Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2016

การศึกษานอกระบบโรงเรียน

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

มุมห้องเรียน, โกเมศ นาแจ้ง Jul 2016

มุมห้องเรียน, โกเมศ นาแจ้ง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษาตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง, ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุจิตรา สุคนธทรัพย์ Apr 2016

การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษาตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง, ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุจิตรา สุคนธทรัพย์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริม สุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้บริหารสถาบันการพลศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 19 คน ได้แก่ อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ฝ่ายกิจการพิเศษและกิจการนักศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ประจำวิทยาเขต 17 วิทยาเขตทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความข้อมูลแบบอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา ดังนี้ (1) การรับรู้บทบาทของวิทยาลัยพลศึกษา ก่อนปี พ.ศ. 2548 และ (2) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน พบว่า การดำเนินงานตามพันธกิจของวิทยาลัยพลศึกษาและสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย การบริการวิชาการภายใน คือ การเปิดสถานที่ให้แก่ชุมชนออกกำลังกาย เล่นกีฬา และจัดการแข่งขันกีฬาระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ การบริการวิชาการภายนอก คือ การสนับสนุนบุคลากรเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องพลศึกษา กีฬา สุขศึกษา นันทนาการ และเผยแพร่การละเล่นพื้นบ้าน เมื่อเป็นสถาบันการพลศึกษามีการให้ความรู้โดยใช้นวัตกรรมการออกกำลังกายแบบผ้าขาวม้าลมปราณและผ้าขาวม้ามันตรา การบริการวิชาการภายนอกมีโครงการความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับความคาดหวัง พบว่า ควรมีการใช้สื่อสารมวลชนและกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนให้ออกกำลังกาย การเป็นศูนย์กลางการกีฬาในท้องถิ่น ควรมีการสร้างเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็งที่ประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ควรมีการเน้นกระบวนการที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน และควรมีการสร้างรูปแบบความร่วมมือเริ่มจากการประสานงาน วางแผนงานร่วมกัน เป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมกันประเมินโครงการ 2) การเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง พบว่า ก่อน พ.ศ. 2548 และตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบันมีการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทที่สอดคล้องกับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง ดังนี้ พลังปัญญา คือ มีองค์ความรู้อย่างพอเพียงของสถาบันเอง ความรู้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบท และมีการพัฒนาความรู้ที่ทันสมัยและต่อเนื่อง ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่มองค์ความรู้อย่างพอเพียงจากทุกภาคส่วน และมีกระบวนการเรียนรู้กับของฝ่ายต่าง ๆ เสริมพลังปัญญาสู่ทิศทางเดียวกัน พลังนโยบายคือ มีนโยบายส่งผลกระทบกับคนในวงกว้างและมีผลสืบเนื่องยาวนานกว่าการณณรงค์ ความคาดหวัง มีความสอดคล้องกับการรับรู้บทบาทและพลังสังคม คือ มีบทบาทการรณรงค์และการเฝ้าระวังในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายภาคีทางสังคมและทุกภาคส่วนและทุกช่วงวัย ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่ม …