Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2016

การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรม

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

ธรรมาภิบาลแบบพลวัตเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาไทย, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Jul 2016

ธรรมาภิบาลแบบพลวัตเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาไทย, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียน สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม สร้างสรรค์นวัตกรรมแก่สังคม และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเรียนรู้ของคนไทย จะเกิดขึ้นได้หากการขับเคลื่อนนโยบายมีความต่อเนื่องและทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐที่ต้องรับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าวยังเผชิญความท้าทายถึงความเป็นไปได้ในการจัดการให้เป็นองค์การที่มีความเป็นเจ้าของและมีพลวัต ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลแบบมีพลวัต ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการตัดสินใจ การพัฒนากระบวนการทำงานและการประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เน้นการสร้างวัฒนธรรม การส่งเสริมขีดความสามารถ และการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร โดยผ่านวิธีคิด 3 ประการ ได้แก่ 1) การคิดล่วงหน้า 2) การคิดทบทวน และ 3) การคิดข้ามขอบเขต เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างยืดหยุ่นเหมาะสมกับกาลเทศะ น่าจะเป็นทางรอดของกระบวนการปฏิรูปการศึกษาของไทย


แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร, วราภรณ์ นาคคง, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อมรวิชช์ นาครทรรพ Jul 2016

แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร, วราภรณ์ นาคคง, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อมรวิชช์ นาครทรรพ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของเมืองแห่งการเรียนรู้ในต่างประเทศ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร ใช้การวิจัยเอกสารเพื่อวิเคราะห์เมืองแห่งการเรียนรู้ 16 เมือง ในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา สาธารณรัฐฟินแลนด์ และสาธารณรัฐเกาหลี และใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยได้แบบสอบถามคืนจากผู้ให้บริการแหล่งเรียนรู้ 248 ชุด และจากผู้ใช้บริการ 709 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อีกทั้งศึกษาภาคสนามในชุมชน 5 ประเภทคือ เคหะชุมชน ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร ชุมชนชานเมือง ชุมชนเมือง และชุมชนแออัด โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และตรวจสอบร่างแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน ผลการวิจัยพบว่า ในต่างประเทศมีการกำหนดนโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้โดยมีการพัฒนานวัตกรรมด้านยุทธศาสตร์ที่จะเอื้อให้ ทุกคนได้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง จัดโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย และเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ส่วนกรุงเทพมหานครมีการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ชุมชนยังไม่เข้าใจยุทธศาสตร์นั้น การดำเนินการมีปัญหาระดับมากในด้านเจ้าหน้าที่ สื่อวัสดุ อุปกรณ์ในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่วนกิจกรรมที่จัดยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ดังนั้น ภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนจำเป็นต้องเข้าใจเป้าหมายและเข้ามามีส่วนร่วม รวมทั้งต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่พอเพียง พัฒนาบุคลากร นวัตกรรมในแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตามที่กำหนดไว้