Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Urban, Community and Regional Planning Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

5,816 Full-Text Articles 5,511 Authors 2,762,535 Downloads 186 Institutions

All Articles in Urban, Community and Regional Planning

Faceted Search

5,816 full-text articles. Page 51 of 194.

รูปแบบทางกายภาพที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบสำหรับพนักงานหน่วยงานก่อสร้าง และคนงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), สุปรีดิ์ เปียถนอม 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

รูปแบบทางกายภาพที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบสำหรับพนักงานหน่วยงานก่อสร้าง และคนงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), สุปรีดิ์ เปียถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษารูปแบบที่พักอาศัยชั่วคราวที่ทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างจัดหาให้กับพนักงาน และแรงงานก่อสร้างนั้น ส่วนใหญ่บริษัทรับเหมาก่อสร้างรับหน้าที่ในการจัดเตรียมที่พักให้เป็นแหล่งพักอาศัย บริษัทมักเลือกพื้นที่ใกล้กับหน่วยงานก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน และเป็นสวัสดิการให้กับแรงงานในหน่วยก่อสร้าง โดยในปัจจุบันบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาที่พักอาศัยชั่วคราวสร้างใหม่เป็นรูปแบบที่ใช้วัสดุสำเร็จรูปแบบถอดประกอบในการก่อสร้างทั้งหมดโดยจัดที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับพนักงานประจำ คนงานก่อสร้าง และผู้รับเหมาช่วงคือ วิศวกร พนักงาน โฟร์แมน คนงานก่อสร้างของบริษัท และคนงานก่อสร้างของผู้รับเหมาช่วง เพื่อคุ้มทุนในระยะยาว และสะดวกในการเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ก่อสร้างอื่น แต่อย่างไรก็ดีจากการศึกษาเบื้องต้นการนำรูปแบบสำเร็จรูปแบบถอดประกอบเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำนั้นไม่ได้มากเท่าที่ควร โดยพบว่าผู้พักอาศัยมักต่อเติมดัดแปลงพื้นที่พักอาศัยบริเวณของตนเอง ซึ่งการพักอาศัยจะอยู่เป็นเวลา 1-2 ปีขึ้นไปย่อมต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องต่อวิถีการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปเกิดการเสียหายขึ้นจากการต่อเติมดัดแปลงดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางกายภาพ และวิเคราะห์ปัญหาการนำที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบมาใช้สำหรับเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว โดยการรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูป ให้ทราบถึงรูปแบบการพักอาศัย ปัญหาในการพักอาศัย และสาเหตุในการดัดแปลงที่พักอาศัย ซึ่งมีวิธีการวิจัยคือศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวเชิงลึก 1 พื้นที่โดยการสำรวจสภาพกายภาพ จำนวน 147 ห้องพัก และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้พักอาศัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 ห้องพัก กลุ่มตัวอย่างละ 5 ห้องพัก ครอบคลุมตั้งแต่ระดับหัวหน้างานถึงคนงานก่อสร้าง ประกอบไปด้วยผู้พักอาศัยระดับวิศวกร พนักงาน โฟร์แมน คนงานก่อสร้างชาวไทยของบริษัท คนงานก่อสร้างชาวเมียนมาของบริษัท คนงานก่อสร้างชาวไทยของผู้รับเหมาช่วง และคนงานก่อสร้างชาวกัมพูชาของผู้รับเหมาช่วง หลังจากนั้นจึงนำผลสรุปมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอแนวทางการจัดการปัญหา และการต่อเติมที่พักอาศัยให้เพียงพอต่อผู้พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ลักษณะการใช้งานของผู้พักอาศัยจะกระทบต่อที่พักอาศัยชั่วคราวในระยะยาวกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่อื่นโดยวิธี เจาะ ยึด เชื่อมเข้ากับแผ่นสำเร็จรูปหรือโครงสร้างของที่พักอาศัยสำเร็จรูปคิดเป็นร้อยละ 74 คือ การต่อเติมดัดแปลงกันสาด ราวตากผ้า ทำFlashingกันน้ำบริเวณรอยต่อแผ่นผนังภายนอก การปิดช่องแสงบริเวณหน้าต่าง การติดตั้งชั้นวางของภายในห้องพักเข้ากับแผ่นผนังและติดตั้งวัสดุกั้นห้องบริเวณเหนือแผ่นผนังภายในแต่ละห้องพัก ซึ่งสาเหตุในการดัดแปลงที่พักอาศัยคือ 1.เพื่อเพิ่มพื้นที่พักอาศัยทั้งภายใน และภายนอกห้องพักคิดเป็นร้อยละ 50 2.เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพกายภาพเดิมซึ่งเกิดจากธรรมชาติคือแดด ฝน และแก้ปัญหาจากพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ไม่สอดคล้องต่อความต้องการของผู้พักอาศัยคิดเป็นร้อยละ 50 เมื่อศึกษาปัญหาทางกายภาพ และสังคมพบว่าการแก้ปัญหาของผู้พักอาศัยเกิดขึ้นจากความจำเป็น ที่ต้องดัดแปลงแก้ไขกายภาพ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของผู้พักอาศัยเองดีขึ้น ซึ่งเกิดจากการใช้งาน และความต้องการของผู้พักอาศัย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้งานในระยาวของที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปให้เกิดความเสียหายก่อนจะถึงจุดคุ้มทุนตามที่ผู้ประกอบการวางแผนไว้ จากการสรุปผลด้วยลักษณะการใช้งาน รูปแบบ ปัญหา และสาเหตุในการดัดแปลงพื้นที่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างที่ต้องการนำที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปมาใช้งานเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการก่อสร้าง และคุ้มทุนในระยะยาวควรคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้งานรวมทั้งความต้องการของผู้พักอาศัย และในหน่วยงานก่อสร้างจะมีวัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุเสียหายจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างหลักได้ ผู้ประกอบการสามารถนำวัสดุดังกล่าวมาประยุกต์ใช้สำหรับที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาที่พักอาศัยชั่วคราว และเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในการออกระเบียบ ข้อบังคับในการพักอาศัยชั่วคราว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงาน และแรงงานก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และส่งผลทางอ้อมในการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างต่อไป


สภาพที่พักอาศัยของนิสิตจุฬาฯที่อยู่หอพักโดยรอบพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นันท์ณภัส ถิรสิริเมธีกุล 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

สภาพที่พักอาศัยของนิสิตจุฬาฯที่อยู่หอพักโดยรอบพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นันท์ณภัส ถิรสิริเมธีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสภาพที่พักอาศัยของนิสิตจุฬาฯที่อยู่หอพักโดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงลักษณะเศรษฐกิจ สังคม ภูมิลำเนา ไปจนถึงปัจจัยในการตัดสินใจเช่าหอพักและอพาร์ทเม้นท์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับความต้องการของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลการศึกษาพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีภูมิลำเนามาจากต่างจังหวัด ซึ่งส่วนมากมีความต้องการเช่าหอพักภายในมหาวิทยาลัย แต่ปริมาณหอพักไม่เพียงพอต่อความต้องการของนิสิต จึงจำเป็นต้องอยู่หอพักโดยรอบมหาวิทยาลัย เพื่อความสะดวกในการเดินทาง อีกทั้งนิสิตยังต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ราคา ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกของที่พักอาศัย เป็นต้น โดยหอพักที่นิสิตเลือกพักอาศัยมักอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเขตปทุมวัน เขตราชเทวีและเขตบางรัก เป็นต้น ซึ่งราคาที่นิสิตเลือกเช่าพักอาศัยที่มีลักษณะเป็นห้องสตูดิโอที่มีห้องน้ำภายในและมีระเบียง ขนาดห้อง 21-30 ตารางเมตร จะอยู่ในช่วงราคา 7,000-10,000 บาท ราคาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพัก ขนาดห้องพักและทำเลของหอพัก เป็นต้น ด้วยรายได้ครัวเรือนของนิสิตส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 50,000-100,000 บาทต่อเดือน ซึ่งทำให้มีผลต่อ รายได้ต่อเดือนของนิสิตที่ได้รับ น้อยกว่า 10,000-20,000 บาทต่อเดือน จึงทำให้นิสิตจำเป็นต้องมีผู้ร่วมพักอาศัยที่เป็นเพื่อน เพื่อหารเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของราคาห้องพัก ค่าน้ำ และค่าไฟ เพราะห้องพักมีราคาสูงพอสมควร จากการศึกษาได้ข้อสรุปว่า นิสิตต้องการอยู่หอพักในบริเวณมหาวิทยาลัย มีราคาถูก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และพื้นที่ส่วนกลางภายในพอพัก เช่น ห้องทำงาน,ห้องออกกำลังกาย,ห้องทำอาหารและห้องบอร์ดเกมส์ เป็นต้น รวมทั้งภายในห้องพักมีความเป็นส่วนตัว มีเฟอร์นิเจอร์เพียงพอสำหรับนิสิต เช่น โต๊ะทำงาน,ตู้เสื้อผ้าและตู้เก็บของ เป็นต้น จึงทำให้ผู้วิจัยสามารถออกแบบห้องพักให้ตรงตามความต้องการของนิสตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


แนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและพื้นที่ภายนอกอาคารสำหรับผู้สูงอายุ ในชุมชนมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านครัว, วิทวัส วิมลเสตถ์ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและพื้นที่ภายนอกอาคารสำหรับผู้สูงอายุ ในชุมชนมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านครัว, วิทวัส วิมลเสตถ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรใน พ.ศ. 2564 ประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ กรุงเทพมหานครมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 4.6 และชุมชนมุสลิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพชั้นในจะเป็นชุมชนเก่าแก่ จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา ชุมชนมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน และได้เลือกชุมชนบ้านครัว เป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องด้วยชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนมุสลิมแห่งแรกในฝั่งพระนครและเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ปัจจุบันได้ถูกแบ่งเป็น 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนบ้านครัวตะวันตกและชุมชนบ้านครัวใต้ ทั้ง3ชุมชนมีวัฒนธรรมร่วมกัน และมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทความวิจัยนี้มีประเด็นคำถาม คือ การปรับปรุงที่อยู่อาศัยและพื้นที่ภายนอกสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนมุสลิมในพื้นที่กรุงเทพชั้นในควรมีแนวทางอย่างไร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ สภาพการอยู่อาศัย พื้นที่ภายนอกในชุมชน วิเคราะห์กิจกรรมในชีวิตประจำวันและศึกษาปัญหาการใช้งานพื้นที่ เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและพื้นที่ภายนอกในชุมชนให้เหมาะสมต่อผู้สูงอายุตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ(Age friendly city) จากการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์รวมถึงการสำรวจพื้นที่ด้านที่อยู่อาศัยและพื้นที่ภายนอกในชุมชนของพื้นที่ศึกษา พบว่าที่ ด้านที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในชุมชนมุสลิมส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยว ส่วนใหญ่มีการประกอบศาสนกิจประจำวัน(การละหมาด)ในห้องเอนกประสงค์ และส่วนใหญ่อาบน้ำละหมาดในห้องน้ำ มีปัญหาและอุปสรรคของผู้สูงอายุได้แก่พื้นที่ ลานหน้าบ้าน ห้องครัวและห้องน้ำ สาเหตุมาจากวัสดุไม่เหมาะสมกับการใช้งาน ส่วนพื้นที่ภายนอกในชุมชน มีปัญหาและอุปสรรคของผู้สูงอายุได้แก่ ทางเดิน ถนน ทางเข้ามัสยิดและทางลาดในสวน โดยมีสาเหตุเกิดจาก พื้นที่ไม่เหมาะกับการใช้งาน พื้นไม่เรียบ วัสดุลื่นและไม่มีราวจับ จึงเสนอแนะแนวทางปรับปรุงได้แก่ จัดเตรียมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมต่อสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุตามแนวคิดออกแบบเพื่อทุกคน หรือ Universal Design


แนวทางการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อผู้สูงอายุในชุมชนพหุวัฒนธรรมระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษา ชุมชนรอบศาสนสถานย่านกุฎีจีน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร, ณัฐนิชา กรกิ่งมาลา 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อผู้สูงอายุในชุมชนพหุวัฒนธรรมระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 กรณีศึกษา ชุมชนรอบศาสนสถานย่านกุฎีจีน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร, ณัฐนิชา กรกิ่งมาลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุมีเกณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาความต้องการและการมีแนวทางการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อคุณภาพชีวิตและมีความสุข การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเข้าใช้พื้นที่ศาสนสถานของผู้สูงอายุในวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในชุมชนเพื่อรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุในวิกฤตโควิด–19 เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาด้านกายภาพของศาสนสถานในการรองรับการใช้งานของผู้สูงอายุ ผู้วิจัยเลือกศึกษาพื้นที่ 3 ชุมชนได้แก่ ชุมชนวัดประยุรฯ ชุมชนกุฎีจีน และชุมชนกุฎีขาว เหตุผลเพราะว่าเป็นพื้นที่ชุมชนเก่าแก่ที่มีความโดดเด่นในการอยู่ร่วมกันต่างวัฒนธรรมและเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาในด้านกายภาพและสังคม ผ่านกระบวนการ คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายโดยผ่าน Gatekeeper และใช้หลักเกณฑ์การวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวทางของ Nastasi และ Schensul (2005) ในการการสัมภาษณ์ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชนรวมถึงผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่เข้าใช้พื้นที่ศาสนสถานเป็นประจำทั้งหมด 32 ท่าน โดยใช้แนวคิดถนนเพื่อชีวิต (Street for life)Elizabeth Burton และ Lynne Mitchell (2006) และแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Age friendly city) ของ WHO เพื่อนำข้อเสนอแนะมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมชุมชน ผลจากการสำรวจพื้นที่ด้านที่อยู่อาศัย พื้นที่ภายนอกและภายในอาคาร การคมนาคมของพื้นที่ศึกษาชุมชนวัดประยุรฯ ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนกุฎีขาว ด้านพื้นที่ภายนอกและภายในอาคารพบว่ามีอุปสรรคของการใช้งานพื้นที่ภายนอกในส่วนของทางเท้า ถนน ตรอก ซอย โดยมีสาเหตุมาจากพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน มีสิ่งกีดขวางบนถนน และสภาพผิวถนนที่ค่อนข้างขรุขระ ในด้านที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ที่มีอายุมากไม่เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้สูงอายุและการคมนาคมในพื้นที่สมาชิกในชุมชนใช้การเดินเท้าในการไปยังส่วนต่างๆ ของชุมชนดังนั้น จึงเสนอแนะแนวทางการออกแบบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อผู้สูงอายุตามแนวคิดเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Age friendly city) เช่น มีพื้นที่สีเขียวหรือที่นั่งสาธารณะ ทางเท้าที่ไม่มีสิ่งกีดขวางและเรียบเสมอกันสามารถใช้งานได้จริง


แนวทางการพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวภายใต้แนวคิดสุขภาพกรณีศึกษาโครงการจีรัง เรสซิเดนซ์ และโครงการณุศาชีวานี พัทยา, วริสรา ไพจิตรพิทักษ์ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวภายใต้แนวคิดสุขภาพกรณีศึกษาโครงการจีรัง เรสซิเดนซ์ และโครงการณุศาชีวานี พัทยา, วริสรา ไพจิตรพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

"บ้าน" ถือเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอยู่อาศัย แต่บ้านไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่พักพิงเท่านั้น การดูแลรักษาให้บ้านสะอาด ปลอดภัย เอื้อต่อการอยู่อาศัย ก็จะยิ่งทำให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งในด้านอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันมีการรับรองการประเมินอาคารด้านต่างๆ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ประเมินอาคารประเภทบ้านเดี่ยวที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้อยู่อาศัย และโครงการที่มีแนวคิดเพื่อสุขภาพในประเทศไทย ได้แก่โครงการจีรัง เรสซิเดนซ์ และโครงการณุศาชีวานี พัทยา เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบ้านเพื่อสุขภาพ จากการศึกษาเกณฑ์การประเมินที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว อันได้แก่ LEED, BREEAM, CASBEE และ WELL พบว่า LEED และ BREEAM มุ่งเน้นไปที่การลดผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ในขณะที่ CASBEE และ WELL นั้นมุ่งเน้นไปที่สุขภาพหรือคุณภาพของชีวิตผู้อยู่อาศัย สำหรับโครงการกรณีศึกษาทั้ง 2 นั้น ไม่ได้ยื่นประเมินเกณฑ์อาคารใดๆ แต่เน้นการออกแบบตัวบ้านให้ระบายอากาศได้ดี ได้รับอากาศบริสุทธิ์จากธรรมชาติภายนอก ทำให้บ้านไม่ร้อน และเป็นการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) รองรับผู้สูงอายุเป็นหลัก เสริมด้วยการมีคลินิคสุขภาพภายในโครงการเพื่อตอบโจทย์ตามแนวคิดโครงการที่เน้นเรื่องสุขภาพ ทั้งนี้ผู้อยู่อาศัยทั้ง 2 โครงการให้คะแนนระดับสุขภาพภายหลังเข้าอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7 มีความสุขและความพึงพอใจต่อทางโครงการด้านการส่งเสริมสุขภาพถึงร้อยละ 88 จากปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก และลักษณะบ้านตามลำดับ สำหรับแนวทางการพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวภายใต้แนวคิดสุขภาพในประเทศไทยนั้นสามารถใช้ปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก ลักษณะบ้าน รวมทั้งใบรับรองประเมินอาคาร WELL ที่มุ่งเน้นสุขภาพผู้อยู่อาศัย เนื่องจากมีตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้จำต้องพิจารณาเลือกเกณฑ์ประเมินอาคารที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของที่อยู่อาศัย วัตถุประสงค์ของการออกแบบหรือพัฒนาโครงการ และสภาพแวดล้อมของประเทศไทยร่วมด้วย โดยผู้พัฒนาโครงการอาจต้องพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการออกแบบ ก่อสร้าง รวมทั้งการขอใบรับรองประเมินอาคารด้วยเช่นกัน


บทบาทของร้านกาแฟกับการพัฒนาธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในเมืองเชียงใหม่, ณัฐวดี สรรพรประเสริฐ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

บทบาทของร้านกาแฟกับการพัฒนาธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในเมืองเชียงใหม่, ณัฐวดี สรรพรประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นนโยบายหนึ่งที่ได้รับการผลักดันและขับเคลื่อนในประเทศไทย เป็นแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีการนำความรู้และความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอดพัฒนาโดยมีองค์ประกอบของวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของพื้นที่มาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดย “เชียงใหม่” เป็นเมืองหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมโดยการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการพัฒนาเป็นเมืองสร้างสรรค์ เมืองแห่งศิลปะและการออกแบบ นอกจากนี้ยังมีนโยบายส่งเสริมให้เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งกาแฟ โดยมีการจัดทำร่างยุทธศาสตร์กาแฟจังหวัดเชียงใหม่ปี 2561-2565 มีเป้าหมายให้เป็นเมืองกาแฟตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง มีหัวใจหลักในการเป็นศูนย์กลางเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตและบริโภคกาแฟคุณภาพดีเยี่ยม ในปัจจุบันพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co-working space) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยเฉพาะธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหนึ่ง นอกเหนือจากกรุงเทพมหานคร ที่มีการพัฒนาธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นและร้านกาแฟเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะร้านกาแฟที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ทำงานร่วมกัน งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาบทบาทและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของร้านกาแฟกับการพัฒนาธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นและการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเมืองเชียงใหม่ ด้วยวิธีเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและประมวลข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่แบบสองทางหรือการวิเคราะห์ตารางไขว้เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป เพื่อหาความสัมพันธ์ของร้านกาแฟและธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น ผลของการวิจัยนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเชียงใหม่ได้


การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการวางแผนและผัง และการพัฒนาโครงการจริง บริเวณศูนย์กลางย่อยดงโดก นครหลวงเวียงจันทน์, ดาวเฮียง อินทะวง 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการวางแผนและผัง และการพัฒนาโครงการจริง บริเวณศูนย์กลางย่อยดงโดก นครหลวงเวียงจันทน์, ดาวเฮียง อินทะวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ที่เกิดจากการวางแผนและผังและการพัฒนาโครงการจริง บริเวณศูนย์กลางย่อยดงโดก นครหลวงเวียงจันทน์ ที่เป็นการนำเสนอรูปแบบและลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบจากแผนและผังของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผังเมืองรวมนครหลวงเวียงจันทน์ และการพัฒนาโครงการจริงที่ไม่อยู่ในแผน โดยวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบและระบุการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพของศูนย์กลางย่อยดงโดก 2) เพื่อสรุปรูปแบบและลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ศูนย์กลางย่อยดงโดก จากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ตามหน่วยงานต่างๆนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ด้วยเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ขอบเขตเวลาศึกษาปี 1958 ถึงปี 2020 ผลการศึกษาพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในส่วนของแผนและผัง 4 สาเหตุได้แก่ 1)การวางแผนและผังของมหาวิทยาลัย 2)การวางแผนและผังของผังเมืองรวม 3)การพัฒนาถนนสายหลัก 4)โครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในการพัฒนาโครงการจริง 3 สาเหตุได้แก่ 1) การตั้งถิ่นฐานของประชาชน 2) การพัฒนาถนนสายรองและสายย่อย 3) การพัฒนาอาคารขนาดใหญ่ สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดจากการวางแผนและผังเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่อย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนและผังที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบถนน ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการก่อสร้างจริงที่ไม่เป็นไปตามแผนผัง ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการและการก่อสร้างของภาคเอกชนและประชาชนในส่วนของการตั้งถิ่นฐาน


ผลกระทบจากการทับซ้อนของกิจกรรมบนพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนในช่วงเปลี่ยนผ่านการพัฒนา ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการใช้งานพื้นที่ของกลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชน กรณีศึกษาย่านตลาดน้อย, ทัตพล วงศ์สามัคคี 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ผลกระทบจากการทับซ้อนของกิจกรรมบนพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนในช่วงเปลี่ยนผ่านการพัฒนา ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการใช้งานพื้นที่ของกลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชน กรณีศึกษาย่านตลาดน้อย, ทัตพล วงศ์สามัคคี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนจากเกิดขึ้นของนโยบายพัฒนาฟื้นฟูเมืองในช่วงเปลี่ยนผ่านการพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชน จากการเกิดขึ้นของกิจกรรมใหม่โดยกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์และกลุ่มนักท่องเที่ยวบนพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนของชุมชนย่านตลาดน้อย ด้วยวิธีการสำรวจการใช้งานเพื่อวิเคราะห์การทับซ้อนของกิจกรรมเพื่อจำแนกระดับของผลกระทบ ประกอบกับการสัมภาษณ์กลุ่มประชากรเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของทัศนคติที่มีต่อการใช้งานและผลกระทบที่เกิดขึ้น ผ่านการประยุกต์จากทฤษฎีสินค้าสาธารณะ (Public Goods) ผลการสำรวจการทับซ้อนกิจกรรมบนพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนพบว่า กลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชนได้รับผลกระทบจากกิจกรรมของกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์และกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยมีระดับของผลกระทบตั้งแต่ในระดับต่ำหรือสามารถใช้งานพื้นที่ร่วมกันได้ ผลกระทบในระดับปานกลางหรือการใช้งานที่เป็นอุปสรรคต่อกัน จนไปถึงผลกระทบสูงหรือผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชนต้องหยุดทำกิจกรรมและเลี่ยงการใช้งานในบริเวณนั้น ซึ่งความแตกต่างของระดับผลกระทบนี้ยังสะท้อนถึงความหลากหลายของกิจกรรมในบริบทพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนประเภทต่าง ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานและผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชนพบว่า กลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ส่วนใหญ่ มีทัศนคติต่อพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนสอดคล้องกันในรูปแบบ พื้นที่สาธารณะส่วนกลาง (Common Goods) โดยกลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชนจะไม่สามารถกีดกันผู้ใช้งานกลุ่มอื่น ๆ ในพื้นที่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมักพบผลกระทบระหว่างกลุ่มผู้ใช้งาน เนื่องจากการขาดกฎระเบียบเพื่อควบคุมความเหมาะสม ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวมีทัศนคติต่อพื้นที่สาธารณะระดับชุมชนในรูปแบบพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง (Public Goods) ทัศนคติในลักษณะดังกล่าวทำให้สามารถตัดสินใจในการเลือกใช้งานพื้นที่สาธารณะชุมชนทุกจุดได้อย่างอิสระ และยังแสดงออกในด้านพฤติกรรมโดยไม่มีข้อจำกัด สอดคล้องกับผลวิเคราะห์ในข้างต้นที่พบว่า กลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในชุมชนได้รับผลกระทบจากการเข้ามาใช้พื้นที่ของกลุ่มอื่น ๆ


พลวัตการให้บริการร้านอาหารในยุคดิจิทัล กรณีศึกษา ย่านอารีย์, ศุภาพิชญ์ อินทรสูต 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

พลวัตการให้บริการร้านอาหารในยุคดิจิทัล กรณีศึกษา ย่านอารีย์, ศุภาพิชญ์ อินทรสูต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจรับและส่งอาหาร (Food delivery) มีบทบาทกับการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานของผู้บริโภค การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านอาหาร รวมถึงกิจกรรมของธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจรับและส่งอาหาร ในช่วงปีที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ธุรกิจรับและส่งอาหารเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร้านอาหารไม่สามารถเปิดให้บริการหน้าร้านได้อย่างเต็มรูปแบบ ผู้บริโภคต้องใช้แอปพลิเคชันเพื่อสั่งอาหารและเพื่อลดความเสี่ยงในการเจอผู้คน การเติบโตของธุรกิจรับและส่งอาหาร ได้ส่งผลต่อการวิถีชีวิตของผู้คนและธุรกิจโดยเฉพาะในพื้นที่เมือง ดังนั้นงานวิจัยจึงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของธุรกิจรับและส่งอาหารต่อการเปลี่ยนแปลงภายในเมือง โดยใช้ย่านอารีย์เป็นพื้นที่ศึกษา งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของธุรกิจรับและส่งอาหารต่อผู้ให้บริการร้านอาหารและผู้ใช้บริการร้านอาหารในแง่ของเศรษฐศาสตร์เมือง และนำผลการศึกษาไปวางแผนการจัดการย่านให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจรูปแบบใหม่และวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลเป็นการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ประกอบไปด้วย (1) การใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลของผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ขับรับและส่งอาหาร (2) การลงสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในระดับย่าน และ (3) การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการเก็บข้อมูลถูกนำมาประมวลผลด้วยการวิเคราะห์เชิงสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการผ่านทางแอปพลิเคชันสั่งอาหารส่งผลให้ขอบเขตพื้นที่ให้บริการ (Threshold) ของร้านอาหารกว้างขึ้น ทำให้ร้านอาหารมีโอกาสได้กำไรมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประเภทธุรกิจของร้านอาหารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขอบเขตพื้นที่ให้บริการและระยะทางในการเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร (Range) เพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าประเภทของอาหารมีความสัมพันธ์กับระยะทางในการส่งอาหาร ธุรกิจรับและส่งอาหารยังส่งผลให้ร้านอาหารสามารถเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม โดยในปัจจุบัน ในพื้นที่อยู่อาศัยในย่านมีร้านอาหารเปิดใหม่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อย่านอยู่อาศัย ในแง่ของการที่มีรถจักรยานยนต์รับส่งเข้าออกเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการรบกวนผู้ที่อาศัย ดังนั้นการวางแผนและการจัดการพื้นที่เมืองให้เหมาะสมและทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากเทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐและท้องถิ่นควรให้ความสำคัญ


แนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษา ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานคร, ภัทร สุขสิงห์ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษา ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานคร, ภัทร สุขสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มุ่งเน้นศึกษาหลักการสากลรวมถึงกรณีศึกษาในต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง ที่ส่งเสริมระดับค่าศักยภาพการมองเห็นและเข้าถึงให้เหมาะสมต่อการรักษานัยยะความสถานที่ ที่ประกอบด้วย 1) การเป็นพื้นที่สาธารณะที่อเนกประโยชน์ และ 2) การเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการรับรู้เชิงทัศน์ต่อภูมิทัศน์อาคารในประเด็นเรื่องความปลอดภัยและอัตลักษณ์ของพื้นที่เป็นหลัก อันสามารถรักษาหน้าที่ “ความเป็นสถานที่ของเมือง” ให้สมดุลกับ “ความเป็นจุดเชื่อมต่อเครือข่ายระบบสัญจร” ของพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพื้นที่สถานีที่ดี โดยเลือกพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ศึกษาและวัดผลด้วยเครื่องมือการศึกษาสัณฐานวิทยาเมือง ที่สามารถแสดงผลบนแผนที่จริงตามระดับค่าวรรณะสีรุ้ง จากการศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญ คือข้อกฎหมายที่ยังขาดการคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวในบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง ที่มีตัวแปรทางกายภาพที่ชัดเจนและมีผลกระทบโดยตรง คือ โครงสร้างยกระดับ ดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างยกระดับดังกล่าวได้ แต่หากสามารถเพิ่มเติมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านการมีแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง โดยผู้วิจัยได้สรุปแนวทางการออกแบบเพื่อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ระยะ สัดส่วน กำหนดสัดส่วนความสูงฐานอาคารต่อระยะแนวราบให้สอดคล้องกับมุมมองของผู้คนในทุกระดับชั้น, 2) การใช้ประโยชน์พื้นที่ กำหนดให้ความเป็นสาธารณะสามารถแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่และอาคารโดยรอบ, 3) รูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม กำหนดให้ทุกฐานอาคารต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมบนรูปด้านหน้าอาคารที่แสดงถึงความปลอดภัยและอัตลักษณ์ของพื้นที่เป็นหลัก รวมทั้งเพิ่มเติมการกำหนดรูปแบบของส่วนเชื่อมต่อให้มีลักษณะที่โปร่ง ไม่ทึบตัน อีกทั้งกำหนดให้บริเวณอาคารและแนวรั้วที่ตั้งอยู่หัวมุมถนน ต้องปาดมุมให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเป็นจุดเชื่อมต่อมุมมองและและการเข้าถึงจากพื้นที่รอบสถานีสู่พื้นที่ที่ลึกเข้าไป


พัฒนาการของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2500-2563), วรวัณณี ลาภอำนวยเจริญ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

พัฒนาการของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2500-2563), วรวัณณี ลาภอำนวยเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมหลากหลายของมนุษย์รวมไปถึงกิจกรรมการชุมนุมทางการเมืองเป็นกิจกรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้งในกรุงเทพมหานครตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย การใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองเริ่มขึ้นในปีพ.ศ.2500 มาจนถึงปัจจุบันและพบว่ามีการใช้พื้นที่สาธารณะหลายพื้นที่ หลายรูปแบบเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินทับซ้อนกิจกรรมอื่นส่งผลกระทบต่อพื้นที่รอบข้าง งานวิจัยนี้จึงศึกษาพัฒนาการของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่พ.ศ.2500-2563 จากผลการศึกษาพบว่าประเภทของพื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พื้นที่สาธารณะแบบเปิดโล่งและปิดล้อม อีกทั้งยังมีคุณลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้พื้นที่สาธารณะ 5 ประการ ได้แก่ ความเป็นสัญลักษณ์ชองพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้ง การเข้าถึง ขนาดของพื้นที่และรูปร่างของพื้นที่ จากการศึกษางานวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเป็นแนวทางให้กับเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่สาธารณะและผู้จัดการชุมนุมทางการเมืองในอนาคตในการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมือง


Relationships Between Language Proficiency And Economic Mobility Of Myanmar Migrant Workers In Bangkok, Aung Ko Min 2020 Faculty of Architecture

Relationships Between Language Proficiency And Economic Mobility Of Myanmar Migrant Workers In Bangkok, Aung Ko Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has been the recipient of foreign migrant workers from neighboring countries for decades. Among them, the majority are from Myanmar. Myanmar migrant workers have been significant parts of the agriculture, manufacturing, and service sectors. In Thailand, they usually earn decent wages comparing to wages in their home countries. However, their incomes and working conditions in Thailand largely depend on several factors. Thus, this research aims to study the relationship between Thai language proficiency and the income of Myanmar migrants in Bangkok. Several studies claim that the employment opportunities of migrants depend primarily on their levels of education and technical …


San Victorino Nodo Integral, Cristian Camilo Aguirre Duarte, Paola Viviana Leguizamón Villalba 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

San Victorino Nodo Integral, Cristian Camilo Aguirre Duarte, Paola Viviana Leguizamón Villalba

Arquitectura

No abstract provided.


La Red De Equipamientos Como Dinámica Para El Desarrollo Regional. Plan De La Microrregión Nodo Barbosa, Sergio Esteban Gómez Almeida, Angie Geraldhine Velasco Hurtado 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

La Red De Equipamientos Como Dinámica Para El Desarrollo Regional. Plan De La Microrregión Nodo Barbosa, Sergio Esteban Gómez Almeida, Angie Geraldhine Velasco Hurtado

Arquitectura

No abstract provided.


Tejido Socioecológico: Agroecoturismo Como Desarrollo Social Colectivo En Manaure, Cesar, Caroll Paola Baquero Martínez 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Tejido Socioecológico: Agroecoturismo Como Desarrollo Social Colectivo En Manaure, Cesar, Caroll Paola Baquero Martínez

Arquitectura

No abstract provided.


Mompós: Proyecto Integral De Recuperación Cultural Y Urbana, José Alejandro Rodríguez Pinzón 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Mompós: Proyecto Integral De Recuperación Cultural Y Urbana, José Alejandro Rodríguez Pinzón

Arquitectura

No abstract provided.


Centro De Memoria Y Cultura, Medellín-Colombia., Diego Alejandro Pedraza Vega 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Centro De Memoria Y Cultura, Medellín-Colombia., Diego Alejandro Pedraza Vega

Arquitectura

No abstract provided.


Partitioning Variation In Vegetation And Landscape Functionality In Arid Land Piosphere, Eahsan Shahriary 2020 University of Texas at El Paso

Partitioning Variation In Vegetation And Landscape Functionality In Arid Land Piosphere, Eahsan Shahriary

Open Access Theses & Dissertations

A piosphere is an interaction between vegetation community, watering point, and grazing livestock/wildlife. In this Dissertation, I begin by reviewing the concept of the piosphere, and the progress, knowledge gaps and common statistical approaches and errors in piosphere research. Landscape functionality, plant community distribution and their influencing factors on a piosphere in Iran are then investigated.

A total 862 piosphere publications of multiple types from 68 countries and 10 different languages during the period of 1915 â?? 2018 were reviewed. Australia was the most productive country followed by South Africa, the USA, Botswana and Argentina. Ivan Thrash is the most …


From Garden City To Sponge City: Urban Green Infrastructure Policy Development, Hongmei Lu 2020 Michigan Technological University

From Garden City To Sponge City: Urban Green Infrastructure Policy Development, Hongmei Lu

Dissertations, Master's Theses and Master's Reports

With rapid urbanization, environmental problems like green space shortage and urban flooding become prevalent. Identifying effective policymaking and implementation is critical in order to solve these problems. This dissertation addresses four theoretical topics in the context of urban green infrastructure: policy entrepreneur, institutional response to club goods, quasi-public-private partnership, and policy goal ambiguity. Each is exemplified by a causal case study. Data were collected through participant observation, field trips, semi-structured interviews, and crowdsourcing.

Chapter 1 takes a longitudinal perspective and examines the dual role of policy entrepreneur and policy implementer in reaching the final policy goal of mandating vertical greening …


Re-Imagining Nature In Dense, High Rise Urban Environment: The Present And Future Of Green Building Infrastructure In Singapore, Claire Yi 2020 Pomona College

Re-Imagining Nature In Dense, High Rise Urban Environment: The Present And Future Of Green Building Infrastructure In Singapore, Claire Yi

Pomona Senior Theses

From the futuristic Jewel at Changi Airport, the healing gardens at Khoo Teck Puat Hospital in Yishun to School of the Arts at Orchard Road, greenery has sprouted in buildings vertically and horizontally in Singapore, painting a growing green canopy for the dense, high rise city. This paper combines both analyses from first-hand site visits and case studies from external scholar studies to examine the performance of existing Green Building Infrastructures (BGIs) within Singapore’s unique urban context. The study reveals that the success of BGIs is highly dependent on the programming (i.e. thermal comfort design, accessibility, amenity facilities etc.), as …


Digital Commons powered by bepress