Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2016

กลยุทธ์การบริหาร

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Education

การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, จินตนา บรรลือศักดิ์ Apr 2016

การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, จินตนา บรรลือศักดิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจและทักษะเชิงพฤติกรรมที่มีต่อการเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 75 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 37 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 50 นาที และนักเรียนกลุ่มควบคุมจำนวน 38 คน ที่เรียนด้วยวิธีปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 8 แผน และแบบวัดทักษะด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษา โดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศ ในกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05