Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2016

คุณลักษณะที่พึงประสงค์

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

ระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน, กฤติกา สุทธิพันธุ์, อาชัญญา รัตนอุบล, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Oct 2016

ระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน, กฤติกา สุทธิพันธุ์, อาชัญญา รัตนอุบล, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันชีวิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เกิดจากการผสมผสานทักษะชีวิต กับความสามารถในการฟื้นพลัง เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีจุดมุ่งหมายในการ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของภูมิคุ้มกันชีวิต และ 2) ศึกษาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดภูมิคุ้มกันชีวิต ซึ่งเป็นแบบสำรวจตัวเองที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานที่เป็นนักศึกษาการศึกษานอกระบบในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 210คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิคุ้มกันชีวิตสำหรับบุคคลในวัยทำงานประกอบด้วยองค์ประกอบ 7ด้าน ได้แก่ การจัดการอารมณ์ ความมุมานะ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา ทักษะทางสังคม การรู้ตระหนักรู้ในตน และ ความกล้าเผชิญ 2) ผู้ใหญ่วัยทำงานมีระดับภูมิคุ้มกันชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (x ? = 3.29, S.D. = 0.32) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตในแต่ละองค์ประกอบพบว่า มีเพียงองค์ประกอบด้านทักษะทางสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (x ? = 2.95, S.D. = 0.93) ในขณะที่ภูมิคุ้มกันชีวิตจำแนกตามองค์ประกอบในด้านอื่นอีก 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีองค์ประกอบด้านการตระหนักรู้ในตนมีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x ? = 3.46, S.D. = 0.53)


การเรียนรู้กลับด้าน: โอกาสและความท้าทายในการสอนของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย, กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง Oct 2016

การเรียนรู้กลับด้าน: โอกาสและความท้าทายในการสอนของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย, กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้าน และเสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านในระดับมัธยมศึกษา โดยมีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ 1) สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 2) สอบถามความคิดเห็นของครูมัธยมศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คนและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 370 คนโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนมากเห็นว่าการจัดการเรียนการสอบแบบการเรียนรู้กลับด้านมีความสำคัญ แต่ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและวิธีการที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน และแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) บริบทและสภาพแวดล้อม 2) เนื้อหา 3) กลยุทธ์การเรียนการสอน 4) สื่อและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน 5) การประเมินการเรียนการสอน 6) บทบาทของครูผู้สอน และ 7) บทบาทของผู้เรียน