Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2018

Discipline
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 31 - 60 of 591

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้า, ณิชารีย์ แก้วไชยษา, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์, ณภัควรรต บัวทอง Nov 2018

ความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้า, ณิชารีย์ แก้วไชยษา, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ในปัจจุบันองค์กรหลายแห่งได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับอิสระและชีวิตส่วนตัวพร้อมกับต้องการความ ท้าทายในอาชีพการงาน มากกว่าการอดทนทำงานในองค์กรที่ไม่ได้ทำให้บุคลากรได้พัฒนาศักยภาพวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงาน ระดับความผูกพันต่อองค์กรรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าวิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานในบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าจำนวน 239 ราย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสุขในการทำงาน แบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร และแบบสอบถามทุนพลังใจทางบวกใช้สถิติเชิงพรรณนา Independent samplet-test, One-way ANOVA, Pearson’s Correlation Coefficiency และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Liner Regression) ด้วยวิธี stepwiseผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความสุขในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 51.0) มีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับสูง(ร้อยละ 61.9) ความสุขในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กร (P <0.001) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.239ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงาน ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การที่มีสมาชิก ในครอบครัวที่ต้องดูแลรับผิดชอบ ตำแหน่งงาน อายุการทำงาน การทำงานล่วงเวลาการลาป่วย เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียด และทุนพลังใจทางบวกปัจจัยทำนายความสุขในการทำงาน ได้แก่ ทุนพลังใจทางบวก(P <0.001) อายุการทำงาน (P <0.001) และการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (P = 0.001)สรุป : ผลวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลให้องค์กรนำไปพัฒนาและแนวทางในการสร้างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรให้กับพนักงาน โดยการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ของแผนกทรัพยากรบุคคล ในเสริมสร้างความสุขในการทำงาน


บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Nov 2018

บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

จุฬาลงกรณ์เวชสาร ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2561 ฉบับสุดท้ายของปีนี้ วารสารได้มีการพัฒนาก้าวหน้าดีขึ้นมาก ด้วยเหตุที่ว่า Chulalongkorn Medical Journal ได้รับการตอบรับเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติหลายฐานข้อมูล (journal indexing) เช่น J-Gate, Academic Resource Index, Research Bib, Citefactor, Directory of Research JournalsIndexing (DRJI) Publons และ Google Scholar เป็นต้นดังนั้นในปีหน้า Chulalongkorn Medical Journal จะปรับรูปแบบโดยรับและตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสอดรับกับนโยบายการนำวิชาการสู่สากลของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนNtcp กับการดำเนินโรคจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, นงณภัสร์ ตูยปาละ, สัญชัย พยุงภร, พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ Nov 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนNtcp กับการดำเนินโรคจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, นงณภัสร์ ตูยปาละ, สัญชัย พยุงภร, พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : Sodium taurocholate co-transporting polypeptide หรือ NTCPเป็นตัวรับที่จำเพาะต่อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งอยู่บนผิวของเซลล์ตับทำให้ไวรัสตับอักเสบบีสามารถผ่านเข้าไปสู่เซลล์ตับได้ มีงานวิจัยที่ทำการศึกษาในประชากรจีนชาวฮั่นพบว่าความหลากหลายทางพันธุกรรม (single nucleotide polymorphisms, SNPs)ของยีนNTCP มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังอย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนนี้กับการดำเนินโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในกลุ่มประชากรชาวไทยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมบนยีนNTCP กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและการเกิดมะเร็งตับวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดี ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน จำนวน 242 ราย, กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง จำนวน 230 ราย และกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง จำนวน 635 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับร่วมด้วย จำนวน 319 ราย การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีนดังกล่าวทำโดยวิธี Allelicdiscrimination ด้วย TaqMan probe real-time polymerase chainreaction สถิติที่ใช้ ได้แก่ unpaired t-test, analysis of variance(ANOVA) และ Chi-square testผลการศึกษา : ความถี่ของจีโนไทป์ GG, GA และ AA ของยีน NTCP ตำแหน่งrs2296651 ในกลุ่มควบคุมที่มีสุขภาพดีเป็นร้อยละ 74.2, ร้อยละ 22.1และร้อยละ 3.7 ตามลำดับ, กลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เองเป็นร้อยละ 84.1, ร้อยละ 15.1 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับและกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังเป็นร้อยละ 85.0,ร้อยละ 13.4 และร้อยละ 1.6 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าความถี่ของจีโนไทป์ non-GG (GA และ AA) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีที่สามารถหายได้เอง [odds ratio (OR)0.54; 95 % CI (0.35 - 0.86), P = 0.001] …


กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ, สรันยา เฮงพระพรหม Nov 2018

กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือนของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานคร, มารุต ตำหนักโพธิ, สรันยา เฮงพระพรหม

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : กลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน (Hand-armvibration syndrome: HAVs) เกิดจากการสัมผัสแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านมือและแขนเป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง หลอดเลือด และประสาทของแขนและมือกลุ่มอาชีพขับรถจักรยานยนต์สาธารณะสัมผัสแรงสะเทือนที่มือและแขนจากรถจักรยานยนต์ที่มากเกินมาตรฐานตลอดเวลา ดังนั้นการศึกษาอาการนี้ในกลุ่มอาชีพนี้จึงมีความสำคัญวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาถึงความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากการสั่นสะเทือนในกลุ่มผู้ขับขี่จักรยานยนต์สาธารณะวิธีการทำวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เก็บข้อมูลในผู้มีอาชีพขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะในกรุงเทพมหานครจำนวน 401 รายที่ถูกเลือกมาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามเท่ากับร้อยละ 100 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี Backward stepwiselogistic regressionผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 93.8 อายุเฉลี่ย40.1 ± 11.0 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ย 67.9 ± 11.4 กิโลกรัม ค่ามัธยฐานของจำนวนผู้โดยสารต่อวัน 48.0 ราย [IQR = 30.0, 50.0] ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ประกอบอาชีพขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง 6 ปี[IQR = 3.0, 12.0] ร้อยละ 68.8 สวมถุงมือระหว่างการขับขี่ ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 49.1 ของกลุ่มตัวอย่างพบกลุ่มอาการผิดปกติที่มือและแขนจากแรงสั่นสะเทือน อาการที่เด่นชัดมากที่สุด คือ อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือ มือ แขน ข้อนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก(ร้อยละ 26.4) รองลงมาคือ นิ้วมือชา เสียวซ่า ๆ แปลบ ๆ ต่อเนื่องเกิน20 นาที (ร้อยละ 24.2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการ HAVs ได้แก่สภาพถนนขรุขระมาก (ORadj = 3.42, 95% CI = 1.28 - 9.12)การสวมถุงมือ (ORadj = 1.85, 95% CI = 1.16 - 2.95) รถจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ (ORadj …


ผลของบุหรี่ต่อการทำงานเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทย, กาญจนา จิตติพร, นนทัช อนุศักดิกุล, ภูมิพัฒน์ หิมะพรม, ธนพัฒน์ โสดจำปา, สิทธิชัย วชิราศรีศิริกุล, มันทนา วาดไธสง Nov 2018

ผลของบุหรี่ต่อการทำงานเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทย, กาญจนา จิตติพร, นนทัช อนุศักดิกุล, ภูมิพัฒน์ หิมะพรม, ธนพัฒน์ โสดจำปา, สิทธิชัย วชิราศรีศิริกุล, มันทนา วาดไธสง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยทำให้การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดผิดปกติและเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง แต่ยังไม่มีการศึกษาผลของบุหรี่ต่อการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและการประเมินหลอดเลือดแดงแข็งในอาสาสมัครไทยมาก่อนวัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดและการประเมินหลอดเลือดแดงแข็งของผู้ที่สูบบุหรี่วิธีการทำวิจัย : อาสาสมัครที่มีสุขภาพดี อายุ 20 - 60 ปี ที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่จำนวน 72 ราย ประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ด้วยflow mediated dilatation (FMD) และประเมินหลอดเลือดแดงแข็งด้วย cardio-ankle vascular index (CAVI)ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มที่สูบบุหรี่มีการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แต่ดัชนีความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดง (CAVI) และดัชนีความแข็งของหลอดเลือด (ankle brachial index; ABI) ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ไม่สูบบุหรี่และกลุ่มที่สูบบุหรี่สรุป : การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดลดลงในผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีการสูบบุหรี่ระดับต่ำ ดังนั้นการประเมินการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดอาจใช้เป็นการคัดกรอง ในผู้ที่สูบบุหรี่ก่อนที่จะดำเนินไปสู่โรคหลอดเลือดแดงแข็งตัวรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด.


Relationship Of Serum Leptin And 25-Hydroxyvitamin D In Knee Osteoarthritis Patients, Pacharee Manoy, Wilai Anomasiri, Pongsak Yuktanandana, Aree Tanavalee, Thomas Mabey, Sittisak Honsawek Nov 2018

Relationship Of Serum Leptin And 25-Hydroxyvitamin D In Knee Osteoarthritis Patients, Pacharee Manoy, Wilai Anomasiri, Pongsak Yuktanandana, Aree Tanavalee, Thomas Mabey, Sittisak Honsawek

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Osteoarthritis (OA) is a degenerative articular disease that involves progressive alterations in all joint structures resulting from aging and overuse activity. Leptin and vitamin D play a crucial role in energy metabolism; however, few reports on leptin and 25-hydroxyvitamin D (25(OH)D) in knees of osteoarthritis (OA) has been known.Objectives : To examine serum levels of leptin and vitamin D in knee OA patients and analyze the possible relationship between serum leptin, 25-hydroxyvitamin D, and clinical parameters in OA patients.Methods : In a cross-sectional study, 235 adult patients (212 women and 23 men, aged 65.6  6.5 years) with …


ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในประเทศไทย, ปณิตา บุญพาณิชย์, รัศมน กัลยาศิริ, ณภัควรรต บัวทอง Nov 2018

ภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในประเทศไทย, ปณิตา บุญพาณิชย์, รัศมน กัลยาศิริ, ณภัควรรต บัวทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นอาชีพหนึ่งที่มีลักษณะการทำงานและการดำเนินชีวิต ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้า อีกทั้งในประเทศไทยยังมีข้อมูลเรื่องภาวะซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินน้อยมากวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า ความเหนื่อยล้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทยวิธีการทำวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่งในประเทศไทย จำนวน 405 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ (Insomnia Severity Index)แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต Depression Anxiety Stress Scale(DASS-21) ฉบับภาษาไทย แบบประเมินความเหนื่อยล้า Revised-Piper Fatigue Scale (R-PFS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ ไคสแควร์ ค่าความเสี่ยงและช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณด้วยแบบจำลองลอจิสติกผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างมีภาวะสุขภาพจิตด้านซึมเศร้าอยู่ในระดับเล็กน้อย(ร้อยละ 16.3) มีความเหนื่อยล้าอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.8)เมื่อวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความเหนื่อยล้าในระดับปานกลาง (ORadj = 12.18:95%CI = 3.70 – 40.12), ความเหนื่อยล้าในระดับรุนแรง(ORadj = 20.50: 95%CI = 4.67 – 89.9), และปัญหาการนอนหลับ(ORadj = 1.14: 95%CI = 1.07 – 1.21)สรุป : ผู้บริหารควรตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตและความเหนื่อยล้าของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อาจจัดให้มีการเพิ่มการตรวจสุขภาพจิตประจำปี และควรจัดให้มีกิจกรรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต เพื่อให้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้รู้จักวิธีการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง.


Adolescent Obesity: Current Concept Of Management, Suteerojntrakool O. Nov 2018

Adolescent Obesity: Current Concept Of Management, Suteerojntrakool O.

Chulalongkorn Medical Journal

Obesity is characterized by excessive accumulation of fat in the body which leads to other health problems associated with risk of complications in childhood and increased morbidity and mortality throughout the adult life. Despite the fact that prevention is ultimately the best method to solve the problem, management of obese adolescent still remains a challenge. Physicians must keep the balance between weight reduction and maintaining normal physical growth rate. Presently, multiple approaches and strategies are used for the treatment of obesity including lifestyle modifications, dietary management, anti-obesity drugs and bariatric surgery. Thus, physicians should have the basic understanding of these …


Molecular Epidemiology And Antimicrobial Resistance Of Salmonella Spp. Isolated From Broilers And Pigs At Slaughterhouses In Thailand And China, Wenjing Yang, Dusadee Phongaran, Teerarat Prasertsee, Rendong Fang, Patchara Phuektes, Sunpetch Angkititrakul Sep 2018

Molecular Epidemiology And Antimicrobial Resistance Of Salmonella Spp. Isolated From Broilers And Pigs At Slaughterhouses In Thailand And China, Wenjing Yang, Dusadee Phongaran, Teerarat Prasertsee, Rendong Fang, Patchara Phuektes, Sunpetch Angkititrakul

The Thai Journal of Veterinary Medicine

This study aimed to compare the antimicrobial resistance patterns and DNA restriction patterns by PulsedField Gel Electrophoresis (PFGE) between Salmonella spp. isolated from broilers and pigs in Thailand and China. One hundred and sixty six isolates were collected from broilers and pigs at slaughterhouses in Khon Kaen, Thailand (n=106) between February to August 2017 and in Chongqing, China (n=60) between March to October 2015. Antimicrobial susceptibility of the isolates was determined using the disk diffusion method with nine antimicrobial agents. Genotypic diversity of the isolates used PFGE of Xbal-digested chromosomal DNA to determine. Of 166 Salmonella isolates, 37 serotypes were …


Prevalence And Risk Factors For Canine Cognitive Dysfunction Syndrome In Thailand, Chutamas Benjanirut, Chanakarn Wongsangchan, Piyathip Setthawong, Wittanee Pradidtan, Suphanuch Daechawattanakul, Kris Angkanaporn Sep 2018

Prevalence And Risk Factors For Canine Cognitive Dysfunction Syndrome In Thailand, Chutamas Benjanirut, Chanakarn Wongsangchan, Piyathip Setthawong, Wittanee Pradidtan, Suphanuch Daechawattanakul, Kris Angkanaporn

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Canine cognitive dysfunction syndrome (CDS) is a disease similar to Alzheimer’s in humans. This progressive neurodegenerative disease affects senior dogs, causes many behavioral changes and decreases welfare in both the dog and owner. Even with its high impact, many studies have shown CDS is underdiagnosed. The aims of this study were to investigate the prevalence of CDS in Thailand and to identify its risk factors. In this study, 622 senior dogs (seven years old and older) were randomly recruited. After an initial interview, 389 dogs were excluded from the study due to clinical and/or sensory impairment. Owners of the remaining …


Long-Term Effects Of Repeated Oral Dose Of Ivabradine On Heart Rate Variability In Dogs With Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr, Nakkawee Saengklub, Vudhiporn Limprasutr, Anusak Kijtawornrat Sep 2018

Long-Term Effects Of Repeated Oral Dose Of Ivabradine On Heart Rate Variability In Dogs With Asymptomatic Degenerative Mitral Valve Disease, Prapawadee Pirintr, Nakkawee Saengklub, Vudhiporn Limprasutr, Anusak Kijtawornrat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Degenerative mitral valve disease (DMVD) is the most common acquired cardiac disease in geriatric dogs leading to impaired cardiac autonomic activity and functions. This study aimed to evaluate the heart rate (HR), blood pressure (BP), myocardial oxygen consumption (MVO2) and heart rate variability (HRV) of dogs with DMVD stage B2 in response to long-term treatment with ivabradine, orally. Four beagles with naturally occurring DMVD stage B2 were instrumented with a 24-h Holter recorder to obtain electrocardiography and HRV, an oscillometric device to acquire blood pressure (BP), HR and myocardial oxygen consumption (MVO2) as assessed by rate-pressure product (RPP = HR …


Immunohistochemical Staining Of Peroxisome Proliferatoractivated Receptor Alpha And Gamma In Normal, Benign, And Malignant Canine Mammary Tissues, Wuthichai Klomkleaw, Promporn Raksaseri Sep 2018

Immunohistochemical Staining Of Peroxisome Proliferatoractivated Receptor Alpha And Gamma In Normal, Benign, And Malignant Canine Mammary Tissues, Wuthichai Klomkleaw, Promporn Raksaseri

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The peroxisome proliferator-activated receptors (PPARs) belong to nuclear receptor superfamily acting as transcription factors related to lipid and glucose metabolism. There are 3 subtypes including PPARα, PPAR, and PPAR. PPARα and PPAR activations can inhibit tumor cell proliferation and differentiation in many cell types. However, the expressions of these receptors in canine mammary tissue are still unknown. This study was performed to investigate the expressions of PPARα and PPAR in normal, benign, and malignant canine mammary tissues. Twenty four bitches at the age of 5-15 years old, which undergone unilateral mastectomy, were used in the study. Mammary tissues were sectioned …


การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค: ประสบการณ์จากบุคลากรด้านสุขภาพ, คุณากร การชะวี, พิมพวัลย์ บุญมงคล, สร้อยบุญ ทรายทอง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, สมเกียรติ ศรประสิทธิ์, โธมัส กวาดามูซ Sep 2018

การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค: ประสบการณ์จากบุคลากรด้านสุขภาพ, คุณากร การชะวี, พิมพวัลย์ บุญมงคล, สร้อยบุญ ทรายทอง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, สมเกียรติ ศรประสิทธิ์, โธมัส กวาดามูซ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์ของบุคลากรทางด้านสุขภาพ ที่ประยุกต์ใช้การบูรณาการมิติเพศภาวะในการปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยวัณโรค\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เพื่อศึกษาการบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคจากประสบการณ์ของบุคลากรด้านสุขภาพ\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรด้านสุขภาพที่ดูแล รักษาผู้ป่วยวัณโรค คัดเลือกแบบเจาะจงจากโรงพยาบาลรัฐใน 5 จังหวัด จำนวน 78 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและตีความผ่านการให้รหัสเปิด (Open coding) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย\n\nผลการวิจัย: ประสบการณ์ของบุคลากรด้านสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยใช้การบูรณาการมิติเพศภาวะ แบ่งออกได้ 4 ประเด็น ดังนี้ 1) ประสบการณ์การวิเคราะห์เพศภาวะในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค 2) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรด้านสุขภาพกับผู้ป่วย เพื่อลดการใช้อำนาจกับผู้ป่วย และเสริมพลังอำนาจให้ผู้ป่วย 3) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในการทำงานระดับชุมชน เพื่อลดการตีตราผู้ป่วยในชุมชน และ 4) ประสบการณ์การบูรณาการมิติเพศภาวะในการจัดระบบบริการสุขภาพ\n\nสรุป: การบูรณาการมิติเพศภาวะในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคนั้นมีความสำคัญต่อการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพอย่างยิ่งทั้งช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อผู้ป่วยวัณโรคที่มีความต้องการ และข้อจำกัดที่แตกต่างกันจนสามารถนำไปสู่การให้บริการ การวางแผนการรักษาที่เหมาะสมจนเกิดให้เกิดผลสำเร็จในการรักษาได้ ซึ่งบุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และวางแผนด้านการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค และผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ต่อไปได้


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจาก การพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดจันทบุรี, นุชจรี หิรัญบุตร, นฤมล ธีระรังสิกุล Sep 2018

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจาก การพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดจันทบุรี, นุชจรี หิรัญบุตร, นฤมล ธีระรังสิกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก\n\nรูปแบบการวิจัย: เป็นการวิจัยแบบพรรณาเชิงหาความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: เก็บรวบรวบข้อมูลจากครอบครัวผู้ดูแลหลักของเด็กที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดจันทบุรี จำนวน 74 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแบบ Cluster sampling ได้จำนวน 5 ศูนย์ หลังจากนั้นเลือกผู้ดูแลหลักของเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2558 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกพฤติกรรมความวิตกกังวลจากการพรากจาก มีค่าความเชื่อมั่น (Kuder Richardson 20: KR20) เท่ากับ .93 แบบสอบถามพื้นฐานอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแล และแบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80, .93 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n\nผลการวิจัย: สัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแลหลัก มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.23, p < .05) และมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากระยะประท้วงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.28, p = .01) พื้นฐานอารมณ์ของเด็กและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลจากการพรากจากในระยะปฏิเสธอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.28, p = .01) และ r = -.23 p < .05 ตามลำดับ) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการพรากจากในภาพรวม (p < .05) \n\nสรุป: พยาบาลและผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กควรส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับผู้ดูแลหลักและพื้นฐานอารมณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยก่อนเรียน และส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กแบบให้ความรักมาก การควบคุมอยู่ในระดับปานกลาง มีการใช้เหตุผล ไม่ปล่อยตามใจ เพื่อลดความวิตกกังวลจากการพรากจากของเด็กวัยก่อนเรียนที่เข้ารับบริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก


Ophthalmology Snapshot, Nalinee Tuntivanich Sep 2018

Ophthalmology Snapshot, Nalinee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A nine-year-old, female Shih Tzu had presented with left buphthalmic eye. She had a history of chronic glaucoma (left eye), which had been treating with topical hypotensive medication for several months. Her right eye is normal.


The Effects Of Submaximal Exercise Training On Cardiovascular Functions And Physical Capacity In Dogs With Myxomatous Mitral Valve Disease, Saikaew Sutayatram, Chollada Buranakarl, Anusak Kijtawornrat, Kumpanart Soontornvipart, Pakit Boonpala, Prapawadee Pirintr Sep 2018

The Effects Of Submaximal Exercise Training On Cardiovascular Functions And Physical Capacity In Dogs With Myxomatous Mitral Valve Disease, Saikaew Sutayatram, Chollada Buranakarl, Anusak Kijtawornrat, Kumpanart Soontornvipart, Pakit Boonpala, Prapawadee Pirintr

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Myxomatous mitral valve disease (MMVD), an important disease in senile small breed dogs, leads to deterioration of cardiovascular function and impairment of functional capacity resulting in poor quality of life. Submaximal treadmill running has been used as both cardiovascular training and testing worldwide in humans and recently in animals. The objectives of this study were to examine the effects of submaximal endurance training (ET) by treadmill running on safety, adverse events, cardiovascular adaptations, hematology, functional capacity, and the feasibility of submaximal treadmill running test and 6-minute walk test (6-MWT) in dogs with MMVD. Six adult beagle dogs with MMVD, stage …


การศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียน การสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในศตวรรษที่ 21, ทินกร บัวชู Sep 2018

การศึกษาความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียน การสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในศตวรรษที่ 21, ทินกร บัวชู

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ในศตวรรษที่ 21\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method)\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลหลัก มี 2 กลุ่ม คือ 1) อาจารย์พยาบาล จำนวน 10 ราย และ 2) นักศึกษาพยาบาล จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มในกลุ่มอาจารย์พยาบาล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ในกลุ่มนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน\n\nผลการวิจัย: อาจารย์พยาบาลมีมุมมองของการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การพัฒนาหลักสูตร และ 2) การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 1) การสอนในโลกไร้พรมแดนที่มีการเชื่อมต่อความรู้ผ่านเครือข่าย 2) การสอนแบบที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยไม่ต้องสอน 3) การสอนแบบเน้นการลงมือปฏิบัติ และ 4) การสอนที่มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยนักศึกษาพยาบาลมีความคิดเห็นด้วยมากที่สุด คือ รูปแบบการสอนแบบเน้นการลงมือปฏิบัติ อยู่ในระดับดี (= 4.19, SD = 0.56) รองลงมา คือ รูปแบบการสอนที่มีบรรยากาศส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี (= 4.18, SD = 0.58) ต่อมาคือ รูปแบบการสอนในโลกไร้พรมแดนที่มีการเชื่อมต่อความรู้ผ่านเครือข่าย พบว่า อยู่ในระดับดี (= 4.11, SD = 0.49) และรูปแบบการสอนแบบที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยไม่ต้องสอน พบว่า อยู่ในระดับดี (= 4.06, SD = 0.48)\n\nสรุป: ข้อมูลที่ได้ทำให้เห็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์พยาบาล สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับอาจารย์พยาบาลในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บัณฑิตพยาบาลบรรลุความสำเร็จของการจัดการศึกษา และสอดรับกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 และทำให้นักศึกษาพยาบาลมีคุณภาพที่ดีขึ้นต่อไป


บทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุค ประเทศไทย 4.0, บุญญาภา จันทร์หอม, สุวิณี วิวัฒน์วานิช Sep 2018

บทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุค ประเทศไทย 4.0, บุญญาภา จันทร์หอม, สุวิณี วิวัฒน์วานิช

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาบทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุคประเทศไทย 4.0\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน 5 คน ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสาขาเวชปฏิบัติชุมชน 5 คน อาจารย์พยาบาลสาขาพยาบาลชุมชน 3 คน อาจารย์พยาบาลสาขาบริหารการพยาบาล 2 คน แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว 2 คน และผู้กำหนดนโยบาย 2 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ เป็นผู้เชี่ยวชาญการบริหารงานและการปฏิบัติการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน และใช้วิธีการบอกต่อ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุคประเทศไทย4.0 ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สาระสำคัญแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญขององค์ประกอบย่อยในแต่ละบทบาท และขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย\n\nผลการวิจัย: บทบาทของพยาบาลโรงพยาบาลชุมชนในยุคประเทศไทย 4.0 มีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ด้าน และมีข้อรายการย่อย 55 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 9 ข้อ 2) ด้านผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง จำนวน 7 ข้อ 3) ด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 8 ข้อ 4) ด้านหุ้นส่วนสุขภาพ จำนวน 9 ข้อ 5) ด้านผู้จัดการการดูแล จำนวน 8 ข้อ 6) ด้านการจัดการการดูแลระยะกลาง จำนวน 7 ข้อ และ 7) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 7 ข้อ โดยองค์ประกอบทั้ง 7 ด้าน พบว่า มีข้อรายการย่อยจำนวน 42 …


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์, หมื่นไทย เหล่าบรรเทา, กัญญดา ประจุศิลป Sep 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์, หมื่นไทย เหล่าบรรเทา, กัญญดา ประจุศิลป

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาแบบประเมิน โดยทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน เพื่อกำหนดรายการสมรรถนะ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์กับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 330 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสุ่มแบบมีระบบ นำผลที่ได้ไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ 2) การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน โดยนำแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหอผู้ป่วย และผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวน 350 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสุ่มแบบมีระบบ ประกอบด้วย การตรวจสอบหาความสอดคล้องของการประเมิน ความเที่ยงของแบบประเมิน และความเที่ยงของการใช้แบบประเมิน\n\nผลการวิจัย: 1) แบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ ประกอบด้วย 8 ด้าน มีจำนวนข้อรายการสมรรถนะย่อย 62 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 80.41 ดังนี้ ด้านการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลและการบริหารความปลอดภัย 11 ข้อ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 9 ข้อ ด้านภาวะผู้นำ 9 ข้อ ด้านคุณธรรม จริยธรรม 7 ข้อ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 9 ข้อ ด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม 6 ข้อ ด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ 6 ข้อ และด้านวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม 5 ข้อ\n\n2) การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ พบว่า การประเมินของผู้ประเมิน 3 กลุ่ม (ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหอผู้ป่วย และผู้ใต้บังคับบัญชา) มีความสอดคล้องกัน โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ …


ระลึกถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Sep 2018

ระลึกถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค หรือ “อาจารย์หมอใหญ่” ของผู้ที่คุ้นเคยและ บรรดาศิษย์ นับเป็นอาจารย์รุ่นแรกของพวกเรานับตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งในสมัยแรกอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยท่านเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มในการวางรากฐานและพัฒนาวิชารังสีวิทยาในประเทศไทย จนกระทั่งมีความเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน


ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง Sep 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงพึงพอใจตนเองรับรู้ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคม สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อนำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการมีความสุขวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการและเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิถีชีวิต กับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simplerandom sampling) จากผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mailed questionnaire) ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบประเมินความสุขของ Oxford และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ (Coopersmith,1981) มีค่าความ เชื่อมั่นดังนี้ความสุข 0.74 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.74 และวิถีชีวิต 0.60การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standarddeviations) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlationcoefficient)ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างไม่ระบุเจาะจงว่ามีความสุขหรือไม่มีความสุขร้อยละ 63.4,รองลงมาค่อนข้างไม่มีความสุขและค่อนข้างมีความสุขร้อยละ 35.5และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.581) วิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.291) วิถีชีวิตด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.277) และอายุมีความสัมพันธ์ทางลบ(r = – 0.218) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสุข(P >0.05) ได้แก่ วิถีชีวิตโดยรวม วิถีชีวิตด้านการรับประทานอาหารด้านการดูแลสุขภาพด้านร่าง กายและด้านจิตใจ ด้านการช่วยเหลือสังคมในชีวิตประจำวัน เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสายงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความพอเพียงของรายได้ และสวัสดิการสุขภาพสรุป : หน่วยงานรัฐบาลควรมีระบบดูแลส่งเสริมกลุ่มตัวอย่างให้มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีการออกกำลังกาย มีการประกอบอาชีพ.


E-Cadherin Localization In Oviduct And Uterine Horn Of Swamp Buffalo During Estrous Cycle, Paisan Tienthai Sep 2018

E-Cadherin Localization In Oviduct And Uterine Horn Of Swamp Buffalo During Estrous Cycle, Paisan Tienthai

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The main purpose of the present study was to investigate the localization of epithelial cadherin (E-cadherin) in the oviduct and uterine horn of swamp buffalo at the follicular and mid-luteal phases. E-cadherin is a transmembrane glycoprotein which plays a vital role in the mechanism of the maintenance epithelial architecture, cell growth and proliferation, cell to cell adhesion including cell to epithelium adhesion. Female reproductive tracts of swamp buffaloes (n=30) were collected from local abattoirs and categorized into follicular (n=15) and mid-luteal (n=15) phases. Tissue samples from the oviducts and uterine horns were regularly handled according to histological and immunohistochemical techniques. …


Decreasing Duration Of Androgenic Hormone Feeding Supplement For Production Of Male Monosex In Tilapia (Oreochromis Spp.) Fry, Nion Vinarukwong, Mintra Lukkana, Janenuj Wongtavatchai Sep 2018

Decreasing Duration Of Androgenic Hormone Feeding Supplement For Production Of Male Monosex In Tilapia (Oreochromis Spp.) Fry, Nion Vinarukwong, Mintra Lukkana, Janenuj Wongtavatchai

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The effects of an exogenous androgenic hormone on sex differentiation were examined in Nile tilapia (Oreochromis niloticus) and red tilapia (Oreochromis spp.) fry. Tilapia aquaculture in Thailand commonly applies methyltestosterone at the dose of 80 mg/kg diet on the first feeding of fish fry for 21-28 days to achieve male-monosex crop. In this study, male sex reversal was induced with an alternative androgenic hormone, 17α- methyldihydrotestosterone (MDHT), at a dose of 80 mg/kg diet for shorter periods; 5, 10, 15, or 20 days. Microscopic examination of fish gonad stained with aceto-carmine was used to determine male and female fish fry …


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ชัชวาล วงค์สารี Sep 2018

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ชัชวาล วงค์สารี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงการทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 152 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการตนเอง มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอน บราค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) จัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.63, SD= 0.17) 2) ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อายุ รายได้ และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .172, .254, .253, ตามลำดับ, p < .05) โดยทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ได้ร้อยละ 15.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05\n\nสรุป: ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีการจัดการที่ดีทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์และจิตวิญญาณ การพิทักษ์สิทธิของตนเอง การสื่อสารกับผู้ให้การดูแล การทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตัวตามแผนการรักษา โดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาที่ดี มีระยะเวลาการฟอกเลือดที่มากกว่า 3 ปี และมีอายุมากกว่า 50 ปี มาเป็นตัวแบบที่ดีสำหรับสนับสนุนให้ผู้ป่วยอื่นได้เรียนรู้วิธีการจัดการตนเองด้านสุขภาพที่ได้ผลดี


อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท: ประเด็นสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาล, สุดาพร สถิตยุทธการ Sep 2018

อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท: ประเด็นสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาล, สุดาพร สถิตยุทธการ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

อาการซึมเศร้าเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเภท เป็นสาเหตุหลักสู่พฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่สูงอย่างต่อเนื่อง อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคจิตเภทส่งผลกระทบรุนแรงต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนั้นพยาบาลจิตเวชต้องเรียนรู้ลักษณะอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท ระยะการเกิดอาการ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท การประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย การป้องกันการฆ่าตัวตายและการพยาบาลเพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการซึมเศร้าจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มุ่งเน้นความต้องการของผู้ป่วย ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจิตเภท และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเภทต่อไป


บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่ บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่น, ชญาน์นันท์ อึ้งวงศพัฒน์ Sep 2018

บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่ บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่น, ชญาน์นันท์ อึ้งวงศพัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ชายวัยรุ่นที่เป็นบิดาก่อนวัยอันควรเนื่องจากมีบุตรโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตสอง อย่างพร้อมกัน คือ ภาวะวิกฤตที่เกิดจากพัฒนาการตามวัยของวัยรุ่น และภาวะวิกฤตในบทบาทการเป็นบิดา ผลกระทบของการเป็นบิดาวัยรุ่นมีทั้งทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ในสถานการณ์นี้บิดาวัยรุ่นต้องการการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด พยาบาลในหน่วยฝากครรภ์มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชายวัยรุ่นให้ยอมรับการตั้งครรภ์ ยอมรับบุตรในครรภ์ และสามารถปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่นได้ในที่สุด เพื่อช่วยเหลือมารดาและบุตรในครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะตั้งครรภ์


Evaluation Of A Commercial Elisa Test Kit On Classical Swine Fever Antibody Detection Using Oral Fluid Samples, Panchan Sitthicharoenchai, Yonlayong Woonwong, Korakrit Poonsuk, Jirapat Arunorat, Chonnatcha Muangpaisarn, Kanokwan Samatiwat, Worapatch Konthong, Whannaphorn Sattathara, Roongroje Thanawongnuwech Sep 2018

Evaluation Of A Commercial Elisa Test Kit On Classical Swine Fever Antibody Detection Using Oral Fluid Samples, Panchan Sitthicharoenchai, Yonlayong Woonwong, Korakrit Poonsuk, Jirapat Arunorat, Chonnatcha Muangpaisarn, Kanokwan Samatiwat, Worapatch Konthong, Whannaphorn Sattathara, Roongroje Thanawongnuwech

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Classical swine fever virus (CSFV) contributes to economic loss of swine production in endemic countries. Serum neutralization and enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) are serological tests commonly used for monitoring CSFV antibody status with serum samples. This experiment evaluated the detection of CSFV antibody in oral fluid samples in commercial ELISA test kit by in vitro study of negative oral fluid mixed with serum of known CSFV serum neutralizing (SN) titer and in vivo oral fluid samples obtained from experimental animals. Correlations of SN titer and S/P ratio of ELISA were observed with the in vitro oral fluid samples, indicating the …


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมิน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : เกณฑ์คะแนน แบบรูบริค, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร Sep 2018

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมิน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : เกณฑ์คะแนน แบบรูบริค, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาเชิงปริมาณแบบย้อนหลัง\n\nวิธีดำเนินงานวิจัย: ข้อมูลที่ใช้เป็นตัวอย่าง มาจากแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 122 คน โดยได้รับการอนุมัติเป็นโครงการวิจัยเข้าข่ายยกเว้นจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัยที่ทำในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 หมายเลขรับรอง SWUEC/X-338/2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยโปรแกรม STATA\n\nผลการวิจัย: พบว่า แบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL)(พยบ.212) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ พฤติกรรมของผู้เรียน เจตคติของผู้เรียน และกระบวนการกลุ่ม ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนการสอนแบบ PBL ได้ร้อยละ 60.75 สำหรับแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBLประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ เนื้อหารายงาน การวางแผนงาน และสรุปประเด็นและแนวคิด ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBL ได้ร้อยละ 64.30\n\nสรุป: ผลการศึกษานี้สามารถนำสู่การสร้างเกณฑ์คะแนนรูบริคที่เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียน และสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำสู่การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องได้


ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อ การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์, จินตนา ยูนิพันธุ์ Sep 2018

ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อ การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อการแสดงออกทางอารมณ์\n\nของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design)\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และผู้ป่วยจิตเภท ที่เข้ารับบริการในคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน จับคู่ด้วยระยะเวลาการเผชิญหน้ากับผู้ป่วยในแต่ละสัปดาห์และความเพียงพอของรายได้ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน 3 ชุด ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 3) แบบวัดการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา โดยแบบประเมินชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: \n1) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n\nสรุป: โปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มมีผลทำให้การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทลดลง


Long-Term Effect Of Low-Dose Imatinib Therapy For Pulmonary Hypertension Due To Chronic Degenerative Mitral Valve Disease In Six Dogs, Zi Ping Leong, Shinji Arita, Yoshiaki Hikasa Sep 2018

Long-Term Effect Of Low-Dose Imatinib Therapy For Pulmonary Hypertension Due To Chronic Degenerative Mitral Valve Disease In Six Dogs, Zi Ping Leong, Shinji Arita, Yoshiaki Hikasa

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Six dogs were diagnosed with pulmonary hypertension (PH) secondary to chronic degenerative mitral valve disease (CDMVD) on echocardiography. Imatinib (3 mg/kg, every 24 hours, PO) was initiated without any changes to the background therapy to treat the PH. Follow-up evaluations at 1, 3, 5 and 6 months revealed substantial clinical and hemodynamic improvements. One dog showed deterioration after the imatinib withdrawal to necessitate a restart therapy. No side effects were observed throughout the 6-month treatment course. Low-dose imatinib may provide a promising treatment alternative for CDMVD-associated PH in dogs.