Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 271 - 300 of 2118

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Factors Association Of Discriminatory Attitudes Toward People Living With Hiv/Aids Among Adult Citizens In Myanmar : An Analysis Of 2015-2016 Myanmar Demographic And Health Survey, Pyae Phyo Thar Jan 2022

Factors Association Of Discriminatory Attitudes Toward People Living With Hiv/Aids Among Adult Citizens In Myanmar : An Analysis Of 2015-2016 Myanmar Demographic And Health Survey, Pyae Phyo Thar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Myanmar, a developing nation, is still among the countries with the highest prevalence of HIV infection. Misconceptions, stigmatisation, and discrimination towards people living with HIV/AIDS (PLHIV) are significant factors that contribute to the prevention, transmission, and treatment of HIV. So, PLHIV-related stigma and discrimination are pervasive issues that significantly undermine public health efforts to prevent the spread of HIV and provide support for those living with the PLHIV. Despite its importance, the stigma and discrimination issues are often overlooked in national responses to PLHIV. In Myanmar, there are limited studies on discrimination against people living with HIV/AIDS, and it requires …


ความชุกของพฤติกรรมเสพติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า, ณัฐณิชาช์ กมลเทพา Jan 2022

ความชุกของพฤติกรรมเสพติดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า, ณัฐณิชาช์ กมลเทพา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมเสพติดในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 107 คน เก็บข้อมูลเดือนพ.ย. 2565 – มี.ค. 2566 ด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสุขภาพ มาตรวัดบุคลิกภาพ แบบวัดอาการซึมเศร้า9Q การใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้บุหรี่/ยาสูบ การใช้สารเสพติด การพนัน และการเล่นเกม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสพติด (1) ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเกณฑ์ผิดปกติ 28%, ใช้แต่ไม่ผิดปกติ 15% และไม่ใช้ 57% (2) ใช้บุหรี่/ยาสูบในเกณฑ์ผิดปกติ 0.9%, ใช้แต่ไม่ผิดปกติ 15% และไม่ใช้ 84.1% (3) ใช้สารเสพติดเกณฑ์เสี่ยงสูง 0.9%, เสี่ยงต่ำ 1.9% และไม่ใช้ร้อยละ 97.2% (4) เล่นพนันเกณฑ์เสี่ยงสูง 1.9%, เสี่ยงปานกลาง 0.9%, เสี่ยงต่ำ 3.7% และไม่ใช้ 69.2% (5) เล่นเกมเกณฑ์ผิดปกติ 5.6%, เล่นแต่ไม่ผิดปกติ 25.2% และไม่เล่น 68.2% ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า(p < 0.05) ประวัติการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์(p < 0.05) แบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม(p < 0.05) และอาการแมเนีย โรคจิต (p < 0.01) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในการเล่นเกม ได้แก่ ศาสนา (p < 0.05) และลักษณะรายได้ (p < 0.01)


ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล Jan 2022

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดู และภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัดระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธัญชนก รัชตสิทธิกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดู ในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 256 คน จากมหาวิทยาลัยที่สุ่มเลือกมา 3 สถาบัน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ชุด ซึ่งจะวินิจฉัยกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนด้วย แบบสอบถาม Premenstrual Symptoms Screening Tool (PSST) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการเกิดกลุ่มอาการก่อนมีระดู ร้อยละ 31.3 และความชุกของการเกิดภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูร้อยละ 6.6 โดยจากการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาปัจจัยทำนาย พบว่ามี 6 ปัจจัยที่สามารถทำนายกลุ่มอาการก่อนมีระดูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีประวัติโรคประจำตัว (p = 0.006) อาการบวมน้ำในช่วงก่อนมีรอบเดือน (p = 0.036) อาการท้องเสียในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.022) อาการเวียนศีรษะในช่วงมีรอบเดือน (p = 0.012) ความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง (p = 0.035) และภาวะซึมเศร้า (p <0.001) จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความชุกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการก่อนมีระดูและภาวะอารมณ์แปรปรวนก่อนมีระดูในนักศึกษาฝึกงานกายภาพบำบัด ดังนั้นจึงควรตระหนักและให้ความสำคัญมากขึ้นกับอาการทางกาย อารมณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนมีรอบเดือน ในนักศึกษากายภาพบำบัดเพศหญิง


ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ภายหลังการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ปรวี วัฒนสิน Jan 2022

ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ภายหลังการเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), ปรวี วัฒนสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการปรับโครงสร้างองค์กรกระทบต่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ภาวะหมดไฟเป็นกลุ่มอาการทางสุขภาพจิตที่ใช้ในบริบทของงานเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเก็บข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจำนวน 358 ราย ในช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2565 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 4) แบบประเมินภาวะหมดไฟ (MBI-GS ฉบับภาษาไทย พัฒนาโดย ชัยยุทธ กลีบบัว ) การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติแบบพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะหมดไฟระดับปานกลางถึงสูง ในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การเมินเฉยต่องาน และความสามารถในงาน มีค่าร้อยละ 46.6, 63.7 และ 56.4 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ การมีอายุน้อย (p = 0.015) การเพิ่มขึ้นของหนี้สิน (p = 0.01) ความไม่พึงพอใจในตารางบิน (p = 0.012) การมีคุณสมบัติในการปฏิบัติการบินบนเครื่องบินน้อยแบบ (p = 0.007) ความรู้สึกมั่นคงในงานลดลง (p < 0.001) การมีปัญหานอนไม่หลับ (p = 0.041) การมีคะแนนความเครียดสูง (p < 0.001) และการมีสุขภาพจิตที่แย่ลง (p = 0.011) ปัจจัยทำนายด้านการเมินเฉยต่องาน ได้แก่ ตำแหน่งงานที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างาน (p < 0.001) ความไม่พึงพอใจในตารางบิน (p = 0.001) ความรู้สึกมั่นคงในงานลดลง (p < 0.001) การมีคะแนนความเครียดสูง (p < 0.001) และการมีสุขภาพจิตที่แย่ลง (p = 0.015) ในขณะที่ปัจจัยทำนายด้านความสามารถในงานมีเพียง ตำแหน่งงานที่ไม่ได้เป็นหัวหน้างาน (p < 0.001) จึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดไฟในพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สามารถออกเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และ ปัญหาหนี้สิน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน ได้แก่ ตารางปฏิบัติการบิน ความรู้สึกมั่นคงในงาน รวมทั้งแบบของเครื่องบินที่มีคุณสมบัติ และ ปัจจัยด้านสุขภาพจิต ได้แก่ ความเครียด ภาวะทางสุขภาพจิต และคุณภาพการนอนหลับ


ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, วิจิตราภรณ์ สมชัย Jan 2022

ความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์, วิจิตราภรณ์ สมชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเครียดมาจากหลายสาเหตุระหว่างที่เรียน ซึ่งหนึ่งในความเครียดหลักคือการสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลาย โดยนักเรียนจะเตรียมตัวและพยายามอย่างมากเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมปลายที่มีศักยภาพสูง เนื่องจากโรงเรียนดังกล่าวอาจช่วยให้พวกเขาได้เข้าสู่มหาวิทยาลัย คณะ และอาชีพในฝันดังที่ตั้งใจไว้ ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษาระดับความเครียดและความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยทำการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อเก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 312 คน ซึ่งเรียนกวดวิชาภายในตึกมาบุญครองและตึกสยามสเคปเพื่อสอบเข้าสอบโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ครอบครัว การเรียน การสอบแข่งขัน เพื่อนและสิ่งแวดล้อม และแบบวัดความเครียดสวนปรุงซึ่งเป็นแบบวัดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการวัดความเครียดของคนไทย ซึ่งในการศึกษานี้ผู้วิจัยเลือกใช้ฉบับปรับปรุงโดยชัยชนะ นิ่มนวล และภควัฒน์ วงษ์ไทย จำนวน 22 ข้อ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square test, Logistic regression, และ Independent t-test ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเครียดในระดับรุนแรงร้อยละ 62.82 รองลงมาคือระดับความเครียดสูง ระดับเล็กน้อยและระดับปานกลางเท่ากับร้อยละ 14.74, 12.50, และ 9.94 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ หนี้สินในครอบครัว ความสัมพันธ์กับครอบครัว การเรียนที่ส่งผลต่อความเครียด เหตุผลที่เลือกโรงเรียนเนื่องมาจากครอบครัวแนะนำให้สอบเข้า รวมถึงมาลองข้อสอบหรือมาสอบตามเพื่อน และระดับความพึงพอใจในการเตรียมตัวของตนเอง สำหรับปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดสูงของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนเพศหญิง ครอบครัวมีหนี้สิน การเรียนส่งผลต่อความเครียด ความพึงพอใจในการเตรียมตัวระดับปานกลาง และเหตุผลในการเลือกโรงเรียนคือการมาลองสอบหรือการมาสอบตามเพื่อน โดยสรุปแล้วนักเรียนกลุ่มนี้มีความเครียดระดับสูงถึงรุนแรงเนื่องจากการสอบแข่งขันเพื่อเข้าสู่โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีศักยภาพสูงมีความหมายต่ออนาคตของพวกเขา ดังนั้น ผู้เรียนเอง ครอบครัว เพื่อน ครู และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมดูสุขภาพจิตและคอยดูแลตรวจสอบเกี่ยวกับความเครียดของนักเรียนด้วย


ความสุขในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานของพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน), อัครวัฒน์ เมธีวีระโยธิน วุฒิวงศ์ Jan 2022

ความสุขในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการทำงานของพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน), อัครวัฒน์ เมธีวีระโยธิน วุฒิวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฎิบัติการ บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) จำนวน 365 คนโดยผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถามทั้งหมดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลด้านการทำงาน 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงาน 3) แบบสอบถามความผูกพันองค์กรวิเคราะห์ความสุขโดยสถิติเชิงพรรณาและตรวจสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานและความผูกพันกับองค์กรด้วย Chi-square test, Binary Logistic Regression และ Pearson’s correlation coefficient ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างพนักงานระดับปฎิบัติการบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ร้อยละ 85.8 มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และมีเพียงร้อยละ 2.5 ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากร้อยละ 48.5 และรองลงมาร้อยละ 45.8 มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกลุ่มที่มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.9 และกลุ่มผู้ที่มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด ปรากฏร้อยละ 3.8 พนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง จำนวน 322 คน พบว่าคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสุขใจในการทำงานทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (P<0.001) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (P<0.001) ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล (P<0.001) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (P<0.001) ด้านนโยบายและการบริหาร (P=0.011) ด้านสภาพการทำงาน (P=0.027) และด้านความสุขใจในการทำงานโดยรวม (P<0.001)และพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีความสุขใจในการทำงานอยู่ในเกณฑ์สูง จำนวน 43 คนนั้น พบว่าคะแนนเฉลี่ยความผูกพันต่อองค์กรมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสุขใจในการทำงานทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (P=0.003) ด้านความรับผิดชอบ (P=0.029) และด้านความสุขใจในการทำงานโดยรวม (P=0.001)


รายการสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, อัจฉรา ลอยบัณฑิตย์ Jan 2022

รายการสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, อัจฉรา ลอยบัณฑิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาล วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Methods research) ระยะที่ 1) เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาแบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แนวคำถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 12 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนและระยะที่ 2)เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative research) นำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือด้วย ผลการศึกษา : แบบสำรวจความปลอดภัยจากความรุนแรงในแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชในโรงพยาบาลเป็นข้อคำถามจำนวน 40 ข้อ แบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 4 ระดับคือ มีแล้ว มีบางส่วน ยังไม่มีแต่มีแผนแล้ว และไม่มี คุณภาพเครื่องมือของแบบประเมินอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม โดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ(Content Validity of Scale) เท่ากับ0.98 มีค่าความเชื่อมั่น(Reliability) ทั้งฉบับอยู่ในเกณฑ์ดี ค่าCronbach’s Alpha เท่ากับ 0.88 มีค่าCorrected Item – rest Correlation สูงกว่า.02 ทุกข้อ และมีค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) อยู่ในระดับสูง สามารถจำแนกระดับระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้ สรุป : รายการสำรวจฯ สามารถเครื่องมือที่ช่วยประเมินความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ก่อน และขณะปฏิบัติงาน และสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากความรุนแรงจากผู้ป่วยทั้งทางกายและจิตใจ


การศึกษาความคุ้มค่าจากการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของช่วงเวลาในการคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและได้รับยาต้านไวรัส, แสงดาว บุญกะยะ Jan 2022

การศึกษาความคุ้มค่าจากการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของช่วงเวลาในการคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและได้รับยาต้านไวรัส, แสงดาว บุญกะยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย: อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังแตกต่างกันตามปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย ในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและตรวจไม่พบระดับไวรัสในเลือดนั้นมีอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งตับ HCC ต่ำที่สุด วัตถุประสงค์ของงานวิจัย: การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าทางต้นทุน-ประสิทธิผลของการตรวจคัดกรองมะเร็งตับ HCC ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่ระยะเวลาแตกต่างกัน ได้แก่การตรวจคัดกรองปีละสองครั้ง, ปีละหนึ่งครั้ง และไม่ตรวจคัดกรองเลย ระเบียบวิธีวิจัย: ออกแบบแบบจำลองการวิเคราะห์การตัดสินใจ แบ่งการศึกษาเปรียบเทียบเป็น 3 วิธี คือการตรวจคัดกรองปีละสองครั้ง, การตรวจคัดกรองปีละครั้ง และไม่ตรวจคัดกรองเลย โดยจำลองระยะของมะเร็งตับที่ตรวจพบและการรักษามะเร็งตับในแต่ละวิธีการ ศึกษาต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ผลลัพธ์ทางสุขภาพคือปีชีวิตที่เพิ่มขึ้น, ปีสุขภาวะ, และอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อปีสุขภาวะ ผลการศึกษา: ต้นทุนรวมตรงทางการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับได้แก่ 0 บาทในกลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรอง, 20,709,000 บาทในกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละครั้ง และ 41,418,000 บาทในกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละสองครั้ง เมื่อใช้กลุ่มที่ไม่ได้ตรวจคัดกรองเป็นตัวเปรียบเทียบ ค่าอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อปีสุขภาวะของกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละครั้งเท่ากับ 3,912,304 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะ และค่าอัตราส่วนต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต่อปีสุขภาวะของกลุ่มที่ได้รับการตรวจคัดกรองปีละสองครั้งเท่ากับ 6,826,371 บาทต่อหนึ่งปีสุขภาวะ การตรวจคัดกรองทั้งสองวิธีการไม่มีความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเพดานที่เต็มใจจะจ่ายของไทยเท่ากับ 160,000 บาท สรุปผลการวิจัย: การตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังที่ไม่มีภาวะตับแข็งและตรวจไม่พบไวรัสในเลือดหลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งประกอบด้วยการทำอัลตราซาวด์และการตรวจระดับซีรั่มอัลฟ่าฟีโตโปรตีน ไม่มีความคุ่มค่าจากการวิเคราะห์ทางต้นทุน-ประสิทธิผล


ความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, กนกพร ยุตินทร Jan 2022

ความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, กนกพร ยุตินทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการวิจัย ในปลายปี 2019 เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) โดยอาการและภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และยังสามารถก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจต่างๆ รวมถึงการมีหัวใจเต้นผิดปกติ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางรูปแบบนั้นมีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม การศึกษาในไทยยังขาดข้อมูลที่ชัดเจน การวิจัยนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้ทราบถึงความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติกับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และรูปแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง รวบรวมเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี RT-PCR ร่วมกับมีอาการหรืออาการแสดงของโรค และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการเสียชีวิตในระหว่างนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือมีเครื่องกระตุ้นหัวใจจะถูกคัดออกจากการวิจัย ผลลัพธ์หลักคือความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติรูปแบบต่างๆ และผลลัพธ์รองคือรูปแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา จากผู้ป่วยทั้งหมด 180 ราย อายุเฉลี่ย 61.01 ± 16.17 ปี เพศชายร้อยละ 56 พบว่า ความชุกของผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติมีจำนวน 154 ราย (ร้อยละ 85.6) คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบได้บ่อย ได้แก่ การมีระยะ QT ยาวผิดปกติ (ร้อยละ 36.8), การมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (ร้อยละ 29.1), การเบี่ยงเบนลงของ ST segment (ร้อยละ 23.4), และการมี pathologic Q wave (ร้อยละ 19.5) ตามลำดับ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่างนอนโรงพยาบาลจำนวน 33 ราย (ร้อยละ 18.3) โดยพบว่าลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล ได้แก่ การมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (OR 7.86 95% CI 2.75-22.44 p-value <0.001), การเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วก่อนกำหนด (OR 5.06; 95% CI 1.29-19.78; p-value 0.02), การมีระยะ QTc ยาวผิดปกติ (OR 4.71; 95% CI 1.6-13.9; p-value 0.005), และการเบี่ยงเบนลงของ ST segment (OR 2.96; 95% CI 1.04-8.4; p-value 0.042) โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตจะมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างน้อยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง สรุป จากการวิจัยนี้พบว่า ความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อยู่ที่ร้อยละ 85.6 และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางรูปแบบมีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล


การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย Jan 2022

การติดตามการทำงานของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, กฤติน อู่สิริมณีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา: ไวรัส SARS-CoV-2 อาจส่งผลกระทบต่อต่อมใต้สมองและเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่ยังคงพบต่อเนื่องหลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยบางรายหรือที่เรียกว่า "Long COVID-19 syndrome" อย่างไรก็ตามข้อมูลผลกระทบของไวรัสต่อต่อมใต้สมองยังมีอยู่อย่างจำกัด วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความอัตราการเกิดความผิดปกติของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 วิธีการวิจัย: ศึกษาความผิดปกติของการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองในผู้ป่วยในช่วง 1เดือนหลังจากการหายจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาสามัครอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยอาศัยการตรวจระดับฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าและ Fixed-dose glucagon stimulation test (FD-GST) เพื่อบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมอง กับความรุนแรงของโรคโควิด-19 และภาวะ Long COVID-19 syndrome ผลการศึกษา: จากผู้เข้าร่วมวิจัย 25 คน 18 คน (72%) มีความรุนแรงปานกลางระหว่างการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และ 7 คน (28%) เป็นกลุ่มผู้ป่วยรุนแรงน้อย พบความชุกของภาวะ Long COVID-19 ใน 80% ของผู้เข้าร่วมวิจัย ภาวะพร่องฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบใน 12% ของผู้เข้าร่วมวิจัย จากการที่มีระดับของ GH ผิดปกติหลังทำ FD-GST และ 8% แสดงความผิดปกติของระดับ cortisol จาก FD-GST อย่างไรก็ตามไม่พบความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองส่วนหน้าอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนต่อมใต้สมองพบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการเหนื่อยล้าซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยของ Long COVID-19 syndrome โดยอาศัย Piper Fatigue Scale (p=0.003) สรุป: หนึ่งเดือนหลังจากการวินิจฉัยโรคโควิด-19 พบหลักฐานของความผิดปกติของต่อมใต้สมองร้อยละ 12 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับอาการเหนื่อยล้า การศึกษาแสดงหลักฐานของผลกระทบของไวรัสที่มีต่อต่อมใต้สมองและแสดงถึงความจำเป็นในการติดตามอาการและระดับฮอร์โมนในผู้ป่วยหลังติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ Jan 2022

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการในระยะแรกเริ่ม กับ การสะสมของโปรตีน อมิลอยด์ และ ทาว ในสมอง ตรวจด้วยเพท ในผู้ป่วยที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อยหรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย จากโรคอัลไซเมอร์, กิตติธัช บุญเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มอาการใด ที่สัมพันธ์กับผลตรวจเพท พบการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว สำหรับวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ ในอาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือสมองเสื่อมระยะมีอาการเล็กน้อย วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง อาสาสมัครที่มีความจำถดถอยระยะสูญเสียการรู้คิดเล็กน้อย หรือภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการเล็กน้อย ถูกคัดเลือกตามลำดับการตรวจจากคลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เก็บข้อมูลในรูปแบบการตอบแบบสอบถามโดยญาติหรือผู้ดูแลเกี่ยวกับอาการทางความจำในระยะแรกเริ่มของโรคอัลไซเมอร์ แบบสอบถามประกอบด้วย 7 คำถาม เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของอาการทางความจำเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน และ 6 คำถาม เกี่ยวกับความถี่ของอาการทางความจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หลังตอบแบบสอบถาม อาสาสมัครจะได้รับการตรวจเพท เพื่อวัดการสะสมของโปรตีนอมิลอยด์และทาว ในเนื้อสมอง อาสาสมัครที่มีทั้งอมิลอยด์และทาวสะสมมากผิดปกติในเนื้อสมอง (A+T+) จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างอาการทางความจำแต่ละอาการกับโรคอัลไซเมอร์ ผลการศึกษา: อาสาสาสมัครที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 50 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 72 (65-77) ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ 24 ราย (ร้อยละ 48) อาการทางความจำที่ถดถอยลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน 6 อาการ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ 1. ความจำเกี่ยวกับเรื่องราวที่พูดคุยกันเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.001) 2. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน (p = 0.005) 3. ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 1 เดือนก่อน (p = 0.026) 4. พูดหรือเล่าเรื่องในอดีตซ้ำๆ (p = 0.049) 5. ถามคำถามเดิมซ้ำๆ (p = 0.002) 6. หลงลืมสิ่งในชีวิตประจำวันที่จะต้องทำ เช่น ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแก๊ส (p = 0.049) อาการทางความจำที่มีความถี่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อวันในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา 5 …


การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต Jan 2022

การแยกแยะความผิดปกติของเสียงพูดชนิดสปาสติกในผู้ป่วยทางระบบประสาทออกจากเสียงพูดปกติ ด้วยการวิเคราะห์คลื่นเสียงด้วยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์, ชยุต มฤคทัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการวินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกในแง่ความไว ความจำเพาะ และ AUC จาก กราฟ ROC ของการวินิจฉัยประโยคพูดไม่ชัดที่สร้างขึ้นจากลักษณะเด่นทางคลินิกและพยาธิสรีรวิทยา และประเมินด้วยเครื่องมือ ASR พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแม่นยำในการวินิจฉัยกับประสาทแพทย์ วิธีการวิจัย ผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกจำนวน 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน เข้ารับการบันทึกเสียงพูด 4 ประโยคที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพยัญชนะต้นที่แตกต่างกันตามการทำงานของกล้ามเนื้อการพูด และประเมินคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยค (error score of syllable) ด้วยเครื่องมือ ASR ได้แก่ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' แล้ววิเคราะห์ logistic regression analysis และ สร้างกราฟ ROC พร้อมทั้ง AUC เพื่อบอกความแม่นยำในการวินิจฉัย พร้อมทั้งให้ประสาทแพทย์วินิจฉัยอาการพูดไม่ชัดจากไฟล์เสียงเดียวกัน ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยคะแนนความผิดพลาดของพยางค์แต่ละประโยคระหว่างกลุ่มผู้ป่วยพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ทั้งจากทั้งสองเครื่องมือ โดยที่ AUC สูงที่สุดของเครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper'เท่ากับ 0.95 และ 0.89 ตามลำดับในการวิเคราะห์ประโยคเดียวกันที่เป็นการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโคนลิ้น เพดานอ่อนและคอหอย ในขณะที่ประสาทแพทย์มีความจำเพาะในการวินิจฉัยมากกว่า 0.9 แต่มีความไวที่ไม่แน่นอนตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.74 สรุป เครื่องมือ 'Apple Siri™' และ 'Whisper' ASR มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือในการวินิจฉัยแยกแยะอาการพูดไม่ชัดชนิดสปาสติกที่มีความรุนแรงน้อยออกจากเสียงพูดปกติ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ประโยคพูดที่มีความไม่ชัดชนิดสปาสติกมากที่สุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยความรู้ทางพยาธิสรีรวิทยาและสัทศาสตร์


การศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ของ ยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับ ยาทา5%ไมนอกซิดิลในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง, ณัฐวรรณ ตันกิตติวัฒน์ Jan 2022

การศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ของ ยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับ ยาทา5%ไมนอกซิดิลในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง, ณัฐวรรณ ตันกิตติวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาและความปลอดภัยของยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน กับยาทา5%ไมนอกซิดิล ทาวันละ 2 ครั้ง ในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง นาน 24 สัปดาห์ และทดสอบความไม่ด้อยกว่าของผลยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งอ้างอิงกลางกระหม่อมศีรษะ วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสุ่มและทดสอบความไม่ด้อยกว่า ในผู้ป่วยโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิงที่มีอายุ 18-65 ปี จำนวน 44 ราย ซึ่งจะได้การรักษาเป็นยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัม หรือ ยาทา 5%ไมนอกซิดิล นาน 24 สัปดาห์ โดยประเมินผลการรักษาจากการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ (ค่าด้อยกว่าที่ยอมรับได้ไม่เกิน 5 เส้น/ตร.ซม), การเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมด และผลข้างเคียงของการรักษาประเมินจากประวัติ การตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษา: หลังได้รับการรักษา 24 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่และความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งในกลุ่มยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานและยาทาไมนอกซิดิล โดยกลุ่มยารับประทานทำให้ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 10.25% (P<0.001) และ ความหนาแน่นของเส้นผมทั้งหมดเพิ่มขึ้น 11.66% (P<0.001) ขณะที่ยาทาไมนอกซิดิลทำให้ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของเส้นผมเพิ่มขึ้น 8.86% (P<0.001) และ11.07% (P<0.001) ตามลำดับ และพบว่ายาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานไม่ได้ด้อยกว่ายาทาไมนอกซิดิลในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่ ค่าแตกต่างเฉลี่ยคือ 0.82 เส้นต่อ 1 ตารางเซนติเมตร 95%CI เป็น (-4.57,6.21) เส้นต่อตารางเซนติเมตร สำหรับผลข้างเคียงที่พบในทั้ง 2 กลุ่มเป็นผลข้างเคียงที่มีระดับความรุนแรงน้อย และพบการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตเฉลี่ยในทั้ง 2 กลุ่ม โดยพบหลังได้รับการรักษา 4 และ 12 สัปดาห์ และพบว่าเมื่อใช้ยาอย่างต่อเนื่องค่าความดันโลหิตเฉลี่ยจะกลับมาสู่ค่าใกล้เคียงเริ่มต้นที่ 24 สัปดาห์ ผลของอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ยพบการเปลี่ยนแปลงเฉพาะในกลุ่มของยาทา อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางด้านคลินิก สำหรับผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่พบการรายงานที่ผิดปกติ สรุปผล: ทั้งยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานขนาด 1.25 มิลลิกรัมต่อวัน และยาทา 5%ไมนอกซิดิล ทาวันละ 2 ครั้ง มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิงที่มีความรุนแรงระดับน้อยถึงปานกลาง หลังได้รับการรักษานาน 24 สัปดาห์ และยาไมนอกซิดิลชนิดรับประทานไม่ได้ด้อยกว่ายาทาไมนอกซิดิลในการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของเส้นผมขนาดใหญ่


อัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 วัน, ทรงเกียรติ ยอดที่รัก Jan 2022

อัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนและอัตราการนอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 วัน, ทรงเกียรติ ยอดที่รัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน (TAVI) ในปัจจุบันเป็นการรักษาที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นทางเลือกแทนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกในผู้ป่วยที่มีภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาผลลัพธ์ของอัตราความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน และผลลัพธ์ทางคลินิกในการศึกษาตามกลุ่มประชากรในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่ออัตราความสำเร็จการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมและผลลัพธ์ทางคลินิก และค่าใช้จ่ายของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยท่ได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนด้วยลิ้นหัวใจเทียมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ระหว่างเดือนมกราคม 2553 ถึงมิถุนายน 2565 โดยศึกษาอัตราความของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวนการเสียชีวิตภายในระยะเวลา 30 วัน การอยู่โรงพยาบาลมากกว่า 30 วัน หรือกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายในระยะเวลา 30 ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านทางสายสวน ผลลัพธ์: ผู้เข้าร่วม 180 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้อยละ 54.4 อายุเฉลี่ย 81±8 ปี คะแนนมัธยฐานของสมาคมศัลยแพทย์ทรวงอก (STS 7.2 ± 4.2 มีผู้เข้าร่วม 151 ราย คิดเป็นร้อยละ 84.4 ที่ประสบความสำเร็จจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่ายทางสายสวนโดยพบ 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.6 ในลิ้นหัวใจ Core valve 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.5 ในลิ้นหัวใจ Edwards Valve และ 52 ราย คิดเป็นร้อยละ 81.2 ในลิ้นหัวใจ Hydra valve ตามลำดับ ที่ 30 วัน มีผู้เสียชีวิต 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.8 เสียชีวิตภายใน 30 วัน หรือการนอนโรงพยาบาลนานกว่า 30 วัน หรือการส่งกลับโรงพยาบาลภายใน 30 วัน อยู่ที่ 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.4 ความดันเลือดผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Mean Aortic Valve Gradient) ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 43.5±14.6 เป็น 7.5±4.3 มิลลิเมตรปรอท …


การพัฒนารูปแบบการทำนายการเกิดชักในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมองแบบเพริออดิกดิสชาร์ต (Periodic Discharges), ทศพล สุรวัฒนาวงศ์ Jan 2022

การพัฒนารูปแบบการทำนายการเกิดชักในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมองแบบเพริออดิกดิสชาร์ต (Periodic Discharges), ทศพล สุรวัฒนาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาตัวทำนายอิสระใดที่มีผลในการทำนายการเกิดชักและนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการทำนายของการเกิดการชักในผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าสมอง เพริออดิกดิสชาร์ต (Periodic Discharges) วิธีการวิจัย: การศึกษานี้ได้รวบรวมผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2565 และรวบรวมข้อมูลอื่นๆ เช่น เพศ, โรคประจำตัว, Metabolic Derangement, ภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สมองมารวมกับข้อมูลของคลื่นไฟฟ้าสมอง และนำปัจจัยเหล่านั้นมาวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกและใส่ค่า β-coefficients หลังจากนั้นแบ่งประเภทระดับความเสี่ยงของการเกิดชักและประเมินความเที่ยงตรงภายในด้วยวิธี Bootstrap รายงานประสิทธิภาพด้วยค่า Discrimination และ Calibration ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 107 คนได้ถูกนำไปวิเคราะห์แบบ Multivariate analysis พบ 4 ตัวแปรอิสระที่มีผลต่อการเกิดชักโดยแบ่งออกเป็นปัจจัยป้องกันการชัก ได้แก่ ภาวะหัวใจล้มเหลว/โรคหลอดเลือดหัวใจ [ORadj 0.144 (95% CI 0.029, 0.704)], โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ขึ้นไป [ORadj 0.144 (95% CI 0.029, 0.704)] และปัจจัยที่ทำให้ชักมากขึ้น ได้แก่ คลื่นไฟฟ้าสมองเพริออดิกดิสชาร์ตที่มีความชุกแบบ Continuous [ORadj 5.037 (95% CI 1.116, 22.732)] และคลื่นไฟฟ้าสมองที่มีลักษณะ Burst Suppression [ORadj 8.66 (95% CI 0.937, 80.060)] ตัวแปรดังกล่าวได้ถูกนำมาแปลงเป็นคะแนนและแบ่งกลุ่มความเสี่ยงในการเกิดชัก สรุปการศึกษา: การศึกษาของเราได้สร้างรูปแบบการทำนายการเกิดชักในผู้ป่วยเพอริออดิกดิสชาร์ตเพื่อช่วยเหลือแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีทรัพยากรจำกัด


การศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ, ทัศน์พล เรามานะชัย Jan 2022

การศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ, ทัศน์พล เรามานะชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ (Primary PCI) ยังเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียก (STEMI) นอกจากนี้การประเมินการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจหลังทำหัตถการยังเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ (TIMI ≤ 2) สัมพันธ์กับอัตราตาย อัตราการเกิดหัวใจวาย และการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ซึ่งหนึ่งในวิธีประเมินการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่สามารถทำได้ง่ายกว่าคือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิด 12 ลีดโดยใช้ลักษณะของทีเวฟหัวกลับพบว่าสามารถใช้ทำนายความสำเร็จของการเปิดของหลอดเลือดหัวใจได้ ในทางกลับกันยังไม่มีการศึกษาว่าการตรวจไม่พบทีเวฟหัวกลับหลังการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิจะสัมพันธ์กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตรวจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดทีเวฟหัวกลับที่เกิดขึ้นใหม่กับการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่แย่ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิ ระเบียบวิจัย: การศึกษาย้อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม (Retrospective case control study) ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันชนิดเอสทียกซึ่งได้รับการรักษาด้วยการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดปฐมภูมิในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยเก็บข้อมูลลักษณะอาการทางคลินิก ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนและหลังทำหัตถการภายใน 24 ชั่วโมง ระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤต อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและที่ 30 วัน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจดี (TIMI flow = 3) และแย่ (TIMI flow ≤ 2) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 165 รายเป็นเพศชายร้อยละ 78.2 อายุเฉลี่ย 57 ± 12 ปี พบกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณผนังกล้ามเนื้อหัวใจส่วนล่าง (Inferior wall STEMI) มากที่สุดคิดเป็น 58.2% และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเจ็บหน้าอกจนถึงได้รับการเปิดหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ย 288.3 ± 203.2 นาที พบว่าผู้ป่วย 55 รายเป็นกลุ่มที่มี TIMI flow ≤ 2 และผู้ป่วย 110 รายมี TIMI flow = 3 ในจำนวนผู้ป่วยที่มี TIMI flow ≤ 2 มีผู้ป่วย 27 ราย (ร้อยละ 49.1) ตรวจไม่พบลักษณะทีเวฟหัวกลับจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจหลังทำหัตถการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มี TIMI flow =3 คือ …


ความผิดปกติของการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจในผู้ป่วยโควิด 19 ที่เคยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลและมีกลุ่มอาการหลังติดเชื้อโควิด 19, ธีรัตน์ ชาติละออง Jan 2022

ความผิดปกติของการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจในผู้ป่วยโควิด 19 ที่เคยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลและมีกลุ่มอาการหลังติดเชื้อโควิด 19, ธีรัตน์ ชาติละออง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome มีการตรวจพบความผิดปกติของคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจได้ถึง 1 ใน 3 แต่การศึกษายังมีจำนวนค่อนข้างน้อย อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาที่มีการติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือด วัตถุประสงค์การวิจัย : การศึกษานี้มีเพื่อศึกษาหาความชุกของความผิดปกติของหัวใจในผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome และทำการติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ 3 เดือนและ 6 เดือน วิธีการวิจัย : รูปแบบการวิจัยเป็น prospective cohort study ศึกษาในผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome จำนวน 81 คนที่เคยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และยังมีอาการของ Post-acute COVID-19 syndrome ผู้ป่วยได้รับการตรวจหาความผิดปกติของหัวใจโดยคลื่นความถี่สูงหัวใจที่ 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล โดยศึกษา left ventricular global longitudinal strain (LV-GLS) และ right ventricular free wall longitudinal strain (RV-FWLS) รวมถึง parameter อื่นๆที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลที่อาจเป็นปัจจัยในการตรวจพบความผิดปกติทางหัวใจ และติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ 3 และ 6 เดือน ผลการวิจัย : จำนวนประชากรทั้งหมด 81 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65 ปี เป็นเพศหญิง 54 คน (66%) โรคประจำตัวส่วนใหญ่ที่พบคือ ความดันโลหิตสูง 34 คน (42%) เบาหวาน 20 คน (24%) ความรุนแรงของโรค COVID-19 ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับรุนแรงน้อย เป็นจำนวน 59 คน (72%) และรุนแรงปานกลาง 21 คน (25%) อาการของ Post-acute …


การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ Jan 2022

การศึกษาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำในการยับยั้งเชื้อ Sars-Cov-2 สายพันธุ์ย่อย Omicron ในผู้ป่วยที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนและเกิดการติดเชื้อ, มณฑ์ปราชญ์ หาญผดุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา: เชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้มีการอุบัติขึ้นของสายพันธ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ได้เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลก และมีจำนวนของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วเกิดการติดเชื้อสูงขึ้น การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในอาสาสมัครที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อนในประเทศไทยซึ่งมีความแตกต่างของรูปแบบการให้วัคซีนสูงมาก วิธีการทำการศึกษา: การศึกษานี้จัดทำขึ้นที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยรวบรวมอาสาสมัครที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 และเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2565 ที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอก โดยมีการเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกและลำคอเพื่อทำการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อที่ก่อโรคในอาสาสมัคร และทำการตรวจภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์โดยใช้ surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอน ณ วันวินิจฉัย และ 1 และ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ผลการศึกษา: การศึกษานี้มีอาสาสมัครเข้าร่วมทั้งสิ้น 109 ราย โดยอาสาสมัคร 108 รายได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้นแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม โดยสายพันธุ์ก่อโรคที่พบมากที่สุดในอาสาสมัครคือเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) คิดเป็นร้อยละ 97.8 โดยระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำลบล้างฤทธิ์ ณ วันวินิจฉัยพบว่ามีระดับการยับยั้งสูงสุดต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม (wild type) ตามด้วยสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 (Omicron BA.2) และโอมิครอนสายพันธ์ย่อยบีเอ1 และเมื่อทำการตรวจติดตามที่ 1 เดือนพบการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p=0.11) และการเพิ่มขึ้นของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อสายพันธุ์ Omicron BA.2 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และเมื่อตรวจติดตามที่ 3 เดือนพบว่าระดับภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์คงที่ นอกจากนี้ในการศึกษานี้มีอาสาสมัครจำนวน 31 รายที่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นก่อนเข้ารับการตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เดือนที่ 3 พบว่าระดับของภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ที่เดือนที่ 3 ไม่แตกต่างกับกลุ่มอาสาสมัครที่ไม่ได้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น สรุป: การศึกษานี้ได้แสดงว่าระดับภูมิคุ้มกันสารน้ำชนิดลบล้างฤทธิ์หรือแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ต่อเชื้อ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยบีเอ2 จะยังคงอยู่จนถึงอย่างน้อย 3 เดือนหลังการติดเชื้อ ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับภูมิคุ้มกันในระยะยาวและความต้องการในการให้วัคซีนเข็มกระตุ้นในกลุ่มประชากรที่ติดเชื้อต่อไป


การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ Jan 2022

การศึกษาระดับภูมิคุ้มกันหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ใหญ่ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน, วราลี เติบศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นเพื่อประเมินระดับภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่หลังจากที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเทียบกับผู้ที่รับวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย AZD1222 ภายหลังจากที่ได้รับวัคซีนครบ โดยใช้อาสาสมัครเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อคือเป็นผู้ที่ติดเชื้อไวรัสหลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และกลุ่มเข็มกระตุ้นคือเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน AZD1222 หลังจากได้รับวัคซีน CoronaVac ครบ และวัดระดับภูมิคุ้มกันเป็น surrogate virus neutralization test (sVNT) ต่อ wild-type และ Omicron variant (BA.1) ที่ 3 และ 6 เดือนหลังจากติดเชื้อหรือหลังได้วัคซีนเข็มกระตุ้น อาสาสมัครบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อ 25 ราย และกลุ่มเข็มกระตุ้น 25 ราย มีค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน คือ 97.87% (IQR 97.78%-97.94%) ในกลุ่มติดเชื้อและ 97.60% (IQR 94.6%-98%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.21) ในขณะที่ค่ามัธยฐานของระดับ sVNT ที่ 6 เดือน คือ 97.68% (IQR 95.86%-97.92%) ในกลุ่มติดเชื้อสูงกว่า 92.6% (IQR 79.8%-97.9%) ในกลุ่มเข็มกระตุ้น (p=0.04) โดยสรุป ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อ wild-type ที่ 3 เดือน ในผู้ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac สองครั้งและมีประวัติการติดเชื้อมีระดับใกล้เคียงและไม่ด้อยกว่ากับกลุ่มที่ได้รับ AZD1222 เข็มกระตุ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันที่ 6 เดือน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น


การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการล้างมือของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนและหลังการใช้เครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วรินทิพย์ มหาพสุธานนท์ Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการล้างมือของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนและหลังการใช้เครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วรินทิพย์ มหาพสุธานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาของการศึกษา: การติดเชื้อในโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย การล้างมือเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดในการลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราการล้างมือของบุคคลากรทางการแพทย์ยังคงต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงมีการพัฒนาเครื่องมือในการติดตามการล้างมือเพื่อเพิ่มอัตราการล้างมือให้มากขึ้น วิธีการศึกษา: ทำการศึกษากึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบอัตราการล้างมือของบุคลากรก่อนและหลังการใช้เครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติ โดยระยะประเมินระบบมีการเปรียบเทียบอัตราการล้างมือกับการสังเกตโดยตรง และมีการวัดอัตราการล้างมือเบื้องต้นโดยใช้ระบบระบุตำแหน่ง ผลการศึกษา: ระบบเครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติมีความไวเท่ากับร้อยละ 85.19 (95%CI 75.71-94.88%) และมีความจำเพาะร้อยละ 92 (95%CI 84.48-99.52%) ตามลำดับในการตรวจสอบการล้างมือ โดยในการศึกษานี้มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 ราย เป็นพยาบาลวิชาชีพ 21 รายและผู้ช่วยพยาบาล 9 ราย พบว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วยเท่ากับร้อยละ 56.19 (95%CI 52.04-60.43%) และค่าเฉลี่ยของอัตราการล้างมือหลังสัมผัสผู้ป่วยเท่ากับร้อยละ 71.03% (95%CI, 67.67-74.44%) โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการล้างมือที่ได้จากระบบเครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนหน้านี้เท่ากับ 5.19% (95%CI, 0.69-9.70%, p=0.025) ก่อนการสัมผัสผู้ป่วยและสูงกว่า 20.03% (95%CI, 16.58-23.48%, p<0.001) หลังการสัมผัสผู้ป่วย อย่างไรก็ตามเมื่อนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้จากการประเมินด้วยตนเองจากแบบสอบถามก่อนเริ่มการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการล้างมือที่ได้จากระบบเครื่องตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการล้างมือที่ได้จากการประเมินด้วยตนเองเท่ากับ 16.31% (95%CI, 10.28-22.33%, p<0.001) ก่อนการสัมผัสผู้ป่วย และต่ำกว่า 18.97% (95%CI, 13.82-24.12%, p<0.001) หลังการสัมผัสผู้ป่วยตามลำดับ สรุปผล: การใช้ระบบตรวจสอบการล้างมืออัตโนมัติสามารถนำมาใช้เพื่อติดตามการล้างมือในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรมได้ และมีผลเพิ่มอัตราการล้างมือของบุคลากรในหอผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อเปรียบเทียบกับผลของการศึกษาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019, วุฒิชัย แซ่เฉิน Jan 2022

ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019, วุฒิชัย แซ่เฉิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและวัตถุประสงค์: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อจํานวนมาก โดยส่งผลกระทบทั้งทางสุขภาพทางกายและจิตใจ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเป็นวิธีที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูสุขภาพทางจิตใจและทางกายของผู้ป่วย แต่ด้วยข้อจำกัดการเข้าถึงระบบการรักษาดังกล่าวในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส จึงเป็นที่มาที่ทำให้เราตั้งใจศึกษาถึงผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกลที่มีการติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 วิธีการวิจัย: ผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 และผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมการศึกษา จะเข้าร่วมโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบทางไกล โดยจะได้รับคําแนะนําและสอนการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดจากแพทย์ผู้ทำการศึกษาและนักกายภาพบําบัดที่เกี่ยวข้องและนำไปฝึกและฟื้นฟูสมรรถภาพต่อที่บ้าน โดยจะมีการตรวจติดตามต่อเนื่องรายสัปดาห์ทางไกลผ่านการวิดีโอคอลและทางโทรศัพท์ ผลของการศึกษาจะถูกประเมินวันแรกที่เข้าร่วมการศึกษาและที่ 3 เดือนภายหลังเข้าร่วมการศึกษา ซึ่งได้แก่การประเมินคุณภาพชีวิตโดยแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล, ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันประเมินโดยคะแนนดัชนีบาร์เทลอินเด็กซ์, คะแนนระดับความเหนื่อยขณะประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วยโดยแบบประเมินโมดิฟาย บอร์ก สเกล และการประเมินสมรรถภาพทางกายโดยการวัดระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ในระยะเวลา 6 นาที ส่วนการประเมินสมรรถภาพปอดใช้วิธีสไปโรเมตรีย์ โดยผลของการศึกษาจะถูกนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษาในกลุ่มการศึกษาเดียวกันและเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีตที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดโดยวิธีการจับคู่ทางสถิติ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 15 คน ผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือน คุณภาพชีวิต ความสามารถในการดำเนินชีวิตและผลการประเมินสมรรถภาพทางกายและปอด มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการเข้าร่วมการศึกษา อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติของผลการศึกษาภายหลังเข้าร่วมการศึกษาครบ 3 เดือนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต ยกเว้นคะแนนคะแนนการประเมินสุขภาพทางตรงผ่านแบบสอบถามอีคิวไฟว์ดีไฟว์แอล ที่ประเมินโดยผู้เข้าร่วมการศึกษา มีแนวโน้มคะแนนที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มการศึกษา 96.6±6.95 เทียบกับ 87±9.02 ในกลุ่มการศึกษาที่ศึกษาย้อนหลังไปยังอดีต สรุปผล: ผลกระทบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากภาวะปอดอักเสบภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มที่ดีขึ้นภายหลังการเข้ารับการศึกษา โดยการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดมีแนวโน้มช่วยลดความรู้สึกเหนื่อยในผู้ป่วยกลุ่มเหล่านี้ได้ ซึ่งอาจส่งผลช่วยป้องกันความเหนื่อยล้าและอาการเหนื่อยที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะยาวได้


การศึกษาประสิทธิภาพของ ยาออแลนซาปีน,ออนแดนซิตรอน และเดกซาเมทาโซนโดยไม่ใช้ยาเดกซาเมทาโซนในวันที่ 2-3 เปรียบเทียบกับการใช้ออนแดนซิตรอนและเดกซาเมทาโซน ในวันที่ 1-3 ของรอบยาเคมี ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรโมดิฟายด์โฟลฟิริน็อกซ์, หทัยภัทร วีระวัฒนานันท์ Jan 2022

การศึกษาประสิทธิภาพของ ยาออแลนซาปีน,ออนแดนซิตรอน และเดกซาเมทาโซนโดยไม่ใช้ยาเดกซาเมทาโซนในวันที่ 2-3 เปรียบเทียบกับการใช้ออนแดนซิตรอนและเดกซาเมทาโซน ในวันที่ 1-3 ของรอบยาเคมี ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตรโมดิฟายด์โฟลฟิริน็อกซ์, หทัยภัทร วีระวัฒนานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาแก้อาเจียนสูตรต่าง ๆ ในผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดสูตร modified FOLFIRINOX เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมีความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดสูง การให้ยาสูตรที่ไม่มียา dexamethasone ในวันที่ 2-4 จึงอาจจะเหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมากกว่า ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของ สูตรยาป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน olanzapine, ondansetron และ dexamethasone โดยไม่ใช้ dexamethasoneในวันที่ 2-4 กับสูตรยา ondansetron และ dexamethasone ในวันที่ 1-4 ในผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร modified FOLFIRINOX วิธีดำเนินการวิจัย ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับอ่อนที่จะได้รับยา mFOLFIRINOX จะได้รับ ondansetron 3 วันและ dexamethasone 10 มก. ในวันที่ 1 ต่อมาจะถูกสุ่มแบบหนึ่งต่อหนึ่งให้ได้รับ olanzapine 5 มก. รับประทานวันละครั้งในวันที่ 1-4 หรือ dexamethasone 4 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้งในวันที่ 2- 4 ร่วมกับยาหลอก ผู้ป่วยทั้งหมดถูกข้ามไปรับการรักษาอีกชุดหนึ่งในรอบที่สอง โดยเป้าหมายหลักของการศึกษา คือ อัตราการตอบสนองสมบูรณ์ของอาการอาเจียนในช่วง 0-120 ชั่วโมงหลังได้รับยาเคมีบำบัดยา ผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เก็บรวมรวมอาสาสมัคร ตั้งแต่ 10 มกราคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566 มีผู้ป่วยได้ยาเคมีบำบัดครบทั้ง 2 รอบ ทั้งหมด 10 ราย จากการศึกษา พบว่า มีผู้ป่วยที่มีอัตราการตอบสนองสมบูรณ์ของอาการอาเจียนใน 0-120 ชั่วโมงหลังได้ยาเคมีบำบัด ของกลุ่มที่ได้ olanzapine 20% และในกลุ่ม dexamethasone 30% โดยไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 1.00) มีคนไข้ที่มีภาวะน้ำตาลสูงระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดในกลุ่ม olanzapine 80% ส่วนในกลุ่ม …


การศึกษาทดสอบความถูกต้องของปัจจัยที่ใช้พยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพในคนไทยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ, อภิชัย มาสุขใจ Jan 2022

การศึกษาทดสอบความถูกต้องของปัจจัยที่ใช้พยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพในคนไทยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ, อภิชัย มาสุขใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มาและความสำคัญ: ในประเทศไทยผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติโดยส่วนใหญ่ยังคงได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟาริน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ โดยค่าของ Time in therapeutic range (TTR) เป็นค่าที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้ยาวาร์ฟาริน ได้มีการพัฒนาคะแนน ACAChE ขึ้นมาเพื่อใช้ในการพยากรณ์ค่า TTR ที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามคะแนน ACAChE ยังไม่ได้มีการศึกษาทดสอบความถูกต้องภายนอกในกลุ่มประชากร วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อทดสอบความถูกต้องในการใช้คะแนน ACAChE ในการพยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ (ค่า TTR น้อยกว่าร้อยละ 65) ในกลุ่มการศึกษาที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติ ศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบกับคะแนน SAMe-TT2R2 ระเบียบวิธีวิจัย: ทำการศึกษาแบบทบทวนย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวบรวมผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากลิ้นหัวใจผิดปกติที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินในช่วงเวลา 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2565 โดยใช้วิธี Rosendaal เพื่อหาค่า TTR ของผู้ป่วย และ ใช้ค่า TTR ที่น้อยกว่าร้อยละ 65 เพื่อบ่งบอกถึงการใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ ใช้การวิเคราะห์ตัวแปรตาม ด้วย logistic regression analysis และใช้เส้นโค้ง ROC (Receiver Operating Characteristic) และพื้นที่ใต้กราฟ ROC เพื่อวัดประสิทธิภาพของคะแนน ผลการวิจัย: ผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะแบบสั่นระริกที่ไม่ได้เกิดจากสิ้นหัวใจผิดปกติที่ได้รับการรักษาด้วยยาวาร์ฟารินในงานวิจัยทั้งหมด 381 คน มีอายุเฉลี่ย 75.7 + 12.02 ปี เป็นเพศชาย 197 คน (ร้อยละ 51.7) มีค่า TTR เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 53.9 + 27.4 และมีผู้ป่วย 245 ราย (ร้อยละ 64.3) ที่มีค่า TTR น้อยกว่าร้อยละ 65 จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการพยากรณ์การใช้ยาวาร์ฟารินที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ พบว่า ประวัติการมีภาวะหัวใจล้มเหลว เบาหวาน การใช้ยาต้านเกล็ดเลือดร่วมกับยาวาร์ฟาริน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวการณ์ทำงานของตับบกพร่อง …


The Effect Of High Dose Ascorbic Acid And High Dcad Administration On Oxidative Stress And Mammary Gland Function Of Dairy Goat Fed Under Tropical Condition, Sapon Semsirmboon Jan 2022

The Effect Of High Dose Ascorbic Acid And High Dcad Administration On Oxidative Stress And Mammary Gland Function Of Dairy Goat Fed Under Tropical Condition, Sapon Semsirmboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High ambient temperature (HTa) increased the respiration rate (RR) and rectal temperature (Tr) of dairy goats. The excess response resulted in acid-base imbalance, electrolyte imbalance, and systemic oxidative which could indirectly affect the mammary gland. Besides, HTa did directly alter cell function, and this has been proposed to be mediated by oxidative stress. We previously showed that high dietary cation and anion differences (DCAD) could decrease the HTa effect. In dairy cows, a high dose ascorbic acid (Asc) has been used to decrease oxidative stress. Then, It was hypothesized whether mammary gland function could be altered when the HTa was …


Effects Of Fingerroot (Boesenbergia Rotunda) Powder On Egg Performance, And Quality, Egg Yolk Malondialdehyde In Laying Hens, Miftah Nurfarid Jan 2022

Effects Of Fingerroot (Boesenbergia Rotunda) Powder On Egg Performance, And Quality, Egg Yolk Malondialdehyde In Laying Hens, Miftah Nurfarid

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to determine the effect of fingerroot powder supplementation on the performance of laying hens, egg quality, and malondialdehyde in the egg yolk. A total of 192 Hy-Line brown laying hens aged 43 weeks were divided into four treatment groups with 48 hens in each group (8 replicates; 6 birds each). The treatments were the control (basal diet), basal diet supplemented with vitamin E at 250 mg/kg, basal diet plus 20 g fingerroot powder/kg, and basal diet plus 40 g fingerroot powder/kg. Performance parameters were analyzed in the following two experimental period: 1 to 3 week and 4 …


Correlation Of The Classical Swine Fever (Csf) Antibody Levels Detected By Serum Neutralizaton And Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (Elisa), Chairani Ridha Maghfira Jan 2022

Correlation Of The Classical Swine Fever (Csf) Antibody Levels Detected By Serum Neutralizaton And Enzyme-Linked Immunosorbent Assay (Elisa), Chairani Ridha Maghfira

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Classical swine fever is an important viral disease that has a devastating impact on the swine industry. The Enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) provides a simpler and more practical approach to detect classical swine fever virus (CSFV) antibodies compared to the serum neutralization (SN) test. However, antibody responses detected by ELISA cannot directly exhibit a protective level. This study aimed to evaluate the correlation of classical swine fever antibody responses detected by SN assay and commercial ELISA. A total of 522 negative and positive serum samples were tested by the SN and ELISA. Correlation, an agreement between two assays, and comparisons …


Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol Jan 2022

Effects Of Chitosan Oligosaccharide And Probiotics On Chronic Kidney Disease Rats, Weerapat Anegkamol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chronic kidney disease (CKD) patients suffer from the accumulation of toxic substances in their blood due to the loss of kidney function, which results in hyperphosphatemia. This condition contributes to hyperparathyroidism, leading to the development of chronic kidney disease-related mineral bone disorder (CKD-MBD). Additionally, CKD patients experience changes in their gut microbiota, disrupting epithelial tight junctions and allowing excessive absorption of dietary phosphate. In this study, we aimed to investigate the effects of various oligosaccharides and probiotics on the gut microbiota, intestinal barrier, hyperphosphatemia, and hyperparathyroidism in CKD rats. We isolated Lactobacillus and Bifidobacterium strains from healthy participants and tested …


The Effect Of Nano-Silver Fluoride In Remineralization On Artificial Dentine Caries: An In Vitro Study, Peeraya Punpeng Jan 2022

The Effect Of Nano-Silver Fluoride In Remineralization On Artificial Dentine Caries: An In Vitro Study, Peeraya Punpeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this in vitro study was to compare the remineralization efficiency among Nano-silver fluoride 400 ppm (NSF400), 38% Silver diamine fluoride (38% SDF) and 5% Sodium fluoride (5% NaF) on artificial dentine caries in permanent molar or premolar teeth. The teeth were sectioned to obtain 120 specimens (3 x 3 x 2 mm3). After artificial caries were created, the lesion depth (LD) was measured using Micro-computed tomography (Micro-CT) (n=15 specimens/group), and the surface microhardness (SMH) was measured using a Knoop microhardness tester (n=15 specimens/group). Subsequently, all specimens were randomly assigned to four groups: Group 1) NSF400, Group 2) …


Compounds With Anti-Neuroinflammatory Activity From Aerides Falcata, Bachtiar Rivai Jan 2022

Compounds With Anti-Neuroinflammatory Activity From Aerides Falcata, Bachtiar Rivai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, a plant from the Orchidaceae family, Aerides falcata, was investigated for its chemical constituents and anti-neuroinflammatory activity. A total of ten compounds were isolated and characterized. The isolated compounds included a new compound which was named aerifalcatin and nine known compounds: n-eicosyl-trans-ferulate, denthyrsinin, 2,4-dimethoxy-3,7-dihydroxyphenanthrene, 2,7-dihydroxy-3,4,6-trimethoxyphenanthrene, 3,7-dihydroxy-2,4,6-trimethoxyphenanthrene, agrostonin, syringaresinol, trans-n-feruloyltyramine, and trans-n-coumaroyltyramine. All the isolated compounds were evaluated for their anti-neuroinflammatory activity, except for trans-n-coumaroyltyramine, which was excluded due to its insufficient amount. In vitro testing was conducted on LPS-induced BV2 microglia cells to evaluate their potential anti-neuroinflammatory activity using NO inhibition model. Minocycline, a neuroinflammatory modulator, was …


ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง, กัญธิดา พันทรังษี Jan 2022

ผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง, กัญธิดา พันทรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการท้องอืดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง ตามแนวคิดการจัดการกับอาการของ Dodd (2001) และแนวคิดการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้อง เข้ารับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยการจับคู่ อายุ จำนวนยาแก้ปวดที่ได้รับระหว่างการผ่าตัด และระยะเวลาในการผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ1) การประเมินประสบการณ์การมีอาการท้องอืดหลังการผ่าตัด 2) กลวิธีการจัดการกับอาการท้องอืดหลังผ่าตัด และ 3) การประเมินผลการจัดการอาการท้องอืดหลังการผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินอาการท้องอืด ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบความแปรปรวนแบบเกี่ยวข้อง (Repeated – measures ANOVA) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ อาการท้องอืดหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติในช่วงเวลาหลังผ่าตัดวันที่ 1 4 ชั่วโมง, 8 ชั่วโมง และหลังผ่าตัดวันที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05