Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2016

ปฐมวัย

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

พัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบน, พระครูพิพัฒน์ศีลาจาร, อัครา อัครนิธิ, สุภางค์ จันทวานิช Jul 2016

พัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบน, พระครูพิพัฒน์ศีลาจาร, อัครา อัครนิธิ, สุภางค์ จันทวานิช

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของโรงเรียนวิถีพุทธในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย คุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมในตัวนักเรียน และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงเรียน 9 โรง นักเรียน 500 คน ผู้บริหารและครู 18 คน ในปี 2557 ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานของโรงเรียนอยู่ในระดับดี ในแง่คุณลักษณะเชิงคุณธรรมจริยธรรมสี่ด้าน ได้แก่ ด้านกาย สังคม จิต และปัญญา นักเรียนคิดว่าตนมีคุณลักษณะทั้งสี่ด้านในระดับสูง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียน การจัดกิจกรรมทางพุทธศาสนามาเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียน การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรที่ใช้ชีวิตเป็นตัวตั้ง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองและอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิถีพุทธ การมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ระบบนิเทศตรวจสอบและประมวลผลอย่างต่อเนื่อง ห้องเรียนและอาคารเรียนมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ และครูมีพรหมวิหารธรรม ส่วนปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาลักษณะเชิงคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ สภาพแวดล้อมของนักเรียนบางคนไม่เอื้อ มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารบ่อย ครูส่วนหนึ่งไม่เข้าใจแนวทางของโรงเรียนวิถีพุทธ ครูมีภาระงานมาก หลักสูตรยังไม่บูรณาการแนวคิดวิถีพุทธอย่างเพียงพอและยังไม่เชื่อมโยงกับวิถีในชุมชน ครูไม่อาจทำแผนการเรียนการสอนที่สอดแทรกเนื้อหาวิถีพุทธได้ในทุกรายวิชา โรงเรียนยังขาดเกณฑ์การประเมินผลที่ชัดเจน ส่วนค่านิยมสมัยใหม่ที่เน้นวัตถุนิยม วิถีชีวิตแบบเมือง อิทธิพลทางลบของสื่อ และการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครอง เป็นอุปสรรคจากภายนอกโรงเรียน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคเหล่านี้จะช่วยให้ปัจจัยที่สำคัญส่งผลต่อคุณธรรมของนักเรียนได้ดีขึ้น


การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย, ศกร พรหมทา, เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา Apr 2016

การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย, ศกร พรหมทา, เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทยที่พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544จนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยใช้การสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ ด้วยแบบบันทึกคุณลักษณะวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยทำการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ระดับชั้นประถมศึกษา ใช้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่น จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 4-9 แผน เวลาสอน 20-40 ชั่วโมง นำหลักสูตรไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประมาณ 30 คน 2) องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากการสังเคราะห์ มีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตร เนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บุคลากร อาคารสถานที่ สื่อวัสดุอุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้ 2. การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ส่วนใหญ่มีกระบวนการสร้าง ใช้และประเมินหลักสูตร โดยมีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ครู ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาที่จัดทำหลักสูตรทำการตรวจสอบคุณภาพ ผู้สอนคือ ผู้วิจัย ครูหรือวิทยากรท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติภายในและนอกห้องเรียน มีการจัดทำวัสดุหลักสูตร สื่อวัสดุและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเมินผู้เรียนโดยการทดสอบก่อน-หลังเรียน ประเมินหลักสูตรจากแบบสอบถาม/แบบวัดเจตคติ 3. ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ รูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่น เป็นการปรับเนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีอยู่แล้วหรือพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นใหม่ เนื้อหาในหลักสูตร เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่น กิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนเนื้อหาที่เน้นให้เกิดทักษะโดยการสาธิตแล้วลงมือปฏิบัติหรือการสอนเนื้อหาที่เน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สื่อการเรียนรู้และวัสดุหลักสูตร ได้แก่ สื่อวัสดุอุปกรณ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใบความรู้ ใบงานแบบฝึกหัด แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งการเรียนรู้ที่ใช้ในระหว่างการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ที่ใช้หลังจากการเรียนการสอน วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินผลงานหรือแบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน