Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Environmental Design Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2,083 Full-Text Articles 2,827 Authors 1,491,354 Downloads 138 Institutions

All Articles in Environmental Design

Faceted Search

2,083 full-text articles. Page 21 of 88.

การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จากการเปลี่ยนแนวปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง, นรมน ปัญจปิยะกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลักษณะทางกายภาพของคลินิกทันตกรรมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการรองรับโรคระบาดCOVID-19 จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงพื้นที่กายภาพและแนวปฏิบัติทางทันตกรรมระหว่างการเกิดโรคระบาด จึงเป็นที่มาวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ ศึกษาลักษณะทางกายภาพและการจัดการที่ปรับปรุงของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพจากแนวปฏิบัติทางทันตกรรมในการรองรับไวรัสโคโรนา 2019 หรือสถานการณ์โรคระบาดอื่น ๆ และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาศึกษาพื้นที่ทางกายภาพ และการบริหารจัดการกายภาพของคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ในอนาคต โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรม การเก็บข้อมูลทั้งเอกสารแบบก่อสร้าง สัมภาษณ์และสำรวจพื้นที่จริง การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการปรับปรุงคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มี 5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ลักษณะและปีที่ก่อสร้างของอาคาร การออกแบบคลินิกทันตกรรม ลักษณะการใช้งานคลินิกทันตกรรม ลักษณะหัตถการ และงบประมาณ ดังนั้นในการออกแบบปรับปรุงกายภาพและการบริหารจัดการต้องพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เหมาะสมรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยทรัพยากรที่จำกัด คณะทันตแพทยศาสตร์ยังไม่มีแผนการรื้อถอนที่ปรับปรุงช่วงCOVID-19 เนื่องจากการปรับปรุงดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับมาตรฐานความปลอดภัยคลินิกทันตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นแนวโน้มทิศทางนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงงบประมาณ วิธีการดูแลรักษาในอนาคต และแนวทางการออกแบบคลินิกทันตกรรมใหม่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมี 2 ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงสำหรับการออกแบบในอนาคตคือการวางผังพื้นและการออกแบบพื้นที่สำหรับงานระบบในคลินิกทันตกรรม


ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศ ในพื้นที่กึ่งเปิดโล่งสาธารณะ ของศูนย์การค้าชุมชน, พลกฤต วิศิษฏ์ศาสตร์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คุณภาพอากาศ เป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน ทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และฝุ่นละออง PM2.5 ทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด แล้วหันมาใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนที่เป็นอาคารลักษณะกึ่งเปิดโล่งมากขึ้น ซึ่งผู้คนโดยทั่วไปจะรับรู้ได้ว่าความโปร่งของอาคารช่วยถ่ายเทอากาศได้ดี อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษารายละเอียดในเชิงกายภาพของอาคารที่สัมพันธ์กับปริมาณมลพิษในอากาศ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยทางกายภาพของศูนย์การค้าชุมชน ช่องโล่งและลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร กับทิศทางลมประจำ ที่สัมพันธ์กับคุณภาพอากาศ และชี้วัดด้วยมลพิษในอากาศ ผ่านการจำลองอาคารกรณีศึกษาศูนย์การค้าชุมชน 8 อาคารในกรุงเทพมหานคร ด้วยโปรแกรมคำนวณพลศาสตร์ของไหล ทดสอบในสภาวะที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับมาตรฐานเฉลี่ยต่อปีที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีตัวแปรต้นเป็นจำนวนด้านเปิดของอาคารที่เปิดให้อากาศไหลผ่านได้ และขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งของอาคาร และมีตัวแปรตามเป็นอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ภายในต่อภายนอก ค่าอายุของอากาศ และอัตราการเปลี่ยนอากาศ จากการจำลองด้วยโปรแกรมพบว่า อาคารที่มีด้านเปิด 4 ด้าน จะมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 0.55 มีค่าอายุของอากาศเฉลี่ยต่ำที่สุดที่ 24.18 วินาที และอัตราการเปลี่ยนอากาศสูงที่สุด 90.38 ACH หมายถึงการมีคุณภาพอากาศที่ดีกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งมีอัตราส่วนความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 เฉลี่ยใกล้เคียงหรือสูงกว่า 1 นอกจากนี้ขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งส่งผลต่อคุณภาพอากาศเช่นกัน โดยพบว่าอาคารที่มีจำนวนด้านเปิดให้อากาศไหลผ่านได้เท่ากัน แต่มีขนาดของลานกึ่งเปิดโล่งที่กว้างกว่า จะทำให้เกิดการสะสมของมลพิษมากกว่า เนื่องจากอากาศเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่ได้ช้ากว่า อีกทั้งยังพบปัจจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไหลของอากาศ คือ การวางแนวของอาคาร และอาคารโดยรอบ ก็ส่งผลต่อการไหลของลมและคุณภาพอากาศเช่นกัน ในงานวิจัยนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพอากาศมากที่สุดคือ ความพรุนหรือจำนวนด้านเปิดของอาคาร หากอาคารมีความพรุนที่มากจะทำให้ลมสามารถไหลผ่านอาคารได้ดี และไม่เกิดการสะสมของมลพิษ ทั้งหมดนี้นำไปสู่แนวทางการออกแบบอาคารศูนย์การค้าชุมชนเบื้องต้น หรืออาคารที่มีกายภาพกึ่งเปิดโล่งที่คล้ายคลึงกัน


แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์), ปฐมฤกษ์ วงศ์แสงขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงอิทธิพลที่ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์) ผ่านการศึกษาภูมิหลัง แนวคิด แนวทางการศึกษา และผลงานออกแบบสถาปัตยกรรม รวบรวมหลักฐาน ทั้งเอกสารข้อเขียน เอกสารราชการ แบบสถาปัตยกรรม และตัวสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยคัดเลือกอาคารกรณีศึกษา 24 หลัง ที่สร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2463 – 2493 และนำไปวิเคราะห์หาลักษณะร่วมและความแตกต่างในงานออกแบบสถาปัตยกรรม ผลการศึกษาชี้ชัดได้ว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ได้รับอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมมาจากทั้งบริบทสถาปัตยกรรมไทย และสถาปัตยกรรมตะวันตก โดยผสานความรู้ความเข้าใจในวิธีการออกแบบ กับรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกในแนวทางของโบซารต์และโรงเรียนลิเวอร์พูล จากพื้นฐานการศึกษา รูปแบบสถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค อิตาเลียนฟาสซิสต์ และพีดับบลิวเอโมเดิร์น ในช่วงการประกอบวิชาชีพ ประกอบกับรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณี จากการทำงานร่วมกับสถาปนิกไทยที่ออกแบบในแนวทางดังกล่าว นอกจากนี้ การศึกษาค้นพบว่า พระสาโรชรัตนนิมมานก์ใช้แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบโบซารต์ตลอดช่วงการประกอบวิชาชีพ ทั้งการใช้ระบบกริด (grid) และระบบแกน (axis) ในการออกแบบผังพื้นและรูปด้านอาคาร การวางระบบทางสัญจรโดยใช้โถงและทางเดิน การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบฐาน – ตัว – หัว ระบบช่องเปิด ตลอดจนระบบมุขและปีกอาคาร แม้จะมีแนวทางในการออกแบบเดียว แต่ผลงานสถาปัตยกรรมของพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ก็มีรูปแบบและรูปทรงที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองเหตุปัจจัย และบริบทของอาคารแต่ละหลัง เช่น แนวแกน และทางสัญจรในผังบริเวณ รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความเหมาะสมกับประเภทการใช้งานของอาคาร ด้วยแนวทางการออกแบบดังกล่าว ประกอบกับบทบาทสำคัญในวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พระสาโรชรัตนนิมมานก์จึงเป็นผู้กำหนดทิศทางของสถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่ หรือ “สถาปัตยกรรมแบบทันสมัย” ซึ่งงานศึกษานี้เสนอว่าน่าจะนิยามจากมิติทางสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน ในบริบทจำเพาะของประเทศไทย มากกว่าการพยายามอธิบายภายในกรอบอันจำกัดของรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก หรืออุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งอย่างใด


การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การออกแบบการส่องสว่างเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน : กรณีศึกษา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย, สุดารัตน์ มหตระกูลรังษี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบการส่องสว่างภายในห้องพักผู้ป่วยใน (in-patient room) มีความสำคัญ เนื่องจากต้องการค่าความส่องสว่างหลายระดับเพื่อรองรับกิจกรรมทางการแพทย์และกิจกรรมอื่น ๆ จากการสำรวจพบว่าปัจจุบันห้องพักผู้ป่วยในหลายแห่งมีระดับความส่องสว่างและการติดตั้งดวงโคมไม่ตอบสนองต่อกิจกรรม ซึ่งในประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับระดับการส่องสว่างห้องพักผู้ป่วยในและสถานพยาบาล งานวิจัยนี้จึงต้องการเสนอแนวทางการออกแบบการส่องสว่างที่ให้ค่าความส่องสว่างในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ เกณฑ์ IESNA จากสหรัฐอเมริกา SLL และ EN 12464-1 จากยุโรป โดยใช้ห้องพักผู้ป่วยในของอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยเป็นกรณีศึกษา จำลองการส่องสว่างโดยใช้แสงประดิษฐ์ในห้องพักผู้ป่วยใน 4 เตียงที่ความสูงระดับต่าง ๆ ด้วยโปรแกรม DIALux evo 9.1 ทำการเปลี่ยนคุณสมบัติดวงโคมและการจัดวางดวงโคมของดวงโคมเหนือเตียงตรวจรักษาซึ่งให้แสงเป็นหลัก โดยมี 2 แนวทางคือ 1.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมให้มีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นจากดวงโคมเดิมใน 3 ระดับ เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำกว่าเกณฑ์จากยุโรป 2.) การเปลี่ยนดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมและเพิ่มดวงโคมเพื่อให้มีแสงเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่า โดยมีการเพิ่มดวงโคม 2 แบบ คือ เพิ่มดวงโคมชนิดเดียวกับดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิมติดตั้งต่อกันบริเวณเหนือเตียงตรงกลางและการติดตั้งดวงโคมยาวขนาบข้างดวงโคมแทนที่ดวงโคมเดิม ซึ่งมีปริมาณแสงเพิ่มขึ้นและมุมแสงแคบลง 3 ระดับ เมื่อทำการออกแบบปรับปรุงการส่องสว่างโดยการเปลี่ยนดวงโคมที่มีปริมาณแสงต่างกันเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้ค่าความส่องสว่างของห้องพักผู้ป่วยในกรณีศึกษาและห้องที่มีความสูงต่าง ๆ มีค่าความส่องสว่างผ่านเกณฑ์ IESNA ที่ระบุค่าความส่องสว่างต่ำ และเมื่อติดตั้งดวงโคมเพิ่มสามารถผ่านเกณฑ์ SLL และ EN 12464-1 ที่ระบุค่าความส่องสว่างสูงกว่าได้ แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงกว่าเพื่อให้ได้แสงมากขึ้นตามไปด้วย โดยทั้งสองแนวทางสามารถผ่านเกณฑ์กำลังไฟฟ้าส่องสว่างสูงสุด (LPD) ตามกฎกระทรวงการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (2563) และเกณฑ์ ASHRAE 90.1 (2010) จากการวัดทั้งอาคารได้ทั้งหมด สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ตามความสูงของห้องระหว่าง 2.40-3.60 เมตร และควรคำนึงถึงค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของพื้นผิวห้องด้วย


แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ 2021 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

แนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์), ภูวดล ภู่ศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวคิดและผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้นประเภทเอกสารราชการ ข้อเขียน บทความ ตำรา ประวัติการทำงาน ของพระพรหมพิจิตรและที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาศึกษาในประเด็นแนวคิด วิธีการทำงานออกแบบ และการรวบรวมผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมกรณีศึกษาจำนวน 32 หลัง ในช่วง พ.ศ. 2473 – 2504 นำมาจำแนกประเภทตามเกณฑ์รูปทรงรวมของอาคาร และรูปแบบสถาปัตยกรรม แล้วนำการศึกษาข้อมูลทั้งสองประเภทมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อหาลักษณะร่วมและความต่างของแนวคิดการออกแบบ กับผลงานสถาปัตยกรรม สู่คำอธิบายแนวทางการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรอยู่บนหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่เรียกว่า หลักพื้นที่ รูปทรง และเครื่องประกอบ มีแนวทางหลักคือ การกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรมจากลักษณะของวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ ทรงไม้ ทรงปูน และทวิลักษณ์ ที่สัมพันธ์กับรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารข้างเคียง สร้างรูปแบบ และรูปทรงอาคารที่หลากหลาย ด้วยระบบสัดส่วนในการกำหนดรูปทรงหลังคา และองค์ประกอบสถาปัตยกรรม การใช้รูปร่าง และรูปทรงเรขาคณิตในการออกแบบผังบริเวณ ผังพื้น ที่ว่างภายใน และลวดลายประดับตกแต่ง การกำหนดรูปทรงอาคารด้วยระบบมุข ระบบการลดทอนปริมาตรอาคาร และระบบการออกแบบรูปทรงหลังคา และการให้ความสำคัญกับโครงสร้างภาพในการออกแบบลวดลาย และที่ว่างในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยภายใน พระพรหมพิจิตรพัฒนาแนวทางการออกแบบดังกล่าวภายใต้ปัจจัยหลัก 4 ปัจจัย คือ (1) การช่วยงานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (2) การทำงานในระบบราชการ อันมีระเบียบการก่อสร้าง ฝีมือช่าง และงบประมาณ เป็นเงื่อนไขสำคัญในการออกแบบ (3) แนวคิดทางการเมืองของรัฐ ลัทธิชาตินิยม สร้างบทบาทหน้าที่ และความต้องการงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ในฐานะศิลปกรรมประจำชาติ ตลอดจน (4) การร่วมงานกับพระสาโรชรัตนนิมมานก์ ที่ส่งอิทธิพลทางแนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบทันสมัยให้แก่พระพรหมพิจิตร เหตุปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว หล่อหลอมให้ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมของพระพรหมพิจิตรเป็น “สถาปัตยกรรมไทยแบบทันสมัย” คือ งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่ผสานวิธีการออกแบบสมัยใหม่ ทั้งการกำหนดรูปแบบการใช้งานสมัยใหม่ มีระบบการวางผัง การออกแบบรูปแบบและรูปทรงอาคารที่เรียบง่าย และการใช้วัสดุสมัยใหม่อย่างคอนกรีต


Why Won’T Grandma Cross The Road? Neighborhood Perceptions And Walking Behavior Among Older Adults In Lexington, Kentucky, Sadie Middleton 2021 University of Kentucky

Why Won’T Grandma Cross The Road? Neighborhood Perceptions And Walking Behavior Among Older Adults In Lexington, Kentucky, Sadie Middleton

Theses and Dissertations--Urban and Environmental Design

Many urban places contain subtle details that can unintentionally deter pedestrian activity. These details can be assessed through six themes: safety, comfort, pedestrian infrastructure, aesthetics, proximity, and ease of navigation. Adults over age 65 may have more concerns about walking in urban settings than people in other age groups. This study identifies urban design elements that encourage and discourage walking among older adults and makes recommendations for design improvements. Study participants (n= 67) completed an online survey about walking behaviors, perceptions of health and community, and perceptions of seven unidentified scenes of pedestrian environments in Lexington, Kentucky. Findings suggest that …


Complejo Agroturístico Y Trapiche Comunal Para El Desarrollo Rural Sostenible De La Laguna De Ortices, San Andrés, Santander, Víctor Andrés Reyes Barajas 2021 Universidad de La Salle, Bogotá

Complejo Agroturístico Y Trapiche Comunal Para El Desarrollo Rural Sostenible De La Laguna De Ortices, San Andrés, Santander, Víctor Andrés Reyes Barajas

Arquitectura

Desde la arquitectura, son innumerables las propuestas que se han planteado con el objetivo de mejorar las condiciones de vida y el desarrollo en general de las comunidades rurales del planeta. Algunas han funcionado y otras en el mejor de los casos pasan por obras inconclusas tras una fuerte inversión del estado.

Cada comunidad rural de Colombia presenta problemas relativos a este desarrollo rural y, por tanto, estas comunidades necesitan programas y proyectos que se ajusten realmente a sus vocaciones productivas, y que su cultura sea respetada desde las tipologías arquitectónicas, hasta el programa funcional de las edificaciones que se …


Enhancing Bim Implementation In The Ethiopian Public Construction Sector: An Empirical Study, Solomon Belay, James D. Goedert, Asregedew Woldesenbet, Saeed Rokooei3 2020 Bahir Dar University

Enhancing Bim Implementation In The Ethiopian Public Construction Sector: An Empirical Study, Solomon Belay, James D. Goedert, Asregedew Woldesenbet, Saeed Rokooei3

Durham School of Architectural Engineering and Construction: Faculty Publications

Recently, the popularity of BIM has grown rapidly in the public construction sector. However, only a few studies so far have been seeking to address the BIM adoption benefits and barriers in developmental public projects across the low-income countries. Thus, the study aims to investigate the benefits and barriers of BIM adoption in the context of the Ethiopian infrastructure market. To achieve the objectives, a comprehensive systematic literature review was conducted to identify BIM adoption benefits and barriers in developing countries. Then, a structured questionnaire survey was conducted to collect data from various professionals working in organizations including client, consultant, …


City Tarmita (Old Termez) In The Kushans’ Period, Mamatmusaev Tohir 2020 Tashkent Institute of Architecture and Civil Engineering

City Tarmita (Old Termez) In The Kushans’ Period, Mamatmusaev Tohir

The Scientific-Practice Journal of Architecture, Construction and Design

This article is devoted to results of expeditions that were explored by archaeological monuments of Chingiztepa and Karatepa in 2004-2005 yy. in the Old Termez.


Condition Rating Prediction Using An Interactive Deterioration Model Development Package, Minwoo Chang, Mitchell S. Maguire 2020 Myongji University

Condition Rating Prediction Using An Interactive Deterioration Model Development Package, Minwoo Chang, Mitchell S. Maguire

Durham School of Architectural Engineering and Construction: Faculty Publications

This paper presents an advanced method to determine explanatory variables required for developing deterioration models without the interference of human bias. Although a stationary set of explanatory variables is ideal for long-term monitoring and asset management, the penalty regression results vary annually due to the innate bias in the inspection data. In this study, weighting factors were introduced to consider the inspection data collected for several years, and the most stationary set was identified. To manage the substantial amount of inspection data effectively, we proposed a software package referred to as the Deterioration Model Development Package (DMDP). The objective of …


Potato Yield Response To Different Rates Of Phosphorus Fertilization In Northern Maine - Usa, Ahmed A. Algburi 2020 University of Maine

Potato Yield Response To Different Rates Of Phosphorus Fertilization In Northern Maine - Usa, Ahmed A. Algburi

Electronic Theses and Dissertations

Potato (Solanum tuberosum L.) is a major vegetable crop worldwide, including the United States of America. No other crops could equal potato in its production of food in terms of energy and value per unite area. Because potato is a high-value vegetable, farmers apply phosphorus fertilization at high rates despite high soil phosphorus availability. Phosphorus is the most critical major soil nutrient limiting potato growth after nitrogen and potassium. Six rates of P fertilization (0 – 280 kg P ha−1) were applied at twelve different sites across Northern Maine, United States of America. In the present study, soil pH was …


Objetos Polivalentes De Arquitectura Efímera Sostenible Opaes Para El Espacio Público De Bogotá, Kevin Nicolas Chavarría Daza, Juan Diego Castillo Brochero 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Objetos Polivalentes De Arquitectura Efímera Sostenible Opaes Para El Espacio Público De Bogotá, Kevin Nicolas Chavarría Daza, Juan Diego Castillo Brochero

Arquitectura

No abstract provided.


Brazil, Big Hydro, And A Beautiful Monster: “Green” Energy Generation In The Xingu River Basin, Ian F. Hirons 2020 Clark University

Brazil, Big Hydro, And A Beautiful Monster: “Green” Energy Generation In The Xingu River Basin, Ian F. Hirons

Student Works

Brazil is quickly becoming an influential actor on the world stage of geopolitics. The nation has achieved global economic and environmental recognition due to the extensive development of its hydrological resources in the form of hydroelectric power plants. As the world’s second greatest generator of hydroelectricity, Brazil has proven a staunch adherence to building dams in the large-scale. Though these dams have brought electricity to millions of people across the country, the socio-ecological toll inflicted by their construction has been devastating to natural biomes and local inhabitants. This article traces Brazil’s proclivity for large-scale hydropower to four motivational categories often …


Scenario Analysis Of Downtown One-Way Street Conversions In Lincoln, Nebraska: A Case Study For Downtown Livability And Pedestrian Safety, Terrence Lage 2020 University of Nebraska-Lincoln

Scenario Analysis Of Downtown One-Way Street Conversions In Lincoln, Nebraska: A Case Study For Downtown Livability And Pedestrian Safety, Terrence Lage

Community and Regional Planning Program: Theses and Student Projects

An era of downtown street design benefiting the automobile has become over designed for the movement of volumes of traffic in many North American cities. Since the 1950s, the primary focus of planners and traffic engineers has been to address the growing problem of traffic congestion caused by the suburban traveler coming into and out of downtown. The solution was retrofitting the original two-way street grid into a network of wide and straight multi-lane one-way corridors. This design successfully moved volumes of traffic through downtown streets but induced behavior to favor the automobile instead of design that favors active mobility …


Landfill Suitability Analysis Using Gis (Geographic Information System) And Ahp (Analytic Hierarchy Process): A Case Study Of Scotts Bluff County, Nebraska, Sunah Moon 2020 University of Nebraska-Lincoln

Landfill Suitability Analysis Using Gis (Geographic Information System) And Ahp (Analytic Hierarchy Process): A Case Study Of Scotts Bluff County, Nebraska, Sunah Moon

Community and Regional Planning Program: Theses and Student Projects

The objective of this study was to identify and prioritize the potential sites that are the most suitable to host landfills using Geographic Information System (GIS) and Analytic Hierarchy Process (AHP) in Scotts Bluff County, Nebraska. First, the criteria that influence in a decision-making process of landfill placement in social, environmental, and physical perspectives were established, and the area was assessed based on the grading structure of each criterion on a scale of 0 to 10. The second step was the main process for the study using the AHP. Thirty-two experts who work as planners, engineers, landfill staff, and environmental …


Shahar Sharoitida Avtomobilllarni Parkovkalashda Innovatsion Loyihalash Tizimi, Zohidjon Baxtiyor o`g`li Abdurahmonov, Jamshid Abdunazarov 2020 Jizzakh branch of the National University of Uzbekistan

Shahar Sharoitida Avtomobilllarni Parkovkalashda Innovatsion Loyihalash Tizimi, Zohidjon Baxtiyor O`G`Li Abdurahmonov, Jamshid Abdunazarov

Scientific-technical journal

Annotatsiya: Shahar ko`chalarida transport vositalarining soni ko`payishi sababli, transport bilan bog`liq bo`lgan muammolar ko`paymoqda. Bunga sabab qilib yo`lning infratuzilmasi va parkovka joylarining yetarli emasligini hamda mavjud parkovka joylari to`g`risida axborotni yetkazadigan tizimning yo`qligini misol qilib keltirish mumkin. Bu bir qancha salbiy oqibatlarga olib kelishi mumkin. Jumladan transport vositalaridan chiqayotgan zaharli moddalarning atrof – muhitga zarari ko`payishiga, yo`lning o`tkazish qobiliyatiga va haydovchining yo`lda ortiqcha vaqt sarflashlarga olib kelishi mumkin.

Yuqoridagi aytib o`tilgan muammolarni bartaraf etish uchun shahar parkovkalarini innovatsion intellektual loyihasini ishlab chiqish va uni hayotga tatbiq etish lozim. Bu intellektual tizim orqali transport vositalari egalari bo`sh parkovka hududlarini osongini topib …


Framework For Extracting And Characterizing Load Profile Variability Based On A Comparative Study Of Different Wavelet Functions, ANDREW PARKER, KEVIN JAMES, Dongming Peng, Mahmoud Alahmad 2020 1National Renewable Energy Laboratory

Framework For Extracting And Characterizing Load Profile Variability Based On A Comparative Study Of Different Wavelet Functions, Andrew Parker, Kevin James, Dongming Peng, Mahmoud Alahmad

Durham School of Architectural Engineering and Construction: Faculty Publications

The penetration of distributed energy resources (DERs) on the electric power system is changing traditional power flow and analysis studies. DERs may cause the systems' protection and control equipment to operate outside their intended parameters, due to DERs' variability and dispatchability. As this penetration grows, hosting capacity studies as well as protection and control impact mitigation become critical components to advance this penetration. In order to conduct such studies accurately, the electric power system's distribution components should be modeled correctly, and will require realistic time series loads at varying temporal and spatial conditions. The load component consists of the built …


Chinese Gardens: Solutions For Urban Nature Deficit, Zachary K. Warner 2020 Utah State University

Chinese Gardens: Solutions For Urban Nature Deficit, Zachary K. Warner

All Graduate Plan B and other Reports, Spring 1920 to Spring 2023

Research shows that time spent in nature is good for human health and well-being. However, as the world’s population becomes more concentrated in urban areas regular time in nature, especially extended time, is becoming more difficult to have. On the other hand, Chinese gardens can provide one solution to this problem because they have a unique way of providing a naturalistic space within a small area. Despite this fact, there aren’t many Chinese style gardens outside of China. Therefore, the objective of this thesis was to identify possible barriers to using Chinese garden design principles and construction techniques, then address …


A Deep Dive Into Natural Swimming Pool Filtration: Living Walls As Technical Wetland Filters, Anna Farb 2020 Utah State University

A Deep Dive Into Natural Swimming Pool Filtration: Living Walls As Technical Wetland Filters, Anna Farb

All Graduate Theses and Dissertations, Spring 1920 to Summer 2023

Vertical gardens such as living walls can filter air and water, in addition to cooling buildings, reducing noise, increasing urban biodiversity, providing food, and enhancing well-being. Natural swimming pools (NSPs) are an ecologically sound alternative to chemically treated pools, but they have not reached their potential in the U.S. We investigated whether a living wall could be integrated into an NSP system for water filtration purposes, given that the vertical filter would have to produce excellent water quality for human swimmers. This could be a novel landscape design, particularly in the cases of steep contours, urbanized sites with limited space, …


Americanization Of Islamic Cultural Design: Erasure, Orientalism/Exoticism, And Americanization, Peter L. Stanley 2020 University of Arkansas, Fayetteville

Americanization Of Islamic Cultural Design: Erasure, Orientalism/Exoticism, And Americanization, Peter L. Stanley

Landscape Architecture Undergraduate Honors Theses

Islam arrived in North America primarily through the importation of Muslim African slaves. Subsequent suppression of the slaves, and by extension their religion and places of worship, generated a lack of understanding and misunderstanding about Islam. Over time, this misunderstanding evolved into xenophobic and orientalist representations of the religion. This Capstone project researches Islam’s roots in colonial America through the period before the Columbian Exposition of 1893, and its evolution after the Columbian Exposition, with defining time periods expressed as Erasure, Orientalism/Exoticism, and Americanization. With the help of cultural trust organizations such as the Aga Khan Foundation, the contemporary Americanization …


Digital Commons powered by bepress