Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2018

Discipline
Keyword
Publication
Publication Type

Articles 61 - 90 of 591

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Investigation Into Toxin And Slime Genes In Staphylococci Isolated From Goat Milk And Goat Cheese In Southern Turkey, Sevda Pehlivanlar Onen, Zafer Cantekin, Faiza Mebkhout, Osman Aygun, Yasar Ergun Sep 2018

Investigation Into Toxin And Slime Genes In Staphylococci Isolated From Goat Milk And Goat Cheese In Southern Turkey, Sevda Pehlivanlar Onen, Zafer Cantekin, Faiza Mebkhout, Osman Aygun, Yasar Ergun

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The aim of this study was to investigate the presence of Staphylococcus aureus and coagulase-negative staphylococci (CNS) isolated from goat milk and cheese, as well as their toxin genes and slime genes. S. aureus and CNS isolates were subjected to polymerase chain reaction (PCR) analyses to determine the prevalence of enterotoxin (sea, seb, sec, sed, see), toxic shock syndrome (TSS) toxin (tst), exfoliative toxin (eta and etb) and slime genes (icaA and icaD). sec, sed and tst genes together were detected in 4 (33.3%), sec + tst genes in 2 (16.7%) and tst gene in 1 (8.3%) of the 12 …


Therapeutic Use Of Sulfadimethoxine-Ormetoprim For Control Of Streptococcus Agalactiae Infection In Nile Tilapia (Oreochromis Niloticus) Fry, Nion Vinarukwong, Mintra Lukkana, Jan O. Berntsen, Janenuj Wongtavatchai Sep 2018

Therapeutic Use Of Sulfadimethoxine-Ormetoprim For Control Of Streptococcus Agalactiae Infection In Nile Tilapia (Oreochromis Niloticus) Fry, Nion Vinarukwong, Mintra Lukkana, Jan O. Berntsen, Janenuj Wongtavatchai

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The therapeutic efficacy of sulfadimethoxine-ormetoprim (SDMX-OMP) against Streptococcus agalactiae (S. agalactiae) infection in tilapia (Oreochromis niloticus) was examined in tilapia fry. Fish (3+0.44 g) underwent 3-hour immersion challenge with 50% infective dose (2.58 x 106 CFU/ml) of S. agalactiae and were treated at 24 hours post challenge with daily dosages of 30 and 50 mg SDMX-OMP/kg body weight (BW) feeding medication for 7 days. The administration of medicated feed increased the survival of the infected tilapia fry. The survival rate of the challenged, non-medicated group was 51.25+4.79%. The fish which were challenged with S. agalactiae and received the 30 and …


Molecular Epidemiology And Antimicrobial Resistance Of Salmonella Spp. Isolated From Broilers And Pigs At Slaughterhouses In Thailand And China, Wenjing Yang, Dusadee Phongaran, Teerarat Prasertsee, Rendong Fang, Patchara Phuektes, Sunpetch Angkititrakul Sep 2018

Molecular Epidemiology And Antimicrobial Resistance Of Salmonella Spp. Isolated From Broilers And Pigs At Slaughterhouses In Thailand And China, Wenjing Yang, Dusadee Phongaran, Teerarat Prasertsee, Rendong Fang, Patchara Phuektes, Sunpetch Angkititrakul

The Thai Journal of Veterinary Medicine

This study aimed to compare the antimicrobial resistance patterns and DNA restriction patterns by PulsedField Gel Electrophoresis (PFGE) between Salmonella spp. isolated from broilers and pigs in Thailand and China. One hundred and sixty six isolates were collected from broilers and pigs at slaughterhouses in Khon Kaen, Thailand (n=106) between February to August 2017 and in Chongqing, China (n=60) between March to October 2015. Antimicrobial susceptibility of the isolates was determined using the disk diffusion method with nine antimicrobial agents. Genotypic diversity of the isolates used PFGE of Xbal-digested chromosomal DNA to determine. Of 166 Salmonella isolates, 37 serotypes were …


ระลึกถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Sep 2018

ระลึกถึงศาสตราจารย์กิตติคุณ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค หรือ “อาจารย์หมอใหญ่” ของผู้ที่คุ้นเคยและ บรรดาศิษย์ นับเป็นอาจารย์รุ่นแรกของพวกเรานับตั้งแต่ที่มีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งในสมัยแรกอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยท่านเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มในการวางรากฐานและพัฒนาวิชารังสีวิทยาในประเทศไทย จนกระทั่งมีความเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน


ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง Sep 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต, เปรมวดี คฤหเดช, พรพรรณ วรสีหะ, ส่าหรี แดงทองดี, สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ ควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงพึงพอใจตนเองรับรู้ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาทั้งด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคม สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข ทั้งนี้เพราะเป็นช่วงวัยสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษาเรื่องดังกล่าวเพื่อนำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการมีความสุขวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการและเพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิถีชีวิต กับความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการวิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simplerandom sampling) จากผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ (mailed questionnaire) ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบประเมินความสุขของ Oxford และแบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ (Coopersmith,1981) มีค่าความ เชื่อมั่นดังนี้ความสุข 0.74 ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 0.74 และวิถีชีวิต 0.60การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standarddeviations) การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlationcoefficient)ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างไม่ระบุเจาะจงว่ามีความสุขหรือไม่มีความสุขร้อยละ 63.4,รองลงมาค่อนข้างไม่มีความสุขและค่อนข้างมีความสุขร้อยละ 35.5และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.581) วิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.291) วิถีชีวิตด้านการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.277) และอายุมีความสัมพันธ์ทางลบ(r = – 0.218) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสุข(P >0.05) ได้แก่ วิถีชีวิตโดยรวม วิถีชีวิตด้านการรับประทานอาหารด้านการดูแลสุขภาพด้านร่าง กายและด้านจิตใจ ด้านการช่วยเหลือสังคมในชีวิตประจำวัน เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสายงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความพอเพียงของรายได้ และสวัสดิการสุขภาพสรุป : หน่วยงานรัฐบาลควรมีระบบดูแลส่งเสริมกลุ่มตัวอย่างให้มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีการออกกำลังกาย มีการประกอบอาชีพ.


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ชัชวาล วงค์สารี Sep 2018

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วย เครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ชัชวาล วงค์สารี

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง\n\nแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยแบบความสัมพันธ์เชิงการทำนาย\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาโดยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 152 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลพฤติกรรมการจัดการตนเอง มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอน บราค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน\n\nผลการวิจัย: 1) จัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.63, SD= 0.17) 2) ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม อายุ รายได้ และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .172, .254, .253, ตามลำดับ, p < .05) โดยทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการจัดการตนเองด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ได้ร้อยละ 15.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05\n\nสรุป: ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีการจัดการที่ดีทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์และจิตวิญญาณ การพิทักษ์สิทธิของตนเอง การสื่อสารกับผู้ให้การดูแล การทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติตัวตามแผนการรักษา โดยส่งเสริมให้ผู้ป่วยที่มีระดับการศึกษาที่ดี มีระยะเวลาการฟอกเลือดที่มากกว่า 3 ปี และมีอายุมากกว่า 50 ปี มาเป็นตัวแบบที่ดีสำหรับสนับสนุนให้ผู้ป่วยอื่นได้เรียนรู้วิธีการจัดการตนเองด้านสุขภาพที่ได้ผลดี


อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท: ประเด็นสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาล, สุดาพร สถิตยุทธการ Sep 2018

อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท: ประเด็นสำคัญในการปฏิบัติการพยาบาล, สุดาพร สถิตยุทธการ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

อาการซึมเศร้าเป็นปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโรคจิตเภท เป็นสาเหตุหลักสู่พฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่สูงอย่างต่อเนื่อง อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคจิตเภทส่งผลกระทบรุนแรงต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนั้นพยาบาลจิตเวชต้องเรียนรู้ลักษณะอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท ระยะการเกิดอาการ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท การประเมินความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย การป้องกันการฆ่าตัวตายและการพยาบาลเพื่อการป้องกันการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการซึมเศร้าจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มุ่งเน้นความต้องการของผู้ป่วย ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจิตเภท และนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเภทต่อไป


บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่ บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่น, ชญาน์นันท์ อึ้งวงศพัฒน์ Sep 2018

บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการปรับตัวเข้าสู่ บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่น, ชญาน์นันท์ อึ้งวงศพัฒน์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

ชายวัยรุ่นที่เป็นบิดาก่อนวัยอันควรเนื่องจากมีบุตรโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตสอง อย่างพร้อมกัน คือ ภาวะวิกฤตที่เกิดจากพัฒนาการตามวัยของวัยรุ่น และภาวะวิกฤตในบทบาทการเป็นบิดา ผลกระทบของการเป็นบิดาวัยรุ่นมีทั้งทางด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ในสถานการณ์นี้บิดาวัยรุ่นต้องการการสนับสนุนจากบุคคลใกล้ชิด พยาบาลในหน่วยฝากครรภ์มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือชายวัยรุ่นให้ยอมรับการตั้งครรภ์ ยอมรับบุตรในครรภ์ และสามารถปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นบิดาวัยรุ่นได้ในที่สุด เพื่อช่วยเหลือมารดาและบุตรในครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะตั้งครรภ์


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมิน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : เกณฑ์คะแนน แบบรูบริค, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร Sep 2018

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมิน การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : เกณฑ์คะแนน แบบรูบริค, วัชรี ด่านกุล, ลาวัณย์ รัตนเสถียร

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในแบบประเมินการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน\n\nแบบแผนงานวิจัย: การศึกษาเชิงปริมาณแบบย้อนหลัง\n\nวิธีดำเนินงานวิจัย: ข้อมูลที่ใช้เป็นตัวอย่าง มาจากแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 122 คน โดยได้รับการอนุมัติเป็นโครงการวิจัยเข้าข่ายยกเว้นจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัยที่ทำในมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 หมายเลขรับรอง SWUEC/X-338/2560 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยโปรแกรม STATA\n\nผลการวิจัย: พบว่า แบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Base Learning: PBL)(พยบ.212) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ พฤติกรรมของผู้เรียน เจตคติของผู้เรียน และกระบวนการกลุ่ม ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในแบบประเมินการเรียนรู้ของนิสิตในการเรียนการสอนแบบ PBL ได้ร้อยละ 60.75 สำหรับแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBLประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ เนื้อหารายงาน การวางแผนงาน และสรุปประเด็นและแนวคิด ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบร่วมกันอธิบายความแปรปรวนแบบประเมินการจัดเก็บแฟ้มสะสมงาน PBLและแบบประเมินหลักฐานรายงานการเรียนรู้ PBL ได้ร้อยละ 64.30\n\nสรุป: ผลการศึกษานี้สามารถนำสู่การสร้างเกณฑ์คะแนนรูบริคที่เหมาะสมกับรายวิชาและผู้เรียน และสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานที่นำสู่การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องได้


ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อ การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์, จินตนา ยูนิพันธุ์ Sep 2018

ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อ การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์, จินตนา ยูนิพันธุ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อการแสดงออกทางอารมณ์\n\nของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design)\n\nวิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และผู้ป่วยจิตเภท ที่เข้ารับบริการในคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน จับคู่ด้วยระยะเวลาการเผชิญหน้ากับผู้ป่วยในแต่ละสัปดาห์และความเพียงพอของรายได้ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน 3 ชุด ดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 3) แบบวัดการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา โดยแบบประเมินชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที\n\nผลการวิจัย: \n1) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 \n\nสรุป: โปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มมีผลทำให้การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทลดลง


ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, จันทนา หล่อตจะกูล, สมศรี รัตนปริยานุช, ปิยฉัตร สนามแจง Sep 2018

ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, จันทนา หล่อตจะกูล, สมศรี รัตนปริยานุช, ปิยฉัตร สนามแจง

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย\n\nแบบแผนการวิจัย: รูปแบบการวิจัย: วิจัยความสัมพันธ์เชิงพรรณนา\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลมิชชั่น และโรงพยาบาลธนบุรี จำนวน 80 คน คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการตอบ แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสหสัมพันธ์เพียร์สัน \n\nผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมไม่มีภาวะซึมเศร้า\n\nมีการสนับสนุนทางสังคมระดับปานกลาง มีคุณภาพชีวิตระดับสูง ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ.05 ตามลำดับ (r= -.655** p < .01) (r= .282* p < .05) \n\nสรุป: คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุนทางสังคม ดังนั้นพยาบาลหรือผู้ดูแลสามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีมากขึ้นได้


ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของ ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, รุ่งนภา อุดมลาภ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Sep 2018

ผลของโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่อภาระของ ผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม, รุ่งนภา อุดมลาภ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรส ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมก่อน ระหว่าง และหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งมีผู้ดูแลที่เป็น คู่สมรส ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกของคลินิกความจำ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จำนวน 16 คน ทำการศึกษากลุ่มเดียววัดแบบอนุกรมเวลา โดยผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ตามแนวคิดของ Ingersoll-Dayton และคณะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามภาระของผู้ดูแล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ\n\nผลการวิจัย: ภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ระหว่างได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ และหลังได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 เป็นต้นไป\n\nสรุป: โปรแกรมการทบทวนชีวิตคู่สามารถลดภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้


แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีในปัจจุบัน, ไพโรจน์ ธีรนัยพงศ์ Sep 2018

แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีในปัจจุบัน, ไพโรจน์ ธีรนัยพงศ์

Chulalongkorn Medical Journal

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องการวินิจฉัย และให้การรักษาอย่างทันท่วงที สามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เช่นภาวะหายใจล้มเหลวฉับพลัน และลดอัตราตายได้ เนื่องจากอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี ไม่เฉพาะเจาะจง การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพบเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี หรือการตรวจพบดีเอ็นเอของเชื้อดังกล่าวในสิ่งส่งตรวจจากระบบทางเดินหายใจ ทางห้อง ปฏิบัติการ การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์โดยวิธีย้อมสีต่าง ๆ สามารถให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยได้มาก แต่อาจไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ในกรณีที่มีปริมาณเชื้อไม่มากพอ การตรวจโดยวิธีทางน้ำเหลืองวิทยา เช่น การตรวจแอนติบอดีต่อ (1-3)-beta-D-glucan (BDG), lactatedehydrogenase (LDH), S-adenosylmethionine และ major surface glycoprotein (MSG) ของเชื้อดังกล่าว เป็นต้น การตรวจทางภาพรังสีปอด คลื่นเสียงความถี่สูง มีประโยชน์ในแง่ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัยและรักษา มีรายงานความไวและความจำเพาะของวิธีการตรวจเหล่านี้แตกต่างกันในหลายการศึกษา และยังไม่มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่จำเพาะเจาะจงเพียงพอสำหรับการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซี จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลการตรวจจากหลายวิธีการร่วมกันมีรายงานเกี่ยวกับความสำเร็จในการเพาะเชื้อชนิดนี้ในห้องทดลอง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าใจชีววิทยาและการดำเนินโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีต่อไปในอนาคต.


ผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่สุขภาพดี, ฉัตรฤกษ์ วงษ์เจริญ, วิลาวัลย์ อินทรีย์, สุภาวดี ทาจ๋อย, ศิวฤทธิ์ รัศมีจันทร์, กิติยา โกวิทยานนท์, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล Sep 2018

ผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่สุขภาพดี, ฉัตรฤกษ์ วงษ์เจริญ, วิลาวัลย์ อินทรีย์, สุภาวดี ทาจ๋อย, ศิวฤทธิ์ รัศมีจันทร์, กิติยา โกวิทยานนท์, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : เท้าเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่รองรับน้ำหนัก และรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใต้ฝ่าเท้าแล้วส่งข้อมูลไปสมอง เพื่อประมวลผลให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะสม การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุให้การรับรู้ความรู้สึกของฝ่าเท้าลดลงทำให้เสี่ยงต่อการล้มได้ง่าย ดังนั้นเท้าจึงเป็นอวัยวะที่ควรได้รับการดูแล เช่น การนวดด้วยวิธีการกดจุดสะท้อน เนื่องจากเท้ามีพื้นที่การตอบสนองที่เชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ เมื่อกระตุ้นที่ตำแหน่งของฝ่าเท้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของอวัยวะ การประเมินการตอบสนองมีหลายวิธี แต่วิธีการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองมีข้อดีหลายประการ และยังไม่พบการศึกษาการกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าด้วยการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีวิธีการทำวิจัย : เพศหญิงอายุระหว่าง 20 - 30 ปี จำนวน 40 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (นวดกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้า, n = 20) และกลุ่มควบคุม (แตะจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้า, n = 20) โดยทำการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองในบริเวณ frontal lobe,parietal lobe, temporal lobe, central lobe และ occipital lobeทั้งก่อนกดจุด ขณะกดกลางฝ่าเท้า กดนิ้วโป้งเท้า และหลังกดจุดผลการศึกษา : พบว่าความถี่ของคลื่นไฟฟ้าสมองในบริเวณ frontal lobe, parietallobe, temporal lobe, central lobe และ occipital lobe ในช่วงก่อนกดจุด ขณะกดกลางฝ่าเท้า และกดนิ้วโป้งเท้ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.003) เมื่อเปรียบเทียบกับภายหลังกดจุดทันที ทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทั้งเท้าข้างซ้ายและเท้าข้างขวา กล่าวคือในขณะกดจุดพบคลื่นอัลฟ่าความถี่สูง (11.0 -12.9 Hz) สำหรับภายหลังกดจุดพบคลื่นเบต้า (13.0 - 30.0 Hz)นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P >0.05)เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการกดจุดสะท้อนและแตะเบาสรุป : การกดจุดสะท้อนไม่ว่าจะเป็นการกดจุดสะท้อนหรือแตะเบาจะกระตุ้นให้สมองเกิดคลื่นอัลฟาความถี่สูง แต่หลังจากกดทันทีพบคลื่นเบต้าบ่งชี้ว่าสมองทำงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าไม่ว่าจะเป็นการกดจุดสะท้อนหรือแตะเบาที่เท้าข้างใดก็ให้การกระตุ้นสมองคล้ายคลึงกัน.


ความชุกและความเสี่ยงในการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อม ที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ชนิษฐา ตียะพาณิชย์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, จิรภา แจ่มไพบูลย์ Sep 2018

ความชุกและความเสี่ยงในการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อม ที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ชนิษฐา ตียะพาณิชย์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, จิรภา แจ่มไพบูลย์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ภาวะสมองเสื่อมและภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยในปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นและมีอุบัติการณ์ล้มมากเป็น 2 เท่าของรายทั่วไป ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเป็นภาระในการดูแล นอกจากนี้ยังไม่พบการศึกษาความกลัวการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยวัตถุประสงค์ : ศึกษาความกลัวการล้ม ความเสี่ยงในการล้มและความชุกของการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์วิธีการทำวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 95 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบประเมิน MoCA แบบประเมิน TMSEแบบประเมิน NPI - Q การประเมินการทรงตัวด้วยวิธี Time up and gotest และ Berg balance test คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่พยากรณ์ความกลัวการล้มและความเสี่ยงในการล้มผลการศึกษา : ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีประวัติการล้มคิดเป็นร้อยละ 44.2 เป็นผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 48.9 ซึ่งพบมากกว่าผู้ป่วยภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย ร้อยละ 39.6 ความกลัวการล้ม คิดเป็นร้อยละ 44.2 เมื่อประเมินการทรงตัวด้วยวิธี Time upand go test และ Berg balance test พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในการล้มสูงคิดเป็นร้อยละ 7.4 และ 3.2 ตามลำดับ ปัจจัยทำนายความกลัวการล้ม ได้แก่ อาการกระสับกระส่ายและเพศหญิงและปัจจัยทำนายความเสี่ยงในการล้ม ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 75 ปีเพศหญิงและมีภาวะสมองเสื่อมสรุป : การศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดมีประวัติการล้มคิดเป็นร้อยละ 44.2ซึ่งจากผลการศึกษาครั้งนี้พบความชุกของการล้มในผู้ที่มีความบกพร่องของสมองสูงกว่าความชุกของการล้มของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชน นอกจากนี้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่กลัวการล้มและมีความเสี่ยงของการล้มส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองความกลัวการล้มและความเสี่ยงในการล้มก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์เพื่อลดอุบัติการณ์ล้มและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมต่อไป.


ผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ซึ่งมีต่อการควบคุมการทรงท่าขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง, กัลยกร โตเอี่ยม, จุฑามาศ ผลศรีธิ, ณิชกุล บุญช่วย, เพ็ญพร นาเจริญ, ภาทร ตันตะราวงศา, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล Sep 2018

ผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ซึ่งมีต่อการควบคุมการทรงท่าขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง, กัลยกร โตเอี่ยม, จุฑามาศ ผลศรีธิ, ณิชกุล บุญช่วย, เพ็ญพร นาเจริญ, ภาทร ตันตะราวงศา, สมภิยา สมถวิล, อรอุมา บุณยารมย์, กนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : การใส่รองเท้าส้นสูงยังคงเป็นที่ชื่นชอบของผู้สวมใส่ และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับในบางวิชาชีพเพื่อความสง่างาม แต่การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นระยะเวลานาน ทำให้ผู้สวมใส่มักเกิดความรู้สึกไม่สบาย มีปัญหาต่อระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และเสียการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว(dynamic postural balance) ดังนั้นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำต้องมีการออกกำลังกาย หรือการฝึกการออกกำลังกายข้อเท้า และฝึกการทรงตัว (balance training) ซึ่งรูปแบบการฝึกควรเน้นรูปแบบที่เป็นกิจกรรมโดยเฉพาะการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่(functional balance training) เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันวัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ (functional balancetraining) ที่มีต่อการควบคุมการทรงท่า (dynamic postural control)ขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูงวิธีการทำวิจัย : อาสาสมัครจำนวน 19 ราย (คัดออก 3 ราย จาก 22 ราย) อายุระหว่าง18 - 25 ปีแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม (control group; CG) (n = 9) และกลุ่มฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ (functional balance training group;FBTG) (n =10) กลุ่มฝึก functional balance ทำการฝึก functionalbalance เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ทำการทดสอบ modified StarExcursion Balance Test; mSEBT เพื่อศึกษาผลของ dynamicpostural control และใช้เครื่องทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแบบไร้สายวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าเมื่อครบ 4 สัปดาห์ผลการศึกษา : พบว่าผลของการฝึก functional balance เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์มีผลต่อ dynamic postural control เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุม (control group; CG) และกลุ่มฝึกการทรงตัวตามหน้าที่(functional balance training group; FBTG) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อankle dorsiflexors, ankle plantar flexors, foot invertors และ footevertors เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ในกลุ่มที่ได้รับการฝึก functional balance เปรียบเทียบระหว่างก่อนเข้าโปรแกรมและหลังเข้าโปรแกรมครบ 4 สัปดาห์สรุป : การฝึก functional balance เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่งผลทำให้dynamic postural control ดีขึ้นในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง นอกจากนั้นการฝึก functional balance ยังทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้าดีขึ้น ผลดังกล่าวอาจช่วยป้องกันการลื่นล้มและการเกิดข้อเท้าพลิกในผู้ที่สวมใส่รองเท้าส้นสูงได้.


โรคหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation), กวิรัช ตันติวงษ์, ศุภางค์ ศรีทอง Sep 2018

โรคหลั่งเร็ว (Premature Ejaculation), กวิรัช ตันติวงษ์, ศุภางค์ ศรีทอง

Chulalongkorn Medical Journal

โรคหลั่งเร็ว (premature ejaculation, PE) หรือที่เรียกกันว่า “ล่มปากอ่าว”, “นกกระจอกไม่ทันกินนํ้า” เป็นโรคที่พบได้มากที่สุด ในปัญหาสุขภาพทางเพศของชายทั่วโลก พบได้ถึงร้อยละ 20 - 30 ในชายทุกกลุ่มอายุ นอกจากจะทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแล้ว ยังส่งผลกับผู้ป่วยด้านความมั่นใจ ความเครียด เสียบุคลิกภาพ รวมไปถึงเกิดปัญหาชีวิตคู่ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อมีอาการหลั่งเร็วมักอายที่จะเข้าไปรับคำปรึกษาจากแพทย์ บางส่วนไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ premature ejaculation จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงกว่าร้อยปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันคำจำกัดความที่เป็นสากลของโรคกลไกการเกิดโรค และสาเหตุนั้นยังไม่ชัดเจนแต่เกี่ยวข้องกับเวลา ความสามารถในการควบคุมการหลั่งและความกังวลในการใช้ชีวิตคู่.


ผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์แอสโทรไซต์, ณัฐณิชา ตัณฑรังษี, ธนัญญา ทองตัน, ศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์ Sep 2018

ผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์แอสโทรไซต์, ณัฐณิชา ตัณฑรังษี, ธนัญญา ทองตัน, ศุภางค์ มณีศรี เลอกรองด์

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ผลการศึกษาวิจัยในช่วง 10 ปีหลังนี้บ่งชี้ว่า การได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังด้วยขนาดของการรักษาสามารถส่งผลเสียต่อเซลล์และระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ รวมไปถึงระบบประสาทส่วนกลางด้วยวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการตายของเซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์วิธีการทำวิจัย : เซลล์เพาะเลี้ยงแอสโทรไซต์ (C8-D1A) ถูกเพาะเลี้ยงร่วมกับยาพาราเซตามอล ที่ความเข้มข้น 100 µM เป็นเวลา 24 ชั่วโมง 16 และ 28 วันจากนั้นทำการตรวจนับจำนวนเซลล์ตายและตรวจสอบโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์เพาะเลี้ยงที่ได้รับยาพาราเซตามอลเปรียบเทียบกับเซลล์เพาะเลี้ยงควบคุมผลการศึกษา : การได้รับยาพาราเซตามอลที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ส่งผลให้เซลล์เพาะเลี้ยง แอสโทรไซต์เกิดการเปลี่ยนแปลง ขณะที่การเพาะเลี้ยงร่วมกับยาพาราเซตามอลเป็นระยะเวลา 16 และ 28 วัน ส่งผลให้เซลล์มีการตายเพิ่มสูงขึ้นและมีลักษณะโครงสร้างระดับจุลภาคที่ผิดปกติไปโดยพบว่ามีความผิดปกติของนิวเคลียส เยื่อหุ้มนิวเคลียส endoplasmicreticulum (ER) และไมโทคอนเดรียอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์เพาะเลี้ยงควบคุมสรุป : การได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์แอสโทรไซต์มีการตายเพิ่มขึ้น และส่งผลต่อโครงสร้างระดับจุลภาคของเซลล์แอสโทรไซต์ให้เปลี่ยนแปลงไป.


สภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล Sep 2018

สภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : ห้องปฏิบัติการเป็นพื้นที่หนึ่งของโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีสิ่งคุกคามอันตรายหลายชนิดที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงได้มากกว่าพื้นที่อื่น เนื่องจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย และอุปกรณ์ที่ใช้มีความซับซ้อน ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองและส่วนรวมได้วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และศึกษาระดับความรู้เรื่องความปลอดภัยรวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายของบุคลากรในห้องปฏิบัติการวิธีการทำวิจัย : รวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในห้องปฏิบัติการจำนวน 146 รายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง และเดินสำรวจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 12 ห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้อมูล โดยใช้สถิติ Fisher’s exact testผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 50.7 มีระดับความรู้เรื่องความปลอดภัยรวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยด้านอายุตำแหน่งวิชาชีพ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ด้านความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) จากการสำรวจห้องปฏิบัติการพบสิ่งคุกคามส่วนใหญ่ เป็นสิ่งคุกคามทางชีวภาพและสิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ การประเมินความเสี่ยงขั้นตอนการทำงานแต่ละแผนกพบความเสี่ยงน้อยถึงปานกลางห้องปฏิบัติการที่มีสภาพความปลอดภัยน้อยที่สุดคือ ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา และห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่ขาดความสมบูรณ์ของเอกสารความปลอดภัยสรุป : จากการศึกษาพบว่าควรพัฒนาระดับด้านความรู้โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย รวมถึงการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย และพัฒนาสภาพด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์.


บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก Sep 2018

บทบรรณาธิการ, สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก

Chulalongkorn Medical Journal

จุฬาลงกรณ์เวชสาร ฉบับที่ 5 ของปีนี้ เดือนกันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2561 ขอต้อนรับนิสิตแพทย์ใหม่ ชั้นปี 1 รุ่นที่ 74 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งได้จัดงานรับน้อง “อินเดียน” ในเดือนกรกฎาคม และได้เปิดภาคเรียนตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำหรับในวารสารฉบับนี้มีบทความที่น่าสนใจเริ่มจาก จุฬาลงกรณ์เวชประวัติ (History Medicine) “ระลึกถึงศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณตวัน สุรวงศ์ บุนนาค ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”บทความพิเศษ (Special article) 1 เรื่อง “การยอมรับความตาย”บทความนิพนธ์ต้นฉบับ (Original articles) รวมทั้งหมด 7 เรื่อง ประกอบด้วย1. สภาพการปฏิบัติตามแนวทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์2. ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง3. ความชุกและความเสี่ยงในการล้มในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อยและภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์4. ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการกับปัจจัยส่วนบุคคลความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและวิถีชีวิต5. ผลความแตกต่างของแรงกดจุดสะท้อนบริเวณสมองที่ฝ่าเท้าต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ใหญ่สุขภาพดี6. ผลของการฝึกการทรงตัวตามหน้าที่ซึ่งมีต่อการควบคุมการทรงท่าขณะเคลื่อนไหวในผู้สวมใส่รองเท้าส้นสูง7. ผลกระทบของการได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเรื้อรังต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์แอสโทรไซต์และบทฟื้นฟูวิชาการ (Review articles) 3 เรื่อง ได้แก่1. สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพในศตวรรษที่ 212. แนวทางการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซิสติสจิโรเวคซีในปัจจุบัน3. โรคหลั่งเร็ว (Premature ejaculation)


สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพในศตวรรษที่ 21, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์ Sep 2018

สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพในศตวรรษที่ 21, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์

Chulalongkorn Medical Journal

สุขศึกษานับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการพัฒนาสุขภาพของชุมชน เนื่องจากสุขศึกษาเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลและชุมชนมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีต่อสุขภาพและสามารถปฏิบัติตนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์และการสาธารณสุข ในศตวรรษที่ 21 ประชาชนยังต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากโรคที่สามารถป้องกันได้ (preventable diseases) ในยุคนี้จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลการเรียนรู้ทางสุขภาพของชุมชนและระบบการสนับสนุน โดยที่ผลการเรียนรู้ทางสุขภาพของชุมชนจะเน้นในเรื่องความฉลาดด้านสุขภาพ (health literacy) ความฉลาดด้านสิ่งแวดล้อม (environmentalliteracy) การพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพการงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะด้านข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ส่วนด้านระบบการสนับสนุนนั้นจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ มาตรฐานและการประเมินทางสุขศึกษา วิธีการให้สุขศึกษาในชุมชนการพัฒนาวิชาชีพทางสุขภาพ และการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ทางสุขภาพ


การยอมรับความตาย, ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร Sep 2018

การยอมรับความตาย, ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

Chulalongkorn Medical Journal

โดยทั่วไปความตายถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของทุกชีวิต และเป็นสิ่งที่บุคคลทั่วไปหรือบุคลากรทางการแพทย์ให้ความสนใจในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งในด้านการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นหรือการพยายามสร้างคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีจนวินาทีสุดท้าย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคระยะสุดท้ายหรือมีความเสี่ยงต่อชีวิตพร้อมไปกับการศึกษาเรื่องของความวิตกกังวล หรือผลลบที่เกี่ยวข้องกับความตายเป็นหลัก ถึงแม้ว่าได้มีการศึกษาในเรื่องของกระบวนการและความหมายของการยอมรับความตายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วยและญาติตามทฤษฎีของอิลิสซาเบธ คูเบลอ รอส และนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังมาแล้ว ในมุมมองของผู้เขียนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ให้การดูแลแบบประคับประคองและฝึกวิปัสสนากรรมฐานมานานพอสมควร พบว่ายังมีคำสอนทางพุทธศาสนาที่สำคัญ ได้แก่หลักของธาตุทั้ง 4 หลักไตรลักษณ์ และกรรม 3 ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดีและสามารถเติมเต็มความเข้าใจได้.


ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ปรเมศวร์ จิตถนอม, นรลักขณ์ เอื้อกิจ Sep 2018

ผลของโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย ร่วมกับการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง, ปรเมศวร์ จิตถนอม, นรลักขณ์ เอื้อกิจ

Chulalongkorn Medical Journal

เหตุผลของการทำวิจัย : อาการหนาวสั่น เป็นอาการที่มักพบได้หลังการผ่าตัดทางนรีเวช และได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งระยะก่อนผ่าตัดขณะผ่าตัด และระยะหลังการผ่าตัด นับว่าเป็นภาวะวิกฤตของผู้ป่วยทุกราย โดยเฉพาะมักพบบ่อยที่ห้องพักฟื้น มีการนำผ้าห่มเป่าลมอุ่นไฟฟ้า และการให้สารน้ำอุ่นมาใช้ป้องกันการเกิดอาการหนาวสั่นในผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัดกลุ่มต่าง ๆ ทั้งใน 3 ระยะของการผ่าตัด แต่ยังไม่มีการประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มาผ่าตัดทางนรีเวชวัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดทางนรีเวช ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติวิธีการทำวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายต่ออาการหนาวสั่นในหญิงที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวช โดยการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง อายุ18 - 59 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ19 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกาย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายเก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลการผ่าตัดและการระงับความรู้สึกและแบบบันทึกอุณหภูมิแกนกลาง และอาการหนาวสั่น ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ราย มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.80,1.00, 1.00, และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่า tผลการศึกษา : คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่น กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น และการให้ความอบอุ่นร่างกายแตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (P < 0.05) คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นกลุ่มควบคุมเท่ากับ 0.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59คะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นกลุ่มทดลองเท่ากับ 0.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 ค่า t เท่ากับ 2.16 ค่า df เท่ากับ 35.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.037)สรุป : กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการให้สารน้ำอุ่น การให้ความอบอุ่นร่างกาย มีคะแนนเฉลี่ยอาการหนาวสั่นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว.


Comparison Of Dried Blood Spot, Buccal Swab, Cloacal Swab And Feces As Dna Sources To Identify Avian Sexes By Pcr, Sariya Asawakarn, Intuorn Teeranuwat, Natchaya Watcharaprapapong, Nutta Siriwatchaiporn, Panithan Somsai, Mullika Kuldee, Gunnaporn Suriyaphol, Sirakarnt Dhitavat Sep 2018

Comparison Of Dried Blood Spot, Buccal Swab, Cloacal Swab And Feces As Dna Sources To Identify Avian Sexes By Pcr, Sariya Asawakarn, Intuorn Teeranuwat, Natchaya Watcharaprapapong, Nutta Siriwatchaiporn, Panithan Somsai, Mullika Kuldee, Gunnaporn Suriyaphol, Sirakarnt Dhitavat

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Absence of sexual dimorphism makes it difficult to determine bird’s sex. A number of both invasive and noninvasive methods as a DNA template of sampling for avian sexing can be used. The aim of this study was to compare the efficacy of different sources of DNA for avian sexing by PCR. Samples were collected from dried blood spots, buccal swabs, cloacal swabs and feces. The highest success rate for sexing determination was from the dried blood spots, accounting for 100%, while those from the buccal swabs, cloacal swabs and feces were 74%, 75.47% and 29.17%, respectively. The non-urate fecal samples …


Ecg Quiz, Chollada Buranakarl Sep 2018

Ecg Quiz, Chollada Buranakarl

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A nine year old intact male Miniature Pinscher weighing 4.8 kilogram was presented to veterinarian with signs of severe coughing and exercise intolerance. He was diagnosed of heart disease and previously described the angiotensin converting enzyme inhibitor and diuretic for a period of 6 months. Neither signs of syncope nor seizure was found. Physical examination revealed the dog was depressed and lethargy. The electrocardiography was performed and shown in Figure 1. The blood test showed normal complete blood count with normal kidney and liver blood profiles. The blood parasite was also negative. The thoracic radiograph revealed the whole heart enlargement …


Comparison Of Gts And Rapd Assays To Characterize Thai Mycoplasma Gallisepticum Strains, Arithat Limsatanun, Jiroj Sasipreeyajan, Somsak Pakpinyo Sep 2018

Comparison Of Gts And Rapd Assays To Characterize Thai Mycoplasma Gallisepticum Strains, Arithat Limsatanun, Jiroj Sasipreeyajan, Somsak Pakpinyo

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Mycoplasma gallisepticum (MG) is one of the important pathogens which have economic impact on the poultry industry worldwide. Molecular characterization is the effective method to study the relation among international strains and the epidemiology of MG transmission. In this study, 17 Thai MG strains were characterized by using 2 molecular assays including random amplified polymorphic DNA (RAPD) and gene-targeted sequencing (GTS) assays. Results showed that the RAPD assay could classify the Thai MG strains into 3 patterns.Most MG strains obtained from the same area were in the same pattern. Partial mgc2 gene was used to distinguish between the Thai MG …


The Effects Of Submaximal Exercise Training On Cardiovascular Functions And Physical Capacity In Dogs With Myxomatous Mitral Valve Disease, Saikaew Sutayatram, Chollada Buranakarl, Anusak Kijtawornrat, Kumpanart Soontornvipart, Pakit Boonpala, Prapawadee Pirintr Sep 2018

The Effects Of Submaximal Exercise Training On Cardiovascular Functions And Physical Capacity In Dogs With Myxomatous Mitral Valve Disease, Saikaew Sutayatram, Chollada Buranakarl, Anusak Kijtawornrat, Kumpanart Soontornvipart, Pakit Boonpala, Prapawadee Pirintr

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Myxomatous mitral valve disease (MMVD), an important disease in senile small breed dogs, leads to deterioration of cardiovascular function and impairment of functional capacity resulting in poor quality of life. Submaximal treadmill running has been used as both cardiovascular training and testing worldwide in humans and recently in animals. The objectives of this study were to examine the effects of submaximal endurance training (ET) by treadmill running on safety, adverse events, cardiovascular adaptations, hematology, functional capacity, and the feasibility of submaximal treadmill running test and 6-minute walk test (6-MWT) in dogs with MMVD. Six adult beagle dogs with MMVD, stage …


Metabolic Disturbances In The First Seizure With Fever: Study Of Children In Thai Hospital, Pornpimol Tangsuriyanon, Siriluk Assawabumrungkul, Thitiporn Fangsaad Jul 2018

Metabolic Disturbances In The First Seizure With Fever: Study Of Children In Thai Hospital, Pornpimol Tangsuriyanon, Siriluk Assawabumrungkul, Thitiporn Fangsaad

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Seizure with fever is a common neurological manifestation in children, the most common cause of which is febrile seizure. In almost all cases, clinical practice includes laboratory investigation. In spite of multiplestudies, no evidence suggests routine blood studies improve pediatric diagnosis.Objective : Determine association between metabolic disturbances and the first seizure with fever in children.Methods : Retrospective descriptive study consisting of review of children admitted with first seizure with fever, 3 months to 6 years, from January 1, 2012 to December 31, 2016. Demographics and clinical data, etiology of fever,characteristics of seizure, metabolic laboratory investigations and cerebrospinal fluid …


Anatomical Study Of Zygomaticotemporal Nerve: Clinical Implications For Surgical Treatment Of Migraine Headache In Thai Population, Chutima Jirapinyo, Seree Iamphongsai Jul 2018

Anatomical Study Of Zygomaticotemporal Nerve: Clinical Implications For Surgical Treatment Of Migraine Headache In Thai Population, Chutima Jirapinyo, Seree Iamphongsai

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Migraine headache is one of the most common neurovascular disordersthat is often inadequately treated by currently available medical therapies.Clinical evidences have shown that the decompression of peripheral nervetrigger points is successful in migraine relief. The nerve responding tothe temporal trigger site is the zygomaticotemporal branch of the trigeminalnerve.Objectives : This cadaveric study of the anatomy of the zygomaticotemporal nerve wasundertaken to delineate where this nerve exits the deep temporal fascia inrelation to the plane through the superior border of tragus and thezygomaticofrontal suture.Methods : The temporal region of twenty-two fresh cadaveric hemiheads weredissected through bicoronal incision. Points of …


Demonstration Of Myocardial Infarction In Decomposed Myocardium With Vascular Endothelial Growth Factor Immunohistochemistry: A Tropical Climate Study, Parath Thirati, Panuwat Chutivongse Jul 2018

Demonstration Of Myocardial Infarction In Decomposed Myocardium With Vascular Endothelial Growth Factor Immunohistochemistry: A Tropical Climate Study, Parath Thirati, Panuwat Chutivongse

Chulalongkorn Medical Journal

Background : Tissue damage caused by decomposition contributes to difficultiesfaced by forensic pathologists in medico-legal autopsy. Various studieshave utilized immunohistochemistry in decomposed forensic caseworks,including myocardial infarction (MI). To date, only few markers have beenstudied in decomposed MI specimens. Moreover, there are no researchesthat performed in tropical climate areas. This study is the first study toperform vascular endothelial growth factor (VEGF) immunohistochemistryin decomposed MI samples. This is also the first paper on performedimmunohistochemistry in tropical climate areas.Objective : To study whether VEGF immunohistochemistry can be used in decomposedMI specimens in tropical climate areas. Secondary objective is the longestdecomposition period that it …