Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architectural Technology Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

774 Full-Text Articles 949 Authors 416,481 Downloads 67 Institutions

All Articles in Architectural Technology

Faceted Search

774 full-text articles. Page 15 of 38.

ประสิทธิภาพการลดความชื้นในห้องน้ำด้วยลมร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริก, อนุสรณ์ เมืองแก้ว 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ประสิทธิภาพการลดความชื้นในห้องน้ำด้วยลมร้อนจากเทอร์โมอิเล็กทริก, อนุสรณ์ เมืองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this research is to evaluate the relative efficiency and cost-effectiveness of dehumidifying a residential bathroom comparing the use of a thermoelectric device and a conventional heater which generates hot air output at 65deg. C. The research is divided into 3 parts. Frist, to find the relationship between the temperature of the hot air output and the dehumidifying rate inside the bathroom. This is to derive the air ventilation rate and steady state temperature in the bathroom. Second, to compare the relative humidity between interior and exterior of the bathroom in the case of not using hot air …


Cubiertas Para La Vida. Modulo Adaptable A Viviendas En Asentamientos De Origen Informal Con Posibilidades De Crecimiento Progresivo. Modelo Simulado En Tres Viviendas. Barrio Altos Del Pino Cazucá Soacha, Brahian Nayith Ortega Forero, Diego Fernando Ruiz Suarez, Daniel Stewar Uribe Romero 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Cubiertas Para La Vida. Modulo Adaptable A Viviendas En Asentamientos De Origen Informal Con Posibilidades De Crecimiento Progresivo. Modelo Simulado En Tres Viviendas. Barrio Altos Del Pino Cazucá Soacha, Brahian Nayith Ortega Forero, Diego Fernando Ruiz Suarez, Daniel Stewar Uribe Romero

Arquitectura

No abstract provided.


อิทธิพลของทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งผลต่อการรับชมผ้าทอมือในพิพิธภัณฑ์, อาศิรา จรรยาวิศุทธ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

อิทธิพลของทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งผลต่อการรับชมผ้าทอมือในพิพิธภัณฑ์, อาศิรา จรรยาวิศุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งผลต่อการรับชมผ้าทอมือที่จัดแสดงของผู้ชมในพิพิธภัณฑ์ ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยในการศึกษารวมทั้งสิ้น 24 สภาวะ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านทิศทางการส่องสว่าง ได้แก่ ทิศขนานกับเส้นพุ่ง (0°) ทิศเอียงทำมุมกับเส้นพุ่ง (45°) และทิศตั้งฉากกับเส้นพุ่ง (90°) ปัจจัยด้านอุณหภูมิสีของแสง ได้แก่ 3000K และ 4000K ทำการศึกษาในผ้าไหมทอมือ ได้แก่ ผ้าไหมยกดอกสีแดง ผ้าไหมยกดอกสีเขียว ผ้าไหมยกดอกเส้นทองและผ้าไหมยกดอกเส้นเงิน ทั้งนี้เก็บข้อมูลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถามการจำแนกความหมายของคำ (semantic differential scale) ผลการศึกษาพบว่าทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของผู้ชมต่อผ้าทอมือที่จัดแสดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้โดยภาพรวมพบว่าการเลือกใช้ทิศทางการส่องสว่างตั้งฉากกับเส้นพุ่ง (90°) ร่วมกับอุณหภูมิสีของแสง 3000K สามารถส่งเสริมการรับรู้เชิงบวกของผ้าได้หลายด้านมากที่สุด ทั้งด้านความมีสีสัน ความนุ่มนวล ความหรูหรา ความมันวาว ความมีมิติของพื้นผิว ความชัดเจนของลวดลายและความเป็นโลหะ ทั้งนี้ในการจัดแสดงผ้าทอมือแนะนำให้มีการจัดกลุ่มของผ้าตามโทนสีของผ้าหรือตามชนิดของเส้นใยที่ใช้ทอเพิ่มเติม เพื่อประกอบการเลือกใช้ทิศทางการส่องสว่างและอุณหภูมิสีของแสงที่ส่งเสริมการรับรู้เชิงบวกต่อผ้าที่จัดแสดง


Vivienda Progresiva Una Alternativa Para La Construcción De Hábitat En Sectores De Origen Informal Centro Poblado Rural El Porvenir I, Itagüí Antioquia, Laura Vanessa Vélez Díaz 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Vivienda Progresiva Una Alternativa Para La Construcción De Hábitat En Sectores De Origen Informal Centro Poblado Rural El Porvenir I, Itagüí Antioquia, Laura Vanessa Vélez Díaz

Arquitectura

No abstract provided.


Eco-Chip Block Mejoramiento De Vivienda Popular A Través De Un Material Reciclado, María Fernanda Villamizar Amado 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Eco-Chip Block Mejoramiento De Vivienda Popular A Través De Un Material Reciclado, María Fernanda Villamizar Amado

Arquitectura

No abstract provided.


Alternativas Estructurales En Madera Para La Vivienda En Altura, Juan David Bravo de los Ríos 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Alternativas Estructurales En Madera Para La Vivienda En Altura, Juan David Bravo De Los Ríos

Arquitectura

Alternativas estructurales en madera para la vivienda en altura, es un proyecto que nace estudiando referentes de estructuras de madera en altura, donde se identifican los diferentes sistemas constructivos y maderas que permiten realizar estas estructuras, en este análisis aparecen algunas incógnitas sobre cual es el sistema constructivo mas idóneo para lograr el objetivo del trabajo, por lo que se realizan los respectivos estudios y comparaciones, entre sistemas constructivos y bases del diseño para vivienda, lo que permite determinar el sistema constructivo más adecuado para generar un edificio de madera en altura y sus diferentes componentes, teniendo en cuenta las …


Resignificación De Un Territorio Productor De Ladrillo Artesanal Vereda De Patio Bonito Nemocón Cundinamarca, Angélica María Riveros Loaiza, Jesica Tatiana Gómez, Andrés Felipe Sierra 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Resignificación De Un Territorio Productor De Ladrillo Artesanal Vereda De Patio Bonito Nemocón Cundinamarca, Angélica María Riveros Loaiza, Jesica Tatiana Gómez, Andrés Felipe Sierra

Arquitectura

No abstract provided.


Centro De Memoria Y Cultura, Medellín-Colombia., Diego Alejandro Pedraza Vega 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Centro De Memoria Y Cultura, Medellín-Colombia., Diego Alejandro Pedraza Vega

Arquitectura

No abstract provided.


Highrise In Tropics: Analyses And Syntheses On Core System Of Residential Highrise Buildings In Tropical Region, Khin Thu Thu Kyaw Nyunt 2020 Faculty of Architecture

Highrise In Tropics: Analyses And Syntheses On Core System Of Residential Highrise Buildings In Tropical Region, Khin Thu Thu Kyaw Nyunt

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis entitled "High-rise in Tropics: Analyses and Syntheses on Core System of Residential High-rise Buildings in Tropical Region" is the study on the space composition of core and circulation systems of high-rise buildings to propose a design of residential high-rise building in the existing project called Star City Thanlyin in Yangon. This attempt is to begin to understand the differences between the positions of core and the composition of circulation systems that may effect the quality of spaces, especially in terms of natural light and ventilation. This thesis begins with a historical approach to study compositions of core system …


Centro De Aprendizaje Productivo Rural Familia Llano Grande Resignificación Del Territorio Por Medio De La Actividad Educativa Y Productiva, Zayra Valentina Baquero Rodríguez, Diana Alexandra Luengas Luna 2020 Universidad de La Salle, Bogotá

Centro De Aprendizaje Productivo Rural Familia Llano Grande Resignificación Del Territorio Por Medio De La Actividad Educativa Y Productiva, Zayra Valentina Baquero Rodríguez, Diana Alexandra Luengas Luna

Arquitectura

No abstract provided.


การออกแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (Cu Bems) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ชนก สินสมบูรณ์ชัย 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การออกแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงาน: กรณีศึกษา โครงการพัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน (Cu Bems) อาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิมพ์ชนก สินสมบูรณ์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลพลังงานในอาคารสำนักงานระหว่างข้อมูลภาพ และข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อออกแบบและประเมินรูปแบบการสื่อสารข้อมูลพลังงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการติดตามผลพลังงาน และคุณภาพในการใช้งานเว็บแอปพลิเคชันของผู้ใช้อาคาร โดยงานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติงานภายในอาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน ใช้วิธีดำเนินงานวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม และการใช้แบบสอบถามวัดระดับแรงจูงใจต่อการอนุรักษ์พลังงานในสำนักงาน 5 ระดับ หลังทดลองใช้งานเว็บแอปพลิเคชันทั้ง 3 รูปแบบคือ 1) รูปแบบข้อมูลเชิงสถิติซึ่งเป็นรูปแบบเดิมของโครงการ CU BEMS 2) รูปแบบภาพเสมือนสัตว์เลี้ยง 3) รูปแบบภาพเสมือนระบบนิเวศในฟาร์ม ทดลองใช้งานรูปแบบละ 1 สัปดาห์ รวม 3 สัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาการออกแบบครั้งที่ 2 เพิ่มเติมเป็นรูปแบบที่ 4 รูปแบบผสมผสานระหว่างภาพเสมือนและข้อมูลเชิงสถิติ เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจกับการออกแบบครั้งที่ 1 และทดสอบความสามารถในการใช้งาน ด้วยวิธีการทดสอบทางไกล (Remote Usability Testing) ตามหลัก ISO 9241-11 วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับแบบสอบถามความพึงพอใจจากการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน (PSSUQ) ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการสื่อสารข้อมูลพลังงงานในสำนักงาน ควรประกอบด้วย 6 ส่วนได้แก่ 1) ส่วนการให้ความรู้และคำแนะนำในการลดใช้พลังงาน 2) ส่วนการตรวจสอบและติดตามผลพลังงาน 3) ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลพลังงาน 4) ส่วนการให้รางวัล 5) ส่วนแนะนำการใช้งานเว็บแอปพลิเคชัน 6) ส่วนการแจ้งเตือน กาารใช้เว็บแอปพลิเคชันทั้ง 4 รูปแบบ ส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการติดตามผลพลังงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ารูปแบบผสมผสานส่งผลต่อการเกิดแรงจูงใจในการอนุรักษ์พลังงานในสำนักงานมากที่สุด จากการทดสอบความสามารถในการใช้งานพบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถใช้งานเว็บแอปพลิเคชันรูปแบบผสมผสานถูกต้องสมบูรณ์ 100% มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จึงสรุปได้ว่าการออกแบบเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารข้อมูลการใช้พลังงานในอาคารจามจุรี 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงควรเป็นรูปแบบผสมผสาน และเนื่องจากการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้อยู่ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทำให้อาคารจามจุรี 5 ปิดทำการ จึงไม่สามารถวัดผลการใช้พลังงานจริงของอาคารได้ ท้ายที่สุดหากมีการศึกษาเพิ่มเติมงานวิจัยนี้จึงเสนอให้ขยายผลการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานของอาคารก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาการใช้เว็บแอปพิลเคชันเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารสำนักงานให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น


สัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง, ตระการตา มหาสุคนธ์ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

สัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง, ตระการตา มหาสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนพื้นผิวดูดซับเสียงที่ส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของคำพูด ในสำนักงานแบบเปิดโล่ง โดยนำข้อมูลสภาพแวดล้อมจริงจากสำนักงานต้นแบบที่มีมลภาวะทางเสียงในสำนักงานแบบเปิดโล่งมาทำการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์จำลองสถานการณ์มลภาวะเสียง EASE 4.2 โดยการคำนวณค่าระดับความดันเสียง SPL ที่ลดลงจากการดูดซับเสียงของวัสดุ จนส่งผลให้ดัชนีความเข้าใจในคำพูด STI ลดลง ด้วยการวัดและประเมินตามข้อกำหนด ISO 3382-3 Open-plan office ผลจากการวิเคราะห์ด้วยซอฟท์แวร์จำลองสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมใหม่ พบว่า การใช้ฝ้าแบบ A1 หรือ A2 ที่มีลักษณะพื้นผิวเป็นรูพรุนมีค่าการดูดซับเสียงมากมาใช้แทนฝ้าแบบฉาบเรียบเดิมที่มีค่าการดูดซับเสียงน้อยตรงบริเวณแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนจากการสนทนา ในระดับติดตั้งที่ความสูง 3.40 เมตร และใช้แผงกั้นส่วนสูง 1.50 ปิดผิวลามิเนท ที่ ตลอดจนการใช้พื้นกระเบื้องยางร่วมด้วย ก็สามารถลดมลภาวะทางเสียงได้ และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน


คุณค่าทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์: กรณีศึกษา ย่านถนนพรหมราช จังหวัดอุบลราชธานี, ลลิดา บุญมี 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คุณค่าทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์: กรณีศึกษา ย่านถนนพรหมราช จังหวัดอุบลราชธานี, ลลิดา บุญมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน พื้นที่ประวัติศาสตร์ของหลายเมืองมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ซึ่งหากพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพเพียงอย่างเดียวอาจเป็นเรื่องยากต่อการรับรู้คุณค่าและความสำคัญขององค์ประกอบเมือง ทั้งนี้ เมืองอุบลราชธานีเป็นหนึ่งตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ ปรากฏความหลากหลายของรูปแบบสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของคนในสังคม คุณลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ประวัติศาสตร์เมืองมีชั้นประวัติศาสตร์หลายชั้นซ้อนทับกันอยู่และอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่ตั้งถิ่นฐานจนถึงปัจจุบัน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของคุณลักษณะเมืองอุบลราชธานี และวิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเป็นฐานความเข้าใจสำหรับการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาเมืองอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ทฤษฎีภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์เป็นกรอบและแนวทางสำหรับการศึกษาเมืองอย่างเป็นองค์รวม และใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เพื่อทำความเข้าใจมุมมองของคนที่อยู่ในพื้นที่ต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการของเมืองส่งผลต่อภูมิทัศน์เมืองในปัจจุบัน ดังนั้น การทำความเข้าใจคุณค่าและความสำคัญจึงต้องพิจารณาทั้งมิติที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมควบคู่กันไป เพื่อให้มิติที่คงอยู่ช่วยอธิบายประวัติศาสตร์ของเมืองภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ มุมมองของคนในจากพื้นที่กรณีศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า นอกเหนือจากลักษณะทางกายภาพแล้ว คนในให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาผูกพันจากมิติอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเชื่อ สังคม การใช้งาน เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้คือกระบวนการสำหรับการทำความเข้าใจเมืองและข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาสำหรับเมืองประวัติศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นองค์รวม


การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ของคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และ ปริมณฑล : กรณีศึกษา 9 โครงการ, ภัทรพร เสนาธรรม 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ของคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง ในเขตกรุงเทพมหานครฯ และ ปริมณฑล : กรณีศึกษา 9 โครงการ, ภัทรพร เสนาธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการอาคารชุดพักอาศัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล พื้นที่งานภูมิทัศน์ ประกอบด้วย พรรณไม้ และ องค์ประกอบอย่างอื่น เช่น ภูมิทัศน์ดาดแข็ง (Hardscape) แต่เมื่อเริ่มเปิดใช้งานอาคาร กลับพบว่างานภูมิทัศน์มีปัญหาเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งงานภูมิทัศน์นั้น ถือเป็นกายภาพส่วนหนึ่งของอาคาร ที่ต้องได้รับการดูแลรักษา (Building Service Operation) การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประจักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบงานภูมิทัศน์ที่พบในโครงการคอนโดมิเนียมแบบอาคารสูง โดยได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง ที่มีเกณฑ์การคัดเลือกจากโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่มีลักษณะเป็นอาคารสูง ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 9 โครงการ โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลในประเด็น รูปแบบงานภูมิทัศน์ที่พบในโครงการ, วิธีการจัดการงานดูแลรักษา, และ ค่าใช้จ่ายของงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ จากการศึกษาพบว่า ในทุกโครงการ จะพบสวนในระดับพื้นชั้น 1 และ สวนบนอาคาร สำหรับสวนแนวตั้ง พบใน 6 โครงการ เฉพาะในโครงการที่มีช่วงราคาขายสูง มากกว่า 130,000 บาท/ตร.ม.ขึ้นไป ในส่วนของข้อมูลบริษัทผู้รับจ้าง พบว่าทุกกรณีศึกษาเป็นการจัดจ้างผู้รับจ้างบริษัทดูแลรักษางานภูมิทัศน์ในรูปแบบของบริษัทภายนอก (Outsourcing) ทั้งหมด ขอบเขตของงานดูแลรักษา พบว่า สามารถแบ่งกลุ่มงานได้เป็น 4 กลุ่ม คือ งานดูแลรักษาประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน และ งานซ่อมบำรุงงานสวนเป็นครั้งคราว ซึ่งสามารถจัดกลุ่มประเภทงานดูแลรักษาได้เป็น งานดูแลรักษาระดับทั่วไป และ งานดูแลรักษาแบบเฉพาะทาง ในส่วนของราคาค่าบริการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์จะพบว่าเมื่อนำไปวิเคราะห์หาสัดส่วนต่อค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการ พบเพียงไม่เกินร้อยละ 1 ของอัตราค่าใช้จ่ายต่อพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่ามูลค่าของการดูแลรักษางานภูมิทัศน์มีสัดส่วนที่น้อย แต่เป็นส่วนที่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ บรรยากาศ รวมถึงมูลค่าของโครงการในอนาคต ข้อค้นพบจากการศึกษา พบว่า การจัดการงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีวิธีการจัดการที่ไม่แตกต่างกัน คือเป็นวิธีการจัดหาผู้ให้บริการงานดูแลรักษาสวนแบบ Outsourcing โดยที่การดำเนินงานดูแลรักษา ยังเป็นไปตามเงื่อนไขที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับรูปแบบงานภูมิทัศน์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดการวิธีการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ให้เหมาะสมกับรูปแบบงานภูมิทัศน์ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของโครงการเพื่อให้งานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ มีคุณภาพที่ดีขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดูแลอาคารให้มีสภาพเหมือนตอนเปิดใช้งานให้ได้มากที่สุด


ค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย, สิทธิพร อิสระศักดิ์ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย, สิทธิพร อิสระศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารชุดพักอาศัยมีอายุการใช้งานจำกัด การใช้งานทำให้อาคารเกิดการเสื่อมสภาพ จึงเกิดความต้องการการดูแลบำรุงรักษา นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายการดูแลตลอดการใช้งานอาคาร ค่าใช้จ่ายมีการบันทึกเป็นประจำทุกปี อ้างอิงมาตรฐานระบบบัญชี บัญชีค่าใช้จ่ายจึงไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ชัดเจน อายุอาคารที่มากขึ้นส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายมากขึ้น การเข้าใจค่าใช้จ่ายการส่วนกลางอาคารชุดที่แท้จริง จึงเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อการวางแผนงานดูแลรักษาและกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนกลาง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการใช้งานอาคาร เพื่อให้เกิดความชัดเจนของโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และเพื่อเข้าใจค่าใช้จ่ายความสัมพันธ์ระหว่างค่าใช้จ่าย ลักษณะอาคาร และอายุอาคาร อาศัยแนวทางการวิจัยเชิงประจักษ์ โดยการเลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นกลุ่มประชากรตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลทูติยภูมิจากบัญชีรายจ่ายนิติบุคคลอาคารชุด 39 กรณีศึกษา ที่มีการบันทึกต่อเนื่อง 14 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2546-2560 ทั้งหมด 296 บัญชี จาการศึกษาทำให้เข้าใจว่า รายการค่าใช้จ่ายส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัยทั้งหมด 83 รายการ ได้แก่ หมวดสาธารณูปโภค หมวดบริหารและจัดการ หมวดบริการอาคาร และหมวดซ่อมแซมและบำรุงรักษา การวิเคราะห์สัดส่วนค่าส่วนกลางอาคารชุด พบว่า ค่าบริหารและจัดการ ร้อยละ 40 ค่าบริการอาคาร ร้อยละ 45 ค่าสาธารณูปโภค ร้อยละ 10 และค่าดูแลและบำรุงรักษา ร้อยละ 5 รูปแบบการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายจำแนกตามการบริหารทรัพยากรกายภาพ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง ระหว่าง ร้อยละ 5-10 เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ พบใน ค่าบริหารและจัดการ ค่าบริการอาคาร และการสาธารณูปโภค และการเปลี่ยนแปลงมากกว่า ร้อยละ 10 เพิ่มอย่างกระจัดกระจาย พบใน ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายส่วนอาคารชุดพักอาศัยมาก ได้แก่ ค่าบริหารอาคาร ค่าบริการทำความสะอาด ค่ารักษาความปลอดภัย และค่าไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ช่วงปีที่ 1-3 เป็นช่วงที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นสูงสุด ช่วงปีที่ 4-5 ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคงที่ เมื่ออายุอาคารมากกว่าปีที่ 6 พบว่าค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมและบำรุงรักษายังคงเพิ่มขึ้นอย่างกระจัดกระจาย อย่างมีนัยยะสำคัญกับรอบอายุอาคาร ผลทดสอบความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างค่าใช้จ่ายส่วนกลางและลักษณะอาคาร และเวลา พบว่า ค่าใช้จ่ายส่วนกลางสัมพันธ์กับระดับราคาและอายุอาคารอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติสูงมาก ค่าใช้จ่ายส่วนกลางแปรผันตามอายุอาคารและราคาขาย แต่แปรผกผันกับขนาดอาคาร จำนวนห้องชุด จำนวนชั้น จำนวนอาคาร …


ความเปลี่ยนแปลงของผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2431-2563, วีระภัทร์ กระหม่อมทอง 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ความเปลี่ยนแปลงของผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พ.ศ. 2431-2563, วีระภัทร์ กระหม่อมทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาผังกายภาพโรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่และมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เพื่อให้เข้าใจลักษณะและความเปลี่ยนแปลงของผังกายภายในโรงพยาบาลที่มีความซับซ้อน การศึกษาประกอบไปด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะผังกายภาพของโรงพยาบาลทั้งสองแห่งในช่วงเวลาต่าง ๆ การสังเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดทำผังจำลองและข้อมูลประกอบที่มีรูปแบบเดียวกันเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีกรอบในการวิเคราะห์ 4 ประเด็น คือ (1) ที่ดิน (2) การจัดอาคาร ที่ว่าง และทางสัญจร (3) ขนาดอาคารและที่ว่าง และ (4) การแบ่งส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผลการวิจัยพบว่า ผังกายภาพโรงพยาบาลทั้งสองแห่งมีความเปลี่ยนแปลงแบ่งได้เป็น 6 ช่วง จากผังที่มีอาคารขนาดเล็กใช้การระบายอากาศแบบธรรมชาติ มาเป็นผังที่มีอาคารขนาดใหญ่พิเศษใช้การระบายอากาศด้วยเครื่องกล โดยมีข้อค้นพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ผังกายภาพโรงพยาบาลทั้งสองแห่งที่แล้วมาเกิดความเปลี่ยนแปลงได้แก่ (1) ขนาดที่ดิน โดยเฉพาะโรงพยาบาลศิริราชที่มีการขยายขอบเขตที่ดินหลายครั้ง (2) วิธีการระบายอากาศที่ทำให้ผังกายภาพในช่วงแรกมีที่ว่างระหว่างอาคาร (3) วิธีการเข้าถึงโรงพยาบาล จากที่เคยมีทางสัญจรทางน้ำ มาเพิ่มความสำคัญของการเข้าถึงทางถนน และการสร้างสถานีรถไฟฟ้า ทำให้เกิดทางเข้าใหม่ และถนนภายใน (4) ขนาดและความสูงอาคารที่สามารถก่อสร้างได้ใหญ่และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รวมประโยชน์ใช้สอยที่เคยกระจายอยู่ในอาคารที่เล็กกว่าได้ นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดระเบียบการแบ่งส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินมักจะเกิดขึ้นหลังจากการจัดทำผังแม่บท และโรงพยาบาลทั้งสองแห่งต่างมีแนวความคิดทางด้านการอนุรักษ์อาคาร ทำให้ผังกายภาพยังคงมีอาคารขนาดเล็ก แม้ว่าจะสามารถสร้างอาคารได้กว่า 100,000 ตร.ม.แล้ว


การตกแต่งแสงสำหรับงานแต่งงานช่วงเวลากลางคืนที่ชายหาด, อรพรรณ ไกรทอง 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การตกแต่งแสงสำหรับงานแต่งงานช่วงเวลากลางคืนที่ชายหาด, อรพรรณ ไกรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พิธีมงคลสมรสหรืองานแต่งงานเป็นหนึ่งในประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันคู่บ่าวสาวนิยมใช้พื้นที่แบบนอกอาคารในการจัดงานแต่งงานมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีบรรยากาศที่ดี ซึ่งนิยมใช้พื้นที่บนดานฟ้าอาคาร ในสวน และพื้นที่ริมทะเล การจัดงานแต่งงานนิยมจัดกันสองช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงพิธีการในเวลาเช้าและช่วงพิธีฉลองในเวลากลางคืน การจัดงานฉลองงานแต่งงานมีหลายปัจจัยสำคัญหนึ่งในนั้นเป็นเรื่องการจัดแสง เนื่องจากในเวลากลางคืนจะไม่มีแสงสว่างที่เพียงพอ และการจัดแสงเป็นการตกแต่งสร้างให้เกิดความสวยงามและบรรยากาศที่ดีให้แก่งานอีกด้วย การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาเรื่องของการจัดตำแหน่งและทิศทางของแสงให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับฉากพิธีการต่าง ๆ ภายในงาน ได้แก่ ฉากถ่ายรูปหน้างาน ฉากพิธีการบนเวที และฉากพิธีโยนช่อดอกไม้ /พิธีตัดเค้ก/พิธีรินแชมเปญ ศึกษาการจัดแสงร่วมกับการใช้โทนสี ได้แก่ โทนสีร้อนและโทนสีเย็น ทำการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์จากพื้นที่จัดงานแต่งงานจริงจำนวน 18 งานแต่งงาน สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม จำนวน 45 คน นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เพื่อทำการสนทนาแบบกลุ่มเพื่อสอบถามความคิดเห็นแบบ Focus Group เพื่อให้กลุ่มตัวอย่าง เพศหญิงและเพศชาย อายุ 20-45 ปี จำนวน 100 คน ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจากภาพถ่ายที่ได้จากการสังเกตการณ์จริงถึงความรู้สึกที่มีต่อรูปแบบของการจัดแสงไฟในตำแหน่งต่าง ๆ ในแต่ละพิธีการร่วมกับการเลือกใช้โทนสีในการตกแต่ง จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างพบว่าตำแหน่งและทิศทางของการจัดแสงที่มีการจัดตำแหน่งและทิศทางแสงอย่างน้อย 3 ตำแหน่ง ส่งผลต่อความรู้สึกชอบมากที่สุด และมีความรู้สึกชื่นชอบต่อการเลือกใช้โทนสีเย็นเป็นหลักมากที่สุด งานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการจัดวางตำแหน่งทิศทางของแสงและการเลือกใช้โทนสีเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างอารมณ์และบรรยากาศที่ดี ดังนั้นการนำไปประยุกต์ใช้ จึงควรพิจารณาถึงการจัดวางตำแหน่งและทิศทางของแสงที่เหมาะสม รวมไปถึงการเลือกใช้โทนสีในอัตราส่วนที่เหมาะสม


การปลูกผักไฮโดรโพรนิคโดยใช้พลังงานทดแทนเสริมบนดาดฟ้า, ประกาย คำภูศิริ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การปลูกผักไฮโดรโพรนิคโดยใช้พลังงานทดแทนเสริมบนดาดฟ้า, ประกาย คำภูศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและระบบการปลูกผักไร้สารพิษที่ใช้พลังงานทดแทน 2) เพื่อศึกษาการออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกผักไร้สารพิษให้เหมาะสมกับพื้นที่ในอาคารพาณิชย์หรือทาวน์เฮาส์ และ 3) เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการปลูกผักไร้สารพิษทั้งจากแปลงที่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ หน่วยวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ต้นผักกรีนโอ้ค จำนวน 60 ต้น แบ่งเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้แผงโซล่าเซลล์ แปลงละ 30 ต้น แปลงผักตั้งอยู่บนอาคารพาณิชย์ ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยเก็บผลการปลูกเป็นเวลา 45 วัน โดยเก็บสภาพภูมิอากาศทั่วไป ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงแดด และความเร็วลม พบว่า สภาพภูมิอากาศทั่วไปของแปลงทั้งสองแตกต่างกัน จึงนำมาเป็นตัวแปรร่วม (covariate variable) ในการวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบพหุ (MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า แปลงผักถูกออกแบบให้สามารถตั้งอยู่บนพื้นที่จำกัดเช่นกัน คือ บ้านพักอาศัยและสถานที่ทำงานบนอาคารพาณิชย์ แปลงผักทั้งสองแปลงถูกออกแบบให้มีปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชครบถ้วน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ อากาศ น้ำ ธาตุอาหาร และที่ค้ำจุนลำต้น นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้เป็นการปลูกพืชในน้ำแบบน้ำไหล โดยใช้ท่อพลาสติกให้เป็นรางน้ำอยู่ด้านบน และมีถังพักน้ำ ซึ่งมีปั้มน้ำอยู่ด้านในถังน้ำเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ แปลงทั้งสองแตกต่างกันเพียงแปลงที่ 1 ได้เชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ ส่วนแปลงที่ 2 ใช้พลังงานไฟฟ้าจากอาคารตามปกติ นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย ผลที่ได้จากการปลูกผักพบว่า การใช้แผงโซล่าเซลล์ของแปลงที่ 1 มีระยะเวลาคืนทุน 9 เดือน แปลงที่ 1 ได้ผลผลิต 3.2 กิโลกรัม ใช้เวลาในการปลูกและพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าแปลงที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแปลงที่ 2 ได้ผลผลิต 2.7 กิโลกรัม ส่วนปริมาณปุ๋ยและปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชไม่แตกต่างกัน


การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุ, พงศกร เจริญพงพันธุ์ 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การศึกษาความเหมาะสมของห้องพักหลังออกกำลังกายของผู้สูงอายุ, พงศกร เจริญพงพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อร่างกายและความรู้สึกร้อนหนาวของผู้สูงอายุภายหลังการออกกำลังกาย 2) เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool down) สำหรับผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool down) สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย แบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง (One Group Pretest Posttest Design) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพปกติ ผู้วิจัยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จากบ้านพักคนชรา A ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา รูปภาพ กราฟแท่ง และสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ข้อ ได้แก่ 1) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกร้อนหนาวของผู้สูงอายุทั้งก่อนและหลังการออกแบบฯ พบว่า อุณหภูมิของอากาศมีค่าเท่ากับ 24.580 และ 26.066 องศาเซสเซียล โดยที่ข้อกำหนดของ ASHRAE เท่ากับ 24.5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 51.879% และ 51.665% สูงกว่าข้อกำหนดเล็กน้อย 1.665-1.879% ความเร็วลมเท่ากับ 0.131 และ 0.132 เมตรต่อวินาที ต่ำกว่าข้อกำหนดเล็กน้อย 0.18-0.19 เมตรต่อวินาที อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวรอบร่างกาย เท่ากับ 26.872 และ 28.066 องศาเซลเซียส และผลการประเมินสภาวะน่าสบายตามการรับรู้ประสาทสัมผัสของผู้สูงอายุ เท่ากับ -0.833 และ -0.628 ต่ำกว่าข้อกำหนดของ ASHRAE ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0 และ 2) การออกแบบและแนวทางการปรับปรุงห้องพักหลังออกกำลังกาย (Cool …


การอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร, ธรรศ วัฒนาเมธี 2020 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

การอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร, ธรรศ วัฒนาเมธี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุรักษ์และฟื้นฟูเป็นระดับการอนุรักษ์ที่ช่วยรักษาเรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนคร วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและการใช้งาน นอกจากนี้ การวิจัยนี้ยังศึกษาเหตุปัจจัย วัตถุประสงค์ และแนวคิดที่นำไปสู่เทคนิควิธีการอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือนให้สอดคล้องกับการใช้งานในปัจจุบัน แล้วนำผลการศึกษามาสรุปและเสนอแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่เหมาะสมกับเรือนแถวพื้นถิ่น วิธีวิจัยเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่ศึกษาเบื้องต้น ร่วมกับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นคัดเลือกกรณีศึกษาเพื่อศึกษาเชิงลึกด้วยการสำรวจ การรังวัด และการสัมภาษณ์ การศึกษาพบว่า ในปัจจุบัน เรือนแถวพื้นถิ่นในย่านเมืองเก่าสกลนครคงเหลืออยู่มากกว่า 60 หลัง ส่วนใหญ่ยังมีการใช้งาน มีส่วนน้อยที่ถูกทิ้งร้าง การอนุรักษ์และฟื้นฟูจากกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่า เรือนแถวมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ซึ่งอาจลดทอนความแท้และบูรณภาพของเรือนลง ในทางกลับกัน การดำเนินงานได้ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ส่งเสริมภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่า บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ รักษาองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนช่วยรักษาคุณค่าทางจิตวิญญาณของอาคาร ข้อเสนอแนะแนวทางการในการอนุรักษ์ฟื้นฟูเรือนประกอบด้วยการส่งเสริมภูมิทัศน์ย่านเมืองเก่าที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์ผนังและองค์ประกอบภายนอกด้านหน้า การส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างร่วมสมัย ที่ช่วยเพิ่มคุณค่าด้านการใช้งานและเศรษฐกิจ การเพิ่มความสำคัญของการจัดทำเอกสารรวบรวมข้อมูลและบันทึกสภาพ การประเมินคุณค่าก่อนการดำเนินการ การอนุรักษ์ไม้และใช้วัสดุในท้องถิ่น ตลอดจนการวางแผนการบำรุงรักษาอาคารตามขั้นตอนการอนุรักษ์และฟื้นฟู


Digital Commons powered by bepress