Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2016

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ Oct 2016

การพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

Journal of Education Studies

ทักษะชีวิตเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข การพัฒนาทักษะชีวิตให้เกิดแก่ผู้เรียนควรพัฒนาควบคู่ไปกับการได้รับความรู้ในเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ วิชาภาษาไทยเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่ผู้เรียนจะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป ครูสามารถสอนเนื้อหาความรู้และพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญทั้ง ๔ ด้าน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กิจกรรมแต่ละประเภทมีจุดมุ่งหมายและพัฒนาทักษะชีวิตในแต่ละด้านแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ได้แก่ การแข่งขันระหว่างกลุ่ม กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ การเล่านิทาน การทายปัญหา และการแข่งขันระหว่างกลุ่ม กิจกรรมที่พัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ได้แก่ การทายปัญหา การแข่งขันระหว่างกลุ่มและการร้องเพลง กิจกรรมที่พัฒนาทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ได้แก่ การเล่านิทาน และการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ทั้งนี้ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนควรเลือกใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหาและบูรณาการกิจกรรมต่างๆควบคู่กัน


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์, เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, วิพรรณ ประจวบเหมาะ Jul 2016

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์, เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, วิพรรณ ประจวบเหมาะ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หลักสูตรครุศาสตร/ศึกษาศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย ประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตามกรอบสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ฯ โดยใช้แบบสอบถามกับครู และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 383 คน และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยสมรรถนะ 77 สมรรถนะ ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 พบสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นจำนวน 31 สมรรถนะ ซึ่งสมรรถนะที่นิสิตนักศึกษาครูควรได้รับการพัฒนามากที่สุด 5 อันดับ คือ พัฒนาภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งรับหรือขยายความรู้ที่เป็นสากล ผลิตงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นำผลงานวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประเมินทักษะการจัดลำดับการคิดระดับสูงของผู้เรียน และ พัฒนาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นครูสากล ตามลำดับ ทั้งนี้ผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบให้มีรายวิชาจำนวน 39 รายวิชา ที่สนับสนุนสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21