dosage forms for policy and investment decisions. A mixed-method approach, including type selection, investment models, cost structures, and financial analysis, was employed. Results favor sustained release, oro-dispersible tablet, and nasal spray formulations. IMD research and development took 7 to 13 years due to formulation complexity and …


Effects Of Supplemented Intra- And Extra-Cellular Trehalose On Cryopreservation Of Feline Oocytes, Saengtawan Arayatham Jan 2022

Effects Of Supplemented Intra- And Extra-Cellular Trehalose On Cryopreservation Of Feline Oocytes, Saengtawan Arayatham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Study 1 aimed at examining the effects of different stages of oocyte maturation and trehalose concentrations on freezing ability and developmental capability of feline oocytes. The immature and matured feline oocytes were cryopreserved and thawed. They were assessed for developmental competence. The effects of different concentrations of trehalose (0, 0.125, 0.25, 0.5, 1 M) on the freezing ability of feline oocytes were tested. The cryopreservation generally induced poor embryo development, while immature oocytes were more susceptible to cryodamage compared with the matured oocytes (P<0.05). Incubation of oocytes with high concentrations of trehalose (0.5, 1 M) significantly reduced the developmental competence. Optimal concentrations of trehalose during cryopreservation of immature and matured oocytes were different (0.125 M and 0.25 M, respectively). It is concluded that stages of meiotic maturation affected the freezing ability of feline oocytes. Optimal concentration of trehalose was differently required for immature and matured feline oocytes. Study 2 aimed at examining the effect of membrane-permeable trehalose on the freezing ability of feline oocytes matured in vitro. intracellular trehalose (trehalose hexaacetate; Tre-(OAc)6) was synthesized from trehalose precursor and subjected to spectroscopic characterization. The membrane permeability of the Tre-(OAc)6 was investigated by incubating oocytes with different concentrations of Tre-(OAc)6 (3, 15, and 30 mM) and optimum concentration and the toxicity of Tre-(OAc)6 were subsequently assessed. The effects of Tre-(OAc)6 on freezing ability in terms of apoptotic gene expression and developmental competence of in-vitro matured oocytes were examined, respectively. The Tre-(OAc)6 permeated into the ooplasm of cat oocytes in a dose- and time-dependent manner. The highest concentration of intracellular trehalose was detected when the oocytes were incubated for 24 h with 30 mM Tre-(OAc)6. For the toxicity test, incubation of oocytes with 3 mM Tre-(OAc)6 for 24 h did not affect maturation rate and embryo development. However, high doses of Tre-(OAc)6 (15 and 30 mM) significantly reduced maturation and fertilization rates (P < 0.05). In addition, frozen-thawed oocytes treated with 3 mM Tre-(OAc)6 significantly upregulated anti-apoptotic (BCL-2) gene expression compared with the control (0 mM) and other Tre-(OAc)6 concentrations (15 and 30 mM). Oocyte maturation in the presence of 3 mM Tre-(OAc)6 prior to cryopreservation significantly improved oocyte developmental competence in terms of cleavage and blastocyst rates when compared with the control group (P < 0.05). Our results lead us to infer that increasing the levels of intracellular trehalose by Tre-(OAc)6 during oocyte maturation improves the freezing ability of feline oocytes, albeit at specific concentrations. Study 3 aimed at examining the effects of combination of intra-cellular (Tre-(OAc)6) and extra-cellular (α,α-trehalose) trehalose on freezing ability of feline oocytes. Optimal concentrations of Tre-(OAc)6 (0, 1.5, and 3 mM) and trehalose (0, 0.125, 0.25, and 0.5 M) were investigated for cryopreservation of matured feline oocytes. The combination of the two optimal concentrations were subsequently examined. The results showed that 3 mM of Tre-(OAc)6 improved post-thawed developmental competence, while extra-cellular trehalose at 0.25 M significant enhanced freezing ability of feline oocytes (P<0.05). The combination of intra- and extra-cellular trehalose significantly improved developmental capability of frozen-thawed matured feline oocytes compared to non-trehalose control.


Evolution And Phylogenetic Studies Of Porcine Epidemic Diarrhea Virus And Porcine Deltacoronavirus In Thailand From 2008 To 2021, Christopher James Stott Jan 2022

Evolution And Phylogenetic Studies Of Porcine Epidemic Diarrhea Virus And Porcine Deltacoronavirus In Thailand From 2008 To 2021, Christopher James Stott

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

PEDV and PDCoV are recognized as important pathogens causing enteric disease in swine herds worldwide. During 2014-2015, several outbreaks of PEDV occurred in many provinces in Thailand, and the clinical signs were more severe than those of classical PEDV in Thailand during 2008-2012. Therefore, the new introduction of PEDV or mutated virus strains was suspected. In 2015, PDCoV was also reported in Thailand, making the situation of enteric disease in the Thai swine industry worse. Since genetic classification studies of PEDV and PDCoV had never been done in Thailand before, this study aimed to investigate the genetic diversity of PEDV …


Establishment Of Transplantation Platform For Delivering Mouse Induced Pluripotent Stem Cell-Derived Insulin-Producing Cells (Mips-Ipcs) For Diabetes Treatment, Hong Thuan Tran Jan 2022

Establishment Of Transplantation Platform For Delivering Mouse Induced Pluripotent Stem Cell-Derived Insulin-Producing Cells (Mips-Ipcs) For Diabetes Treatment, Hong Thuan Tran

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pancreatic beta-cell replacement is recognized for feasible type 1 diabetes (T1D) treatment. However, in post-transplantation, the autoimmune destruction incidentally attacks the activity and survival of beta-cells are reported in animal and human. To address these concerns, the generation of immortalized, biocompatible beta-cells, and the engraftment platform are insightfully investigated. The stepwise chemical process was used for in vitro Insulin-producing cells (IPCs) production from mouse gingival fibroblast-induced pluripotent stem cells (mGF-iPSCs). The real-time qRT-PCR, glucose stimulation C-peptide/Insulin secretion, immunostaining, and visible cell methods were examined during IPC differentiation. The encapsulated-IPC beads were loaded into subcutaneous pocket space via transplantation platform. Completed …


Anti-Proliferative And Apoptotic Effect Of Cannabinoids On Human Pancreatic Ductal Adenocarcinoma Xenograft In Balb/C Nude Mice Model, Quang Trung Le Jan 2022

Anti-Proliferative And Apoptotic Effect Of Cannabinoids On Human Pancreatic Ductal Adenocarcinoma Xenograft In Balb/C Nude Mice Model, Quang Trung Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Human pancreatic ductal adenocarcinoma (PDAC) is a highly malignant and lethal tumor of the exocrine pancreas. Cannabinoids extracted from the hemp plant Cannabis sativa have been suggested as a cancer therapy due to their anti-tumor effects on several human tumors. However, the anti-tumor effect of cannabinoids on human PDAC is still understudied. Therefore, the objective of the current study is to study the inhibition of proliferation and the induction of apoptosis potencies of cannabinoids in PDAC xenograft nude mice model. The human PDAC cell line (Capan-2) was subcutaneously injected into twenty-five nude mice. After tumor reached 200 mm3 in volume, …


Seroprevalence Of Lawsonia Intracellularis Antibody Among Swine Herds In Thailand, December 2021-March 2022, Thanh Nguyen Che Jan 2022

Seroprevalence Of Lawsonia Intracellularis Antibody Among Swine Herds In Thailand, December 2021-March 2022, Thanh Nguyen Che

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The gastrointestinal infectious diseases caused by bacteria have been a major problem in the Thai swine industry. Porcine proliferative enteropathy (PPE), also known as porcine ileitis, is an enteric infectious disease caused by Lawsonia intracellularis. Porcine ileitis has been an economic threat to the global pork production system due to various types of diarrheas. Serological diagnosis can be applied for determining pathogen-antibodies seroprevalence and the timing of L. intracellularis infection when introduced to the herd. A lack of serological data since 2009, as well as recent antibiotic usage restrictions, may have a negative impact on porcine ileitis seroprevalence in Thailand. …


เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา Jan 2022

เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายท่าดันพื้นเป็นท่ามาตรฐานในการออกกำลังกายแบบ compound movement ของกล้ามเนื้อช่วงบน การประเมินความล้าของผู้ปฏิบัติให้รวดเร็วและแม่นยำจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณกระแสประสาทและการรับรู้ขณะเกิดภาวะกล้ามเนื้อล้าขณะออกกำลังกายท่าดันพื้นในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Well-trained) และกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Un-trained) เพศชายอายุ 20-35 ปี โดยแบ่งกลุ่มละ 30 คน ทำการดันพื้นจนเกิดอาการล้าไม่สามารถดันพื้นต่อได้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม Well-trained มีจำนวนครั้งที่ดันพื้นมากกว่ากลุ่ม Un-trained อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ย 27.3±6.3 ครั้ง และ 18.2±4.3 ครั้ง (p=0.001) ตามลำดับ โดยในกลุ่ม Well-trained ความล้าที่วัดได้จากการลดลงของค่าความถี่มัธยฐาน (Delta median frequency, ∆MDF) ในกล้ามเนื้อ Pectoralis Major มีความสัมพันธ์กับ Visual numeric scale of fatigue (VNS-F) ในระดับสูง (r=-0.98, p<0.05) ส่วนกลุ่ม Un-trained การลดลงของ ∆MDF ในกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และกล้ามเนื้อ Upper Trapezius มีความสัมพันธ์กับ VNS-F ในระดับสูง r = -0.93, p<0.05 และ r = -0.86, p<0.05 ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มพบว่า ∆MDF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อค่า VNS-F มากกว่า 6 สรุปว่า ในการออกกำลังกายท่าดันพื้น ความสัมพันธ์ของภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทกล้ามเนื้อกับความรู้สึกล้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม แต่จะแตกต่างกันที่กลุ่มกล้ามเนื้อ โดยกลุ่ม Well-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดใหญ่ที่ใช้ในท่าดันพื้น ส่วนกลุ่ม Un-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดรองในท่าดันพื้น ดังนั้นในกลุ่ม Un-trained ควรเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และ Pectoralis Major ให้แข็งแรงก่อนเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อผิดมัดในการออกกำลังกายท่าดันพื้น


การศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ, กัณฐิกา สายปัญญา Jan 2022

การศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ, กัณฐิกา สายปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ในการรวบรวมฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนการจัดบริการ หัวหน้าพยาบาลเป็นผู้กำหนดแผนการจัดบริการทางการพยาบาลและถ่ายทอดนโยบายมาสู่พยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลและผู้จัดการพยาบาล ในการคัดเลือกสถานที่ จัดเตรียมเอกสาร เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2) ด้านการจัดการโครงสร้าง หัวหน้าพยาบาลเป็นผู้จัดโครงสร้างขององค์การ โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และจัดอัตรากำลังโดยผู้จัดการพยาบาล รวมถึงมีการจัดโครงสร้างของหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโดยพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 3) ด้านการบริหารจัดการบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกอบรม การมอบหมายหน้าที่ การปฐมนิเทศ และการจัดสวัสดิการและจูงใจการทำงานให้แก่บุคลากรทางการพยาบาล 4) ด้านการควบคุมกำกับการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย การควบคุมกำกับการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยหัวหน้าทีมการพยาบาล การควบคุมกำกับและป้องกันการติดเชื้อในการปฏิบัติงานโดยผู้จัดการพยาบาล และการควบคุมกำกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการพยาบาลโดยหัวหน้าทีมการพยาบาล 5) ด้านการติดต่อสื่อสารและประสานงาน ประกอบด้วย การติดต่อภายใน และภายนอกหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง 6) ด้านการรายงาน ผู้จัดการพยาบาลเป็นผู้รายงานสถานการณ์ปัญหาและยอดผู้ป่วยในแต่ละวันให้หัวหน้าพยาบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ 7) ด้านงบประมาณ หัวหน้าพยาบาลมีการบริหารจัดการให้มีค่าเสี่ยงภัย และจัดสรรเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอและพร้อมใช้


ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต, ชุติมาพร โกมล Jan 2022

ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต, ชุติมาพร โกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ร่วมกับการบันทึกเทป การสังเกต การจดบันทึกภาคสนาม จำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์เนื้อหาตาม van Manen (1990) ผลการศึกษา ประสบการณ์ของพยาบาลในการดูแลผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยวิกฤต พบมี 5 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การดูแลผู้ที่ติดเชื้อด้วยความรู้สึกหลากหลายเพราะโควิดเป็นโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 1.1) เหมือนอยู่ในสมรภูมิรบ 1.2) เป็นความเครียด มีความกดดัน เพราะเป็นการดูแลที่ไม่คุ้นเคย 1.3) กลัวติดเชื้อจากผู้ป่วย 1.4) รู้สึกหดหู่ใจเพราะผู้ป่วยตายทุกวัน 1.5) ตื่นเต้น วุ่นวายในการช่วยชีวิตผู้ป่วย 1.6) เหนื่อยกายหลังให้การดูแลแต่มีใจสู้ต่อ และ 1.7) ภูมิใจในตนเองที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ 2) การดูแลด้วยประสบการณ์เดิมผสานกับความรู้ใหม่ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 2.1) การดูแลผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจในท่านอนคว่ำ 2.2) เฝ้าระวังอาการและภาวะการหายใจ หากเปลี่ยนไปรายงานแพทย์ทันที 2.3) ป้องกันข้อต่อเครื่องช่วยหายใจไม่ให้เลื่อนหลุด 2.4) สังเกตน้ำยาล้างไตและสารน้ำที่ให้ผ่านเครื่อง Monitor และ 2.5) ใช้ Defibrillator แทนการ CPR เมื่อผู้ป่วยใส่ ECMO 3) การดูแลเอาใจใส่ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 3.1) การดูแลด้วยความเข้าใจ/ใช้สติ ให้กำลังใจและถามไถ่ความรู้สึก 3.2) เป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัว และ 3.3) วาระสุดท้ายต้องดูแลให้ได้ตามมาตรฐานและตอบสนองความต้องการของครอบครัว 4) ปัญหาและอุปสรรคของการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 4.1) ข้อจำกัดด้านการสื่อสารในทีมสุขภาพ และ 4.2) ข้อจำกัดด้านการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและครอบครัว 5) บทเรียนรู้ที่ได้รับจากการดูแลผู้ป่วย ประกอบด้วยประเด็นย่อย ดังนี้ 5.1) เกิดการเรียนรู้นำสู่การปรับปรุงตน 5.2) ผลของงานเกิดจากความทุ่มเทของทีม 5.3) ความรับผิดชอบในวิชาชีพและคุณค่าของการเป็นพยาบาลวิกฤติ และ …


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคใหม่ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง, ดุสิต กล่ำถึก Jan 2022

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในยุคใหม่ โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง, ดุสิต กล่ำถึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินยุคใหม่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และมีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และนำข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีของ Crist and Tanner ผลการศึกษา ประสบการณ์การเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินยุคใหม่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. ภูมิหลังและการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานใน ER ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 1.1) หลากหลายเหตุผลที่เข้ามาทำงานใน ER 1.2) เริ่มทำงาน เกิดความไม่มั่นใจต้องใช้เวลาในการปรับตัว และ 1.3) การเตรียมความรู้ในการดูแลผู้ป่วย 2. การปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 2.1) คัดกรองผู้ป่วยด้วยทักษะที่หลากหลาย 2.2) ดูแลผู้ป่วยในห้องสังเกตการ 2.3) ช่วยฟื้นคืนชีวิตโดยปฏิบัติตามเทคนิคที่ถูกต้อง 2.4) บริการรับและส่งต่อผู้ป่วย 2.5) ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉิน 2.6) บริการงานสาธารณภัย พร้อมโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นและ 2.7) บริการความรู้แก่สังคมเพื่อประโยชน์แห่งตนและผู้อื่น 3. ปัญหาหน้างาน บริหารจัดการโดยหัวหน้าเวร ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 3.1) บริหารอัตรากำลังให้เหมาะสม หากมีผู้ป่วยจำนวนมาก 3.2) สื่อสารให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจหากต้องรอตรวจนาน 3.3) ป้องกันความผิดพลาดการดูแล จึงต้องมีการตรวจสอบและทวนซ้ำและ 3.4) ระงับเหตุการณ์วุ่นวาย ต้องอาศัยหลายฝ่ายร่วมกัน 4. ผลของการปฏิบัติงานใน ER ประกอบด้วยประเด็นย่อยดังนี้ 4.1) เครียดจากการบริหารจัดการในงานยุคใหม่ 4.2) ขาดสมดุลระหว่างชีวิตกับงานที่ต้องปฏิบัติ และ 4.3) ความสุขเกิดขึ้นได้จากผู้ร่วมงานที่ดีและเต็มที่กับการดูแลผู้ป่วยจนปลอดภัย การวิจัยนี้ทำให้เข้าใจการเป็นพยาบาลหน่วยอุบัติและฉุกเฉินที่ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยและการบริหารจัดการ ซึ่งผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคนและพัฒนางานของหน่วยอุบัติและฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย Jan 2022

การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ไวรัส SARS-CoV-2 อาจส่งผลกระทบต่อต่อมใต้สมองและเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่ยังคงพบต่อเนื่องหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายหรือที่เรียกว่า "Long COVID-19 syndrome" อย่างไรก็ตามข้อมูลผลกระทบของไวรัสต่อต่อมใต้สมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความอัตราการเกิดความผิดปกติของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 วิธีการวิจัย: ศึกษาความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยในช่วง 1เดือนหลังจากการหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาสามัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยอาศัยการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ Fixed-dose glucagon stimulation test (FD-GST) เพื่อบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ Long COVID-19 syndrome ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัย 25 คน 18 คน (72%) มีความรุนแรงปานกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 7 คน (28%) เป็นกลุ่มผู้ป่วยรุนแรงน้อย พบความชุกของภาวะ Long COVID-19 ใน 80% ของผู้เข้าร่วมวิจัย ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบใน 12% ของผู้เข้าร่วมวิจัย จากการที่มีระดับของ GH ผิดปกติหลังทำ FD-GST และ 8% แสดงความผิดปกติของระดับ cortisol จาก FD-GST อย่างไรก็ตามไม่พบความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของ Long COVID-19 syndrome โดยอาศัย Piper Fatigue Scale (p=0.003) สรุป: หนึ่งเดือนหลังจากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 พบหลักฐานของความผิดปกติของต่อมใต้สมองร้อยละ 12 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับอาการเหนื่อยล้า การศึกษาแสดงหลักฐานของผลกระทบของไวรัสที่มีต่อต่อมใต้สมองและแสดงถึงความจำเป็นในการติดตามอาการและระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19


วัคซีนโควิด-19 และ การกำเริบของโรคสะเก็ดเงิน, การศึกษาแบบพรรณาเชิงตัดขวาง, กัณฐ์มณี วิรัตกพันธ์ Jan 2022

วัคซีนโควิด-19 และ การกำเริบของโรคสะเก็ดเงิน, การศึกษาแบบพรรณาเชิงตัดขวาง, กัณฐ์มณี วิรัตกพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา ลักษณะของผื่นที่กำเริบ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกำเริบของผื่น และความแตกต่างในการกำเริบของสะเก็ดเงินกับวัคซีนแต่ละชนิด วิธีการศึกษา : ทำการสำรวจผู้ป่วยที่มีรายชื่อเข้ารับการตรวจในคลินิกผิวหนังและสะเก็ดเงินของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2561-2564 ทั้งหมด 176 คน โดยใช้แบบสอบถามทางโทรศัพท์ เพื่อประเมินการกำเริบของผื่นในด้าน จำนวนของผื่น ความแดง ความคัน และชนิดของผื่นที่เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะของ self-report จากผู้ป่วย รวมถึงเก็บข้อมูลในด้าน อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย โรคประจำตัว ยาที่ใช้ในปัจจุบัน ชนิดวัคซีนที่ฉีด และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การตั้งครรภ์ และความเครียด ผลการศึกษา: พบการกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมด 28% จากผู้ป่วยทั้งหมด เมื่อแบ่งตามชนิดของวัคซีน พบการกำเริบของสะเก็ดเงินที่ 15% , 18% และ 15% สำหรับวัคซีนชนิด inactivated, viral vector และ mRNA ตามลำดับ โดยระยะเวลาการกำเริบของผื่นภายหลังการฉีดวัคซีนอยู่ที่ 1วัน- 14 วัน และผื่นดีขึ้นที่ 3 วัน- 4 เดือน โดยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการรักษา นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยจำนวน 1 คน ที่มีลักษณะผื่นเปลี่ยนจาก plaque type เป็น pustular type จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ของ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ชนิดของสะเก็ดเงิน โรคประจำตัว และยาที่ใช้ในปัจจุบัน กับการกำเริบของผื่นสะเก็ดเงิน รวมถึงไม่พบความแตกต่างระหว่างการกำเริบของสะเก็ดเงินกับชนิดของวัคซีน สรุปผล: การกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างชนิดของวัคซีนกับการกำเริบของผื่น โดยการกำเริบของสะเก็ดเงินภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 นั้นมักไม่รุนแรงและสามารถดีขึ้นได้เอง


การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต Jan 2022

การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกในแง่ความไว ความจำเพาะ และ AUC จาก กราฟ ROC ของการวินิจฉัยประโยคพูดไม่ชัดที่สร้างขึ้นจากลักษณะเด่นทางคลินิกและพยาธิสรีรวิทยา และประเมินด้วยเครื่องมือ ASR พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแม่นยำในการวินิจฉัยกับประสาทแพทย์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เข้ารับการบันทึกเสียงพูด 4 ประโยคที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพยัญชนะต้นที่แตกต่างกันตามการทำงานของกล้ามเนื้อการพูด และประเมินคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยค (error score of syllable) ด้วยเครื่องมือ ASR ได้แก่ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' แล้ววิเคราะห์ logistic regression analysis และ สร้างกราฟ ROC พร้อมทั้ง AUC เพื่อบอกความแม่นยำในการวินิจฉัย พร้อมทั้งให้ประสาทแพทย์วินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดจากไฟล์เสียงเดียวกัน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งจากทั้งสองเครื่องมือ โดยที่ AUC สูงที่สุดของเครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper'เท่ากับ 0.95 และ 0.89 ตามลำดับในการวิเคราะห์ประโยคเดียวกันที่เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโคนลิ้น เพดานอ่อนและคอหอย ในขณะที่ประสาทแพทย์มีความจำเพาะในการวินิจฉัยมากกว่า 0.9 แต่มีความไวที่ไม่แน่นอนตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 สรุป เครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' ASR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยแยกแยะอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกที่มีความรุนแรงน้อยออกจากเสียงพูดปกติ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ประโยคพูดที่มีความไม่ชัดชนิดสปาสติกมากที่สุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและสัทศาสตร์


การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา: เชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้มีการอุบัติขึ้นของสายพันธ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลก และมีจำนวนของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วเกิดการติดเชื้อสูงขึ้น การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในอาสาสมัครที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อนในประเทศไทยซึ่งมีความแตกต่างของรูปแบบการให้วัคซีนสูงมาก วิธีการทำการศึกษา: การศึกษานี้จัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยรวบรวมอาสาสมัครที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก โดยมีการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกและลำคอเพื่อทำการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคในอาสาสมัคร และทำการตรวจภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์โดยใช้ surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอน ณ วันวินิจฉัย และ 1 และ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ผลการศึกษา: การศึกษานี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 109 ราย โดยอาสาสมัคร 108 รายได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้นแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม โดยสายพันธุ์ก่อโรคที่พบมากที่สุดในอาสาสมัครคือเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) คิดเป็นร้อยละ 97.8 โดยระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ ณ วันวินิจฉัยพบว่ามีระดับการยับยั้งสูงสุดต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม (wild type) ตามด้วยสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) และโอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ1 และเมื่อทำการตรวจติดตามที่ 1 เดือนพบการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p=0.11) และการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ Omicron BA.2 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และเมื่อตรวจติดตามที่ 3 เดือนพบว่าระดับภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์คงที่ นอกจากนี้ในการศึกษานี้มีอาสาสมัครจำนวน 31 รายที่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนเข้ารับการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เดือนที่ 3 พบว่าระดับของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ที่เดือนที่ 3 ไม่แตกต่างกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น สรุป: การศึกษานี้ได้แสดงว่าระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำชนิดลบล้างฤทธิ์หรือแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 จะยังคงอยู่จนถึงอย่างน้อย 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันในระยะยาวและความต้องการในการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรที่ติดเชื้อต่อไป


การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ Jan 2022

การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อประเมินระดับภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเทียบกับผู้ที่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย AZD1222 ภายหลังจากที่ได้รับวัคซีนครบ โดยใช้อาสาสมัครเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อคือเป็นผู้ที่ติดเชื้อไวรัสหลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และกลุ่มเข็มกระตุ้นคือเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน AZD1222 หลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และวัดระดับภูมิคุ้มกันเป็น surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อ wild-type และ Omicron variant (BA.1) ที่ 3 และ 6 เดือนหลังจากติดเชื้อหรือหลังได้วัคซีนเข็มกระตุ้น อาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อ 25 ราย และกลุ่มเข็มกระตุ้น 25 ราย มีค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน คือ 97.87% (IQR 97.78%-97.94%) ในกลุ่มติดเชื้อและ 97.60% (IQR 94.6%-98%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.21) ในขณะที่ค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ที่ 6 เดือน คือ 97.68% (IQR 95.86%-97.92%) ในกลุ่มติดเชื้อสูงกว่า 92.6% (IQR 79.8%-97.9%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.04) โดยสรุป ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน ในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac สองครั้งและมีประวัติการติดเชื้อมีระดับใกล้เคียงและไม่ด้อยกว่ากับกลุ่มที่ได้รับ AZD1222 เข็มกระตุ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันที่ 6 เดือน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น