Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2016

Keyword

Articles 31 - 60 of 95

Full-Text Articles in Education

การศึกษาสังเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาครัฐ, กนกวรรณ ชูชีพ, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2016

การศึกษาสังเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาครัฐ, กนกวรรณ ชูชีพ, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการใช้ระเบียบการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังเคราะห์รูปแบบและองค์ประกอบของโครงสร้างองค์การด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภาครัฐโดยการศึกษาวิจัยเอกสาร แนวคิดและทฤษฎีจากแหล่งข้อมูลดั้งนี้ คือ 1) รูปแบบโครงสร้างองค์การโดยทั่วไป 2) การศึกษารูปแบบโครงสร้างองค์การด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยและต่างประเทศ 3) รูปแบบโครงสร้างองค์การหน่วยงานภาครัฐตาม กฎหมายการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบโครงสร้างองค์การจากการรวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์คุณลักษณะสำคัญ สามารถสรุปเป็นรูปแบบโครงสร้างองค์การได้จำนวน 7 รูปแบบ ได้แก่ 1) โครงสร้างแบบง่าย 2) แบบระบบราชการ 3) แบบวิชาชีพ 4) แบบสาขา/เครือข่าย 5) แบบคณะกรรมการ/ทีมงานเฉพาะกิจ 6) แบบเมตริกซ์ และ 7) แบบไร้พรมแดน โดยมีองค์ประกอบของรูปแบบโครงสร้างองค์การซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก จำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลไกการประสานงานองค์การที่สำคัญ 2) ส่วนประกอบสำคัญขององค์การและหน้าที่ 3) ตัวแปรในการออกแบบโครงสร้างองค์การ และ 4) ปัจจัยสถานการณ์ขององค์การ


การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา, เกสิณี ชิวปรีชา Jul 2016

การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา, เกสิณี ชิวปรีชา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 126 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถาม และหาค่าความต้องการจำเป็นในการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) ยกร่างรูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล 30 คนและประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คนและ (4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ และ 2) รูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชื่อรูปแบบ คือ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนที่ 2 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 งาน ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนที่ 4 การนำรูปแบบไปใช้และเงื่อนไขความสำเร็จ


แนวทางการช่วยเหลือสำหรับเด็กระดับประถมศึกษาที่มีปัญหาทางการอ่าน, ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร Jul 2016

แนวทางการช่วยเหลือสำหรับเด็กระดับประถมศึกษาที่มีปัญหาทางการอ่าน, ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร

Journal of Education Studies

ปัญหาทางการอ่านอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการทั้งจากความผิดปกติของอวัยวะในการสื่อสารหรือเกิดจากการได้รับประสบการณ์การอ่านที่ไม่เพียงพอ การคัดกรองและวินิจฉัยเพื่อระบุสาเหตุของปัญหาทางการอ่านตั้งแต่ต้นจะช่วยให้เด็กได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีที่เหมาะสมและทันท่วงที ครูมีบทบาทสำคัญในการสังเกต ตรวจสอบ วัดประเมินความสามารถทางการอ่านของเด็กเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาความสามารถทางการอ่านตั้งแต่ทักษะพื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ การรู้เรื่องเสียงของตัวอักษร การทำความเข้าใจความหมายของคำและการออกเสียง คำศัพท์ การอ่านคล่อง จนถึงการอ่านเข้าใจความ เด็กจะใช้ทักษะเหล่านี้ในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้และสารสนเทศต่อไปในอนาคต ครูจึงควรมีความรู้ในเรื่องพัฒนาการทางการอ่านและเข้าใจถึงสัญญาณที่แสดงถึงปัญหาทางการอ่านของเด็กซึ่งจะช่วยให้ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการอ่าน เลือกใช้วิธีการ หรือสื่อวัสดุที่เหมาะสมในการป้องกัน แก้ปัญหา และส่งเสริมความสามารถทางการอ่านของเด็กได้อย่างเกิดประสิทธิผล


การออกแบบเทคโนโลยีการเรียนรู้สำหรับพิพิธภัณฑ์, บุญชู บุญลิขิตศิริ Jul 2016

การออกแบบเทคโนโลยีการเรียนรู้สำหรับพิพิธภัณฑ์, บุญชู บุญลิขิตศิริ

Journal of Education Studies

เทคโนโลยีที่มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ในพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์แบบเดิมที่ทุกคนคุ้นเคยเนื่องจากเทคโนโลยีสามารถสร้างช่องทางในการได้รับประสบการณ์และอธิบายวัฒนธรรมและสร้างโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนในด้านการแบ่งปันวัฒนธรรมให้กับกลุ่มคนที่มีความหลายหลายบทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการออกแบบเทคโนโลยีการเรียนรู้สำหรับพิพิธภัณฑ์ใหม่เหมาะสมกับในยุคปัจจุบันการศึกษาการออกแบบเทคโนโลยีการเรียนรู้สำหรับพิพิธภัณฑ์ควรให้ความสำคัญกับแนวโน้มของพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีที่เหมาะสมและตระหนักถึงความหลายหลายของผู้เข้าชมเพื่อเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกคนอย่างแท้จริง


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, นารท ศรีละโพธิ์, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง Jul 2016

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, นารท ศรีละโพธิ์, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎี เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียน การสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎี เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีพื้นฐานระดับความรับผิดชอบแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรรายวิชา ศท. 126 กระบวนการกลุ่มและเทคนิคการทำงานเป็นทีม ภาคการศึกษาที่ 1/2557 ที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมความรับผิดชอบ แบบรายงานพฤติกรรมความรับผิดชอบ แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบ และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมความรับผิดชอบ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎี เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นพิจารณาบทบาท หน้าที่ ขั้นสร้างการมีส่วนร่วม ขั้นแสดงผลรวมความรู้ ขั้นก้าวสู่การพัฒนา และขั้นประเมินค่าการเปลี่ยนแปลง 2. ภาพรวมค่าเฉลี่ยการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการเรียน ต่ออาจารย์ และต่อเพื่อนของนักศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานระดับความรับผิดชอบสูง มีค่าเฉลี่ยการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการเรียน ต่ออาจารย์ และต่อเพื่อน หลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง 4. กลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นฐานระดับความรับผิดชอบต่ำ มีค่าเฉลี่ยการแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านการเรียน ต่ออาจารย์ และต่อเพื่อน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นรากฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, นภสร เรือนโรจน์รุ่ง Jul 2016

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นรากฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, นภสร เรือนโรจน์รุ่ง

Journal of Education Studies

บทความนี้เสนอรายงานการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนผ่านการให้การบ้านในช่วงปิดภาคเรียนที่หนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางและผลการพัฒนานักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับเตรียมความพร้อมในการเรียนเรื่องเวลา การคูณ และการหาร ซึ่งเป็นบทเรียนใหม่ในภาคเรียนที่สองของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กิจกรรมนี้จัดทำขึ้นตามหลักบูรณาการการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โดยการมอบหมายงานให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ทำงานร่วมกันจำนวน 2 ชิ้นงาน ได้แก่ การประดิษฐ์นาฬิกาจำลองและการฝึกท่องสูตรคูณ เก็บข้อมูลจากแบบประเมินผลงานและการสัมภาษณ์ ผลการพัฒนาพบว่านักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ และสามารถคิดคำนวณได้มีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองได้แนวทางในการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวอีกทางหนึ่ง


ผลของการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, พรศิริ สันทัดรบ Jul 2016

ผลของการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, พรศิริ สันทัดรบ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการใช้คำถามระดับสูง กับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้คำถามระดับสูงก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ภาษาไทยโดยการใช้คำถามระดับสูงกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบปกติเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คำถามระดับสูงมีความคงทนในการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์, เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, วิพรรณ ประจวบเหมาะ Jul 2016

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์, เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, วิพรรณ ประจวบเหมาะ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หลักสูตรครุศาสตร/ศึกษาศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย ประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตามกรอบสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ฯ โดยใช้แบบสอบถามกับครู และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 383 คน และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยสมรรถนะ 77 สมรรถนะ ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 พบสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นจำนวน 31 สมรรถนะ ซึ่งสมรรถนะที่นิสิตนักศึกษาครูควรได้รับการพัฒนามากที่สุด 5 อันดับ คือ พัฒนาภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งรับหรือขยายความรู้ที่เป็นสากล ผลิตงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นำผลงานวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประเมินทักษะการจัดลำดับการคิดระดับสูงของผู้เรียน และ พัฒนาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นครูสากล ตามลำดับ ทั้งนี้ผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบให้มีรายวิชาจำนวน 39 รายวิชา ที่สนับสนุนสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21


ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2016

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน ประชากรในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญศึกษา จำนวน 341 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 80.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนด้วยค่าดัชนี PNIModified พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการแสวงหาการสนับสนุนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รองลงมาคือด้านการบริหารที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการส่งเสริมการยอมรับและความเชื่อถือไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน ด้นการจัดการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ ส่วนการกระจายความเป็นผู้นำทางวิชาชีพเป็นด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด


การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศและได้ผลลัพธ์ที่ดี, นภสร เรือนโรจน์รุ่ง Jul 2016

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศและได้ผลลัพธ์ที่ดี, นภสร เรือนโรจน์รุ่ง

Journal of Education Studies

บทความนี้เสนอรายงานการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียน ผ่านการให้การบ้านในช่วงปิดภาคเรียนที่หนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางและผลการพัฒนานักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับเตรียมความพร้อมในการเรียนเรื่องเวลา การคูณ และการหาร ซึ่งเป็นบทเรียนใหม่ในภาคเรียนที่สองของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กิจกรรมนี้จัดทำขึ้นตามหลักบูรณาการการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง โดยการมอบหมายงานให้นักเรียนและผู้ปกครองได้ทำงานร่วมกันจำนวน 2 ชิ้นงาน ได้แก่ การประดิษฐ์นาฬิกาจำลอง และการฝึกท่องสูตรคูณ เก็บข้อมูลจากแบบประเมินผลงานและการสัมภาษณ์ ผลการพัฒนาพบว่านักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ และสามารถคิดคำนวณได้มีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองได้แนวทางในการช่วยเหลือและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวอีกทางหนึ่ง


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jul 2016

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ, ชยการ คีรีรัตน์ Jul 2016

คิดนอกกรอบ, ชยการ คีรีรัตน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ธรรมาภิบาลแบบพลวัตเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาไทย, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Jul 2016

ธรรมาภิบาลแบบพลวัตเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาไทย, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียน สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม สร้างสรรค์นวัตกรรมแก่สังคม และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเรียนรู้ของคนไทย จะเกิดขึ้นได้หากการขับเคลื่อนนโยบายมีความต่อเนื่องและทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐที่ต้องรับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าวยังเผชิญความท้าทายถึงความเป็นไปได้ในการจัดการให้เป็นองค์การที่มีความเป็นเจ้าของและมีพลวัต ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลแบบมีพลวัต ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการตัดสินใจ การพัฒนากระบวนการทำงานและการประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เน้นการสร้างวัฒนธรรม การส่งเสริมขีดความสามารถ และการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยผ่านวิธีคิด 3 ประการ ได้แก่ 1) การคิดล่วงหน้า 2) การคิดทบทวน และ 3) การคิดข้ามขอบเขต เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยืดหยุ่นเหมาะสมกับกาลเทศะ น่าจะเป็นทางรอดของกระบวนการปฏิรูปการศึกษาของไทย


ความแกร่งของสถิติทดสอบไคสแควร์, สุชาดา บวรกิติวงศ์, สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร Jul 2016

ความแกร่งของสถิติทดสอบไคสแควร์, สุชาดา บวรกิติวงศ์, สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ของสถิติทดสอบไคสแควร์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยนำเสนอว่าภายใต้สถานการณ์ใดบ้างที่เพียร์สันไคสแควร์มีความแกร่งสำหรับการทดสอบความเป็นอิสระของตัวแปร 2 ตัว งานวิจัยนี้ใช้การจำลองข้อมูลแบบยูนิฟอร์มที่มีค่าระหว่าง 0 และ 1 จากโปรแกรม SAS ในแต่ละเงื่อนไขใช้นัยสำคัญ 3 ระดับคือ .01, .05, .10 ตัวอย่าง 4 ขนาดคือ 20, 50, 100, 300 สำหรับตารางขนาด 2x2, 2x4, 2x5, 4x5 (เฉพาะขนาดตัวอย่าง 100 และ 300) ข้อมูลมีการแจกแจงแบบยูนิฟอร์มจนถึงเบ้มาก แต่ละเงื่อนไขวิเคราะห์ซ้ำ 10,000 ตัวอย่าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เพียร์สันไคสแควร์มีความแกร่งเมื่อข้อมูลมีค่า eij


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาผ่านกระบวนการประสานพลังบ้าน โรงเรียน ชุมชน ตามแนวคิดของ Epstein, อัญญมณี บุญซื่อ Jul 2016

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาผ่านกระบวนการประสานพลังบ้าน โรงเรียน ชุมชน ตามแนวคิดของ Epstein, อัญญมณี บุญซื่อ

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการฝึกนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาในการนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติผ่านกระบวนการประสานพลังบ้านโรงเรียนชุมชนตามแนวคิดของ Epstein และเพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่ชนบทที่แตกต่างโดยเน้นการสร้างความร่วมมือในการทำงานระหว่างนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและชุมชนในการจัดมุมการเรียนรู้สำหรับเด็กวัยอนุบาลบนฐานภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา ประกอบด้วย นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการจิตอาสาพัฒนาโรงเรียนขาดแคลนจำนวน 11 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตลักษณะของการประสานพลังบ้าน โรงเรียน และชุมชน ตามแนวคิดของ Epstein และการสัมภาษณ์นิสิตที่ลงพื้นที่ศึกษาร่วมกับผู้วิจัย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จันทบุรี และสุรินทร์ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลดัวยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าต่างสถานที่ทำวิจัย ต่างวิธีการเก็บข้อมูล และต่างผู้ให้ข้อมูล ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) กระบวนการลงพื้นที่กับสถานศึกษาปฐมวัยในชุมชนพัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 3 แบบตามผู้นำการขับเคลื่อนชุมชน คือ (1) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นแกนหลัก (2) ผู้บริหารท้องถิ่นเป็นแกนหลัก และ (3) ชุมชนเป็นแกนหลักการดำเนินการ และการมีส่วนร่วมของนิสิตกับชุมชน ในแต่ละแบบจะมีลักษณะเฉพาะตามแต่ละบริบทของพื้นที่ และองค์ประกอบของการดำเนินงาน ทำให้การออกแบบกระบวนการต่างๆ ต้องคำนึงถึงสภาพบริบทของพื้นที่ด้วย 2) การใช้กระบวนการฝึกปฏิบัติโดยการนำนิสิตลงพื้นที่พัฒนาชุมชน และการดำเนินการทำงานกับชุมชน ทำให้นิสิตได้มีส่วนร่วมและประยุกต์ใช้การเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความรู้เชิงวิชาการในการแก้ปัญหาร่วมกัน ผ่านการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อนำไปสู่การสืบค้น การใช้ทักษะการคิด และให้นิสิตแต่ละคนเป็นผู้ตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อเลือกแนวทางการกำกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และนำไปสู่การพัฒนานิสิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการให้นิสิตดำเนินการร่วมกับชุมชนในขั้นของการวางแผนและการตัดสินใจ ตลอดจนการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมบนฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองทำให้ชุมชนเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาผลผลิตที่ได้จากการประสานพลังร่วมกัน


แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jul 2016

แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, เกรียงไกร สกุลประเสริฐศรี, จุฑารัตน์ วิบูลผล Jul 2016

ผลของการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, เกรียงไกร สกุลประเสริฐศรี, จุฑารัตน์ วิบูลผล

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 6 จำนวน 48 คน ซึ่งมีระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้ใช้ภาระงานพูดภาษาอังกฤษ แบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือวิจัย ผลการศึกษาพบว่าความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่างดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนที่จะได้รับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์พบว่าการเรียนการสอนนี้มีข้อดีคือสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสในการเรียนและการฝึกฝนภาษาอังกฤษทั้งภายในและนอกห้องเรียนมากขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และยังได้เรียนรู้เนื้อหาและคำศัพท์ใหม่อีกด้วย นอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านสามารถนำไปบูรณาการภาษาอังกฤษกับสาขาวิชาอื่น ๆ และผลของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการฟังของนักเรียนควรได้รับการศึกษาวิจัยในอนาคต


ผลของโปรแกรมอบรมครูเพื่อสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด Clil ที่มีต่อเนื้อหาความรู้ ทัศนคติ และการนําความรู้ไปใช้ในกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษมัธยมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย, ปราณภา โหมดหิรัญ Jul 2016

ผลของโปรแกรมอบรมครูเพื่อสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด Clil ที่มีต่อเนื้อหาความรู้ ทัศนคติ และการนําความรู้ไปใช้ในกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษของครูภาษาอังกฤษมัธยมศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย, ปราณภา โหมดหิรัญ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมอบรมครูต่อเนื้อหาความรู้อาเซียนและแนวคิด CLIL 2) ศึกษาทัศนคติต่อการสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL และ 3) ศึกษาผลการนำความรู้ไปใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ ประชากรคือครูภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ คือ ระยะอบรมโปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL และระยะการติดตามผลการใช้ความรู้ในการสอนภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในการศึกษาระยะที่ 1 และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในการศึกษาระยะที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูที่เข้าอบรมโปรแกรมมีผลการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL ก่อนและหลังอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังอบรม คือ 9.79 และ 13.04 ตามลำดับ 2) ผู้เข้าอบรมมีทัศนคติเชิงบวกต่อการสอนภาษาอังกฤษด้วยเนื้อหาอาเซียนและแนวคิด CLIL และ 3) ครูนำความรู้ ไปใช้ในการสอนภาษาอังกฤษในระดับสูง และมีความต้องการให้อบรมด้านการประยุกต์ใช้แนวคิด CLIL เพิ่มเติม


ผลของการสอนงานที่มีต่อสัมพันธภาพและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ Jul 2016

ผลของการสอนงานที่มีต่อสัมพันธภาพและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิตและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมวิธีแบบคู่ขนานลู่เข้า (the convergent parallel mixed method design)มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจและศึกษาอิทธิพลของการสอนงานการทำวิทยานิพนธ์ที่มีต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และนิสิตดุษฎีบัณฑิต เมื่อสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตดุษฎีบัณฑิตเป็นตัวแปรส่งผ่านและภูมิหลังของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และนิสิตดุษฎีบัณฑิตเป็นตัวแปรควบคุมและ 2. ศึกษาปัจจัยสนับสนุนให้การสอนงานการทำวิทยานิพนธ์มีประสิทธิผล การวิจัยเชิงปริมาณเป็นวิจัยสำรวจเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างตัวแปรตามกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามความคิดเห็นอาจารย์ที่ปรึกษาจำนวน 64 คนและนิสิตดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาฯที่ศึกษาตั้งแต่ชั้นปี 2 ขึ้นไปจำนวน 120 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนให้การสอนงานการทำวิทยานิพนธ์มีประสิทธิผล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากอาจารย์ที่ปรึกษา 6 คนและนิสิต 6 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า การสอนงานการทำวิทยานิพนธ์ตามการรับรู้ของอาจารย์ที่ปรึกษามีผลทั้งทางตรง (DE=.202) และทางอ้อม (IE=229) ต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ที่ปรึกษา ในขณะที่สัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตมีอิทธิพลทางตรงต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ที่ปรึกษา (DE=.489) ซึ่งสอดคล้องกับการรับรู้ของนิสิต คือ การสอนงานการทำวิทยานิพนธ์มีผลทั้งทางตรง (DE=.371) และทางอ้อม (IE=.147) ต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนิสิต ในขณะที่สัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตมีอิทธิพลทางตรงต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนิสิต (DE=.179) ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเสริมผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณว่า นอกจากวิธีการ/พฤติกรรมการสอนงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและสัมพันธภาพระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตแล้ว คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา คุณสมบัติและพฤติกรรมของนิสิต และระบบสนับสนุนการสอนงานการทำวิทยานิพนธ์ของสถาบัน ยังทำให้เกิดประสิทธิผลในการสอนงานการทำวิทยานิพนธ์


มุมห้องเรียน, โกเมศ นาแจ้ง Jul 2016

มุมห้องเรียน, โกเมศ นาแจ้ง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เปิดประเด็น, รับขวัญ ภูษาแก้ว Jul 2016

เปิดประเด็น, รับขวัญ ภูษาแก้ว

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์, ประธาน พิศงาม, ศิริรัตน์ ศรีสอาด Jul 2016

การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์, ประธาน พิศงาม, ศิริรัตน์ ศรีสอาด

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้าจังหวัดสุรินทร์ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) ศึกษาความสอดคล้องของหลักสูตรสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์ กับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 2) จัดทำขอบข่ายเนื้อหาและการจัดลำดับการเรียนรู้สาระการเรียนรู้สุขศึกษา 3) จัดทำคำอธิบายรายวิชา 4) ประเมินความเหมาะสมของคำอธิบายรายวิชาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5) วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา ศึกษานิเทศก์ งานนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านสุขศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบอิงมาตรฐาน ได้รายวิชาทั้งสิ้น 6 วิชา ซึ่งผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอนการวิจัย 2) คำอธิบายรายวิชาทั้ง 6 วิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดในทุกประเด็นคำถาม


แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร, วราภรณ์ นาคคง, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อมรวิชช์ นาครทรรพ Jul 2016

แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร, วราภรณ์ นาคคง, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อมรวิชช์ นาครทรรพ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของเมืองแห่งการเรียนรู้ในต่างประเทศ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยเอกสารเพื่อวิเคราะห์เมืองแห่งการเรียนรู้ 16 เมือง ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐฟินแลนด์ และสาธารณรัฐเกาหลี และใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยได้แบบสอบถามคืนจากผู้ให้บริการแหล่งเรียนรู้ 248 ชุด และจากผู้ใช้บริการ 709 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อีกทั้งศึกษาภาคสนามในชุมชน 5 ประเภทคือ เคหะชุมชน ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนชานเมือง ชุมชนเมือง และชุมชนแออัด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และตรวจสอบร่างแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ในต่างประเทศมีการกำหนดนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้โดยมีการพัฒนานวัตกรรมด้านยุทธศาสตร์ที่จะเอื้อให้ ทุกคนได้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง จัดโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย และเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ส่วนกรุงเทพมหานครมีการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ชุมชนยังไม่เข้าใจยุทธศาสตร์นั้น การดำเนินการมีปัญหาระดับมากในด้านเจ้าหน้าที่ สื่อวัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่วนกิจกรรมที่จัดยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนจำเป็นต้องเข้าใจเป้าหมายและเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่พอเพียง พัฒนาบุคลากร นวัตกรรมในแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตามที่กำหนดไว้


การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพลังสุขภาพจิต (Rq) สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม: กรณีศึกษาตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง, อัมเรศ เนตาสิทธิ์, พงศ์วัชร ฟองกันทา, ปณตนนท์ เถียรประภากุล Jul 2016

การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพลังสุขภาพจิต (Rq) สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม: กรณีศึกษาตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง, อัมเรศ เนตาสิทธิ์, พงศ์วัชร ฟองกันทา, ปณตนนท์ เถียรประภากุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิต สำหรับชุมชนที่ถูกน้ำท่วม เพื่อนำชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต ให้กับประชาชนในชุมชนที่ถูกน้ำท่วม เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมพลังสุขภาพจิต ของประชาชนในชุมชนที่ถูกน้ำท่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในชุมชนที่ถูกน้ำท่วมในตำบลกล้วยแพะ อำเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบสมัครใจ (Volunteer Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินพลังสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีพลังสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นหลังจากการทำกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิต ร้อยละ 17.98 โดยด้านการจัดการกับปัญหาเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ร้อยละ 18.76 รองลงมาด้านกำลังใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.86 และด้านความมั่นคงทางอารมณ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.12 สำหรับผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพลังสุขภาพจิตของประชาชน ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตพบว่า คะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ มีความแตกต่างกับคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรมฯ อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 โดยคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ สูงกว่าคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรมฯ และในรายด้าน พบว่า ทั้ง 3 ด้าน คะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ มีความแตกต่างกับคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 โดยคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตหลังการใช้ชุดกิจกรรมฯ สูงกว่าคะแนนรวมพลังสุขภาพจิตก่อนการใช้ชุดกิจกรรมฯ เช่นเดียวกัน


พัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบน, พระครูพิพัฒน์ศีลาจาร, อัครา อัครนิธิ, สุภางค์ จันทวานิช Jul 2016

พัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบน, พระครูพิพัฒน์ศีลาจาร, อัครา อัครนิธิ, สุภางค์ จันทวานิช

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย คุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมในตัวนักเรียน และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงเรียน 9 โรง นักเรียน 500 คน ผู้บริหารและครู 18 คน ในปี 2557 ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานของโรงเรียนอยู่ในระดับดี ในแง่คุณลักษณะเชิงคุณธรรมจริยธรรมสี่ด้าน ได้แก่ ด้านกาย สังคม จิต และปัญญา นักเรียนคิดว่าตนมีคุณลักษณะทั้งสี่ด้านในระดับสูง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียน การจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนามาเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรที่ใช้ชีวิตเป็นตัวตั้ง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองและอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิถีพุทธ การมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ระบบนิเทศตรวจสอบและประมวลผลอย่างต่อเนื่อง ห้องเรียนและอาคารเรียนมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ และครูมีพรหมวิหารธรรม ส่วนปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาลักษณะเชิงคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ สภาพแวดล้อมของนักเรียนบางคนไม่เอื้อ มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารบ่อย ครูส่วนหนึ่งไม่เข้าใจแนวทางของโรงเรียนวิถีพุทธ ครูมีภาระงานมาก หลักสูตรยังไม่บูรณาการแนวคิดวิถีพุทธอย่างเพียงพอและยังไม่เชื่อมโยงกับวิถีในชุมชน ครูไม่อาจทำแผนการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหาวิถีพุทธได้ในทุกรายวิชา โรงเรียนยังขาดเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน ส่วนค่านิยมสมัยใหม่ที่เน้นวัตถุนิยม วิถีชีวิตแบบเมือง อิทธิพลทางลบของสื่อ และการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครอง เป็นอุปสรรคจากภายนอกโรงเรียน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านี้จะช่วยให้ปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อคุณธรรมของนักเรียนได้ดีขึ้น


แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ตามกรอบสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21, ลิขิตกุล กุลรัตนรักษ์, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ Jul 2016

แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ตามกรอบสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21, ลิขิตกุล กุลรัตนรักษ์, อัจฉรา ไชยูปถัมภ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หลักสูตรครุศาสตร/ศึกษาศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย ประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตามกรอบสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ฯ โดยใช้แบบสอบถามกับครู และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 383 คน และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยสมรรถนะ 77 สมรรถนะ ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 พบสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นจำนวน 31 สมรรถนะ ซึ่งสมรรถนะที่นิสิตนักศึกษาครูควรได้รับการพัฒนามากที่สุด 5 อันดับ คือ พัฒนาภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งรับหรือขยายความรู้ที่เป็นสากล ผลิตงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นำผลงานวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประเมินทักษะการจัดลำดับการคิดระดับสูงของผู้เรียน และ พัฒนาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นครูสากล ตามลำดับ ทั้งนี้ผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบให้มีรายวิชาจำนวน 39 รายวิชา ที่สนับสนุนสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21


ผลของการใช้อาชาบำบัดที่มีต่อพัฒนาการด้านพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษซึ่งมีลักษณะต่างกัน, นวรัตน์ หัสดี Jul 2016

ผลของการใช้อาชาบำบัดที่มีต่อพัฒนาการด้านพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษซึ่งมีลักษณะต่างกัน, นวรัตน์ หัสดี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้อาชาบำบัดที่มีต่อพัฒนาการด้านพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษจำนวน 8 คน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน 5กลุ่มอาการ คือ ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม วิลเลี่ยมซินโดรม พราเดอร์-วิลลี่ซินโดรม และพัฒนาการล่าช้า แบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียว เครื่องมือวิจัยคือแบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบบันทึกและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ Spearman's R test และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ด้านความประพฤติ ด้านสมาธิ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน และด้านสัมพันธภาพทางสังคม โดยด้านสมาธิ มีคะแนนก่อนและหลังร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของพ่อแม่และครู กล่าวคือ นักเรียนออทิสติก นักเรียนที่มีอาการดาวน์ซินโดรม นักเรียนที่มีอาการพราเดอร์ วิลลี่ซินโดรมมีพัฒนาการด้านพฤติกรรมดีขึ้นทุกด้าน ส่วนนักเรียนที่มีอาการวิลเลี่ยมซินโดรม นักเรียนที่มีพัฒนาการล่าช้า มีปัญหาด้านพฤติกรรมเพียงบางด้าน จึงมีคะแนนพฤติกรรมดีขึ้นเฉพาะด้านที่มีปัญหา


หลักสูตรอนุบาลโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย: ช่างสังเกต ช่างคิด เป็นตัวของตัวเอง, อรอุมา ขำวิจิตร์ Jul 2016

หลักสูตรอนุบาลโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย: ช่างสังเกต ช่างคิด เป็นตัวของตัวเอง, อรอุมา ขำวิจิตร์

Journal of Education Studies

หลักสูตรอนุบาลสาธิตจุฬาฯ ริเริ่มโดยภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ตระหนักถึงความสำคัญของช่วงวัยแห่งการเสริมสร้างบุคลิกภาพและทัศนคติที่สำคัญของเด็ก จึงจัดโครงการทดลองสอนชั้นอนุบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 และโอนให้เป็นระดับชั้นหนึ่งของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ในปีการศึกษา 2520 หลักสูตรอนุบาลสาธิตจุฬาฯ ได้มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรากฐานสำคัญแก่การดำรงชีวิตในอนาคตของเด็กปฐมวัย โดยคำนึงถึงหลักการเตรียมความพร้อมให้เด็กทุกด้าน ทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ให้ความสำคัญในด้านการอบรมและปลูกฝังมโนธรรม มีจริยธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่มุ่งเน้นการสอนหนังสือ เตรียมทักษะที่จำเป็นเพื่อศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ฝึกให้เด็กปฐมวัยมีคุณสมบัติสำคัญเพื่อการเรียนรู้ 3 ประการ คือ เป็นคนช่างสังเกต ช่างคิด และเป็นตัวของตัวเอง โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก กำหนดระยะเวลาของหลักสูตร 3 ปี มีการจัดเนื้อหาแบ่งเป็นรายหัวข้อ แต่จะมีการผนวกกันของรายวิชาโดยวิธีการบูรณาการ ผสมผสานด้วยวิธีการสอนที่มีความหลากหลายและสามารถยืดหยุ่นได้ มีแนวการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกชนิด เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้แสดงความคิดโดยเสรี และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล


การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, จินตนา บรรลือศักดิ์ Apr 2016

การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, จินตนา บรรลือศักดิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรมที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 75 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 37 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 50 นาที และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 38 คน ที่เรียนด้วยวิธีปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน และแบบวัดทักษะด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา โดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย, ศกร พรหมทา, เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา Apr 2016

การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย, ศกร พรหมทา, เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทยที่พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544จนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยใช้การสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ ด้วยแบบบันทึกคุณลักษณะวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยทำการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ระดับชั้นประถมศึกษา ใช้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่น จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 4-9 แผน เวลาสอน 20-40 ชั่วโมง นำหลักสูตรไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประมาณ 30 คน 2) องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากการสังเคราะห์ มีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตร เนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บุคลากร อาคารสถานที่ สื่อวัสดุอุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้ 2. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ส่วนใหญ่มีกระบวนการสร้าง ใช้และประเมินหลักสูตร โดยมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ครู ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาที่จัดทำหลักสูตรทำการตรวจสอบคุณภาพ ผู้สอนคือ ผู้วิจัย ครูหรือวิทยากรท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติภายในและนอกห้องเรียน มีการจัดทำวัสดุหลักสูตร สื่อวัสดุและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเมินผู้เรียนโดยการทดสอบก่อน-หลังเรียน ประเมินหลักสูตรจากแบบสอบถาม/แบบวัดเจตคติ 3. ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ รูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่น เป็นการปรับเนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีอยู่แล้วหรือพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นใหม่ เนื้อหาในหลักสูตร เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่น กิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนเนื้อหาที่เน้นให้เกิดทักษะโดยการสาธิตแล้วลงมือปฏิบัติหรือการสอนเนื้อหาที่เน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สื่อการเรียนรู้และวัสดุหลักสูตร ได้แก่ สื่อวัสดุอุปกรณ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใบความรู้ ใบงานแบบฝึกหัด แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ในระหว่างการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้หลังจากการเรียนการสอน วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินผลงานหรือแบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน